งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

ประชาชนและบทบาททางการเมือง

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


งานนำเสนอเรื่อง: "ประชาชนและบทบาททางการเมือง"— ใบสำเนางานนำเสนอ:

1 ประชาชนและบทบาททางการเมือง

2

3 เงิน 1,000 ล้านบาท ทำอะไรได้บ้าง ???
ผ่าตัดเส้นเลือดหัวใจคนไทย ได้ 1,565 คน คนละ 639,000 บาท (ราคา package บำรุงราษฎร์ ส่งนักศึกษาเรียนต่อปริญญาเอก ได้ 666 คน (1ปี) คนละ 1,500,000 บาท โดยประมาณ (งบประมาณที่กำหนดโดย กพ. ดูได้รายประเทศ สามารถจ่ายเบี้ยผู้สูงอายุ 1ล้านคน จะจ่ายคนละ 600 บาท ได้ 166 ครั้ง (13 ปี) แจกเช็คช่วยชาติ คนละ 2,000 บาท ได้มากถึง 500,000 คน งบอาหารกลางวัน 1 มื้อ มื้อละ 20 บาท จะสามารถเป็นอาหารกลางวันเด็กไทย 1 มื้อ ได้จำนวน 50,000,000 มื้อ (ห้าสิบล้านมื้อ)

4 พลเมือง ประชาชน ราษฎร ร่างรัฐธรรมนูญ ที่คณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญร่างขึ้น เป็นที่ถกเถียงกันอย่างกว้างขวางในหลากหลายประเด็น หนึ่งในนั้น คือ “พลเมืองเป็นใหญ่” คือ 1 ใน4 ของเจตนารมณ์ในการยกร่างรัฐธรรมนูญ แม้ชื่อจะดูใหม่ แต่กลับเก่าสำหรับบางคนและไม่เห็นด้วยกับการใช้คำนี้ ศาสตราจารย์ลิขิต ธีรเวคิน ราชบัณฑิต การใช้คำว่าแทนคนในประเทศ ว่า”พลเมือง” นั้นเหมาะสมหรือไม่ ตามหลักวิชาด้านนิติศาสตร์และรัฐสาสตร์ และถ้าจะใช้ควรใช้คำใดแทนคนทั้งประเทศ อีกทั้งการให้คนในประเทศเป็นใหญ่นั้น จะทำได้หรือไม่ในร่างรัฐธรรมนูญฉบับนี้

5 ไพร่ฟ้า ราษฎร ประชาชน การเปลี่ยนแปลงการปกครองมาเป็น ระบอบประชาธิปไตย
รัชกาลที่7 ประชาชน คำทางกฎหมายและรัฐศาสตร์ ที่มีการใช้กันทั่วไป

6 ประชาชน = Citizen Citizenship = ความเป็นประชาชน
ประชาธิปไตยมี 2 หลักใหญ่ คือ ความเป็นประชาชน (Citizenship)ที่มีสิทธิเสรีภาพต่างๆ และ วิถีแห่งรัฐธรรมนูญนิยม (Constitutionalism) อำนาจที่กำกับและถ่วงดุลกัน คำว่า ประชาชน จึงเป็นเรื่องปกติทั่วไป ไม่ได้หมายถึงระบบสังคมนิยม ตามที่มีการกล่าวอ้างกัน ความน่าสนใจอยู่ที่คำเรียกแทนคนในประเทศ มีอย่างหลากหลาย ดังนั้นคำว่า “พลเมือง” จึงไม่ได้พิเศษ แต่เป็นคำที่คิดขึ้นมาเองว่า ให้สิทธิต่างๆ โดยคำมีที่ใช้มาโดยตลอด คือ คำว่า ประชาชน หรือ Citizen ส่วนราษฎรจะใช้ในบริบทอื่น ส่วนพลเมือง หมายถึงประชาชน ราษฎร และ ชาวประเทศ หรือภาษาอังกฤษที่ว่า Populace มาที่ภาษาต่างประเทศก็มีอยู่อย่างหลากหลาย

7 ความหมายของคำว่าพลเมืองและคำที่ใกล้เคียง
Citizen A legally recognized subject or national of a state or commonwealth, either native or naturalized Citizenship is the status of a person recognized under the custom or law of a state that bestows on that person (called a citizen) the rights and the duties of citizenship. Nationality In a number of countries, nationality is legally a distinct concept from citizenship, or nationality is a necessary but not sufficient condition to exercise full political rights within a state or other polity. Civic Education

8 Civic Education Civic Education (พลเมืองศึกษา) คือ การศึกษาเพื่อการเป็นพลเมืองดี เป็นการจัดการการศึกษาเพื่อให้พลเมืองนั้นเป็นพลเมืองที่ดีของประเทศและเป็นพลโลกที่ดีด้วย พลเมืองศึกษาจึงช่วยในการหล่อหลอมคุณภาพของคน สร้างเสริมความรับผิดชอบต่อสังคมและประเทศชาติ มีน้ำใจช่วยเหลือผู้อื่น เห็นแก่ส่วนรวมเพื่อการอยู่ร่วมกันอยู่ร่วมกันอย่างสันติสุขเป็นเป้าหมายสำคัญ

9 Civic Education พัฒนาการของพลเมืองศึกษาของไทยแบ่งเป็น 4 ระยะคือ
ระยะก่อนทันสมัย ก่อน 2413 ก่อน - รัชกาลที่ 5 มีวัดเป็นศูนย์กลางของการเรียนรู้ ระยะเริ่มต้นของความทันสมัย ปี 2413 - 2475 รัชกาลที่ 5 -รัชกาลที่ 7 การเริ่มต้นของการจัดการศึกษา เป็นระบบแยกโรงเรียนออกจากวัด มีการสอนวิชา “จรรยา” ระยะความทันสมัย ปี 2475 - 2520 รัชกาลที่ 7 - เกรียงศักดิ์ ชมะนันทน์ การจัดการศึกษาตามองค์ 4 ของการศึกษา หลักสูตรได้เปลี่ยนวิชา “จรรยา” เป็นวิชา “หน้าที่พลเมืองและศีลธรรม” ระยะความทันสมัยและ การพัฒนาการศึกษาของชาติ ปี 2421 -ปัจจุบัน เกรียงศักดิ์ ชมะนันทน์ -ปัจจุบัน มีหลักสูตรใหม่ทั้ง ระดับประถมศึกษาและมัธยมศึกษา

10 ปัจจัยที่กำหนดความเป็นพลเมือง Determining factors
A person can be a citizen for several reasons. Usually citizenship of the place of birth is automatic; in other cases an application may be required. Parents are citizens Born within a country Marriage to a citizen Naturalization

11 ประวัติความเป็นมาของความเป็นพลเมือง History of citizenship
Polis Many thinkers point to the concept of citizenship beginning in the early city-states of ancient Greece In the Roman Empire, citizenship expanded from small scale communities to the entire empire Roman ideas European Middle Ages, citizenship was usually associated with cities and towns, Nobility used to have privileges above commoners, but the French Revolution and other revolutions revoked these privileges Middle Ages People transitioned from being subjects of a king or queen to being citizens of a city and later to a nation. Citizenship became an idealized, almost abstract, concept Renaissance The modern idea of citizenship still respects the idea of political participation, but it is usually done through "elaborate systems of political representation at a distance" such as representative democracy Modern times

12 สองมุมมองที่แตกต่างของความเป็นพลเมือง Two contrasting views of citizenship

13 คุณสมบัติของ "พลเมือง" ในระบอบประชาธิปไตย 6 ประการ
คุณสมบัติของ "พลเมือง" ในระบอบประชาธิปไตย 6 ประการ มีอิสรภาพ (liberty) และสามารถพึ่งตนเองได้ (independent) เคารพสิทธิผู้อื่น ไม่ใช้สิทธิเสรีภาพของตนไปละเมิดสิทธิเสรีภาพของบุคคลอื่น เคารพความแตกต่าง มีทักษะในการฟังและยอมรับความคิดเห็นที่แตกต่างจากตนเอง เคารพหลักความเสมอภาค เคารพศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ของผู้อื่นและเห็นคนเท่าเทียมกัน เคารพกติกา เคารพกฎหมาย ใช้กติกาในการแก้ปัญหา ไม่ใช้กำลัง และไม่ยอมรับผลของการละเมิดกฎหมาย รับผิดชอบต่อสังคม ตระหนักว่าตนเองเป็นสวนหนึ่งของสังคมกระตือรือร้นที่จะรับผิดชอบและร่วมแก้ไขปัญหาสังคมโดยเริ่มต้นที่ตนเอง

14 สิทธิหน้าที่ของประชาชน (Right – Obligation of People)
สิทธิ หมายถึง ความสามารถของบุคคลที่จะกระทำการสิ่งใด ๆ ได้โดยไม่ถูกแทรกแซงหรือถูกขัดขวางจากผู้อื่น แต่การที่จะมีสิทธิและรักษาสิทธิได้นั้น รัฐองค์การเดียวเท่านั้น จะเป็นองค์การกำหนดขอบเขตแห่งสิทธิ และบังคับการให้เป็นไปตามสิทธิของบุคคล โดยมีบทบัญญัติไว้ชัดแจ้งว่าบุคคลจะใช้สิทธิได้เพียงใด หรือจะมีสิทธิอะไรบ้างนอกเหนือจากสิทธิตามธรรมชาติ เมื่อกฎหมายได้กำหนดให้สิทธิขึ้นหน้าที่ก็จะเกิดขึ้นด้วยตามสิทธิ เพราะสิทธิกับหน้าที่เป็นสิ่งที่เกี่ยวพันซึ่งกันและกัน

15 สำหรับการ ที่ประชาชนจะมีโอกาสแสดงบทบาทหรือเข้าร่วมทางการเมืองได้มากน้อยแค่ไหย่อม ขึ้นอยู่กับสิทธิและหน้าที่ของประชาชน โดยเฉพาะสิทธิทางการเมือง (Political Right) ซึ่งหมายถึง การที่ยินยอมให้บุคคลหรือกลุ่มบุคคลได้มีโอกาสมีส่วนในการแสดงออกซึ่งเจต จำนงในทางการเมือง สิทธิทางการเมืองของประชาชน โดยปกติแล้วจะกำหนดไว้ในกฎหมายหลักของประเทศคือกฎหมายรัฐธรรมนูญ เช่น รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ ในมาตรา 23 ได้กำหนดไว้ว่า “บุคคลย่อมมีสิทธิทางการเมือง การใช้สิทธิเลือกตั้ง สิทธิสมัครสิทธิในการเข้าร่วมเป็นรัฐบาลหรือสิทธิในการปกครองประเทศ เป็นต้น ดังนั้นจะเห็นได้ว่าสิทธิทางการเมืองกับประชาธิปไตยจะเป็นของคู่กัน จึงสรุปได้ว่า ประเทศที่มีการปกครองในระบอบประชาธิปไตย ประชาชนจะมีโอกาสแสดงบทบาททางการเมืองหรือเข้าร่วมทางการเมืองได้มากกว่า ประเทศที่ปกครองในระบบเผด็จการและสิทธิหน้าที่ทางการเมืองของประชาชนจะมีมาก หรือน้อยก็ขึ้นอยู่กับลัทธิทางการเมืองเช่นกัน

16 เสรีภาพทางการเมือง (Political Liberty)
บางโอกาสมีการใช้คำว่า “เสรีภาพ” ให้มีความหมายตรงกับคำว่า “ประชาธิปไตย” หรือรัฐบาลโดยประชาชน เราอาจจะเรียกรัฐหนึ่งว่าเป็น “รัฐบาลอิสระ” (Free Government) ถ้าหากประชาชนกำหนดด้วยตัวเองว่าเขาจะมีรัฐบาลประเภทไหนในความหมายนี้ เสรีภาพก็คือสิทธิทางการเมืองที่ประชาชนมีอยู่ ถ้าหากเสรีภาพนี้มีอยู่ในตัวของเอกชนทุกคน รัฐก็เป็นประชาธิปไตย รัฐบาลที่ถูกควบคุมโดยประชาชน นั้นคือการปกครองระบอบประชาธิปไตย ประชาชนจะมีเสรีภาพทางการเมืองมาก จึงมีบทบาทที่จะได้แสดงบทบาทหรือมีส่วนร่วมในทางการเมืองมากกว่าการปกครองใน ระบบเผด็จการ ฉะนั้นเสรีภาพทางการเมืองจึงหมายถึงการที่ประชาชนมี โอกาสที่จะกระทำความใด ๆ ต่อทิศทางการเมือง โดยการที่ถูกจำกัดหรือถูกควบคุมน้อยที่สุด เช่น เสรีภาพในการใช้สิทธิออกเสียงเลือกตั้ง การเข้าร่วมกลุ่มผลประโยชน์ การเข้าเป็นสมาชิกพรรคการเมือง การพูดคุยสนทนาเรื่องการ เมือง การอภิปรายถึงกิจกรรมหรือเหตุการณ์ทางการเมือง การก่อตั้งพรรคการเมือง และการลงสมัครรับเลือกตั้ง เป็นต้น

17 หมิ่นพระบรมเดชานุภาพ ความรุนแรง 3 ประการของมาตรา 112
ผู้ใดหมิ่นประมาท หรือแสดงความอาฆาตมาดร้ายพระมหากษัตริย์ พระราชินี รัชทายาท หรือผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ ต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่สามปี ถึงสิบห้าปี ความรุนแรง 3 ประการของมาตรา 112 King can do no wrong, because King can do nothing. การตีความและโทษ การเป็นเครื่องมือทางการเมือง การบังคับกล่อมเกลา

18 การตีความและโทษ กฎหมายหมิ่นประมาทพระมหากษัตริย์ เป็นส่วนหนึ่งของประมวลกฎหมายอาญา ซึ่งหากกล่าวกันตามหลักการที่สุดแล้ว กฎหมายดังกล่าวนี้เป็นกฎหมายที่ต้องตีความตามตัวอักษรอย่างเคร่งครัด โดยห้ามนำจารีตประเพณี หรือกฎหมายเทียบเคียงมาลงโทษผู้กระทำความผิดไม่ได้โดยเด็ดขาด ฉะนั้นหากจะว่ากันตามหลักการอย่างแท้จริงแล้ว กฎหมายฉบับนี้ครอบคลุมการหมิ่นประมาทบุคคลเพียง 4 บุคคลเท่านั้น คือ ) พระมหากษัตริย์, 2) พระราชินี, 3) รัชทายาท, และ 4) ผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ ปัญหาสำคัญในเรื่องการตีความนี้คือ 1) การตีความอย่างไม่ตรงตามหลักการ และ 2) การตีความอย่างไร้มาตรฐาน ซึ่งในที่สุดแล้วจะก่อร่างเป็นระบบโครงสร้างความรุนแรงที่สำคัญของสังคมไทย ที่ (ในระดับหนึ่ง) ผูกติดชีวิตคนไว้กับอัตตวิสัยทางความคิด ความนิยมชมชอบ และอคติของสถาบันตุลาการ

19 แท้จริงแล้วสองประเด็นดังกล่าวนั้นก็มีความเกี่ยวข้องกันอย่างสูงมากในระดับที่ พอจะกล่าวได้ว่าประเด็นที่ 2 เป็นผลต่อเนื่องจากประเด็นที่ 1 (หรือคิดในอีกแง่ ก็อาจจะบอกได้อีกว่า 1 เป็นผลของ 2) การตีความอย่างไม่ตรงหลักการนั้น เริ่มมาจากการไม่ปฏิบัติตามกระบวนการพิจารณากฎหมายอาญาในระดับพื้นฐานที่สุด (ที่แม้แต่เด็กมัธยมก็ต้องรู้กันแล้ว) นั่นเอง ทั้งนี้เพราะการปฏิบัติตามหลักการอย่างเคร่งครัดนั้นย่อมหมายถึงการจำกัดขอบเขตอำนาจของตุลาการลงด้วย และในกรณีของประเทศไทยนี้การพิจารณาอย่างอยู่ในขอบเขตของหลักการอย่างเคร่งครัดยังหมายถึง “การอนุญาตให้ก้าวล่วงเข้าไปในพื้นที่อันศักดิ์สิทธิ์ (ที่บังคับให้ศักดิ์สิทธิ์) มากจนเกินไป” ด้วยเหตุนี้เอง เมื่อตุลาการไม่พยายามดำเนินการตัดสินตามหลักการ (จนในระยะหลังสำหรับประเทศไทย ในบางแง่อาจจะกล่าวได้ด้วยซ้ำว่า ไม่จำเป็นต้องตัดสินตามหลักการอีกต่อไป) นอกจากจะเป็นการขยายขอบเขตอำนาจของตัวผู้พิพากษาหนึ่งๆ ให้มีอำนาจเหนือความศักดิ์สิทธิ์แท้จริงของตัวบทกฎหมายแล้ว ยังก่อให้เกิดประเด็นความรุนแรงอีกประเด็นคือ “ความไม่มีมาตรฐานในการตัดสิน” ตามมาด้วย

20 การเป็นเครื่องมือทางการเมือง (การนำมาใช้)
กฎหมายหมิ่นประมาทพระมหากษัตริย์นั้น เป็นกฎหมายที่ถูกนำมาใช้ในฐานะ “เครื่องมือ (Mechanism)” ที่สำคัญในทางการเมืองไทยมาตลอดหลายทศวรรษทั้งในแง่ผล 1) ทางตรง (คือการส่งคนเข้าคุก), และ 2) ทั้งในฐานะข้ออ้างทางการเมือง (ทั้งสร้างความชอบธรรมให้แก่ตน และความน่ารังเกียจเดียดฉันท์ให้แก่ผู้อื่น และรวมถึงการเป็นการ “ข่มขวัญ” ไปด้วยในทันที) ซึ่งประเด็นการนำมาตรา 112 มาใช้เหล่านี้ได้ก่อร่างระบบความรุนแรงในเชิงโครงสร้างในสังคมไทยขึ้นมา งานเขียนชิ้นนี้อยากจะ เสนอเพิ่มเติมจากข้อเสนอของสุธาชัยด้วยว่า ประเด็นสำคัญ “ในนัยยะทางการเมือง” ต่อการนำมาตรา 112 มาลงโทษประชาชน (ฝ่ายเสื้อแดง) นั้นไม่ใช่การหมายหัวรายบุคคลต่อผู้ซึ่งถูกกล่าวหาว่าหมิ่นประมาทพระมหากษัตริย์ แต่การลงโทษคนๆ หนึ่งนั้น เพื่ออาศัยพลังทางสัญญะในตัวมันมาสะท้อน / กล่าวหา (แบบเชิงบังคับ) ตัวตนของทั้งขบวนการ

21 การบังคับกล่อมเกลาประชาชนชาวไทยทุกคน (รวมถึงชาวต่างชาติในอาณาเขตประเทศไทย) ล้วนคือเหยื่อของกฎหมายหมิ่นประมาทพระมหากษัตริย์ทั้งสิ้น ระบบความรุนแรงที่มาตรา 112 และการบังคับใช้มันได้ร่วมกันสร้างขึ้นนั้น ได้ก่อให้เกิดภาวะ “สงัดเงียบทางความคิด และแน่นิ่งทางความคิดความเชื่อ” ขึ้น กล่าวคือ มาตรา 112 ได้กลายเป็นเครื่องกักกันความคิด ที่ไม่อนุญาตให้มีการนำเสนอการวิพากษ์วิจารณ์สถาบันกษัตริย์อย่างตรงไปตรงมา และด้วยการบังคับใช้ที่เข้มข้นนั้นทำให้ การนำเสนอข้อมูลเกี่ยวกับสถาบันกษัตริย์ถูกรีดเร้นเค้นออกมาแต่เพียงด้านเดียว คือ การเยินยอ สรรเสริญ

22 หลักฐานว่า “กฎหมายหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ” ยังมีอยู่ในอังกฤษ มาตรา 3 ของ Treason Felony Act 1848 ซึ่งแม้ยังมีผลบังคับใช้อยู่ “ในทางเทคนิค” แต่ไม่เคยนำมาฟ้องคดีกับใคร 136 ปีแล้ว และสมเด็จพระราชินีนาถก็ทำสถิติครองราชย์นานสุดไปแล้ว แม้ไม่มีใครเข้าคุกก็ตาม

23

24 ไม่นานหลังจากนั้น สนธิจะชูคำขวัญ "สู้เพื่อในหลวง" ออกมา
วันนี้เมื่อสิบปีก่อน 6 กันยายน 2548 สนธิ ลิ้มทองกุล ได้จัดอภิปรายหนังสือ "พระราชอำนาจ" โดย ประมวล รุจนเสรี ที่ธรรมศาสตร์ หนังสือของประมวล ที่พิมพ์ออกมาเป็น "ครั้งที่สอง" มีบท "อาเศียรวาท" ที่ประมวลเล่าว่า ปีย์ มาลากุล ได้บอกเขาว่าในหลวงทรงชอบหนังสือของเขามาก "เราอ่านแล้ว เราชอบมาก..." นี่คือจุดเริ่มต้นการรณรงค์ต่อต้านทักษิณของสนธิ และกลุ่มผู้จัดการ โดยยกเอาประเด็นในหลวงขึ้นมา - ไม่ใช่ "สถาบันกษัตริย์" เท่าไรนัก แต่ยกในหลวงในฐานะตัวบุคคลเฉพาะขึ้นมาเลย ไม่นานหลังจากนั้น สนธิจะชูคำขวัญ "สู้เพื่อในหลวง" ออกมา

25 การชูในหลวงในฐานะบุคคลเฉพาะของสนธิ เป็นผลผลิตของความเปลี่ยนแปลงเรื่องสถานะของสถาบันกษัตริย์ที่เกิดขึ้นใน ช่วงตั้งแต่กลางทศวรรษ 2530 ถึงกลางทศวรรษ 2540 ในแง่นี้ คำขวัญ "เราจะสู้เพื่อในหลวง" ของสนธิ ก็เช่นเดียวกับคำขวัญ "เรารักในหลวง" คือเป็นอะไรที่ใหม่ที่เพิ่งเกิดขึ้นในช่วงดังกล่าวนั้น สมัยก่อนหน้าทศวรรษ 2530 ไม่ได้รู้สึกกันว่า สมควรพูดถึงในหลวงแบบ "สนิทสนม" หรือ "นับญาติ" ขนาดว่า "รักในหลวง" หรือ "รักพ่อ" อะไรแบบนั้น

26 ถึงปลายเดือนธันวาคม คือตอนสิ้นสุดปีนั้น วิกฤติที่เรารู้จักกันในทุกวันนี้ ได้เริ่มต้นแล้ว เพียงแต่ตอนนั้น ไม่มีใครคาดคิดว่า วิกฤติจะขยายใหญ่โต ยืดเยื้อมาอีก 10 ปี และกลายเป็นวิกฤติที่กว้างขวางรุนแรงที่สุดในประวัติศาสตร์การเมืองไทยอย่าง ที่เรารู้จักกันทุกวันนี้

27 ข้อมูลอ่านประกอบ http://www.prachatai.com/journal/2009/10/26404


ดาวน์โหลด ppt ประชาชนและบทบาททางการเมือง

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


Ads by Google