ดาวน์โหลดงานนำเสนอ
งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ
ได้พิมพ์โดยMilagros Ferreyra Rico ได้เปลี่ยน 6 ปีที่แล้ว
1
Chapter 4 Treatment of Aliens & State Responsibilities (cont.)
Kanya Hirunwattnapong, November 2015
2
Kanya Hirunwattnapong, November 2015
การลักพาตัว (Abduction) การลักพาตัวเป็นการกระทำที่ถูกต้องตามกฎหมายหรือไม่ การลักพาตัวมีส่วนของการละเมิดอธิปไตยทางดินแดนของรัฐ กล่าวคือ รัฐหนึ่งส่งสายลับเข้าไปในอีกรัฐหนึ่งเพื่อลักพาตัวผู้ต้องสงสัย เป็นการเข้าไปในดินแดนหรือเขตอำนาจศาลของรัฐโดยที่ไม่ได้รับอนุญาตให้บังคับใช้เขตอำนาจศาลของตน (ของรัฐเจ้าของสัญชาติสายลับ) การลักพาตัวอาจเป็นการละเมิดสนธิสัญญาส่งผู้ร้ายข้ามแดน (ถ้ามีสนธิสัญญาเช่นว่าระหว่างกัน), การลักพาตัวอาจเป็นการละเมิดกฎหมายจารีตประเพณีระหว่างประเทศที่ว่าการบังคับเขตอำนาจศาลนอกอาณาเขต (ยากที่จะพิสูจน์ว่าเป็นการละเมิดกฎหมายจารีตฯ), การลักพาตัวเป็นการละเมิดสิทธิมนุษยชนของตัวผู้ที่ถูกลักพาตัว รัฐมักหลีกเลี่ยงปัญหาความไม่ชัดเจนในผลทางกฎหมายโดยการไม่ลักพาตัว แต่โดยการล่อบุคคลนั้นออกนอกประเทศโดยเฉพาะเข้าไปในส่วนที่ไม่อยู่ในอธิปไตยของรัฐใด อาทิ ทะเลหลวง หรือล่อให้บุคคลไปยัง ประเทศที่พร้อมให้ความร่วมมือ Kanya Hirunwattnapong, November 2015
3
Kanya Hirunwattnapong, November 2015
ความรับผิดระหว่างประเทศของรัฐที่ทำการลักพาตัว ถ้าศาลภายในดำเนินคดีผู้ถูกลักพาตัวเป็นการละเมิดกฎหมายระหว่างประเทศ รัฐที่ทำการลักพาต้องรับผิด และเยียวยาความเสียหายแก่รัฐของจำเลย หรือแก่รัฐที่บุคคลนั้นถูกลักพาตัว Stocke v. Germany [Commission/European Court of Human Rights] Stocke คนเยอรมันอาศัยในฝรั่งเศสถูกลวงเข้าไปในเยอรมันโดยสายตำรวจ และถูกดำเนินคดีเกี่ยวกับภาษีหลายคดีและ ถูกพิพากษาจำคุก Stocke ร้องเรียนไป ยัง Commission และ European Court of Human Rights กล่าวหารัฐบาลเยอรมันที่ล่อลวงเขาแต่ไม่อาจ พิสูจน์ได้ ดังนั้นถ้าพิสูจน์ได้ว่ารัฐบาลเยอรมันกระทำจริงก็จะถือว่าละเมิด the European Convention on Human Rights ในกรณีของ Eichmann การละเมิดอธิปไตยของอาร์เจนตินาโดยอิสราเอลได้รับการแก้ไข โดยช่องทางการฑูต อย่างไรก็ตามรัฐที่ทำการลักพาตัวไม่อาจปฏิเสธความรับผิดระหว่างประเทศด้วยข้ออ้าง ที่ว่ากฎหมายภายในของตนให้เขตอำนาจศาลไว้ Kanya Hirunwattnapong, November 2015
4
Kanya Hirunwattnapong, November 2015
รัฐและคนต่างด้าว (States and Aliens) โดยหลักทั่วไปรัฐไม่มีหน้าที่ต้องรับคนต่างด้าวเข้ามา แต่เมื่อรัฐรับมาแล้วก็ต้องปฏิบัติต่อคนต่างด้าวตามมาตรฐานระหว่างประเทศ กล่าวคือรัฐต้องปฏิบัติต่อคนต่างด้าวตามมาตรฐานปกติของอารยะประเทศ (ordinary standards of civilization) ทั้งนี้รัฐไม่อาจอ้างกฎหมายภายในตนในการปฏิบัติต่อคนต่างด้าวที่เป็นการละเมิดข้อตกลงระหว่างประเทศ รัฐที่รับคนต่างด้าวไม่อาจห้ามการออกจากประเทศของคนต่างด้าวนั้น อย่างไรก็ตามรัฐสามารถขับคนต่างด้าวออกนอกประเทศได้แต่ต้องกระทำในลักษณะที่ไม่กระทบต่อศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์ และคนต่างด้าวต้องถูกส่งไปยังรัฐที่ตนมีสัญชาติ Kanya Hirunwattnapong, November 2015
5
Kanya Hirunwattnapong, November 2015
คนไร้รัฐ (Stateless persons) สภาพของการไร้รัฐ (stateless persons) เป็นกรณีที่คนไม่มีสัญชาติ ซึ่งเกิดได้หลายกรณี ในบางกรณีสภาพการไร้รัฐอาจเกิดตั้งแต่ขณะเกิด อาทิ การที่เด็กนอกสมรสที่เกิดในรัฐที่ไม่ใช้หลักดินแดนในการ ได้สัญชาติ (jus soli) และแม่ที่เป็นต่างด้าวที่กฎหมายภายในของรัฐของแม่นั้นไม่ให้สัญชาติของแม่, หรือ ในกรณีที่เด็ก เกิดจากคู่สมรสในรัฐที่ไม่ใช้หลักดินแดน และบิดามารดาเองก็ไม่มีสัญชาติ นอกจากนั้น การไร้รัฐอาจมีได้ภายหลังการเกิด อาทิ การถูกถอนสัญชาติเพราะทำผิด หรือกรณีถูกลงโทษ คนเหล่านี้จะได้ประโยชน์จากกฎหมายระหว่างประเทศ อาทิ ไม่อาจได้รับการปกป้องจากรัฐ (Diplomatic protection) คนไร้รัฐมักได้รับการปฏิบัติจากรัฐที่เขาอยู่เสมือนหนึ่งเป็นคนต่างด้าว บุคคลเหล่านี้ยังได้รับการดูแลภายใต้ กฎบัตรสหประชาชาติ, สนธิสัญญาด้านมนุษยชน ในกรณีดังกล่าวนี้ รัฐที่ลงนามเป็น ภาคีในสนธิสัญญาอาจใช้สิทธิปกป้องได้แม้ว่าบุคคลนั้นไม่มีสัญชาติของภาคีนั้นก็ตาม Kanya Hirunwattnapong, November 2015
6
Kanya Hirunwattnapong, November 2015
มีความพยายามในระดับระหว่างประเทศในการลดโอกาสการเกิดภาวะการเป็นคนไร้รัฐ และถ้าเกิดขึ้นก็ พยายามลดความลำบากแก่บุคคลดังกล่าว อาทิ Hague Convention on Certain Questions Relating to the Conflict of Nationality Laws 1930 ได้กำหนดดังนี้ (อาทิ) ถ้าเด็กไม่ได้สัญชาติของบิดามารดาเพราะเหตุ ... เด็กยังคงมีสัญชาตินั้น ได้อยู่, เด็กที่ไม่ปรากฏบิดามารดา หรือไม่มีสัญชาติ จะมีสัญชาติของรัฐที่เด็กเกิด Protocol Relating to a Certain Case of Statelessness วางหลักเกณฑ์ว่า รัฐที่ไม่ใช้หลัก ดินแดนในการให้สัญชาติ ถ้าเด็กเกิดจากมารดาที่มีสัญชาติของรัฐนั้น ให้เด็กมีสัญชาติรัฐนั้นด้วย ทั้งนี้ต้องปรากฏว่าบิดาไม่มีสัญชาติ Protocol Concerning Statelessness กรณีที่สภาพการไร้รัฐเกิดจากการที่ไม่ได้รับสัญชาติของรัฐ ที่ตนไปอยู่ รัฐเดิมของบุคคลดังกล่าวต้องรับบุคคลนั้นตามคำขอของรัฐที่เข้าไปอยู่ Universal Declaration of Human Rights 1948 Convention on the Reduction of Statelessness 1961 Kanya Hirunwattnapong, November 2015
7
Kanya Hirunwattnapong, November 2015
ผู้อพยพ (Refugees/Displaced persons) ผู้อพยพ (กรณีที่ไม่ใช่คนไร้รัฐ – stateless persons) เป็นกรณีที่รัฐเจ้าของสัญชาติไม่อาจให้การปกป้องดูแลในฐานะ ของการเป็นคนสัญชาติของรัฐ รัฐมีสิทธิในการรับหรือปฏิเสธการเข้ามาอยู่ในรัฐของคนต่างด้าว แต่ข้อพิจารณาปัญหาอยู่ที่การที่ผู้คนหลบหนี หรือหนีจากภาวะปฏิปักษ์หรือภาวะอันตราย หรือจากจากสถานการณ์ทางการเมืองและสังคมที่ไม่อาจทนได้ และโดยเฉพาะอย่างยิ่งถ้ามีคนเป็นจำนวนมากที่หนีภาวะการณ์นั้นกลายเป็นการเข้าเมืองของคนจำนวนมาก ซึ่งอาจกรทบต่อความมั่งคงทางการเมืองของรัฐที่เกี่ยวข้อง (ทั้งรัฐที่รับและรัฐเจ้าของสัญชาติของคน) ข้อพิจารณาด้านมนุษยธรรม (humanitarian consideration) เรียกร้องให้รัฐรับผู้อพยพ (แม้ว่าในบางกรณีจะเป็นการชั่วคราว) การไหลเข้าเมืองของผู้คนที่เดือดร้อนจากปัญหาทางการเมืองของประเทศตน ทำให้เกิดความพยายามระดับระหว่างประเทศในการกำหนดมาตรการในลักษณะที่รับกันได้เพื่อต่อกรกับปัญหานี้ การเป็นผู้อพยพที่จะได้รับการดูแลตามกฎหมายระหว่างประเทศ ต้องแยกจากการเป็นผู้อพยพด้วยเหตุผลทางเศรษฐกิจที่ดีกว่า (economic migrants) Kanya Hirunwattnapong, November 2015
8
Kanya Hirunwattnapong, November 2015
สนธิสัญญาหลักๆที่ดูแลผู้อพยพ Constitution of the International Refugee Organisation 1946 Convention relating to the Status of Refugees 1951 Protocol relating to the Status of Refugees 1967 การรับคนต่างด้าว (Admission of aliens) ตามหลักจารีตประเพณีระหว่างประเทศนั้นรัฐไม่จำต้องรับคนต่างด้าว การรับคนต่างด้าวเป็นเรื่องการใช้ดุลพินิจ ทั้งนี้รัฐยังสามารถที่จะกันให้ต่างด้าวอยู่ในบางพื้นที่ของรัฐได้ เพราะการเข้ามาของคนต่างด้าวอาจมีประเด็นเรื่องความมั่นคงของรัฐเข้ามาเกี่ยวข้อง อาทิ ประเทศไทยไม่อนุญาตให้นักเคลื่อนไหวทางการเมืองชาวติมอร์ Jose Ramos Horta เข้าประเทศเพราะเกรงจะกระทบการเตรียมการประชุมเอเซีย-ยุโรปที่กรุงเทพฯ ที่จะมีในปี 1996 ซึ่ง Horta ขอให้รัฐบาลโปรตุเกตประท้วงการตัดสินใจของรัฐบาลไทยในขณะเดียวกันที่รัฐบาลอินโดนีเซียก็ขอให้รัฐบาลไทยไม่รับ Horta Kanya Hirunwattnapong, November 2015
9
Kanya Hirunwattnapong, November 2015
สิทธิการลี้ภัย (Right of Asylum) เมื่อคนต่างด้าวเข้ามาอยู่ในรัฐแล้ว คนต่างด้าวก็อยู่ภายใต้กฎหมายและหลักเกณฑ์ของรัฐที่รับทั้งนี้ตามหลัก “อธิปไตยทางดินแดน” (territorial supremacy) ดังนั้นรัฐที่คนต่างด้าวมีสัญชาติก็ไม่อำนาจเหนือคนของตนในดินแดนของรัฐอื่น โดยหลักกฎหมายจารีตประเพณีระหว่างประเทศเมื่อรัฐรับคนต่างด้าวแล้วไม่ได้กำหนดให้ต้องส่งคนนั้นกลับประเทศ หรือไล่ออกจากประเทศ ถ้าไม่มีข้อตกลงระหว่างประเทศ กล่าวคือ รัฐมีความสามารถที่จะให้ที่พำนักแก่คนต่างด้าวเสมอ ผู้ขอลี้ภัยไม่มีสิทธิให้มีการให้การอนุญาตลี้ภัย สิทธิการให้ลี้ภัยเป็นของรัฐที่จะพิจารณา ในรัฐธรรมนูญของหลายประเทศได้กำหนดให้มีการรับลี้ภัยทางการเมือง อาทิ รัฐธรรมนูญอิตาลี, เยอรมัน ปัจจุบันมีมาตรการการลี้ภัยทางการเมือง อาทิ Treaty of Montevideo on Political Asylum 1939; Universal Declaration of Human Rights; UN General Assembly Declaration on Territorial Asylum 1967 Kanya Hirunwattnapong, November 2015
10
Kanya Hirunwattnapong, November 2015
UN General Assembly Declaration on Territorial Asylum 1967 แนะนำรัฐในการปฏิบัติเกี่ยวกับการลี้ภัย อาทิ การให้ลี้ภัยของรัฐต้องได้รับการเคารพจากรัฐอื่นๆ, สถานการณ์ที่บุคคลที่ขอลี้ภัยเป็นสถานการณ์ที่เป็นที่กังวลของ สังคมระหว่างประเทศ, บุคคลที่ขอลี้ภัยเมื่อเข้ามาในดินแดนแล้วไม่อาจถูกส่งออกไป หรือบังคับให้ไปยังรัฐใดก็ตามที่เขา อาจถูกดำเนินคดี ยกเว้นเพียงแค่การส่งออกไปนั้นด้วยเหตุผลความมั่นคง หรือเพื่อดูแลประชากรของตนเพราะหลายกรณี ที่มีการทะลักเข้าสู่รัฐเป็นจำนวนมาก Kanya Hirunwattnapong, November 2015
11
การปฏิบัติต่อคนต่างด้าว (Treatment of aliens)
คนต่างด้าวต้องอยู่ภายใต้บังคับของกฎหมายของรัฐที่ตนอยู่ อย่างไรก็ตามรัฐอาจมีมาตรการตามดุลพินิจในการปฏิบัติต่อ คนต่างด้าว อาทิ ห้าคนต่างด้าวทำงานบางประเภท, ห้ามการถือกรรมสิทธิในอสังหาริมทรัพย์บางอย่าง หรือกำหนดข้อ จำกัดบางประการ, การจดทะเบียนเพื่อการติดตามและควบคุมพฤติกรรม เป็นต้น คนต่างด้าวที่เข้ามาอยู่แล้วรัฐอาจ กำหนดให้คนเหล่านี้เสียภาษี (ต่างจากการเข้ามาอยู่เพียงชั่วคราว) คนต่างด้าวในรัฐก็ต้องรับภาวะต่างๆที่เกิดในรัฐเช่นเดียวกับคนในชาติของรัฐนั้นไม่ว่าจะเป็นภาวะที่ดี หรือภาวะไม่สงบภาย ในรัฐ UN General Assembly Declaration on the Human Rights of Individuals who are not Nationals of the Country in which They Live 1985 คำประกาศสมัชชาใหญ่แห่งสหประชาชาติข้างต้นเกี่ยวข้องกับสถานภาพ (สิทธิมนุษยชน) ของคนต่างด้าว อาทิ ให้คนต่าง ด้าวปฏิบัติตามกฎหมาย ธรรมเนียม ประเพณีและวัฒนธรรมของประเทศที่ตนอาศัย, คนต่างด้าวมีสิทธิพื้นฐานทั่วไปทาง เศรษฐกิจ สังคม, ห้ามไม่ให้คนต่างด้าวตกอยู่ในสภาพบังคับข่มขู่ใดๆ, สามารถเข้าสู่กระบวนการยุติธรรม, ติดต่อสื่อสารกับ สถานฑูตและกงสุลของประเทศตน เป็นต้น Kanya Hirunwattnapong, November 2015
12
Kanya Hirunwattnapong, November 2015
มาตรฐานการปฏิบัติต่อคนต่างด้าว – 3 มาตรฐาน Most-favoured Nation Treatment [MFN] หลักการนี้ขึ้นอยู่กับข้อตกลงระหว่างประเทศ ส่วนมากมักระบุในข้อ ตกลงทางไมตรี, การค้า และมักเป็นข้อตกลงทวิภาคี แต่ก็ไม่เสมอไปเพราะข้อตกลงทริปส์ก็มีหลักการนี้ด้วย National treatment ไม่มีการเลือกปฏิบัติระหว่างคนชาติและคนต่างด้าว Minimum International Standard [MIS] ถ้ามาตรฐานท้องถิ่นหรือมาตรฐานที่รัฐปฏิบัติต่ำกว่ามาตรฐานขั้นต่ำ ระหว่างประเทศรัฐมีความรับผิดตามกฎหมายระหว่างประเทศ (ดูในหัวข้อความรับผิดของรัฐ) ส่วนมากแล้ว MIS มีมาตรฐานที่ต่ำกว่าทางปฏิบัติของรัฐ Kanya Hirunwattnapong, November 2015
13
การรับผิดของรัฐ และการเยียวยาความเสียหาย
ความรับผิดของรัฐตามกฎหมายระหว่างประเทศ หมายถึง ความรับผิดที่รัฐหนึ่งมีต่ออีกรัฐหนึ่งอันเนื่องมาจาก การที่รัฐไม่ปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติตามข้อผูกพันที่ระบบกฎหมายระหว่างประเทศได้วางไว้ไม่ว่าจะเป็น กฎหมายจารีตประเพณีระหว่างประเทศหรือสนธิสัญญา การกระทำของรัฐที่ก่อความเสียหายนั้นต้องมีการ เยียวยาต่อรัฐที่เสียหาย Chorzow Factory Case (Poland v. Germany) PCIJ 1928 ศาลพิพากษาว่า เป็นหลักการตาม กฎหมายระหว่างประเทศและหลักกฎหมายทั่วไปที่การละเมิดข้อตกลงก่อความผูกพันที่จะเยียวยาอย่างเพียงพอ คณะกรรมการกฎหมายระหว่างประเทศ (International Law Commission – ILC) จัดทำร่างสนธิสัญญา ว่าด้วยความรับผิดของรัฐ ILC Draft Articles on Responsibility of States for International Wrongful Acts ร่างกฎหมายดังกล่าวเสร็จสมบูรณ์ในปี 2001 (August) Kanya Hirunwattnapong, November 2015
14
Kanya Hirunwattnapong, November 2015
หลักการทั่วไปของสนธิสัญญาความรับผิดรัฐ การกระทำผิดระหว่างประเทศก่อความรับผิดระหว่างประเทศ การกระทำผิดระหว่างประเทศของรัฐหมายถึง การกระทำและงดเว้นการกระทำของรัฐที่เป็นการละเมิดกฎหมายระหว่าง ประเทศ ทั้งนี้ต้องมีการพิสูจน์ว่าได้มีการละเมิดข้อผูกพันระหว่างประเทศด้วย ดังนั้นเพียงแค่มีความเสียหายยังไม่เพียงพอ ที่รัฐต้องรับผิด อาทิ คดี Barcelona Traction Case (1964) ICJ การกระทำของรัฐที่เป็นการกระทำผิดระหว่างประเทศกำหนดโดยกฎหมายระหว่างประเทศ Kanya Hirunwattnapong, November 2015
งานนำเสนอที่คล้ายกัน
© 2024 SlidePlayer.in.th Inc.
All rights reserved.