งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

การผลิตหม่อนไหม Sericulture.

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


งานนำเสนอเรื่อง: "การผลิตหม่อนไหม Sericulture."— ใบสำเนางานนำเสนอ:

1 การผลิตหม่อนไหม Sericulture

2 หม่อนไหม สถานการณ์ สถิติการนำเข้าและส่งออกไหมและผลิตภัณฑ์ไหม
มีการลดจำนวนลงของเกษตรกรผู้ปลูกหม่อนเลี้ยงไหมในประเทศขณะนี้ เนื่องจาก คนรุ่นหนุ่มสาวไม่สนใจประกอบอาชีพเกษตรกรรม หม่อนไหมมิใช่พืชเศรษฐกิจที่ทำรายได้หลักให้กับประเทศ สถิติการปลูกหม่อนเลี้ยงไหม มีเกษตรกรทำน้อยลงเนื่องจากประสบปัญหาต่างๆ จึงต้องมีการสนับสนุนเกษตรกรให้เข้มแข็ง เพื่อจะเป็นแนวทางแก้ปัญหาของผลผลิตรังไหมและเส้นไหมในประเทศได้ การผลิตเส้นไหมดิบของโลก ประเทศสาธารณรัฐประชาชนจีนเป็นประเทศผู้ผลิตเส้นไหมดิบรายใหญ่ที่สุดของโลก ประเทศผู้ส่งออกเส้นไหมที่สำคัญ คือ สาธารณรัฐประชาชนจีน ฮ่องกง และบราซิล ประเทศผู้นำเข้าเส้นไหมที่สำคัญ คือ ฮ่องกง อินเดีย ญี่ปุ่น เกาหลี และกลุ่มประชาคมยุโรป ประเทศไทยที่มีการนำเข้าทั้งเส้นไหมดิบและเส้นไหมสำเร็จรูป จากสาธารณรัฐประชาชนจีน และบราซิล ในปริมาณที่เพิ่มขึ้นทุกปี นับจากปี 2541 เป็นต้นมา หม่อนไหม

3 หม่อนไหม สถานการณ์ไหมไทย อนาคตไหมไทย
เกษตรกรผู้ประกอบอาชีพปลูกหม่อนเลี้ยงไหมประมาณ ,413 ราย มีพื้นที่ปลูกหม่อนประมาณ 190,734 ไร่ เกษตรกรผู้ประกอบอาชีพปลูกหม่อนเลี้ยงไหม เกษตรกรผู้เลี้ยงไหมพันธุ์ไทย เกษตรกรผู้เลี้ยงไหมพันธุ์ไทยลูกผสม เกษตรกรผู้เลี้ยงไหมพันธุ์ลูกผสมต่างประเทศ อนาคตไหมไทย การใช้เส้นไหมในประเทศ จะมีความต้องการใช้ในปริมาณมากได้ ขึ้นอยู่กับสินค้าผ้าไหมที่จะสามารถส่งออกไปจำหน่ายในต่างประเทศและภายในประเทศได้จำนวนมากขึ้น เพราะผ้าไหมไทยมีราคาแพงมาก เนื่องจากต้นทุนวัตถุดิบเส้นไหมราคาแพง จึงมีส่วนแบ่งในตลาดโลกน้อยมาก ประมาณร้อยละ 1.5 เท่านั้น

4 ลักษณะทางพฤกษศาสตร์

5 หม่อน (mulberry : Morus spp.)
Phylum Phaenerogamme Subphylum Angiosperme Class Dicotyledoneae Subclass Apetalae Family Moraceae Genus Morus

6 ลักษณะทั่วไป มีขน มียาง มีเส้นใย ไม้พุ่มใบพวก Dioecious
มีเพียงเพศเดียว ใบคล้ายใบโพธิ์

7 ประเภทของหม่อนที่มีอยู่ในประเทศไทย
black mulberry (Morus nigra) white mulberry (Morus alba Linn.) ประเภทของหม่อนที่มีอยู่ในประเทศไทย Morus latifolia Pairet อยู่ในเขตร้อนชุ่มชื้น มีใบเขียวตลอดปี ใบหม่อนโต หยาบแข็ง มีขนมากกว่าหม่อนชนิดอื่น คุณค่าทางอาหารในใบค่อนข้างต่ำ และไหมไม่ค่อยชอบกิน มีระบบรากที่แข็งแรง หยั่งรากลงไปในดินลึก หาอาหารเก่ง Morus bombycis Koidg เจริญเติบโตในเขตที่มีอากาศหนาวเย็น ใบมีขนาดเล็ก อ่อนนุ่ม และหนา ปรุงอาหารเก่ง ต้องการแสงแดดเป็นเวลานาน ใบมีคุณค่าอาหารสูง ใช้เป็นอาหารไหมได้ดี Morus alba Linn. ใบหม่อนเรียบเป็นมัน คุณค่าทางอาหารค่อนข้างสูง ใช้เลี้ยงไหมได้ดี มีก้านเกสรตัวเมียค่อนข้างสั้นหนา สามารถปลูกได้ทุกพื้นที่ ทั้งในเขตร้อนและเขตหนาว

8 ปัจจัยที่มีผลต่อการเจริญเติบโตของหม่อน
แสงแดด หม่อนควรได้รับแสงแดดเต็มที่ หม่อน M. alba ต้องการแสงแดด 10 ชั่วโมงต่อวัน หม่อน M. bombycis ต้องการแสงแดด 15 ชั่วโมงต่อวัน ถ้าได้รับแสงแดดไม่เพียงพอ จะทำให้การเจริญของต้นหม่อนไม่เต็มที่ มีผลให้ใบบาง เหี่ยวง่าย คุณค่าอาหารในใบต่ำ ดังนั้น แปลงหม่อนไม่ควรมีร่มไม้บัง  อุณหภูมิ -- หม่อนสามารถเจริญเติบโตได้ดีที่อุณหภูมิ องศาเซลเซียส -- อุณหภูมิสูงกว่า 40 องศาเซลเซียสขึ้นไป หม่อนมีการคายน้ำสูง เหี่ยวง่าย -- อุณหภูมิต่ำกว่า 13 องศาเซลเซียส ต้นหม่อนจะชะงักการเจริญเติบโต ทำให้หม่อนเกิดการพักตัว -- การปลูกหม่อนในที่ที่มีอุณหภูมิแตกต่างกัน ควรพิจารณาถึงชนิดของพันธุ์หม่อนด้วย

9 ปัจจัยที่มีผลต่อการเจริญเติบโตของหม่อน
น้ำ หม่อนต้องการน้ำมากในการเจริญเติบโต หม่อนที่ได้รับน้ำอย่างเพียงพอจะมีการเจริญเติบโตที่ดี ลักษณะการปลูกหม่อนจึงควรให้ดินมีความชุ่มชื้นอยู่เสมอ แต่ไม่ถึงกับแฉะจนดินขาดออกซิเจนหรือน้ำท่วมขัง  อากาศ -- อากาศที่เพียงพอ ทำให้หม่อนมีประสิทธิภาพในการสังเคราะห์แสงได้อย่างเต็มที่ -- หม่อนต้องการออกซิเจนในการหายใจเพื่อการดำรงชีวิต และใช้คาร์บอนไดออกไซด์เป็นวัตถุดิบใน การสังเคราะห์แสงในเวลากลางวัน  ดิน -- ทำหน้าที่เป็นตัวช่วยค้ำพยุงลำต้น และเป็นแหล่งให้ธาตุอาหารกับหม่อน -- หม่อนขึ้นได้ในดินทุกชนิด แต่ดินที่เหมาะสมที่สุดควรจะมีหน้าดินลึกอย่างน้อย 1 เมตร -- มีอินทรีย์วัตถุสูง มีคุณสมบัติในการระบายน้ำและถ่ายเทอากาศได้ดี ดินควรเป็นดินร่วน ปนทราย มีค่าความเป็นกรด-ด่าง (pH) อยู่ระหว่าง

10 การปรับปรุงพันธุ์หม่อน
การสร้างความผันแปรหรือความแตกต่างทางพันธุกรรม (genetic variation development) การคัดเลือกพันธุ์ (selection) การทดสอบพันธุ์และการประเมิน (varietal evaluation)

11 พันธุ์หม่อน พันธุ์หม่อนจากต่างประเทศ พันธุ์หม่อนพื้นเมืองของไทย
ประเทศจีน, อินเดีย, ศรีลังกา, เกาหลี, อินโดนีเซีย, ยุโรป, ญี่ปุ่น พันธุ์หม่อนพื้นเมืองของไทย หม่อนน้อย หม่อนสร้อย หม่อนแดง หม่อนแก้วชนบท หม่อนไผ่ หม่อนคุนไพ หม่อนแก้วอุบล หม่อนใหญ่อุบล หม่อนตาดำ เป็นต้น

12 พันธุ์หม่อน พันธุ์หม่อนรับรองของกรมวิชาการเกษตร
หม่อนน้อย หม่อนพันธุ์นครราชสีมา 60 หม่อนพันธุ์บุรีรัมย์ 60 พันธุ์หม่อนแนะนำของกรมวิชาการเกษตร พันธุ์หม่อนบุรีรัมย์ 51 “บร. 51” พันธุ์หม่อนศรีสะเกษ 33 “ศก. 33”

13 พันธุ์หม่อน หม่อนพันธุ์นครราชสีมา 60
ให้ผลผลิตใบหม่อนต่อไร่สูงกว่าพันธุ์หม่อนน้อยในทุกฤดูกาล โดยให้ผลผลิตเฉลี่ยต่อไร่ต่อปี 3,600 กิโลกรัม สามารถเลี้ยงไหมได้ 8-9 กล่อง ใบหม่อนมีคุณค่าทางอาหารสูงใกล้เคียงกับหม่อนน้อย เป็นพันธุ์หม่อนที่ต้านทานโรคราแป้ง (powdery mildew) ได้ดี ตรงกันข้ามกับหม่อนน้อยที่ไม่ต้านทานโรคนี้ เป็นพันธุ์หม่อนที่ท่อนพันธุ์ออกรากได้ยากกว่าหม่อนน้อย การขยายพันธุ์จึงควรทำด้วยการติดตา

14 พันธุ์หม่อน หม่อนน้อย มีการเจริญเติบโตดี
ผลผลิตใบเฉลี่ย 1888 กิโลกรัม/ไร่/ปี ทนต่อสภาพแวดล้อมได้ดี สามารถเจริญได้ดีในดินที่มีความอุดมสมบูรณ์ค่อนข้างต่ำจนถึงความอุดมสมบูรณ์สูง ไม่ต้านทานต่อโรค เช่น โรครากเน่า ราแป้ง ไม่ต้านทานแมลงหลายชนิด เช่น เพลี้ยแป้ง เพลี้ยไฟ

15 พันธุ์หม่อน หม่อนพันธุ์บุรีรัมย์ 60
มีผลผลิตต่อไร่สูง 4, กิโลกรัม/ไร่/ปี เป็นพันธุ์ที่ทนทานต่อโรคราแป้งได้ดี เป็นพันธุ์ที่ต้านทานต่อโรคใบด่าง เป็นพันธุ์ที่ปลูกได้ดีในทุกสภาพพื้นที่ เป็นพันธุ์ที่ไม่เหมาะสมกับการปลูกในลักษณะพื้นที่ที่ดินมีความอุดมสมบูรณ์ต่ำ และพื้นที่ขาดการปรับปรุงบำรุงดิน หรือปริมาณน้ำฝนไม่เพียงพอ เมื่ออุณหภูมิต่ำกว่า15 องศาเซลเซียส จะมีการพักตัว

16 พันธุ์หม่อน พันธุ์หม่อนบุรีรัมย์ 51“บร. 51”
มีความทนทานต่อสภาวะแห้งแล้งได้ดีกว่าพันธุ์หม่อนบุรีรัมย์ 60 ต้านทานโรคใบด่างปานกลาง เป็นหม่อนเพศเมีย ให้ผลผลิตในสภาพท้องถิ่นประมาณ 1,960 กิโลกรัม/ไร่/ปี สามารถปลูกได้ในทุกสภาพพื้นที่ จะให้ผลผลิตดีในสภาพดินที่มีความอุดมสมบูรณ์สูง และในสภาพแล้งยังคงให้ผลผลิตเพียงพอต่อการเลี้ยงไหม ไม่ต้านทานต่อเพลี้ยไฟ

17 พันธุ์หม่อน พันธุ์หม่อนศรีสะเกษ 33“ศก. 33”
ต้านทานต่อโรคใบด่างได้ดีกว่าพันธุ์บุรีรัมย์ 60 และนครราชสีมา 60 ผลผลิตใบค่อนข้างสูง เป็นหม่อนเพศเมีย มีความต้านทานต่อโรคใบด่างได้ดี มีผลขนาดค่อนข้างใหญ่ใช้ทำผลิตภัณฑ์แปรรูปได้ มีความทนทางต่อเพลี้ยไฟดีปานกลาง ให้ผลผลิตในสภาพท้องถิ่นประมาณ 1,500 กิโลกรัมต่อไร่ต่อปี อัตราการออกรากต่ำ จะต้องใช้สารกระตุ้นการออกราก

18 การจัดการหม่อน ปัจจัยสำคัญในการวางแผนปลูกหม่อน พื้นที่ปลูก
ควรเป็นพื้นที่ราบสม่ำเสมอ มีความลาดเทน้อยที่สุด พื้นที่ที่มีความอุดมสมบูรณ์ดี ลักษณะดินร่วนซุย หน้าดินลึก ดินมีคุณสมบัติในการระบายน้ำและถ่ายเทอากาศได้ดี ค่าความเป็นกรดด่างของดิน (pH) ที่เหมาะสม อยู่ระหว่าง แหล่งน้ำควรอยู่ใกล้กับแปลงหม่อน เพื่อความสะดวกในการจัดการ แปลงหม่อนกับแปลงพืชอื่นควรอยู่ห่างกันอย่างน้อย 100 เมตร เพื่อป้องกันไม่ให้สารเคมีตกค้างบนใบหม่อน มีทางผ่านเข้าออกที่สะดวก ง่ายต่อการจัดการด้านต่าง ๆ

19 การจัดการหม่อน (ต่อ) ขนาดของแปลงหม่อน แรงงาน
มีการวางแผนการปลูกหม่อนเพื่อการเลี้ยงไหมเพื่อให้การปลูกหม่อนมีความเหมาะสมต่อการเลี้ยงไหม กำหนดการเลี้ยงไหม 1 กล่องต่อหม่อน 1 ไร่ แรงงาน ต้องมีแรงงานที่เพียงพอ เพื่อให้การปลูกหม่อนเลี้ยงไหมมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น วัสดุอุปกรณ์และสิ่งที่จำเป็นต่างๆ ปุ๋ยคอก ปุ๋ยเคมี เครื่องมือต่าง ๆ ที่จำเป็นในการปลูกหม่อน เช่น รถไถ จอบ เสียม กรรไกรตัดแต่งกิ่ง ควรจัดหาไว้ให้พร้อม

20 การจัดการหม่อน (ต่อ) การเลือกสถานที่ปลูกหม่อน ทำเลที่ตั้ง สภาพของดิน
แปลงหม่อนไม่ควรอยู่ห่างไกลจากโรงเลี้ยงไหมเกินกว่า 1 กิโลเมตร แปลงหม่อนไม่ควรอยู่ใกล้โรงเลี้ยงไหมจนเกินไป เพราะเมื่อฉีดสารฆ่าแมลงในแปลงหม่อน อาจเป็นอันตรายต่อหนอนไหม ระยะห่างที่พอเหมาะแปลงหม่อนควรอยู่ห่างจากโรงเลี้ยงไหมระหว่าง เมตร สภาพของดิน ดินควรเป็นดินร่วน มีคุณสมบัติในการระบายน้ำและถ่ายเทอากาศได้ดี หน้าดินไม่ควรลึกต่ำกว่า 1 เมตร เพราะระบบรากของหม่อนหยั่งลึกลงในดินไม่ต่ำกว่า 70 เซนติเมตร ดินควรมีความชุ่มชื้นพอเหมาะ ดินที่เหมาะแก่การปลูกหม่อนควรมี pH

21 การจัดการหม่อน (ต่อ) การวางแผนการปลูกหม่อน การเตรียมพื้นที่ปลูก
จะทำการเลี้ยงไหมมากน้อยเพียงใดเพื่อลดค่าใช้จ่ายในการปลูกหม่อน เช่น ถ้าเลี้ยงไหม 1 กล่อง ต้องปลูกหม่อน 1 ไร่ เป็นต้น การเตรียมพื้นที่ปลูก การเตรียมดินไม่ดีหม่อนก็จะเจริญเติบโตไม่ดีไปด้วย ก่อนปลูกจึงควรทำการไถ ครั้งเพื่อเป็นการกำจัดวัชพืชและปรับพื้นที่ให้สม่ำเสมอ ทำการไถพรวนให้ลึกประมาณ เซนติเมตร อีก ครั้ง ตากดินทิ้งไว้เพื่อกำจัดวัชพืช เชื้อโรคและแมลงอีก วัน ใส่ปูนขาวประมาณ กิโลกรัมต่อไร่เพื่อปรับ pH ของดิน และใส่ปุ๋ยคอก ปุ๋ยหมักเพื่อให้ดินอุดมสมบูรณ์

22 การจัดการหม่อน (ต่อ) ระยะเวลาการปลูก ระยะปลูก
ระยะเวลาปลูกหม่อนที่เหมาะสมมี 2 ช่วง คือ ต้นฤดูฝน และปลายฤดูฝน ซึ่งจะทำให้หม่อนฟื้นตัวได้เร็ว ระยะปลูก ปลูกหม่อนควรปลูกให้เป็นแถวเป็นแนว ให้มีระยะระหว่างต้น ระหว่างแถวห่างกันพอสมควร ระยะระหว่างแถว เมตร ระยะระหว่างต้น 0.75 เมตร ระบบการปลูกหม่อนที่นิยม ได้แก่ แถวเดี่ยว แถวคู่ และแถวกลุ่ม

23 การจัดการหม่อน (ต่อ) การเตรียมกิ่งพันธุ์ การบ่มท่อนพันธุ์
ควรเป็นกิ่งพันธุ์ที่ถูกต้องตรงตามพันธุ์จากแหล่งที่เชื่อถือได้ มีอายุตั้งแต่ 4 เดือน – 1 ปี ไม่มีโรคและแมลงศัตรูหม่อน ตัดเป็นท่อนแต่ละท่อนมี ตา ความยาวประมาณ เซนติเมตร ด้านล่างส่วนที่ปักลงในดินตัดเฉียงเป็นปากฉลาม การบ่มท่อนพันธุ์ โดยนำท่อนพันธุ์ที่เตรียมไว้แล้วเป็นมัด ๆ ละ 100 ท่อน วางเรียงตั้งไว้ในที่ร่ม คลุมด้วยเศษหญ้า ฟาง ขี้เถ้าแกลบ หรือ กระสอบป่าน รดน้ำวันละ ครั้ง ทิ้งไว้ประมาณ วัน กิ่งและตาจะมีลักษณะเต่งตึง เมื่อนำไปปลูกจะให้เปอร์เซ็นต์การรอดสูง

24 การจัดการหม่อน (ต่อ) การปลูก
ปลูกด้วยท่อนพันธุ์ โดยใช้ท่อนพันธุ์ที่เตรียมไว้ปักลงในแปลงโดยตรง ปลูกด้วยกิ่งชำ ได้แก่ ชำไว้ในแปลงเพาะชำและชำไว้ในถุงชำ กิ่งชำมีอายุ เดือน จึงนำลงปลูกในแปลงในฤดูที่เหมาะสม หากพบว่ามีต้นตายให้ทำการปลูกซ่อมด้วยหม่อนที่ชำในถุง เพื่อให้ต้นหม่อนเจริญเติบโตได้ทันกัน

25 การจัดการหม่อน (ต่อ) การขยายพันธุ์หม่อน การปักชำ
เป็นวิธีที่ง่ายและนิยมใช้ในการขยายพันธุ์หม่อนมากที่สุด พื้นที่ที่ใช้ในการปักชำอาจเป็นพื้นที่กลางแจ้งที่ระบายน้ำได้ดี น้ำไม่ท่วมขัง และสามารถพรางแสงให้กับต้นหม่อนได้ การปักท่อนพันธุ์ในเรือนเพาะชำก่อนนำไปปลูก ควรทำก่อนฤดูฝนแล้วย้ายไปปลูกในไร่ซึ่งมีความชื้นที่พอเหมาะต่อการเจริญเติบโตของท่อนพันธุ์ กิ่งหม่อนที่ใช้เป็นท่อนพันธุ์ควรมีอายุหลังการตัดต่ำอย่างน้อย 4 เดือน ท่อนพันธุ์แต่ละท่อนควรมีความยาวประมาณ 20 เซนติเมตร การทำแปลงเพาะชำกิ่งหม่อนควรทำในที่ที่มีการระบายน้ำได้ดีและมีความชื้นที่พอเหมาะ ขนาดแปลงเพาะชำ 1 x 4 เมตร และยกร่องสูง 30 เซนติเมตร พื้นที่ที่มีการระบาดของโรครากเน่าควรใส่ขี้เถ้าแกลบลงก้นหลุมก่อนปลูก

26 การจัดการหม่อน (ต่อ) การเสียบยอด การติดตา
เป็นวิธีที่ไม่ค่อยนิยมใช้ในการขยายพันธุ์ เนื่องจากเป็นวิธีที่ทำได้ยาก ต้องใช้แรงงานและความชำนาญมาก ควรเลือกจากต้นตอหม่อนพันธุ์ที่ต้านทานต่อโรครากเน่า ส่วนยอดที่นำมาเสียบ ควรใช้หม่อนพันธุ์ที่ให้ผลผลิตสูง การเสียบยอดมี 2 วิธี คือ การเสียบยอดกับท่อนพันธุ์หม่อนที่ตัดเตรียมไว้แล้ว และปลูกท่อนพันธุ์ที่เป็นต้นตอในเรือนเพาะชำก่อน 1 ปี แล้วจึงเสียบยอดพันธุ์ การติดตา การติดตาจากท่อนพันธุ์ ท่อนพันธุ์ต้นตอใช้พันธุ์ที่ต้านทานต่อโรครากเน่าและออกรากได้ดี ตาที่นำมาติดมักได้มาจากหม่อนพันธุ์ดีที่ให้ผลผลิตสูง การติดตาบนต้นตอในแปลง หม่อนพันธุ์ต้นตอซึ่งเป็นพันธุ์ต้านทานต่อโรครากเน่า ติดตาด้วยพันธุ์ที่มีผลผลิตสูง ไม่ควรทำในขณะที่มีอุณหภูมิต่ำหรือในช่วงที่มีฝนตกเพราะจะมีอัตรารอดน้อยมาก

27 การจัดการหม่อน (ต่อ) การเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ
โดยใช้ตาข้างของหม่อนน้อย บุรีรัมย์ 60 และนครราชสีมา 60 ลงในอาหาร MS ที่ปราศจากสารควบคุมการเจริญ และอาหาร MS ที่มี BA มิลลิกรัมต่อลิตร ส่วนอาหารที่สามารถชักนำให้เกิดการทวีจำนวนได้สูง คือ อาหาร MS ที่เติม BA โดยไม่มี NAA ให้อัตราการเพิ่ม 8 – 10 เท่าต่อเดือน การขยายพันธุ์หม่อนที่ท่อนพันธุ์ออกรากยาก พันธุ์นครราชสีมา 60 เป็นพันธุ์ที่ออกรากยาก สามารถกระตุ้นให้เกิดการออกรากได้ โดยการจุ่มท่อนพันธุ์ด้วย NAA ความเข้มข้น 1000 ppm และการบ่มท่อนพันธุ์ที่อุณหภูมิต่างๆ

28 การจัดการหม่อน (ต่อ) การดูแล บำรุงรักษาสวนหม่อน
หัวใจหลัก คือ การดูแลรักษาสวนหม่อนให้ดี มีการจัดการที่ถูกต้องและเหมาะสมกับปัจจัยสิ่งแวดล้อม ไม่ว่าจะเป็นสภาพพื้นที่ สภาพดิน สิ่งสำคัญที่ต้องมีการวางแผนสำหรับการเลี้ยงไหมให้มีความสัมพันธ์ควบคู่ไปกับการจัดการหม่อนอย่างมีประสิทธิภาพ และสามารถเลี้ยงไหมได้ผลดี

29 การจัดการหม่อน (ต่อ) ขั้นตอนการดูแล บำรุงรักษาสวนหม่อน การตัดแต่งกิ่ง
ประโยชน์ เช่น การเก็บเกี่ยวและดูแลรักษาง่าย ป้องกันโรคและแมลงศัตรูหม่อน ใบหม่อนที่แตกขึ้นมาใหม่มีคุณภาพ เป็นต้น หม่อน 1 ต้น หากมีจำนวนตอมากเกินไป ให้ตัดตอที่มีขนาดเล็กทิ้ง เหลือตอที่สมบูรณ์ และมีขนาดใหญ่ไว้เพียง ตอ โดยใช้กรรไกร หรือเลื่อย ตัดกิ่งเล็ก กิ่งฝอย ออกให้หมด ให้เหลือแต่ตอหม่อนหรือถ้ามีการสร้างตอหม่อนมาก่อนแล้ว การตัดแต่งกิ่ง แบ่งออกเป็น 2 ประเภท ได้แก่ การตัดต่ำ และการตัดแต่งหลังการเลี้ยงไหม

30 การจัดการหม่อน (ต่อ) การใส่ปุ๋ย
ประโยชน์ เช่น ปรับสภาพโครงสร้างของดินให้ดีขึ้น รักษาความอุดมสมบูรณ์ให้แก่ดิน เพิ่มอินทรียวัตถุ และจุลินทรีย์ที่เป็นประโยชน์แก่ดิน เป็นต้น วิธีการใส่ปุ๋ย ได้แก่ การใส่ปุ๋ยหน้าแล้งเป็นการการใส่ปุ๋ยหลังการตัดต่ำ การใส่ปุ๋ยหลังการเลี้ยงไหมเป็นการใส่ปุ๋ยหลังการตัดหม่อนไปเลี้ยงไหม และการใส่ปุ๋ยปลายฝนต้นหนาวการใส่ปุ๋ยช่วงเดือนตุลาคม-ธันวาคม

31 การจัดการหม่อน (ต่อ) การกำจัดวัชพืช
ความจำเป็น เช่น วัชพืช เป็นที่หลบซ่อนของแมลงศัตรูหม่อนและเป็นแหล่งสะสมเชื้อโรค เป็นปัญหาในการเข้าไปปฏิบัติงานในสวนหม่อน เป็นต้น วิธีกำจัดวัชพืช ได้แก่ การใช้แรงงานคน และการใช้สารเคมี การใช้สารเคมี คือ หลังจากตัดหม่อนไปเลี้ยงไหมแล้วทำการตัดแต่งกิ่ง จากนั้นฉีดพ่นสารเคมี ครั้งที่ 1 โดยฉีดพ่นคลุมตอหม่อน ภายใน 3 วัน หลังจากตัดแต่งกิ่งหม่อนเสร็จ ฉีดพ่นสารเคมีครั้งที่ 2 โดยฉีดพ่นหลังจากฉีดพ่นครั้งที่ 1 แล้วประมาณ 7 วัน อัตราการใช้สารเคมี เช่น กรัมม๊อกโซน 1 ลิตร ผสมน้ำ 100 ลิตร ฉีดพ่นในพื้นที่ 1 ไร่ และไดยูร่อน 2 ช้อนโต๊ะ ผสมน้ำ 20 ลิตร ฉีดพ่นในพื้นที่ 100 ตารางวา เป็นต้น

32 การจัดการหม่อน (ต่อ) การคลุมดิน
ประโยชน์ เช่น ลดปริมาณของวัชพืชระหว่างต้นหม่อน รักษาความชื้นในดินในช่วงที่ฝนไม่ตก และเพิ่มอินทรียวัตถุในดิน เป็นต้น วัสดุที่ใช้คลุมดิน ได้แก่ ฟางข้าว แกลบ และวัสดุอื่น ๆ เช่น เศษหญ้าแห้ง กากถั่ว เป็นต้น ข้อคำนึงถึงในการคลุมดิน ได้แก่ วัสดุที่ใช้ ต้องมีการฉีดสารเคมีปราบวัชพืชก่อนที่จะคลุมดิน ผลกระทบ เช่น ไฟไหม้ เป็นต้น วิธีการคลุมดิน ได้แก่ การคลุมดินด้วยฟางข้าว การคลุมดินด้วยแกลบ และการคลุมดินด้วยวัสดุอื่นๆ

33 การจัดการหม่อน (ต่อ) การไถพรวน
การไถพรวนเป็นการตัดรากหม่อนเก่า เพื่อให้มีการสร้างรากใหม่ที่สามารถหาอาหารได้ดีขึ้น เป็นการปรับสภาพโครงสร้างของดินให้ร่วนซุย และให้ดินสามารถอุ้มน้ำได้ดีขึ้น นอกจากนี้ยังเป็นการปราบวัชพืชที่อยู่ระหว่างแถวหม่อนอีกทางหนึ่งด้วย การไถพรวน ควรมีการไถพรวนปีละ 2 – 3 ครั้ง ระยะเวลาที่เหมาะสมกับการไถพรวน คือ หลังจากมีการใส่ปุ๋ยหรือในช่วงการตัดแต่งกิ่ง ระวังการกระทบกระเทือนต่อต้นหม่อน ไม่ควรไถพรวนลึกในขณะที่หม่อนกำลังเจริญเติบโต หรือรากใหม่กำลังหาอาหาร

34 โรคและแมลงศัตรูหม่อน
หลักการป้องกันโรค และแมลงศัตรูหม่อน ปลูกหม่อนในระยะที่ถูกต้องและเหมาะสม เพื่อให้มีการถ่ายเทอากาศและได้รับแสงแดดเพียงพอ ซึ่งควรปลูกแบบแถวเดี่ยว หรือแถวคู่ ตัดแต่งตอหม่อนในความสูงที่ถูกต้อง เพื่อกำจัดที่หลบซ่อนของแมลงและลดการสะสมของเชื้อโรค ปราบวัชพืช เพื่อลดแหล่งอาศัยของแมลง ไม่นำมูลไหมสดใส่ในสวนหม่อน ควรทำเป็นปุ๋ยหมักก่อนนำมาใส่ในสวนหม่อน

35 โรคและแมลงศัตรูหม่อน (ต่อ)
โรคหม่อน โรครากเน่า (root rot) เชื้อสาเหตุ ไม่ทราบแน่ชัด เชื่อว่าเกิดจากหลายปัจจัยร่วมกันทั้งเชื้อโรคต่าง ๆ ร่วมกับสภาพแวดล้อมที่ไม่เหมาะสม รวมถึงการจัดการที่ไม่เหมาะกับระยะเวลาและสภาพแวดล้อม การระบาด อาจเกิดจากสภาพดินและการเขตกรรมที่ไม่เหมาะสม ลักษณะอาการ เริ่มแรกรากหม่อนจะถูกทำลาย มีผลให้การลำเลียงน้ำไม่ดี ใบอ่อนเริ่มมีสีน้ำตาลคล้ายถูกไฟเผา โดยเริ่มจากขอบใบและลุกลามไปเรื่อย ๆ จนกระทั่งใบหม่อนร่วงหล่น เมื่อถอนรากจะพบรากเปื่อย มีสีดำ

36 โรคและแมลงศัตรูหม่อน (ต่อ)
การป้องกันกำจัด ถ้าพบต้นหม่อนที่เป็นโรค ให้รีบขุดเผาทำลาย ขณะดายหญ้าพรวนดิน อย่าให้กระทบกระเทือนราก ให้ใช้กรรไกรตัดแต่งกิ่งหม่อน ไม่ควรใช้มีด ใช้พันธุ์ต้านทานปลูกเป็นต้นตอ เช่น หม่อนไผ่ การสร้างพันธุ์หม่อน triploid มีคุณสมบัติที่มีความดีเด่นเหนือพ่อแม่ที่เป็น diploid และ tetraploid สามารถเพิ่มความต้านทานโรคได้ดีกว่า

37 โรคและแมลงศัตรูหม่อน (ต่อ)
โรคราแป้ง (powdery mildew) เชื้อสาเหตุ เกิดจากเชื้อรา Phyllactinia corylea การระบาด เชื้อสาเหตุเข้าทำลายทางปากใบ จึงสามารถทำลายเฉพาะด้านท้องใบเท่านั้น ระบาดโดยลม ลักษณะอาการ เกิดจุดหรือรอยด่างสีขาวบริเวณท้องใบ จะขยายลุกลามคลุมท้องใบ คล้ายกับผงสีขาว ใบจะแข็งแห้ง เกิดกับใบแก่เท่านั้น การป้องกันกำจัด - ถ้าพบต้นหม่อนที่เป็นโรค ให้รีบทำลาย - ดายหญ้าพรวนดินให้แปลงสะอาด - รักษาศัตรูธรรมชาติ - พ่นด้วยเบนโนมิล 10 กรัมต่อน้ำ 20 ลิตร พ่นห่างกัน 20 วันต่อครั้ง

38 โรคและแมลงศัตรูหม่อน (ต่อ)
โรคราสนิม (mulberry red rust) เชื้อสาเหตุ เกิดจากเชื้อรา Aecidium mori การระบาด เชื้อสาเหตุเข้าทำลายทางปากใบโดยการงอกและสร้างเส้นใยเข้าสู่เซลล์ ลักษณะอาการ ตาอ่อนบวม ผิดรูปร่าง เกิดจุดสีเหลืองนวลที่ใบ ยอดอ่อนและก้านใบ เชื้อสาเหตุเจริญในท่อน้ำท่ออาหาร เส้นใบจะบวมผิดปกติ การป้องกันกำจัด - ตัดแต่งกิ่ง เผาทำลายกิ่งที่เป็นโรค - ใช้พันธุ์ต้านทาน - กำหนดช่วงเวลาเก็บใบหม่อนให้เหมาะสม - พ่นด้วยเบนโนมิล 10 กรัมต่อน้ำ 20 ลิตร พ่นห่างกัน 20 วันต่อครั้ง

39 โรคและแมลงศัตรูหม่อน (ต่อ)
โรคใบไหม้ (bacterial blight) เชื้อสาเหตุ เกิดจากเชื้อแบคทีเรีย Pseudomonas mori การระบาด เกิดจากเชื้อในดินหรือพืชอาศัย เชื้อสาเหตุเข้าทำลายทางบาดแผล ลักษณะอาการ ใบเกิดจุดฉ่ำน้ำปรากฏอยู่ใต้ใบ จากนั้นแผลเป็นสีเหลืองปนน้ำตาลแผลเป็นรูปสี่เหลี่ยม ที่เส้นใบเกิดสีน้ำตาลปนดำคล้ายกับเส้นใบไหม้ ถ้าถูกทำลายมากใบหม่อนจะม้วนงอและร่วงหล่น การป้องกันกำจัด - ถ้าพบต้นหม่อนที่เป็นโรค ให้รีบทำลาย - พ่นยาปฏิชีวนะ เช่น streptomycin 0.1% - พ่นด้วย bordeaux mixture เมื่อเริ่มพบอาการของโรค - การใส่ปุ๋ยไม่ควรใส่ไนโตรเจนมากเกินไป - ตัดแต่งกิ่งหม่อนแบบครึ่งต้นก่อนฤดูฝน

40 โรคและแมลงศัตรูหม่อน (ต่อ)
โรคใบด่าง (mosaic disease) เชื้อสาเหตุ เกิดจากเชื้อ mosaic virus การระบาด การปลูกท่อนพันธุ์ที่มีเชื้อหรือจากการติดตา โดยใช้มีดที่มีเชื้อ ระบาดโดยมีแมลงเป็นพาหะ ลักษณะอาการ แสดงอาการใบด่าง ใบบิดเบี้ยวและม้วนงอ เส้นใบสีเขียวแก่ ลำต้นแคระแกรน ไม่ค่อยแตกกิ่งก้าน ใบเล็กกว่าปกติ การป้องกันกำจัด - ถ้าพบต้นหม่อนที่เป็นโรค ให้รีบทำลาย - ไม่นำท่อนพันธุ์ที่เป็นโรคมาปลูก - ควบคุมการระบาดของแมลงพาหะ - โดยการติดตาหม่อนน้อยด้วยพันธุ์ที่ต้านทานต่อโรคใบด่าง

41 โรคและแมลงศัตรูหม่อน (ต่อ) โรคและแมลงศัตรูหม่อน (ต่อ)
แมลงและไรศัตรูหม่อน เพลี้ยหอยนิ่ม (soft scale insect : Pulvinaria masima Green) เป็นแมลงปากดูด รูปร่างรีค่อนข้างยาว สีเทาปนน้ำตาล สามารถวางไข่ได้ 1, ,000 ฟอง ขยายพันธุ์ได้โดยไม่ต้องผสมพันธุ์ แม่เพลี้ยหอยนิ่มจะไข่เต็มท้องและวางไข่ตามกิ่งหรือใต้ใบ มันจะคลานไปข้างหน้า วางไข่เป็นทางยาว มิลลิเมตร ปล่อยสารสีขาวคล้ายสำสีคลุมไข่ไว้ เมื่อแม่เพลี้ยหอยนิ่มไข่หมด ลำตัวจะเหี่ยวแห้งคล้ายสะเก็ดไม้และตายในที่สุด ตัวอ่อนของเพลี้ยหอยนิ่มหลังจากฟักออกเป็นตัว จะดูดน้ำเลี้ยงบริเวณกิ่งหม่อน หม่อนจะไม่มีอาการหงิกงอ แต่จะชะงักการเจริญเติบโต

42 โรคและแมลงศัตรูหม่อน (ต่อ)
ในระหว่างการดูดกินน้ำเลี้ยง เพลี้ยหอยนิ่มจะถ่ายมูล ซึ่งมีลักษณะเป็นน้ำหวานออกมา ทำให้เกิดเชื้อราดำ การป้องกันกำจัด ทำลายมดดำ และมดคันไฟ หมั่นตรวจสอบหม่อนในช่วงฤดูแล้ง เมื่อพบเพลี้ยหอยนิ่มเกาะกิ่งเป็น จำนวนมาก ควรตัดกิ่งเผาทำลาย การใช้สารฆ่าแมลง ควรใช้สารดูดซึมระยะสั้น หลังจากการแต่งกิ่งใหม่ๆ

43 โรคและแมลงศัตรูหม่อน (ต่อ)
เพลี้ยหอยดำ (black scale insect: : Parasaissetia nigra Nietner) แมลงปากดูดที่ทำลายต้นหม่อน เพลี้ยหอยดำเมื่อเป็นตัวเต็มวัยจะมีลักษณะตัวนูนโค้ง เส้นผ่าศูนย์กลาง มิลลิเมตร มีเปลือกนอกแข็ง และมีสีน้ำตาลเข้มเกือบดำ ตัวอ่อนของเพลี้ยหอยดำจะคลานไปหรือมดคาบไปปล่อยยังส่วนต่างๆ ของต้น จะเกาะอยู่กับที่และวางไข่ และตายในที่สุด เพลี้ยหอยดำแต่ละตัวจะสามารถวางไข่ได้ ฟอง ลูกเพลี้ยหอยดำจะคลานออกมาจากบริเวณที่มันเกิด อาศัยดูดน้ำเลี้ยงของต้นหม่อนในส่วนของต้นที่ยังอ่อน หม่อนที่ถูกดูดน้ำเลี้ยงจะแคระแกรน นอกจากนี้น้ำหวานที่ถูกเพลี้ยหอยดำจะเกิดราดำปกคลุมบริเวณใบ

44 โรคและแมลงศัตรูหม่อน (ต่อ) โรคและแมลงศัตรูหม่อน (ต่อ)
การป้องกันการกำจัด ตรวจสวนหม่อนอยู่เสมอๆ ถ้าพบเห็นกิ่งที่มีตัวเพลี้ยหอยดำเกาะอยู่ให้ตัดออก และเผาทิ้ง กำจัดมดดำและมดคันไฟให้หมดไปจากสวน ไม่ควรใช้ท่อนพันธุ์ที่มีเพลี้ยหอยดำเกาะอยู่ไปปลูก การใช้สารฆ่าแมลง ควรเลือกเวลาหลังการตัดแต่งกิ่งใหม่ๆ

45 โรคและแมลงศัตรูหม่อน (ต่อ) โรคและแมลงศัตรูหม่อน (ต่อ)
ด้วงเจาะลำต้นหม่อน (mulberry stem borer : Apriona germarii ) ด้วงหนวดยาว ทำลายต้นหม่อนทั้งระยะหนอนและตัวเต็มวัย ตัวเต็มวัยยาว มิลลิเมตร ตัวผู้เล็กกว่าตัวเมีย ตัวผู้มีสีเทาปนเหลือง ตัวเมียมีสีเทาปนดำ กัดกินเปลือกที่มีสีเขียวปนน้ำตาลอ่อนระยะหนึ่ง จึงวางไข่ในส่วนล่างของต้นหม่อนสูงจากพื้นดิน เซนติเมตร อายุกิ่งหม่อนที่ด้วงเจาะลำต้นชอบวางไข่ คือ เดือน แม่ด้วงจะกัดกินผิวเป็นรอยแผลถลอก และฝังไข่สีเหลืองนวลไว้กิ่งละ 1 ฟอง เมื่อหนอนฟักออกจากไข่จะกัดกินเนื้อไม้บริเวณแผล และเจาะเข้ากัดกินภายในเนื้อไม้หม่อน ฝังตัวเองและเจริญเติบโตอยู่ภายในจากปลายกิ่งมาสู่โคนกิ่งจนถึงระบบราก ทำให้รากดูดอาหารไปเลี้ยงลำต้นไม่สะดวก หม่อนอ่อนแอ อายุไม่ยืน ระยะดักแด้สันนิฐานว่าเข้าดักแด้ภายในต้นหม่อน

46 โรคและแมลงศัตรูหม่อน (ต่อ)
ตัวเต็มวัยกัดกินยอดหม่อนช่วงเดือนกรกฎาคม - ตุลาคม และวางไข่มากในเดือนกันยายน-ตุลาคม ออกเป็นตัวหนอนมากัดทำลายกิ่งหม่อน และฝังตัวอยู่ภายในจนกว่าจะออกมาเป็นตัวเต็มวัยในปีต่อไป การป้องกันการกำจัด ตรวจแปลงหม่อนในเดือนกรกฎาคม-ตุลาคม ถ้าพบตัวเต็มวัย ควรทำลายเสีย ในช่วงเดือนสิงหาคม-ตุลาคมออกตรวจไข่ของด้วงเจาะลำต้น ถ้าพบผิวเปลือกมีรอยตำหนิให้ ใช้เหล็กแหลมแทงตามบริเวณแผลวางไข่ สัปดาห์ละ 1 ครั้ง หรืออาจใช้สารเคมีฆ่าแมลงประเภทถูกตัวตายป้ายตรงแผลที่วางไข่ ใช้สารเคมีในช่วงตัดต่ำ ถ้าพบรอยกัดทำลาย ให้ใช้สารเคมีฉีดลงในรูและใช้ดินเหนียวอุด

47 โรคและแมลงศัตรูหม่อน (ต่อ)
แมลงหวี่ขาวหม่อน (whitefly : Pealius mori Takahashi) เป็นแมลงขนาดเล็ก ขนาด 1 มิลลิเมตร ทำลายต้นหม่อนโดยการดูดกินน้ำเลี้ยงบริเวณใบอ่อน ระบาดมากในภาคเหนือ ตั้งแต่เดือนธันวาคม - มิถุนายน ในที่ที่ถูกแมลงหวี่ขาวทำลายจะมีลักษณะกร้าน ยอดแคระแกรน มีลักษณะเป็นสีน้ำตาล ขอบใบโค้งลง เมื่อจับปลายและยอดดูจะพบแมลงหวี่ขาวบินออกจากยอดและใบดังกล่าวเป็นจำนวนมาก การป้องกันกำจัด หมั่นตรวจแปลงหม่อนเสมอ ถ้าพบแมลงหวี่ขาว พ่นสารฆ่าแมลงประเภทดูดซึม มีฤทธิ์ตกค้างสั้น

48 โรคและแมลงศัตรูหม่อน (ต่อ) โรคและแมลงศัตรูหม่อน (ต่อ)
เพลี้ยไฟหม่อน (thrips : Pseudodendrothrips ornatissimus Schmutz) แมลงขนาดเล็ก ดูดกินน้ำเลี้ยงต้นหม่อนทั้งตัวอ่อนและตัวเต็มวัย ตัวเต็มวัยเพลี้ยไฟปีกสีเหลืองมีแถบดำพาดตามลำตัว ตรงรอยต่อปีกคู่หน้าบิดได้อย่างรวดเร็ว เพลี้ยไฟจะระบาดมากในช่วงฤดูแล้งหรือในช่วงฝนทิ้งช่วง ในฤดูฝนไม่ค่อยพบมากนัก ช่วงทำลายใบจะกร้าน ยอดแคระแกรน ขอบใบหงิก งอม้วนเข้าหากัน ซึ่งใบนี้จะนำไปเลี้ยงไหมวัยอ่อนไม่ได้ เพลี้ยไฟจะไข่ทิ้งในเส้นไยซึ่งไม่สามารถมองเห็นด้วยตาเปล่า ตัวอ่อนมองเห็นได้เหมือนปุยหรือรอยขีดเล็ก ๆ ตัวเต็มวัยยาวประมาณ มิลลิเมตร บินไปตามยอดหม่อนอื่น ๆ หรือต้นหม่อนที่แตกยอดใหม่ การป้องกันกำจัด ใช้สารเคมีที่มีพิษตกค้างสั้น ๆ เป็นสารเคมีประเภทดูดซึม

49 โรคและแมลงศัตรูหม่อน (ต่อ) โรคและแมลงศัตรูหม่อน (ต่อ)
เพลี้ยแป้ง (mealybug : Maconellicoccus hirsutus Green) แมลงปากดูดรูปร่างกลมคล้ายรูปไข่ ตัวเต็มวัยจะขับสารคล้ายแป้งสีขาวออกมาปกคลุมตัวเมื่อเจริญเต็มวัยตัวเมียไม่มีปีกจะวางไข่มีขนาด มิลลิเมตร ประมาณ ฟอง หลังจากวางไข่ วัน จะออกแยกย้ายดูดน้ำเลี้ยงตามยอดหม่อน เพศเมียจะใช้ระยะเวลาการเจริญเติบโตเพียง วัน ส่วนเพศผู้ใช้เวลาเพียง วัน รวมชีพจักรของแมลงชนิดนี้ประมาณ วัน การระบาดและการทำลายของเพลี้ยแป้ง ในฤดูแล้งโดยเฉพาะเดือนกุมภาพันธ์ กับเดือนกรกฎาคม เพลี้ยแป้งจะขยายพันธุ์อย่างรวดเร็ว โดยไม่ต้องมีการผสมพันธุ์ (asexual reproduction)

50 โรคและแมลงศัตรูหม่อน (ต่อ)
เพลี้ยแป้งจะดูดน้ำเลี้ยงบริเวณยอด ตา ใบ และโคนใบ ทำให้ใบหม่อนหดและหงิกกลายเป็นปม ผลผลิตของหม่อนจะลดลงอย่างเห็นได้ชัด การแพร่ระบาดของเพลี้ยแป้งจะมีมดดำเป็นพาหะ โดยมีผลประโยชน์จากน้ำหวานของเพลี้ยแป้งถ่ายออกมาเป็นอาหารให้ การป้องกันกำจัด หมั่นตรวจแปลงหม่อนอยู่เสมอ ในช่วงฤดูแล้งระหว่างเดือนกุมภาพันธ์จนถึงต้นฤดูฝน ถ้าพบใบหม่อนมีลักษณะหงิกๆ งอๆ นำมาเผาทำลายเสีย ใช้สารมีฤทธิ์ตกค้างสั้นๆ ทำการพ่นหลังจากการตัดแต่งกิ่งใบใหม่ ทำลายมดให้หมดไปจากสวน

51 โรคและแมลงศัตรูหม่อน (ต่อ) โรคและแมลงศัตรูหม่อน (ต่อ)
เพลี้ยอ่อน (aphid) ตัวอ่อนและตัวเต็มวัยคล้ายกัน เมื่อโตเต็มที่มีขนาดเล็กมาก ยาว มิลลิเมตร มีทั้งมีปีกและไม่มีปีก โดยปกติตัวเมียที่มีปีก ตัวเล็กกว่าพวกที่ไม่มีปีก เมื่อส่องดูด้วยแว่นขยายจะพบว่าแมลงชนิดนี้มีหัวและอกเล็ก ส่วนท้องโต รูปร่างคล้ายผลฝรั่ง ตัวเมียที่มีปีกนั้นจะมีหัวอก ขา หนวดสีดำ ท้องสีเขียวอ่อนและจุดสีดำมากมาย ตัวเมียไม่มีปีกจะมีลำตัวสีเขียวปนน้ำเงิน ส่วนท้ายมีท่อยื่นออกมาคล้ายหาง 2 ท่อ ( cornicles ) การทำลาย จะดูดกินน้ำเลี้ยงจากใบยอดอ่อน ก้านใบ ก้านดอก ทำให้ใบหม่อนเสียหายและอ่อนแอลง ถ้ามีการระบาดมากจะพบเกาะคลุมทั้งใบ

52 โรคและแมลงศัตรูหม่อน (ต่อ)
การป้องกันกำจัด ทำให้พืชแข็งแรงโดยการใส่ปุ๋ยและทำความสะอาดแปลง จะช่วยลดอัตราให้น้อยลง เมื่อแมลงชนิดนี้เกิดขึ้น ถ้าพบระบาดมาก การกำจัดโดยใช้ยาฆ่าแมลงประเภทยาฉุน น้ำยาโล่ติ้นหรือนิโคตินซัลเฟต ทำให้เพลี้ยอ่อนถูกยาตาย

53 โรคและแมลงศัตรูหม่อน (ต่อ)
ไรแดง (red mite : Tetranychus truncatus Ehara) ขนาดเล็ก ลักษณะคล้ายแมงมุมธรรมดา แต่ตัวเล็กมาก ขนาดปลายเข็มหมุดทำลายแปลงหม่อนขณะที่อากาศแห้งแล้ง ไรแดงนี้จะดูดน้ำเลี้ยงจากใบหม่อนและอาศัยอยู่ใต้ใบเพื่อขยายพันธุ์และวางไข่ ใบที่ถูกดูดน้ำเลี้ยงจะเหลืองซีดเป็นจุด ๆ แต่ละจุดจะขยายวงกว้างจนใบเหลืองร่วงหล่นจากต้น มักจะพบการระบาดของไรแดง ตั้งแต่เดือนธันวาคม-พฤษภาคม การป้องกันกำจัด ตรวจดูแปลงเสมอๆ ในขณะอากาศแห้ง พลิกใต้ใบขึ้นดูจุดที่สงสัย แต่ละใบอาจมีเพียง ตัวก็ได้ เมื่อตรวจพบ ทำลายไรแดงด้วยการพ่นสารเคมีกำจัดแมลงชนิดดูดซึมในระยะเริ่มแรกใบอ่อนหลังการตัดแต่ง ใช้ระบบให้น้ำแบบฝนเทียม (sprinkler) หยดน้ำจะกระแทกตัวไรเล็กๆ เหล่านั้นลดจำนวนลงเป็นจำนวนมาก

54 แมลงที่เป็นประโยชน์ แมลงเต่า (Illies cincta F.) อยู่ในวงศ์ Coccinellidae

55 สรุปการป้องกันแมลงและไรศัตรูหม่อน
แมลงที่เป็นประโยชน์ สรุปการป้องกันแมลงและไรศัตรูหม่อน วางแผนการปลูกหม่อนให้ถูกต้อง คาดหมายและอันตรายที่จะเกิดแก่สวนหม่อนให้รอบคอบ ตรวจแปลงหม่อนอย่างสม่ำเสมอ ตัดแต่งกิ่งตามกำหนดเวลา เมื่อต้นหม่อนเริ่มผลิยอดใหม่ ควรพ่นยาดูดซึมเข้าต้นที่สามารถมีฤทธิ์ คุ้มครองอยู่ วัน พร้อมทั้งเพิ่มปุ๋ยทางใบและธาตุอาหารรองต่างๆ ที่จำเป็น

56 สรุปการป้องกันแมลงและไรศัตรูหม่อน
แมลงที่เป็นประโยชน์ สรุปการป้องกันแมลงและไรศัตรูหม่อน ใช้ระบบการให้น้ำแบบฝนเทียม (Sprinkler) เม็ดน้ำที่ตกลงมาจะกระแทกตัวอ่อนของแมลงเล็กๆ ตาย นอกจากนี้ความชื้นในอากาศสูงขึ้นจะไม่เหมาะสมต่อการขยายพันธุ์ของแมลงดังกล่าว ไม่ควรตัดหม่อนจนหมดเป็นผืนใหญ่ และควรให้ในแปลงหม่อนมีวัชพืชเหลืออยู่ระดับทีไม่เป็นอันตรายต่อต้นหม่อน เพื่อให้เป็นที่บังร่มแก่แมลงเต่า ในขณะที่แดดจัด อุณหภูมิสูง

57 ประโยชน์ที่ได้จากหม่อน
พืชสมุนไพร อาหารและเครื่องดื่ม สารกำจัดวัชพืช อื่น ๆ ไม้ประดับ อาหารสัตว์


ดาวน์โหลด ppt การผลิตหม่อนไหม Sericulture.

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


Ads by Google