งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

WEEK 6-7 รู้จัก เข้าใจ ในตนเอง http://www.seolotus.com.

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


งานนำเสนอเรื่อง: "WEEK 6-7 รู้จัก เข้าใจ ในตนเอง http://www.seolotus.com."— ใบสำเนางานนำเสนอ:

1 WEEK 6-7 รู้จัก เข้าใจ ในตนเอง

2 อาศัยการพิจารณาตน เธอจักรู้ทุกสิ่ง
อาศัยการพิจารณาตน เธอย่อมเห็นทุกสิ่ง พุทธวจนะที่มา : หนังสือมองตนให้ถ่องแท้ องค์ทะไลลามะที่ 14

3 มีผู้กล่าวว่าผู้รู้จักตนเองจะสามารถพัฒนาเป็นคนที่มีความสุขที่สุด

4 คนที่รู้ว่าตนเองต้องการอะไร ไม่ต้องการอะไร
คนที่รู้จักตนเองคือ คนที่รู้ว่าตนเองต้องการอะไร ไม่ต้องการอะไร

5 รู้ว่าตนเองทำอะไรได้ดี
และต้องพัฒนาศักยภาพด้านใด หากด้านนั้นๆ คือ ข้อจำกัดของตนเอง

6 คนที่รู้จักตนเอง กล้าหาญในการตั้งเป้าหมายในชีวิต
ไม่ใช้ชีวิตทำงานไปวันๆ ในสถานที่และสภาพแวดล้อมที่ขัดกับความต้องการเบื้องลึกของจิตใจของตนเอง หรือปล่อยลมหายใจทิ้งไปกับความฝัน โดยไม่รู้ว่าอนาคตจะเกิดขึ้นจริงหรือไหม

7 จึงเข้าใจผู้อื่นและเข้าใจโลก
คนที่รู้จักตนเองจะฝึกใจตนให้มีความมุ่งมั่นแต่ยืดหยุ่น เรียนรู้เข้าใจ และเข้าถึงตนเอง จึงเข้าใจผู้อื่นและเข้าใจโลก

8 คนที่รู้จักตนเองไม่ใช้ชีวิตแบบเห็นแก่ตน และไม่เอาแต่ใจตัวเองจนเดือดร้อนตนเองและคนรอบข้าง
เพราะเขารู้ดีว่าการใช้ชีวิตอยู่ในสังคมของคนหมู่มากนั้น ความแตกต่างแต่ละปัจเจกเป็นเรื่องธรรมดา

9 ผู้ที่รู้จักตนเองให้ความสำคัญและให้คุณค่าในเรื่องความสัมพันธ์กับตนเอง และผู้อื่น
เพราะสิ่งนี้คือด้านหนึ่งแห่งการเชื่อมโยงซึ่งการได้มาซึ่งความสำเร็จใน ชีวิต

10

11 จิต จิตใต้สำนึก ซิกมันด์ ฟรอยด์ ได้อธิบายว่า จิตระดับใต้สำนึก นี้มีกลไกลทางจิตหลายประเภทด้วยกัน เช่น แรงจูงใจ, อารมณ์ที่ถูกเก็บกด, ความรู้สึกสำนึกคิด, ความฝัน, ความทรงจำ, ความเจ็บปวด ฯลฯ พลังจิตใต้สำนึกมีอิทธิพลเหนือจิตสำนึกกระตุ้นเตือนให้ปฏิบัติพฤติกรรมประจำวันทั่วๆไปเป็นแรงจูงใจให้เกิดพฤติกรรมไร้เหตุผลและผิดปกติในลักษณะต่างๆ ส่วนตรงกลางนั้นคือจิตสำนึกบวกจิตใต้สำนึก

12 ภูเขาน้ำแข็ง (Iceberg Metaphor) ของ ฟรอยด์ จิตระดับที่มีความสำนึกควบคุมอยู่ เช่นเดียวกับส่วนของน้ำแข็งที่อยู่เหนือผิวน้ำ ส่วนจิตระดับใต้สำนึกเหมือนส่วนที่อยู่ใต้ผิวน้ำ เป็นที่สะสมองค์ประกอบของจิตไว้มากมาย

13 ภูเขาน้ำแข็งส่วนที่ซ่อนอยู่ใต้ผิวน้ำโผล่ขึ้นมาเหนือน้ำ

14 ระดับขั้นของจิตสำนึก

15 การทำงานร่วมกันของพลังทั้ง 3 ลักษณะ
การทำงานร่วมกันของพลังทั้ง 3 ลักษณะ

16 ตนหรือตัวตน (self) ตัวตนคือ ผลรวมของส่วนย่อยต่าง ๆ ทุกส่วนที่ประกอบกันขึ้นในตัวบุคคล หมายถึง คุณลักษณะหรือบุคลิกภาพทางด้านรูปร่างหน้าตา กิริยาท่าทาง นิสัยใจคอ สติปัญญา และความสามารถที่มีอยู่ในตัวบุคคลนั้น (วิลเลียม เจมส์) Read more:

17 ทางพุทธศาสนากล่าวถึงตัวตนว่า
ตัวตนก็คือการประกอบเข้าด้วยกันของกลุ่ม (ขันธ์) 5 กลุ่ม (กอง) ที่เมื่อประกอบกันเข้าแล้วกลายเป็นสิ่งมีชีวิต เป็นสัตว์ เป็นบุคคล เป็นตัวตน เป็นเรา เป็นเขา ดังนี้ Read more:

18 กลุ่มที่เป็นรูป เป็นร่างกาย เป็นส่วนที่ทำให้เกิดพฤติกรรม เกิดคุณสมบัติต่าง ๆ ที่เป็นบุคคลนั้น
ผม ขน เล็บ ฟัน หนัง เนื้อ ส่วนต่าง ๆ ของร่างกายมีทั้งที่เป็นอวัยวะภายนอกที่มองเห็นได้ และอวัยวะภายในที่ไม่สามารถมองเห็นได้ Read more:

19 กลุ่มความรู้สึก (เวทนา) คือกลุ่มที่ทำให้คนเราเกิดความรู้สึก เมื่ออวัยวะสัมผัส
คือ ตา หู จมูก กาย และใจ กระทบกับสิ่งเร้าภายนอก ได้แก่ รูป เสียง กลิ่น รส อารมณ์ต่าง ๆ แล้ว ทำให้บุคคลนั้นเกิดความรู้สึก เป็นทุกข์ เป็นสุข หรือเฉย ๆ ต่อสิ่งเร้าที่เข้ามากระทบนั้น Read more:

20 กลุ่มจดจำ (สัญญา) คือกลุ่มที่เป็นสัญญา ทำให้บุคคลนั้นจำได้ หมายรู้ รับรู้ สิ่งต่าง ๆ ที่ผ่านเข้ามาทางทวาร คือ ตา หู จมูก ลิ้น กายและใจ เช่น จำได้ว่าเป็นสีแดง เขียว ขาว สูง ต่ำ ดำ ขาว อ้วน เตี้ย ผอม สูง สิ่งนั้นคืออะไร มีรูปทรงสัณฐานเป็นอย่างไร สามารถบอกได้อย่างถูกต้องชัดเจน Read more:

21 กลุ่มปรุงแต่ง (สังขาร) เป็นกลุ่มที่คอยปรุงแต่ง หรือปรับปรุงจิตให้จิตคิดสิ่งที่พบเห็น หรือสิ่งที่รับรู้ว่าสิ่งนั้น ๆ ดีหรือไม่ดี มีลักษณะเป็นอย่างไร โดยมีเจตนาเป็นตัวนำทางที่คอยบ่งชี้ว่า สิ่งที่คิดนั้นดี (กุศล) ไม่ดี (อกุศล) คือมีเจตนาดี หรือเจตนาร้าย หรือเจตนาที่เป็นกลาง ๆ ต่อ สิ่งที่พบเห็นแล้วคิดในสิ่งนั้น ๆ Read more:

22 กลุ่มความรู้ความเข้าใจ (วิญญาณ) คือกลุ่มที่ทำความรู้แจ้ง เข้าใจ
ได้พบเห็นได้สัมผัสทาง ตา หู จมูก เป็นต้นว่า สิ่งนั้นคืออะไร มีรูปร่าง มีลักษณะอย่างไร สามารถเข้าใจอย่างแจ่มแจ้ง ดังนั้น ส่วนนี้ก็คือส่วนที่เป็นจิต เป็นความคิดของคนเรานั่นเอง Read more:

23 จุดกำเนิดของตน ช่วงอายุตั้งแต่แรกเกิดถึงวัยรุ่น (0-14ปี) ถือว่าเป็นวัยแห่งการสร้างตัวตน

24

25 Infinity : อิน ฟิ นิ ตี้

26 ทฤษฎีตัวตน (Self theory)
คาร์ล โรเจอร์ เป็นนักจิตวิทยามนุษยนิยม

27 ตนที่ตนมองเห็น (Self Concept)
ภาพที่ตนเห็นเองว่าตนเป็นอย่างไร มีความรู้ความสามารถ ลักษณะเพราะตนอย่างไร เช่น สวย รวย เก่ง ต่ำต้อย ขี้อายฯลฯ การมองเห็นอาจจะไม่ตรงกับข้อเท็จจริงหรือภาพที่คนอื่นเห็น

28 ตนตามที่เป็นจริง (Real Self)
ตัวตนตามข้อเท็จจริง แต่บ่อยครั้งที่ตนมองไม่เห็นข้อเท็จจริง เพราะอาจเป็นสิ่งที่ทำ ให้รู้สึกเสียใจ ไม่เท่าเทียมกับบุคคลอื่น เป็นต้น

29 ตนตามอุดมคติ (Ideal Self)
ตัวตนที่อยากมีอยากเป็น แต่ยังไม่มีไม่เป็นในสภาวะปัจจุบัน เช่น ชอบเก็บตัว แต่อยากเก่งเข้าสังคม เป็นต้น

30 ตัวตนของบุคคล (Self) : โค้งอันตราย เมื่อตนทั้ง 3 แบบ แตกต่างห่างกันมากบุคคล มองเห็นตน(ตีราคาของตนเอง) สูงกว่าตนตามที่เป็นจริง เขาย่อมไม่เห็นข้อบกพร่องของตนเอง มันจึงเปรียบเสมือนการปิดทางที่จะปรับปรุงตัวเองให้ดีขึ้น

31 ทฤษฏีของโรเจอร์กล่าวว่า “ตัวตน” (Self theory)
คือการรวมกันของรูปแบบค่านิยม เจตคติการรับรู้และความรู้สึก ซึ่งแต่ละบุคคลมีอยู่และเชื่อว่าเป็นลักษณะเฉพาะของเขาเอง ตนเองหมายถึงฉันและตัวฉัน เป็นศูนย์กลางที่รวมประสบการณ์ทั้งหมดของแต่ละบุคคล ภาพพจน์นี้เกิดจากการที่แต่ละบุคคลมีการเรียนรู้ตั้งแต่วัยเริ่มแรกชีวิต ภาพพจน์นั่นเองสำหรับบุคคลที่มีการปรับตัวดีก็จะมีการเปลี่ยนแปลงอย่างคงที่และมีการปรับตัวตามประสบการณ์ที่แต่ละคนมีอยู่

32 ภาพตัวเรา ที่เราคิดว่าคนอื่นมองว่าเป็นอย่างไร
ตัวตนและอัตมโนทัศน์ ภาพที่เราอยากเห็น ภาพตัวเรา ที่เราคิดว่าคนอื่นมองว่าเป็นอย่างไร ตนตามการรับรู้ ตนตามความเป็นจริง

33 โจเซฟ ลุฟท์ (Joseph Luft) และ แฮรี่ อินแกม (Harry Ingham)
ทฤษฏีหน้าต่างหัวใจของโจฮารี มีวัตถุประสงค์เพื่อมุ่งแสดงให้เข้าใจถึงการตระหนักรู้ตนของบุคคล และเข้าใจถึงสัมพันธภาพระหว่างบุคคลในสถานการณ์ที่แสดงพฤติกรรมการติดต่อ ซึ่งสามารถอธิบายถึงพฤติกรรมและความรู้สึกนึกคิดของบุคคลได้ว่ามีลักษณะและองค์ประกอบเป็นอย่างไร เพื่อช่วยให้บุคคลได้เข้าใจผู้อื่นและตนเองได้ดียิ่งขึ้น

34 หน้าต่างหัวใจ โจเซฟ ลัฟท์ (Joseph Luft) และแฮรี อินแกม (Harry Ingham) สองนักจิตวิทยาชาวอเมริกัน ซึ่งได้ศึกษาเกี่ยวกับความตระหนักในตนเอง ในบุคคล และอธิบายแนวคิดที่ว่าความตระหนักในตนเองจะเป็นไปได้หรือไม่ได้มากน้อยเพียงใดนั้น ไม่ได้ขึ้นอยู่กับบุคคลแต่เพียงฝ่ายเดียว หากขึ้นยังขึ้นอยู่กับบุคคลอื่นที่บุคคลนั้นมีปฏิสัมพันธ์อีกด้วยในกระบวนการดำเนินชีวิตหากจะเปรียบ “ตนเอง” ในธรรมชาติทั้งหมดของบุคคลหนึ่งโดยสัมพันธ์กับความตระหนักที่บุคคลนั่นจะพึงมีต่อความเป็นตนเอง หลักการนี้ได้รู้จักกันในชื่อ หน้าต่างโจฮารี ( Johari Window) ซึ่งสามารถอธิบายได้เป็น 4 ส่วน คือ

35 หน้าต่างโจฮารี เปรียบเหมือนหน้าต่าง 4 บาน เรียกว่า “หน้าต่างหัวใจ”
เปรียบเหมือนหน้าต่าง 4 บาน เรียกว่า “หน้าต่างหัวใจ” 1.ส่วนที่เปิดเผย พฤติกรรมภายนอกแสดงออก 2.ส่วนที่เป็นจุดบอด ตนเองแสดงออกไม่รู้ตัว 3.ส่วนซ่อนเร้น เป็นความลับส่วนตัว ซ่อนไว้ในใจ 4.ส่วนลึกลับ บุคคลแสดงออกโดยไม่รู้ตัว

36 หน้าต่าง 4 บาน บริเวณจุดบอด (Blind Area) ตนเองไม่รู้แต่ผู้อื่นรู้
ตนเองรู้ ตนเองไม่รู้ บริเวณเปิดเผย (Open Area) ตนเองรู้และผู้อื่นรู้ บริเวณจุดบอด (Blind Area) ตนเองไม่รู้แต่ผู้อื่นรู้ บริเวณจุดซ่อนเร้น(Hidden Area)ตนเองรู้แต่ผู้อื่นไม่รู้ บริเวณอวิชา (Unknown Area) ไม่มีใครรู้ คนอื่นรู้ หน้าต่าง 4 บาน คนอื่นไม่รู้

37 ความหมายของอัตมโนทัศน์
ความรู้สึกนึกคิด ความเข้าใจ การรับรู้ และเจตคติของแต่ละบุคคลที่มีต่อตนเองในทุกๆด้าน ซึ่งเป็นผลจากการเรียนรู้และประสบการณ์ที่บุคคลได้ปฏิสัมพันธ์กับบุคคลอื่นและสิ่งแวดล้อม อันเป็นตัวกำหนดบุคลิกภาพ

38 อัตมโนทัศน์ในทางบวก อัตมโนทัศน์ในทางลบ
อัตมโนทัศน์ในทางบวก อัตมโนทัศน์ในทางลบ

39 ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการพัฒนา
อัตมโนทัศน์ การมรปฏิสัมพันธ์กับผู้อื่น การเปรียบเทียบตนเองกับผู้อื่น การรับรู้ข้อมูลย้อนกลับจากผู้อื่น การสังเกตความรู้สึก ความคิด และพฤติกรรมของตนเอง

40 การเปลี่ยนแปลงอัตมโนทัศน์
อัตมโนทัศน์พัฒนาไปได้เรื่อยๆไม่มีขอบเขตและเวลา สิ่งสำคัญในการพัฒนาอัตมโนทัศน์คือพันธุกรรมในเรื่องของสติปัญญา ทั้งนี้ สภาพแวดล้อม สังคมที่อยู่อาศัย การเรียนรู้ รวมไปถึง อุดมคติ ความคิด ความรู้สึกของบุคคลนั้น การเปลี่ยนแปลงอัตมโนทัศน์ การพัฒนาอัตมโนทัศน์ในเชิงบวก บุคคลสามารถปรับปรุงอัตมโนทัศน์ได้เสมอ แต่การปรับปรุงนั้นควรจะเป็นไปในทางบวก โดย การยอมรับความล้มเหลว นำความผิดพลาดเหล่านั้นมาใช้เป็นประสบการณ์ในการเรียนรู้เพื่อพัฒนาไปสู่ความสำเร็จ การควบคุมความคิดและพฤติกรรมในเชิงลบของตนเอง รวมถึงการนำหลักคำสอนทางศาสนาเข้ามาขัดเกลาจิตใจและการกระทำ

41 http://competency. rmutp. ac

42

43 ทฤษฎีวิเคราะห์ความสัมพันธ์(Transactional Analysis)
อีริค เบิร์น (Eric Berne)

44 ภาวะตัวตนแบบผู้ใหญ่(Adult Ego State)
สภาวะที่เป็นพ่อแม่(Parent Ego State) ภาวะตัวตนแบบผู้ใหญ่(Adult Ego State) สภาวะที่เป็นเด็ก(Child Ego State)

45 การเห็นคุณค่าในตนเอง (Self-Esteem)
การเห็นคุณค่าในตนเอง หมายถึง การประเมินตนเองตามความรู้สึกของตน ว่าตนเองเป็นคนที่มีคุณค่า มีความสามารถ มีความสำคัญ มีการประสบผลสำเร็จในการทำงาน รวมทั้งการยอมรับ การเห็นคุณค่าจากคนในสังคมที่มีต่อตน ตลอดจนการมีเจตคติที่ดีต่อตนเอง มีความเชื่อมั่นในตนเอง ซึ่งบุคคลที่เห็นคุณค่าในตนเอง มองตนเองในแง่ดี ก็จะทำให้เกิดความรู้สึกกับบุคคลอื่นในแง่ดีด้วย

46 ความสำคัญของการเห็นคุณค่าในตนเอง
การเห็นคุณค่าในตนเองมีความสำคัญอย่างยิ่งในการปรับตัวทางอารมณ์ สังคม และการเรียนรู้สำหรับเด็ก เพราะเห็นพื้นฐานของการมองชีวิต ความสามารถทางด้านสังคมและอารมณ์ เกิดจากการเห็นคุณค่าในตนเอง บุคคลที่เห็นคุณค่าในตนเองสูงจะสามารถเผชิญกับอุปสรรคที่ผ่านเข้ามาในชีวิตได้ สามารถยอมรับเหตุการณ์ที่ทำให้ตนเองรู้สึกผิดหวัง ท้อแท้ใจ ความเชื่อมั่นในตนเอง มีความหวังและมีความกล้าหาญ จะทำให้เป็นคนที่ประสบผลสำเร็จ มีความสุข สามารถดำรงชีวิตได้อย่างมีความสุขตามที่ตนปรารถนา ดังนั้น ความรู้สึกเห็นคุณค่าในตนเองที่แตกต่างกันจึงมีผลต่อความ รู้สึก หรือพฤติกรรมที่แตกต่างกันของแต่ละบุคคล

47 5 วิธีพัฒนา ‘การมองเห็นคุณค่าในตัวเอง’
เมื่อเรา ‘เห็นคุณค่าในตัวเอง’ ได้แล้ว คุณก็จะมีความสามารถในการรับมือหรือทำอะไรหลายๆอย่างได้ดีขึ้นมากๆจนคุณอาจะไม่รู้ตัวเลยด้วยซ้ำ มาดู 5 ขั้นตอนเพื่อทำให้เรามองเห็นคุณค่าในตัวเอง

48 1. มองและเข้าใจในตัวเองในแง่ดีบ้าง
หลายๆคนนั้นมักจะโทษและดูถูกตัวเองอยู่เสมอๆทั้งๆที่มันก็ไม่ได้แย่ขนาดนั้น เลิกเป็นศัตรูกับตัวคุณเอง ลองลุกขึ้นไปยืนบนหน้ากระจกแล้วพูดประโยคในแง่ดีให้ตัวเองได้ฟังเช่น “ฉันคือคนที่เก่งและจะสามารถผ่านปัญหาต่างๆไปได้ด้วยตัวเอง” อาจจะดูเขินๆแต่ลองเถอะครับ แล้วคุณจะอึ้งกับผลที่เกิดขึ้น

49 2. เรียนรู้ว่าตัวเองนั้นเก่งหรือถนัดในเรื่องไหน
หลายๆคนมักไม่ใส่ใจในสิ่งที่ตัวเองถนัดและหันไปมองสิ่งที่คนอื่นให้ความสนใจ มากกว่านั้นยังเอาตัวเองไปเปรียบเทียบกับคนอื่นจนทำให้ความสามารถที่แท้จริงถูกกลบไว้ เปลี่ยนมันเถอะ นั่งคุยและคิดกับตัวเอง เรียนรู้ว่าเราชอบหรือถนัดอะไร จากนั้นก็แสดงมันออกมา บอกให้คนรอบข้างได้รับรู้ ไม่ต้องอาย

50 3. จงภูมิใจในชัยชนะทุกครั้งแม้มันจะเล็กหรือใหญ่ก็ตาม
เรานั้นต่างก็เคยเห็นชัยชนะและความสำเร็จที่ยิ่งใหญ่ของคนอื่นมาแล้วทั้งนั้น อย่าเอามาเปรียบเทียบกับตัวเอง เพราะเราไม่ใช่คนๆนั้น ถึงจะไม่ได้มีโอกาสที่ใหญ่โตแบบนั้นแต่เราก็สามารถมีชัยชนะในชีวิตของเราได้ จงมองและเฉลิมฉลองให้กับมัน แล้วคุณก็จะเห็นคุณค่าในทุกๆสิ่งที่คุณทำ

51 4. ชื่นชมและเห็นคุณค่าตัวเองแบบไม่ต้องสนใจอะไร
หลายๆคนนั้นมักจะตั้งเงื่อนไขให้กับตัวเองเสมอว่า “ฉันจะมีคุณค่าก็ต่อเมื่อ…” นั่นคือการทำดีหวังผลแบบอ้อมๆ ลองคิดและจินตนาการว่าอะไรคือสิ่งที่เราทำให้คนอื่นหรือสังคมได้บ้างถึงมันจะเล็กน้อยแต่มันก็คือคุณค่าที่เรามีและสร้างมันขึ้นมาแล้ว

52 5. ยอมรับทุกคำชื่นชม กี่ครั้งแล้วที่คุณชื่นชมคนอื่นและได้คำตอบกลับมาว่า “ไม่เป็นไรครับ” ถึงแม้ว่ามันจะเป็นการพูดเพื่อแก้เขินหรือเป็นมารยาทแต่นี่จะเป็นสิ่งที่ทำให้จิตใจคุณค่อยๆด้านชาต่อคำชมอย่างไม่รู้ตัว สิ่งที่จะบอกคือคุณต้องรู้สึกกับมันแม้ว่าปากคุณจะตอบไปว่าไม่เป็นไร แต่จงใช้ใจรับมันไว้ แล้วคุณค่าของคุณมันจะเบ่งบานโดยไม่รู้ตัว

53 บุคคลที่เห็นคุณค่าของตนเองในระดับสูง
-มีความมั่นคงทางจิตใจ -สามารถบริหารจัดการอารมณ์ได้ดี -สามารถจัดการกับปัญหาและอุปสรรคต่างๆได้ -มีความตระหนักรู้ในทางเลือก มีเหตุผล -มีทักษะในการเข้าสังคม -มีชีวิตอยู่กับปัจจุบัน มีอนาคต

54 บุคคลที่เห็นคุณค่าของตนเองในระดับต่ำ
-ไม่มีความมั่นคงทางจิตใจ -สุขภาพจิตไม่ดี มีความวิตกกังวลสูง -หลีกเลี่ยงการเผชิญกับปัญหา -ไม่แน่ใจในความคิดของตนเอง -ขาดทักษะทางสังคมมักหลีกเลี่ยงการคบหาสมาคมกับผู้อื่น -หมกมุ่นอยู่กับเหตุการณ์ในอดีต

55 คุณค่าของการรู้จักตนเอง
การรู้จักตนเองเป็นสิ่งที่ทุกคนควรตระหนักรู้เป็นอย่างยิ่ง เพราะการรู้จักตนเองนับเป็นพื้นฐานที่สำคัญที่ควรเรียนรู้เป็นอันดับแรกของชีวิต

56 คุณค่าของการรู้จักตนเอง นำไปสู่
คุณค่าของการรู้จักตนเอง นำไปสู่ การมีเป้าหมายชัดเจนในการดำเนินชีวิต การรู้จักชีวิตเฉพาะที่ตัวตนถนัด จุดอ่อนในชีวิตได้รับการแก้ไขอย่างทันท่วงที การพัฒนาทักษะการแก้ปัญหาที่เกิดขึ้นในชีวิตอย่างมี ประสิทธิภาพ การค้นพบความสุขที่แท้จริงในสิ่งที่ตนเลือกทำ นำไปสู่การเรียนรู้จักและเข้าใจผู้อื่นได้มากยิ่งขึ้น

57 แนวทางในการส่งเสริมการรู้จักตนเอง
ฐานะทางเศรษฐกิจ บุคลิกลักษณะ ความสามารถทั่วไปและความสามารถพิเศษ ค่านิยมที่ยึดถือ ความสนใจ สุขภาพร่างกายและจิตใจ

58 พยายามค้นพบตนเอง แนวทางในการศึกษาเพื่อพัฒนาตนเอง
ยอมรับในสิ่งที่ตนเองเป็น แก้ไขข้อบกพร่องและพัฒนาจุดอ่อน

59 เปิดโอกาสที่หลากหลายให้ตนเอง
มีอิสระทางความคิดและการตัดสินใจ หากระจกสะท้อนภาพตนเอง ฝึกการคิดวิเคราะห์ตนเอง รับฟังคำสอนและเตือนสติจากผู้อื่น การฝึกทักษะการรู้จักตนเอง

60 20 ข้อช่วยให้มีความสุขทุกวัน

61 4. ตรวจสอบตารางเวลางานของวัน ว่าต้องทำอะไรบ้าง
1.ตื่นก่อนเวลาสัก 30 นาทีในแต่ละวัน เพื่อรับอากาศที่สดชื่น และหลีกเลี่ยงการเร่งรีบ และรถติด 2.หลังจากลืมตาตื่นขึ้นมาแล้ว ให้บอกกับตัวเองว่าวันนี้จะเป็นวันที่ดีอีก 1 วันของเรา 3.ขณะนั่งอยู่ที่เตียงหลังตื่นนอน ให้คิดถึงอนาคต คิดถึงเป้าหมายระยะยาวที่วางไว้ และบอกกับตัวเองว่า วันนี้จะเป็นอีกวันที่จะขยับเข้าไปใกล้เป้าหมายที่ฝันเอาไว้ 4. ตรวจสอบตารางเวลางานของวัน ว่าต้องทำอะไรบ้าง 5.ทานอาหารเช้าแสนอร่อย เพราะมื้อเช้าเป็นมื้อสำคัญ 6.ก่อนออกจากบ้านให้เช็คตัวเองที่หน้ากระจก และบอกตัวเองว่าใครดูดีเลิศในปฐพี

62 7. ยิ้มให้กับทุกคนที่เราพบเจอ 8
7.ยิ้มให้กับทุกคนที่เราพบเจอ 8.ช่วยเหลือคนอื่นอย่างน้อย 3 คน/วัน โดยที่ไม่หวังผลตอบแทน 9.ให้รางวัลแก่คนรอบ ๆ ข้าง เมื่อพวกเขาทำผลงานที่ยอดเยี่ยม 10.โฟกัส และมีสมาธิกับสิ่งที่ต้องทำทีละอย่าง 11.เลิกงานให้ตรงเวลา เพราะมันถึงเวลาของตัวเอง และคนใกล้ชิดแล้ว 12.เมื่อเลิกงาน ควรทำตัวให้ผ่อนคลาย หมดเวลาแห่งการเร่งรีบแล้ว 13.ฟังเพลง และอ่านหนังสือที่คุณชอบ 14.ให้เวลากับตัวเอง นั่งตรึกตรองว่าวันนี้เราทำอะไรได้ดี และอะไรที่ต้องปรับปรุง 15.เตรียมตัวสำหรับ ตารางเวลาของวันพรุ่งนี้ว่าจะต้องทำอะไรบ้าง ?

63 16.จัดเตรียมสิ่งที่ต้องใช้ในวันพรุ่งนี้เพื่อหลีกเลี่ยงความเร่งรีบในเช้าวันรุ่งขึ้น 17. ใช้เวลาเพลิดเพลินไปกับช่วงเวลาดี ๆ เช่นเล่านิทานก่อนนอนให้ลูกรัก พูดคุย ใช้เวลากับคนที่คุณรัก 18.กอด และกล่าวกู๊ดไนท์ ราตรีสวัสดิ์ คนที่คุณรักก่อนนอน 19.นอนนับเหตุการณ์ดีๆ ที่เกิดขึ้นของวันนี้ที่กำลังจะผ่านไป 20.นอนโดยไม่ต้องคิด ไม่ต้องกังวลว่าพรุ่งนี้จะเป็นอย่างไร พักผ่อนให้เต็มที่

64 สาขาการออกแบบเครื่องแต่งกาย คณะศิลปกรรมศาสตร์
อาจารย์เตชิต เฉยพ่วง สาขาการออกแบบเครื่องแต่งกาย คณะศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา


ดาวน์โหลด ppt WEEK 6-7 รู้จัก เข้าใจ ในตนเอง http://www.seolotus.com.

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


Ads by Google