งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

แนวความคิดและ วิวัฒนาการทางการจัดการ

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


งานนำเสนอเรื่อง: "แนวความคิดและ วิวัฒนาการทางการจัดการ"— ใบสำเนางานนำเสนอ:

1 แนวความคิดและ วิวัฒนาการทางการจัดการ
สัคพัศ แสงฉาย

2 วิวัฒนาการแนวความคิดเกี่ยวกับองค์การและการจัดการ
ยุคที่ 1 การจัดการโดยสามัญสำนึก 1 ยุคที่ 2 การจัดการแบบคลาสสิก 2 ยุคที่ 3 การจัดการแบบมนุษยสัมพันธ์ 3 ยุคที่ 4 การจัดการยุคใหม่ 4

3 ยุคที่ 1 การจัดการโดยสามัญสำนึก
เป็นลักษณะการจัดการแบบโบราณประมาณ ค.ศ เริ่มมีการทำงานร่วมกัน แต่ไม่สามารถหาหลักเกณฑ์หรือทฤษฎีมาใช้ได้อย่างชัดเจน ซึ่งดูเหมือนว่า การบริหาร การจัดการนั้นเป็นไปตามสามัญสำนึกของผู้จัดการหรือหัวหน้างานเป็นหลัก ยุคที่ 2 การจัดการแบบคลาสสิก (Classical Theory) 2 หรือการจัดการที่มีหลักเกณฑ์ ประมาณ ค.ศ มีหลักเกณฑ์ทางวิทยาศาสตร์มาใช้ในการจัดการ ทำให้มีผลผลิตสูงขึ้นมาก มีนักวิชาการเช่น Frederrick W. Taylor, Henri Fayol , Max Weber, Luther Gulick, Lyndall Urwick สุวกิจ ศรีปัดถา 2531 : 23-24

4 ยุคที่ 4 การจัดการยุคใหม่ (Modern Theory)
ยุคที่ 3 การจัดการแบบมนุษยสัมพันธ์ 3 หรือการจัดการแบบคลาสสิกใหม่ (Neo-Classical Theory) ประมาณ ค.ศ ยุคนี้นักวิชาการเชื่อว่ามนุษยสัมพันธ์ ขวัญและกำลังใจของผู้ปฏิบัติงาน เป็นสิ่งสำคัญในการปฏิบัติงาน มีนักวิชาการเช่น Elton Mayo, Abraham Maslow , Frederrick Herzberg ยุคที่ 4 การจัดการยุคใหม่ (Modern Theory) 4 นำเอาความคิดทางการจัดการยุคต่างๆมาผสมผสานกัน เป็นทฤษฎีเพื่อการตัดสินใจ ทฤษฎีระบบ แนวความคิดการจัดการยุคนี้เน้นที่การจัดการให้เหมาะกับสถานการณ์ สุวกิจ ศรีปัดถา 2531 : 23-24

5 วิวัฒนาการของการจัดการที่ผ่านมา ผู้จัดการ/ผู้บริหารจะเลือกใช้วิธีที่ดีที่สุด และต้องคำนึงถึงลักษณะองค์การ เป้าหมาย และสภาพองค์การ โดยอาจจะใช้เทคนิคต่างๆผสมผสานกัน ซึ่งสามารถจำแนกทฤษฎีองค์การ/ทฤษฎีการจัดการได้ 3 ยุคนับตั้งแต่ยุคที่ 2 โดยใช้หลักเกณฑ์ทางวิทยาศาสตร์ พัฒนาเรื่อยมาจนถึงยุคมนุษยสัมพันธ์ยุคปัจจุบันดังนี้

6 1. ทฤษฎีการจัดการแบบดั้งเดิม(Classical Theory)
มุ่งเน้นองค์การที่มีรูปแบบเป็นทางการ มีหลักการ 4 ประการ - การแบ่งระดับชั้นสายการ บังคับบัญชา - การแบ่งงานตามความถนัด - ช่วงของการควบคุม - เอกภาพในการจัดการ (มองคนเหมือนเครื่องจักร ไม่ให้ความสำคัญต่อมนุษย์ ปราศจากความยืดหยุ่น) ทฤษฎีการจัดการในสมัยนี้คือ - ระบบราชการ (Bureaucracy) - ทฤษฎีการบริหาร (Administrative Theory) - การจัดการตามหลักวิทยาศาสตร์ (Scientific Management)

7 ระบบราชการ (Bureaucracy)
ลักษณะของระบบราชการ 1. การบังคับบัญชาเป็นไปตามลำดับชั้น 2. แบ่งงานกันทำตามความชำนาญเฉพาะด้าน 3. ยึดหลักคุณธรรมในการคัดเลือกบุคคล โดยใช้เกณฑ์คุณสมบัติ ทางวิชาการหรือคุณสมบัติทางวิชาชีพ 4. ความก้าวหน้าในตำแหน่งเงินเดือนเป็นไปตามลำดับขั้นความอาวุโสและ ความสามารถ 5. อำนาจหน้าที่ ไม่ใช่อำนาจส่วนบุคคลแต่เป็นอำนาจของสถาบัน 6. กฎระเบียบ ข้อบังคับ วิธีปฏิบัติเป็นเกณฑ์แบบอย่างเดียวกันและเคร่งครัด โดยเป็น ลายลักษณ์อักษร 7. มีความมั่นคงในหน้าที่การงาน Max Weber

8 ข้อดีและข้อเสียของระบบราชการ
1. มีการแบ่งงานกันทำ เพิ่มผลผลิตได้ดี 2. มีโครงสร้างขององค์การ เห็น ความสัมพันธ์หน้าที่ต่างๆอย่างมีเหตุผล 3. มีความสามารถที่จะคาดการณ์ความ มั่นคง 4. มีเหตุมีผล สนับสนุนประชาธิปไตย 5. ลดระบบการเล่นพวก การกินสินบน การคอรัปชั่นและความลำเอียงให้ น้อยลง ข้อเสีย 1. มีความตายตัว ไม่คล่องตัว 2. มีโครงสร้างแบ่งแยกแผนกงาน ยาก ต่อการประสานงาน ทำให้ค่าใช้จ่ายสูง 3. มองคนเหมือนเครื่องจักร

9 ทฤษฎีการบริหาร (Administrative Theory)
เน้นกระบวนการบริหาร Henri Fayol ก. แบ่งการดำเนินธุรกิจเป็น กิจกรรมต่างๆ 1. เทคนิค 2. การพาณิชย์ 3. การเงิน 4. ความมั่นคง 5. การบัญชี 6. การบริหาร การทำงานมีขั้นตอนและระบบเพื่อให้มีประสิทธิภาพและมีการวางแผนและประสานงานกันมากขึ้น

10 การป้องกันทรัพย์สินและบุคคล
วิธีการผลิต การป้องกันทรัพย์สินและบุคคล การพาณิชย์ ได้แก่ การซื้อขาย แลกเปลี่ยน เรื่องบัญชีและเก็บรวบรวมทางสถิติ การจัดหาและใช้เงินทุน (ค่าของเงิน) Here is the chart that explains the management principles and steps of Henri Fayol ที่มา :

11 กระบวนการบริหาร 1. การวางแผน (Planning) คือ การวางแผนล่วงหน้า
2. การจัดองค์การ (Organizing) คือ การจัดโครงสร้างของสายงาน ตำแหน่งและอำนาจหน้าที่ในองค์การ 3. การสั่งการ (Commanding or directing) คือ การดูแลสั่งการให้ คนงานทำตามวัตถุประสงค์ขององค์การ 4. การประสานงาน (Coordinating) คือ การทำงานร่วมมือกันใน องค์การ 5. การควบคุม (Controlling) คือ การดูแลกิจกรรมให้สำเร็จตามแผน ที่วางไว้ ที่มา : นิรมล กิติกุล 2551 : 30

12 หลักการบริหารงาน ผู้บริหารจะต้องมีคุณลักษณะพร้อมความสามารถทางร่างกาย จิตใจ ไหวพริบ การศึกษาหาความรู้ เทคนิคในการทำงาน และประสบการณ์ต่าง ๆ Fayol ให้ความเห็นว่าคุณสมบัติทางด้านเทคนิควิธีการนั้น สำคัญที่สุดในระดับคนงานธรรมดา แต่สำหรับระดับสูงขึ้นไปกว่านั้นความสามารถทางด้านบริหาร จะเพิ่มความสำคัญตามลำดับ และมีความสำคัญมากที่สุดในระดับผู้บริหารระดับสูง (Top executive) ควรจะได้มีการ อบรม (training) ความรู้ทางด้านบริหารควบคู่กันไปกับความรู้ทางด้านเทคนิคในการทำงาน

13 1. การแบ่งงานกันทำ (Division of labor)
(ทฤษฎีการบริหารจะเน้นในเรื่องขั้นตอนกระบวนการบริหารเพื่อประสิทธิภาพและประสิทธิผลขององค์การ) Fayol ได้วางหลักทั่วไปที่ใช้ในการบริหารไว้ 14 ข้อ ซึ่งใช้สำหรับเป็นแนวทางปฏิบัติ (guides) สำหรับผู้บริหาร หลักต่าง ๆ ดังกล่าวมีดังนี้คือ 1. การแบ่งงานกันทำ (Division of labor) 2. อำนาจหน้าที่และความรับผิดชอบ (Authority & responsibility) 3. วินัยจรรยา (Discipline) 4. เอกภาพในการสั่งการ (Unity of direction) 5. เอกภาพในการควบคุม (Unity of command) 6. ถือเป็นประโยชน์ส่วนรวมมากกว่าส่วนตน (Subordination of individual to general interest ) 7. ผลประโยชน์ตอบแทน (Fair remuneration)

14 8. อำนาจในการบริหาร (Centralization)
9. สายการบังคับบัญชา (Scalar chain) 10. คำสั่งและระเบียบข้อบังคับ (Order and Regulation) 11. ความเสมอภาค (Equity) 12. ความมั่นคงในการทำงาน (Stability of personnel) 13. ความคิดริเริ่มในการทำงาน (Initiative) 14. ความสามัคคี (Esprit de corps) ที่มา : นิรมล กิติกุล 2551 : 31

15 การประสานงาน (Coordination)
มีการแบ่งงานกันทำตามหน้าที่ โดยการประสานงานและร่วมมือกัน James D. Mooney และ Alan C. Reiley เขียนหนังสือ Onward Industry และ The Principles Organization  สายการบังคับบัญชา (Hierarchy) มีการจัดลำดับอำนาจหน้าที่และความรับผิดชอบ ตามสายบังคับบัญชา กระบวนการแบ่งแยกหน้าที่(Function Process) แบ่งงานกันทำตามความถนัดหรือความสามารถ

16 กระบวนการบริหาร POSDCoRB Model
คูลิก (Qulick) และเออร์วิก (Urwick) เขียนหนังสือชื่อ Papers on the Science of Administration : Notes on The Theory of Organization กระบวนการบริหาร POSDCoRB Model Planning การวางแผน Directing การอำนวยการ Organizing การจัดองค์การ Staffing การจัดคนเข้าทำงาน Budgeting งบประมาณ Reporting การรายงาน Coordinating การประสานงาน

17 ทฤษฎีการบริหารแบบวิทยาศาสตร์ (Scientific Management Theory)
วิธีการทำงานในองค์การโดยให้ความสำคัญกับการแบ่งงานกันทำตามความชำนาญ แนวความคิดฯมีหลักการดังนี้ 1. พัฒนาวิธีการทำงานที่ดีที่สุด 2. ใช้วิธีการคัดเลือก ฝึกหัด สอนและ พัฒนาคนให้ตรงกับงาน 3. มีการร่วมมือกันทำงาน ประสานงาน กันอย่างใกล้ชิดระหว่างผู้บริหารและ พนักงาน 4. แบ่งงานและความรับผิดชอบเป็น ส่วนต่างๆที่ชัดเจน 5. เพิ่มผลผลิตสูงสุดแทนที่จะจำกัดผลผลิต Frederick W. Taylor บิดาการบริหารแบบวิทยาศาสตร์ พยายามจะเพิ่มผลผลิตโดยศึกษาเกี่ยวกับวิธีการเคลื่อนไหวของคน และเวลาที่ใช้ ปฏิบัติงาน (Time and Motion study) โดยคัดเลือกคนเครื่องมืออุปกรณ์ให้เหมาะสม เพื่อหาวิธีที่ดีที่สุด (one best way) พิจารณาขนาดของพลั่วที่ใช้ตักจัดให้เหมาะสมกับร่างกายของคนงานเพื่อขนถ่านหินขึ้นรถไฟ

18 One best way to do a job วิธีที่สุดในการทำงาน
Frank B. Gilbreth และ Lillian M. Gilbreth สามีภรรยาศึกษาการเคลื่อนไหวและลดความเหนื่อยและให้ความสนใจการปรับปรุงสวัสดิการของคนงานประสบความสำเร็จและมีประสิทธิภาพในการทำงาน One best way to do a job วิธีที่สุดในการทำงาน แนวความคิดของ Gilbreth ต่างกับ Taylor Taylor เน้นคนเหมือนเครื่องจักร Gilbreth เน้นความต้องการและบุคลิกภาพของคนงาน ทั้งสองมีแนวการบริหารที่มีหลักเกณฑ์ทางวิทยาศาสตร์

19 และปัจจัยในการลงทุน โดยจัดเป็นตารางการทำงาน หรือ Gantt Chart
Henry L. Gantt ได้พัฒนาระบบให้ผลตอบแทน โดยการประกันค่าจ้างแรงงานขั้นต่ำ ถ้าคนงานทำงานได้ตามมาตรฐานหรือเกินมาตรฐาน หัวหน้าก็จะให้โบนัสเพิ่ม หัวหน้าจะฝึกอบรมคนงานให้ทำงานเพิ่มขึ้น ให้ความสำคัญกับการควบคุมเวลา และปัจจัยในการลงทุน โดยจัดเป็นตารางการทำงาน หรือ Gantt Chart

20 ตัวอย่างตารางการทำงาน หรือ Gantt Chart
ความสัมพันธ์ระหว่างกิจกรรมต่างๆที่จะต้องกระทำกับระยะเวลาหรือเวลาสำหรับการปฏิบัติงานของกิจกรรมนั้นๆ ที่มา :  

21 สรุปการบริหารแบบวิทยาศาสตร์ 1. กำหนดวางแผนพัฒนาหลักการทำงาน
แนวความคิด Gilbreths และ Taylor ต่างกับ Gantt ตรงที่ว่า Taylor และ Gilbreths เชื่อว่า ผลผลิตสูงเกิดจากคนงานและวิธีการแต่ Gantt เชื่อว่างานจะพัฒนาและมีผลผลิตสูงเกิดจากผู้บริหารหรือหัวหน้าเป็นฝ่ายกระตุ้น สรุปการบริหารแบบวิทยาศาสตร์ 1. กำหนดวางแผนพัฒนาหลักการทำงาน 2. กำหนดมาตรฐานในการทำงาน 3. กำหนดเครื่องมือการควบคุม - เลือกและอบรมตามอาชีพ - ดูแลพฤติกรรม - ตรวจตราปริมาณและคุณภาพการผลิต ที่มา : นิรมล กิติกุล 2551 : 35

22 ยุคที่ 3 การจัดการแบบมนุษยสัมพันธ์
หรือการจัดการแบบคลาสสิกใหม่ (Neo-Classical Theory) ประมาณ ค.ศ ยุคนี้นักวิชาการเชื่อว่ามนุษยสัมพันธ์ ขวัญและกำลังใจของผู้ปฏิบัติงาน เป็นสิ่งสำคัญในการปฏิบัติงาน มีนักวิชาการเช่น Elton Mayo, Abraham Maslow , Frederrick Herzberg

23 ศาสตราจารย์ คณะบริหารธุรกิจมหาวิทยาลัยฮาร์วาล์ด
Elton Mayo ( ) ศาสตราจารย์ คณะบริหารธุรกิจมหาวิทยาลัยฮาร์วาล์ด เน้นความสัมพันธ์ระหว่างคนงานด้วยกันและกลุ่มของคนงาน มีการส่งเสริมให้มีการติดต่ออย่างเปิดกว้าง มีส่วนร่วมในการตัดสินใจโดยการปรึกษากับคนงานเกี่ยวกับวัตถุประสงค์และวิธีทำงาน ให้ความสำคัญของผู้ปฏิบัติงานทุกระดับ

24 การศึกษาที่โรงงาน (Hawthorne)
1 มีการทดลองที่บริษัท western Electric ใกล้เมืองชิคาโกได้กระทำขึ้นในปี ค.ศ จุดประสงค์ในการค้นคว้าคือ ศึกษาผลกระทบของความเป็นอยู่ ความเหนื่อยล้าและเงื่อนไขการทำงานทางกายภาพ ที่มีต่อคนงานและผลผลิต 3 พบว่าแสงสว่างที่เพิ่มขึ้นและลดลงไม่ได้นั้นไม่ได้สัมพันธ์หรือส่งผลกับผลผลิตของบุคคลเลย ผลลัพธ์นี้เราเรียกว่า Hawthorne effect ทำให้ผู้บริหารหันมาสนใจศึกษาเรื่องพฤติกรรมและ ความสัมพันธ์ระหว่างบุคคล แทนที่จะสนใจศึกษาสภาพแวดล้อมภายนอกที่จะกระตุ้นให้คนปฏิบัติงาน 2 ความสัมพันธ์ระหว่างผลผลิตกับความสว่างของแสงมีกลุ่มควบคุมปฏิบัติในสภาพแวดล้อมปกติ ขณะที่อีกกลุ่มปฏิบัติในสภาพที่เปลี่ยนไป

25 ความเคลื่อนไหวในเรื่องมนุษยสัมพันธ์
การศึกษาของครั้งนี้ ช่วยให้ได้พื้นฐานและวิธีการใหม่ทั้งหมดในการบริหารจัดการ ซึ่งเป็นที่รู้จักกันในนามของความเคลื่อนไหวในเรื่องมนุษย์สัมพันธ์ มีการนำวิธีการสร้างความสัมพันธ์ของบุคคลทางการจัดการ และให้ความใส่ใจต่อพฤติกรรมของกลุ่ม ความเป็นผู้นำ ทัศนคติที่ดีต่อพนักงาน มีการสร้างความสัมพันธ์ที่ดีระหว่างพนักงานกับผู้บังคับบัญชา โดยเน้นการสร้างความร่วมมือและประสานงานกันในการทำงานร่วมกัน ซึ่งทำให้เกิดการจูงใจพนักงานและเกิดเป็นรูปแบบของความเป็นผู้นำ

26 Abraham Maslow ( ) เป็นนักจิตวิทยาที่ค้นเรื่องลำดับขั้นของความต้องการของมนุษย์ (Hierarchy of Needs) หรือทฤษฎีแรงจูงใจ เรียงลำดับความต้องการของมนุษย์มี 5 ขั้น ตามลำดับจากต่ำไปหาสูง

27 Self-Actualization needs
ความต้องการความสมหวังในชีวิต ความต้องการมีคุณค่า Self-Actualization needs Esteem needs ความต้องการทางด้านสังคม Social needs Safety and Security needs เป็นความต้องการสูงสุด ต้องการสำเร็จทุกอย่างตามที่คิด ยกย่องและเห็นคุณค่า มีความเชื่อมั่นในตนเอง เป็นที่รักและเป็นที่ยอมรับ เป็นสมาชิกของกลุ่ม ความต้องการความปลอดภัยและความมั่นคง ปราศจากอุบัติเหตุ มีความมั่นคง หน้าที่การงานและฐานะการเงิน ความต้องการขั้นพื้นฐาน Add Your Text อากาศ น้ำ อาหาร ที่อยู่อาศัย ยารักษาโรค Physiological needs ความต้องการทางกาย

28 ปัจจัยการจูงใจ (Motivational factors)
Frederick Herzberg ทฤษฎีสองปัจจัย ปัจจัยการจูงใจ (Motivational factors) พนักงานส่วนใหญ่มีความรู้สึกพอใจในงาน เป็นตัวกระตุ้นให้บุคคลพึงพอใจในการทำงาน 1. ความสำเร็จ 2. การยอมรับ 3. ความก้าวหน้า 4. งานที่ทำ 5. ความเจริญเติบโตที่อาจเป็นไปได้ 6. ความรับผิดชอบ

29 ปัจจัยการบำรุงรักษา (Maintenance or Hygiene Factors)
Frederick Herzberg ปัจจัยการบำรุงรักษา (Maintenance or Hygiene Factors) เป็นตัวสร้างความไม่พึงพอใจในการทำงาน ปัจจัยนี้ไม่ได้เป็นผลโดยตรง แต่เป็นตัวที่ขัดขวางการจูงใจไม่ให้เกิดขึ้น ฉะนั้นต้องบำรุงรักษาในระดับที่เหมาะสม เพื่อให้ผู้ทำงานไม่เกิดความไม่พอใจในการทำงาน 1. นโยบายบริษัทและการบริหารงาน 2. เทคนิคการบังคับบัญชา 3. ความสัมพันธ์ระหว่างบุคคล (หัวหน้างาน เพื่อน ผู้ใต้บังคับบัญชา) 4. เงินเดือน 5. ความมั่นคงของงาน 6. ชีวิตส่วนตัว 7. สภาพการทำงาน 8. สถานภาพ

30 ได้เสนอทฤษฎีเกี่ยวกับพฤติกรรมของคน คือทฤษฎี X และทฤษฎี Y
Dauglas McGregor ได้เสนอทฤษฎีเกี่ยวกับพฤติกรรมของคน คือทฤษฎี X และทฤษฎี Y ถ้ามองคนตามทฤษฎี X จะต้องบริหารแบบเผด็จการ ให้ผลตอบแทนในรูปของเศรษฐทรัพย์ แต่ถ้ามองคนตามทฤษฎี Y ต้องบริหารแบบประชาธิปไตย ให้ผลตอบแทนเป็นรางวัลทางใจ (เศรษฐทรัพย์ หมายถึง สิ่งของ หรือบริการที่เป็นประโยชน์ สามารถนำมาบำบัดความต้องการของมนุษย์ได้ เช่น อาหาร เครื่องนุ่งห่ม ที่อยู่อาศัย ยารักษาโรค กระแสไฟฟ้าหรือพลังงาน และบริการต่างๆ เช่นการสอนหนังสือ การตัดผม การร้องเพลงหรือเล่นดนตรีบนเวทีการแสดง เป็นต้น)

31 ทฤษฎี x ทฤษฎี y มนุษย์ไม่มีความจริงใจ มีความเกียจคร้าน ชอบทำงานน้อย
หลีกเลี่ยงการรับผิดชอบ ไม่สนใจว่าจะทำงานบรรลุเป้าหมายหรือไม่ ไม่สามารถควบคุมพฤติกรรมตนเองได้ ไม่สนใจว่าองค์การต้องการอะไร ต้องการการควบคุมอย่างใกล้ชิด หลีกเลี่ยงการตัดสินใจ ไม่ฉลาดนัก ทฤษฎี y มีความจริงใจ ทำงานหนัก ขยัน มีความรับผิดชอบในหน้าที่ มีความปรารถนาที่จะทำงานให้บรรลุเป้าหมาย รู้จักควบคุมพฤติกรรมตนเอง ต้องการให้องค์การบรรลุเป้าหมาย ไม่ชอบการควบคุม รับผิดชอบต่อการตัดสินใจ เป็นคนฉลาด TEXT TEXT TEXT TEXT

32 คนเรามักจะมีลักษณะผสมผสานระหว่างทฤษฎี X และทฤษฎี Y ดังนั้นจึงคิดทฤษฎี z ซึ่งมีสาระสำคัญ (สุวกิจ ศรีปัดถา : 64-65) มีหลักการว่า คนเป็นส่วนหนึ่งของสังคม มีความรู้สึกนึกคิด ความเชื่อ พฤติกรรม ยศ เปลี่ยนแปลงไปตามสถานการณ์และสิ่งแวดล้อม 1. คนทุกคนมีความต้องการที่จะทำงาน 2. คนทุกคนเปิดโอกาสที่จะรับทั้งความดีความชั่ว 3. สถานการณ์ต่างๆเป็นสิ่งบังคับให้คนเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมไปได้ 4. คนจะปฏิบัติงานด้วยเหตุผล โดยเหตุผลจะเป็นแรงจูงใจให้คนปฏิบัติงาน 5. การช่วยเหลือเกื้อกูลกันเป็นปฏิสัมพันธ์เบื้องต้นของคน 6. การปฏิสัมพันธ์เป็นหน่วยย่อยที่สำคัญที่สุดในหน่วยงานของคน 7. คนจะมองอะไรในแง่ดีหรือร้ายนั้นอยู่กับจุดมุ่งหมายในการมองของเขา

33 Chris Argyris มีแนวความคิดและเผยแพร่ทฤษฎีพัฒนาบุคลิกภาพ โดยมีความเชื่อว่า บุคลิกลักษณะของคนจะค่อยๆพัฒนาจากวัยเด็กที่ไม่สามารถช่วยเหลือตนเองได้ ต้องอาศัยผู้อื่นจนเติบโต สามารถช่วยเหลือจนเองได้ เริ่มมีความคิดและต้องการอิสระในวัยผู้ใหญ่

34 มีระบบสื่อสารที่มีประสิทธิภาพไว้ในองค์การ
Chester I. Barnard มีแนวความคิดเกี่ยวกับองค์การว่า องค์การเป็นระบบของการร่วมแรงร่วมใจเพื่อจะทำ กิจกรรมอย่างใดอย่างหนึ่งให้สำเร็จด้วยความร่วมแรงร่วมใจกัน การที่สมาชิกมีความเต็มใจและมีวัตถุประสงค์เดียวกันในระหว่างองค์การและสมาชิก และร่วมแรงร่วมใจกันทำกิจกรรมให้สำเร็จนั้น มีระบบสื่อสารที่มีประสิทธิภาพไว้ในองค์การ มีการส่งเสริมและโน้มน้าวจิตใจให้คนสามารถปฏิบัติงานอย่างดี มีการกำหนดเป้าหมายในการปฏิบัติงานไว้อย่างชัดเจน

35 ยุคที่ 4 การจัดการยุคใหม่ (Modern Theory)
นำเอาความคิดทางการจัดการยุคต่างๆมาผสมผสานกัน เป็นทฤษฎีเพื่อการตัดสินใจ ทฤษฎีระบบ แนวความคิดการจัดการยุคนี้เน้นที่การจัดการให้เหมาะกับสถานการณ์

36 ทฤษฎีระบบ (System Theory)
แนวความคิดเชิงระบบถือว่า การจัดการเป็นระบบหนึ่งที่มีจุดมุ่งหมายเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน ประกอบขึ้นด้วยส่วนต่างๆที่มีความสัมพันธ์และมีปฏิกิริยาซึ่งกันและกันมากมายทั้งภายในและภายนอกองค์การ ประเภทของระบบ 1. ระบบปิด (Close System) เน้นเฉพาะภายในองค์การ โดยไม่สนใจสภาพแวดล้อมภายนอก 2. ระบบเปิด (Open System) ลักษณะจะขยายกว้าง โดยให้ความสนใจสภาพแวดล้อมภายนอก ซึ่งจะช่วยให้องค์การสามารถติดตาม และปรับระบบการทำงานให้เหมาะสมกับสภาพแวดล้อมที่มีการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา

37 สิ่งที่ใช้ในการผลิต (Input) ได้แก่ คนเงิน วัสดุสิ่งของและข่าวสารข้อมูล
องค์ประกอบของระบบ สิ่งที่ใช้ในการผลิต (Input) ได้แก่ คนเงิน วัสดุสิ่งของและข่าวสารข้อมูล การดำเนินงาน (Process) ขบวนการเปลี่ยนแปลงสิ่งนำเข้า (Input) ให้เป็นผลผลิต (Output)ได้แก่ สินค้าและบริการ ผลผลิต (Output) คือ สิ่งที่วัดความสำเร็จของระบบ สิ่งแวดล้อม (Environment) ลักษณะปัจจัยต่างๆที่มีผลกระทบต่อระบบ ข้อมูลย้อนกลับ (Feedback) เป็นสิ่งที่สะท้อนให้เห็นสภาพของระบบในส่วนต่างๆ TEXT TEXT TEXT TEXT

38 แนวคิดการบริหารตามสถานการณ์ (Contingency Approach)
เป็นทฤษฎีใหม่เป็นที่ยอมรับแพร่หลายของนักบริหารในปัจจุบัน แนวคิดคือว่าองค์การแต่ละองค์การมีความแตกต่าง ไม่ว่าจะเป็นองค์ประกอบหรือสภาพแวดล้อมหรือสถานการณ์สิ่งที่เผชิญอยู่ การบริหารองค์การต้องสามารถปรับตัวให้เหมาะสม ใช้แนวทางการจัดการที่ดีที่สุด สอดคล้องกับลักษณะต่างๆของสถานการณ์และสิ่งแวดล้อมที่องค์การกำลังประสบปัญหาอยู่ การบริหารบุคคลตามสถานการณ์จะมีองค์ประกอบทางด้านเทคนิคและด้านนโยบาย การวางแผนตามสถานการณ์ เป็นการกำหนดแผนหรือแนวการปฏิบัติเพื่อใช้ในเหตุการณ์ที่ไม่ ได้คาดหมายไว้ล่วงหน้า TEXT TEXT TEXT TEXT การออกแบบองค์การตามสถานการณ์ ปรับให้เหมาะสมกับสถานการณ์ ได้แก่การจัดองค์การให้เหมาะกับสภาพแวดล้อม บุคคล ค่านิยม เป็นต้น การเป็นผู้นำตามสถานการณ์ ผู้นำจะทำงานได้ดีนั้นมีองค์ประกอบ คือ อำนาจหน้าที่ การยอมรับของผู้ใต้บังคับบัญชา โครงสร้างของงาน การบริหารจะขึ้นอยู่กับสถานการณ์

39 ทฤษฎีการตัดสินใจ (Decision – Making Theory)
Herbert A. Simon ทฤษฎีการตัดสินใจ (Decision – Making Theory) “ กระบวนการบริหาร คือกระบวนการตัดสินใจ ” ไซมอนถือว่า การตัดสินใจเป็นหัวใจของการบริหารและเป็นหน้าที่และบทบาทสำคัญของผู้บริหาร ยิ่งตำแหน่งสูงเท่าใด การตัดสินใจก็จะมีมากขึ้นไปด้วย การตัดสินใจเป็นการตกลงเลือกเอาทางที่ดีที่สุดจากทางเลือก ตั้งแต่สองทางขึ้นไปซึ่งเป็นทางเลือกที่ถูกต้องตามเหตุผลและได้ผลตามเป้าหมายมากที่สุด

40 องค์ประกอบในการตัดสินใจ
ประการแรก ได้แก่ การรวบรวมข้อมูลข่าวสารและวิเคราะห์โดยใช้เกณฑ์ต่างๆ ประการที่สอง ได้แก่ การใช้วิจารณญาณของนักบริหารซึ่งต้องอาศัยความรู้ประสบการณ์ ความสามารถ การคาดคะเนเหตุการณ์ ความคิดริเริ่มสร้างสรรค์และทัศนคติที่มีต่อการเสี่ยง

41 การตัดสินใจภายใต้ภาวะความแน่นอน ความเสี่ยงและความไม่แน่นอน
การตัดสินใจภายใต้สภาวะที่แน่นอน สภาวะนี้ผู้บริหารมีข้อมูลเพียงทำให้แน่นอนว่าผลลัพธ์การตัดสินใจจะเป็นเช่นไร การตัดสินใจภายใต้สภาวะของการเสี่ยงภัย สภาวะนี้มีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว ผู้บริหารจะต้องลองเสี่ยงตัดสินใจโดยใช้ความรู้ประสบการณ์ ความชำนาญและข้อมูลที่มีบ้างเป็นส่วนประกอบในการตัดสินใจ การตัดสินใจภายใต้สภาวะที่ไม่แน่นอน เป็นสิ่งที่มีความยุ่งยากมากที่สุด ผู้บริหารสามารถเลือกใช้วิธีการได้หลายอย่าง คือ การเลือกค่าสูงสุดจากบรรดาค่าต่ำสุด การเลือกค่าสูงสุดจากบรรดาค่าสูงสุด และวิธีประนีประนอม

42 ประเภทการตัดสินใจ การตัดสินใจที่กำหนดไว้ล่วงหน้า ทุกองค์การจะมีนโยบาย กฎระเบียบ วิธีการปฏิบัติงานขององค์การอยู่แล้ว การตัดสินใจจึงไม่ยุ่งยาก อาศัยสิ่งที่ปฏิบัติกันอยู่ประจำ การตัดสินใจที่ไม่ได้กำหนดไว้ล่วงหน้า คือในกรณีมีปัญหาหรือเป็นเร่งด่วนไม่เป็นไปตามนโยบายที่กำหนดไว้แล้ว ซึ่งจะต้องตัดสินใจให้ทันต่อเหตุการณ์ เช่น การปรับปรุงสินค้าใหม่ การช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัยฉับพลัน เป็นต้น


ดาวน์โหลด ppt แนวความคิดและ วิวัฒนาการทางการจัดการ

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


Ads by Google