งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

วิชาหลักนิเทศศาสตร์ Communication Arts

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


งานนำเสนอเรื่อง: "วิชาหลักนิเทศศาสตร์ Communication Arts"— ใบสำเนางานนำเสนอ:

1 วิชาหลักนิเทศศาสตร์ Communication Arts

2 คำอธิบายรายวิชา ศึกษาแนวคิดและทฤษฏีต่างๆ เกี่ยวกับการสื่อสารในสังคม วิเคราะห์กระบวนการการสื่อสารระดับต่างๆ ในเชิงพฤติกรรมศาสตร์ รวมทั้งการสื่อสารภายในบุคคล การสื่อสารระหว่างบุคคล และการสื่อสารมวลชน ตลอดจนบทบาทอิทธิพลของการสื่อสารที่มีผลต่อการพัฒนาสังคม

3 หนังสือประกอบการเรียนการสอน
1.ตำราหลัก ขนิษฐา ปาลโมกข์, หลักนิเทศศาสตร์, สถาบันราชภัฏสวนดุสิต, 2543 2.หนังสืออ้างอิง ปรมะ สตะเวทิน, หลักนิเทศศาสตร์, คณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2533 พัชนี เชยจรรยาและคณะ, แนวคิดหลักนิเทศศาสตร์, คณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2534

4 หนังสือประกอบการเรียนการสอน
กาญจนา แก้วเทพ, ทฤษฏีการสื่อสารมวลชน, คณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2541 ดรุณี หิรัญรักษ์, การสื่อสารมวลชนเบื้องต้น, คณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2543

5 บทที่ 1 ความรู้พื้นฐานของการสื่อสาร

6 นิเทศศาสตร์ เป็นวิชาที่ว่าด้วยการสื่อสารของมนุษย์ในทุกรูปแบบ ทั้งการสื่อสารภายในบุคคล การสื่อสารระหว่างบุคคล การสื่อสารในกลุ่ม การสื่อสารในองค์การ การสื่อสารทางวัฒนธรรม การสื่อสารระหว่างประเทศ และการสื่อสารมวลชน นิเทศศาสตร์เป็นสหสาขาวิชาที่ครอบคลุมถึงอาชีพต่างๆ เช่น อาชีพทางด้านวิทยุ โทรทัศน์ หนังสือพิมพ์ ภาพยนตร์ การโฆษณา การประชาสัมพันธ์ การแสดง การพูด และการเผยแพร่ข่าวสาร เป็นต้น

7 ความหมายของการสื่อสาร
การสื่อสาร คือ กระบวนการของการถ่ายทอดข่าวสารจากบุคคลฝ่ายหนึ่ง ซึ่งเรียกว่า ผู้ส่งสารไปยังบุคคลอีกฝ่ายหนึ่ง ซึ่งเรียกว่า ผู้รับสารโดยผ่านสื่อต่างๆ Communication

8 นักทฤษฎีให้ความหมายการสื่อสาร..........
อริสโตเติล (Aristotle) การสื่อสาร คือ การแสวงหาวิธีการชักจูงใจที่มีอยู่ทุกรูปแบบ วิลเบอร์ ชแรมม์ (Wilbur Schramm) การสื่อสาร คือ การมีความเข้าใจร่วมกันต่อเครื่องหมายที่แสดงข่าวสาร เอ็ดเวิร์ด สะเพียร์ (Edward Sapir) การสื่อสาร คือ การตีความโดยสัญชาตญาณต่อท่าทางที่แสดงเป็นสัญลักษณ์โดยไม่รู้ตัว ต่อความคิดและต่อพฤติกรรมของวัฒนธรรมของบุคคล

9 วอเรน ดับเบิลยู วีเวอร์ (Werren W.weawer)
การสื่อสาร คือ กระบวนการทุกอย่างที่จิตใจของคนๆ หนึ่ง อาจมีผลต่อจิตใจของคนอีกคนหนึ่ง การสื่อสารจึงไม่หมายความแต่เพียงการเขียนและการพูดเท่านั้น หากแต่รวมไปถึง ดนตรี ภาพ การแสดง และพฤติกรรมทุกอย่างของมนุษย์อีกด้วย จอร์ช เกริบเนอร์ (George Gerbner) การสื่อสาร คือ การแสดงกิริยาสัมพันธ์ทางสังคม โดยใช้สัญลักษณ์และระบบสาร

10 คาร์ล โอ โฮฟแลนด์ (Carl I.Hovland) และคณะ
การสื่อสาร คือ กระบวนการที่บุคคลหนึ่งส่งสิ่งเร้าเพื่อเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมของบุคคลอื่นๆ โคริน เชอรี่ (Colin Cherry) การสื่อสาร คือ การกระทำซึ่งเครื่องหมายอันแรกก่อให้เกิดเครื่องหมายอันที่สอง ซึ่งขึ้นอยู่กับผู้รับสิ่งเร้าเป็นรายๆ ไปว่าจะมีปฏิกิริยาตอบอย่างไร ตามลักษณะนิสัยของเขา ซึ่งได้มาจากประสบการณ์การสื่อสารในอดีต

11 แอบเน่ เอ็ม ไอเซ็นเบร์กและเทรี คาว แกมเบิล
(Abne M.Eisenberg and Teri Kwai) การสื่อสาร คือ กระบวนการในการรับรู้ร่วมกันในเรื่องของความคิด ความรู้สึก และความรู้ ชาร์ล อี ออสกูด (Charles E.Osgood) การสื่อสาร คือ ผู้ส่งสารมีอิทธิพลต่อผู้รับสาร โดยใช้สัญญาณต่างๆ ซึ่งถูกส่งผ่านสื่อที่เชื่อมระหว่างสองฝ่าย

12 เอเวอเรท เอ็ม โรเจอร์ และ เอฟ ฟลอยด์ ชุเมคเกอร์ (Everett M
เอเวอเรท เอ็ม โรเจอร์ และ เอฟ ฟลอยด์ ชุเมคเกอร์ (Everett M. Rogers and F.Floyd Shoemaker) การสื่อสาร คือ กระบวนการซึ่งสารถูกส่งจากผู้ส่งสารไปยังผู้รับสาร

13 องค์ประกอบของการสื่อสาร
S M C R สื่อ Channel Media ผู้รับสาร Receiver Audience ผู้ส่งสาร Source Sender ข่าวสาร Message

14 วัตถุประสงค์ของการสื่อสาร 1.วัตถุประสงค์ที่แสดงความต้องการ
วัตถุประสงค์ผู้ส่งสาร วัตถุประสงค์ผู้รับสาร เพื่อแจ้งให้ทราบ อธิบาย บรรยาย เล่า(To Inform) เพื่อสอนหรือให้การศึกษา (To Teach or To Education) เพื่อสร้างความพอใจหรือให้ความบันเทิง (To Entertain) เพื่อเสนอหรือชักจูงใจ (To Persuade) เพื่อทราบ เข้าใจ ได้ข้อมูล(Understand) เพื่อศึกษา (Learn) เพื่อหาความพอใจ สนุกสนาน รื่นเริง คลายเครียด (Enjoy) เพื่อกระทำหรือตัดสินใจ เปลี่ยนทัศนคติ ความเชื่อ ค่านิยม (Dispose or Decide)

15 วัตถุประสงค์ของการสื่อสาร 2.วัตถุประสงค์ที่แสดงผล
วัตถุประสงค์ที่แสดงผลออกเป็น 2 ประเภท 2.1 วัตถุประสงค์ที่เกิดผลทันที (Consummatory Purpose) คือ วัตถุประสงค์ที่สารประสบผลสำเร็จในการก่อให้เกิดผลต่อผู้รับสารตามที่ผู้ส่งสารต้องการ 2.2วัตถุประสงค์ที่ใช้เป็นเครื่องมือ (Instrumental Purpose) คือ วัตถุประสงค์ที่ไม่หวังให้สารก่อให้เกิดผลทันที หากแต่สารถูกใช้เป็นเครื่องมือเพื่อนำไปสู่การกระทำอย่างอื่นต่อไป

16 ประเภทของการสื่อสาร เกณฑ์ที่ใช้ในการพิจารณาประเภทของการสื่อสารมีอยู่ 5 เกณฑ์ 1. การจำแนกประเภทของการสื่อสารโดยใช้จำนวนผู้ทำการสื่อสารเป็นเกณฑ์ แบ่งได้ 5 ประเภทดังนี้ 1.1 การสื่อสารภายในบุคคล (Intrapersonal Communication) บุคคลคนเดียวทำหน้าที่เป็นทั้งผู้ส่งสารและผู้รับสาร เช่น การพูดคุยกับตัวเอง การร้องเพลงฟังคนเดียว การเขียนจดหมายแล้วอ่านตรวจทานก่อนส่ง การคิดถึงงานที่ทำ เป็นต้น 1.2 การสื่อสารระหว่างบุคคล (Interpersonal Communication) การสื่อสารที่ประกอบด้วยบุคคลตั้งแต่ 2 คนขึ้นไป ลักษณะตัวต่อตัว (Person to Person) ติดต่อแลกเปลี่ยนสารกันได้โดยตรง (Direct) เช่น การสนทนา การโทรศัพท์ การเขียนจดหมาย หรือเป็นกลุ่มย่อยก็ได้ (Small Group) เช่นในชั้นเรียน การประชุมกลุ่มย่อย

17 1. ประเภทของการสื่อสารโดยใช้จำนวนผู้ทำการสื่อสารเป็นเกณฑ์ แบ่งได้ 5 ประเภทดังนี้
1.3 การสื่อสารกลุ่มใหญ่ (Large Group Communication) เป็นการสื่อสารระหว่างคนจำนวนมาก รวมกันอยู่ที่เดียวกัน เช่น การอภิปรายในหอประชุม การพูดหาเสียง การสอนในระบบ VDO Conference ผู้ส่งและผู้รับสารมีโอกาสแลกเปลี่ยนข่าวสารกันน้อย ขาดลักษณะการสื่อสารแบบตัวต่อตัว 1.4 การสื่อสารในองค์กร (Organization Communication) เป็นการสื่อสารระหว่างผู้เป็นสมาชิกขององค์กรหรือหน่วยงาน เพื่อปฏิบัติภารกิจของหน่วยงานให้บรรลุเป้าหมาย

18 1. ประเภทของการสื่อสารโดยใช้จำนวนผู้ทำการสื่อสารเป็นเกณฑ์ แบ่งได้ 5 ประเภทดังนี้
1.5 การสื่อสารมวลชน (Mass Communication) เป็นการสื่อสารที่เกี่ยวข้องกับคนจำนวนมากในขณะเดียวกันพร้อมๆ กัน โดยที่สมาชิกของมวลชนแต่ละคนอยู่ในที่ต่างๆ กัน ต้องอาศัยสื่อที่เข้าถึงประชาชนจำนวนมาก ในเวลาอันรวดเร็ว คือ สื่อมวลชน (Mass Media) ได้แก่ หนังสือพิมพ์ นิตยสาร วารสารโทรทัศน์ วิทยุ อินเทอร์เน็ตภาพยนตร์ ฯลฯ

19 2. การจำแนกประเภทการสื่อสารโดยใช้ภาษาเป็นเกณฑ์
2.1 การสื่อสารเชิงวัจนะ (Verbal Communication) การสื่อสารโดยใช้ภาษาพูด เขียนเป็นสัญลักษณ์ในการสื่อสาร 2.2 การสื่อสารเชิงอวัจนะ (Nonverbal Communication) การสื่อสารโดยใช้รหัสหรือสัญลักษณ์อย่างอื่นในการสื่อสารแทนภาษาพูด ภาษาเขียน เช่น การยิ้ม การแสดงอากัปกิริยา Edward T.Hall แบ่งได้ 6 ประเภท

20 3. การจำแนกประเภทการสื่อสารโดยใช้การเห็นหน้าค่าตากันเป็นเกณฑ์ แบ่งได้ 2 ประเภท
3.1 การสื่อสารเฉพาะหน้า (Face to face Communication) เป็นการสื่อสารที่ผู้ส่งสารและผู้รับสารเห็นหน้ากัน เป็นลักษณะการสื่อสารแบบสองทาง (Two way Communication) 3.2 การสื่อสารแบบมีสิ่งสกัดกั้น (Interposed Communication) เป็นการสื่อสารที่ผู้ส่งสารและผู้รับสารไม่สามารถเห็นหน้าค่าตากัน ต้องมีสื่อเป็นตัวกลาง เช่น สื่อมวลชน สื่อโทรคมนาคม การเขียนจดหมาย ส่งโทรเลข โทรศัพท์ ฯลฯ

21 4. การจำแนกประเภทการสื่อสารโดยใช้ความแตกต่างระหว่างผู้ส่งสารกับผู้รับสารเป็นเกณฑ์
4.2 การสื่อสารระหว่างวัฒนธรรม (Intercultuaral Communication) คนที่อยู่ในประเทศเดียวกันแต่วัฒนธรรมกัน เช่น วัฒนธรรมภาคเหนือ ภาคกลาง ภาคใต้ ภาคอีสาน หรือการสื่อสารระหว่างคนไทยกับคนอเมริกัน คนอาหรับ ฯลฯ 4.1 การสื่อสารระหว่างเชื้อชาติ (Interacial Communication) คนที่อยู่ในประเทศเดียวกันแต่มีหลายเชื้อชาติ เช่น ในสหรัฐอเมริกามีทั้งคนผิวขาว ผิวดำ คนจีน เม็กซิกัน อิตาลี ยิว ฯลฯ มีปัญหาสังคมเนื่องจากความแตกต่างในเชื้อชาติ ปัญหาชนกลุ่มน้อย

22 4. การจำแนกประเภทการสื่อสารโดยใช้ความแตกต่างระหว่างผู้ส่งสารกับผู้รับสารเป็นเกณฑ์
4.3 การสื่อสารระหว่างประเทศ (International Communication) เป็นการสื่อสารระดับชาติ ระหว่างคนที่เป็นประชาชนของประเทศต่างกัน การสื่อสารมีลักษณะเป็นทางการ ผู้ทำการสื่อสารทำหน้าที่เป็นตัวแทนของประเทศ มีพันธะและความรับผิดชอบต่อชื่อเสียง ความสัมพันธ์และผลประโยชน์ของชาติ เช่น นักการฑูต ตัวแทนของรัฐบาล ฯลฯ

23 5. การจำแนกประเภทการสื่อสารโดยใช้ลักษณะของเนื้อหาวิชาเป็นเกณฑ์
5.1 ระบบข่าวสาร (Information System) 5.2 การสื่อสารระหว่างบุคคล (InterpersonalCommunication) 5.3 การสื่อสารมวลชน (Mass Communication) 5.4 การสื่อสารในองค์กร (Organizational Communication) 5.5 การสื่อสารระหว่างวัฒนธรรม (InterculturalCommunication) 5.6 การสื่อสารทางการเมือง (Political Communication) ศึกษาถึงปัจจัยต่างๆ ของกระบวนการสื่อสาร คือ ผู้ส่งสาร สาร สื่อ และผู้รับสารที่มีอิทธิพลต่อทัศนคติ ค่านิยม และพฤติกรรมทางการเมือง การเผยแพร่ข่าวสารทางการเมือง ตลอดจนจรรยาบรรณในการหาเสียงทางการเมือง

24 5. การจำแนกประเภทการสื่อสารโดยใช้ลักษณะของเนื้อหาวิชาเป็นเกณฑ์
5.8 การสื่อสารสาธารณะสุข (Health Communication) สาขาวิชานี้เกี่ยวข้องกับพฤติกรรมการสื่อสารที่เกี่ยงข้องกับสุขภาพ ทัศนคติและนโยบายด้านสุขภาพ การวิจัยด้านการสื่อสารสาธารณสุข การแก้ปัญหาระบบสาธารณสุขด้วยการสื่อสาร การให้ความรู้ด้านสาธารณสุขแก่ชุมชน 5.7 การสื่อสารการสอน (Instructional Communication) สาขาวิชานี้เกี่ยวข้องกับทฤษฏี และการวิจัยที่เกี่ยวกับการสื่อสารระหว่างผู้สอนกับผู้เรียน ระบบการสอน เทคโนโลยีทางการสอน การประเมินวิธีการสอน และการวางแผนและกำหนดวัตถุประสงค์การสอน

25 ความสำคัญของการสื่อสาร
อาหาร ที่อยู่อาศัย เครื่องนุ่งห่ม ยารักษาโรค การอยู่ร่วมกับผู้อื่น ความรัก การยกย่อง ความสำเร็จ

26 ความสำคัญของการสื่อสาร ..(ต่อ)..
การสื่อสารมีความสำคัญหลักๆ ต่อมนุษย์ 5 ประการ คือ ความสำคัญต่อความเป็นสังคม ความสำคัญต่อชีวิตประจำวัน ความสำคัญต่ออุตสาหกรรมและธุรกิจ ความสำคัญต่อการปกครอง ความสำคัญต่อการเมืองระหว่างประเทศ

27 ความสำคัญของการสื่อสาร ..(ต่อ)..
ความสำคัญต่อความเป็นสังคม การรวมตัวของมนุษย์อาศัยการสื่อสารเป็นพื้นฐาน ใช้การสื่อสารเพื่อให้เกิดความเข้าใจต่อกัน ตกลงกัน เพื่อสร้างกฎระเบียบของสังคม เพื่อความสงบสุขของสังคม เป็นเครื่องมือในการรักษาสถาบันต่างๆ กฎเกณฑ์ต่างๆ ของสังคมให้เกิดการยอมรับและปฏิบัติต่อไป ใช้เปลี่ยนแปลงทัศนคติ พฤติกรรม

28 ความสำคัญของการสื่อสาร ..(ต่อ)..
ความสำคัญต่อความเป็นสังคม (ต่อ) การสื่อสารเปรียบเหมือนสายใยของสังคมที่ประสานหน่วยย่อยๆ ของสังคมให้รวมเข้าไว้ด้วยกัน แม้สังคมจะเปลี่ยนแปลง แต่การสื่อสารยังคงสำคัญ สิ่งที่เปลี่ยนแปลงและพัฒนา คือ เครื่องมือและโครงสร้างของการสื่อสาร ซึ่งเป็นการเปลี่ยนแปลงเพื่อขยายบทบาทของการสื่อสารให้สอดคล้องกับสภาพความเป็นจริงของสังคมแต่ละสมัย

29 ความสำคัญของการสื่อสาร ..(ต่อ)..
2. ความสำคัญต่อชีวิตประจำวัน เริ่มตั้งแต่การตื่นนอน การคิดภายในใจตนเอง การสนทนากับบุคคลในครอบครัว เพื่อน สถานที่ทำงาน สถานศึกษา การจับจ่ายใช้สอย

30 ความสำคัญของการสื่อสาร (ต่อ)
3. ความสำคัญต่ออุตสาหกรรมและธุรกิจ การสร้างความสัมพันธ์ของบุคลากรทุกฝ่ายในองค์กรตั้งแต่ระดับผู้จัดการ หัวหน้างาน พนักงาน ผู้บริโภค การประชาสัมพันธ์ (Public Relations) เป็นเครื่องมือในการเผยแพร่ข่าวสารเพื่อลดปัญหาขัดแย้งและสร้างความเข้าใจที่ถูกต้องให้เกิดขึ้น รวมทั้งตรวจสอบประชามติหรือความคิดเห็นของประชาชนกลุ่มต่างๆ การโฆษณา (Advertising) เป็นเครื่องมือในการเผยแพร่ข่าวสารเกี่ยวกับสินค้าและชักจูงใจให้ประชาชนซื้อสินค้า

31 ความสำคัญของการสื่อสาร (ต่อ)
4. ความสำคัญต่อการปกครอง รัฐบาลหรือผู้ปกครองต้องเผยแพร่ข่าวสารต่างๆ ให้ผู้ถูกปกครองหรือประชาชนรู้ตลอดเวลา เพื่อสร้างความเข้าใจอันดีต่อกัน อันจะนำมาซึ่งความร่วมมือและความเป็นระเบียบของสังคม และเป็นเครื่องมือของรัฐบาลในการตรวจสอบประชามติ วัดความรู้สึกนึกคิดของประชาชนที่มีต่อรัฐ รัฐบาลต้องจัดตั้งหน่วยงานทางด้านการสื่อสารขึ้นเพื่อทำหน้าที่เผยแพร่ข่าวสารและสำรวจประชามติ

32 ความสำคัญของการสื่อสาร (ต่อ)
5. ความสำคัญต่อการเมืองระหว่างประเทศ เทคโนโลยีการสื่อสารทำให้ประเทศต่างๆ สามารถติดต่อแลกเปลี่ยนข่าวสาร ตลอดจนความรู้สึกนึกคิดต่อกันได้สะดวกและรวดเร็วขึ้น การหาความสนับสนุนทางด้านการเมือง การส่งเสริมความเข้าใจอันดีต่อกันของประชาชนในแต่ละประเทศ ลดปัญหาความขัดแย้งระหว่างประเทศ เพื่อเผยแพร่ข่าวสารเกี่ยวกับประเทศของตน, เพื่อสร้างความเข้าใจอันดีกับประเทศอื่น, เพื่อชักจูงให้ได้รับความสนับสนุนจากประเทศอื่น


ดาวน์โหลด ppt วิชาหลักนิเทศศาสตร์ Communication Arts

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


Ads by Google