งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

องค์ประกอบ การสำรวจเส้นทาง และการวางแผนจัดรายการนำเที่ยว

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


งานนำเสนอเรื่อง: "องค์ประกอบ การสำรวจเส้นทาง และการวางแผนจัดรายการนำเที่ยว"— ใบสำเนางานนำเสนอ:

1 องค์ประกอบ การสำรวจเส้นทาง และการวางแผนจัดรายการนำเที่ยว

2 องค์ประกอบของการจัดรายการนำเที่ยว
องค์ประกอบในการวางแผนจัดรายการนำเที่ยว หมายถึง ส่วนประกอบทั้งหมดที่เกี่ยวข้องกับการจัดรายการนำเที่ยว ซึ่งผู้จัดนำเที่ยวต้องศึกษาหาข้อมูลล่วงหน้าเพื่อนำมาวางแผนจัดรายการนำเที่ยวที่สำคัญ ได้แก่ 1. พาหนะที่ใช้ในการนำเที่ยว (Transportation) เช่น รถโค้ช รถตู้ รถไฟ เรือ หรือเครื่องบิน 2. โรงแรมหรือที่พัก (Hotel or Lodging) เช่น โรงแรม รีสอร์ท เกสต์เฮ้าส์ รวมไปถึงบ้านพักอุทยาน เต็นท์ ฯลฯ 3. ภัตตาคารหรือร้านอาหาร (Restaurant or Food Shop) เช่น ภัตตาคารอาหารประจำชาติ ร้านอาหารตามริมทางผ่านที่ให้บริการกับทางคณะทัวร์ หรือร้านอาหารที่มีการแสดงประกอบ 4. สิ่งดึงดูดใจทางการท่องเที่ยว (Attractions) เช่น แหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติ โบราณสถาน ประเพณี วัฒนธรรม วิถีชีวิต กิจกรรม เทศกาล สิ่งดึงดูดใจด้านการท่องเที่ยวต่าง ๆ 5. การบริการนำเที่ยวจากหัวหน้าทัวร์หรือมัคคุเทศก์ (Tour Leader and Guide Service) ได้แก่ การบริการนำเที่ยวจากหัวหน้าทัวร์ มัคคุเทศก์ หรือมัคคุเทศก์ท้องถิ่น 6. แหล่งซื้อของ (Shopping Places)

3 1. พาหนะที่ใช้ในการนำเที่ยว (Transportation)
1.1 พาหนะในการจัดนำเที่ยวทางบก 1.1.1 รถโค้ช (Coach) รถตู้ รถไฟ 1.2 พาหนะในการจัดนำเที่ยวทางอากาศ

4 1.3 พาหนะในการจัดนำเที่ยวทางน้ำ 1.4 พาหนะในการจัดนำเที่ยวอื่น ๆ
1.2 พาหนะในการจัดนำเที่ยวทางอากาศ 1.2.1 การจัดนำเที่ยวในสายการบินบริการแบบประจำ (Scheduled Service Airline) 1.2.2 การจัดนำเที่ยวในสายการบินบริการเช่าเหมาลำ (Charter Service Airline) 1.3 พาหนะในการจัดนำเที่ยวทางน้ำ 1.4 พาหนะในการจัดนำเที่ยวอื่น ๆ

5 2. โรงแรมหรือที่พักแรม (Hotel or Lodging)
2.1 โรงแรมประเภทธุรกิจ (Commercial Hotels) 2.2 โรงแรมประจำท่าอากาศยาน (Airport Hotels) 2.3 โรงแรมประเภทห้องชุด (Suite Hotels) 2.4 โรงแรมประเภทพักอาศัย (Residential Hotels) 2.5 โรงแรมเพื่อการพักผ่อน (Resort Hotels) 2.6 โรงแรมประเภทให้ที่พักและอาหารเช้า (Bed and Breakfast Hotels) 2.7 โรงแรมประเภทแบ่งเวลาและประเภทคอนโดมิเนียม (Time Share Hotels and Condominium Hotels) 2.8 โรงแรมแบบคอนโดมิเนียม (Condominium Hotels) 2.9 โรงแรมกาสิโน (Casino Hotels) 2.10 โรงแรมเพื่อการประชุม (Convention Hotels) โรงแรมบูติค (Boutique Hotels) 2.12 ที่พักประเภทอื่น ๆ - ที่พักเยาวชน (Youth Hostel) - คาราวานและแคมปิ้ง (Caravan and Camping) - บังกะโล (Bungalow) - ทัวริสต์ฮอลิเดย์ วิลเลจ (Tourist Holiday Villages) - คลับเมด (มาจากคำว่า Club Mediterranee) - โมเต็ล (Motel) - เกสต์เฮ้าส์หรือเพ็นชั่น หรือบอร์ดดิ้งเฮ้าส์ (Guest House, Pension or Boarding House) - บ้านพักในหมู่บ้าน หรือบ้านพักในฟาร์ม (Home Stay, Farm Stay) - หอพัก (Hostel, Domitory)

6 3. ภัตตาคารหรือร้านอาหาร (Restaurant or Food Shop)
3.1 ภัตตาคารหรือร้านอาหารของท้องถิ่น 3.2 ภัตตาคารร้านอาหารที่จัดการแสดงให้แขกชมหลังอาหาร หรือชมระหว่างรับประทานอาหาร 3.3 ภัตตาคารร้านอาหารที่จัดแบบบุฟเฟต์ 3.4 ภัตตาคารร้านอาหารที่จัดรายการอาหารแบบเซ็ทรายการมาให้ 3.5 ภัตตาคารอาหารจานด่วน

7 4. สิ่งดึงดูดใจทางการท่องเที่ยว (Attractions)
4.1 ประเภทธรรมชาติ 4.2 ประเภทประวัติศาสตร์ โบราณสถานโบราณวัตถุ 4.3 ประเภทศิลปวัฒนธรรม กิจกรรม เทศกาล งานประเพณี 5. บริการนำเที่ยวจากหัวหน้าทัวร์และมัคคุเทศก์ (Tour Leader and Guide Service) 5.1 มัคคุเทศก์ทั่วไป (ต่างประเทศ) 5.2 มัคคุเทศก์ทั่วไป (ไทย) 5.3 มัคคุเทศก์เฉพาะ (ต่างประเทศ-เฉพาะพื้นที่) 5.5 มัคคุเทศก์เฉพาะ (เดินป่า) บัตรสีเขียว บริษัทนำเที่ยวสามารถใช้บริการมัคคุเทศก์ประเภทนี้กรณีนำเที่ยวนักท่องเที่ยวชาวไทย หรือนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติโดยสามารถนำเที่ยวได้ในเขตพื้นที่ป่าได้ทั่วราชอาณาจักร 5.6 มัคคุเทศก์เฉพาะ (ศิลปวัฒนธรรม) 5.7 มัคคุเทศก์เฉพาะ (ทางทะเล) 5.8 มัคคุเทศก์เฉพาะ (ทางทะเลชายฝั่ง) 5.9 มัคคุเทศก์เฉพาะ (แหล่งท่องเที่ยวธรรมชาติ) 5.10 มัคคุเทศก์เฉพาะ (วัฒนธรรมท้องถิ่น) 6. แหล่งซื้อของ (Shopping Places)

8 คุณสมบัติและจรรยาบรรณของผู้วางแผนจัดนำเที่ยว
องค์ประกอบในการวางแผนจัดนำเที่ยวแต่ละประเภทที่กล่าวมาแล้วนั้น ผู้ที่จะเข้าไปประสานงานเพื่อนำองค์ประกอบต่าง ๆ เหล่านั้นมารวบรวมจัดเรียงรายการให้น่าสนใจก็คือ ผู้ประกอบการหรือผู้วางแผนจัดนำเที่ยวในแผนกจัดนำเที่ยว (Tour Operator) ของบริษัทนั่นเอง ซึ่งผู้ที่ทำหน้าที่ดังกล่าวนี้จำเป็นต้องพบเจอกับงานที่ละเอียดอ่อน และมีผลประโยชน์ต่าง ๆ มากมายเข้ามาเกี่ยวข้อง ดังนั้นผู้ที่จะทำหน้าที่นี้จำเป็นต้องมีคุณสมบัติและมีจรรยาบรรณยึดเหนี่ยวจิตใจ ซึ่งต่อไปนี้คือคุณสมบัติที่ผู้วางแผนจัดนำเที่ยว ควรมี ได้แก่ 1. ต้องซื่อสัตย์ ไม่แสวงหาผลประโยชน์จากสถานประกอบการ หรือจากมัคคุเทศก์ 2. วางตัวเป็นกลางไม่เอนเอียงเลือกที่รักมักที่ชังต่อลูกน้องหรือเพื่อนร่วมงาน หรือต่อสถานประกอบการที่เกี่ยวข้อง 3. ต้องมีความสามารถในการรู้จักเรียนรู้ประเภทของคู่ค้า และตัวแทนขายในสถานประกอบการต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการจัดนำเที่ยว 4. ต้องจัดงานตามความสามารถของมัคคุเทศก์ ของทีมงาน ให้เกียรติเพื่อนร่วมงาน 5. ต้องมีความสามารถในการเสนอทางเลือกสินค้าบริการได้หลากหลายให้แก่ผู้มาใช้บริการหรือลูกค้า 6. สามารถประสานงานได้ดีกับผู้เกี่ยวข้อง ทั้งรถ มัคคุเทศก์ โรงแรม ร้านอาหาร สถานที่ท่องเที่ยวต่าง ๆ รู้จักสร้างสัมพันธ์ที่ดีกับผู้ประกอบการที่เกี่ยวข้องกับการจัดนำเที่ยว 7. มีความอดทนเสียสละ เพื่อให้งานสำเร็จ

9 การสำรวจเส้นทางเพื่อการจัดนำเที่ยว
การสำรวจเส้นทาง คือ เดินทางไปยังเส้นทางแหล่งท่องเที่ยวที่คิดไว้ว่าจะนำมาจัดเป็นรายการนำเที่ยว โดยในเบื้องต้นจะสำรวจสภาพภูมิศาสตร์และภูมิประเทศของแหล่งท่องเที่ยวและบริเวณใกล้เคียง การสำรวจเส้นทาง สามารถแบ่งเป็น 3 ลักษณะ คือ 1. การสำรวจเส้นทางเดิม 2. การสำรวจเส้นทางใหม่ 3. การสำรวจเส้นทางเพื่อเป็นตัวแทนขาย (หรือเส้นทางตัวอย่าง)

10 ข้อดีของการได้สำรวจเส้นทางก่อนจัดนำเที่ยว
1. สามารถป้องกันและประหยัดค่าใช้จ่ายที่อาจเสียไปจากการไม่รู้ ไม่ชำนาญในพื้นที่ 2 .เพื่อได้ทราบระยะทาง สถานประกอบการต่าง ๆ ได้ชัดเจน ได้ข้อมูลสภาพที่เป็นปัจจุบันชัดเจนเจาะลึกและถูกต้องมากกว่าการสืบหาข้อมูลจากการนั่งประจำอยู่ที่สำนักงาน ซึ่งจะทำให้ได้เปรียบคู่แข่งขันทางธุรกิจ ไม่ว่าจะเป็นข้อมูลด้านที่พัก ร้านอาหาร โรงแรมแหล่งท่องเที่ยว การเดินทาง ฯลฯ 3. ผู้ประกอบการที่เกี่ยวข้องในการจัดนำเที่ยว เช่น โรงแรม ร้านอาหาร ฯลฯ จะเกิดความเกรงใจมากกว่า เพราะได้เจอผู้ที่จะมาใช้บริการตัวจริง ทำให้ผู้จัดนำเที่ยวมีโอกาสทางธุรกิจและอาจได้ข้อตกลงและเงื่อนไขที่ดีกว่าติดต่อทางการทำหนังสือ ส่งโทรสาร หรือทางโทรศัพท์ ข้อเสียที่อาจเกิดขึ้นในการสำรวจเส้นทางก่อนจัดนำเที่ยว 1. ทำให้บริษัทสิ้นเปลืองงบประมาณมากขึ้น อาจทำให้ต้องไปคิดรวมเป็นค่าใช้จ่ายที่ต้องคิดเพิ่มจากลูกค้าตามไปด้วย (ยกเว้นการได้ไปสำรวจเส้นทางโดยมีผู้สนับสนุนการสำรวจ) 2. การสำรวจเส้นทางจะไม่ได้ผลสูงสุดถ้าหากเจ้าของหรือผู้บริหารของบริษัทไม่ได้ไปสำรวจด้วยตัวเอง

11 การวางแผนจัดรายการนำเที่ยว
1. การวางแผนระยะยาว 2. การวางแผนระยะสั้น 2.1 การวางแผนจัดนำเที่ยวประจำปี จะต้องพิจารณาถึงปัจจัยต่าง ๆ ดังนี้ 2.1.1 ประเภทการจัดนำเที่ยว 2.1.2 ภูมิภาค/จุดหมายปลายทาง 2.1.3 วัตถุประสงค์ 2.1.4 ช่วงเวลาของการจัด จำนวนวัน และระยะทางในการจัดนำเที่ยว 2.1.5 ความคาดหวังจากลูกค้า 2.1.6 กิจกรรม 2.1.7 แหล่งท่องเที่ยว 2.1.8 งบประมาณ 2.2 องค์ประกอบสำคัญที่ควรพิจารณาในการวางแผนระยะสั้น มีดังต่อไปนี้ คือ 2.2.1 ที่พัก 2.2.2 ร้านอาหาร 2.2.3 ยานพาหนะ 2.2.4 จุดแวะพัก 2.2.5 ร้านขายของที่ระลึก 2.2.6 แหล่งท่องเที่ยว 2.2.7 บริการนำเที่ยวและมัคคุเทศก์

12 การวางแผนเพื่อความสำเร็จ
เฟย์ (Fay, B. 1992) ได้อธิบายถึงขั้นตอนการวางแผน สรุปได้ ดังนี้  ขั้นตอนที่ 1 วิเคราะห์สถานการณ์ (Situation Analysis) ขั้นตอนที่ 2 วิเคราะห์บริษัทคู่แข่ง (Competitor Analysis) ขั้นตอนที่ 3 พิจารณาเพิ่มการขาย (Sales Analysis) ขั้นตอนที่ 4 พิจารณาหาตลาดเป้าหมาย (Market Goal Analysis) ขั้นตอนที่ 5 พัฒนาแนวทางการติดต่อสื่อสาร (Method of Communication Development) ขั้นตอนที่ 6 ติดตามและประเมินผล (Follow up and Improvement)

13 ข้อควรพิจารณาในการวางแผนจัดรายการนำเที่ยว
การวางแผนนำเที่ยวในแต่ละครั้ง ผู้วางแผนควรตระหนักในเรื่องต่าง ๆ ดังต่อไปนี้ด้วย (พวงบุหงา ภูมพานิช, 2539) 1. วัตถุประสงค์ 2. เส้นทางและระยะทางในการเดินทาง 3. ลูกค้าเป้าหมาย 4. ราคาบริการท่องเที่ยว 5. ความต้องการหรือกระแสนิยมของลูกค้าที่มีต่อตลาดเป้าหมาย 6. ยานพาหนะในการเดินทาง 7. อาหาร 8. ระยะเวลา 9. แหล่งท่องเที่ยว 10. การตั้งชื่อ 11. ความปลอดภัย 12. ไม่ขัดต่อขนบธรรมเนียม ประเพณี วัฒนธรรม และสิ่งแวดล้อม 13. ไม่ผิดกฎหมายหรือความมั่นคงของประเทศชาติ 14. ข้อมูลจากบุคคลที่มีประสบการณ์นำเที่ยว 15. สื่อที่จะใช้ในการโฆษณาให้เข้าถึงกลุ่มเป้าหมาย 16. ฤดูกาลในการจัดนำเที่ยว 17. สภาพเศรษฐกิจ และกำลังซื้อจากลูกค้า


ดาวน์โหลด ppt องค์ประกอบ การสำรวจเส้นทาง และการวางแผนจัดรายการนำเที่ยว

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


Ads by Google