ดาวน์โหลดงานนำเสนอ
งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ
1
การได้มาซึ่งกรรมสิทธิ์
2
สิทธิที่บุคคลมีเหนือทรัพย์สิน สามารถใช้ยันได้กับบุคคลทั่วไป
ทรัพยสิทธิ สิทธิที่บุคคลมีเหนือทรัพย์สิน สามารถใช้ยันได้กับบุคคลทั่วไป บุคคลสิทธิ สิทธิที่บุคคลมีต่อบุคคลซึ่งเป็นคู่กรณี สามารถบังคับให้กระทำการ งดเว้นการกระทำ ได้
3
ความแตกต่างที่สำคัญ ระหว่างบุคคลสิทธิ และ ทรัพยสิทธิ
บุคคลสิทธิก่อให้เกิดหน้าที่ทั้งกระทำการหรืองดเว้นกระทำการ ส่วนทรัพยสิทธิก่อให้เกิดหน้าที่แก่บุคคลทั่วไปที่จะต้องไม่มารบกวนทรัพยสิทธิ บุคคลสิทธิใช้ยันเฉพาะคู่กรณี บุคคลสิทธิเกิดขึ้นจากสัญญาหรือกฎหมายกำหนดก็ได้ แต่ทรัพยสิทธิเกิดขึ้นจากกฏหมายกำหนด (มาตรา 1298) บุคคลสิทธิมีอายุความ แต่ทรัพยสิทธิไม่มีอายุความ
4
ทรัพยสิทธิ กรรมสิทธิ์ สิทธิครอบครอง ภาระจำยอม สิทธิอาศัย
ประเภทของทรัพยสิทธิ กรรมสิทธิ์ สิทธิครอบครอง ภาระจำยอม สิทธิอาศัย สิทธิเหนือพื้นดิน สิทธิเก็บกิน ภาระติดพันในอสังหาริมทรัพย์
5
กรรมสิทธิ์ มาตรา 1336 “เจ้าของทรัพย์สินย่อมมีสิทธิใช้สอยและจำหน่าย ทรัพย์สินของตนและได้ซึ่งดอกผลแห่งทรัพย์สินนั้น กับทั้ง มีสิทธิติดตามและเอาคืนซึ่งทรัพย์สินของตนจากบุคคลผู้ ไม่มีสิทธิจะยึดถือไว้ และมีสิทธิขัดขวางมิให้ผู้อื่นสอดเข้า ไปเกี่ยวข้องกับทรัพย์สินนั้นโดยมิชอบด้วยกฎหมาย”
6
อำนาจของกรรมสิทธิ มาตรา 1336
สิทธิในความเป็นเจ้าของทรัพย์ 1. สิทธิใช้สอยทรัพย์ 2. สิทธิจำหน่ายทรัพย์สิน 3. สิทธิได้ดอกผลแห่งทรัพย์สิน 4. สิทธิติดตามเอาทรัพย์สินคืนจากผู้ที่ไม่มีสิทธิจะยึดถือได้ 5. มีสิทธิขัดขวางมิให้ผู้อื่นสอดเข้าเกี่ยวข้องกับทรัพย์สินนั้นโดยมิชอบด้วย กฎหมาย เจ้าของทรัพย์ย่อมมีสิทธิดังกล่าวข้างต้นต่อทรัพย์สินของตนเองยกเว้นแต่จะ ถูกจำ กัดการใช้ สิทธิภายใต้บทบัญญัติของกฎหมาย
7
การได้กรรมสิทธิ์ การได้ทางอื่นนอกจากนิติกรรม หรือโดยผลของกฎหมาย
การได้โดยนิติกรรม
8
การได้กรรมสิทธิ์โดยทางอื่นนอกจากนิติกรรม
การได้มาโดยทางอื่นนอกจากนิติกรรมนั้น หมายถึงการได้มาโดยมิได้เกิดจากนิติ กรรม ตามแนวคำพิพากษาฎีกาพอจะวางหลักได้ว่า หมายถึงการได้มาโดยผลแห่ง กฎหมายประการหนึ่ง เช่น การได้กรรมสิทธิ์ในอสังหาริมทรัพย์โดยการครอบครอง ปรปักษ์ตามมาตรา 1382 หรือ การได้ภารจำยอมโดยอายุความตามมาตรา และ 1382 และหมายถึงการได้มาโดยการรับมรดกไม่ว่าจะเป็นการรับมรดกใน ฐานะเป็นทายาทโดยธรรม หรือเป็นผู้รับพินัยกรรมประการหนึ่ง และหมายถึงการ ได้มาโดยคำพิพากษาของศาลอีกประการหนึ่ง
9
การได้มาโดยผลของกฎหมาย
(1) การได้มาซึ่งกรรมสิทธิ์โดยหลักส่วนควบ (มาตรา ) (2) การได้มาโดยการเข้าถือเอาซึ่งทรัพย์สินที่ไม่มีเจ้าของ (มาตรา ) (3) การได้มาซึ่งทรัพย์สินหาย ทรัพย์สินที่ใช้ในการกระทำ ความผิดและอสังหาฯ มีค่าซึ่งซ่อนหรือฝังไว้ (มาตรา )
10
การได้มาโดยผลของกฎหมาย
(4) การได้มาซึ่งทรัพย์สินโดยสุจริตในพฤติการณ์ พิเศษ (มาตรา ) (5) การได้มาโดยอายุความ (มาตรา 1333) (6) การได้มาซึ่งที่ดินรกร้างว่างเปล่า ที่ดินที่มีผู้ เวนคืน/ทอดทิ้ง/กลับมาเป็นของแผ่นดินโดย ประการอื่นตามกฎหมายที่ดิน (มาตรา 1334)
11
การได้มาซึ่งกรรมสิทธิ์โดยหลักส่วนควบ (มาตรา 1308-1317)
มาตรา ๑๓๐๘ ที่ดินแปลงใดเกิดที่งอกริมตลิ่ง ที่งอกย่อมเป็นทรัพย์สินของเจ้าของที่ดินแปลงนั้น มาตรา ๑๓๑๐ บุคคลใดสร้างโรงเรือนในที่ดินของผู้อื่นโดยสุจริตไซร้ ท่านว่าเจ้าของที่ดินเป็นเจ้าของโรงเรือนนั้นๆ แต่ต้องใช้ ค่าแห่งที่ดินเพียงที่เพิ่มขึ้นเพราะสร้างโรงเรือนนั้นให้แก่ผู้สร้าง แต่ถ้าเจ้าของที่ดินสามารถแสดงได้ว่า มิได้มีความประมาทเลินเล่อจะบอกปัดไม่ยอมรับโรงเรือนนั้นและเรียกให้ผู้สร้างรื้อ ถอนไป และทำที่ดินให้เป็นตามเดิมก็ได้ เว้นไว้แต่ถ้าการนี้จะทำไม่ได้โดยใช้เงินพอสมควรไซร้ ท่านว่าเจ้าของที่ดินจะเรียกให้ ผู้สร้างซื้อที่ดินทั้งหมดหรือแต่บางส่วนตามราคาตลาดก็ได้ มาตรา ๑๓๑๕ บุคคลใดสร้างโรงเรือน หรือทำการก่อสร้างอย่างอื่นซึ่งติดที่ดิน หรือเพาะปลูกต้นไม้หรือธัญชาติในที่ดินของ ตนด้วยสัมภาระของผู้อื่น ท่านว่าบุคคลนั้นเป็นเจ้าของสัมภาระแต่ต้องใช้ค่าสัมภาระ มาตรา ๑๓๑๖ ถ้าเอาสังหาริมทรัพย์ของบุคคลหลายคนมารวมเข้ากันจนเป็นส่วนควบหรือแบ่งแยกไม่ได้ไซร้ ท่านว่าบุคคล เหล่านั้นเป็นเจ้าของรวมแห่งทรัพย์ที่รวมเข้ากันแต่ละคนมีส่วนตามค่าแห่งทรัพย์ของตนในเวลาที่รวมเข้ากับทรัพย์อื่น ถ้าทรัพย์อันหนึ่งอาจถือได้ว่าเป็นทรัพย์ประธานไซร้ ท่านว่าเจ้าของทรัพย์นั้นเป็นเจ้าของทรัพย์ที่รวมเข้ากันแต่ผู้เดียว แต่ต้อง ใช้ค่าแห่งทรัพย์อื่นๆ ให้แก่เจ้าของทรัพย์นั้นๆ มาตรา บุคคลใดใช้สัมภาระของบุคคลอื่นทำสิ่งใดขึ้นใหม่ไซร้ ท่านว่าเจ้าของสัมภาระเป็นเจ้าของสิ่งนั้นโดยมิต้อง คำนึงว่าสัมภาระนั้นจะกลับคืนตามเดิมได้หรือไม่ แต่ต้องใช้ค่าแรงงาน แต่ถ้าค่าแรงงานเกินกว่าค่าสัมภาระที่ใช้นั้นมากไซร้ ท่านว่าผู้ทำเป็นเจ้าของทรัพย์ที่ทำขึ้น แต่ต้องใช้ค่าสัมภาระ
12
ส่วนควบของทรัพย์ ปพพ. มาตรา 144
“ส่วนควบของทรัพย์ หมายความว่าส่วนซึ่งโดยสภาพแห่งทรัพย์เป็นสาระสำคัญในความเป็นอยู่ของทรัพย์ นั้น และไม่อาจแยกจากกันได้นอกจากจะทำลาย ทำให้บุบสลายหรือทำให้ทรัพย์นั้นเปลี่ยนแปลงรูปทรง หรือสภาพไป เจ้าของทรัพย์ย่อมมีกรรมสิทธิ์ในส่วนควบของทรัพย์นั้น”
13
ส่วนควบ ส่วนควบ ความหมายของ “ส่วนควบ” ส่วนที่ โดยสภาพ หรือ จารีตประเพณี เป็น สาระสำคัญในความเป็นอยู่ของทรัพย์ และไม่อาจแยกได้ นอกจากจะทำลาย ทำให้บุบสลาย หรือ เปลี่ยนสภาพไป (ถ้าแยกจากกันต้องทำลาย หรือทำให้เปลี่ยนสภาพไป) ที่ดินก็มีส่วนควบได้ หลัก คือ ทรัพย์อะไรที่ปลูกหรือสร้างบนที่ดินอย่างถาวรจะเป็นส่วนควบบนที่ดินเสมอ ยกเว้น ไม้ล้มลุก และธัญชาติ ทรัพย์ที่ติดกับที่ดินหรือโรงเรือนชั่วคราว โรงเรือนหรือสิ่งปลูกสร้างที่สร้างบน ที่ดินของผู้อื่นโดยมีสิทธิตามกฎหมาย ส่วนควบ
14
การได้มาโดยการเข้าถือเอาซึ่งทรัพย์สินที่ไม่มีเจ้าของ (มาตรา 1318-1322)
มาตรา 1318 บุคคลอาจได้มาซึ่งกรรมสิทธิ์แห่งสังหาริมทรัพย์อันไม่มี เจ้าของโดยเข้าถือเอา เว้นแต่การเข้าถือเอานั้นต้องห้ามตามกฎหมายหรือ ฝ่าฝืนสิทธิของบุคคลอื่นที่จะเข้าถือเอาสังหาริมทรัพย์นั้น มาตรา 1321 ภายในบังคับแห่งกฎหมายเฉพาะและกฎข้อบังคับในเรื่อง นั้น ผู้ใดจับสัตว์ป่าได้ในที่รกร้างว่างเปล่า หรือในที่น้ำสาธารณะก็ดี หรือ จับ ได้ในที่ดิน หรือที่น้ำมีเจ้าของโดยเจ้าของมิได้แสดงความหวงห้ามก็ดี ท่านว่า ผู้นั้นเป็นเจ้าของสัตว์ มาตรา 1322 บุคคลใดทำให้สัตว์ป่าบาดเจ็บแล้วติดตามไปและบุคคลอื่น จับสัตว์นั้นได้ก็ดี หรือสัตว์นั้นตายลงในที่ดินของบุคคลอื่นก็ดี ท่านว่า บุคคล แรกเป็นเจ้าของสัตว์
15
การได้มาซึ่งทรัพย์สินหาย ทรัพย์สินที่ใช้ในการกระทำความผิดและอสังหาฯ มีค่าซึ่งซ่อนหรือฝังไว้ (มาตรา ) มาตรา 1325 ถ้าผู้เก็บได้ซึ่งทรัพย์สินหายได้ปฏิบัติตามบทบัญญัติ มาตรา 1323 แล้ว และผู้มีสิทธิจะรับ ทรัพย์สินนั้นมิได้เรียกเอาภายในหนึ่งปีนับแต่วัน ที่เก็บได้ไซร้ ท่านว่ากรรมสิทธิ์ตกแก่ผู้เก็บได้ มาตรา 1328 สังหาริมทรัพย์มีค่าซึ่งซ่อนหรือฝังไว้นั้น ถ้ามีผู้เก็บได้โดย พฤติการณ์ซึ่งไม่มีผู้ใดสามารถอ้าง ว่าเป็นเจ้าของได้ไซร้ ท่านว่ากรรมสิทธิ์ตก เป็นของแผ่นดิน ผู้เก็บได้ต้องส่งมอบทรัพย์นั้นแก่ตำรวจนครบาล หรือพนักงาน เจ้าหน้าที่อื่น แล้วมีสิทธิจะได้รับรางวัลหนึ่งในสามแห่งค่าทรัพย์นั้น
16
การได้มาซึ่งทรัพย์สินโดยสุจริตในพฤติการณ์พิเศษ (มาตรา 1329-1332)
มาตรา 1330 สิทธิของบุคคลผู้ซื้อทรัพย์สินโดยสุจริตในการขายทอด ตลาดตามคำสั่งศาล หรือคำสั่งเจ้าพนักงานรักษาทรัพย์ในคดี ล้มละลายนั้น ท่านว่ามิเสียไป ถึงแม้ภายหลังจะพิสูจน์ได้ว่าทรัพย์สิน นั้นมิใช่ของจำเลย หรือลูกหนี้โดยคำพิพากษา หรือผู้ล้มละลาย มาตรา 1331 สิทธิของบุคคลผู้ได้เงินตรามาโดยสุจริตนั้นท่านว่ามิเสีย ไป ถึงแม้ภายหลังจะพิสูจน์ได้ว่าเงินนั้นมิใช่ของบุคคลซึ่งได้โอนให้มา มาตรา 1332 บุคคลผู้ซื้อทรัพย์สินมาโดยสุจริตในการขายทอดตลาด หรือในท้องตลาดหรือจากพ่อค้าซึ่งขายของชนิดนั้น ไม่จำต้องคืนให้แก่ เจ้าของแท้จริง เว้นแต่เจ้าของจะชดใช้ราคาที่ซื้อมา
17
การได้มาโดยอายุความ (มาตรา 1333)
มาตรา ๑๓๓๓ ท่านว่ากรรมสิทธิ์นั้น อาจได้มาโดยอายุความตามที่บัญญัติไว้ใน ลักษณะ ๓ แห่งบรรพนี้
18
การได้มาซึ่งอสังหาริมทรัพย์หรือทรัพยสิทธิอันเกี่ยวกับอสังหาริมทรัพย์ ตามมาตรา 1299
19
การได้กรรมสิทธิ์โดยนิติกรรม
นิติกรรมมีความหมายตาม ปพพ. มาตรา 149 ซื้อขาย แลกเปลี่ยน ให้ จำนอง หรือตีใช้หนี้ ต้องเป็นนิติกรรมที่มีผลสมบูรณ์
20
การได้มาโดยทางนิติกรรมซึ่งอสังหาริมทรัพย์หรือทรัพยสิทธิอันเกี่ยวกับอสังหาฯ
มาตรา วรรคหนึ่ง ภายในบังคับแห่งบทบัญญัติในประมวลกฎหมายนี้หรือกฎหมาย อื่นท่านว่าการได้มาโดยนิติกรรมซึ่งอสังหาริมทรัพย์หรือทรัพยสิทธิอัน เกี่ยวกับอสังหาริมทรัพย์นั้นไม่บริบูรณ์ เว้นแต่นิติกรรมจะได้ทำเป็น หนังสือและได้จดทะเบียนการได้มากับพนักงานเจ้าหน้าที่
21
การได้มาโดยทางนิติกรรม
มาตรา 456 การซื้อขายอสังหาริมทรัพย์ ถ้ามิได้ทำเป็นหนังสือและจดทะเบียนต่อ พนักงานเจ้าหน้าที่เป็นโมฆะ วิธีนี้ให้ใช้ถึงซื้อขายเรือมีระวางตั้งแต่ห้าตันขึ้นไป ทั้งซื้อขาย แพและสัตว์พาหนะด้วย มาตรา 518 อันว่าแลกเปลี่ยนนั้น คือสัญญาซึ่งคู่กรณีต่างโอน กรรมสิทธิ์แห่งทรัพย์สินให้ กันและกัน มาตรา 523 “การให้นั้น ท่านว่าย่อมสมบูรณ์ต่อเมื่อส่งมอบทรัพย์สินที่ให้” มาตรา 525 “การให้ทรัพย์สินซึ่งถ้าจะซื้อจะขายกันจะต้องทำเป็นหนังสือ และจดทะเบียน ต่อพนักงานเจ้าหน้าที่นั้น ท่านว่าย่อมสมบูรณ์ต่อเมื่อได้ทำเป็นหนังสือและจดทะเบียนต่อ พนักงานเจ้าหน้าที่ ในกรณีเช่นนี้ การให้ย่อมเป็นอันสมบูรณ์โดยมิพักต้องส่งมอบ” มาตรา 650 อันว่ายืมใช้สิ้นเปลืองนั้น คือสัญญาซึ่งให้ยืมโอน กรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินชนิดใช้ ไปสิ้นไปนั้น เป็นปริมาณมีกำหนดให้ ไปแก่ผู้ยืม และผู้ยืมตกลงว่าจะคืนทรัพย์สินเป็น ประเภท ชนิดและ ปริมาณเช่นเดียวกันให้แทนทรัพย์สินซึ่งให้ยืมนั้น สัญญานี้ย่อมบริบูรณ์ต่อเมื่อส่งมอบทรัพย์สินที่ยืม
22
การได้มาโดยทางนิติกรรม
มาตรา 714 อันสัญญาจำนองนั้น ท่านว่าต้องทำเป็นหนังสือและจดทะเบียนต่อ พนักงานเจ้าหน้าที่ การได้สิทธิในเครื่องหมายการค้าก็ต้องจดทะเบียนตามมาตรา 27 แห่ง พระราชบัญญัติเครื่องหมายการค้า พ.ศ. 2474
23
การได้มาซึ่งอสังหาริมทรัพย์หรือทรัพยสิทธิอันเกี่ยวกับอสังหาริมทรัพย์
การได้มาโดยการซื้อขาย เช่าซื้อ แลกเปลี่ยน ให้ จำนอง สัญญาประนีประนอมยอมความอื่น สัญญาแบ่งทรัพย์ระหว่างเจ้าของรวมด้วยกัน หรือตีใช้หนี้ก็ถือเป็นการได้มาโดยนิติกรรม ทั้งสิ้น ต้องพิจารณาถึงบทบัญญัติที่บังคับไว้เกี่ยวกับวิธีการได้มาเป็นเรื่อง ๆ ไป เช่น หากเป็นการ ได้มาโดยการซื้อขายก็ดูตามมาตรา 456 ได้มาโดยการแลกเปลี่ยนก็ดูตามมาตรา 519 และ 456 ได้มาโดยการให้ก็ดูตามมาตรา 525 ได้มาโดยการจำนองก็ดูตามมาตรา 714 หากไม่มีบทกฎหมายบัญญัติไว้โดยเฉพาะ เช่น การได้อสังหาริมทรัพย์โดยลูกหนี้ตีใช้หนี้ก็ดี การได้ทรัพยสิทธิในบรรพ 4 ทั้งหมด เช่น การได้มาซึ่งภารจำยอม สิทธิอาศัย สิทธิเก็บกิน หรือ สิทธิเหนือพื้นดินก็ดี ย่อมจะต้องอยู่ภายใต้บังคับของมาตรา 1299 วรรคแรกทั้งสิ้น
24
อสังหาริมทรัพย์ ปพพ. มาตรา 139
“อสังหาริมทรัพย์ หมายความว่า ที่ดินและทรัพย์อัน ติดอยู่กับที่ดินมีลักษณะเป็นการถาวรหรือประกอบ เป็นอันเดียวกับที่ดินนั้น”
25
อสังหาริมทรัพย์หรือทรัพยสิทธิอันกี่ยวกับอสังหาฯ
ที่ดิน ทรัพย์ซึ่งประกอบเป็นอันเดียวกับที่ดิน เช่น กรวด หิน ดินทราย ขณะอยู่ในที่ดินไม่ใช่ ขุดออกมาแล้วไม่ใช่ ทรัพย์ที่ถูกฝังอยู่ในดิน โดยไม่ได้เป็นอันเดียวกับที่ดิน เช่น แหวนเพชร โอ่ง และ ทรัพย์ที่ติดอยู่กับที่ดินอย่างถาวร - อาจเกิดจากธรรมชาติ ได้แก่ ไม้ยืนต้น - อาจเกิดจาก มนุษย์เอามาติด เช่น บ้าน ทรัพย์อันติดอยู่กับที่ดินที่มีลักษณะเป็นการถาวร “ถาวร” ดูที่เจตนาของการติด และ ทรัพย์สิทธิ์อันเกี่ยวกับที่ดินหรือทรัพย์อันติดอยู่กับที่ดินหรือประกอบเป็นอันเดียวกับที่ดินสิทธิ อาศัย สิทธิเก็บกิน ภาระจำยอม สิทธิเหนือพื้นดิน และภาระติดพันในอสังหาริมทรัพย์
26
ข้อควรสังเกตสำหรับมาตรา 1299 วรรคแรก
การได้มาซึ่งอสังหาริมทรัพย์ หรือทรัพยสิทธิอันเกี่ยวกับอสังหาริมทรัพย์นั้น หากมิได้ทำเป็นหนังสือและจดทะเบียนต่อ พนักงานเจ้าหน้าที่แล้ว ย่อมทำให้การได้มานั้นเพียงไม่บริบูรณ์ ในฐานะเป็นทรัพย์สิทธิที่จะใช้ยันต่อบุคคลภายนอก เท่านั้น แต่ยังคงบริบูรณ์ในฐานะเป็นบุคคลสิทธิที่จะบังคับกันได้ในระหว่างคู่สัญญา อยู่ (คำพิพากษาฎีกาที่ 367/2495, 914/2503, 760/2507 และ 655/2508) เช่น ก. ยอมให้ ข. เดินผ่านที่ดินของตนไปสู่ถนนหลวงโดยไม่มีกำหนดเวลา แต่ มิได้ทำเป็นหนังสือและจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ ดังนี้ถือว่า ข. ไม่ได้ทรัพยสิทธิ เป็นการจำยอมในที่ดินของ ข. แต่ ข. ก็ยังมีบุคคลสิทธิตามสัญญาในอันที่จะเดินผ่านที่ดินของ ก. อยู่ เพียงแต่ว่าเมื่อข้อตกลงมิได้กำหนดเวลาไว้ ก. จะบอก เลิกข้อตกลงนั้นเสียเมื่อใดก็ได้ แต่ทายาทหรือผู้สืบสิทธิ (คำพิพากษาฎีกาที่ 442/2486) และเจ้าหนี้สามัญ (คำพิพากษาฎีกาที่ 456 ถึง 458/2491) ของ คู่สัญญาหาใช่บุคคลภายนอกไม่ ฉะนั้น ทายาทผู้สืบสิทธิหรือเจ้าหนี้สามัญของคู่สัญญาจึงย่อมถูกบังคับตามสิทธิและ หน้าที่ ซึ่งมีอยู่ตามสัญญาอันเป็นบุคคลสิทธินั้นด้วย มาตรา 1299 วรรคแรก นี้ น่าจะใช้แต่เฉพาะการได้มาซึ่งอสังหาริมทรัพย์ หรือทรัพยสิทธิอันเกี่ยวกับอสังหาริมทรัพย์ โดย นิติกรรมระหว่างเอกชนด้วยกันเท่านั้น เพราะหากเป็นการที่รัฐหรือองค์การของรัฐ เช่น เทศบาลเป็นผู้ได้มาแล้ว แม้จะเป็น การได้มาโดยนิติกรรม ก็มีคำพิพากษาฎีกาวินิจฉัยอยู่หลายเรื่องว่า หาจำต้องจดทะเบียนไม่ (คำพิพากษาฎีกาที่ 506/2490, 1042/2484 และ 583/2483) เช่น การยกที่ดินให้เป็นทางสาธารณะไม่ว่าจะยกให้แก่รัฐหรือเทศบาลก็ไม่ จำต้องจด ทะเบียนอย่างการโอนให้เอกชน
27
ตัวอย่าง ดำทำสัญญาเช่าซื้อที่ดินมีโฉนดจากแดง โดยทำสัญญาเป็นหนังสือ ดำชำระค่า เช่าซื้อครบทุกงวดแล้ว ดำยังไม่ได้กรรมสิทธิ์ในที่ดินแปลงที่เช่าซื้อ จนกว่าจะได้มี การทำเป็นหนังสือและจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ ตามมาตรา วรรคแรก แต่ดำมีสิทธิฟ้องให้ขาวไปจดทะเบียนให้แก่ตนได้ตามมาตรา 369 ขาวทำสัญญาประนีประนอมยอมความกับดำโดยยกที่ดินให้ดำและแดงตกลงให้ เงินแก่ขาวบางส่วน หลังจากนั้นดำได้ชำระเงินตามสัญญาประนีประนอมยอม ความ และขาวได้ส่งมอบที่ดินให้กับดำ แต่ยังไม่ได้มีการทำเป็นหนังสือและจด ทะเบียนกับพนักงานเจ้าหน้าที่ ดำย่อมไม่ได้กรรมสิทธิ์ในที่ดินแปลงนั้น แต่ดำมี สิทธิฟ้องให้ขาวไปจดทะเบียนให้แก่ตนได้ตามมาตรา 369
28
ก. ยอมให้ ข. เดินผ่านที่ดินของตนไปสู่ถนนหลวงโดยไม่มีกำหนดเวลา แต่มิได้ทำเป็นหนังสือและจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ ดังนี้ถือว่า ข. ไม่ได้ทรัพยสิทธิ เป็นภาระจำยอมในที่ดินของ ข. แต่ ข. ก็ยังมีบุคคล สิทธิตามสัญญาในอันที่จะเดินผ่านที่ดินของ ก. อยู่ เพียงแต่ว่าเมื่อ ข้อตกลงมิได้กำหนดเวลาไว้ ก. จะบอกเลิกข้อตกลงนั้นเสียเมื่อใดก็ได้ หรือหาก ก. โอนที่ดินต่อไปให้ ค. ค. จะไม่ยอมให้ ข. เดินผ่านที่ดินนั้น เลยก็ได้ โดยไม่ต้องคำนึงว่า ค. สุจริตหรือไม่ หรือเสียค่าตอบแทน หรือไม่ เพราะสิทธิที่ ข. จะเดินผ่านที่ดินของ ก. นั้น เมื่อมิได้ทำเป็น หนังสือและจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ ย่อมเป็นเพียงบุคคลสิทธิ ใช้บังคับบุคคลภายนอกมิได้เลย แม้ว่าบุคคลภายนอกจะไม่สุจริต หรือไม่เสียค่าตอบแทนก็ตาม (คำพิพากษาฎีกาที่ 442/2486)
29
ขาวกู้เงินดำ เมื่อหนี้ถึงกำหนดชำระขาวไม่มีเงินชำระแก่ดำ ขาวจึงเอาที่ดินมีโฉนดตีใช้หนี้ให้แก่ดำ แต่แดงเจ้าหนี้อีกคนหนึ่งของขาวฟ้องให้ขาวชำระหนี้แก่ตนและชนะคดี จึงนำจพง.บังคับคดียึดที่ดินที่ขาวยกตีใช้หนี้แก่ดำเพื่อขายทอดตลาดชำระหนี้แก่ตนได้หรือไม่ ดำเจ้าหนี้ ขาว เจ้าของที่ดินที่มีโฉนด แดงเจ้าหนี้ขาวฟ้องบังคับคดียึดที่ดินที่ขาวตีใช้หนี้แก่ดำ
30
การได้มาซึ่งอสังหาริมทรัพย์หรือทรัพยสิทธิอันเกี่ยวกับอสังหาฯโดยทางอื่นนอกจากนิติกรรมหรือได้มาโดยผลของกฎหมาย มาตรา 1299 วรรค สอง ถ้ามีผู้ได้มาซึ่งอสังหาริมทรัพย์หรือ ทรัพยสิทธิอันเกี่ยวกับอสังหาริมทรัพย์โดยทางอื่นนอกจากนิติ กรรม สิทธิของผู้ได้มานั้น ถ้ายังมิได้จดทะเบียนไซร้ ท่านว่าจะมี การเปลี่ยนแปลงทางทะเบียนไม่ได้ และสิทธิอันยังมิได้จด ทะเบียนนั้น มิให้ยกขึ้นเป็นข้อต่อสู้บุคคลภายนอกผู้ได้สิทธิมา โดยเสียค่าตอบแทนและโดยสุจริต และได้จดทะเบียนสิทธิโดย สุจริตแล้ว
31
การได้มาซึ่งอสังหาริมทรัพย์หรือทรัพยสิทธิอันเกี่ยวกับอสังหาฯโดยทางอื่นนอกจากนิติกรรมหรือได้มาโดยผลของกฎหมาย (มาตรา 1299 วรรคสอง) เช่น ได้มาตามกฎหมายบัญญัติ (เช่น การครอบครอง ปรปักษ์ เป็นต้น) ได้มาทางมรดก ได้มาโดยคำพิพากษา/ คำสั่งศาล : หากยังไม่จดทะเบียน จะเปลี่ยนแปลงทาง ทะเบียนไม่ได้ และอ้างยันบุคคลภายนอกผู้ได้สิทธิมาโดย เสียค่าตอบแทนและโดยสุจริตและได้จดทะเบียนสิทธิโดย สุจริตแล้วไม่ได้
32
การครอบครองปรปักษ์ ปพพ. มาตรา 1382
“บุคคลใดครอบครองทรัพย์สินของผู้อื่นไว้โดยความสงบและ โดยเปิดเผยด้วยเจตนาเป็นเจ้าของ ถ้าเป็นอสังหาริมทรัพย์ได้ ครอบครองติดต่อกันเป็นเวลาสิบปี ถ้าเป็นสังหาริมทรัพย์ได้ ครอบครองติดต่อกันเป็นเวลาห้าปีไซร้ ท่านว่าบุคคลนั้นได้ กรรมสิทธิ์”
33
การครอบครองปรปักษ์ ที่จะถูกครอบครองปรปักษ์ได้ต้องเป็นที่ดินที่มีเอกสารสิทธิ์แล้ว โฉนดที่ดิน, โฉนดแผนที่, โฉนดตราจองที่ ตราว่าได้ทําประโยชน์แล้ว ที่ดินมือเปล่าจะถูกครอบครองปรปักษ์ไม่ได้เนื่องจากเป็นที่ดินที่ มีเพียงสิทธิ ครอบครองเท่านั้น ครอบครองโดยสงบ คือต้องไม่มีใครมาหวงห้าม กีดกัน แสดงความเป็นเจ้าของ เข้ามาอยู่อาศัย ปลูกผักปลูกข้าว ให้เห็นอย่างเปิดเผย แสดงออกว่าเป็นเจ้าของอสังหาริมทรัพย์นั้นๆอย่าง เปิดเผย โดยเปิดเผยไม่มีการปิดบังอำพรางหรือซ่อนเร้นและมีเจตนาเป็นเจ้าของ เมื่อได้แสดงออกว่าเป็น เจ้าของอสังหาริมทรัพย์นั้นๆ แล้วไม่มีใครมาไล่เป็นเวลา 10 ปีก็จะได้ที่ดินผืนนั้นเป็นกรรมสิทธิ์ ถ้าเป็นการครอบครองในฐานะผู้เช่า หรือผู้อาศัยไม่ได้ครอบครองโดยมีเจตนาเป็นเจ้าของก็ไม่เข้า องค์ประกอบที่จะได้กรรมสิทธิ์โดยการครอบครองปรปักษ์ การครอบครองปรปักษ์จะนำไปใช้แก่ทรัพย์สิน อันเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินไม่ได้ เพราะต้องห้ามตามปพพ. มาตรา ๑๓๐๖ รวมทั้งจะนำไปใช้กับที่ ธรณีสงฆ์หรือที่วัด ตามพระราชบัญญัติคณะสงฆ์ไม่ได้ด้วย การได้กรรมสิทธิ์โดยครอบครองปรปักษ์จะต้องให้ศาลมีคําสั่งว่า ได้มาโดยครอบครองปรปักษ์แล้วนําคําสั่ง ศาลไปขอจดทะเบียนต่อเจ้าพนักงานที่ดินประเภทได้มาโดยการครอบครอง หากเจ้าของได้โดยการ ครอบครองบางส่วนก็ไปขอจดทะเบียนในประเภทได้มาโดยการครอบครองเฉพาะส่วน หรือได้รับแบ่งมา โดยการครอบครอง
34
ภาระจำยอม ปพพ. มาตรา 1387 “อสังหาริมทรัพย์อาจต้องตกอยู่ในภาระจำยอมอันเป็นเหตุให้เจ้าของต้องยอมรับ กรรมบางอย่างซึ่งกระทบถึงทรัพย์สินของตน หรือต้องงดเว้นการใช้สิทธิบางอย่าง อันมีอยู่ในกรรมสิทธิ์ทรัพย์สินนั้น เพื่อประโยชน์แก่อสังหาริมทรัพย์อื่น” ปพพ. มาตรา 1401 “ภาระจำยอมอาจได้มาโดยอายุความ”
35
ขาวผู้ถือกรรมสิทธิ์ในที่ดินที่มีโฉนด ดำครอบครอง ปรปักษ์จนครบ 10 ปีแล้วตาม ม.1382 ต่อมาขาวทำสัญญา ซื้อขายตามแบบ ม.456 ว.1ขายที่ดินให้แดง หลังจากนั้นแดง ขายต่อให้เหลือง คำถาม 1.เหลืองได้กรรมสิทธิ์หรือไม่ หากปรากฏว่า แดงไม่รู้ ว่า ดำได้ครอบครองปรปักษ์จนได้กรรมสิทธิ์แล้ว 2. เหลืองได้กรรมสิทธิ์หรือไม่ หากปรากฏว่า แดงรู้ว่า ดำได้ ครอบครองปรปักษ์จนได้กรรมสิทธิ์แล้ว
36
คำถาม 1.เหลืองได้กรรมสิทธิ์หรือไม่ หากปรากฏว่า แดงไม่รู้ว่า ดำได้ครอบครองปรปักษ์จนได้กรรมสิทธิ์แล้ว 2. เหลืองได้กรรมสิทธิ์หรือไม่ หากปรากฏว่า แดงรู้ว่า ดำได้ครอบครองปรปักษ์จนได้กรรมสิทธิ์แล้ว
37
แบบฝึกหัด แดงกับดำตกลงทำสัญญากันเอง โดยนายแดงอนุญาตให้นายดำ ทำทางเป็นภาระจำยอมเป็นถนนผ่านที่ดินมีโฉนดของตนเพื่อออกสู่ถนน หลวง ทั้งที่ที่ดินของดำมีทางออกสู่ทางสาธารณะอยู่แล้ว หลังจากดำใช้ ถนนผ่านที่ดินของนายแดงได้ 4 ปี แดงถึงแก่ความตาย ส้มบุตรของแดง ได้จดทะเบียนรับมรดกที่ดินดังกล่าวในฐานะทายาทโดยธรรม ดังนี้ ให้วินิจฉัยว่านายส้มจะล้อมรั้วไม่ยอมให้ดำใช้ถนนผ่าน ที่ดินของตนอีกต่อไปได้หรือไม่ เพราะเหตุใด
38
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 805/2518
ป.พ.พ. มาตรา 1299 วรรคสอง, 1387 คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 805/2518 ที่ดินของโจทก์มีทางภารจำยอมผ่านที่ดินของจำเลย มากว่า10 ปี จำเลยซื้อที่ดินจากศาลขายทอดตลาดและจด ทะเบียนโดยสุจริต จำเลยอ้างมาตรา 1299 ยันโจทก์ไม่ได้ มาตรา 1299 หมายความถึงกรณีที่โต้เถียงกันในเรื่องการได้สิทธิในทรัพย์ สิทธิอันเดียวกันมิใช่ภารจำยอมของโจทก์กับกรรมสิทธิ์ของ จำเลย ที่ดินของโจทก์ยังเป็นสามยทรัพย์อยู่ต่อไปแม้โจทก์จะจด ทะเบียนเป็นเจ้าของหลังจากที่จำเลยจดทะเบียนซื้อที่ดินของ จำเลยก็ตาม
39
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 715/2521
ป.พ.พ. มาตรา 1299 วรรคสอง, 1387 คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 715/2521 ป.พ.พ. มาตรา 1299, 1387 ได้ภารจำยอมเป็นทางเดินมาโดยอายุความ ไม่ได้ จดทะเบียนก็บริบูรณ์และใช้ยันผู้จดทะเบียนรับโอน กรรมสิทธิ์สามยทรัพย์อันมิใช่เถียงกันในการได้ ทรัพยสิทธิอย่างเดียวกันได้
40
แบบฝึกหัด เขียวกับฟ้าตกลงทำสัญญากันเอง โดยเขียวอนุญาตให้ฟ้าทำทางเป็นภาระ จำยอมเป็นถนนผ่านที่ดินมีโฉนดของตนเพื่อออกสู่ถนนหลวงทั้งที่ที่ดินของฟ้ามี ทางออกสู่ทางสาธารณะอยู่แล้ว หลังจากฟ้าใช้ถนนผ่านที่ดินของเขียวได้ 4 ปี เขียวถึงแก่ความตาย น้ำเงินบุตรของเขียวได้จดทะเบียนรับมรดกที่ดินดังกล่าวใน ฐานะทายาทโดยธรรม ดังนี้ ให้วินิจฉัยว่า ถ้าหลังจากน้ำเงินจดทะเบียนรับมรดกได้ 1 ปี น้ำเงิน ทำสัญญาและจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินแปลงนั้นให้ม่วงภริยานอกสมรสของ ตนโดยเสน่หา ม่วงจะล้อมรั้วไม่ยอมให้ฟ้าใช้ถนนผ่านที่ดินของตนอีกต่อไปได้ หรือไม่ เพราะเหตุ
41
ผู้อยู่ในฐานะจดทะเบียนสิทธิได้ก่อนตามมาตรา 1300
มาตรา 1300 "ถ้าได้จดทะเบียนการโอนอสังหาริมทรัพย์หรือ ทรัพยสิทธิอันเกี่ยวกับอสังหาริมทรัพย์เป็นทางเสียเปรียบแก่ บุคคลผู้อยู่ในฐานะอันจะให้จดทะเบียนสิทธิของตนได้อยู่ก่อน ไซร้ ท่านว่าบุคคลนั้นอาจเรียกให้เพิกถอนการจดทะเบียนนั้นได้ แต่การโอนอันมีค่าตอบแทน ซึ่งผู้รับโอนกระทำการโดยสุจริตนั้น ไม่ว่ากรณีจะเป็นประการใด ท่านว่าจะเรียกให้เพิกถอนทะเบียน ไม่ได้"
42
มาตรา 1300 1 มกราคม 2550 ขาวทำสัญญาจะขายหรือสัญญาประนีประนอมยอมความ ยกที่ดินของตนให้ดำ โดยดำตกลงจ่ายค่าตอบแทนให้ขาวเป็นเงิน 2 แสนบาท ครั้นวันที่ 1 มิถุนายน 2550 ซึ่งเป็นวันที่ทั้งสองกำหนดจะทำเป็นหนังสือและจด ทะเบียนกับพนักงานเจ้าหน้าที่ ขาวไม่มาตามนัด ดำมาตามนัดและได้เตรียมเงิน มาพร้อมหรือได้ชำระเงินไปแล้ว ดังนั้น ดำยอ่มอยู่ในฐานะที่จะไปฟ้องร้องบังคับ ให้ขาวทำเป็นหนังสือและจดทะเบียนได้ตั้งแต่ 1 มิถุนายน 2550 เป็นต้นไป หากภายหลังขาวได้ขายที่ดินให้แดงโดยตกลงทำสัญญาเป็นหนังสือและจด ทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ หลังจากวันที่ 1 มิถุนายน ดำมีสิทธิเพิก ถอนนิติการรมการโอนของแดงได้ตามมาตรา 1300 ถ้าหาว่าแดงรับโอนโดยไม่ เสียค่าตอบแทนหรือโดยไม่สุจริต คือรู้อยู่ก่อนแล้วว่าได้มีการทำสัญญาจะซื้อจะ ขายหรือสัญญาประนีประนอมยอมความระหว่างขาวและแดงอยู่แลว
43
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1886/2536 จำเลยทั้งสามได้ไปจดทะเบียนรับโอนมรดกที่พิพาทอันเป็นเวลาภายหลังที่โจทก์ ได้กรรมสิทธิ์ในที่พิพาทโดยการครอบครองปรปักษ์แล้วจำเลยทั้งสามได้ กรรมสิทธิ์ที่พิพาทโดยการรับมรดกต้องรับไปทั้งสิทธิและตลอดจนความรับผิด ต่างๆ จำเลยทั้งสามจึงมิใช่บุคคลภายนอกผู้ได้กรรมสิทธิ์มาโดยเสียค่าตอบแทน ตามที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1299 วรรคสอง โจทก์ผู้ได้กรรมสิทธิ์ที่พิพาทโดยครอบครองปรปักษ์ ซึ่งบุคคลผู้อยู่ในฐานะอันจะ ให้จดทะเบียนสิทธิของตนได้อยู่ก่อนแล้ว จึงยกขึ้นเป็นข้อต่อสู้จำเลยทั้งสาม และขอให้เพิกถอนการจดทะเบียนดังกล่าว ที่ทำให้ตนเสียเปรียบได้ ตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1300
44
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2961/2517 โจทก์นำยึดที่ดินมีโฉนดของจำเลยเพื่อขายทอดตลาดเอาเงินใช้หนี้เงินกู้ตามคำพิพากษา ปรากฏว่าที่ดินแปลงนี้จำเลยได้ขายให้ผู้ร้องขัดทรัพย์แล้วตั้งแต่ พ.ศ แต่การโอน ขัดข้อง ผู้ร้องขัดทรัพย์ได้ฟ้องจำเลย ศาลพิพากษาให้จำเลยโอนที่ดินให้เป็นกรรมสิทธิ์ของผู้ ร้อง หากจำเลยไม่จัดการโอน ให้ถือเอาคำพิพากษาเป็นการแสดงเจตนาของจำเลย คดีถึง ที่สุดแล้ว แม้ศาลได้พิพากษาให้จำเลยใช้เงินให้แก่โจทก์ และโจทก์ยึดทรัพย์จำเลยก่อนที่ ศาลจะพิพากษาให้ผู้ร้องชนะคดีจำเลยดังกล่าว และกรรมสิทธิ์ในที่ดินโฉนดนี้ยังไม่ได้เปลี่ยน มือและยังไม่ได้จดทะเบียนเป็นกรรมสิทธิ์ของผู้ร้องก็ตาม แต่เมื่อผู้ร้องได้สิทธิที่จะจด ทะเบียนกรรมสิทธิ์ที่ดินแปลงนี้โดยผลแห่งคำพิพากษาคดีที่ผู้ร้องฟ้องจำเลยให้โอนที่ดินให้ ซึ่งถึงที่สุดแล้วเช่นนี้ ผู้ร้องจึงมีสิทธิที่จะจดทะเบียนการได้มาซึ่งกรรมสิทธิ์ในที่ดินนี้ก่อนโจทก์ ซึ่งเพียงแต่ยึดที่ดินแปลงนี้ไว้เพื่อบังคับคดีเท่านั้น ผู้ร้องย่อมจะขอให้เพิกถอนการยึดของ โจทก์ได้ตามนัยแห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1300 เช่นกัน กรณีต่างกับ มาตรา 1299 ซึ่งเป็นเรื่องของการได้มาซึ่งทรัพย์สิทธิซึ่งยังไม่บริบูรณ์จนกว่าจะได้จดทะเบียน ทรัพย์สิทธินั้น ๆ แล้ว
45
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1169/2487 ผู้รับมรดกปกครองที่ดินมรดกร่วมกันมา ผู้รับมรดกคนหนึ่งโอน ที่ดินมรดกให้แก่บุตรของตนโดยไม่สุจริต ผู้รับมรดกอื่นฟ้องขอ เพิกถอนได้ตามมาตรา 1300 และ 1359
46
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 14884/2558
ผู้ร้องกับจำเลยที่ 1 หย่ากันโดยความยินยอมของทั้งสองฝ่าย ป.พ.พ. มาตรา 1532 (ก) บัญญัติให้จัดการ แบ่งทรัพย์สินของสามีภริยาตามที่มีอยู่ในเวลาจดทะเบียนการหย่า ข้อตกลงตามสำเนาบันทึกด้านหลัง ทะเบียนการหย่าระหว่างผู้ร้องกับจำเลยที่ 1 จำเลยที่ 1 ยินยอมยกที่ดินโฉนดเลขที่ พร้อมสิ่งปลูก สร้างเลขที่ 6/82 ให้เป็นกรรมสิทธิ์ของผู้ร้อง เป็นสัญญาแบ่งทรัพย์สินระหว่างสามีภริยาตามบทมาตรา ดังกล่าว มิใช่สัญญาให้ทรัพย์สินอันจะต้องทำเป็นหนังสือและจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่จึงจะ สมบูรณ์ตามที่บัญญัติไว้ใน ป.พ.พ. มาตรา 525 เมื่อนายทะเบียนจดทะเบียนหย่าให้แล้ว ถือว่าทั้งสองฝ่าย ได้จัดการแบ่งทรัพย์สินกันเรียบร้อยแล้ว ที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างจึงเป็นของผู้ร้องแต่เพียงผู้เดียว การที่จำเลย ที่ 1 ยังมิได้จดทะเบียนโอนที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างส่วนของตนให้แก่ผู้ร้อง มีผลเพียงทำให้การได้มาโดยนิติ กรรมซึ่งอสังหาริมทรัพย์ของผู้ร้องยังไม่บริบูรณ์ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1299 วรรคหนึ่ง เท่านั้น แต่สิทธิของผู้ ร้องตามสัญญาแบ่งทรัพย์สินที่นายทะเบียนจดทะเบียนหย่าให้แล้วและผู้ร้องได้ครอบครองทรัพย์เพียงผู้ เดียวตลอดมา ทั้งเป็นผู้ชำระหนี้จำนองและไถ่ถอนจำนองจากธนาคาร ก. ถือได้ว่าผู้ร้องเป็นผู้อยู่ในฐานะอัน จะให้จดทะเบียนสิทธิของตนได้อยู่ก่อนตาม ป.พ.พ. มาตรา 1300 ผู้ร้องไม่ใช่ผู้ได้มาซึ่งอสังหาริมทรัพย์โดย ทางอื่นนอกจากนิติกรรมและโจทก์เป็นเพียงเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาของจำเลยที่ 1 ซึ่งนำยึดที่ดินพร้อมสิ่ง ปลูกสร้างออกขายทอดตลาดนำเงินมาชำระหนี้โจทก์เท่านั้น โจทก์มิใช่ผู้รับโอนที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างอันมี ค่าตอบแทนและโดยสุจริต และได้จดทะเบียนสิทธิโดยสุจริตแล้ว โจทก์จึงมิใช่บุคคลภายนอกที่ได้รับความ คุ้มครองตาม ป.พ.พ. มาตรา 1300 ดังนั้น แม้ผู้ร้องจะมิได้จดทะเบียนการได้มาซึ่งกรรมสิทธิ์ที่ดินพร้อมสิ่ง ปลูกสร้าง ส่วนของจำเลยที่ 1 ต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ก็ยกขึ้นเป็นข้อต่อสู้โจทก์ได้ โจทก์ในฐานะเจ้าหนี้ตามคำ พิพากษาจะบังคับให้กระทบถึงสิทธิของผู้ร้องไม่ได้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 287 โจทก์จึงไม่มีสิทธิยึดที่ดินพร้อม สิ่งปลูกสร้างเพื่อชำระหนี้ตามคำพิพากษา ผู้ร้องมีสิทธิเรียกร้องขอให้ปล่อยทรัพย์ที่ยึดได้
47
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 13689/2556 จำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นบุตรของผู้ตายและในฐานะผู้จัดการมรดกของผู้ตายโอนที่ดินพิพาทซึ่ง เป็นทรัพย์มรดกของผู้ตายเป็นของตนเอง แล้วโอนต่อไปให้จำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นบุตรโดยไม่ได้ แบ่งให้แก่ทายาทโดยธรรมคนอื่นและโจทก์ทั้งสอง ย่อมเป็นการโอนไปหรือการจัดการ มรดกโดยไม่ชอบ ทำให้โจทก์ทั้งสองผู้อยู่ในฐานะอันจะจดทะเบียนโอนที่ดินพิพาทได้อยู่ ก่อนแล้วเสียเปรียบ โจทก์ทั้งสองจึงขอให้เพิกถอนการจดทะเบียนโอนที่ดินพิพาทได้ตาม ป. พ.พ. มาตรา 1300 จำเลยที่ 3 รับซื้อที่ดินพิพาทมาจากจำเลยที่ 2 ซึ่งรับโอนมาจากจำเลยที่ 1 ผู้จัดการมรดก ของผู้ตายโดยไม่มีค่าตอบแทน จำเลยที่ 2 จึงไม่ได้รับความคุ้มครองเพราะกรณีไม่ต้องตาม ป.พ.พ. มาตรา 1300 และไม่มีสิทธิขายที่ดินพิพาทให้แก่จำเลยที่ 3 แม้จำเลยที่ 3 จะรับ โอนมาโดยสุจริต เสียค่าตอบแทนและจดทะเบียนโดยสุจริต จำเลยที่ 3 ก็ไม่มีสิทธิในที่ดิน พิพาทตามหลักที่ว่าผู้รับโอนไม่มีสิทธิดีกว่าผู้โอน การที่จำเลยที่ 2 จดทะเบียนโอนขายที่ดิน พิพาทส่วนของโจทก์ทั้งสองให้แก่จำเลยที่ 3 จึงไม่มีผลทางกฎหมายที่จะใช้ยันโจทก์ทั้งสอง ได้ โจทก์ทั้งสองมีสิทธิขอให้เพิกถอนการโอนขายที่ดินพิพาทได้
งานนำเสนอที่คล้ายกัน
© 2024 SlidePlayer.in.th Inc.
All rights reserved.