งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

การเคลือบหลุมร่องฟัน SEALANT

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


งานนำเสนอเรื่อง: "การเคลือบหลุมร่องฟัน SEALANT"— ใบสำเนางานนำเสนอ:

1 การเคลือบหลุมร่องฟัน SEALANT

2 การเคลือบหลุมร่องฟัน คือ อะไร
 การใช้วัสดุปิดทับบริเวณหลุมและร่องฟันที่ลึก(deep pit and fissure)   ลดโอกาสที่เศษอาหาร และแผ่นคราบจุลินทรีย์สะสมที่หลุมร่องฟัน และ ทำให้สามารถความสะอาดได้ง่ายและดีขึ้น

3 ประโยชน์ของการเคลือบหลุมร่องฟัน
ลดการสะสมของเชื้อแบคทีเรีย และเศษอาหารไปสะสมที่หลุมร่องฟัน ดังนั้น การเคลือบหลุมร่องฟัน จึงช่วยลดโอกาสเกิดฟันผุที่ตำแหน่งหลุมร่องลึก(pit &fissure) และลดการดำเนินต่อของ โรคฟันผุ(caries progression) ในฟัน non-cavitated caries

4 การเคลือบหลุมร่องฟัน
ประเภทของวัสดุเคลือบหลุมร่องฟัน ข้อบ่งชี้ในการทำเคลือบหลุมร่องฟัน อุปกรณ์ในการทำเคลือบหลุมร่องฟัน เทคนิคการทำเคลือบหลุมร่องฟัน ปัจจัยที่มีผลต่อการยึดติด ภายหลังการทำเคลือบหลุมร่องฟัน คำแนะนำของ ADA (American Dental Association,2008)

5 ประเภทของเคลือบหลุมร่องฟัน
1.วัสดุเคลือบหลุมร่องฟันชนิดเรซิน(resin-based sealants) ชนิดเกิดปฏิกริยาด้วยสารเคมี (Chemical cured) และ ชนิดเกิดปฏิกิริยาด้วยแสง (Light cured) 2.วัสดุเคลือบหลุมร่องฟันชนิดแก้วไอโอโนเมอร์(glass ionomer cements) สามารถปลดปล่อยฟลูออไรด์ได้ 3.วัสดุเคลือบหลุมร่องฟันชนิดคอมโพเมอร์ (Compomer)

6 ข้อบ่งชี้ในการทำเคลือบหลุมร่องฟัน
ฟันน้ำนม หรือฟันแท้ที่มีหลุมร่องฟันลึก ที่มีความเสี่ยงต่อการเกิดฟันผุ (โดยความเสี่ยงในการเกิดฟันผุนั้น จะประเมินจากทั้งตัวผู้ป่วย และสภาพฟัน) การประเมินความเสี่ยงฟันผุจากสภาพผู้ป่วย การมีวัสดุอุด หรือ ฟันผุในช่องปาก (dmft) พฤติกรรมการทานอาหาร และการดูแลสุขภาพช่องปาก โรคประจำตัวต่างๆ เช่น ผู้ป่วยที่ได้รับการฉายแสง- บริเวณศรีษะและใบหน้า , เด็กพิเศษต่างๆ

7 ข้อบ่งชี้ในการทำเคลือบหลุมร่องฟัน (ต่อ)
การประเมินความเสี่ยงฟันผุจากสภาพฟัน ฟันปกติ (sound tooth) ที่มีหลุมร่องฟันลึก โดยเฉพาะฟันที่เพิ่งขึ้นในเด็ก โดยเฉพาะช่วง 3-4 ปีแรกที่ฟันขึ้น คือ ฟันกรามน้ำนมเด็ก (ช่วงอายุ 2-3 ปี) ฟันกรามแท้ซี่ที่ 1 (ช่วงอายุ 5-7 ปี) ฟันกรามแท้ซี่ที่ 2 (ช่วงอายุ ปี) ฟันกรามน้อย (ช่วงอายุ ปี)

8 CDC ,2009 (centers for disease control and prevention)
เนื่องมาจาก มีการสำรวจพบว่า ร้อยละ 90 ของฟันผุในเด็กวัยเรียน พบที่ฟันหลัง โดยเฉพาะฟันกราม

9 ข้อบ่งชี้ในการทำเคลือบหลุมร่องฟัน (ต่อ)
การประเมินความเสี่ยงฟันผุจากสภาพฟัน (ต่อ) ฟันผุระยะเริ่มต้นที่ยังไม่เป็นโพรงฟัน (non-cavitated caries) จากคำแนะนำของ ADA,2008 ควรทำเคลือบหลุมร่องฟันใน non- cavitated caries ลด caries progression 70% ในเด็ก

10 ข้อบ่งชี้ในการทำเคลือบหลุมร่องฟัน (ต่อ)
การประเมินความเสี่ยงฟันผุจากสภาพฟัน (ต่อ) ฟันผุระยะเริ่มต้นที่ยังไม่เป็นโพรงฟัน (non-cavitated caries)

11 ข้อบ่งชี้ในการทำเคลือบหลุมร่องฟัน (ต่อ)
การประเมินความเสี่ยงฟันผุจากสภาพฟัน (ต่อ) ฟันผุระยะเริ่มต้นที่ยังไม่เป็นโพรงฟัน (non-cavitated caries)

12 ข้อบ่งชี้ในการทำเคลือบหลุมร่องฟัน(ต่อ)
ไม่พบฟันผุเป็นรู (cavitated caries) ทั้งในด้านบดเคี้ยว และด้านประชิดกันของฟัน ไม่ควรทำเคลือบหลุมร่องฟันในซี่ที่จะอยู่ในช่องปากไม่นาน เช่น ฟันน้ำนมที่ใกล้หลุด ไม่มีความจำเป็นต้องทำ ในฟันที่มีหลุมร่องฟันกว้างและตื้น ระดับการขึ้นของฟัน

13 อุปกรณ์ในการทำเคลือบหลุมร่องฟัน
ชุดตรวจ ผงขัดฟันชนิดไม่มีฟลูออไรด์ (Pumice powder) พุ่มขนแปรง (Bristle brush) หรือถ้วยยาง (Rubber cup) สำลีปลอดเชื้อ ชุดอุปกรณ์ ได้แก่ พู่กัน ถาดหลุมใส่กรดและวัสดุ

14 อุปกรณ์ในการทำเคลือบหลุมร่องฟัน(ต่อ)
High power suction และหลอดดูดน้ำลาย ชุดวัสดุเคลือบหลุมร่องฟัน ประกอบด้วย กรดปรับสภาพผิวเคลือบฟันและวัสดุเคลือบหลุมร่องฟัน เครื่องฉายแสง กระดาษสีสำหรับเช็คการสบฟัน หัวกรอขัดแต่งรูปกลมและรูปเปลวไฟ

15 เทคนิคการทำเคลือบหลุมร่องฟัน
ขั้นตอนทำความสะอาดฟัน ขั้นตอนเป่าฟันให้แห้ง และทำการกั้นน้ำลาย ขั้นตอนทาสารละลายกรดลงไปบนฟัน ขั้นตอนล้างฟันให้สะอาดและเป่าฟันให้แห้ง แล้วเปลี่ยนสำลีที่ใช้กันน้ำลายก้อนใหม่ ขั้นตอนทาสารเคลือบหลุมร่องฟัน ที่อยู่ในสภาพของเหลวลงไปบริเวณที่มีหลุมร่องฟัน จากนั้นฉายแสง

16 เทคนิคการทำเคลือบหลุมร่องฟัน(ต่อ)
ขั้นตอนการทำความสะอาดฟัน ใช้ผง pumice ผสมน้ำ + rubber cup/rubber tip (ห้ามใช้ prophylaxis paste หรือ ที่ส่วนผสมของฟลูออไรด์และน้ำมัน) ล้างทำความสะอาด (โดยใช้ tripple syringe) ใช้ explorer เขี่ย เพื่อกำจัดเศษ pumice หรือ plaque ที่ติดอยู่ (ถ้าเป็น non-cavitated caries ไม่ควรใช้แรงกด explorer ) ล้างทำความสะอาด (โดยใช้ tripple syringe) อีกครั้ง

17 เทคนิคการทำเคลือบหลุมร่องฟัน(ต่อ)
ขั้นตอนการเป่าฟันให้แห้ง และทำการกั้นน้ำลาย เป่าลมให้แห้งและกั้นน้ำลายด้วยม้วนสำลี ฟันล่าง : กั้นด้าน buccal และ lingual ฟันบน : กั้นน้ำลายเฉพาะด้าน buccal เครื่องช่วยในการกั้นน้ำลาย ที่จำเป็นในขั้นตอนนี้ คือ หัวดูดน้ำลาย ทั้งชนิดที่มีความเร็วสูง (high power suction) และหัวดูดน้ำลายชนิดความเร็วต่ำ ในกรณีที่กั้นน้ำลายได้ยาก การใช้แผ่นยางกั้นน้ำลาย ก็เป็นสิ่งที่ควรพิจารณา

18 เทคนิคการทำเคลือบหลุมร่องฟัน(ต่อ)
ขั้นตอนการปรับสภาพผิวฟันด้วยกรด ใช้กรดฟอสฟอริก (phosphoric acid) หรือกรดออโธฟอสฟอริก (orthophosphoric acid) 35-50% ใช้สำลีก้อนเล็กๆ ฟองน้ำ หรือพู่กัน โดยถูไปมาเบาๆ ทา 2/3 ของระยะทางจากร่องฟัน ถึงยอดของฟัน skipping effect  ทำการทาด้วยกรดอีกครั้ง ใช้เครื่องมือตรวจฟันผุ หรือ dycal carrier เขี่ยเบาๆ ไปตามหลุมร่องฟัน เวลาทากรดประมาณ วินาที ตามคำแนะนำ ของบริษัทผู้ผลิต ทั้งในฟันน้ำนม และฟันแท้

19 เทคนิคการทำเคลือบหลุมร่องฟัน(ต่อ)
ขั้นตอนล้างกรดออกด้วยน้ำสะอาดและเป่าให้แห้ง ควรล้างกรดประมาณ วินาที ควรปล่อยน้ำจากหัวฉีดน้ำ (triple syringe) อย่างสม่ำเสมอ และพอเหมาะ เพื่อป้องกันไม่ให้เด็กสำลัก ใช้เครื่องดูดน้ำลาย 2 หัว ทั้งชนิดความเร็วสูง และความเร็วต่ำ โดยวางเครื่องดูดน้ำลายทางด้าน distal ของฟัน หลังจากล้างน้ำ ควรเปลี่ยนม้วนสำลีใหม่ โดยนำสำลีก้อนใหม่มาวางบนสำลีเปียกก่อน แล้วจึงค่อยๆ เอาก้อนสำลีเปียกข้างใต้ออก ถ้าสำลีเปียกมาก และอุ้มน้ำลาย ควรใช้ที่ดูดน้ำลาย ดูดให้แห้ง ก่อนดึงก้อนสำลีออก

20 เทคนิคการทำเคลือบหลุมร่องฟัน(ต่อ)
ขั้นตอนล้างกรดออกด้วยน้ำสะอาดและเป่าให้แห้ง (ต่อ) ควรเป่าใช้เวลาในการเป่าให้แห้งอย่างน้อย 10 วินาที ขณะเป่าฟัน ต้องระวังไม่ให้มีการปนเปื้อนของน้ำและน้ำมัน จากเครื่องเป่าลม (Air syringe) ฟันที่ถูกกรดกัด จะมีลักษณะขุ่นขาว ไม่เป็นมัน “Chalky White” ระวัง!! ไม่ให้มีการสัมผัสกับน้ำลาย ถ้ามีการสัมผัสกับน้ำลาย ควรใช้กรดกัดใหม่อีกครั้ง ด้วยเวลาเท่าเดิม การล้างด้วยน้ำจะไม่เพียงพอ

21 เทคนิคการทำเคลือบหลุมร่องฟัน(ต่อ)
ขั้นตอนการทาสารเคลือบฟันบนตัวฟัน การทาสารเคลือบหลุมร่องฟัน ควรใช้จำนวนน้อย ทาให้ทั่วและพอดีในร่อง ไม่หนา ในฟันบน คลุมถึง lingual groove ในฟันล่างให้คลุมถึง buccal groove และ/หรือ buccal pit ด้วย ใช้เครื่องมือตรวจฟัน หรือ dycal carrier เป็นตัวนำสารเคลือบหลุมร่องฟัน ให้ไหลไปตามหลุมและร่องฟันจนทั่ว ระวังอย่าให้เกิดฟองอากาศ กรณีที่ใช้แปรง ควรตรวจดูว่า แปรงที่ใช้มีลักษณะบานหรือไม่ ถ้ามีลักษณะบาน ควรเปลี่ยน เพราะเมื่อแตะแปรงไปยัง สารเคลือบหลุมร่องฟัน เพื่อนำมาทาที่ตัวฟัน จะแตะได้ สารจำนวนมากเกินไป

22 เทคนิคการทำเคลือบหลุมร่องฟัน(ต่อ)
ขั้นตอนการฉายแสง ให้วางหลอดนำแสงในลักษณะตั้งฉากกับตัวฟัน ห่างจากตัวฟันประมาณ 1-2 มิลลิเมตร เวลาที่ใช้ฉายแสงใช้ด้านละ วินาที หลังจากสารเคลือบหลุมร่องฟันแข็งตัวแล้ว ให้ใช้สำลีชุบเอทิลแอลกอฮอล์ หรือชุบน้ำก้อนเล็กๆ เช็ดบนผิวเคลือบร่องฟัน หรือใช้น้ำฉีดล้าง ผิวเคลือบร่องฟัน

23 เทคนิคการทำเคลือบหลุมร่องฟัน(ต่อ)
ประสิทธิผลของสารเคลือบหลุมร่องฟัน ขึ้นกับความเข้มของแสง ดังนั้น จึงต้องตรวจดูเครื่องฉายแสงเป็นระยะๆ ว่ามีความเข้มของแสงพอเหมาะหรือไม่ โดยลองฉายแสงไปยังวัสดุอุด Composite ขนาดหนาประมาณ มิลลิเมตร บนกระดาษ วัสดุควรแข็งภายใน 20 วินาที และตรวจดูว่า วัสดุมีความแข็งหรือไม่ โดยใช้เครื่องมือตรวจฟันผุ

24 ปัจจัยที่ผลต่อการยึดติด
กรณีไม่มีผู้ช่วย operator ควรเตรียมเครื่องมือให้พร้อม และอยู่ใกล้มือ สายตาควรจับอยู่ที่ตัวฟันตลอดเวลา ไม่ควรเลือกผู้ป่วยที่สำลักง่ายหรือไม่ร่วมมือ อาจให้ผู้ป่วยช่วยดูดน้ำลาย ปัจจัยที่ผลต่อการยึดติด การทำงานเป็นทีม การที่มีผู้ช่วยจะสามารถป้องกันการปนเปื้อนได้มากขึ้น ควรฝึกผู้ช่วยถึงวิธีการส่งเครื่องมือ การดูดน้ำลาย เพื่อให้การทำงานทำได้สัมพันธ์กัน และรวดเร็ว การทำความสะอาดฟันก่อนการทำเคลือบหลุมร่องฟัน การเตรียมสภาพผิวฟันด้วยกรดกัด ก่อนการทาสารเคลือบฟัน การควบคุมความชื้นของฟัน การเตรียมเครื่องมือให้พร้อม เนื่องจากการเคลือบหลุมและร่องฟัน ต้องการความรวดเร็วในการทำ การปฏิบัติตามขั้นตอนให้ถูกต้อง เช่น ระยะเวลาการทากรด , การทำความสะอาดฟัน การตรวจเช็คเครื่องมือ เครื่องฉายแสง มีประสิทธิภาพเพียงพอหรือไม่

25 ภายหลังการทำเคลือบหลุมร่องฟัน
การตรวจเช็ค ภายหลังการทำเคลือบหลุมร่องฟัน ใช้เครื่องมือตรวจฟัน ตรวจตามขอบ เคลือบร่องฟันที่ดี ควรต้องมีขอบเรียบ และไม่มีฟองอากาศ ตรวจดูว่า มีสารเคลือบร่องฟันมีลักษณะหนา บนด้าน distal ของตัวฟัน หรือไหลไปด้านข้างของฟัน ทำให้เกิดขอบแหลม

26 ภายหลังการทำเคลือบหลุมร่องฟัน(ต่อ)
การตรวจเช็ค ภายหลังการทำเคลือบหลุมร่องฟัน(ต่อ) ตรวจเช็คการสบฟันด้วยกระดาษสีคาร์บอน กรอแก้สูงในกรณีที่เคลือบร่องฟันติดสี สารเคลือบหลุมร่องฟันที่มีฟิลเลอร์ จำเป็นต้องกรอแต่ง ก่อนให้ผู้ป่วยกลับ สารเคลือบหลุมร่องฟัน ชนิดไม่มีฟิลเลอร์ ส่วนที่เกิน หรือสูง จะสึกได้รวดเร็ว และกลับสู่ตำแหน่งปกติ ประมาณ 2-3 วัน

27 ภายหลังการทำเคลือบหลุมร่องฟัน(ต่อ)
การเคลือบหลุมร่องฟันที่ประสบ ความสำเร็จควรมีลักษณะดังนี้ 1. ยึดติดแน่นทั้งทั้งด้านบดเคี้ยวและด้านแก้ม / ด้านลิ้น 2. ครอบคลุมหลุมและร่องฟันทั้งหมด 3. วัสดุเรียบและไม่มีรูพรุน

28 ภายหลังการทำเคลือบหลุมร่องฟัน(ต่อ)
คำแนะนำหลังการทำเคลือบหลุมร่องฟัน หลังจากทาสารเคลือบหลุมร่องฟัง จะมีรสขม แต่จะหายไปเองเมื่อมีการทานอาหารตามปกติ การสบฟันอาจรู้สึกแปลก ๆ เนื่องจากฟันสะดุดส่วนเกิน  แต่ส่วนเกินนี้จะสึกอย่างรวดเร็วหลังจากเคี้ยวอาหารได้ 2-3 วัน  ก็จะกลับสู่การสบฟันที่ปกติเหมือนเดิม ควรนำเด็กมาพบทันตแพทย์ทุก 6 เดือน เพื่อตรวจดูว่าสารเคลือบหลุมยังอยู่ดีหรือไม่ ควรฝึกนิสัยการทานอาหาร ไม่ทานจุกจิก ไม่อมท๊อฟฟี่ แปรงฟันทุกครั้งหลังรับประทานอาหาร

29 คำแนะนำของ ADA (ต่อ) (American Dental Association,2008
แนะนำให้ใช้ resin-based sealant เป็น first choice (ยกเว้นว่ามีปัญหาเรื่องการควบคุมความชื้น) เนื่องจากมีการศึกษาพบว่า resin-based sealant ลดโอกาสเกิดฟันผุ และ retention rate ที่สูงกว่า glass ionomer cements แนะนำให้มีผู้ช่วยในการทำเคลือบหลุมร่องฟัน การเตรียมสภาพผิวฟันก่อนการทำเคลือบหลุมร่องฟันพบว่า การใช้ bonding agent ก่อนทาเคลือบหลุมร่องฟันสามารถเพิ่มประสิทธิภาพการยึดติดได้ ไม่แนะนำการกรอฟันก่อนการทำเคลือบหลุมร่องฟัน เนื่องจากพบว่าประสิทธิภาพการยึดติดไม่แตกต่างกัน

30 คำแนะนำของ ADA (American Dental Association,2008
การเคลือบหลุมร่องฟัน ใน non-cavitated caries สามารถลดการดำเนินต่อของฟันผุได้ ควรติดตามผลการเคลือบหลุมร่องฟัน และทำเคลือบหลุมร่องฟันซ้ำ(ถ้าพบว่าหลุด) เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด


ดาวน์โหลด ppt การเคลือบหลุมร่องฟัน SEALANT

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


Ads by Google