ดาวน์โหลดงานนำเสนอ
งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ
ได้พิมพ์โดยJosé Ramón Cortés Contreras ได้เปลี่ยน 6 ปีที่แล้ว
1
การระดมเงินทุนจากตลาดหนี้ระหว่างประเทศ
บทที่ 11 การระดมเงินทุนจากตลาดหนี้ระหว่างประเทศ
2
เป้าหมายการระดมทุน การระดมทุนจากต่างประเทศ มีทั้งในรูปของการมาถือหุ้นและการกู้ยืม สำหรับการกู้ยืมในรูปของสกุลเงินต่างประเทศ นั้น มีประโยชน์สำหรับการจับคู่รายได้กับค่าใช้จ่าย โดยเฉพาะกับกิจการที่มีรายได้หรือค่าใช้จ่ายเป็นเงินตราต่างประเทศ
3
เป้าหมายเรื่องต้นทุนของเงินทุน
เป้าหมายเรื่องต้นทุนของเงินทุน อัตราดอกเบี้ยในตลาดต่างประเทศย่อมแตกต่างจากในประเทศ บางครั้งการกู้ยืมจากต่างประเทศทำให้กิจการมีต้นทุนเงินกู้ที่ถูกกว่า อย่างไรก็ตาม ค่าเงินมีความผันผวน การคำนึงถึงดอกเบี้ยอย่างเดียวอาจทำให้มีปัญหาในการชำระหนี้ภายหลังได้ การกู้ยืมจึงมักต้องคำนึงถึงค่าการประกันความเสี่ยง โดยการคำนึงถึงความเสี่ยงนั้น สามารถทำได้โดยใช้หลักการดังต่อไปนี้
4
การจับคู่ระยะเวลา (Maturty Matching) ของสินทรัพย์กับหนี้สินของทุน
หลักการพื้นฐานที่สำคัญที่สุด ของการบริหารสินทรัพย์และหนี้สินสำหรับกิจการใดๆ คือการจับคู่ระยะเวลาของสินทรัพย์กับหนี้สินของทุน ซึ่งกิจการสามารถทำได้ โดยการระดมเงินให้มีระยะเวลาสอดคล้อง หรือตรงกับความต้องการในการนำเงินไปใช้ ดังแผนภาพ
5
ภายใต้การจับคู่ระยะเวลา บริษัทควรจัดหาเงินทุนสำหรับสินทรัพย์หมุนเวียน ด้วยหนี้สินระยะสั้น ส่วนการลงทุนในสินทรัพย์ถาวร ควรจัดหาเงินทุนด้วยหนี้สินระยะยาว ในกรณีที่ผู้บริการการเงินมีประสบการณ์ ในการบริหารหนี้สินและทรัพย์สินของบริษัทมาเป็นเวลานานจนทราบถึงวงจรการขึ้นลงของระดับสินทรัพย์และหนี้สิน ตามฤดูกาลในรอบหนึ่งๆ ของการดำเนินงาน ก็สามารถใช้หนี้สินระยะยาวมาเป็นแหล่งเงินทุนบางส่วนหรือทั้งจำนวน ให้กับสินทรัพย์หมุนเวียนในส่วนที่จัดเป็นสินทรัพย์หมุนเวียนคงที่ (Permanent Current Assets) ได้
6
การบริหารหนี้สินของกิจการตามหลักการจับคู่ระยะเวลา จะช่วยให้กิจการสามารถป้องกันความเสี่ยงจากการผันผวนของอัตราดอกเบี้ย และยังช่วยให้การก่อหนี้สินของกิจการในอนาคตมีความสะดวกยิ่งขึ้น ถ้าผู้ให้กู้เห็นว่ากิจการมีวินัยทางการเงินที่ดี ในทางตรงกันข้าม หากกิจการก่อหนี้โดยมีระยะเวลาไม่สอดคล้อง หรือตรงกับความต้องการที่จะนำเงินไปใช้ อาจก่อให้เกิดปัญหาตามมาเมื่อเกิดวิกฤตการณ์ทางการเงินขึ้นในระบบเศรษฐกิจ
7
การจับคู่สกุลเงิน (Currency Matching)
จับคู่สกุลเงิน เพื่อทำให้กระแสเงินสดรับที่เป็นเงินตราสกุลต่างประเทศ มีความสอดคล้องกับกระแสเงินสดจ่ายที่เป็นเงินตราสกุลเดียวกัน บริษัทจะต้องพิจารณาว่า การก่อหนี้เป็นเงินตราสกุลต่างประเทศนั้น เงินสกุลใดจะทำให้บริษัทมีระดับการเปิดรับความเสี่ยงจากธุรกรรมการค้า (Transaction Exposure) ต่ำที่สุด แม้ว่าการทำธุรกรรมนั้น อาจเพิ่มระดับการเปิดรับความเสี่ยงจากการแปลงค่าในงบการเงิน (Translation Exposure) ซึ่งสร้างความเสียหายได้น้อยกว่า เนื่องจากมิได้มีผลกระทบอย่างแท้จริงต่อกระแสเงินสดของบริษัท
8
การเปรียบเทียบต้นทุนการก่อหนี้เป็นเงินตราสกุลต่างประเทศ (Comparing Cost of Foreign Debt)
การระดมเงินจากตลาดหนี้ ไม่ว่าจะเป็นการระดมทุนจากภายในประเทศหรือต่างประเทศนั้น เป็นที่ยอมรับโดยทั่วไปว่า จะมีต้นทุนทางการเงินต่ำกว่าการระดมเงินในรูปหุ้นสามัญ (Common Stock) ทั้งนี้ ด้วยเหตุผลสนับสนุน 2 ประการที่สำคัญ ได้แก่
9
ประการที่หนึ่ง ความคาดหวังจากนักลงทุน ที่มีต่อผลตอบแทนจากการลงทุน เมื่อเทียบกับระดับความเสี่ยง การลงทุนในหุ้นสามัญจะมีระดับความเสี่ยงสูงกว่าการลงทุนในหลักทรัพย์ประเภทหนี้สิน ผู้ถือหุ้นจึงต้องการผลตอบแทนจากการลงทุนสูงกว่าเจ้าหนี้ เป็นเหตุให้ต้นทุนในการระดมเงินทุนจากตลาดทุน (Cost of Equity) สูงกว่าต้นทุนในการระดมเงินทุนจากตลาดหนี้ (Cost of Debt)
10
ประการที่สอง ดอกเบี้ยจ่ายสำหรับกู้ยืม เป็นค่าใช้จ่ายที่บริษัทสามารถนำไปหักออกจากรายได้ก่อนการคำนวณภาษี (Earning Before Tax : EBT) จึงทำให้บริษัทได้ประโยชน์จากการประหยัดภาษี (Tax Shield) จำนวนหนึ่ง ดังนั้น ต้นทุนในการกู้ยืมเงินหลังหักภาษี (After-Tax Cost of Debt) จึงต่ำกว่า ต้นทุนในการะดมเงินทุนจากตลาดทุน
11
การระดมเงินทุนจากตลาดหนี้ระหว่างประเทศ ผู้ระดมเงินจะมีโอกาสเลือกกู้ยืมเป็นเงินตราสกุลต่างประเทศสกุลต่างๆ โดยที่การจ่ายชำระดอกเบี้ยจะต้องทำเป็นเงินตราสกุลนั้นๆ ด้วย ดังนั้น บริษัทจึงควรคำนวณต้นทุนในการก่อหนี้ที่เป็นเงินตราสกุลต่างประเทศ ให้อยู่ในรูปเงินตราสกุลท้องถิ่นของตนแล้วจึงทำการเปรียบเทียบกัน จากนั้นจึงตัดสินใจเลือกกู้ยืมในสกุลที่มีต้นทุนต่ำที่สุด
12
การแปลงต้นทุนการกู้ยืมที่เป็นเงินตราสกุลต่างประเทศ ให้เป็นเงินตราสกุลท้องถิ่นสามารถคำนวณได้โดยใช้สมการดังต่อไปนี้ 𝑘 𝑑 ℎ = [(1+ 𝑘 𝑑 𝑓 ) × (1+S)] – 1 เมื่อ 𝑘 𝑑 ℎ คือ ต้นทุนของหนี้สินก่อนหักภาษีในรูปเงินตราสกุลท้องถิ่น 𝑘 𝑑 𝑓 คือ ต้นทุนของหนี้สินก่อนหักภาษีในรูปเงินตราสกุลต่างประเทศ S คือ เปอร์เซ็นต์การเปลี่ยนแปลงในอัตราแลกเปลี่ยนเงินตรา
13
ตัวอย่าง การเปรียบเทียบต้นทุนการก่อหนี้ที่เป็นเงินตราสกุลต่างประเทศ
ตัวอย่าง การเปรียบเทียบต้นทุนการก่อหนี้ที่เป็นเงินตราสกุลต่างประเทศ บริษัท ยูโนแคล จำกัด ประเทศสหรัฐอเมริกา ต้องการกู้ยืมเงินจำนวน 1,000,000 ดอลลาร์ สรอ. เป็นระยะเวลา 1 ปี เพื่อนำมาใช้ขยายกิจการ โดยบริษัทมีทางเลือกที่จะกู้ยืมจากแหล่งกู้ 3 แหล่ง ดังนี้ ก. กู้จาก Bank of America เป็นสกุลเงินดอลลาร์ สรอ. โดยจ่ายอัตราดอกเบี้ย 8% ต่อปี กู้จาก Bank of America เป็นสกุลเงินดอลลาร์ สรอ. ต้นทุนของหนี้สินเท่ากับ $1,000,000 × 8% = $80,000 ต้นทุนของหนี้สินหลังหักภาษีเท่ากับ $80,000 × ( ) = $52,000
14
ข. กู้จาก Sanwa Bank เป็นเงินสกุลเยน
= [( ) × (1+0.03)] - 1 = % ต้นทุนของหนี้สินเท่ากับ $1,000,000 × 8.15% = $81,500 ต้นทุนของหนี้สินหลังหักภาษีเท่ากับ $83,000 × ( ) = $52,975
15
ค. กู้จาก National Westminster Bank เป็นเงินสกุลปอนด์
= [( ) × ( )] -1 = 8.30% ต้นทุนของหนี้สินเท่ากับ $1,000,000 × 8.30% = $83,000 ต้นทุนของหนี้สินหลังหักภาษีเท่ากับ $83,000 × (1-0.35) = $53,950
16
จากการคำนวณและเปรียบเทียบต้นทุนของหนี้สินหลังหักภาษี จากแหล่งกู้ต่างๆข้างต้น จะเห็นได้ว่า การกู้ยืมเงินจาก Bank of America เป็นทางเลือกที่ดีที่สุด เมื่อนำปัจจัยทั้งทางด้านอัตราดอกเบี้ย และการเปลี่ยนแปลงในค่าเงินตรามาพิจารณาร่วมกันแล้ว เนื่องจากทางเลือกนี้ มีต้นทุนการกู้ยืมต่ำที่สุดในรูปเงินสกุลดอลลาร์ สรอ. อีกทั้งบริษัทยังไม่ต้องเผชิญกับความเสี่ยงจากการแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศอีกด้วย
17
ทางเลือกในการระดมทุนจากตลาดหนี้ระหว่างประเทศ
ตลาดหนี้ระหว่างประเทศประกอบด้วยเครื่องมือทางการเงินต่างๆ ที่มีความหลากหลายทั้งในเรื่องสกุลเงินในการก่อหนี้ ประเภทอัตราดกเบี้ย ระยะเวลาในการกู้ยืม และรูปแบบการจ่ายชำระคืนเงินต้นและดอกเบี้ย ทางเลือกในการะดมทุนจากตลาดหนี้ระหว่างประเทศ ที่บริษัทข้ามชาตินิยมใช้มีอยู่ มีดังต่อไปนี้
18
การกู้ยืมเงินจากธนาคารระหว่างประเทศ (Cross-Border Bank Loans)
ยูโรดอลลาร์ (Eurodollars) คือ เงินฝากสกุลเงินดอลลาร์ สรอ. ที่ฝากไว้กับธนาคารพาณิชย์นอกประเทศสหรัฐ โดยธนาคารเหล่านั้นจะตั้งบัญชีเจ้าหนี้เงินสกุลดอลลาร์สรอ.ต่อผู้ฝาก สาเหตุ คือ 1. ต่างประเทศโอนเงินสกุลดอลลาร์สรอ.ของตนจาก ธนาคารสหรัฐไปฝากประเทศอื่น 2. ต่างประเทศนําเงินเงินสกุลดอลลาร์สรอ.ที่รับชําระเป็นเช็คสั่งจ่ายจากบัญชีเงินฝากที่ ธนาคารสหรัฐ ฝากเข้า ธนาคารในประเทศของตน 3. ชาวสหรัฐโอนเงินฝากเงินสกุลดอลลาร์สรอ.ของตนจาก ธนาคารในสหรัฐไปประเทศอื่น 4. ผู้ถือเงินตราสกุลอื่นแลกเปลี่ยนเงิน เงินสกุลดอลลาร์สรอ.แล้วนําไปฝากประเทศอื่น
19
สาเหตุที่ทําให้ตลาดยูโรดอลลาร์ เติบโตอย่างรวดเร็ว
1. การมีข้อบังคับเกี่ยวกับอัตราดอกเบี้ยเงินฝากในสหรัฐ 2. ความปรารถนาของธนาคารอังกฤษที่ต้องการเป็นใหญ่ในตลาดเงิน ระหว่างประเทศ 3. การเกรงว่าสหรัฐจะห้ามโอนเงินหรือเคลื่อนย้ายบัญชีในประเทศ 4. ความเชื่อมั่นในสกุลดอลลาร์สหรัฐ 5. การขาดดุลการชําระเงินของสหรัฐ ตั้งแต่ ปี ค.ศ. 1955 6. ระเบียบเงื่อนไขในตลาดยุโรปเกี่ยวกับการรับฝากเงิน กู้ยืมเงินมีน้อย 7. การใช้อัตราแลกเปลี่ยนลอยตัว ทําให้เกิดการเก็งกำไรมากขึ้น
20
ข้อดีของ ตลาดยูโรดอลลาร์
1. เสริมสภาพคล่องแก่ประเทศต่าง ๆ 2. ชดเชยปัญหาทางการเงินแก่ประเทศต่าง ๆ 3. มีการใช้เงินตราระหว่างประเทศอย่างมีประสิทธิภาพ 4. ส่งเสริมการแข่งขันเสรี 5. เสียต้นทุนตํ่าในแง่ผู้ขอกู้ และไม่ต้องมีหลักประกัน 6. ส่งเสริมกิจกรรมของธนาคารพาณิชย์เกี่ยวกบการปริวรรตเงินตรา
21
ข้อเสียของ ตลาดยูโรดอลลาร์
1. ทําให้การใช้มาตรการทางการเงินของประเทศต่าง ๆ ไม่ได้ผล 2. อาจแข่งขันเรื่องอัตราดอกเบี้ยเงินฝากเพื่อดึง เงินสกุลดอลลาร์ สรอ.จากผู้ออม 3. อาจเกิดปัญหาหนี้สินจากการกู้ยืม 4. อาจมีข้อพิพาททางการเมืองเข้ามามีอิทธิพลในตลาด 5. ทําให้เกิดการเคลื่อนย้ายทุนเพื่อหากาไรจากอัตราดอกเบี้ย
22
กลไกการสร้างเงินยูโรดอลลาร์
ตลาดเงินยูโร (Eurocurrency Market) มีความเกี่ยวข้องกับห่วงโซ่ของการฝากเงิน (Chain of Deposit) และห่วงโซ่ของการกู้ยืมเงินและการปล่อยกู้ (Chain of Borrowing and Lending) โดยกระบวนการปล่อยกู้และฝากเงินดังกล่าว จะสามารถดำเนินไปได้อย่างต่อเนื่องจนกระทั่งมูลค่าของเงินดอลลาร์ สรอ. ในตลาดเงินยูโรดอลลาร์ มีการขยายตัวอย่างเต็มที่ ดังสมการต่อไปนี้
23
D = 𝑹 𝒓 เมื่อ D คือ ปริมาณเงินรับฝากและปล่อยกู้ที่ขยายตัวได้เต็มที่
R คือ ปริมาณเงินแรกเริ่มที่เข้าสู่ตลาดเงินยูโร r คือ อัตราเงินสดสำรองตามกฎหมาย 1 𝑟 คือ ตัวคูณอัตราเงินสดสำรองตามกฎหมาย (Deposit- Reserve Multiplier)
24
โดยหลักการแล้ว อัตราเงินสดสำรองตามกฎหมายสำหรับตลาดเงินยูโร จะมีค่าเท่ากับศูนย์ ( r = 0) ซึ่งหมายถึงการสร้างเงินฝากในตลาดยูโร จะสามารถทำได้อย่างต่อเนื่องอย่างไรก็ตามกระบวนการสร้างเงินฝากในตลาดเงินยูโรจะสิ้นสุดลง เมื่อจำนวนเงินแรกเริ่มได้ถูกโอนกลับไปอยู่ในมือของบุคคล หรือบริษัทที่มีสัญชาติเป็นเจ้าของเงินสกุลนั้น
25
สินเชื่อยูโร (Eurocredits)
สินเชื่อยูโร เป็นสินเชื่อที่ธนาคารระหว่างประเทศปล่อยเงินกู้ให้แก่ธุรกิจเอกชน ธนาคารพาณิชย์และธนาคารกลางของประเทศต่างๆ ตลอดจนองค์กรระหว่างประเทศ ในรูปเงินตราสกุลต่างๆ ที่ไม่ใช่เงินตราสกุลท้องถิ่น ของธนาคารนั้นเปิดดำเนินกิจการอยู่ สินเชื่อระยะสั้นที่อายุไม่เกิน 1 ปี สินเชื่อระยะปานกลางที่มีอายุตั้งแต่ 1 ปี ถึง 5 ปี รูปแบบการให้สินเชื่อนิยมทำเป็นแบบสินเชื่อที่ให้โดยกลุ่มธนาคาร (Syndicate Credit)
26
การให้สินเชื่อยูโรของธนาคารระหว่างประเทศมี 2 รูปแบบหลักดังนี้
1. การให้สินเชื่อแบบกำหนดวงเงินสูงสุด (Line of Credit) ธนาคารจะตกลงให้ผู้กู้ยืม สามารถเบิกกู้ได้เป็นจำนวนสูงสุดเท่ากับเงินที่ตกลงไว้ในสัญญาเงินกู้ และภายในช่วงเวลาที่กำหนดไว้ 2. การให้สินเชื่อแบบต่ออายุเป็นงวด (Revolving Commitment) ธนาคารจะปล่อยเงินกู้ให้แก่ผู้กู้เป็นงวดๆ โดยมีการพิจารณาต่ออายุเป็นระยะๆ ภายในกรอบระยะเวลาการกู้ยืมตามที่ตกลงกันไว้
27
สินเชื่อโดยกลุ่มธนาคาร (Syndicated Credit)
สินเชื่อโดยกลุ่มธนาคาร (Syndicated Credit) หมายถึง สินเชื่อที่มีวงเงินสูงมาก ที่ปล่อยให้แก่ผู้กู้เพียงรายเดียวโดยธนาคารหลายแห่ง ซึ่งธนาคารแห่งหนึ่งหรือมากกว่า ทำหน้าที่เป็นธนาคารผู้นำ (Lead Bank) ทั้งนี้ ผู้กู้เงินมีสิทธิที่จะทราบชื่อสมาชิกในกลุ่มธนาคารที่ปล่อยเงินกู้ให้ได้
28
การกู้ยืมเงินจากตลาดตั๋วเงินยูโร (The Euronotes Market)
ตลาดตั๋วเงินยูโร เป็นชื่อเรียกของตลาดหนี้ระหว่างประเทศที่เริ่มเสนอให้แก่นักลงทุนมาเมื่อไม่นานนัก โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อช่วยอำนวยความสะดวกให้แก่นักลงทุน ให้การระดมเงินในตลาดเงินยูโรเป็นเงินตราสกุลต่างๆ สำหรับระยะเวลาสั้นๆ คือไม่เกิน 1 ปี และ ระยะปานกลาง คือระหว่าง 1 ปี ถึง 5 ปี
29
ตราสารระยะสั้นที่ออกจำหน่ายในตลาดยูโร ได้แก่
1. ตั๋วเงินฝากยูโร (Eurocurrency Certificate of Deposit -Euro CD) ตั๋วเงินฝาก ( Certificate of Deposit) เป็นหลักฐานการรับเงินฝากที่ออกโดยธนาคารพาณิชย์ ซึ่งสามารถโอนเปลี่ยนมือได้ (Negotiability) ตั๋วเงินฝากจะต่างจากเงินฝากประจำของธนาคารพาณิชย์โดยทั่วไป
30
2. ตั๋วเงินยูโร (Euronotes) และ ตราสารพาณิชย์ยูโร (Euro Commercial Paper : ECP)
2.1) ตั๋วเงินยูโร (Euronotes) เป็นตั๋วสัญญาใช้เงินระยะสั้น ออกโดยองค์กรธุรกิจหรือรัฐบาลเพื่อหาเงินทุนระยะสั้นจากตลาดยูโร ซึ่งมีลักษณะโอนเปลี่ยนมือได้โดยการส่งมอบ (Bearer Form) จะออกจำหน่ายโดยมีอัตราดอกเบี้ยตราไว้ (หรือไม่มีอัตราดอกเบี้ยตราไว้) หรือขายลดให้กับนักลงทุน (On Discount Basis) ก็ได้
31
2.2) ตราสารพาณิชย์ยูโร (Euro Commercial Paper : ECP) เป็นตั๋วสัญญาใช้เงินระยะสั้นออกโดยองค์กรธุรกิจหรือรัฐบาล เพื่อหาทุนระยะสั้นจากตลาดยูโร แต่มีขนาดใหญ่กว่าตลาดตั๋วเงินยูโร ตราสารพาณิชย์ยูโร จะมีลักษณะโอนเปลี่ยนมือได้โดยการลงส่งมอบและไม่มีอัตราดอกเบี้ยตราไว้โดยขายลดให้แก่ผู้ลงทุน ***ทั้งตั๋วเงินยูโรและตราสารพาณิชย์ยูโรมีลักษณะเหมือนกันมาก บางแห่งอาจจะจัดตราสารทั้ง 2 นี้ เป็นตราสารชนิดเดียวกัน***
32
ตัวอย่าง การกำหนดราคาและโครงสร้างตราสารพาณิชย์ยูโร สามารถคำนวณได้จากสมการ ดังต่อไปนี้
ราคาตลาด = ราคาหน้าตั๋ว 1+[ 𝑁 × 𝑌 100 ] เมื่อ Y คือ อัตราผลตอบแทนต่อปี N คือ จำนวนวันที่เหลือจนครบกำหนดอายุไถ่ถอน
33
3. เงินฝากยูโร (Eurocurrency Deposit)
เป็นการฝากเงินตราต่างประเทศกับธนาคารพาณิชย์ที่อยู่นอกอาณาเขตของประเทศเจ้าของเงินสกุลนั้นๆ โดยได้รับอัตราดอกเบี้ยตามที่ตกลงไว้ขณะที่ฝากเงิน ซึ่งจะเป็นเงินฝากระยะสั้น เช่น เงินฝากข้ามคืน (Overnight) เงินฝากเผื่อเรียก (Call Deposit) เงินฝากประจำ ผู้ฝากเงินในตลาดยูโรจะเป็นธนาคารพาณิชย์, ธนาคารกลาง และบริษัทที่มีธุรกิจระหว่างประเทศ และจะเป็นเงินสกุลสำคัญๆ ของโลก เช่น ดอลลาร์ สรอ. เยน เป็นต้น
34
การกู้ยืมเงินจากตลาดตราสารหนี้ระหว่างประเทศ (International Bond Market)
1. พันธบัตรในประเทศ (Domestic Bonds) เป็นตราสารกู้เงินในประเทศที่ออกโดยผู้กู้ที่มีถิ่นพำนักในประเทศนั้น จำหน่ายให้แก่ผู้ลงทุนประเทศเดียวกันนั้นและในสกุลเงินของประเทศนั้น ซึ่งเป็นตราสารที่มีอัตราดอกเบี้ยตราไว้หรือไม่ตราไว้ก็ได้
35
2. พันธบัตรต่างประเทศ (Foreign Bonds) เป็นตราสารเงินกู้ที่ออกจำหน่ายในประเทศหนึ่งในสกุลเงินของประเทศนั้น แต่ผู้ออกตราสารหรือผู้กู้ไม่มีถิ่นพำนักในประเทศนั้น เช่น Samurai Bonds, Yankee Bonds, Bulldog Bonds ซึ่งพันธบัตรต่างประเทศมีชื่อเรียกต่างๆ กันในแต่ละประเทศดังนี้
36
เป็นตราสารการเป็นหนี้ที่ออกจำหน่ายนอกประเทศ เจ้าของเงินสกนั้นๆ เป็นตราสารชนิดที่มีอัตราดอกเบี้ยตราไว้หรือไม่ก็ได้ ซึ่งมีลักษณะแตกต่างกันไปตามชนิดของพันธบัตรนั้นๆ ได้แก่ (1) Straight Bond พันธบัตรที่มีอัตราดอกเบี้ยกำหนดไว้แน่นอน (2) Convertibles (3) พันธบัตรอัตราดอกเบี้ยลอยตัว (Floating Rate Notes :Frns) (4) Drop lock Issues (5) Rising Coupon Issues (6) Currency Conversions/Option Bonds
37
(7) พันธบัตรที่ออกจำหน่ายเป็นช่วง ๆ (Tranche Issue) (8) ตราสารการเป็นหนี้ที่ไม่มีอัตราดอกเบี้ยตราไว้ (Zero Coupon Bonds) (9) พันธบัตรที่ไม่มีอายุหรือวันชำระเงินต้นคืน (Perpetual) (10) ตราสารที่ไม่มีกำหนดชำระคืน( Variable Rate Notes :VRNS) (11) พันธบัตรที่มีอัตราดอกเบี้ยและการจ่ายชำระคืนผูกพันกับดัชนีค่าครองชีพ(Index-Linked Bonds) (12) ตั๋วเงินอายุปานกลาง (Medium Term Notes : MTNS)
38
ประเภทตราสารหนี้ยูโร (Types of Eurobond)
1. ตราสารหนี้ที่จ่ายอัตราดอกเบี้ยคงที่ (The Straight Fixed-Rate Issue) ตลอดอายุตราสาร และระบุวันครบกำหนดไถ่ถอน (Maturity Day) ที่แน่นอน 2. พันธบัตรอัตราดอกเบี้ยลอยตัว (The floating – Rate Note : FRN) เป็นตราสารที่สามารถปรับอัตราดอกเบี้ยได้ทุกๆ 6 เดือน ตลอดอายุตราสาร โดยการปรับอัตราดอกเบี้ย (Reset) นั้น จะอาศัยอัตราดอกเบี้ยอ้างอิง (Reference Rate)
39
ทิศทางของตลาดตราสารหนี้ของโลก
ตราสารหนี้ระหว่างประเทศมีรูปแบบการจ่ายดอกเบี้ย 3 ประเภท คือ อัตราดอกเบี้ยคงที่ อัตราดอกเบี้ยลอยตัว และแปลงสภาพเป็นหุ้นสามัญ ทั้งนี้ตราสารหนี้ประเภทอัตราดอกเบี้ยคงที่ มีปริมาณการออกจำหน่าย ตราสารหนี้ที่จ่ายอัตราดอกเบี้ยแบบลอยตัวนิยมออกเป็นเงินสกุลยูโร
40
การจัดอันดับความน่าเชื่อถือของตราสารหนี้ยูโร (Rating of Eurobonds)
มีวัตถุประสงค์เพื่อระบุระดับความสามารถของผู้ออกตราสาร ในการชำระ คืนหนี้สินทั้งที่เป็นเงินต้นและดอกเบี้ย ภายในระยะเวลาที่กำหนดไว้ โดยสถาบันจัด อันดับความน่าเชื่อถือ จะได้รับค่าธรรมเนียม (Free) จากองค์กรที่ถูกจัดอันดับความ น่าเชื่อถือ การจัดอันดับความน่าเชื่อถือของตราสารหนี้ยูโรนั้น สถาบันจัดอันดับความน่าเชื่อถือทั้ง Moody’s และ S&P จะพิจารณากลุ่ม ปัจจัยเดียวกันกับที่ใช้สำหรับการจัดอันดับตราสารหนี้ที่ออกโดยองค์กร ภายในประเทศ โดยปัจจัยต่างๆใช้ในการพิจารณา ดังต่อไปนี้
41
การวิเคราะห์ระดับจุลภาค
1.) ภาวะอุตสาหกรรม 2.) ขนาดองค์กร 3.) รูปแบบการบริหารงาน ภายในองค์กร 4.) โครงสร้างองค์กร 5.) งบการเงิน 6.) นโยบายการเงิน 7.) อัตราส่วนทางการเงิน 8.) การประเมินมูลค่าทรัพย์สิน ขององค์กร 9.) รายการที่ไม่ปรากฏในงบดุล (Off-Balance-sheet Financing) 10.) กระแสเงินสด
42
การวิเคราะห์ระดับมหภาค
1. บทบาทของรัฐบาล 2. ภาษี 3. มาตรฐานการบัญชี 4. ความเสี่ยงทางการเมือง (Political Risk) 5. ความเสี่ยงทางเศรษฐกิจ (Economic Risk)
43
การลงทุนในตราสารหนี้ในประเทศกำลังพัฒนา
นักลงทุนระหว่างประเทศให้ความสนใจ ที่จะลงทุนในตราสารการเงินประเภทต่างๆ ที่ออกโดยประเทศกำลังพัฒนา (Developing countries) เนื่องจากเป็นตราสารการเงินที่ให้อัตราผลตอบแทนสูงกว่าตราสารทางการเงินชนิดเดียวกัน ที่ออกโดยกลุ่มประเทศที่พัฒนาแล้ว โดยนักลงทุนระหว่างประเทศ มีทางเลือกที่จะทำการลงทุนในตราสารหนี้ในประเทศที่กำลังพัฒนา ดังต่อไปนี้
44
1. ตราสารหนี้ในส่วนใหญ่ที่ซื้อขายกันในตลาดประเทศที่กำลังพัฒนา
จะเป็นกลุ่มตราสารหนี้ที่ถูกจัดอยู่ในระดับเพื่อการเก็งกำไร (Speculative Grade Bonds) และมักจะเป็นการระดมทุนในรูปเงินตราสกุลท้องถิ่น (Local Currency) ของประเทศนั้นๆ การลงทุนโดยตรงในตลาดตราสารหนี้ในประเทศกำลังพัฒนา ประเทศกำลังพัฒนาเกือบทุกประเทศ ยินดีที่จะให้นักลงทุนระหว่างประเทศ ทำการลงทุนในตลาดตราสารหนี้ของประเทศตนได้โดยตรง ดังนั้น ตลาดตราสารหนี้ในกลุ่มประเทศกำลังพัฒนา จึงมีการเจริญเติมโตอย่างรวดเร็ว
45
2. การลงทุนในตลาดตราสารหนี้ยูโรที่ระดมทุนโดยประเทศกำลังพัฒนา
ตลาดตราสารหนี้ยูโร (Eurobond Market) เป็นช่องทางที่สำคัญอีกช่องทางหนึ่งของการระดมทุนโดยกลุ่มประเทศกำลังพัฒนา ซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นรัฐบาลของประเทศ สำหรับประเทศในกลุ่มละตินอเมริกา อันได้แก่ ประเทศเม็กซิโก อาร์เจนตินา เวเนซุเอลา และบราซิล ได้ระดมเงินผ่านตลาดตราสารหนี้ยูโรสัดส่วนสูงที่สุด โดยจะทำการระดมทุนในรูปเงินสกุลดอลลาร์ สรอ. และเงินตราสกุลหลักของโลก
46
3. การลงทุนใน Brady Bond ในตลาดตราสารหนี้ระหว่างประเทศ
ในช่วงต้นทศวรรษที่ 1980s ได้เกิดวิกฤตการณ์ทางการเงินในภูมิภาคละตินอเมริกาขึ้น ซึ่งนำไปสู่ปัญหาหนี้สิ้นที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ (Nonperforming Debt) จำนวนมหาศาลในประเทศเหล่านั้นเพื่อเป็นการบรรเทาความรุนแรงของปัญหาดังกล่าว ประเทศสหรัฐอเมริกาซึ่งเป็นเจ้าหนี้รายใหญ่ที่สุดได้อนุญาตให้มีการแปลงหนี้สิ้นที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ เป็นตราสารหนี้เฉพาะที่มีชื่อเรียกว่า “Brady Bond” โดยตราสารหนี้ประเภทนี้ สามารถนำมาซื้อขายในตลาดตราสารหนี้ระหว่างประเทศได้
47
การระดมเงินจากตลาดหนี้ระหว่างประเทศโดยผ่านกิจการ วิเทศธนกิจในประเทศไทย
การระดมเงินจากตลาดหนี้ระหว่างประเทศโดยผ่านกิจการ วิเทศธนกิจในประเทศไทย กิจการวิเทศธนกิจ (International Banking Facilities:IBFs) หมายถึง หน่วยงานของธนาคารที่ได้รับอนุญาตให้ประกอบธุรกิจบริการทางการเงินระหว่างประเทศ โดยทำหน้าที่เป็นตัวกลางจัดสรรเงินทุนที่เป็นเงินตราสกุลต่างประเทศ จากภาคเศรษฐกิจที่มีปริมาณเงินเกินความต้องการ ไปยังภาคเศรษฐกิจที่มีความต้องการเงินทุน ภายใต้หลักการดำเนินกิจการแบบ offshore Market ดังนั้น กิจการวิเทศธนกิจจึงมีชื่อเรียกอีกชื่อหนึ่งว่า Offshore Banking
48
ประวัติความเป็นมาของกิจการวิเทศธนกิจในประเทศไทย
การประกอบกิจการวิเทศธนกิจในประเทศไทย (Bangkok International Banking Facilities: BIBFs)นั้นเริ่มจากการที่รัฐบาลไทย ได้มีนโยบายที่จะพัฒนาประเทศไทย เป็นศูนย์กลางทางการเงิน (Financial Canter) ของภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ทั้งนี้ เพื่อให้บรรลุเป้าหมายดังกล่าวประเทศไทยจะต้องมีการพัฒนาอย่างเป็นลำดับและต่อเนื่อง โดยเริ่มตั้งแต่การจัดตั้งประเทศไทยเป็นศูนย์กลางทางการเงินของภูมิภาค ในลำดับต่อมาคือ การพัฒนาประเทศไทยเป็นศูนย์กลางทางการเงินที่มีความชำนานเฉพาะด้าน (Restricted Financial Canter) และในลำดับสุดท้ายคือ การพัฒนาประเทศไทยให้เป็นศูนย์กลางทางการเงินแบบครบวงจร
49
ประเภทและขอบเขตการดำเนินงานของกิจการวิเทศธนกิจไทย
ในปัจจุบัน การดำเนินธุรกิจกิจการวิเทศธนกิจในประเทศไทย สามารถจำแนกได้เป็น 4 ประเภท 1. กิจการวิเทศธนกิจการเพื่อการให้กู้ยืมในต่างประเทศ (Out-Out Financing) 2. กิจการวิเทศธนกิจเพื่อการให้กู้ยืมในประเทศ (Out-In Financing) 3. กิจการวิเทศธนกิจเพื่อการดำเนินธุรกิจระหว่างประเทศ (International Banking Business) 4. กิจการวิเทศธนกิจเพื่อธุรกิจวาณิชธนกิจ (Investment Banking Business)
50
ประโยชน์ของกิจการวิเทศธนกิจ
1 สิทธิประโยชน์ของผู้ประกอบกิจการวิเทศธนกิจ 1.) ธุรกรรมประเภทการให้กู้ยืมเงินในประเทศ (Out-In Financing) 2.) ธุรกรรมประเภทการให้กู้ยืมในต่างประเทศ (Out-Out Financing) 3.) ธุรกรรมประเภทการดำเนินธุรกิจระหว่างประเทศ (International Banking Business) 4.) ธุรกรรมประเภทกิจการวาณิชธนกิจ (Investment Banking Business)
51
2 ประโยชน์ของกิจการวิเทศธนกิจที่มีผลต่อผู้ประกอบการธุรกิจ 1
2 ประโยชน์ของกิจการวิเทศธนกิจที่มีผลต่อผู้ประกอบการธุรกิจ 1.) ต้นทุนเงินกู้ที่ต่ำกว่า 2.) ความสะดวกในการติดต่อกับธนาคาร 3.) วงเงินขั้นต่ำไม่สูงเกินไป
52
ผลกระทบของกิจการวิเทศธนกิจต่อประเทศไทย
การจัดตั้งกิจการวิเทศธนกิจ(BIBFs) ขึ้นในประเทศไทย ได้ส่งผลกระทบต่อตลาดการเงินและระบบเศรษฐกิจของประเทศไทย ดังต่อไปนี้ 1. การควบคุมปริมาณเงินและปัญหาเงินเฟ้อ 2. ต้นทุนเงินทุนและอัตราดอกเบี้ยภายในประเทศ 3. บุคลากรและการจ้างงาน 4. รายได้ภาครัฐบาล 5. ธุรกรรมทางการเงินอื่นๆ
งานนำเสนอที่คล้ายกัน
© 2024 SlidePlayer.in.th Inc.
All rights reserved.