งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

การประชุมวิชาการประจำปี ศสท

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


งานนำเสนอเรื่อง: "การประชุมวิชาการประจำปี ศสท"— ใบสำเนางานนำเสนอ:

1 การประชุมวิชาการประจำปี ศสท
การประชุมวิชาการประจำปี ศสท.ครั้งที่ 5 ณ อุทยานวิทยาศาสตร์ประเทศไทย จังหวัดปทุมธานี 28 เมษายน 2546 การประยุกต์ดับลินคอร์เมทาดาเพื่อการสืบค้นสารสนเทศ โดย ประดิษฐา ศิริพันธ์

2 ห้องสมุดอเล็กซานเดรีย
ในยุคห้องสมุดอเล็กซานเดรีย “It is a symbol of man’s wrongful endeavor to control and understand what he cannot control or understand. By establishing a constructed,artificial and ultimately erroneous notion of truth, and vainly surrounding it with a myriad of treatises carefully guarded from profane use, the library and the librarians are contradicting the nature of things.” คนโบราณเก็บรักษาคัมภีร์ทางศาสนา หวงแหนกีดกั้นคนสามัญที่ต้องการศึกษหาความรู้ แต่ห้องสมุดและบรรณารักษ์เท่านั้นกระทำสิ่งตรงข้าม

3 AACR2 Sir Anthony Panizzi, Charles A. Cutter, Melvil Dewey, Seymour Lubetzkey etc. เจ้าตำหรับการทำรายการสื่อบันทึกความรู้ทุกรูปแบบ บรรณารักษ์คือ ผู้กำหนดหลักเกณฑ์จัดหาความรู้ จัดเก็บอย่างเป็นระบบ ให้สามารถเข้าถึงความรู้ได้ทุกช่องทาง ไม่ว่าจะมีผู้แต่งหลายคน หนังสือหลายชื่อหลายภาษา สื่อทุกรูปแบบ ปีที่พิมพ์/ปรับปรุงแก้ไข สำนักพิมพ์ เนื้อเรื่องเดียวกันแต่เรียกชื่อด้วยภาษาต่างกัน ต้องสืบค้นได้ AACR, LCC, DDC เป็นที่มาของเมทาดาทา

4 Marc 21 Marc รับผิดชอบโดยหอสมุดรัฐสภาอเมริกัน - Marc 21 หอสมุดรัฐสภาอเมริกันร่วมกับหอสมุดแห่งชาติแคนาดา ปรับข้อกำหนดหน่วยข้อมูลย่อยให้ครอบคลุมการทำรายการสารสนเทศอิเล็กทรอนิกส์ และใช้งานประกอบกับ AACR 2 Marc เป็นมาตรฐานแห่งชาติสหรัฐอเมริกา Z 39.2 Marc เป็นมาตรฐานสากล ISO 2709 Marc 21คือโครงสร้างข้อมูลที่ใช้เมทาดาทา ประกอบด้วยชุดหน่วยข้อมูลย่อย คำจำกัดความที่ทำให้ระบบห้องสมุดหรือฐานข้อมูลต่างกันสามารถใช้ข้อมูลร่วมกันได้

5 MARC record display

6 Dublin Core Metadata Initiative-DCMI
dublincore.org

7 ความหมายของ Metadata “data describing Web resources and e-documents”
ข้อมูลที่มีโครงสร้างสำหรับอธิบายรายละเอียดของข้อมูล(ดิจิทัลในเว็บ) ใช้หลักเกณฑ์การทำข้อมูลเช่นเดียวกับการกำหนดโครงสร้างฐานข้อมูลบรรณานุกรม และการทำรายการหนังสือ มีการระบุว่า ใคร/หน่วยงานใดเป็นเจ้าของงาน งานชิ้นนั้นชื่อเรื่องอะไร และมีคำสำคัญ/ดัชนีบอกเนื้อเรื่อง บอกประเภทว่าเป็นรายงานการประชุม (สิ่งพิมพ์ หรือ homepageหรือ computer file: HTMLหรือ PDF) หรือเป็นรายการบรรณานุกรม มีภาพประกอบ/มัลติมีเดีย และ URL ผลงานเผยแพร่ปีใด

8 เหตุจูงใจให้เกิดดับลินคอร์
สารสนเทศจำนวนมหาศาลในเวิลด์ไวด์เว็บ มาตรฐานของห้องสมุดต้องลงทุนสูงและยากสำหรับผู้ที่ไม่ใช่บรรณารักษ์ เจ้าของผลงานต้องการแบบกรอกข้อมูลที่เข้าใจง่ายใช้เพียงสัญชาตญาณของคนทั่วไปก็สามารถพรรณนาสารสนเทศในหน้าเว็บของตนได้ การแสดงข้อมูลหน้าจอจากการสืบค้นในเวิลด์ไวด์เว็บที่แสดงรายการที่สื่อให้เข้าถึงสารสนเทศเช่นเดียวกับห้องสมุด ได้แก่ ชื่อสารสนเทศ เจ้าของงาน สำนักพิมพ์ ปีที่พิมพ์ รหัสหรือเลขหมู่ เพื่อให้ผู้ใช้เข้าถึงได้ง่าย

9 Dublin Core metadata / XML / RDF
การจัดการสารสนเทศดิจิทัลจำเป็นต้องใช้เมทาดาทาในการกำหนดโครงสร้างข้อมูล เพื่อให้การค้นคืนถูกต้องและให้ข้อมูลที่ส่งถ่ายข้อมูลต่างระบบ/ต่างฐานข้อมูลเป็นข้อมูลที่ตรงเรื่องกัน ดับลินคอร์เมทาดาทาคือมาตรฐานในการจัดเก็บและพรรณนาสารสนเทศดิจิทัล เพื่อให้เจ้าของผลงานจัดทำเมทาดาทาด้วยตัวเอง และสามารถใช้งานเพื่อการจัดเก็บและค้นคืนต่างระบบได้ XML/RDF คือมาตรฐานภาษากำกับเพิ่มสำหรับการสร้างเอกสารอิเล็กทรอนิกส์โดยพรรณนา อธิบายขอบเขตของข้อมูลและระบุพฤติกรรมการปฏิบัติการของข้อมูลที่จัดเก็บ เพื่อให้การสืบค้นเนื้อหาสารสนเทศได้อย่างถูกต้อง XML - Extensible Markup Language RDF - Resource Definition Framework

10 ชุดหน่วยข้อมูลย่อยดับลินคอร์ 1.1(ไทย-อังกฤษ)
DC.ชื่อเรื่อง<Title> DC. เจ้าของงาน<Creator> DC. ลักษณะ <Description> DC. หัวเรื่อง <Subject> DC. สำนักพิมพ์ <Publisher> DC. ผู้ร่วมงาน <Contributor> DC. ปี <Date> DC. ประเภท <Type> DC. รูปแบบ <Format> DC. รหัส <Identifier> DC. ต้นฉบับ <Source> DC. ภาษา <Language> DC. เรื่องที่เกี่ยวข้อง <Relation> DC. ขอบเขต <Coverage> DC. สิทธิ <Rights>

11 ตัวขยาย- DC.Qualifiers
ในการบันทึกข้อมูล เจ้าของงาน (Creator) ควรใช้เกณฑ์มาตรฐานสำหรับตัวขยาย ตัวอย่างเช่น AACR 2 สำหรับบรรณารักษ์ หรือ เกณฑ์ ISO สำหรับงานประเภทอื่น ที่มิได้ใช้ระบบเดียวกันกับห้องสมุด หัวเรื่อง หรือ คำสำคัญ(Subject or Keywords) ควร ใช้หัวเรื่องของสมาคมห้องสมุดแห่งประเทศไทยฯ หรือระบบหอสมุดรัฐสภาอเมริกัน หรือ หัวเรื่องของห้องสมุดแพทย์ หรือ Agrovoc สำหรับสารสนเทศ เกษตร เป็นต้น ตัวขยาย อาจจัดทำเป็นเมนูกำกับไว้ที่แต่ละหน่วยข้อมูลย่อยในแบบ บันทึกข้อมูล เพื่อให้สะดวกเวลาบันทึกข้อมูล ดับลินคอร์ไม่บังคับว่าทุกคนต้องใช้ตัวขยาย

12 The Core - ground rules ไม่ต้องใช้หน่วยข้อมูลย่อยทั้งหมด เลือกเฉพาะที่ต้องการ ใช้หน่วยข้อมูลย่อยซ้ำได้ตามต้องการ จัดลำดับการแสดงผลได้ตามต้องการ เพิ่มขยายหน่วยข้อมูลย่อยได้ ใช้งานระดับสากล

13 ดับลินคอร์เป็นมาตรฐานประกาศอย่างเป็นทางการ
CEN Workshop Agreement (EU) - Dublin Core elements endorsed as CWA 13874 - Usage guidelines for European industry NISO Z39.85 (U.S.A.) ISO ( )

14 ความสำคัญของมาตรฐาน ทำให้การสร้างฐานข้อมูลมีวิธีการจัดเก็บเป็นแนวทาง/โครงสร้างแบบเดียวกัน เพื่อให้แลกเปลี่ยนและรวมหลายฐานข้อมูลเป็นหนึ่งเดียวได้ ทำให้การค้นคืนสารสนเทศร่วมกันเป็นไปได้สำหรับฐานข้อมูลต่างระบบ ต่างรูปแบบ และต่างภาษา มาตรฐานคือปัจจัยสำคัญของการประกันคุณภาพของสารสนเทศ

15 หน่วยงานที่รับผิดชอบการมาตรฐาน
1. องค์การระหว่างประเทศว่าด้วยการมาตรฐาน (ISO-International Standard Organization) 2. สถาบันแห่งชาติสหรัฐอเมริกาว่าด้วยการมาตรฐาน (ANSI-American National Standard Institute) 3. องค์การแห่งชาติสหรัฐอเมริกาว่าด้วยการมาตรฐานสารสนเทศ (NISO-National Information Standards Organization) 4. สำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม (ส.ม.อ.) 5. สหพันธ์ระหว่างประเทศว่าด้วยสมาคมและสถาบันห้องสมุด (IFLA-International Federation of Library and Information Associations) 6. ภาคีเวิลไวด์เว็บ (W3C-World Wide Web Consortium) 7. หอสมุดรัฐสภาอเมริกัน และหอสมุดแห่งชาติ +++

16 ตัวอย่างมาตรฐานสำหรับการจัดการสารสนเทศดิจิทัล
1. มาตรฐานในการลงอักขระ ได้แก่ มาตรฐานการเข้ารหัสหลายภาษาโดย ISO และ UNICODE มาตรฐานการถอดอักษรต่างภาษา 2. มาตรฐานสำหรับการพรรณนาสารสนเทศ ได้แก่ มาตรฐานการลงรายการบรรณานุกรม AACR มาตรฐานการลงรายการบรรณานุกรมที่เครื่องอ่านได้ Marc มาตรฐานในการจัดทำดรรชนีและสารสังเขป ดับลินคอร์เมทาดาทาสำหรับการจัดเก็บสารสนเทศดิจิทัล มาตรฐานสำหรับภาษาตัวกำกับ 3. มาตรฐานในการค้นสารสนเทศจากฐานข้อมูลต่างระบบ ได้แก่ มาตรฐานการสื่อสารเชื่อมต่อระบบเปิด มาตรฐาน Z ANSI/NISO Z มาตรฐานสำหรับภาษาเชิงตรรกะ

17 ฐานข้อมูลงานวิจัยของประเทศไทย
ปัญหา ฐานข้อมูลใช้โครงสร้างหลายรูปแบบ การใช้ข้อมูลร่วมกันต้องเสียเวลาสืบค้นจากเว็บไซท์ของภาคีหลายครั้งจากแต่ละแห่ง (ศูนย์แห่งชาติภายใต้ สวทช. สกว. สวรส. วช.) ทุกคนต้องการรูปแบบโครงสร้างฐานข้อมูลที่ใช้ร่วมกันทุกแห่ง คำตอบ ชุดหน่วยข้อมูลย่อยดับลินคอร์เมทาดาทา คือกลไกเบื้องต้นสู่โครงสร้างมาตรฐานสากล ใช้เป็นเกณฑ์กำหนดคำจำกัดความหน่วยข้อมูลย่อยร่วมกัน เพื่อให้การรวมฐานข้อมูลมีประสิทธิภาพ โดยจับคู่หน่วยข้อมูลย่อยเดิมกับดับลินคอร์ ไม่ต้องพิมพ์ข้อมูลใหม่ บริการสืบค้นได้เสมือนเป็นฐานข้อมูลเดียว

18 การประยุกต์ชุดหน่วยข้อมูลย่อย 1.1 “ฐานข้อมูลงานวิจัยของประเทศไทย”
ทะเบียนวิจัย<DC.รหัส > (ไม่บังคับ) คำสำคัญ< DC.หัวเรื่อง > (ไม่บังคับ) รูปแบบ< DC.รูปแบบ > (ไม่บังคับ) ต้นฉบับ< DC. ต้นฉบับ> (ไม่บังคับ) ภาษา< DC.ภาษา > สิ่งพิมพ์< DC.เรื่องที่เกี่ยวข้อง > (ไม่บังคับ) สิทธิ< DC.สิทธิ > (ไม่บังคับ) ชื่อเรื่อง <DC.ชื่อเรื่อง> ผู้วิจัย<DC.เจ้าของงาน> หน่วยงานวิจัย< DC.สำนักพิมพ์ > ผู้ให้ทุน< DC. ผู้ร่วมงาน> สถานภาพ<DC.ประเภท> ระยะเวลา< DC.ขอบเขต > ปีสิ้นสุด< DC.ปี > บทคัดย่อ< DCลักษณะ >

19

20 การประยุกต์ดับลินคอร์โดยใช้ XML
อ่านรายละเอียดที่ Guidelines for implementing Dublin Core in XML

21 สถานภาพและแนวโน้มของการใช้เมทาดาทา
รัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์ พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ การเรียนออนไลน์ ห้องสมุดดิจิทัล

22 รัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์
หน่วยราชการประเทศต่างๆที่ใช้ดับลินคอร์ในการจัดระบบเอกสารอิเล็กทรอนิกส์ จากการสำรวจปี 2001 ประเทศกลุ่มบุกเบิก ได้แก่ ออสเตรเลีย แคนาดา เดนมาร์ค ไอร์แลนด์ อังกฤษ สหรัฐอเมริกา รัฐบาลเหล่านี้บังคับว่าสิ่งพิมพ์รัฐบาลต้องมีฉบับอิเล็กทรอนิกส์เพื่อเผยแพร่ให้ประชาชนเข้าถึงได้ทางอินเทอร์เน็ต และใช้เมทาดาทาในการสร้างเอกสาร โดยให้ใช้หน่วยข้อมูลย่อยดับลินคอร์เป็นเมทาดาทาพื้นฐาน จากการประชุมดับลินคอร์ ปี 2002 มีประเทศในยุโรปนำไปใช้เพิ่มขึ้นหลายประเทศ รวมทั้งหน่วยงานของสหประชาชาติ เช่น องค์การอาหารและเกษตร (FAO)

23 พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์
XML/RDF INDECS ในการประชุมดับลินคอร์ 2002 บริษัทข้ามชาติแสดงความต้องการจะนำชุดหน่วยข้อมูลย่อยดับลินคอร์ไปประยุกต์ สำหรับการสื่อสารข้อมูลระหว่างสาขาของบริษัทที่ตั้งอยู่ในหลายประเทศทั่วโลก ข้อดีของหน่วยข้อมูลย่อยดับลินคอร์ คือ การกำหนดศัพท์และคำอธิบายความหมายร่วมของหน่วยข้อมูลย่อยสำหรับใช้ ต่างระบบ ต่างสาขาอาชีพ ต่างภาษา ทำให้การแลกเปลี่ยนข้อมูลต่างระบบทำได้กว้างขวาง สามารถลดการทำข้อมูล ซ้ำซ้อน ประหยัดเวลาและใช้ข้อมูลร่วมกันในอินเทอร์เน็ตได้อัตโนมัติในหลายระดับ

24 การเรียนออนไลน์ การทำรายการสหบรรณานุกรมสิ่งพิมพ์อิเล็กทรอนิกส์ออนไลน์
ภาคีสมาชิกของเครือข่ายการศึกษาร่วมกันทำรายการบทเรียน เอกสารแบบ OPAC โดยเจ้าของงานเป็นผู้ทำรายการเอง พร้อมเชื่อมโยงไปยัง URL/URI หน้าที่มีข้อมูล Article Union Cataloging System (AUCS) เกาหลี EdNA (Education Network Australia) Gateway to Educational Materials (GEM)สหรัฐอเมริกา

25 ห้องสมุดดิจิทัลคืออะไร?
จากการประชุมนานาชาติได้สรุปคำจำกัดความห้องสมุดดิจิทัลและการพิมพ์อิเล็กทรอนิกส์ เพื่อส่งเสริมการเข้าถึงสารสนเทศแบบเปิด (Open Access to Information) ห้องสมุดดิจิทัล คือการรวมฐานข้อมูลสารสนเทศเพื่อให้บริการสืบค้นร่วมกันจากอินเทอร์เน็ตได้ทุกฐานข้อมูลในคราวเดียว การรวมเว็บไซท์เพื่อสร้างดรรชนีสำหรับสืบค้นฐานข้อมูลหลากหลายและต่างภาษาร่วมกันได้อย่างมีประสิทธิภาพ การบริการเว็บพอร์ทัล และเว็บไซท์เฉพาะสาขาวิชา การพิมพ์อิเล็กทรอนิกส์ คือการจัดทำวารสารอิเล็กทรอนิกส์

26 ห้องสมุดดิจิทัลและเวิลด์ไวด์เว็บ
การรวมเครือข่ายสารสนเทศห้องสมุดเสมือนให้เป็นห้องสมุดแห่งเดียว การรวมฐานข้อมูลวารสารอิเล็กทรอนิกส์ (ฉบับเต็ม)จากหลายฐานข้อมูลสู่ฐานข้อมูลเดียว Web technology and digital libraries initiatives ตัวอย่างNational Science Digital Library (U.S.A) Strategy: support eight standard formats collect all existing metadata in these formats provide crosswalks to Dublin Core assemble all metadata in a central depository expose all such records o harvesters focus limited human effort on metadata for collections generate metadata automatically when possible

27 Open Archives Initiatives
โครงการริเริ่มของสหรัฐอเมริกา เป็นงานวิจัยที่ได้รับทุนสนับสนุนจาก National Science Foundation ดำเนินงานโดยมหาวิทยาลัยคอร์แนล OAI พัฒนามาตรฐานและส่งเสริมการใช้มาตรฐานสำหรับการทำงานเครือข่ายข้อมูลต่างระบบโดยมีจุดมุ่งหมายที่จะช่วยให้การเผยแพร่เนื้อหาความรู้เป็นไปได้ง่ายและสะดวก เริ่มมาจากการที่มีสิ่งพิมพ์วิชาการในรูปอิเล็กทรอนิกส์มากขึ้น และการสร้างสรรค์สารสนเทศวิชาการเหล่านี้ล้วนดำเนินไปอย่างอิสระโดยเจ้าของผลงานมีส่วนสร้างสรรค์ OAI เสนอกลไกสำหรับเจ้าของสารสนเทศให้เปิดเผยเมทาดาทาที่ใช้ เพื่อให้ระบบสามารถใช้เทคโนโลยีในการค้นและเข้าถึงข้อมูลหรือเอกสารที่ใช้ดับลินคอร์ XMLทั้งหมดที่เผยแพร่ในเวิลด์ไวด์เว็บได้

28 กิจกรรมความร่วมมือด้านห้องสมุดดิจิทัล
APEC Workshop on Resources Sharing in Digital Libraries Taiwan Institute of Information Science เป็นผู้ดำเนินการในการสร้างความร่วมมือด้านการพัฒนาเทคโนโลยีและการจัดทำเนื้อหาสารสนเทศสำหรับห้องสมุดดิจิทัลโดยการเรียนรู้ร่วมกัน จากประสบการณ์ของไต้หวันที่ประสบความสำเร็จ และได้ทำวิจัยมาเป็นเวลานาน APIN Asia-Pacific Information Network โดยยูเนสโกเป็นแกนนำเพื่อเสนอแนวปฏิบัติต่อ WSIS- World Summit of Information Society สาระได้แก่การใช้เทคโนโลยีจากอินเทอร์เน็ตในการสร้างสารสนเทศที่เป็นความรู้ทางวิทยาศาสตร์ การศึกษาและวัฒนธรรมในรูปดิจิทัล เพื่อเปิดโอกาสให้มวลชนเข้าถึงความรู้ได้สะดวก ง่าย และทั่วถึง INASP International Network for the Availability of Scientific Publications โดยยูเนสโกและ ICSU ทำหน้าที่ประสานงานระดับสากลให้มีความร่วมมือในการใช้ทรัพยากรสารสนเทศวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีร่วมกันด้วยความช่วยเหลือจากประเทศที่พัฒนาแล้วแก่ผู้ด้อยพัฒนาเพื่อลดช่องว่างทางดิจิทัล ASEAN-India Science and Technology Digital Library

29 ความหวัง หอสมุดดิจิทัลแห่งชาติ
บรรณานุกรมแห่งชาติ-รวมทุกห้องสมุดเสมือนเป็นแห่งเดียว ฐานข้อมูลงานวิจัยของประเทศไทย ฐานข้อมูลวิทยานิพนธ์ไทย ฐานข้อมูลสารบัญวารสารไทยพร้อมเรื่องเต็ม ฐานข้อมูลคลังสมอง คนไทยทุกคนสามารถเรียนรู้ เข้าถึงความรู้ ทรัพย์สินทางปัญญาของชาติได้ทั่วถึงจากอินเทอร์เน็ต

30 E-Library 2003- กระทรวงวิทยาศาสตร์ฯ


ดาวน์โหลด ppt การประชุมวิชาการประจำปี ศสท

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


Ads by Google