งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

การเตรียมความพร้อมของSMEsไทยสู่...

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


งานนำเสนอเรื่อง: "การเตรียมความพร้อมของSMEsไทยสู่..."— ใบสำเนางานนำเสนอ:

1 การเตรียมความพร้อมของSMEsไทยสู่...
ดร.ชวชาต สุคนธปฏิภาค

2 ประชาคมอาเซียน (ASEAN Community) 2015 (2558)
กฎบัตรอาเซียน ประชาคม ความมั่นคง อาเซียน (ASC) ประชาคม เศรษฐกิจ อาเซียน (AEC) ASEAN Charter ประชาคม สังคม-วัฒนธรรม อาเซียน (ASCC)

3 เขตการค้าเสรีอาเซียน (ASEAN Free Trade Area : AFTA) กับ ผลกระทบต่อเศรษฐกิจของไทย

4 วัตถุประสงค์ “เพื่อเสริมสร้างความสามารถในการแข่งขันให้กับสินค้าอาเซียนในตลาดโลก โดยสมาชิกจะค่อยๆ ลดภาษีสินค้าทุกรายการให้เหลือ 0-5% ภายในปี พ.ศ.2553 จากนั้นจะค่อยยกเลิกเครื่องกีดขวางการค้าทั้งหลายที่ไม่ใช่ภาษีให้หมดไปด้วย เช่น การจำกัดโควตานำเข้า”

5 สาระสำคัญ ข้อตกลงที่ทำขึ้นเมื่อปี พ.ศ เป็นความตกลงว่าด้วยอัตราภาษีพิเศษที่เท่ากันสำหรับเขตการค้าอาเซียน ข้อตกลงนี้จะครอบคลุมสินค้าทุกชนิด ยกเว้นสินค้าที่มีผลกระทบต่อความมั่นคง ศีลธรรม ชีวิตและศิลปะ ประเทศสมาชิกต้องให้สิทธิประโยชน์ทางศุลกากรแก่กันแบบต่างตอบแทน จัดตั้งเขตการค้าเสรีให้เสร็จภายใน 15 ปี

6 AEC ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน ( ASEAN Economic Community: AEC )
1. เป็นตลาดและฐานการผลิตร่วม 2. สร้างเสริมขีดความสามารถแข่งขัน สินค้าเคลื่อนย้ายได้อย่างเสรี e-ASEAN (พาณิชย์อิเลคทรอนิกส์) AEC นโยบายภาษี ทำธุรกิจบริการได้อย่างเสรี นโยบายการแข่งขัน ลงทุนได้อย่างเสรี สิทธิทรัพย์สินทางปัญญา แรงงานมีฝีมือไปทำงานได้อย่างเสรี การคุ้มครองผู้บริโภค เงินทุนเคลื่อนย้ายได้อย่างเสรีมากขึ้น ปี 2558 (2015) พัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน 3. การพัฒนาเศรษฐกิจอย่างเสมอภาค 4. การบูรณาการเข้ากับเศรษฐกิจโลก ลดช่องว่างการพัฒนา ระหว่างสมาชิกเก่า-ใหม่ ทำ FTAs กับประเทศนอกอาเซียน ขยายความร่วมมือทางเศรษฐกิจ สนับสนุนการพัฒนา วิสาหกิจขนาดกลางและย่อม SMEs

7 อาเซียนประกอบด้วยสมาชิก 10 ประเทศ ประชากรรวมกัน 580 ล้านคน
เขตการค้าเสรีอาเซียน (ASEAN Free Trade Area : AFTA) กับผลกระทบต่อเศรษฐกิจของไทย อาเซียนประกอบด้วยสมาชิก 10 ประเทศ ประชากรรวมกัน 580 ล้านคน มี GDP รวมกัน 1.7 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐ

8

9

10 ดาว มีทิศทางไม่ชัดเจน มีแนวโน้มตกต่ำ มีแนวโน้มทำเงิน ผลิตภัณฑ์ยาง
ไทยมีส่วนแบ่งในตลาดอาเซียนสูงเป็นอันดับ 1 และมีทิศทางของส่วนแบ่งตลาดที่เพิ่มขึ้น มีทิศทางไม่ชัดเจน อาหารแปรรูป เครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ อัญมณีและเครื่องประดับ เคมีภัณฑ์ พลาสติก เหล็ก ส่วนแบ่งในตลาดอาเซียนมีความผันผวน มีแนวโน้มตกต่ำ อาหารแช่แข็ง และอโลหะ ส่วนแบ่งในตลาดอาเซียนลดลงอย่างต่อ เนื่องและมีมูลค่าการส่งออกหดตัวต่อเนื่องเช่นกัน มีแนวโน้มทำเงิน สิ่งทอ ยานยนต์และชิ้นส่วนยานยนต์ ไม้ ส่วนแบ่งสินค้าของไทยในตลาดอาเซียนมีลักษณะผันผวน ที่มา : ศูนย์ศึกษาการค้าระหว่างประเทศ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย (กันยายน, 2553)

11 โอกาสทางการค้าและการลงทุนจากการรวมตัวทางเศรษฐกิจ
1 ขยายช่องทางและโอกาสของสินค้าไทยในการเข้าถึงตลาดอาเซียน 2 ลดต้นทุนการผลิตจากการนำเข้าวัตถุดิบและสินค้าขั้นกลางที่ใช้ในการผลิตได้ในราคาต่ำลง 3 จัดตั้งกิจการ ให้บริการ ตลอดจนทำงานในประเทศสมาชิกอาเซียนสะดวกมากขึ้น 4 ย้ายฐานการผลิตไปยังประเทศสมาชิกอาเซียนอื่นที่มีแรงงาน ทรัพยากร หรือปัจจัยการผลิตที่สมบูรณ์กว่า ที่มา : สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย

12 ประเทศสมาชิกอาเซียนเป็นฐานการผลิตให้ผู้ประกอบการไทย
เพื่อผลิตและส่งออกสินค้า เพื่อรับสิทธิประโยชน์ทางภาษีในรูปแบบต่างๆ

13 ผลกระทบทางค้าและการลงทุนจากการรวมตัวทางเศรษฐกิจ
1 คู่แข่งขันและสภาพการแข่งขันในตลาดเพิ่มขึ้น 2 สินค้าที่ไม่ได้มาตรฐาน/คุณภาพต่ำเข้ามาวางจำหน่ายในประเทศไทยมากขึ้น 3 นักลงทุนต่างชาติอาศัยสิทธินักลงทุนสัญชาติอาเซียนเข้ามาลงทุนในไทย 4 การเคลื่อนย้ายแรงงานมีฝีมือของไทยไปประเทศที่ให้ค่าตอบแทนสูงกว่า ที่มา : สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย

14 ปัญหาในทางปฏิบัติที่เป็นข้อจำกัด ในการใช้ประโยชน์จาก AFTA
ที่มา : สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย

15 AEC: จุดเปลี่ยนประเทศไทย
การค้า เน้นการค้าภายในภูมิภาคมากขึ้น รุกตลาดสินค้าที่ไทยได้เปรียบและขยายตลาดตามกรอบความร่วมมือใหม่ๆ การแข่งขันสูงขึ้น ภาคบริการเข้ามามีบทบาทในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจมากขึ้น เน้นท่องเที่ยวและบริการด้านสุขภาพ ซึ่งไทยมีจุดแข็งหลายด้าน บริการ การผลิตที่เริ่มสูญเสียความสามารถในการแข่งขันจำเป็นต้องย้ายฐานการผลิตไปต่างประเทศมากขึ้น ลงทุนในประเทศเพื่อนบ้านที่มีทรัพยากร อุดมสมบูรณ์และพร้อมเปิดรับการลงทุน จากต่างชาติ FDI มีแนวโน้มผ่อนปรนข้อจำกัดในการทำงานของแรงงานต่างชาติมากขึ้น เพิ่มพูนทักษะแรงงาน โดยเฉพาะด้านภาษาและการปรับตัวให้เข้ากับมาตรฐานการทำงานที่เป็นสากล แรงงาน การเคลื่อนย้ายเงินทุน เงินทุนเคลื่อนย้ายระหว่างประเทศ เข้าออกได้เสรีมากขึ้น ค่าเงินมีแนวโน้มผันผวน ผู้ประกอบการต้องเร่งปรับตัวในการบริหารจัดการด้านต้นทุนและลดความเสี่ยงด้านอัตราแลกเปลี่ยน ที่มา : สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย

16 ผลกระทบด้านบริการ ผลกระทบด้านบวก ทำธุรกิจบริการได้โดยเสรี,แก้ไขปัญหาขาด แคลนแรงงานฝีมือ การท่องเที่ยว ภาคบริการที่เกี่ยวกับการท่องเที่ยว อาทิ ร้านอาหาร และโรงแรม บริการด้านสุขภาพ เช่น โรงพยาบาล บริการสปา นวดแผนไทย ผลกระทบด้านลบ คู่แข่งในอาเซียนจะเข้ามาให้บริการในไทย เพิ่มขึ้น สาขาที่มีข้อกังวลว่าจะได้รับผลกระทบ เช่น โลจิสติกส์ โทรคมนาคม สาขาที่ต้องใช้ เงินลงทุนและเทคโนโลยีสูง ธุรกิจสถาปนิก ขนาดกลางและเล็ก

17 ผลกระทบด้านการลงทุน ผลกระทบด้านลบ
ผลกระทบด้านบวก ดึงดูดการลงทุนจากต่างประเทศเพิ่มขึ้น อาจถูกแย่งการลงทุนจากต่างชาติไป ประเทศที่น่าสนใจ ผลกระทบด้านลบ

18

19

20

21

22

23

24

25

26

27 ASEAN Socio-Cultural Community AEC Single market and Production base
A. Human Development B. Social Welfare and Protection C. Social Justice and Rights AEC Single market and Production base D. Ensuring Environmental Sustainability E. Building ASEAN Identity F. Narrowing the Development Gap

28 AEC Blueprint 1. การเปิดเสรีการค้าสินค้า (Trade in Goods)
Intra-ASEAN Trade Single Market & Production Base ASEAN Tariff 0% by 2553 CLMV Tariff 0% by 2558 สินค้าอ่อนไหว (Sensitive Items) Tariff < 5% by 2558 ไทยมี 4 รายการ ไม้ตัดดอก มะพร้าวแห้ง มันฝรั่ง กาแฟ

29 AEC Blueprint 1. การเปิดเสรีการค้าสินค้า (Trade in Goods)
Non-Tariff Barriers: NTBs ASEAN 5 ยกเลิกทั้งหมด 2553 ฟิลิปปินส์ ยกเลิกทั้งหมด 2555 CLMV ยกเลิกทั้งหมด 2558 โควต้าภาษี (Tariff Quota) ใบอนุญาตนำเข้า (Imported Licensing)

30 AEC Blueprint 2. การเปิดเสรีการค้าบริการ (Trade in Services)
เพิ่มสัดส่วนการถือหุ้นของนักลงทุนสัญชาติอาเซียน Logistics 70% 2556 2549 2551 2553 2558 PIS 12 กลุ่ม 49% 51% 70% สาขาอื่น 30% 49% 51% 70% PIS: Priority Integration Sectors สาขาเร่งรัดเปิดการค้าเสรี เช่น ICT, Health, Tourism, Airlines ฯลฯ

31 3. การเปิดเสรีลงทุน (Investment)
AEC Blueprint 3. การเปิดเสรีลงทุน (Investment) @ ให้ลงทุนในประเทศอาเซียนได้อย่างเสรี @ ให้ได้รับการปฏิบัติเท่าเทียมกับนักลงทุนในประเทศนั้น @ ยกเลิกเงื่อนไขข้อจำกัดการลงทุนและประเภท การลงทุนทั้งหมด ASEAN 6 เปิด 2553 CLMV เปิด 2558

32 AEC Blueprint ดำเนินการตามความเห็นชอบของรัฐมนตรีคลังอาเซียน
4. การเคลื่อนย้ายเงินทุนอย่างเสรี (Free Flow of Capital) ดำเนินการตามความเห็นชอบของรัฐมนตรีคลังอาเซียน ยกเลิกข้อจำกัดการเคลื่อนย้ายเงินทุนภายในอาเซียน

33 เกษตร อาหาร ป่าไม้ ทรัพย์สินทางปัญญา
AEC Blueprint 2558 5. การเปิดเสรีสาขาอื่น เกษตร อาหาร ป่าไม้ ทรัพย์สินทางปัญญา โครงสร้างพื้นฐาน (คมนาคม ITC พลังงาน) เหมืองแร่ e-commerce การเงินการธนาคาร (BIBF)และ SMEs

34 ต้องเตรียมความพร้อมอย่างไร
ส่วนที่ 3 ประเทศไทย ต้องเตรียมความพร้อมอย่างไร

35 แนวทางเตรียมความพร้อมและปรับตัว
ภาครัฐ กำหนดยุทธศาสตร์โดยยึดประโยชน์ของคนส่วนใหญ่ และทิศทางในการพัฒนาประเทศในภาพรวม มีแนวทางเยียวยาแก้ไขสำหรับคนส่วนน้อยที่ได้รับ ผลกระทบ อาทิ จัดตั้งกองทุน FTA มีมาตรการปกป้องฉุกเฉิน (Safeguard) ปรับปรุง พัฒนาระบบมาตรฐานสินค้าไทย เช่น มาตรฐาน สุขอนามัย  มาตรฐานสินค้า  ระบบการตรวจสอบ  แนวทางเตรียมความพร้อมและปรับตัว ภาครัฐ การเจรจจาจัดทำความตกลง FTA แต่ละประเทศย่อมได้รับประโยชน์และเสียผลประโยชน์ในบางด้าน ภาครัฐต้องมีแนวทางในการเจรจาโดยยึดถือผลประโยชน์ในภาพรวมและของคนส่วนใหญ่ในประเทศ ขณะเดียวกันต้องมีแนวทางในการเยียวยาผู้ได้รับผลกระทบ รวมถึงมาตรการเพื่อปกป้องอุตสาหกรรมในประเทศที่อาจได้รับความเสียหายจากการจัดทำ FTA ซึ่งมาตรการแก้ไขเยียวยานี้ได้ถูกกำหนดไว้ในบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญในมาตรา 190 ซึ่งรัฐบาลต้องปฏิบัติตามด้วย โดยมาตรการที่รัฐบาลได้ดำเนินการในช่วงที่ผ่านมาประกอบด้วย กองทุน FTA – กองทุนสำหรับช่วยเหลือกลุ่มที่ได้รับผลกระทบจากการเปิดเสรีทางการค้าเป็นสิ่งจำเป็นสำหรับช่วยเหลือและยกระดับความสามารถทางการแข่งขันของธุรกิจไทยที่ถูกกระทบจากการเปิดเสรีให้สินค้าจากต่างประเทศเข้ามามากขึ้นภายใต้ FTA ปัจจุบัน ทางการไทยได้จัดตั้งกองทุนเงินช่วยเหลือเพื่อการปรับตัวของภาคการผลิตและภาคบริการที่ได้รับผลกระทบจากการเปิดเสรีทางการค้า (กองทุน FTA) โดยกำหนดหลักเกณฑ์และรูปแบบการช่วยเหลือ ที่สำคัญ ได้แก่ การช่วยเหลือที่ไม่ใช่เป็นการให้เงิน แต่เป็นการสนับสนุนการดำเนินกิจกรรมที่ช่วยยกระดับอุตสาหกรรม เช่น การจัดสัมมนา การทำวิจัยเพื่อพัฒนาและหาแนวทางปรับตัว โดยมีระยะเวลาโครงการ1-3 ปี ภาครัฐควรจัดหางบประมาณสำหรับกองทุน FTA อย่างเพียงพอและต่อเนื่อง และกำหนดขั้นตอนการอนุมัติโครงการที่คล่องตัว รวมทั้งสนับสนุนโครงการที่เป็นประโยชน์อย่างแท้จริง อย่างไรก็ตาม ควรมีกระบวนการติดตามและประเมินผลของโครงการภายใต้กองทุน FTA อย่างมีประสิทธิภาพเพื่อให้เกิดผลประโยชน์แก่กลุ่มเป้าหมายที่ต้องการช่วยเหลืออย่างเป็นรูปธรรม มาตรการปกป้องฉุกเฉิน (Safeguard) –พระราชบัญญัติปกป้องจากการนำเข้าสินค้าที่เพิ่มขึ้น หรือกฎหมายเซฟการ์ด (Safeguard) เป็นมาตรการปกป้องฉุกเฉิน เพื่อลดผลกระทบจากการเปิดเสรีทางการค้าที่ทำให้เกิดการไหลทะลักของสินค้านำเข้าที่เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วจนส่งผลเสียหายต่อภาคธุรกิจภายในประเทศ อย่างไรก็ตาม มาตรการปกป้องฉุกเฉิน หรือกฎหมายเซฟการ์ด มีกำหนดกรอบระยะเวลาในการใช้ และการใช้มาตรการเซฟการ์ดจะต้องมีข้อมูลที่พิสูจน์ได้ถึงความเสียหายที่ร้ายแรงจากการเปิดเสรี ซึ่งถือเป็นมาตรการที่ดีในการช่วยเหลือผู้ประกอบการในประเทศที่ได้รับผลกระทบรุนแรงจากการเปิดเสรีทางการค้า แต่การใช้มาตรการนี้ จำเป็นต้องอาศัยข้อมูลที่ครบถ้วนและอ้างอิงได้ในการพิสูจน์ความเสียหาย รวมถึงต้องพิจารณาความสมดุลระหว่างการปกป้องผู้ผลิตซึ่งประกอบด้วยผู้ผลิตหลายกระบวนการ และการปกป้องผู้บริโภคด้วย ปรับปรุง พัฒนาระบบมาตรฐานสินค้าของไทย เช่น มาตรฐานสุขอนามัย  มาตรฐานสินค้า  การตรวจสอบ  และสิ่งแวดล้อม  เพื่อคุ้มครองผู้บริโภคที่อาจได้รับความเสียหายจากการนำเข้าสินค้าที่มีมาตรฐานต่ำ  และเพื่อยกระดับมาตรฐานสินค้าไทยสู่สากล

36 แนวทางเตรียมความพร้อมและปรับตัว
ภาคเอกชน เพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขัน ดำเนินกลยุทธ์การตลาดในเชิงรุก นำเทคโนโลยีใหม่ๆ เข้ามาใช้ พัฒนาและสร้างความสัมพันธ์กับภาคเอกชนของ ประเทศสมาชิกอาเซียนอื่น ศึกษาและติดตามกฎระเบียบ ข้อตกลงต่างๆ ที่ เกี่ยวข้องอย่างถ่องแท้ การเข้าไปลงทุนหรือร่วมลงทุนกับประเทศเพื่อนบ้าน แนวทางเตรียมความพร้อมและปรับตัว ภาคเอกชน การเตรียมและปรับตัวในเชิงรุกของผู้ประกอบการเพื่อตักตวงผลประโยชน์ให้ได้สูงสุด รวมถึงการบรรเทาผลกระทบที่เกิดขึ้น มีแนวทางดังนี้ เพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขัน เช่น การสร้างมูลค่าเพิ่ม (value creation) การสร้าง brand name ให้เป็นที่ยอมรับในระดับสากล ดำเนินกลยุทธ์การตลาดในเชิงรุก โดยเจาะถึงตลาดผู้ซื้อในต่างประเทศและศึกษาความต้องการของผู้ซื้อ เพื่อพัฒนาสินค้าให้สอดคล้องกับความต้องการ นำเทคโนโลยีใหม่ๆเข้ามาใช้ เพื่อยกระดับความสามารถในการแข่งขัน โดยเฉพาะเทคโนโลยีด้านสารสนเทศที่จะช่วยอำนวยความสะดวกในการดำเนินธุรกิจ และให้ความสำคัญกับเรื่องการวิจัยและพัฒนา (R&D) ให้มากขึ้น เพื่อสร้างนวัตกรรมใหม่ๆ พัฒนาและสร้างความสัมพันธ์กับภาคเอกชนของประเทศสมาชิกอาเซียนอื่น เพื่อสร้างเครือข่าย หรือพันธมิตรในการดำเนินธุรกิจ และสร้างอำนาจในการเจรจาต่อรองทางการค้า ศึกษาและติดตามกฎระเบียบ ข้อตกลงต่างๆ ที่เกี่ยวข้องอย่างถ่องแท้ เพื่อตักตวงผลประโยชน์ให้ได้สูงสุด และหากพบอุปสรรคที่เกี่ยวกับมาตรการกีดกันทางการค้าให้ประสานแจ้งหน่วยงานภาพรัฐทราบเพื่อแก้ไขปัญหาโดยเร็ว การเข้าไปลงทุนหรือร่วมลงทุนกับประเทศเพื่อนบ้าน ประเทศในอาเซียนมีความหลากหลายและความพร้อมทางเศรษฐกิจที่แตกต่างกัน มีทั้งกลุ่มที่มีความชำนาญในด้านเทคโนโลยี กลุ่มที่เป็นฐานการผลิต และกลุ่มที่มีทรัพยกรและแรงงานสำหรับการผลิต ดังนั้น ไทยจึงจำเป็นต้องพิจารณาเลือกใช้จุดแข็งที่มีอยู่ในแต่ละประเทศให้เป็นประโยชน์ โดยอาจย้ายฐานการผลิตของบางอุตสาหกรรมเข้าไปในประเทศเพื่อนบ้านเพื่อสร้างความได้เปรียบในการการแข่งขัน หรือการร่วมลงทุนกับประเทศเพื่อนบ้าน  นอกจากนี้ อาเซียนจะต้องยกเลิกภาษีและมาตรการทางการค้าภายใต้กรอบอาฟตาระหว่างกันในปี 2553 รวมทั้งเปิดเสรีภาคบริการ เงินทุนและแรงงานภายในปี 2558 อย่างไรก็ตาม มีแนวโน้มว่าประเทศอาเซียนอาจจะนำมาตรการทางการค้าด้านเทคนิคมาใช้ เช่น มาตรฐานสินค้าและการติดฉลากที่ไม่ละเมิดกรอบ WTO โดยทั่วไปมาตรการเหล่านี้เป็นมาตรการที่มีขึ้นเพื่อปกป้องผู้บริโภคในประเทศของตนซึ่งเป็นการยากที่จะจำกัดหรือยกเลิกไป ดังนั้น ผู้ประกอบไทยจะต้องพัฒนาคุณภาพและมาตรฐานของสินค้าให้เป็นที่ยอมรับในตลาดโลก เพราะการผลิตสินค้าที่ได้มาตรฐานจะเปิดโอกาสให้สินค้าไทยส่งออกไปยังตลาดใดในโลกก็ได้โดยไม่ต้องประสบกับอุปสรรคด้านมาตรฐานสินค้า โดยเฉพาะการพัฒนามาตรฐานทางด้านการอนุรักษ์โลกซึ่งเป็นกระแสที่คาดว่าจะมีมาตรการเพิ่มขึ้นอีกในอนาคต

37 ผลกระทบต่อเศรษฐกิจของไทย
ผลกระทบในระยะสั้น : AFTA อาจทำให้รัฐบาลสูญเสียรายได้ส่วนหนึ่งจากอัตราภาษีนำเข้าที่ลดลงและทำให้อุตสาหกรรมที่มีความสามารถในการผลิตต่ำและไม่มีความสามารถในเชิงแข่งขันได้รับผลกระทบ เช่นอุตสาหกรรมที่เพิ่งเริ่มก่อตั้ง อุตสาหกรรมที่ที่ต้องอาศัยวัตถุดิบนำเข้าจากนอกอาเซียน

38 ผลกระทบต่อเศรษฐกิจของไทย
ผลกระทบในระยะยาว : 1. การลดภาษีของอาเซียนจะทำให้สินค้าที่ไทยส่งออกไปอาเซียนมีราคาถูกและสามารถแข่งขันกับประเทศนอกกลุ่มได้ 2. การลดภาษีของไทย จะทำให้มีการนำเข้าวัตถุดิบ และสินค้ากึ่งสำเร็จรูปจากอาเซียนในราคาถูก ซึ่งจะมีผลต่อการลดต้นทุนการผลิตและเพิ่มขีดความสามารถในการส่งออก 3. ผู้บริโภคสามารถบริโภคสินค้าบริโภค และอุปโภค ในราคาถูกลง

39 ไทยได้อะไรจาก AEC ลดอุปสรรคทางการค้า ด้านภาษีและที่มิใช่ภาษีระหว่างประเทศ สมาชิก ซึ่งจะส่งผลให้มีการขยายการค้าในอาเซียนเพิ่มมากขึ้น ทั้ง สินค้าสำเร็จรูป สินค้า ชั้นกลาง และวัตถุดิบ โดยมีสินค้าที่คาดว่า ประเทศไทยจะได้เปรียบ และส่งออก ไปยังอาเซียนเพิ่มมากขึ้น ได้แก่ ผลิตภัณฑ์หนัง อัญมณีและเครื่องประดับ เฟอร์นิเจอร์ไม้ ปูนซีเมนต์ สิ่งทอบางชนิด อุปกรณ์ไฟฟ้าบางชนิด การลงทุน ตลาดอาเซียนกลายเป็นตลาดใหญ่มีประชากรถึง 340 ล้านคน จะทำให้อาเซียนรวมทั้งไทยกลายเป็นจุดดึงดูดการลงทุนจากต่างประเทศ ซึ่งจะทำให้เกิดการจ้างงาน การถ่ายทอดเทคโนโลยี ที่จะนำความเจริญก้าวหน้าทางเศรษฐกิจมาสู่ภูมิภาค

40 ไทยได้อะไรจาก AEC การเสริมสร้างสถานการณ์แข่งขันในเวทีการค้าระหว่างประเทศ การนำเข้าวัตถุดิบในราคาต้นทุนต่ำ การขยายตลาด การถ่ายทอดเทคโนโลยีที่ได้รับจากการลงทุนจากต่างประเทศ จะทำให้อาเซียนสามารถผลิตสินค้าได้ในราคาต้นทุนต่ำ ซึ่งจะเป็นการเสริมสร้างสถานะทางการแข่งขันการส่งออกของอาเซียน การเสริมสร้างอำนาจการต่อรอง ในเวทีการเจรจาการค้าระหว่างประเทศ

41 ผู้ประกอบการไทยจะได้ประโยชน์อะไร ?
อาเซียนจะกลายเป็นตลาดที่สำคัญของไทย อุตสาหกรรมที่ได้ประโยชน์อย่างยิ่งคือ อุตสาหกรรมยานยนต์และชิ้นส่วน คอมพิวเตอร์และชิ้นส่วน อิเล็กทรอนิกส์ ซึ่งจะได้ประโยชน์จากการใช้วัตถุดิบในอาเซียน การแบ่งงานกันผลิตชิ้นส่วนที่แต่ละประเทศสมาชิกมีความได้เปรียบจะส่งผลให้อุตสาหกรรมของไทยสามารถพัฒนาตัวเองเป็นศูนย์กลางการผลิตในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ได้

42 เกษตรกรไทยได้ประโยชน์ด้วยหรือไม่ ?
ประเทศไทยทำข้อตกลงในการเปิดเสรีทางการค้าในสินค้าเกษตร ซึ่งมีสินค้าผูกพันตามข้อตกลง จำนวน 23 รายการ คือ น้ำนมดิบ/นมปรุงแต่ง นมผงขาดมันเนย ลำไยแห้ง ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ กระเทียม หอมหัวใหญ่ เมล็ดพันธ์หอมใหญ่ มันฝรั่ง พริกไทย ข้าว เมล็ดถั่วเหลือง กากถั่วเหลือง น้ำมันถั่วเหลือง น้ำมันปาล์ม น้ำมันมะพร้าว เนื้อมะพร้าวแห้ง ชา เมล็ดกาแฟ กาแฟสำเร็จรูป ไหมดิบ น้ำตาล แลใบยาสูบ

43 เขตการค้าเสรีอาเซียน(AEC) ส่งผลกระทบต่อสินค้าเกษตรไทยบ้าง
ภูมิภาคเดียวกัน สินค้าเกษตรชนิดเดียวกัน คุณภาพไม่ได้ ด้อยกว่ามากมาย แต่ราคาถูกกว่า  ผลกระทบย่อมตกกับ เกษตรกรไทยที่ผลิตในประเทศแท้ๆแต่ราคาสูงกว่าสินค้า เกษตรนำเข้าเพราะว่าผลจากการเปิดเสรีทางการค้า และ ปรับลดอัตราภาษี

44 ผู้บริโภคได้อะไร ? ...อาจจะซื้อสินค้าราคาถูกในระยะแรก แต่เมื่อเกษตรกรรายย่อยไม่สามารถอยู่ได้ก็จะเกิดการผูกขาดทำให้สินค้าราคาแพงขึ้น ผู้บริโภคก็จะต้องซื้อสินค้าและอาหารราคาแพงตลอดไป

45 มองภาพเศรษฐกิจโดยรวม....
ไทยและอาเซียนต่างก็ได้รับประโยชน์จากAEC แต่จะมากน้อยกว่ากันนั้น ขึ้นอยู่กับความสามารถในการปรับตัวของภาครัฐและภาคเอกชนในประเทศ นับตั้งแต่มีการก่อตั้ง AEC เป็นต้นมา การค้าระหว่างไทยกับอาเซียนขยายตัวขึ้นมากและมูลค่าการส่งออกสินค้าจากไทยไปยังอาเซียนเพิ่มขึ้นอย่างเห็นได้ชัด

46 บางสิ่งบางอย่างจาก AEC ที่ไทยควรระวัง
อุตสาหกรรมใหม่(Infant industries) ที่ต้องการการปกป้องในช่วงต้น ๆ จะเกิดขึ้นไม่ได้ ข้อด้อยหนึ่งของประเทศเราในการเจรจา FTA คือบุคลากรโดยเฉพาะบุคลากรทางด้านกฎหมาย สินค้าเหมือนกัน จะกลายเป็นมาแข่งกันและสินค้าของ ประเทศนั้นจะเข้ามาตีตลาดสินค้าในประเทศเรา

47 การจัดทำเขตการค้าเสรีแบบทวิภาคี จะไปกระตุ้นให้ประเทศอื่นต้องแข่งที่จะจัดทำเขตการค้าเสรีคู่ใหม่ๆเพิ่มขึ้นมาด้วย จะนำไปสู่ความขัดแย้งทางการค้ามากขึ้น ประเทศที่ใหญ่จะได้เปรียบ ประเทศเล็กจะเสียเปรียบ เพราะว่าจะไม่มีอำนาจในการต่อรอง อาจจะทำให้ประเทศเราไปสู่สภาวะการพึ่งพาประเทศที่เราไปจัดทำเขตการค้าเสรีด้วย

48 ปัญหากดดันต่อแรงงานไทย
มิถุนายน 2553 ระบุว่าจำนวนประชากรในอาเซียนจะเพิ่มขึ้นจาก 588 ล้านคนในปี 2553เป็น 621 ล้านคนในปี 2558 และจะเพิ่มเป็น 651 ล้านคนในปี 2563 กำลังแรงงานเพิ่มจากประมาณ 250 ล้านคนเป็นประมาณ 300 ล้านคน ด้วยอัตราค่าแรงงานต่อชั่วโมงมีความแตกต่างกันอย่างมากในกลุ่มอาเซียน ย่อมทำให้เกิดการเคลื่อนย้ายแรงงานเพิ่มสูงขึ้นอย่างรวดเร็ว

49 ปัญหากดดันต่อแรงงานไทย
สมาชิกอาเซียน มีการจัดทำ Mutual Recognition Agreement (MRA) เพื่ออำนวยความสะดวกในการยอมรับคุณสมบัติของนักวิชาชีพที่สำคัญร่วมกัน เพื่อการถ่ายเทแรงงานฝีมือได้เสรีมากขึ้น แต่การเข้าเมืองและการทำงาน ยังต้องเป็นไปตามกฎระเบียบของแต่ละประเทศสมาชิก

50 ปัญหากดดันต่อแรงงานไทย
จำนวนแรงงานจากจีนและอินเดีย ซึ่งมีสูงมาก แรงงานเหล่านี้จะไหลเข้าสู่อาเซียนซึ่งมีโอกาสดีกว่า และคุณภาพของแรงงานเหล่านี้กำลังได้รับการพัฒนาอย่างมากทั้งในประเทศจีนและอินเดีย เช่น

51 ทางออกของการประกอบการยุคนี้และยุคหน้า
•ภูมิปัญญา (Wisdom) และความรู้ (Knowledge) •นวัตกรรม (Innovation) •ความคิดสร้างสรรค์ (Creativity) •การออกแบบ (Design) •เทคโนโลยี (Technology) •ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง (Sufficiency Economy)

52 ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงกับภาคธุรกิจ
•การรู้จุดอ่อนจุดแข็งของสินค้าเกษตรอย่างชัดแจ้ง •การกำหนดวิสัยทัศน์ที่ถูกต้อง •การติดตามสิ่งแวดล้อมและปรับตัวตาม Balanced Scorecard อยู่ตลอดเวลา •การนำปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงมาประยุกต์ใช้เพื่อให้ภาคการเกษตรมีภูมิคุ้มกันต่อการเปลี่ยนแปลง

53 SWOT Analysis ภูมิภาคอาเซียน
จุดแข็ง Strength ประชากร 591 ล้านคน / Real GDP growth : 4.0% (2008) 1. ปี 2010 ภาษี อาเซียนเดิม 6 ประเทศ เป็น 0%และจะเป็น Single market สมบูรณ์แบบ ในปี มีตลาดขนาดใหญ่ จำนวนประชากร 575 ล้านคน 2. เป็นประชาคมแห่งการติดต่อเชื่อมโยงทั้งภูมิภาค 3. มีระบบเศรษฐกิจแบบตลาดเสรี และเปิดกว้าง 4. มีความสมบูรณ์ด้านทรัพยากรแร่ธาตุ ทรัพยากร ธรรมชาติ 5. สามารถเคลื่อนย้ายแรงงานภายในภูมภาคได้ 6. กลุ่มประเทศอาเซียน เป็นคู่ค้าอันดับ 1 ของไทย และมีความสำคัญทาง เศรษฐกิจกับไทย ทั้งด้านการค้า การลงทุนและการท่องเที่ยว 7. มีแหล่งดึงดูดด้านการท่องเที่ยวที่สำคัญของโลก

54 โอกาส Opportunity 1. ความร่วมมือในภูมิภาค 2. การค้ากับโลก Inter Region และความร่วมมือระหว่างกลุ่ม อาเซียนกับประเทศคู่ค้า เช่น ASEAN +3, ASEAN-China เป็นต้น 3. เส้นทางคมนาคมระหว่างประเทศใหม่ๆ เช่น East - West Corridor, North – South Corridor เป็นต้น 4. แหล่งทรัพยากรแร่ธาตุ และทรัพยากรธรรมชาติ 5. ฐานการผลิตสินค้าเกษตร 6. เป็นแหล่งผลิตพลังงานทดแทน 7. ประชาชนนิยม / ภาพลักษณ์ สินค้าไทย 8. แรงงานจำนวนมาก

55 จุดอ่อน Weakness 1. กฎ ระเบียบ ที่แตกต่างกันและมีการเปลี่ยนแปลงอยู่เสมอ อาจทำให้เกิด ความแตกต่างด้านต้นทุน 2. ระบบสาธารณูปโภคขั้นพื้นฐานในบางประเทศ ยังอยู่ระหว่างการพัฒนา เช่น เส้นทางการคมนาคม อาจทำให้เป็นต้นทุนที่สูงของผู้ประกอบการ 3. ความแตกตางด้านวัฒนธรรม สังคม การเมือง และเศรษฐกิจ เช่นใน ASEAN 5 และCLMV 4. สินค้าที่ผลิตเพื่อส่งออกไปยังภูมิภาคอาเซียนส่วนใหญ่จะแข่งขันกันเอง 5. ผู้ประกอบการยังขาดทักษะ ความเข้าใจ ในด้านกฎหมายทรัพย์สินทาง ปัญญา อาจทำให้สินค้าโดนลอกเลียนแบบทั้งรูปลักษณ์ ลิขสิทธิ์ สิทธิบัตร และเครื่องหมายการค้า

56 อุปสรรค Threat 1. สินค้าลอกเลียนแบบ และการละเมิดลิขสิทธิ์ 2. การเปิดเสรีทำให้ มีการหลั่งไหลของการลงทุนทั้งในอาเซียน และ จากนอกอาเซียน เช่น จีน ไต้หวัน และสิงค์โปร 3. การแข่งขันกับสินค้าราคาถูกของจีน ที่เข้ามาในภูมิภาคเป็นจำนวน มาก รวมทั้งการแข่งขันกันเอง 4. มีการพัฒนาด้านความสามารถในการแข่งขันน้อย 5. ความได้เปรียบทางภาษาของสิงค์โปร มาเลเซีย และฟิลิปปินส์ 6. NTBs 7. ปัญหาชายแดน

57 โอกาสการเจาะเข้าตลาดอาเซียน
1 เสริมสร้างความแข็งแกร่งของภาคเอกชนในภูมิภาค 2 สนับสนุนการขยายการลงทุนและขยายเครือข่ายใน ต่างประเทศ 3. บ่มเพาะความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ 4. ส่งเสริมการค้าชายแดนและระบบโลจิสติกส์ 5. แสวงหาแหล่งทรัพยากร วัตถูดิบ และการเป็นฐานการ ผลิตที่สำคัญของโลก

58 7 ยุทธศาสตร์การพัฒนาและขยายการค้าของไทยสู่ การเป็นประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (AEC)
1.พัฒนาระบบและฐานข้อมูลการค้าการลงทุน เพื่อส่งเสริมการใช้ ประโยชน์จากการเปิดเสรีการค้าสินค้า บริการ และการลงทุน 2. สร้างความสัมพันธ์ระหว่างภาครัฐของไทยและอาเซียนอย่าง แน่นแฟ้น 3. ส่งเสริมการสร้างเครือข่ายพันธมิตรทั้งระหว่างภาคธุรกิจไทย และอาเซียน 4. ส่งเสริมสินค้าและบริการที่ตรงกับความต้องการของตลาดอาเซียน

59 7 ยุทธศาสตร์การพัฒนาและขยายการค้าของไทยสู่ การเป็นประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (AEC)
5. ยกระดับภาพลักษณ์ของสินค้าและบริการไทยและส่งเสริมการสร้าง ตราสินค้า 6. ส่งเสริมการเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันและการรวมกลุ่มของ ผู้ประกอบการไทย 7 พัฒนาระบบโลจิสติกส์และอำนวยความสะดวกทางการค้ารวมทั้ง ผลักดัน การขยายการค้าชายแดนเพื่อให้ประเทศไทยเป็นศูนย์กลาง การค้า (Trading Nation)และศูนย์กระจายสินค้าของภูมิภาค (Hub of Distribution Center)


ดาวน์โหลด ppt การเตรียมความพร้อมของSMEsไทยสู่...

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


Ads by Google