งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

คณะเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร มหาวิทยาลัยพะเยา

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


งานนำเสนอเรื่อง: "คณะเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร มหาวิทยาลัยพะเยา"— ใบสำเนางานนำเสนอ:

1 คณะเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร มหาวิทยาลัยพะเยา
Flowchart คณะเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร มหาวิทยาลัยพะเยา

2 วัตถุประสงค์ ความหมายและวิธีการสร้างอัลกอริทึม (Algorithm)
ผังงาน (Flowchart) และการสร้างผังงาน การคำนวณและลำดับการคำนวณ

3 Algorithm กลุ่มของขั้นตอน หรือ กฎเกณฑ์ ที่จะนำพาไปสู่การแก้ปัญหาได้
ขั้นตอนวิธี ซึ่งอธิบายว่างานนั้นๆ ทำอย่างไร ประกอบไปด้วยชุดลำดับเป็นขั้นตอนที่ชัดเจน และรับประกันว่าเมื่อได้ปฏิบัติถูกต้องตามขั้นตอนจนจบ จะได้ผลลัพธ์ที่ถูกต้อง ตามต้องการ

4 ตัวอย่าง Algorithm 1 ปัญหาอัลกอริทึม ล้างรถ ขั้นตอนอัลกอริทึม
ฉีดน้ำล้างรถให้ทั่วเพื่อขจัดฝุ่นและเศษดินทรายต่างๆ ออก ผสมแชมพูล้างรถ 1 ฝาต่อน้ำครึ่งถัง นำฟองสบู่ชุบน้ำแชมพูเช็ดทำความสะอาดให้ทั่ว ฉีดน้ำล้างให้สะอาด ใช้ผ้านุ่มๆ หรือ ผ้าชามัวร์ที่สะอาดเช็ดให้แห้ง

5 ตัวอย่าง Algorithm 2 ปัญหาอัลกอริทึม การเคลือบสีรถ ขั้นตอนอัลกอริทึม
ล้างรถ (นำอัลกอริทึมการล้างรถมาใช้) นำฟองน้ำจุ่มน้ำยาเคลือบสีรถ ป้ายบนตัวถังรถด้วยการวนเป็นก้นหอยให้ทั่วตัวถังรถ ปล่อยให้แห้งสักพักหนึ่ง เช็ดด้วยผ้านุ่มๆ ที่สะอาด

6 ตัวอย่าง Algorithm 3 ปัญหาอัลกอริทึม การแสดงเลขคู่ 1 ถึง 20
ขั้นตอนอัลกอริทึม กำหนดให้ num มีค่าเท่ากับ 1 กำหนดให้ ans = num MOD 2 ถ้าคำตอบของ ans เท่ากับศูนย์ ให้แสดงค่า num ทางจอภาพ ตรวจสอบค่า num ถ้าค่า num <> 20 ให้ num = num +1 ไปทำขั้นตอนที่ 2 ถ้าค่า num = 20 จบการทำงาน

7 ตัวอย่าง Algorithm 4 ปัญหาอัลกอริทึม การชงกาแฟ ขั้นตอนอัลกอริทึม
1. เตรียมถ้วยกาแฟ 2. ใส่กาแฟสำเร็จรูป 2 ช้อน 3. ใส่ครีม 2 ช้อน 4. ใส่น้ำตาล 2 ก้อน 5. ใส่น้ำร้อน 3/4 ของแก้ว 6. คนให้เข้ากัน 7. เสิร์ฟ 8. หยุด

8 วิธีการสร้าง Algorithm
การบรรยาย (Narrative Description) การเขียนรหัสจำลอง (Pseudo Code) การเขียนผังงาน (Flowchart)

9 วิธีการสร้าง Algorithm
การบรรยาย (Narrative Description) เป็นวิธีเขียนอัลกอริทึมโดยการใช้คำพูดบรรยายเป็นตัวอักษร วิธีนี้ง่ายสำหรับผู้เขียน แต่ยากในการนำไปปฏิบัติ เนื่องจากขอบเขตของการบรรยายอาจกว้าง ยืดเยื้อ

10 วิธีการสร้าง Algorithm
การเขียนรหัสจำลอง (Pseudo Code) เป็นรหัสคำสั่งที่ไม่ใช่คำสั่งภาษาโปรแกรมคอมพิวเตอร์ แต่เป็นชุดคำสั่งที่เขียนเพื่อเลียนแบบคำสั่งโปรแกรมอย่างย่อๆ เพื่อใช้เป็นแนวทางในการสร้างคำสั่งควบคุมของโปรแกรมภาษานั้นต่อไป

11 วิธีการสร้าง Algorithm
การเขียนรหัสจำลอง (Pseudo Code) เครื่องหมายหรือคำสั่งที่นิยมใช้ในรหัสจำลอง มักประกอบด้วยคำสั่งต่อไปนี้ เช่น BEGIN…END, REPEAT, DO…UNTIL, WHILE…DO, IF…THEN…ELSE…, FOR, LOOP

12 วิธีการสร้าง Algorithm
การเขียนรหัสจำลอง (Pseudo Code) เช่น การบวกเลขตั้งแต่ 1 ถึง 100 num 1 num 0 do sum sum + num num num+1 until(num>100) การเขียนรหัสจำลอง (Pseudo Code) เช่น การบวกเลขตั้งแต่ 1 ถึง 100 num 1 num 0 do sum sum + num num num+1 until(num>100)

13 วิธีการสร้าง Algorithm
การเขียนรหัสจำลอง (Pseudo Code) ALGORITHM PROBLEM 1 Input Test Score1 Input Test Score2 Input Test Score3 Add Test Score1+Test Score2 +Test Score3 Divide total sum by 3 Print result of division END PROBLEM1

14 วิธีการสร้าง Algorithm
การเขียนผังงาน (Flowchart) เป็นการนำเสนอในรูปแบบแผนภาพ ที่ประกอบด้วยสัญลักษณ์ต่างๆ ที่มีการกำหนดเป็นมาตรฐาน ผังงานแบ่งเป็น ผังงานระบบ (System Flowchart) และ ผังงานโปรแกรม (Program Flowchart)

15 วิธีการสร้าง Algorithm
การเขียนผังงาน (Flowchart) หน่วยงานที่ร่วมกันกำหนดสัญลักษณ์มาตรฐานเพื่อใช้ในการเขียนผังงาน : American National Standards Institute (ANSI) International Organization for Standardization (ISO)

16 วิธีการสร้าง Algorithm
ประโยชน์ของการเขียนผังงาน (Flowchart) ช่วยให้สามารถทำความเข้าใจลำดับขั้นตอนการทำงานของโปรแกรมหรือระบบใดๆ ได้อย่างรวดเร็ว ช่วยแสดงลำดับขั้นตอนการทำงาน ทำให้สามารถเขียนโปรแกรมได้อย่างเป็นระบบไม่สับสน เป็นอิสระต่อภาษาที่ใช้ในการเขียนโปรแกรม

17 วิธีการสร้าง Algorithm
การเขียนผังงานที่ดี (Flowchart) คำอธิบาย (Comments) ควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย มีลูกศรแสดงทิศทางชัดเจน ทุกแผนภาพต้องมีลูกศรแสดงทิศทางเข้า-ออก หากไกลกันมาก ควรใช้จุดเชื่อมต่อแทน (Connection)

18 ผังงาน (Flowchart) ผังงานระบบ (System Flowchart)
เป็นผังงานที่แสดงขั้นตอนการปฏิบัติงานหลักๆ โดย แสดงถึงตัวงานหลักที่ต้องทำในระบบ ซึ่งเป็นการมุ่งเน้นความสัมพันธ์ระหว่างงานหรือขั้นตอนต่างๆ ในระบบว่ามีกิจกรรมอะไรและมีความเกี่ยวข้องอย่างไร แต่ไม่แสดงรายละเอียดว่างานนั้นทำอย่างไร

19 ผังงานระบบ (System Flowchart)
ฐานข้อมูลพนักงาน input คำนวณเงินเดือน process พิมพ์เช็ค output

20 ผังงานโปรแกรม (Program Flowchart)
เป็นผังงานที่แสดงถึงขั้นตอนของกิจกรรมต่างๆ โดยละเอียด ทุกขั้นตอน ทำให้สามารถถ่ายทอดความเข้าใจหรือสื่อสารระหว่างกันได้

21 ผังงานโปรแกรม (Program Flowchart)
เริ่มต้น อ่านค่า รหัสพนักงาน ชั่วโมงการทำงาน อัตราค่าแรง ใช่ เงินเดือน = ((ชั่วโมงการทำงาน-160)  1.5  อัตราค่าแรง) + (160  อัตราค่าแรง) ชั่วโมง การทำงาน > 160 ไม่ใช่ เงินเดือน = ชั่วโมงการทำงาน * อัตราค่าแรง แสดง รหัสพนักงาน และเงินเดือน ผังงานโปรแกรม (Program Flowchart) จบ

22 ผังงาน (Flowchart) หลักเกณฑ์การเขียนผังงาน
สัญลักษณ์ที่ใช้อาจมีขนาดต่าง ๆ กันได้ แต่จะต้องมีรูปร่างเป็นสัดส่วนตามมาตรฐาน ทิศทางของลูกศรในผังงาน ควรจะมีทิศทางจากบนลงล่าง หรือจากซ้ายไปขวาเสมอ ผังงานควรมีความเรียบร้อย สะอาด พยายามหลีกเลี่ยงการเขียนลูกศรที่ทำให้เกิดจุดตัดเพราะจะทำให้ผังงานอ่านและทำความเข้าใจได้ยาก และถ้าในผังงานมีการเขียนข้อความอธิบายใดๆ ควรทำให้สั้นกะทัดรัดและได้ใจความ

23 สัญลักษณ์การเขียนผังงาน (Flowchart)
แบ่งเป็น 3 กลุ่มด้วยกัน คือ สัญลักษณ์พื้นฐาน (Basic Symbols) สัญลักษณ์ระบบ (System Symbols) สัญลักษณ์การโปรแกรม (Programming Symbols)

24 สัญลักษณ์พื้นฐาน (Basic Symbols)
สัญลักษณ์การประมวลผล PROCESS เป็นสัญลักษณ์ใช้แทนการประมวลผล ประกอบไปด้วยกลุ่มคำสั่งโปรแกรมเพื่อแสดงกระบวนการทำงานหรือฟังก์ชันการทำงานต่างๆ

25 สัญลักษณ์พื้นฐาน (Basic Symbols)
สัญลักษณ์การประมวลผล

26 สัญลักษณ์พื้นฐาน (Basic Symbols)
สัญลักษณ์คำอธิบายเพิ่มเติม Comment เป็นสัญลักษณ์ใช้สำหรับบรรยายคำอธิบายหรือหมายเหตุเพิ่มเติม เพื่อสื่อให้เข้าใจยิ่งขึ้น

27 สัญลักษณ์พื้นฐาน (Basic Symbols)
สัญลักษณ์คำอธิบายเพิ่มเติม

28 สัญลักษณ์พื้นฐาน (Basic Symbols)
สัญลักษณ์อินพุต/เอาท์พุต INPUT / OUTPUT เป็นสัญลักษณ์ที่ใช้แทนการนำข้อมูลหรือการแสดงผลลัพธ์ของข้อมูล โดยไม่มีการระบุอุปกรณ์ที่ชัดเจนลงไป

29 สัญลักษณ์พื้นฐาน (Basic Symbols)
สัญลักษณ์อินพุต/เอาท์พุต

30 สัญลักษณ์พื้นฐาน (Basic Symbols)
สัญลักษณ์จุดเชื่อมต่อ Connect เป็นสัญลักษณ์ที่นำมาใช้แทนจุดเชื่อมโยงของแผนภาพในหน้าเดียวกัน

31 สัญลักษณ์พื้นฐาน (Basic Symbols)
สัญลักษณ์จุดเชื่อมต่อ

32 สัญลักษณ์พื้นฐาน (Basic Symbols)
สัญลักษณ์จุดเชื่อมต่อ

33 สัญลักษณ์พื้นฐาน (Basic Symbols)
สัญลักษณ์แทนการเชื่อมโยงต่อเนื่องอีกหน้าหนึ่ง Off-page Connector เป็นสัญลักษณ์ที่นำมาใช้แทนจุดเชื่อมโยงของแผนภาพจากหน้าหนึ่งไปอีกหน้าหนึ่ง

34 สัญลักษณ์พื้นฐาน (Basic Symbols)
สัญลักษณ์แทนการเชื่อมโยงต่อเนื่องอีกหน้าหนึ่ง

35 สัญลักษณ์พื้นฐาน (Basic Symbols)
สัญลักษณ์เส้นทิศทาง เป็นสัญลักษณ์ที่ใช้สำหรับกำหนดทิศทางในการดำเนินงานของแผนภาพ

36 สัญลักษณ์พื้นฐาน (Basic Symbols)
สัญลักษณ์แสดงผลทางเครื่องพิมพ์ Document เป็นสัญลักษณ์เพื่อส่งเอาท์พุตหรือรายงานออกทางเครื่องพิมพ์

37 สัญลักษณ์ระบบ (System Symbols)
สัญลักษณ์เทปแม่เหล็ก Magnetic tape เป็นสัญลักษณ์ที่ใช้แทนสื่อจัดเก็บข้อมูลแบบเทปแม่เหล็ก ซึ่งเป็นได้ทั้งอินพุตและเอาท์พุต

38 สัญลักษณ์ระบบ (System Symbols)
สัญลักษณ์สื่อจัดเก็บข้อมูลแบบออนไลน์ Online Storage เป็นสัญลักษณ์ที่ใช้แทนสื่อจัดเก็บข้อมูลที่มีความจุสูง เช่น ดิสก์ ดรัมแม่เหล็กซึ่งข้อมูลอาจจัดเก็บลงบนสื่อในลักษณะเอาท์พุต หรืออาจเรียกข้อมูลจากสื่อดังกล่าวมาใช้งานก็ได้ โดยคอมพิวเตอร์สามารถเข้าถึงข้อมูลที่จัดเก็บได้โดยตรง

39 สัญลักษณ์ระบบ (System Symbols)
สัญลักษณ์สื่อจัดเก็บข้อมูลแบบออนไลน์

40 สัญลักษณ์ระบบ (System Symbols)
สัญลักษณ์สื่อจัดเก็บข้อมูลแบบดิสก์ Magnetic disk เป็นสัญลักษณ์ที่ใช้แทนดิสก์ ซึ่งเป็นอุปกรณ์ที่คอมพิวเตอร์สามารถเข้าถึงข้อมูลได้โดยตรง ในลักษณะอินพุตและเอาท์พุต

41 สัญลักษณ์ระบบ (System Symbols)
สัญลักษณ์การรวม Merge เป็นสัญลักษณ์ที่ใช้แทนการรวม เช่น การรวมไฟล์สองไฟล์เพื่อเก็บไว้อีกไฟล์หนึ่ง

42 สัญลักษณ์ระบบ (System Symbols)
สัญลักษณ์การจัดเรียงข้อมูล Sort เป็นสัญลักษณ์ที่ใช้แทนการจัดเรียงข้อมูล หรือ ชุดตัวเลข

43 สัญลักษณ์ระบบ (System Symbols)
สัญลักษณ์การจัดเก็บข้อมูลแบบออฟไลน์ Off-line Storage เป็นสัญลักษณ์ที่ใช้แทนสื่อหรืออุปกรณ์จัดเก็บข้อมูลที่ไม่สามารถเข้าถึงข้อมูลได้โดยตรงจากคอมพิวเตอร์ โดยไม่มีการระบุชื่ออุปกรณ์ที่ชัดเจนลงไป

44 สัญลักษณ์ระบบ (System Symbols)
สัญลักษณ์แสดงผลทางจอภาพ Display เป็นสัญลักษณ์ที่ใช้สำหรับการแสดงผลข้อมูลทางจอภาพหรือเทอร์มินัล

45 สัญลักษณ์ระบบ (System Symbols)
สัญลักษณ์อินพุตด้วยมือผ่านทางแป้นพิมพ์ Manual input เป็นสัญลักษณ์ที่ใช้แทนการรับข้อมูลทางแป้นพิมพ์หรือคีย์บอร์ด

46 สัญลักษณ์ระบบ (System Symbols)
สัญลักษณ์ประมวลผลด้วยมือ Manual Operation เป็นสัญลักษณ์ที่ใช้แทนการประมวลผลด้วยแรงงานมนุษย์

47 สัญลักษณ์ระบบ (System Symbols)
สัญลักษณ์ลิงค์เพื่อการสื่อสาร เป็นสัญลักษณ์ที่ใช้แทนการติดต่อสื่อสาร ซึ่งทั้งสองฝั่งอยู่ต่างพื้นที่ เช่น การสื่อสารทางไกลผ่านระบบโทรศัพท์ หรือ ดาวเทียม เป็นต้น

48 สัญลักษณ์ระบบ (System Symbols)
สัญลักษณ์ลิงค์เพื่อการสื่อสาร

49 สัญลักษณ์การโปรแกรม (Programming Symbols)
สัญลักษณ์การตัดสินใจ Decision เป็นสัญลักษณ์ที่ใช้สำหรับการสร้างเงื่อนไขเพื่อตัดสินใจทางเลือกที่ต้องการ

50 สัญลักษณ์การโปรแกรม (Programming Symbols)
สัญลักษณ์การตัดสินใจ

51 สัญลักษณ์การโปรแกรม (Programming Symbols)
สัญลักษณ์การทำงานเป็นรอบ Preparation เป็นสัญลักษณ์ที่ใช้แทนการทำงานเป็นรอบ (loop)

52 สัญลักษณ์การโปรแกรม (Programming Symbols)
สัญลักษณ์การทำงานเป็นรอบ

53 สัญลักษณ์การโปรแกรม (Programming Symbols)
สัญลักษณ์แทนกลุ่มขั้นตอนหรือโปรแกรมย่อย Predefined Process เป็นสัญลักษณ์ที่ใช้แทนชื่อกระบวนการที่ประกอบไปด้วยกลุ่มขั้นตอนโปรแกรมในโปรแกรมย่อย

54 สัญลักษณ์การโปรแกรม (Programming Symbols)
สัญลักษณ์แทนกลุ่มขั้นตอนหรือโปรแกรมย่อย

55 สัญลักษณ์การโปรแกรม (Programming Symbols)
สัญลักษณ์แสดงจุดเริ่มต้นหรือสิ้นสุด Terminator เป็นสัญลักษณ์ที่ใช้แทนจุดเริ่มต้นของโปรแกรมและจุดสิ้นสุดของโปรแกรม

56 สัญลักษณ์การโปรแกรม (Programming Symbols)
สัญลักษณ์แสดงจุดเริ่มต้นหรือสิ้นสุด

57 ผังงานแบบโครงสร้าง (Structure Flowchart)
ผังงานโครงสร้างมี 3 รูปแบบ คือ โครงสร้างแบบเป็นลำดับ (Sequence Structure) โครงสร้างแบบมีการเลือก (Selection Structure) โครงสร้างแบบทำซ้ำ (Iteration Structure)

58 พื้นที่วงกลม = pi * รัศมี * รัศมี
1. โครงสร้างแบบเป็นลำดับ (Sequence Structure) เริ่มต้น “ เป็นโครงสร้างพื้นฐานของผังงาน และเป็นลักษณะขั้นตอนการทำงานที่พบมากที่สุด คือทำงานทีละขั้นตอนตามลำดับ ” pi = 3.14 รับค่ารัศมีวงกลม พื้นที่วงกลม = pi * รัศมี * รัศมี แสดงพื้นที่วงกลม Flowchart การคำนวณหาพื้นที่วงกลม จบ

59 2. โครงสร้างแบบมีการเลือก (Selection Structure)
เริ่มต้น “ รูปแบบที่ง่ายที่สุดของโครงสร้างแบบนี้คือ การเลือกแบบมีทางออก 2 ทาง” อ่านค่า รหัสพนักงาน ชั่วโมงการทำงาน อัตราค่าแรง เงินเดือน = ((ชั่วโมงการทำงาน-160)  1.5  อัตราค่าแรง) + (160  อัตราค่าแรง) ใช่ ชั่วโมง การทำงาน > 160 ไม่ใช่ เงินเดือน = ชั่วโมงการทำงาน * อัตราค่าแรง แสดง รหัสพนักงาน และเงินเดือน จบ

60 3. โครงสร้างแบบทำซ้ำ (Iteration Structure)
เริ่มต้น “ โครงสร้างนี้จะทำงานอย่างเดียวกันซ้ำไปเรื่อย ๆ ในขณะที่ยังเป็นไปตามเงื่อนไข “ J = 1 J <= 5 ไม่ใช่ ใช่ แสดงค่า J จบ J = J+1

61 เครื่องมือช่วยวาดผังงาน
เครื่องมือที่ใช้ช่วยในการเขียนผังงาน อาจใช้เขียนด้วยมือหรือใช้โปรแกรม เช่น Microsoft Visio ก็ได้

62 ขั้นตอนการแก้ปัญหาโจทย์ทางคอมพิวเตอร์
กำหนดสิ่งที่โจทย์ต้องการ กำหนดรูปแบบของผลลัพธ์ (Output) กำหนดข้อมูลนำเข้า (Input) กำหนดตัวแปร ขั้นตอนการประมวลผล เขียนผังงานหรือรหัสจำลอง

63 ขั้นตอนการแก้ปัญหาโจทย์ทางคอมพิวเตอร์
ตัวอย่างที่ 1 จงคำนวณค่าแรงของพนักงานรายชั่วโมง พร้อมเงินที่ต้องจ่ายแก่พนักงานแต่ละคน และจำนวนเงินทั้งสิ้นที่ต้องจ่าย

64 ขั้นตอนการแก้ปัญหาโจทย์ทางคอมพิวเตอร์
ตัวอย่างที่ 1 สิ่งที่โจทย์ต้องการ คำนวณค่าแรงให้กับพนักงาน และยอดเงินที่ต้องจ่ายทั้งหมด

65 ขั้นตอนการแก้ปัญหาโจทย์ทางคอมพิวเตอร์
ตัวอย่างที่ 1 รูปแบบผลลัพธ์ <<PAYROLL REPORT>> ID-No. NAME HOURS RATE PAY ======================================== xxxxx xxxxxxxxx ,999 xxxxx xxxxxxxxx ,999 ……. …………. ….. … …….. TOTAL PAYMENT ,999 =======

66 ขั้นตอนการแก้ปัญหาโจทย์ทางคอมพิวเตอร์
ตัวอย่างที่ 1 ข้อมูลนำเข้า รหัสพนักงาน ชื่อพนักงาน จำนวนชั่วโมงทำงาน อัตราค่าแรงต่อชั่วโมง

67 ขั้นตอนการแก้ปัญหาโจทย์ทางคอมพิวเตอร์
ตัวอย่างที่ 1 ตัวแปรที่ใช้ id_no รหัสพนักงาน name ชื่อพนักงาน ours จำนวนชั่วโมงทำงาน rate อัตราค่าแรงต่อชั่วโมง pay ค่าแรงที่จ่ายให้กับพนักงานแต่ละคน total ค่าแรงทั้งหมดที่ต้องจ่าย

68 ขั้นตอนการแก้ปัญหาโจทย์ทางคอมพิวเตอร์
ตัวอย่างที่ 1 ขั้นตอนการประมวลผล กำหนดให้ตัวแปร pay, total มีค่าเท่ากับศูนย์ อ่านข้อมูล id_no, name, hours, rate กำหนด pay=hours*rate พิมพ์ค่า id_no, name, hours, rate, pay กำหนด total=total+pay กลับไปทำขั้นตอนที่ 2 จนจบ พิมพ์ค่า total จบการทำงาน

69 ขั้นตอนการแก้ปัญหาโจทย์ทางคอมพิวเตอร์
ตัวอย่างที่ 1 6. เขียนผังงาน

70 การคำนวณ และลำดับการคำนวณ
นิพจน์คำนวณ (Arithmetic Expression) สัญลักษณ์ ตัวปฏิบัติการ ตัวอย่าง + การบวก A+B - การลบ A-B * การคูณ A*B / การหาร A/B ^ การยกกำลัง A^B

71 การคำนวณ และลำดับการคำนวณ
( ) คำนวณค่าในวงเล็บเป็นอันดับแรกเสมอ ^ คำนวณค่ายกกำลังอันดับถัดมา *, / คำนวณค่าคูณหรือหารอันดับถัดมา +, - คำนวณค่าบวกหรือลบอันดับสุดท้าย Note: ถ้าตัวดำเนินการอยู่ในลำดับเดียวกันให้ดำเนินการจากซ้ายไปขวา

72 ตัวอย่างลำดับการคำนวณของนิพจน์คำนวณ
A+B-C/D*E ลำดับที่ 1. C/D  ลำดับที่ 2. * E  ลำดับที่ A+B  ลำดับที่ 4.  -  

73 ตัวอย่างลำดับการคำนวณของนิพจน์คำนวณ
A + B – C / D * E 1 2 3 4

74 ตัวอย่างลำดับการคำนวณของนิพจน์คำนวณ
A/(B-C)+D*E-F^2/G = ลำดับที่ 1. (B-C)  ลำดับที่ 2. F^2  ลำดับที่ A/   ลำดับที่ 4. D*E  ลำดับที่ 5.  /G  ลำดับที่  +   ลำดับที่  -  

75 ตัวอย่างลำดับการคำนวณของนิพจน์คำนวณ
A / (B-C) + D * E – F ^ 2 / G 1 2 4 3 5 6 7

76 ตัวอย่างลำดับการคำนวณของนิพจน์คำนวณ
X / Y + A ^ 2 * (X-Y) + C 3 2 1 4 5 6

77 นิพจน์ที่มีการเปรียบเทียบเชิงสัมพันธ์
77 เป็นนิพจน์ที่เกี่ยวข้องกับการเปรียบเทียบหรือการสร้างทางเลือก สัญลักษณ์ ตัวปฏิบัติการ ตัวอย่าง = เท่ากับ A = B <>, >< ไม่เท่ากับ A <> B, A >< B > มากกว่า A > B < น้อยกว่า A < B >=, => มากกว่าหรือเท่ากับ A >= B, A => B <=, =<= น้อยกว่าหรือเท่ากับ A <= B, A =< B

78 นิพจน์ที่มีการเปรียบเทียบเชิงตรรกะ
นอกจากจะมีการเปรียบเทียบเชิงปริมาณแล้วยังมีการเปรียบเทียบเชิงตรรกศาสตร์ คือ นิเสธ (NOT), และ (AND), หรือ (OR) P Q P OR Q P AND Q T F สัญลักษณ์ ตัวอย่าง NOT NOT P AND P AND Q OR P OR Q P NOT P T F

79 นิพจน์ที่มีการเปรียบเทียบเชิงสัมพันธ์
79 ตารางค่าความจริง AND หรือ  สัญลักษณ์ ค่าความจริง T  T จริง T  F เท็จ F  T F  F

80 นิพจน์ที่มีการเปรียบเทียบเชิงสัมพันธ์
80 ตารางค่าความจริง OR หรือ V สัญลักษณ์ ค่าความจริง T V T จริง T V F F V T F V F เท็จ

81 นิพจน์ที่มีการเปรียบเทียบเชิงสัมพันธ์
81 ตารางค่าความจริง NOT หรือ ~ สัญลักษณ์ ค่าความจริง ~ T เท็จ ~ F จริง

82 ลำดับการทำงานของตรรกะ
NOT จะโดยกระทำเป็นอันดับแรกเสมอ AND จะโดยกระทำเป็นอันดับต่อมา OR จะโดยกระทำเป็นอันดับสุดท้าย - เช่น A OR NOT B - เช่น NOT A AND (B OR C)

83 ลำดับการคำนวณนิพจน์ ถ้าในกรณีที่ นิพจน์ ประกอบด้วยการเปรียบเทียบเชิงสัมพันธ์, การคำนวณ และการเปรียบเทียบเชิงตรรกะ ให้ลำดับการปฏิบัติการดังต่อไปนี้ ให้ทำนิพจน์ที่มีการคำนวณ ก่อน ให้ทำนิพจน์ที่มีการเปรียบเทียบเชิงสัมพันธ์ ให้ทำนิพจน์ที่มีการเปรียบเทียบตรรกะ เช่น ANS$ = “Y” OR ANS$ = “y” A > B OR A <= C AND A = 8 NOT A > B OR A*B < C

84 ตัวอย่างโจทย์ 32*9-5^2+23 = 5^2<20 AND 6>4 =
จงหาค่าของนิพจน์ต่อไปนี้ 32*9-5^2+23 = 5^2<20 AND 6>4 = 10/2+4*2^3-12/(4*3) = NOT 7>=4 OR 9^2<81 = (7+26)*8-(23*4)/2 =

85 Example 1 จงเขียนผังงานการใช้งานโทรศัพท์สาธารณะ ด้วยการใช้บัตรโทรศัพท์ ตั้งแต่เริ่มต้นใช้งาน สนทนา จนกระทั่งจบการสนทนา

86 Example 2 จงเขียนผังงานเพื่อพิมพ์ค่าตัวเลขเฉพาะเลขคู่จากชุดตัวเลขตั้งแต่ 1 – 50 เพิ่มเติม การคำนวณหาค่าเฉลี่ย, ค่าสูงสุด และค่าต่ำสุด ของชุดตัวเลขที่ให้มา

87 Example 3 จงเขียนผังงานการคิดเกรดจากคะแนนรวม ซึ่งเกิดจากการนำ คะแนนเก็บ + คะแนนกลางภาค + คะแนนปลายภาค โดยคิดเกรด ดังนี้ A B+ 70-74 B C+ 60-64 C D+ 50-54 D F

88 Example 4 จาก Example 3 ให้เพิ่มเติม แสดงจำนวนคนที่ได้เกรดแต่ละเกรด
คะแนนสูงสุดที่ได้ คะแนนต่ำสุดที่ได้ คะแนนเฉลี่ยของห้อง

89 Homework จงเขียนผังงานเพื่อหาค่ามากที่สุด จากตัวเลข 3 ค่า โดยมีกฎเกณฑ์ว่าตัวเลขทั้ง 3 ต้องมีค่าแตกต่างกัน จากนั้นให้แสดงออกมาว่าค่าใดมีค่ามากที่สุด (… is max) จงเขียนผังงานเพื่อหาค่ามากที่สุด จากตัวเลข 3 ค่า โดยมีกฎเกณฑ์ว่าตัวเลขทั้ง 3 อาจมีค่าเท่ากันหรือแตกต่างกัน จากนั้นให้แสดงออกมาว่าค่าใดมีค่ามากที่สุด (A is max, AB are max or ABC are equal)


ดาวน์โหลด ppt คณะเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร มหาวิทยาลัยพะเยา

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


Ads by Google