งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

ติว O-Net วิชาดนตรีสากล

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


งานนำเสนอเรื่อง: "ติว O-Net วิชาดนตรีสากล"— ใบสำเนางานนำเสนอ:

1 ติว O-Net วิชาดนตรีสากล
ครูวรจน์ มหัทธนะโชค

2 ขอบข่ายการเรียนรู้ ประเภทของเครื่องดนตรีไทย/สากล
ประเภทของวงดนตรีไทย/สากล องค์ประกอบดนตรีไทย/สากล ยุคสมัยของดนตรีไทย/สากล ประเภทของบทเพลงไทย/สากล

3 ประเภทเครื่องดนตรีไทย
เครื่องดนตรีไทยแบ่งออกเป็น 4 ประเภท ดังนี้ 1. เครื่องดีด 2. เครื่องสี 3. เครื่องตี แบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ เครื่องดนตรีที่ใช้ตีประกอบจังหวะ เครื่องดนตรีที่ใช้ดำเนินทำนอง 4. เครื่องเป่า

4 1. เครื่องดนตรีประเภทดีด

5 2. เครื่องดนตรีประเภทสี
ซอด้วง ซอสามสาย ซออู้

6 3. เครื่องดนตรีประเภทตี
3.1 เครื่องดนตรีที่ใช้ตีประกอบจังหวะ เช่น ฉิ่ง ฉาบ กรับ โหม่ง กลองต่างๆ ฉาบ ฉิ่ง ฉาบเล็ก ฉาบใหญ่ กรับคู่

7 กรับพวง ตะโพนมอญ เปิงมางคอก โหม่ง โทนรำมะนา

8 กลองแขก กลองมลายู กลองชาตรี กลองตะโพน กลองทัด

9 3.2เครื่องดนตรีที่ใช้ดำเนินทำนอง เช่น ระนาดเอก ระนาดทุ้ม ระนาดเอกเหล็ก ระนาดทุ้มเหล็ก ฆ้องวงใหญ่ ฆ้องวงเล็ก ฆ้องมอญ ระนาดเอก ระนาดทุ้ม ระนาดเอกเหล็ก ฆ้องวงเล็ก

10 ฆ้องวงใหญ่ ฆ้องมอญ

11 4. เครื่องดนตรีประเภทเป่า
ปี่นอก ขลุ่ยอู้

12 ประเภทของเครื่องดนตรีสากล

13 ประเภทของเครื่องดนตรีสากล
แบ่งออกเป็น 5 ประเภท ได้แก่ 1. เครื่องสาย (String Instruments) 2. เครื่องลมไม้ (WOODWIND INSTRUMENT) 3. เครื่องลมทองเหลือง (BRASS INSTRUMENT) 4. เครื่องประกอบจังหวะ (PERCUSSION INSTRUMENT) 5. เครื่องลิ่มนิ้ว (KEYBOARD INSTRUMENT)

14 1. เครื่องสาย (String Instruments)
เครื่องดนตรีประเภทนี้ยังสามารถแบ่งออกเป็น 2 ประเภท ตามลักษณะของการนำไปใช้ ได้แก่ 1.เครื่องสายใช้คันสี ได้แก่ ไวโอลิน วิโอลา เชลโล ดับเบิลเบส 2.เครื่องสายที่ใช้ดีด ได้แก่ เครื่องดนตรีทาให้เกิดเสียงโดยใช้นิ้วดีดสายหรือ ใช้แผ่นพลาสติกบาง ๆ เรียกว่า ปิ้ก (PICK) ดีดแทนนิ้วก็ได้ ได้แก่ ฮาร์พ และกีต้าร์

15 เครื่องสายประเภทใช้คันสี
ไวโอลิน – วิโอล่า Violin - Viola เชลโล่ Cello ดับเบิลเบส Double bass

16 เครื่องสายประเภทดีด กีตาร์เบส กีตาร์เบสไฟฟ้ Guitar bass Guitar ฮาร์ฟ
Harp

17 2. เครื่องลมไม้ (WOODWIND INSTRUMENT)
เป็นเครื่องดนตรีประเภทเปุา ทำด้วยไม้ ปัจจุบันแม้ เครื่องดนตรีบางชนิดเปลี่ยนไปทาด้วยโลหะ แต่ก็ยังจัดอยู่ใน ประเภทเครื่องลมไม้ แบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ 1.เครื่องดนตรีประเภทขลุ่ย(ไม่มีลิ้น) ได้แก่ เรดคอร์ด เดอร์ ฟลุ๊ต ปิคโคโล 2.เครื่องดนตรีประเภทปี่(มีลิ้น) ได้แก่ โอโบ อิงลิชฮอร์น บาสซูน คลารินเน็ท แซกโซโฟน เป็นต้น

18 เครื่องดนตรีประเภทขลุ่ย
ขลุ่ยฝรั่ง Recorder พิโคโร่ Piccolo ฟลุ๊ต Flute

19 เครื่องดนตรีประเภทปี่

20 เครื่องดนตรีประเภทปี่
แซกโซโฟน อัลโต-เทนเนอร์-บาริโทน-โซปราโน

21 3. เครื่องลมทองเหลือง (BRASS INSTRUMENT)
คือ เครื่องดนตรีที่เราเรียกว่าแตรนั่นเอง ทาให้วง ดุริยางค์มีอำนาจ สง่างามยิ่งขึ้น ทำจากทองเหลือง ได้แก่ ทรัมเปท เฟรนซ์ฮอร์น ทรอมโบน ยูโฟนเนียม ทูบา ซูซาโฟน เป็นต้น

22 เครื่องลมทองเหลือง ยูโฟเนียม Euphonium เฟรนซ์ฮอร์น France horn ทรัมเปต
Trumpet ทรอมโบน Trombone

23 เครื่องลมทองเหลือง ทูบา Tuba ซูซ่าโฟน Sousaphone

24 4.เครื่องประกอบจังหวะ (PERCUSSION INSTRUMENT)
เครื่องดนตรีกลุ่มนี้จะให้เสียงด้วยการที่ทาให้แผ่นหนังที่ขึงตึง หรือโลหะที่เกิด การสั่นสะเทือนด้วยการตี เคาะ เขย่าหรือกระทบกัน ตึง แบ่งออกเป็น 2 ประเภท ได้แก่ เครื่องดนตรีที่มีระดับเสียงแน่นอน (Definite Pitch Instruments) เครื่องดนตรีกลุ่มนี้มีระดับเสียงสูงต่ำเหมือนกับเครื่องดนตรีประเภทอื่น เกิด เสียงโดยการตีกระทบ ส่วนใหญ่ตีกระทบเป็นทำนองเพลงได้ ประเภทเครื่องดนตรีที่มีระดับเสียงไม่แน่นอน (Indefinite Pitch Instruments) เครื่องดนตรีกลุ่มนี้ไม่มีระดับเสียงที่แน่นอน หน้าที่สำคัญคือ ใช้เป็นเครื่องดนตรี ประกอบจังหวะ เกิดเสียงโดยการตี สั่น เขย่า เคาะ หรือขูด

25 เครื่องประกอบจังหวะที่มีระดับเสียงแน่นอน
มาริมบา marimba ไซโลโฟน xylophon ทิมพานี Timpani ระฆังราว Orchestar chimes

26 ประเภทเครื่องประกอบจังหวะที่มีระดับเสียงไม่แน่นอน
กลองใหญ่ Bass drum กลองแต้ก snare ฉาบ cymbel กิ่ง Triangle แทมบูริน Tamburin คาเบล Cabel คาบาซา Kabasa บองโก Bongo

27 ประเภทเครื่องประกอบจังหวะที่มีระดับเสียงไม่แน่นอน
คองก้า Konga กลองชุด Drum set

28 5. เครื่องลิ่มนิ้ว (KEYBOARD INSTRUMENT)
เครื่องดนตรีประเภทนี้จะมีแถวลิ่มนิ้วเป็นอัน ยาว ๆ เรียงกันเป็นแผง ทาหน้าที่เป็นคีย์ เมื่อผู้เล่น ใช้นิ้วกดที่ลิ่มนิ้วเหล่านี้จะเกิดเสียงขึ้น โดยลูก ค้อนที่อยู่ใต้ลิ่มนิ้วจะไปตีที่สายลวดหรือตีที่แท่ง โลหะทาให้เกิดเสียง ได้แก่ ออร์แกน เปียโน ฮาร์พ ซิคอร์ด อิเล็คโทน เป็นต้น

29 เครื่องลิ่มนิ้ว ฮาร์ฟซิคอร์ด เปียโน Harpsichord ออร์แกน piano Organ
แอคคอร์เดียน Accordian อิเล็คโทน คราวิคอร์ด Cravichord

30 แบบทดสอบ ข้อใดเป็นเครื่องดนตรีประเภทเดียวกัน ก ข. ค ง.

31 แบบทดสอบ

32 รูปแบบวงดนตรีไทย

33 รูปแบบดนตรีไทย รูปแบบของวงดนตรีไทยในปัจจุบันมี 3 รูปแบบ ได้แก่
รูปแบบของวงดนตรีไทยในปัจจุบันมี 3 รูปแบบ ได้แก่ 1.วงเครื่องสาย 2.วงปี่พาทย์ 3.วงมโหรี

34 วงเครื่องสาย วงเครื่องสายไทยเป็นวงดนตรีที่เหมาะสำหรับการ บรรเลงในอาคาร ในลักษณะของการขับกล่อมที่เป็น พิธีมงคล เช่น พิธีมงคลสมรสและงานเลี้ยงสังสรรค์ เป็นต้น วงเครื่องสายไทยนี้มักจะเรียกกันสั้นๆ ว่า “วง เครื่องสาย” มีอยู่ ๒ ขนาด คือ วงเครื่องสายเครื่องเดี่ยวและวงเครื่องสายเครื่องคู่

35 วงเครื่องสายเครื่องเดี่ยว
 วงเครื่องสายเครื่องเดี่ยว ประกอบไปด้วยเครื่องดนตรีอย่างละ 1 ชิ้น ได้แก่ เครื่องดำเนินทำนอง 1. ขลุ่ยเพียงออ ๑ เลา 2. จะเข้ ๑ ตัว 3. ซอด้วง ๑ คัน 4. ซออู้ ๑ คัน เครื่องประกอบ และกำกับจังหวะ 1. ฉิ่ง * 2. โทน-รำมะนา * 3. กรับ 4. โหม่ง 5. ฉาบ (เล็ก)

36 วงเครื่องสายเครื่องคู่
ใช้รูปแบบที่ยึดจากวงเครื่องสายเครื่องเดี่ยว โดยเพิ่มเครื่องดนตรีในประเภทเครื่องดำเนินทำนองไปอีกอย่างละ 1 ชิ้น เพื่อให้เป็นคู่กัน เป็นที่มาของคำว่า "เครื่องคู่" รูปแบบของวงเครื่องสายเครื่องคู่จะมีเสียงที่หนักแน่นกว่าเครื่องสายเครื่องเดี่ยว เพราะมีการประสานเสียงกันเองของเครื่องดนตรีที่เป็นชนิดเดียวกัน ทำให้เสียงดังและหนักแน่นขึ้น

37 วงเครื่องสายปี่ชวา วงเครื่องสายปี่ชวา ประกอบด้วยเครื่องดนตรีในวงเครื่องสายไทยเป็นหลัก และ นำเอาปี่ชวามาบรรเลงแทนขลุ่ยเพียงออคงไว้แต่เพียงขลุ่ยหลิบซึ่งมีเสียงสูง และเปลี่ยนมาใช้กลองแขกบรรเลงจังหวะหน้าทับแทน วงเครื่องสายปี่ชวามี ๒ ขนาด คือ วงเครื่องสายปี่ชวาวงเล็กและวงเครื่องสายปี่ชวาวงใหญ่            วงเครื่องสายปี่ชวาเกิดจากวงเครื่องสายประสมกับวงกลองแขก เกิดขึ้น ในปลายรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ลักษณะของวงเครื่องสายปี่ชวามีดังนี้ * เครื่องดนตรีทุกชิ้นจะตั้งเสียงให้เท่ากับเสียงปี่ชวา * ใช้กลองแขกแทนโทนและรำมะนา * ใช้ขลุ่ยหลิบแทนขลุ่ยเพียงออ

38 วงเครื่องสายปี่ชวาวงเล็ก

39 วงเครื่องสายปี่ชวาเครื่องคู่

40 วงปี่พาทย์ เป็นวงที่มีการประสมของเครื่องดนตรีประเภทเครื่องเป่า และตีโดยมี ปี่ในเป็นประธานของวงและมีฆ้องวงใหญ่ บรรเลงทำนองหลักของเพลง ในขณะที่เครื่องดนตรีอื่นจะ เล่นแปรทำนองไปตามทางเฉพาะของตน วงปี่พาทย์จะนิยม เล่นในงานประเพณีหรืองานบุญเทศกาลต่างๆรวมทั้ง บรรเลงประกอบการแสดง เช่น โขน ลิเก ละคร เป็นตัน ใน ปัจจุบัน แบ่งวงออกได้เป็น 7 ประเภท ดังนี้

41 1.วงปี่พาทย์เครื่องห้า (ปัจจุบัน)
มีเครื่องดนตรีดังนี้ 1. ปี่ 2. ระนาด 3. ฆ้องวง 4. ตะโพน 5. กลองทัด (2 ลูกอย่าง สมัยปัจจุบัน) 6. ฉิ่ง

42 2.วงปี่พาทย์เครื่องคู่
เครื่องคู่ มีดังต่อไปนี้ 1. ปี่ใน 2. ปี่นอก  3. ระนาดเอก4. ระนาดทุ้ม 5. ฆ้องวงใหญ่6. ฆ้องวงเล็ก 7. ตะโพน 8. กลองทัด 9. ฉิ่ง

43 3.วงปี่พาทย์เครื่องใหญ่
เครื่องดนตรีไทยในวงปี่พาทย์เครื่องใหญ่ มีดังต่อไปนี้ 1. ปี่ใน 2. ปี่นอก  3. ระนาดเอก 4. ระนาดทุ้ม 5. ระนาดเอกเหล็ก 6. ระนาดทุ้มเหล็ก 7. ฆ้องวงใหญ่ 8. ฆ้องวงเล็ก9. ตะโพน กลองทัด 11. ฉิ่ง

44 4.วงปี่พาทย์มอญ ปี่พาทย์มอญแบ่งออกได้เป็น ๓ ขนาด การจัดรูปแบบวงอาศัยแบบอย่างวงปี่พาทย์อย่างไทย เพียงแต่ปรับเปลี่ยน เครื่องดนตรีบางชิ้นดังนี้ 1. ใช้ปี่มอญ แทน ปี่ใน 2. ใช้ตะโพนมอญ แทน ตะโพนไทย 3. ใช้เปิงมางคอก แทน กลองทัด 4. ฆ้องวงมอญ แทน ฆ้องวงไทย 5. เพิ่ม โหม่งราว (โหม่งสามใบ) วงปี่พาทย์มอญในปัจจุบันที่เราพบเห็นกันทั่วไป แท้จริงก็คือเครื่องดนตรี ไทยผสมกับเครื่องดนตรีมอญ 5 ชนิด โดยผู้ที่นำฆ้องมอญวงแรกเข้ามาก็คือ ครู สุ่ม ดนตรีเจริญ ซึ่งในปัจจุบันตระกูลนี้ได้ตั้งรกรากอยู่แถว จังหวัดปทุมธานี

45 ปี่พาทย์มอญเครื่องห้า
วงเครื่องห้า ประกอบด้วย ฆ้องวง ระนาดเอก ปี่มอญ ตะโพนมอญ เปิงมางคอก  ฉิ่ง

46 ปี่พายท์มอญเครื่องคู่
วงเครื่องคู่ ฆ้องวงใหญ่ ฆ้องวงเล็ก ระนาดเอก ระนาดทุ้ม ปี่มอญ เปิงมางคอก  ตะโพนมอญ ฉาบเล็ก  ฉาบใหญ่ กรับ ฉิ่ง

47 ปี่พาทย์มอญเครื่องใหญ่
วงเครื่องใหญ่ ประกอบด้วย ปี่มอญ ฆ้องวงใหญ่ ฆ้องวงเล็ก ระนาดเอก ระนาดทุ้ม ระนาดเอกเหล็ก ระนาดทุ้มเหล็ก ตะโพนมอญ เปิงมางคอก  ฉาบเล็ก  ฉาบใหญ่ กรับ ฉิ่ง

48 วงดนตรีประเภทปี่พาทย์มอญนั้นนิยมเรียกว่า ปี่พาทย์มอญ เป็นวง ดนตรีที่นิยมเล่นทั้งงานมงคลและงานอวมงคลทั่วไป แต่ภายหลังมี การนำวงปี่พาทย์มอญ ไปบรรเลงในงานพระศพของสมเด็จพระเทพศิ รินทรามาตย์ พระราชินีในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๔ ซึ่งพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ ๕ ทรงดำริว่ามารดาของพระองค์นั้นเป็นเชื้อสายมอญโดยตรง จึงโปรดฯ ให้นำวง ปี่พาทย์มอญมาเล่น ด้วยเหตุนี้เองภายหลังจากงานพระศพ ดังกล่าวจึงได้กลายเป็นความเชื่อและยึดถือกันมาโดยตลอดว่า ปี่พาทย์ มอญนั้นใช้บรรเลงเฉพาะในงานศพเท่านั้น ชาวมอญมีชื่อเสียงในเรื่อง ของวงปี่พาทย์และมอญรำอย่างมาก มักจะมีการบรรเลงปี่พาทย์และ การแสดงมอญรำควบคู่กันไปทุกครั้ง

49 5.วงปี่พาทย์นางหงส์ วงปี่พาทย์นางหงส์ เดิมเป็นวงที่ใช้บรรเลงในงานศพของ สามัญชน ต่อมาได้นำมาบรรเลงในงานสวดพระอภิธรรมศพ เจ้านายและใช้ในตอนถวายพระเพลิงพระบรมศพพระศพ เมื่อ ครั้งงานพระบรมศพของสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราช ชนนี สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี มี พระประสงค์ให้นำวงปี่พาทย์นางหงส์ของกรมศิลปากรมา ประโคมย่ำยาม ต่อจากวงประโคมของงานเครื่องสูงสำนัก พระราชวัง จึงนับเป็นครั้งแรกที่ได้นำวงปี่พาทย์นางหงส์มาใช้ ในงานพระบรมศพด้วย 

50           วงปี่พาทย์นางหงส์ คือวงปี่พาทย์ชนิดหนึ่งที่นำเอาวงปี่พาทย์ไม้แข็งมาประสมกับวงบัวลอย โดยเปลี่ยนแปลงรูปแบบดังนี้ 1. ใช้กลองมลายูมาตีแทนตะโพนและกลองทัด 2. ใช้ปี่ชวามาเป่าแทนปี่ใน 3. เอาฆ้องเหม่งออก เพราะมีฉิ่งเป็นตัวควบคุมจังหวะแล้ว         

51 เพลงที่บรรเลง เรียกว่า “ เพลงชุดนางหงส์”
ประกอบด้วยเพลง 1. เพลงนางหงส์ (หรือเพลงพราหมณ์เก็บหัว แหวน) 2. เพลงสาวสอดแหวน 3. เพลงแสนสุดสวาท 4. เพลงแมลงปอ 5. เพลงแมลงวันทอง

52 วงปี่พาทย์ ดึกดำบรรพ์
เมื่อกล่าวถึงคำว่า "ดึกดำบรรพ์" แล้วส่วนใหญ่จะนึกไปถึง ความหมายว่า "เก่าแก่" , "โบราณ" หรือ "มีนานมาแล้ว" กว่า ร้อยกว่าพันปี แต่คำว่า "ดึกดำบรรพ์" ที่ต่อท้ายชื่อวงดนตรี ไทยนี้ที่เรียกว่า "วงปี่พาทย์ดึกดำบรรพ์" นั่นมีความหมายถึง วงปี่พาทย์ที่ปรับปรุงขึ้นเพื่อใช้สำหรับการแสดงละครดึกดำ บรรพ์ซึ่ง เจ้าพระยาเทเวศร์วงศ์วิวัฒน์ (ม.ร.ว.หลาน กุญชร) แลพสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอเจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัดติ วงศ์ร่วมกันปรับปรุงขึ้นโดยอาศัยแนวอุปรากร (Opera) ของ ตะวันตกเข้าประกอบ

53 เครื่องดนตรีที่ใช้ 1.ระนาดเอก (ใช้ไม้นวมตี) 2.ระนาดทุ้ม 3.ระนาดทุ้มเหล็ก 4.ฆ้องวงใหญ่ 5.ฆ้องหุ่ย ๗ใบ เรียงตามระดับเสียง 6.ขลุ่ยเพียงออ 7.ตะโพน 8.กลองตะโพน 9.ฉิ่ง 10.ซออู้ (เพิ่มเข้ามาภายหลัง) 11.ขลุ่ยอู้ (มีผู้คิดเพิ่มภายหลัง)

54 วงปี่พาทย์ไม้นวม โดยปกติแล้วนั้น วงปี่พาทย์หรือที่เรียกเต็มๆว่า วงปี่ พาทย์ไม้แข็งนั้น ซึ่งปกติจะบรรเลงด้วยไม้ระนาดเอก ที่ทำจากยางรัก มีความแข็ง เวลาตีแล้วจะทำให้เสียง ดังมาก เพื่อสู้กับเสียงปี่ในที่มีความดังอยู่แล้ว ในบาง ทีที่ไม่ต้องการเสียงดังมากอาจจะบรรเลงด้วยไม้นวม หรือการใช้ขลุ่ยเพียงออมาแทนปี่ใน ทำให้เสียงปี่ พาทย์มีความนุ่มนวลไพเราะเรียกวงปี่พาทย์ชนิดนี้ว่า "วงปี่พาทย์ไม้นวม"

55 เครื่องดนตรีในวงปี่พาทย์ไม้นวม 1. ขลุ่ยเพียงออ. 2. ระนาดเอก. 3
เครื่องดนตรีในวงปี่พาทย์ไม้นวม 1. ขลุ่ยเพียงออ 2. ระนาดเอก 3. ระนาด ทุ้ม 4. ฆ้องวงใหญ่ 5. ฆ้องวงเล็ก 6. ตะโพน 7. กลองทัด 8. ฉิ่ง

56 วงมโหรี เป็นวงดนตรีโบราณที่มีมาแต่สมัยสุโขทัย จัดเป็นวงประสมที่มีเสียงเครื่อง ดนตรีครบสมบูรณ์เพราะมีทั้งเครื่องดนตรีในกลุ่มเครื่องสายและกลุ่มปี่พาทย์ รวมกัน เรียกว่าครบทั้ง ดีด สี ตี เป่า เดิมทีใช้บรรเลงประกอบละครในซึ่ง ต้องใช้ผู้เล่นเป็นหญิงล้วน ทำให้ต้องมีการลดขนาดเครื่องตีทุก ชนิดที่วงปี่ พาทย์ชายใช้เล่นกันทั่วไปให้เล็กลงไม่ว่าจะเป็น ระนาดเอก ทุ้ม หรือ ฆ้องวง เพื่อให้เหมาะสมกับสรีระและการเคลื่อนไหวของผู้หญิง ธรรมเนียมนี้มีมา จนถึงในสมัยรัชกาลที่ ๕ จึงยกเลิก จากนั้นเมื่อมีผู้ชายเริ่มสนใจวงเครื่องสาย และนำมาบรรเลงร่วมกับวงปี่พาทย์ที่ตนเล่นอยู่ก่อนแล้ว จึงเกิดการประสม วง แบบใหม่ที่เรียกว่า “วงมโหรีเครื่องสาย” ซึ่งเป็นวงผู้ชายบรรเลงล้วน ต่อมาในภายหลังมีทั้งผู้เล่นที่เป็นหญิงและชาย จึงเรียกวงรวมในลักษณะนี้ว่า “วงมโหรี”

57 วงมโหรีเครื่องสี่ วงมโหรีเครื่องสี่ เป็นวงมโหรีที่รวมเอาการบรรเลงพิณและการขับไม้ ซึ่งมีมาแต่โบราณเข้า ด้วยกัน เกิดขึ้นครั้งแรกในสมัยสุโขทัย มีเครื่องดนตรี ๔ ชิ้น คือ  ๑.๑ ทับ (ปัจจุบันเรียกว่า โทน) เป็นเครื่องควบคุมจังหวะ ๑.๒ ซอสามสาย ๑.๓ กระจับปี่ ๑.๔ กรับพวง (ผู้ขับร้องเป็นผู้ตีกรับพวง) วงมโหรีเครื่องสี่นี้เดิมผู้ชายเป็นผู้บรรเลง ต่อมาเมื่อนิยมฟังกัน แพร่หลาย ผู้มีบรรดาศักดิ์จึงนิยมให้ผู้หญิงฝึกหัดบรรเลงบ้างและ ได้รับความนิยมสืบต่อมา 

58 วงมโหรีเครื่องหก  คือ วงมโหรีเครื่องสี่ซึ่งเพิ่มเครื่องดนตรีอีก ๒อย่าง คือ รำมะนา สำหรับตีกำกับจังหวะคู่กับทับ และขลุ่ย (ปัจจุบันเรียกว่า ขลุ่ย เพียงออ) สำหรับเป่าดำเนินทำนอง และเปลี่ยนใช้ฉิ่งแทนกรับ พวง นับเป็นการบรรเลงที่มีเครื่องดนตรีครบทั้งดีด สี ตี และเป่า เกิดขึ้นในสมัยอยุธยา 

59 “วงมโหรี” วงมโหรีแบ่งตามขนาดของวงได้ ๓ ขนาด คือ
วงมโหรีเครื่องเล็ก วงมโหรีเครื่องคู่ วงมโหรีเครื่องใหญ่

60 วงมโหรีเครื่องเล็ก 1) ซอสามสาย 6) ระนาดเอกไม้ 2) ซอด้วง
7) ฆ้องกลางหรือฆ้องวงใหญ่ 3) ซออู้ 8) โทน 4) จะเข้ 9) รำมะนา 5) ขลุ่ยเพียงออ 10) ฉิ่ง

61 มโหรีเครื่องคู่  ในสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๓ แห่ง กรุงรัตนโกสินทร์ วงปี่พาทย์ได้เพิ่มระนาดทุ้มกับฆ้องวงเล็ก กลายเป็นวงปี่พาทย์เครื่องคู่ วงมโหรีก็เพิ่มระนาดทุ้มกับฆ้องวง เล็กบ้าง ทั้งเพิ่มซอด้วง ซออู้ ขึ้นเป็นอย่างละ๒ คัน จะเข้เพิ่มเป็น ๒ ตัว ขลุ่ยนั้นเดิมมีแต่ขลุ่ยเพียงออก็เพิ่ม ขลุ่ยหลิบ (เลาเล็ก) ขึ้น อีก ๑ เลา เหมือนในวงเครื่องสาย ส่วนซอสามสายก็เพิ่มซอสาม สายหลิบ (คันเล็กและเสียงสูงกว่า) อีก ๑ คัน เครื่องประกอบ จังหวะคงเดิม เรียกว่า วงมโหรีเครื่องคู่

62 1) ซอสามสาย  1 คัน 9) ระนาดทุ้มไม้ 2) ซอสามสายหลีบ 1 คัน  10) ฆ้องกลางหรือฆ้องวงใหญ่ 3) ซอด้วง  2 คัน  11) ฆ้องวงเล็ก 4) ซออู้  12) โทน 5) จะเข้  2 ตัว 13) รำมะนา 6) ขลุ่ยเพียงออ  1 เลา 14) ฉิ่ง 7) ขลุ่ยหลีบ  15) ฉาบเล็ก 8) ระนาดเอกไม้

63 วงมโหรีเครื่องใหญ่ มโหรีเครื่องใหญ่ สมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ ๔ วงปี่พาทย์ ได้เพิ่มระนาดทุ้มกับระนาดเอกเหล็กขึ้นอีก ๒ ราง กลายเป็นวงปี่พาทย์เครื่อง ใหญ่ วงมโหรีจึงเลียนแบบ โดยเพิ่มระนาดทุ้มเหล็กขึ้นบ้าง ส่วนระนาดเอก เหล็กนั้นเปลี่ยนเป็นสร้างลูกระนาดด้วยทองเหลียงเพราะเทียบให้เสียงสูง ไพเราะกว่าเหล็ก เรียกว่าระนาดทองรวมทั้งวงเรียกว่าวงมโหรีเครื่องใหญ่ ซึ่งได้ ถือเป็นแบบปฏิบัติใช้บรรเลงมาจนปัจจุบันนี้ บรรดาเครื่องดนตรีต่างๆ ที่วง มโหรีได้เลียนแบบมาจากวงปี่พาทย์ คือ ระนาดเอก ระนาดทุ้ม ระนาดเอก เหล็ก (เป็นระนาดทอง) ระนาดทุ้มเหล็ก (บางวงทำด้วยทองเหลือง เรียกว่า ระนาดทุ้มทองก็มี) ฆ้องวงใหญ่ และฆ้องวงเล็กนั้น ทุกสิ่งจะต้องย่อขนาดลดลง ให้เล็กเพราะสมัยโบราณผู้บรรเลงมโหรีมีแต่สตรีทั้งนั้น จึงต้องลดขนาดลงให้ พอเหมาะแก่กำลังอีกประการหนึ่งการลดขนาดเครื่องตีเหล่านี้ลงก็เพื่อให้เสียงดัง สมดุลย์กับเครื่องดนตรีประเภทดีดสี มิฉะนั้นเสียงจะดังมากกว่าพวกเครื่องดีด และเครื่องสี

64 1) ซอสามสาย  1 คัน  11) ระนาดทุ้มเหล็ก 2) ซอสามสายหลีบ 12) ฆ้องกลางหรือฆ้องวงใหญ 3) ซอด้วง  2 คัน  13) ฆ้องวงเล็ก 4) ซออู้  14) โทน 5) จะเข้  2 ตัว 15) รำมะนา 6) ขลุ่ยเพียงออ  1 เลา  16) ฉิ่ง 7) ขลุ่ยหลีบ  17) ฉาบเล็ก 8) ระนาดเอกไม้  18) กรับ 9) ระนาดทุ้มไม้  19) โหม่ง 10) ระนาดเอกเหล็

65 รูปแบบวงดนตรีตะวันตก

66 วงแชมเบอร์ (Chamber music)
นิยมใช้บรรเลงที่ห้องโถงที่ไม่ใหญ่มากนักมีชื่อเรียกตามแบบต่างๆกันออกไปจามจำนวนผู้บรรเลง ดังนี้ 

67 1.ดูเอ็ต (Duet) มีผู้แสดงจำนวน 2 คน
2.ทรีโอ (Trio) มีผู้แสดงจำนวน 3 คน 3.ควอเต็ต (Quartet) มีผู้แสดงจำนวน 4 คน 4.ควินเต็ต (Quintet) มีผู้แสดงจำนวน 5 คน 5.เซ็กเต็ต (Sextet) มีผู้แสดงจำนวน 6 คน 6.เซ็ปเต็ต (Septet) มีผู้แสดงจำนวน 7 คน 7.อ๊อกเต็ต (Octet) มีผู้แสดงจำนวน 8 คน 8.โนเน็ต (nonet ) มีผู้แสดงจำนวน 9 คน  เพลงที่ใช้บรรเลงในวงนี้เป็นบทประพันธ์แบบสั้นๆ ต้องการแสดง ความโดดเด่น เทคนิคต่างๆ ในการบรรเลงและการประสานเสียงของเครื่อง ดนตรีที่บรรเลงร่วมกัน ส่วนใหญ่นิยมใช้เครื่องดนตรีประเภทเครื่องสาย เป็นสำคัญ 

68 วงแบนด์ (Band) วงแบนด์เป็นลักษณะของการผสมวงดนตรีอีกประเภทหนึ่งของ ตะวันตกที่มีเครื่อง ดนตรีในกลุ่มเครื่องเป่าเป็นหลักและมีเครื่อง ดนตรีในกลุ่มเครื่องประกอบ จังหวะผสมวงบรรเลงร่วมกัน การ ผสมวงแบนด์แบ่งตามประเภทได้  ดังนี้

69 วงคอนเสิร์ตแบนด์ (Symphonic band or Concert band)

70 วงดนตรีที่มีขนาดปานกลางมีผู้นักดนตรีประมาณ 30-45 คน ประกอบด้วยเครื่องดนตรี 3 กลุ่ม คือ            
กลุ่มเครื่องลมไม้ (Woodwind) ได้แก่ แซ็กโซโฟน, บาสซูน, โอ โบ, คลาริเนท, ฟลูท และปิคโคโล (ในบางโอกาสมักใช้ผู้เล่นคนเดียวกัน )                กลุ่มเครื่องทองเหลือง (Brass) ได้แก่ ทรัมเป็ต, ทรอมโบน, ทูบา , ยูโฟเนียม, เฟรนช์ฮอร์นและคอร์เน็ต                กลุ่มเครื่องตีประกอบจังหวะ (Percussion) ได้แก่ กลองทิมปานี, กลองเล็ก, กลองใหญ่, กิ่ง, มาริมบา, ฉาบ และระฆังราว ( ขึ้นอยู่กับเพลง ด้วย )                

71 วงคอนเสิร์ตแบนด์มักใช้นั่งบรรเลงเป็นหลัก โดยปกติขณะที่นั่งบรรเลงจะต้องมีผู้อำนวยเพลง (Conductor) คอยควบคุมจังหวะและปรับความ สมดุลของเพลงด้วย เพลงที่ใช้บรรเลงมักเป็นเพลงทั่ว ๆ ไปหรือเพลงที่ใช้เฉพาะในงานนั้น ๆ ซึ่งเพลงที่ นำมาบรรเลงจะต้องเป็นเพลงที่เขียน ขึ้นมาเพื่อใช้กับ วงคอนเสิร์ตแบนด์โดยเฉพาะเท่านั้น

72 วงโยธวาทิต

73 วงโยธวาทิตเป็นวงดนตรีที่มีลักษณะคล้ายกับวง คอนเสิร์ตแบนด์ทุกประการเพียง แต่เรียกชื่อต่างกัน เท่านั้น กล่าวคือ ในขณะที่วงโยธวาทิตใช้ประกอบการ เดินแถวสวนสนามหรือแสดงการแปรแถวกลางแจ้งเรา เรียกว่าการ " แสดงดนตรีสนาม "(Display)แต่เมื่อวงโยธ วาทิตบรรเลงโดยการนั่งบรรเลงเราเรียกว่า “คอนเสิร์ต แบนด์” (Concert Band) 

74 วงซิมโฟนี ออร์เครสต้า (SYMPHONY ORCHESTRA)

75 เป็นวงดนตรีขนาดใหญ่ที่ใช้เครื่องดนตรีที่ ประกอบด้วยกลุ่มเครื่องสาย เครื่องลมไม้ เครื่อง ทองเหลือง เครื่องประกอบจังหวะ บทเพลงที่ใช้ คือ ซิมโฟนี คอร์แชร์โต้ โอเวเจอร์ แบ่งออกเป็น 2 ลักษณะ คือ วงแชมเบอร์ออร์แครสต้า เป็นวงที่ประสมด้วยเครื่องดนตรี เครื่องดนตรีประเภทเครื่องสายเท่านั้น มีผู้บรรเลง คน

76 วงซิมโฟนีออร์เครสต้า หรือวงดุริยางค์ซิมโฟนี ประกอบด้วย เครื่องดนตรีครบทุกประเภท เป็นลักษณะการประสมวงที่สมบูรณ์ ที่สุด ขนาดของวงกาหนดโดยจานวนผู้บรรเลงในกลุ่มเครื่องสาย ดังนี้ - วงขนาดเล็ก มีผู้บรรเลงประมาณ คน - วงขนาดกลาง มีผู้บรรเลงประมาณ คน - วงขนาดใหญ่ มีผู้บรรเลงประมาณ 80 คนขึ้นไป การจัดวงคานึงถึงความกลมกลืนของเสียงดนตรี กลุ่มเครื่องสายมี จานวนมากที่สุด ประมาณ 2 ใน 3 ของจานวนผู้บรรเลงทั้งหมด

77 องค์ประกอบดนตรีไทย

78 1.เสียงของดนตรีไทย เสียงดนตรีไทยประกอบด้วยระดับเสียง 7 เสียง ได้แก่ โด เร มี ฟา ซอล ลา ที่ แต่ละเสียงมี ช่วงห่างเท่ากันทุกเสียง เสียงดนตรีไทย แต่ละเสียง เรียกชื่อแตกต่างกันไป ในดนตรีไทยเรียกระดับ เสียงว่า “ทาง” ในที่นี้ ก็คือ ระดับเสียงของเพลงที่ บรรเลงซึ่งกำหนดชื่อเรียกเป็นที่หมายรู้กันทุกๆ เสียง  จำแนกเรียงลำดับขึ้นไปทีละเสียง

79 2. จังหวะของดนตรีไทย   “จังหวะ”   มีความหมายถึงมาตราส่วนของระบบดนตรีที่ดำเนิน ไปในช่วงของการบรรเลงเพลงอย่างสม่ำเสมอ เป็นตัว กำหนดให้ผู้บรรเลงจะต้องใช้เป็นหลักในการบรรเลงเพลง

80 จังหวะของดนตรีไทยจำแนกได้ 3 ประเภท คือ
จังหวะของดนตรีไทยจำแนกได้   3 ประเภท คือ  2.1 จังหวะสามัญ หมายถึงจังหวะทั่วไปที่นักดนตรียึดเป็นหลักสำคัญ ในการบรรเลงและขับร้องโดยปกติจังหวะสามัญที่ใช้กันในวง ดนตรีจะมี  3 ระดับ คือ   จังหวะช้า                 ใช้กับเพลงที่มีอัตราจังหวะ   สามชั้น  จังหวะปานกลาง     ใช้กับเพลงที่มีอัตราจังหวะ   สองชั้น  จังหวะเร็ว                ใช้กับเพลงที่มีอัตราจังหวะ   ชั้นเดียว

81 2.2 จังหวะฉิ่ง หมายถึง  จังหวะที่ใช้ฉิ่งเป็นหลักในการตี โดย ปกติจังหวะฉิ่งจะตี “ฉิ่ง…ฉับ”สลับกันไปตลอดทั้งเพลง แต่จะ มีเพลงบางประเภทตีเฉพาะ “ฉิ่ง” ตลอดเพลง บางเพลงตี “ฉิ่ง  ฉิ่ง  ฉับ” ตลอดทั้งเพลง หรืออาจจะตีแบบอื่นๆ ก็ ได้  จังหวะฉิ่งนี้นักฟังเพลงจะใช้เป็นแนวในการพิจารณาว่า ช่วงใดเป็นอัตราจังหวะสามชั้น สองชั้น หรือ ชั้นเดียวก็ได้ เพราะฉิ่งจะตีเพลงสามชั้นให้มีช่วงห่างตามอัตราจังหวะของ เพลง  หรือ ตีเร็วกระชั้นจังหวะ ในเพลงชั้นเดียว สามชั้น  -  -  -  -  - - - ฉิ่ง    - - - ฉับ สองชั้น  -  -  - ฉิ่ง - - - ฉิ่ง ชั้น เดียว  - ฉิ่ง- ฉับ - ฉิ่ง- ฉับ - ฉิ่ง - ฉับ

82 3. จังหวะหน้าทับ หมายถึงเกณฑ์การนับจังหวะที่ ใช้เครื่องดนตรีประเภทเครื่องตีประเภทหนังซึ่ง เลียนเสียงการตีมาจาก “ทับ”  เป็นเครื่องกำหนด จังหวะเครื่องดนตรีเหล่านี้ ได้แก่ ตะโพน กลอง แขก สองหน้า โทน - รำมะนา หน้าทับ

83 3. ทำนองดนตรีไทย  ลักษณะทำนองเพลงที่มีเสียงสูงๆ ต่ำๆ สั้นๆ ยาวๆ สลับ คละเคล้ากันไป ตามจินตนาการของคีตกวีที่ประพันธ์  บทเพลง ซึ่งลักษณะดังกล่าวนี้เหมือนกันทุกชาติภาษา จะมีความแตกต่าง กันตรงลักษณะประจำชาติที่มีพื้นฐานทางสังคม วัฒนธรรม ไม่ เหมือนกัน เช่น เพลงของอเมริกัน อินโดนีเซีย อินเดีย จีน ไทย  ย่อมมีโครงสร้างของทำนองที่ แตกต่างกัน  ทำนองของ ดนตรีไทยประกอบด้วยระบบของเสียง  การเคลื่อนที่ของเสียง ความยาว  ความกว้างของเสียงและระบบหลักเสียงเช่นเดียวกับ ทำนองเพลงทั่วโลก

84 ลักษณะทำนองของดนตรีไทย
1. ทำนองทางร้อง  เป็นทำนองที่ประดิษฐ์เอื้อนไปตามทำนองบรรเลงของ เครื่องดนตรี และมีบทร้องซึ่งเป็นบทร้อยกรอง ทำนองทางร้องคลอเคล้าไป กับทำนองทางรับหรือร้อง อิสระได้ การร้องนี้ต้องถือทำนองเป็นสำคัญ  2. ทำนองการบรรเลง หรือทางรับ เป็นการบรรเลงของเครื่องดนตรีในวง ดนตรี  ซึ่งคีตกวีแต่งทำนองไว้สำหรับบรรเลง ทำนองหลักเรียกลูกฆ้อง “Basic Melody” เดิมนิยมแต่งจากลูกฆ้องของฆ้องวงใหญ่ และแปรทางเป็นทางของเครื่องดนตรี ชนิดต่างๆ ดนตรีไทยนิยมบรรเลงเพลงในแต่ละท่อน 2 ครั้งซ้ำกัน ภายหลังได้ มีการแต่งทำนองเพิ่มใช้บรรเลงในเที่ยวที่สองแตกต่างไปจากเที่ยวแรกเรียกว่า “ทางเปลี่ยน”

85 4. การประสานเสียง รูปแบบการประสานเสียงของดนตรีไทย
4. การประสานเสียง  เป็นการทำเสียงดนตรีพร้อมกัน 2 เสียง พร้อมกัน เป็นคู่ขนานหรือเหลื่อมล้ำกันตามลีลาเพลงก็ได้  รูปแบบการประสานเสียงของดนตรีไทย 1. การประสานเสียงในเครื่องดนตรีเดียวกัน เครื่องดนตรี บางชนิดสามารถบรรเลงสอดเสียงพร้อมกันได้ โดยเฉพาะทำ เสียงขั้นคู่ (คู่2, คู่3, คู่4 , คู่5, คู่6 และคู่7) เช่น โด-เร (คู่2) โด-ซอล (คู่5) เป็นต้น

86 รูปแบบการประสานเสียงของดนตรีไทย
2. การประสานเสียงระหว่างเครื่องดนตรี คือ การบรรเลงดนตรี ด้วยเครื่องดนตรีต่างชนิดกัน สุ้มเสียง และความรู้สึกของเครื่อง ดนตรีเหล่านั้น ก็ออกมาไม่เหมือนกัน แม้ว่าจะบรรเลง เหมือนกัน ก็ตาม 3.การประสานเสียงโดยการทำทาง  การแปรทำนองหลักคือ ลูกฆ้อง “Basic Melody” ให้เป็นทำนองของเครื่องดนตรีแต่ละชนิดเรียกว่า “การ ทำทาง” ทางของเครื่องดนตรี (ทำนอง)แต่ละชนิดไม่เหมือนกันดังนั้น เมื่อบรรเลงเป็นวงเครื่องดนตรีต่างเครื่องก็จะบรรเลงตามทางหรือทำนอง ของตน โดยถือทำนองหลักเป็นสำคัญของการบรรเลง

87

88 องค์ประกอบดนตรีสากล

89 องค์ประกอบของดนตรีสากล
มี 7 องค์ประกอบ ได้แก่ เสียง (Tone) จังหวะ (Rhythm) ทำนอง (Melody) เสียงประสาน (Harmony) รูปพรรณหรือพื้นผิว (Texture) สีสันของเสียง (Tone color) รูปแบบหรือคีตลักษณ์ (Form)

90 องค์ประกอบดนตรี : 1.เสียง
เสียงในทางดนตรี หมายถึง เสียงที่เกิดจากการสั่นสะเทือนของอากาศอย่าง สม่ำเสมอ โดยจะเกิดขึ้นจากการร้อง การดีด การสี การตี และการเป่า ส่วนประกอบของเสียงได้แก่ 1. ระดับเสียง 2.ความยาวเสียง 3.ความเข้มข้นของเสียง 4.คุณภาพของเสียง

91 1.1 ระดับเสียง คือ ความสูง-ต่ำของเสียง ซึ่งเกิดจากความถี่ของการสั่นสะเทือน ถ้ามีคลื่น ความถี่มากเสียงจะมีระดับสูง แต่ถ้ามีคลื่นความถี่น้อยระดับเสียงจะออกมาต่ำ 1.2 ความยาวของเสียง คือ ความสั้น-ยาวของเสียงในระยะเวลาหนึ่ง 1.3 ความเข้มข้นของเสียง ความเข้มของเสียงจากเบาไปหาดัง 1.4 คุณภาพของเสียง คุณภาพของเสียงแต่ละชนิดเกิดจากการสั่นสะเทือนของวัตถุที่ทำให้ เกิดเสียงนั้นๆ

92 องค์ประกอบดนตรี : 2.จังหวะ (Rhythm)
คือ หมายถึงเสียงยาว ๆ สั้น ๆ หรือเสียงหนัก ๆ เบา ๆ ซึ่งประกอบอยู่ในส่วนต่างๆของบทเพลง มีองค์ประกอบ ทั่วๆไป ได้แก่ 2.1 ความเร็วจังหวะ จังหวะ 2.2 อัตราจังหวะ 2.3 รูปแบบจังหวะ **1 จังหวะ แบ่งออกเป็นสองจังหวะย่อยๆ ได้แก่จังหวะตก และ จังหวะยก** ***จังหวะทำให้เกิดการเคลื่อนไหวในดนตรี***

93 แบบคำศัพท์ 2.1 ความเร็วจังหวะ (Tempo)
เทมโป มาจากภาษาอิตาเลียน หมายถึง เวลาทางดนตรี คือ ความเร็ว ความช้า ปานกลาง ช้า ซึ่งถูกกำหนดไว้ในบทเพลงโดย ผู้ประพันธ์เพลงเป็นผู้กำหนดขึ้น โดยมีเครื่องหมายกำหนดความเร็ว กำกับอยู่โดยจะเป็นตัวเลขหรือคำศัพท์ที่ใช้บอกความเร็ว เช่น Tempo = 100 หมายถึงในอัตราในการเคาะจังหวะอย่าง สม่ำเสมอใน 1นาที แบบคำศัพท์ คำศัพท์ ความเร็ว Presto เร็วมาก Allrgro เร็ว Moderato เร็วปานกลาง Adagio ช้าๆ ไม่รีบร้อน Largo ช้ามาก

94 2.2 อัตราจังหวะ (Time) คือการจัดแบ่งจังหวะเคาะออกเป็นกลุ่มๆ เพื่อทำให้เกิดการเคาะจังหวะ และการเน้น อย่างสม่ำเสมอ การ จัดกลุ่มจังหวะเคาะที่พบในบทเพลงทั่วๆไปคือ 2, 3, และ4 จังหวะเคาะ   ตัวอย่างเช่น อัตรา 2 จังหวะ 1-2-/1-2-/1-2-/1-2/ อัตรา 3 จังหวะ /1-2-3-/1-2-3-/1-2-3-/1-2-3-/ อัตรา 4 จังหวะ / / / /

95 2.3ลีลาจังหวะ (Rhythmic Pattern)
หมายถึงกระสวนของจังหวะ หรือรูปแบบของ จังหวะ ที่ถูกกำหนดขึ้นมา เพื่อใช้บรรเลงประกอบบท เพลง เช่น ลีลาจังหวะมาร์ช (March) ลีลาจังหวะ วอลทซ์ (Waltz) ลีลาจังหวะสโลว์ (Slow) ลีลา จังหวะแทงโก (Tango) ลีลาจังหวะร็อค (Rock) เป็น ต้น

96 องค์ประกอบดนตรี : 3. ทำนอง (Melody)
ทำนอง หมายถึงเสียงดนตรีที่มีความแตกต่างในด้าน ระดับเสียง และด้านความยาวของเสียง มาจัดเรียบ เรียงให้ดำเนินต่อเนื่องไปตามแนวนอน เราเรียกว่า ทำนอง ทำนองเป็นองค์ประกอบของบทเพลงที่จำง่าย มากกว่าองค์ประกอบอื่นๆ ทำนองเพลงจะมีความ หลากหลายลักษณะแตกต่างกันออกไป องค์ประกอบ ของทำนองเพลง ได้แก่

97  ทิศทางการเคลื่อนที่ของทำนอง (Direction of Melody)
ทำนองเพลงอาจเคลื่อนไปในหลายทิศทาง เช่น การเคลื่อนที่ ขึ้น การเคลื่อนที่ลง อยู่กับที่ หรือการซ้ำของทำนอง          รูปร่างของทำนองเพลง (Contour of Melody)  หมายถึงแนวเส้นที่ลากจากโน้ตทุกโน้ตของทำนองเพลง ตั้งแต่ โน้ตแรก จนถึงโน้ตสุดท้าย ทำให้เกิดเป็นแนวเส้นที่เป็นรูปร่างของ ทำนองเพลง จังหวะของทำนอง (Melodic Rhythm)  หมายถึง ความสั้นยาวของระดับเสียงแต่ละเสียงที่ประกอบกัน เป็นทำนอง

98 องค์ประกอบดนตรี : 4.เสียงประสาน (Harmony)
        เสียงประสาน (Harmony) เสียงประสาน คือเสียงดนตรีต่างๆ ที่ถูกกำหนดให้บรรเลงขึ้นพร้อมๆกัน ด้วยนักเรียบเรียงเสียง ประสาน ตามหลักวิชาการประสานเสียง เพื่อทำให้เสียงต่างๆในบท เพลงนั้นเกิดความกลมกลืน และความไม่กลมกลืน ช่วยปรุงแต่ง ทำนองเพลงที่ไพเราะอยู่แล้วให้เกิดความสมบูรณ์และไพเราะมาก ยิ่งขึ้น การประสานเสียงเกิดขึ้นได้ทั้งในแนวตั้ง และแนวนอน ซึ่ง การประสานเสียงที่จะให้เกิดความไพเราะนั้น จะต้องอยู่ในรูปของ ขั้นคู่เสียง (interval) หรือคอร์ด (Chord) ชนิดต่าง ๆ   ในการ ประสานเสียงนั้น มีทั้งการใช้ทั้งคอร์ดที่มีเสียงกลมกลืน และไม่ กลมกลืน   โดยทั่วไปแล้ว คอร์ดที่มีเสียงกลมกลืน จะใช้มากกว่า คอร์ดที่มีเสียงไม่กลมกลืน

99 องค์ประกอบดนตรี : 5.พื้นผิว (Texture)
พื้นผิวแบบทำนองเดียว (Monophonic Texture)   ดนตรีที่มีแต่ทำนองเพียงทำนองเดียว ไม่มีส่วนประกอบอื่นใด  พื้นผิวแบบหลายทำนอง (Polyphonic Texture)   ดนตรีที่มีทำนองตั้งแต่ 2 ทำนองขึ้นไป มาบรรเลงร่วมกัน    

100 พื้นผิวแบบมีเสียงร่วม (Homophonic Texture)
ดนตรีที่มีแนวทำนองหลักหนึ่งทำนอง และมีเสียงเพิ่มเข้ามา เพื่อช่วยสนับสนุนให้แนวทำนองเด่นชัดและมีความไพเราะยิ่งขึ้น เสียงที่เพิ่มเข้ามานี้จะไม่มีความสำคัญเท่าแนวทำนอง  พื้นผิวแบบมีจุดร่วมหรือลูกตกเดียวกัน (Heterophonic Texture)   ดนตรีหลายทำนอง ซึ่งมีผู้บรรเลงตั้งแต่ 2 คนขึ้นไป ดำเนินทำนอง หลักเดียวกัน มีการตกแต่งทำนองเพิ่มเติมจากทำนองหลักเล็กน้อย โดยมีจุด ร่วมของเสียงหรือลูกตกเดียวกัน ลักษณะของดนตรีแบบนี้จะพบมากใน ดนตรีของไทย จีน ญี่ปุ่น ชวา อัฟริกา เป็นต้น

101 องค์ประกอบดนตรี : 6. สีสันของเสียง (Tone Color)
สีสันของเสียง (Tone Color or Timbre) คือ คุณสมบัติทางด้านเสียงของเครื่องดนตรีชนิดต่าง ๆ  รวมทั้งเสียงร้องของมนุษย์ ซึ่งมีความแตกต่างกัน นำมา บรรเลงร่วมกัน  จะทำให้เกิดสีสันของเสียงแตกต่างกันไป ตามความสูง ต่ำ ของเสียง  ตามลักษณะของการบรรเลง และตามลักษณะของการประสมวง

102 องค์ประกอบดนตรี : 7. คีตลักษณ์ (Form)
หมายถึง ลักษณะทางโครงสร้างของบทเพลงที่มีการ แบ่งเป็นห้องเพลง(Bar)  แบ่งเป็นวลี (Phrase) แบ่งเป็น ประโยค (sentence) และแบ่งเป็นท่อนเพลง  หรือ กระบวน เพลง (Movement)  เป็นแบบแผนการประพันธ์บท เพลง  คีตลักษณ์เพลงบรรเลงหรือเพลงร้องในปัจจุบัน แบ่ง ออกเป็นดังนี้

103 1.เอกบท(Unitary Form) หรือ วันพาร์ทฟอร์ม (One Part Form) คือ บทเพลงที่มีทำนองสำคัญเพียงทำนองเดียวเท่านั้น (A) ก็จะจบ บริบูรณ์ เช่น เพลงชาติ เพลงสรรเสริญบารมี เป็นต้น  2.ทวิบท (Binary Form) หรือ ทูพาร์ทฟอร์ม (Two Part Form) เป็นรูปแบบของเพลงที่มีทำนองสำคัญเพียง 2 กลุ่ม คือ ทำนอง A และ B และเรียกรูปแบบของบทเพลงแบบนี้ย่อ ๆ ว่า AB  3.ตรีบท (Ternary Form) หรือ ทรีพาร์ทฟอร์ม (Three Part Form) รูปแบบของเพลงแบบนี้จะมีองค์ประกอบอยู่ 3 ส่วน คือ กลุ่ม ทำนองที่ 1 หรือ A กลุ่มทำนองที่ 2 หรือ B ซึ่งจะเป็นทำนองที่ เปลี่ยนแปลง หรือเพี้ยนไปจากกลุ่มทำนองที่ 1 ส่วนกลุ่มทำนองที่ 3 ก็ คือการกลับมาอีกครั้งของทำนองที่ 1 หรือ A และจะสิ้นสุดอย่าง สมบูรณ์อาจเรียกย่อ ๆ ว่า ABA

104 4.ซองฟอร์ม (Song Form) ก็คือการนำเอาตรีบทมาเติมส่วนที่ 1 ลงไปอีก 1 ครั้งในตอนแรกจะได้เป็น AABA ที่เรียกว่า ซอง ฟอร์ม เพราะเพลงโดยทั่ว ๆ ไป จะมีโครงสร้างแบบนี้ 5.รอนโดฟอร์ม (Rondo Form) รูปแบบของเพลงแบบนี้จะมีแนว ทำนองหลัก (A) และแนวทำนองอื่นอีกหลายส่วน ส่วนสำคัญ คือแนวทำนองหลักทำนองแรกจะวนมาขั้นอยู่ระหว่างแนว ทำนองแต่ละส่วนที่ต่างกันออกไป เช่น  ABABA       ABACA       ABACADA

105 ยุคสมัยของดนตรีไทย และการวิวัฒนาการของวงดนตรีไทย

106 การวิวัฒนาการของดนตรีไทย
นับตั้งแต่ไทยได้มาตั้งถิ่นฐานในแหลมอินโดจีนและได้ก่อตั้ง อาณาจักรไทยขึ้นจึงเป็นการเริ่มต้น ยุคแห่งประวัติศาสตร์ไทยที่ ปรากฎหลักฐานเป็นลายลักษณ์อักษร กล่าวคือเมื่อไทยได้สถาปนา อาณาจักรสุโขทัย ขึ้นและหลังจากที่พ่อขุนรามคำแหงมหาราชได้ ประดิษฐ์อักษรไทยขึ้นใช้แล้ว นับตั้งแต่นั้นมาจึงปรากฎหลักฐาน ด้านดนตรีไทยที่เป็นลายลักษณ์อักษรทั้งในหลักศิลาจารึกหนังสือ วรรณคดี และเอกสารทางประวัติศาสตร์ ในแต่ละยุคซึ่งสามารถ นำมาเป็นหลักฐานในการพิจารณาถึงความเจริญและวิวัฒนาการ ของ ดนตรีไทย ตั้งแต่สมัยสุโขทัย เป็นต้นมา

107 ยุคสมัยของดนตรีไทย ยุคสมัยของดนตรีไทยแบ่งออกเป็น 4 สมัย ได้แก่
ยุคสมัยของดนตรีไทยแบ่งออกเป็น 4 สมัย ได้แก่ 1.สมัยสุโขทัย 2.สมัยอยุธยา 3.สมัยกรุงธนบุรี 4.สมัยกรุงรัตนโกสินทร์

108 สมัยสุโขทัย ดนตรีไทยมีลักษณะเป็นการขับลำนำและร้องเล่นกันอย่าง พื้นเมืองเกี่ยวกับเครื่องดนตรีไทย ในสมัยนี้ปรากฎหลักฐาน กล่าวถึงไว้ในหนังสือไตรภูมิพระร่วงซึ่งเป็นหนังสือวรรณคดี ที่ แต่งในสมัยนี้ ได้แก่ แตร, สังข์, มโหระทึก, ฆ้อง, กลอง, ฉิ่ง, แฉ่ง (ฉาบ), บัณเฑาะว์ พิณ, ซอพุงตอ (สันนิษฐานว่าคือ ซอ สามสาย) ปี่ไฉน, ระฆัง, และ กังสดาล เป็นต้น ลักษณะการผสม วงดนตรีก็ปรากฎหลักฐานทั้งในศิลาจารึกและหนังสือไตรภูมิ พระร่วงกล่าวถึง "เสียงพาทย์ เสียงพิณ" ซึ่งจากหลักฐานที่กล่าว นี้ สันนิษฐานว่า วงดนตรีไทย ในสมัยสุโขทัย มีดังนี้ คือ 

109 วงดนตรีในสมัยสุโขทัย
1. วงบรรเลงพิณ มีผู้บรรเลง 1 คน ทำหน้าที่ดีดพิณและขับ ร้องไปด้วย เป็นลักษณะของการขับลำนำ 2. วงขับไม้ ประกอบด้วยผู้บรรเลง 3 คน คือ คนขับลำนำ 1 คน คนสี ซอสามสาย คลอเสียงร้อง 1 คน และ คนไกว บัณเฑาะว์ ให้จังหวะ 1 คน  3. วงปี่พาทย์ เป็นลักษณะของวงปี่พาทย์เครื่อง 5 มี 2 ชนิด คือ

110 วงปี่พาทย์เครื่อง 5 (สมัยสุโขทัย)
วงปี่พาทย์เครื่องห้า อย่างเบา ประกอบด้วยเครื่องดนตรีชนิดเล็ก ๆ จำนวน 5 ชิ้น คือ 1. ปี่ 2. กลองชาตรี 3. ทับ (โทน) 4. ฆ้องคู่ และ 5. ฉิ่ง ใช้บรรเลง ประกอบการแสดงละครชาตรี (เป็นละครเก่าแก่ที่สุดของไทย) วงปี่พาทย์เครื่องห้า อย่างหนัก ประกอบด้วย เครื่องดนตรีจำนวน 5 ชิ้น คือ 1. ปี่ ใน 2. ฆ้องวง (ใหญ่) 3. ตะโพน 4. กลองทัด และ 5. ฉิ่ง ใช้บรรเลง ประโคมในงานพิธีและบรรเลงประกอบ การแสดงมหรสพ ต่าง ๆ จะ เห็นว่า วงปี่พาทย์เครื่องห้า ในสมัยนี้ยังไม่มีระนาดเอก

111 การประสมวงปี่พาทย์เครื่อง 5 (สมัยสุโขทัย)

112 วงดนตรีในสมัยสุโขทัย
4. วงมโหรี เป็นลักษณะของวงดนตรีอีกแบบหนึ่ง ที่นำเอา วง บรรเลงพิณ กับ วงขับไม้ มาผสมกัน เป็นลักษณะของ วงมโหรี เครื่องสี่ เพราะประกอบด้วยผู้บรรเลง 4 คน คือ 1. คนขับลำนำ และตี กรับพวง ให้จังหวะ 2. คนสี ซอสามสาย คลอเสียงร้อง 3. คนดีดพิณ และ 4. คนตีทับ (โทน) ควบคุมจังหวะ

113 สมัยกรุงศรีอยุธยา ปรากฎหลักฐานเกี่ยวกับ ดนตรีไทยในสมัยนี้ในกฏมลเฑียรบาลซึ่งระบุชื่อ เครื่องดนตรีไทย เพิ่มขึ้น จากที่เคยระบุไว้ในหลักฐานสมัยสุโขทัยจึงน่าจะ เป็นเครื่องดนตรีที่เพิ่งเกิดในสมัยนี้ได้แก่ กระจับปี่ ขลุ่ย จะเข้ และ รำมะนา นอกจากนี้ในกฎมณเฑียรบาลสมัย สมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ (พ.ศ ) ปรากฎข้อห้ามตอนหนึ่งว่า "...ห้ามร้องเพลงเรือ เป่าขลุ่ย เป่าปี่ สีซอ ดีดกระจับปี่ ดีดจะเข้ ตีโทนทับ ในเขตพระราชฐาน..." ซึ่งแสดงว่าสมัย นี้ ดนตรีไทย เป็นที่นิยมกันมาก แม้ในเขตพระราชฐาน ก็มีคนไปร้องเพลง และเล่นดนตรีกันเป็นที่เอิกเกริกและเกินพอดี จนกระทั่งพระมหากษัตริย์ ต้องทรงออกกฎมลเฑียรบาล ดังกล่าวขึ้นไว้เกี่ยวกับลักษณะของวงดนตรี ไทยในสมัยนี้มีการเปลี่ยนแปลงและพัฒนาขึ้นกว่าในสมัยสุโขทัย ดังนี้ คือ

114 วงดนตรีในสมัยอยุธยา 1. วงปี่พาทย์ ในสมัยนี้ ก็ยังคงเป็นวงปี่พาทย์เครื่องห้า เช่นเดียวกับในสมัยสุโขทัย แต่มี ระนาดเอก เพิ่มขึ้น ดังนั้น วงปี่ พาทย์เครื่องห้า ในสมัยนี้ประกอบด้วย เครื่องดนตรี ดังต่อไปนี้ ระนาดเอก ปี่ใน ฆ้องวง (ใหญ่) กลองทัด ตะโพน และ ฉิ่ง

115 วงดนตรีในสมัยอยุธยา 2. วงมโหรี ในสมัยนี้พัฒนามาจาก วงมโหรีเครื่องสี่ ในสมัย สุโขทัยเป็น วงมโหรีเครื่องหก เพราะได้เพิ่ม เครื่องดนตรี เข้าไปอีก 2 ชิ้น คือ ขลุ่ย และ รำมะนา ทำให้ วงมโหรี ใน สมัยนี้ ประกอบด้วย เครื่องดนตรี จำนวน 6 ชิ้น คือ ซอสาม สาย กระจับปี่ (แทนพิณ) ทับ (โทน) รำมะนา ขลุ่ย กรับ พวง

116 สมัยกรุงธนบุรี เนื่องจาก ในสมัยนี้ เป็น ช่วง ระยะเวลา อันสั้น เพียงแค่ 15 ปีและประกอบกับเป็นสมัยแห่งการก่อ ร่างสร้างเมืองและการป้องกันประเทศเสียโดยมาก วงดนตรีไทยในสมัยนี้จึงไม่ปรากฎหลักฐานไว้ว่า ได้มีการพัฒนาเปลี่ยนแปลงขึ้นสันนิษฐาว่ายังคง เป็นลักษณะและรูปแบบของดนตรีไทยในสมัยกรุง ศรีอยุธยา นั่นเอง

117 สมัยกรุงรัตนโกสินทร์
สมัยกรุงรัตนโกสินทร์  ในสมัยนี้เมื่อบ้านเมืองได้ผ่านพ้นจากภาวะศึก สงครามและได้มีการก่อสร้างเมืองให้มั่นคงเป็น ปึกแผ่น เกิดความสงบร่มเย็นโดยทั่วไปแล้ว ศิลปวัฒนธรรมของชาติก็ได้รับการฟื้นฟูทะนุบำรุง และส่งเสริมให้เจริญรุ่งเรืองขึ้นโดยเฉพาะทางด้าน ดนตรีไทย ในสมัยนี้ได้มีการพัฒนาเปลี่ยนแปลง เจริญขึ้นเป็นลำดับ ดังต่อไปนี้ คือ 

118 สมัยกรุงรัตนโกสินทร์ : รัชกาลที่ 1
สมัยกรุงรัตนโกสินทร์ : รัชกาลที่ 1 สมัยรัชกาลที่ 1 ดนตรีไทย ในสมัยนี้ส่วนใหญ่ยังคงมีลักษณะและ รูปแบบตาที่มีมาตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยา ที่พัฒนาขึ้นบ้างในสมัย นี้ก็คือ การเพิ่มกลองทัดขึ้นอีก 1 ลูกในวงปี่พาทย์ซึ่งแต่เดิมมามี แค่ 1 ลูก พอมาถึง สมัยรัชกาลที่ 1 วงปี่พาทย์มีกลองทัด 2 ลูก เสียงสูง (ตัวผู้) ลูกหนึ่ง และ เสียงต่ำ (ตัวเมีย) ลูกหนึ่งและการ ใช้ กลองทัด 2 ลูกในวงปี่พาทย์ ก็เป็นที่นิยมกันมาจนกระทั่ง ปัจจุบันนี้

119 สมัยกรุงรัตนโกสินทร์ : รัชกาลที่ 2
สมัยกรุงรัตนโกสินทร์ : รัชกาลที่ 2 สมัยรัชกาลที่ 2 อาจกล่าวว่าในสมัยนี้ เป็นยุคทองของดนตรีไทยยุคหนึ่ง ทั้งนี้เพราะ องค์พระมหากษัตริย์ ทรงสนพระทัยดนตรีไทยเป็นอย่างยิ่งพระองค์ทรงพระ ปรีชาสามารถในทางดนตรีไทยถึงขนาดที่ทรงดนตรีไทย คือ ซอสามสายได้ มี ซอคู่พระหัตถ์ชื่อว่า "ซอสายฟ้าฟาด" ทั้งพระองค์ได้พระราชนิพนต์เพลงไทย ขึ้นเพลงหนึ่ง เป็นเพลงที่ไพเราะ และอมตะ มาจนบัดนี้นั่นก็คือเพลง "บุหลัน ลอยเลื่อน" การพัฒนา เปลี่ยนแปลงของ ดนตรีไทย ในสมัยนี้ก็คือ ได้มีการนำเอา วงปี่ พาทย์มาบรรเลง ประกอบการขับเสภา เป็นครั้งแรก นอกจากนี้ ยังมีกลองชนิด หนึ่งเกิดขึ้น โดยดัดแปลงจาก "เปิงมาง" ของมอญ ต่อมาเรียกกลองชนิดนี้ว่า "สอง หน้า" ใช้ตีกำกับจังหวะแทนเสียงตะโพนในวงปี่พาทย์ ประกอบการขับเสภา เนื่องจากเห็นว่าตะโพนดังเกินไป จนกระทั่งกลบเสียงขับ กลองสองหน้านี้ ปัจจุบันนิยมใช้ตีกำกับจังหวะหน้าทับ ในวงปี่พาทย์ไม้แข็ง

120 สมัยกรุงรัตนโกสินทร์ : รัชกาลที่ 3
สมัยกรุงรัตนโกสินทร์ : รัชกาลที่ 3 สมัยรัชกาลที่ 3 วงปี่พาทย์ได้พัฒนาขึ้นเป็นวงปี่พาทย์เครื่องคู่ เพราะ ได้มีการประดิษฐ์ระนาดทุ้ม มาคู่กับระนาดเอก และประดิษฐ์ ฆ้องวงเล็กมาคู่กับ ฆ้องวงใหญ่

121 สมัยกรุงรัตนโกสินทร์ : รัชกาลที่ 4
สมัยกรุงรัตนโกสินทร์ : รัชกาลที่ 4 สมัยรัชกาลที่ 4 วงปี่พาทย์ได้พัฒนาขึ้นเป็นวงปี่พาทย์เครื่องใหญ่ เพราะได้มีการ ประดิษฐ์ เครื่องดนตรี เพิ่มขึ้นอีก 2 ชนิด เลียนแบบ ระนาดเอก และระนาด ทุ้ม โดยใช้โลหะทำลูกระนาด และทำรางระนาดให้แตกต่างไปจากราง ระนาดเอก และระนาดทุ้ม (ไม้) เรียกว่า ระนาดเอกเหล็ก และระนาดทุ้ม เหล็ก นำมาบรรเลงเพิ่มในวงปี่พาทย์เครื่องคู่ ทำให้ ขนาดของ วงปี่พาทย์ ขยายใหญ่ขึ้นจึงเรียกว่า วงปี่พาทย์เครื่องใหญ่ อนึ่งในสมัยนี้ วงการดนตรี ไทย นิยมการร้องเพลงส่งให้ดนตรีรับหรือที่เรียกว่า "การร้องส่ง" กันมาก จนกระทั่งการขับเสภาซึ่งเคยนิยมกันมาก่อนค่อย ๆ หายไปและการร้องส่งก็ เป็นแนวทางให้มีผู้คิดแต่งขยายเพลง 2 ชั้นของเดิมให้เป็นเพลง 3 ชั้น และ ตัดลงเป็นชั้นเดียวจนกระทั่งกลายเป็นเพลงเถาในที่สุด (นับว่าเพลงเถา เกิดขึ้นมากมายในสมัยนี้) นอกจากนี้วงเครื่องสายก็เกิดขึ้นในสมัยรัชกาลนี้ เช่นกัน

122 สมัยกรุงรัตนโกสินทร์ : รัชกาลที่ 5
สมัยกรุงรัตนโกสินทร์ : รัชกาลที่ 5 สมัยรัชกาลที่ 5 ได้มีการปรับปรุงวงปี่พาทย์ขึ้นใหม่ชนิดหนึ่ง ซึ่งต่อมา เรียกว่า "วงปี่พาทย์ดึกดำบรรพ์" โดยสมเด็จกรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์ สำหรับใช้บรรเลงประกอบการแสดง "ละครดึกดำบรรพ์" ซึ่งเป็น ละครที่ เพิ่งปรับปรุงขึ้นในสมัยรัชกาลนี้เช่นกัน  หลักการปรับปรุงของท่านก็โดยการตัดเครื่องดนตรีชนิดเสียงเล็กแหลม หรือดังเกินไปออก คงไว้แต่เครื่องดนตรีที่มีเสียงทุ้ม นุ่มนวล กับเพิ่ม เครื่องดนตรีบางอย่างเข้ามาใหม่ เครื่องดนตรี ในวงปี่พาทย์ดึกดำบรรพ์ จึงประกอบด้วยระนาดเอก ฆ้องวงใหญ่ ระนาดทุ้ม ระนาดทุ้มเหล็ก ขลุ่ย ซออู้ ฆ้องหุ่ย (ฆ้อง 7 ใบ) ตะโพน กลองตะโพน และเครื่องกำกับจังหวะ

123 สมัยกรุงรัตนโกสินทร์ : รัชกาลที่ 6
สมัยกรุงรัตนโกสินทร์ : รัชกาลที่ 6 สมัยรัชกาลที่ 6 ได้การปรับปรุงวงปี่พาทย์ขึ้นมาอีกชนิดหนึ่ง โดยนำวงดนตรี ของมอญมาผสมกับ วงปี่พาทย์ของไทย ต่อมาเรียกวงดนตรีผสมนี้ว่า "วงปี่ พาทย์มอญ" โดย หลวงประดิษฐไพเราะ (ศร ศิลปบรรเลง) เป็นผู้ปรับปรุง ขึ้น  วงปี่พาทย์มอญดังกล่าวนี้ ก็มีทั้งวงปี่พาทย์มอญเครื่องห้า เครื่องคู่ และเครื่อง ใหญ่ เช่นเดียวกับวงปี่พาทย์ของไทย และกลายเป็นที่นิยมใช้บรรเลง ประโคมในงานศพ มาจนกระทั่งบัดนี้ นอกจากนี้ยังได้มีการนำเครื่องดนตรี ของต่างชาติเข้ามาบรรเลงผสมกับวงดนตรีไทย บางชนิดก็นำมาดัดแปลง เป็นเครื่องดนตรีของไทย ทำให้รูปแบบของวงดนตรีไทยเปลี่ยนแปลง พัฒนา 

124 มีการนำเครื่องดนตรีของชวาหรืออินโดนีเซีย คือ "อังกะลุง" มา เผยแพร่ในเมืองไทยเป็นครั้งแรก โดยหลวงประดิษฐไพเราะ (ศร ศิลป บรรเลง) ทั้งนี้โดยนำมาดัดแปลงปรับปรุงขึ้นใหม่ ให้มีเสียง ครบ 7 เสียง (เดิมมี 5 เสียง) ปรับปรุงวิธีการเล่น โดยถือเขย่าคนละ 2 เสียง ทำให้เครื่องดนตรีชนิดนี้กลายเป็นเครื่องดนตรีไทยอีกอย่างหนึ่ง เพราะคนไทย สามารถทำอังกะลุงได้เองอีกทั้งวิธีการบรรเลงก็เป็น แบบเฉพาะของเราแตกต่างไปจากของชวาโดยสิ้นเชิง การนำเครื่องดนตรีของต่างชาติเข้ามาบรรเลงผสมในวงเครื่องสาย ได้แก่ ขิมของจีน และออร์แกนของฝรั่ง ทำให้วงเครื่องสายพัฒนา รูปแบบของวงไปอีกลักษณะหนึ่ง คือ "วงเครื่องสายผสม"

125 การประสมวงเครื่องสายกับเครื่องดนตรีต่างชาติ

126 สมัยกรุงรัตนโกสินทร์ : รัชกาลที่ 7
สมัยกรุงรัตนโกสินทร์ : รัชกาลที่ 7 สมัยรัชกาลที่ 7 พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวได้ทรงสนพระทัยทางด้าน ดนตรีไทยมากเช่นกัน พระองค์ได้พระราชนิพนธ์ เพลงไทยที่ไพเราะไว้ถึง 3 เพลง คือ เพลงโหมโรงคลื่นกระทบฝั่ง 3 ชั้น เพลงเขมรลอยองค์ (เถา) และ เพลงราตรีประดับดาว (เถา) พระองค์และพระราชินีได้โปรดให้ครูดนตรีเข้า ไปถวายการสอนดนตรีในวังแต่เป็นที่น่าเสียดาย ที่ระยะเวลาแห่งการ ครองราชย์ของพระองค์ไม่นาน เนื่องมาจากมีการเปลี่ยนแปลงการปกครอง และพระองค์ทรงสละราชบัลลังก์หลังจากนั้นได้ 2 ปี มิฉะนั้นแล้วดนตรีไทย ก็คงจะเจริญรุ่งเรืองมากในสมัยแห่งพระองค์ อย่างไรก็ตามดนตรีไทยใน สมัยรัชกาลนี้นับว่าได้พัฒนารูปแบบ และลักษณะมาจนกระทั่งสมบูรณ์เป็น แบบแผนดังเช่นในปัจจุบันนี้แล้ว

127 เหตุการณ์หลังจากรัชการที่ 7
ต่อมาภายหลังการเปลี่ยนแปลงการปกครอง พ.ศ.2475 เป็นต้นมา ดนตรีไทยเริ่ม ซบเซาลง อาจกล่าวได้ว่า เป็นสมัยหัวเลี้ยวหัวต่อ ที่ ดนตรีไทย เกือบจะถึงจุดจบ เนื่องจากรัฐบาลในสมัยหนึ่งมีนโยบายทีเรียกว่า "รัฐนิยม" ซึ่งนโยบายนี้มี ผลกระทบต่อดนตรีไทยด้วย กล่าวคือมีการห้ามบรรเลงดนตรีไทย เพราะเห็นว่า ไม่สอดคล้องกับการพัฒนาประเทศ ให้ทัดเทียมกับอารยประเทศ ใครจะจัดให้มี การบรรเลง ดนตรีไทย ต้องขออนุญาต จากทางราชการก่อน อีกทั้ง นักดนตรี ไทยก็จะต้องมีบัตรนักดนตรีที่ ทางราชการออกให้ จนกระทั่งต่อมาอีกหลายปี เมื่อได้มี การสั่งยกเลิก "รัฐนิยม" ดังกล่าวเสีย แต่ถึงกระนั้นก็ตาม ดนตรีไทย ก็ ไม่รุ่งเรืองเท่าแต่ก่อนยังล้มลุกคลุกคลาน มาจนกระทั่งบัดนี้ เนื่องจากวิถีชีวิต และสังคมไทยเปลี่ยนแปลงไปจากเดิม 

128 วัฒนธรรมทางดนตรีของต่างชาติ ได้เข้ามามีบทบาทในชีวิตประจำวัน ของคนไทยเป็นอันมาก ดนตรีที่เราได้ยินได้ฟัง และได้เห็นกันทาง วิทยุ โทรทัศน์ หรือที่บรรเลงตามงานต่าง ๆ โดยมากก็เป็นดนตรีของ ต่างชาติ หาใช่ "เสียงพาทย์ เสียงพิณ" ดังแต่ก่อนไม่  ถึงแม้ว่าจะเป็นที่น่ายินดีที่เราได้มีโอกาสฟังดนตรีนานาชาตินานา ชนิด แต่ถ้าดนตรีไทย ถูกทอดทิ้ง และไม่มีใครรู้จักคุณค่า ก็นับว่า เสียดายที่จะต้องสูญเสียสิ่งที่ดีงาม ซึ่งเป็นเอกลักษณ์ของชาติอย่าง หนึ่งไป  ดังนั้น จึงควรที่คนไทยทุกคนจะได้ตระหนัก ถึงคุณค่าของ ดนตรี ไทย และช่วยกันทะนุบำรุงส่งเสริม และรักษาไว้ เพื่อเป็นมรดกทาง วัฒนธรรมของชาติสืบต่อไป

129 ยุคสมัยดนตรีตะวันตก

130 ยุคสมัยดนตรีตะวันตก ยุคสมัยของดนตรีตะวันตกแบ่งออกเป็น 7 ยุคด้วยกัน ได้แก่ 1. ยุคกลาง (Middle Ages) 2. ยุครีเนซองค์ (Renaissance Period) 3. ยุคบาโรค (Baroque Period)   4. ยุคคลาสสิค (Classical period) 5. ยุคโรแมนติด(Romantic period) 6. ยุคอิมเพรสชั่นนิสติค  (Impressionistic Period หรือ Impressionism) 7. ยุคศตวรรษที่ 20(Contemporary Period)

131 1. ยุคกลาง (Middle Ages) ช่วงเวลาของยุค
 ช่วงเวลาของยุค ระหว่างศตวรรษที่ 5-15 (ราว ค.ศ ) อาจเรียกว่า ยุคเมดิ อีวัล  (Medieval Period)  ลักษณะเด่นของดนตรี ในยุคนี้เป็น vocal polyphony คือ เป็นเพลงร้องโดยมีแนวทำนองหลาย แนวสอดประสานกัน    ซึ่งพัฒนามาจากเพลงสวด (Chant)และเป็นเพลงแบบมี ทำนองเดียว  (Monophony)  ในระยะแรกเป็นดนตรีที่ไม่มีอัตราจังหวะ (Non- metrical) ในระยะต่อมาใช้อัตราจังหวะ ¾ ต่อมาในศตวรรษที่ 14 มักใช้อัตรา จังหวะ 2/4  เพลงร้องพบได้ทั่วไป และเป็นที่นิยมมากกว่าเพลงที่บรรเลงด้วย เครื่องดนตรี  รูปแบบของเพลงเป็นแบบล้อทำนอง (Canon) นักดนตรีที่ควรรู้จักคือ มาโซท์และแลนดินี

132 2. ยุครีเนซองค์ (Renaissance Period)
 ช่วงเวลาของยุค ช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 15-16 (ราว ค.ศ )  ลักษณะเด่นของดนตรี การสอดประสาน(Polyphony) ยังเป็นลักษณะของเพลงในยุคนี้โดยมีการล้อ กันของแนวทำนองเดียวกัน (Imitative style) ลักษณะบันไดเสียงเป็นแบบโหมด (Modes)  ยังไม่นิยมแบบบันไดเสียง(Scales)  การประสานเสียงเกิดจากแนว ทำนองแต่ละแนวสอดประสานกัน   มิได้เกิดจากการใช้คุณสมบัติของ คอร์ด   ลักษณะของจังหวะมีทั้งเพลงแบบมีอัตราจังหวะ   และไม่มีอัตรา จังหวะ    ลักษณะของเสียงเกี่ยวกับความดังค่อย   ยังมีน้อยไม่ค่อยพบ    ลักษณะ ของเพลงมีความนิยมพอๆกัน  ระหว่างเพลงร้องและบรรเลงด้วยเครื่อง ดนตรี   เริ่มมีการผสมวงเล็กๆ เกิดขึ้น  นักดนตรีที่ควรรู้จักคือ จอสกิน-เดอส์  เพรซ์  ปาเลสตรินา  และเบิร์ด

133 3. ยุคบาโรค (Baroque Period)
ช่วงเวลาของยุค ในระหว่างศตวรรษที่17-18 (ราว ค.ศ ) ลักษณะเด่นของดนตรี การสอดประสานเป็นลักษณะที่พบได้เสมอในปลายยุค    ช่วงต้น ยุคมีการใช้ลักษณะการใส่เสียงประสาน(Homophony) เริ่มนิยมการใช้ เสียงเมเจอร์และไมเนอร์แทนการใช้โหมดต่างๆ การประสานเสียงมี หลักเกณฑ์เป็นระบบ   มีการใช้เสียงหลัก (Tonal canter) อัตราจังหวะเป็น สิ่งสำคัญของบทเพลง   

134 ยุคบาโรค (ต่อ) การใช้ลักษณะของเสียงเกี่ยวกับความดังค่อย  เป็นลักษณะของ ความดัง-ค่อย   มากกว่าจะใช้ลักษณะค่อยๆ ดังขึ้นหรือค่อยๆลง ไม่มี ลักษณะของความดังค่อยอย่างมาก     บทเพลงบรรเลงด้วยเครื่องดนตรีเป็นที่นิยมมากขึ้น     บท เพลงร้องยังคงมีอยู่และเป็นทีนิยมเช่นกัน   นิยมการนำวงดนตรีเล่น ผสมกับการเล่นเดี่ยวของกลุ่ม  เครื่องดนตรี 2-3 ชิ้น(Concerto grosso)  นักดนตรีที่ควรรู้จัก คือ มอนเมแวร์ดี  คอเรลลี วิวัลดี  บาค ฮันเดล

135 4. ยุคคลาสสิค (Classical period)
ช่วงเวลาของยุค อยู่ในระหว่างศตวรรษที่ 18  และช่วงต้นศตวรรษที่ 19 (ค.ศ ) ลักษณะเด่นของดนตรี เป็นยุคที่ดนตรีมีกฎเกณฑ์แบบแผนอย่างมาก    การใส่เสียงประสานเป็น ลักษณะเด่นของยุคนี้   การสอดประสานพบได้บ้างแต่ไม่เด่นเท่าการใส่เสียง ประสาน การใช้บันไดเสียงเมเจอร์และไมเนอร์เป็นหลักในการประพันธ์ เพลง ลักษณะของบทเพลงมีความสวยงามมีแบบแผนบริสุทธิ์  มีการใช้ลักษณะ ของเสียงเกี่ยวกับความดังค่อยเป็นสำคัญ  ลีลาของเพลงอยู่ในขอบเขตที่นัก ประพันธ์ในยุคนี้ยอมรับกัน ไม่มีการแสดงอารมณ์ หรือความรู้สึกของผู้ประพันธ์ ไว้ในบทเพลงอย่างเด่นชัด  

136 ยุคคลาสสิค (ต่อ) การผสมวงดนตรีพัฒนามากขึ้น   การบรรเลงโดยใช้วงและการเดี่ยว ดนตรีของผู้เล่นเพียงคนเดียว(Concerto)เป็นลักษณะที่นิยมในยุคนี้   บทเพล ลงประเภทซิมโฟนีมีแบบแผนที่นิยมกันในยุคนี้เช่นเดียวกับ เพลงเดี่ยว (Sonata)  ด้วยเครื่องดนตรีชนิดต่างๆ บทเพลงบรรเลงด้วยเครื่อง ดนตรีที่นิยมเป็นอย่างมาก    บทเพลงร้องมีลักษณะซับซ้อนกันมาก ขึ้น  เช่นเดียวกับบทเพลงบรรเลงด้วยเครื่องดนตรี    นักดนตรีที่ควรรู้จักในยุคนี้ คือ กลุค ,ไฮเดิน ,โมทซาร์ทและเบโธเฟน

137 5. ยุคโรแมนติค (Romantic period)
ช่วงเวลาของยุค ระหว่างคริสต์ศตวรรษที่ 19 (ราว ค.ศ ) ลักษณะเด่นของดนตรี เป็นดนตรีที่แสดงความรู้สึกของนักประพันธ์เพลงเป็นอย่างมาก ฉะนั้น โครงสร้างของดนตรีจึงมีหลากหลายแตกต่างกันไปในรายละเอียด   โดยการ พัฒนาหลักการต่างๆ ต่อจากยุคคลาสสิก  หลักการใช้บันไดเสียงไมเนอร์และ เมเจอร์   ยังเป็นสิ่งสำคัญ    แต่ลักษณะการประสานเสียงมีการพัฒนาและ คิดค้นหลักใหม่ๆ ขึ้นอย่างมากเพื่อเป็นการสื่อสารแสดงออกทางอารมณ์และ ความรู้สึกของผู้ประพันธ์เพลง   

138 ยุคโรแมนติค (ต่อ) การใส่เสียงประสานจึงเป็นลักษณะเด่นของเพลงในยุค นี้    บทเพลงมักจะมีความยาวมากขึ้น   เนื่องจากมีการขยาย รูปแบบของโครงสร้างดนตรี   มีการใส่สีสันของเสียงจากเครื่อง ดนตรีเป็นสื่อในการแสดงออกทางอารมณ์   ลักษณะการผสมวง พัฒนาไปมาก    วงออร์เคสตร้ามีขนาดใหญ่มากขึ้นกว่าในยุค คลาสสิค   บทเพลงมีลักษณะต่างๆกันออกไป เพลงซศิมโฟนี โซ นาตา และเซมเบอร์มิวสิก   ยังคงเป็นรูปแบบที่นิยม นอกเหนือไปจากเพลงลักษณะอื่น เช่น Prelude, Etude,Fantasia เป็นต้น  

139 ยุคโรแมนติค (ต่อ) นักดนตรีที่ควรรู้จักในยุคนี้มีเป็นจำนวนมาก
นักดนตรีที่ควรรู้จักในยุคนี้มีเป็นจำนวนมาก  เช่น  เบโธเฟน  ชูเบิร์ต  โชแปง  ลิสซท์  เมนเดลซอน   เบร์ลิโอส  ชูมานน์  แวร์ดี   บราหมส์   ไชคอฟสี  ริมสกี-คอ รสคอฟ  รัคมานินอฟ  ปุกซินี  วากเนอร์  กรีก   ริชาร์ด  สเต ราห์   มาห์เลอร์  และซิเบลุส  เป็นต้น

140 6. ยุคอิมเพรสชั่นนิสติค (Impressionistic Period หรือ Impressionism)
ช่วงเวลาของยุค ช่วงระหว่าง ค.ศ – 1910  ลักษณะเด่นของดนตรี    ใช้บันไดเสียงแบบเสียงเต็ม  ซึ่งทำให้บทเพลงมีลักษณะ ลึกลับ   คลุมเครือไม่กระจ่างชัด    เนื่องมาจากการประสานเสียงโดยใช้ใน บันไดเสียงแบบเสียงเต็ม   บางครั้งจะมีความรู้สึกโล่งๆว่างๆ  เสียงไม่หนัก แน่น  ดังเช่น เพลงในยุคโรแมนติก     การประสานเสียงไม่เป็นไปตาม กฎเกณฑ์    ในยุคก่อนๆ สามารถพบการประสานเสียงแปลก ๆ ไม่คาดคิดได้ ในบทเพลงประเภทอิมเพรสชั่นนิซึม   รูปแบบของการบรรเลงเป็นรูปแบบ ง่าย   มักเป็นบทเพลงสั้นๆ รวมเป็นชุด  นักดนตรีที่ควรรู้จัก คือ  เดอบูสซี,ราเวล และเดลิอุส

141 7. ยุคศตวรรษที่ 20(Contemporary Period)
ช่วงเวลาของยุค ช่วงระหว่าง ค.ศ. 1910 - ปัจจุบัน ลักษณะเด่นของดนตรี ดนตรีในยุคศตวรรษที่ 20 เป็นยุคของการทดลองสิ่งแปลกๆ ใหม่ๆ  และนำเอาหลักการเก่าๆ มากพัฒนาเปลี่ยนแปลงปรับปรุงให้เข้ากับ แนวความคิดในยุคปัจจุบัน   เช่น  หลักการเคาเตอร์พอยต์   (Counterpoint) ของ โครงสร้างดนตรีแบบการสอดประสาน   มีการใช้ประสานเสียงโดย  การใช้บันได เสียงต่างๆ รวมกัน (Polytonatity) และการไม่ใช่เสียงหลักในการแต่งทำนอง หรือประสานเสียงจึงเป็นเพลงแบบใช้บันไดเสียง 12 เสียง(Twelve-tone scale) ซึ่งเรียกว่า Atonality อัตราจังหวะที่ใช้ทีการกลับไปกลับมา   

142 ยุคศตวรรษที่ 20 (ต่อ) ลักษณะสำคัญอีกประการหนึ่งคือ การใช้การประสานเสียงที่ฟังระคายหูเป็น พื้น (Dissonance)  วงดนตรีกลับมาเป็นวงเล็กแบบเชมเบอร์มิวสิก    ไม่นิยมวงออร์ เคสตรา   มักมีการใช้อิเลกโทรนิกส์    ทำให้เกิดเสียงดนตรีซึ่งมีสีสันที่แปลกออกไป เน้นการใช้จังหวะรูปแบบต่างๆ บางครั้งไม่มีทำนองที่โดดเด่น ในขณะที่แนวคิดแบบ โร-แมนติกมีการพัฒนาควบคู่ไปเช่นกัน   เรียกว่า  นีโอโรแมนติก (Neo-Romantic)  กล่าวโดยสรุปคือ โครงสร้างของเพลงในศตวรรษที่ 20  นี้มีหลากหลายมาก สามารถพบสิ่งต่างๆตั้งแต่ยุค ต่างๆมาที่ผ่านมา แต่มีแนวคิดใหม่ที่เพิ่มเข้าไป   นักดนตรีที่ควรรู้จักในยุคนี้ คือ สตราวินสกี   โชนเบิร์ก   บาอก   เบอร์ก   ไอฟส์    คอปแลนด์  ชอสตาโกวิช     เป็นต้น

143 ประเภทของบทเพลงไทย

144 ประเภทของบทเพลงไทย เพลงไทย หมายถึง เพลงที่ประพันธ์ขึ้นตามหลักดนตรีไทย เป็นเอกลักษณ์ เฉพาะประจำชาติ มีลีลาการขับร้อง และการบรรเลงเป็นแบบไทย  เพลงไทยเป็นศิลปะวัฒนธรรมของชนชาติไทย ซึ่งมีมาตั้งแต่สมัยโบราณ ต่อมาได้พัฒนารูปแบบเพลงไทยมาเรื่อยๆ ได้มีการประพันธ์เพลงไทยให้มี ลีลา และสำเนียงภาษาของชาติอื่นมากมายถึง 12 ภาษา เช่น ภาษาลาว ภาษา เขมร ภาษาแขก ภาษามอญ ภาษาจีน เป็นต้น เพลงที่ประพันธ์ขึ้นมาโดย เลียนสำเนียงอื่น มักมีชื่อนำหน้าเพลงตามสำเนียงภาษาที่เลียนมา เช่น เพลง ลาววงเดือน เพลงเขมรไทรโยค เพลงมอญท่าอิฐ เพลงจีนขิมเล็ก

145 ประเภทของเพลงไทย แบ่งออกเป็น 2 ประเภท
ประเภทของเพลงไทย แบ่งออกเป็น 2 ประเภท 1. เพลงบรรเลง ได้แก่ เพลงโหมโรง เพลงหน้าพาทย์ เพลงเรื่อง เพลงหางเครื่อง เพลงสำเนียงภาษา เพลงเดี่ยว 2. เพลงขับร้อง  ได้แก่ เพลงเถา เพลงตับ เพลงเบ็ตเตล็ด

146 เพลง โหมโรง โหมโรง   คือ เพลงที่ใช้บรรเลงเริ่มต้นของการบรรเลง หรือการแสดง มีความหมาย บอกให้ทราบว่า พิธีหรืองานจะเริ่มขึ้นแล้ว และยังเป็นการอัญเชิญเทพยดา และสิ่ง ศักดิ์สิทธิ์ทั้งหลายให้มาประชุมสโมสรในงาน เพื่อจะได้เป็นสิริมงคลแก่เจ้าภาพ และผู้ร่วมงาน เพลงโหมโรงแบ่งออกเป็นหลายชนิดดังนี้ -  เพลงโหมโรงเช้า ใช้บรรเลงในเวลาเช้าสำหรับงานที่มีการนิมนต์พระมาสวดมนต์ เย็น -  เพลงโหมโรงประกอบการแสดง ใช้บรรเลงเพื่อประกาศให้ประชาชนทราบว่า การแสดงกำลังจะเริ่มขึ้นแล้ว - เพลงโหมโรงเสภา ส่วนใหญ่เป็นเพลงอัตรา 3 ชั้น ใช้บรรเลงเพื่อบอกให้ทราบว่า การแสดงกำลังจะเริ่มขึ้น ในสมัยโบราณ มีการรัวประลองเสภา แล้วจึงบรรเลงโหม โรงเสภา ตอนท้ายของเพลงโหมโรงเสภาจะมีลักษณะเฉพาะตัว จบด้วยท้ายของ เพลงวา

147 เพลงหน้าพาทย์    คือ เพลงที่ใช้บรรเลงประกอบพิธีกรรมต่างๆ และใช้ประกอบตัวแสดงโขนและละคร โดยทั่วไป มี 7 ประเภทดังนี้ -  สำหรับกิริยาไปและมา โดยทั่วไปจะมีเพลงรำอยู่ 14 เพลง คือ - เสมอ สำหรับการไปมาในระยะใกล้ๆ - เพลงฉิ่ง สำหรับการไปมาอย่างนวยนาด กรีดกราย เช่น ไปชมสวน ไปเที่ยวสนุกสนาน- เชิด สำหรับการไปมาในระยะใกล้ๆ -บาทสกุณี สำหรับการไปมาใช้กับพิธีใหญ่ๆ และสำคัญ ใช้เฉพาะพระ- พระยาเดิน สำหรับการไป มาของผู้สูงศักดิ์ - เชิดฉาน ท่าสำหรับการไปมาของพระราม พระลักษมณ์

148 เพลงหน้าพาทย์ (ต่อ) - ลุกรัน ท่าสำหรับการไปมาของพระราม พระลักษมณ์
เพลงหน้าพาทย์ (ต่อ) - ลุกรัน ท่าสำหรับการไปมาของพระราม พระลักษมณ์ - เสมอข้ามสมุทร ท่าสำหรับการไปมาของพระราม พระลักษมณ์ - ชุบ สำหรับการไปมาของตัวละครที่มีศักดิ์ต่ำ หรือฐานะต่ำ เช่น นางกำนัล - เหาะ สำหรับการไปมาทางอากาศ เทวดา นางฟ้า และตัวละครที่มีบรรดาศักดิ์สูง - โคมเวียน ใช้กับพระ - กลม การไปมาของเทวดา หรือผู้ที่สูงกว่าเทวดา เช่นพระอินทร์ พระอรชุน และสำหรับผู้ที่มีบรรดาศักดิ์ สูงเช่น เจ้าเงาะ - เข้าม่าน ใช้ในการเข้าไปในสถานที่ใดสถานที่หนึ่ง เช่นห้องสรง (ใช้กับตัวเอก หรือ ผู้มีบรรดาศักดิ์สูง)

149 เพลงหน้าพาทย์ (ต่อ) - แผละ การไปมาของสัตว์ปีก เช่น นก แมลง สำหรับการยกพล ตามปกติใช้ 2 เพลง - กราวนอก สำหรับพลมนุษย์ หรือ พลลิง - กราวใน สำหรับพลยักษ์ ใช้สำหรับการมาของยักษ์ สำหรับการสนุกสนาน ตามปกติใช้ 6 เพลง - กราวรำ สำหรับการเยาะเย้ยสนุกสนาน - สีนวล สำหรับความรื่นรมย์อย่างธรรมดา - ฉุยฉาย สำหรับความภูมิใจ เมื่อได้แต่งตั้งใหม่ หรือเมื่อได้แปลงตัวให้งดงามกว่าเดิม

150 เพลงหน้าพาทย์ (ต่อ) - แม่ศรี ใช้ทำนองเดียวกับฉุยฉาย
เพลงหน้าพาทย์ (ต่อ) - แม่ศรี ใช้ทำนองเดียวกับฉุยฉาย - เพลงช้า สำหรับความเบิกบานอย่างธรรมดา - เพลงเร็ว สำหรับความเบิกบานอย่างธรรมดา โดยมากใช้รำต่อจากเพลงช้า หรือจะเริ่มเพลงเร็วทีเดียวก็ได้ สำหรับการแสดงฤทธิ์ ตามปกติใช้ 6 เพลง - ตระนิมิตร สำหรับการแปลงตัว หรือชุบคนตายให้ฟื้น หรือแปลงตัวให้คนอื่น - ตระสันนิบาต การชุมนุมเพื่อกระทำพิธีสำคัญต่างๆ ใช้ในพิธีร่ายเวทมนตร์และประสิทธิ์ประสาทพร - ชำนาญ ใช้เช่นเดียวกับตระนิมิตร - ตระบองกัน ใช้เช่นเดียวกับชำนาญ

151 เพลงหน้าพาทย์ (ต่อ) - คุกพาทย์ สำหรับการแสดงของผู้มีอิทธิ์ฤทธิ์ หรือแสดงอารมณ์โกรธของตัวละครผู้มีศักดิ์สูง - รัว ใช้ทั่วๆไป ในการสำแดงเดช และมักใช้ต่อท้ายเพลงอื่น สำหรับการต่อสู้ ปกติใช้ 3 เพลง - เชิดกลอง สำหรับการต่อสู้โดยทั่วๆไป- เชิดฉิ่ง สำหรับรำก่อนที่นุทำการสำคัญในการรบ เช่นก่อนแผลง ศร หรือก่อนใช้อาวุธอย่างใดอย่างหนึ่ง - เชิดนอก สำหรับการจับ หรือขับไล่ของสัตว์ สำหรับการแสดงความรักใคร่ หรือเรียกว่า เข้าพระเข้านาง ตามปกติใช้เพลงโลมสำหรับการนอน ใช้เพลงตระนอน หลักในการสังเกตเพลงหน้าพาทย์ คือเป็นเพลงที่ใช้ ตะโพน และกลองทัด เป็นผู้ควบคุม จังหวะหน้าทับ

152  เพลงเรื่อง คือการนำเพลงใกล้เคียงกันมาเพื่อบรรเลงต่อกันเป็นชุดต่างๆ มีดังนี้ - เพลงเรื่องช้า - เพลงเรื่องเร็ว - เพลงเรื่องเพลงฉิ่ง - เพลงเรื่องสองไม้ - เพลงเรื่องเกี่ยวกับพิธีกรรม

153  เพลงหางเครื่อง   คือ เพลงที่ใช้บรรเลงต่อท้ายเพลงเถาเป็นเพลง สั้น ชั้นเดียว สนุกสนาน ครึกครื้น เพลง เดียวกันใช้สำเนียงเดียวกันจะใช้เพลงชุดใด ขึ้นอยู่กับเพลงเถาข้างหน้า

154 เพลงสำเนียงภาษา  เป็นเพลงที่นำสำเนียงภาษามาเรียงกันต่างจาก เพลงหางเครื่องคือ เพลงออกภาษาต้อง บรรเลง 4 ภาษาก่อน คือ จีน เขมร ตลุง พม่า แล้วจึงเลือกสำเนียงภาษาอื่นตามความ เหมาะสม

155 เพลงเดี่ยว  เป็นเพลงที่ชั้นครูแต่งขึ้นเพื่อ ใช้บรรเลงเดี่ยวด้วยเครื่องมือต่างๆ ใช้แสดง ความสามารถของผู้บรรเลง ผู้เล่นจะต้องมีทักษะและกลเม็ดในการเล่น เป็นอย่างดี       

156 เพลงขับร้อง : เพลงเถา เพลงเถา   หมายถึง เพลงที่ขับร้องและบรรเลงเริ่ม จากช้าแล้วเร็วขึ้นเรื่อยๆ จาก 3 ชั้น ไป 2 ชั้น ไป 1 ชั้น จะมีชั้นละกี่ท่อนก็ได้ จำนวนท่อน จะต้องเท่ากันทุกชั้น และอาจจบด้วยรูปบท หรือไม่มีรูปบทก็ได้

157 เพลงขับร้อง : เพลงตับ * เพลงตับ   หมายถึง การนำเอาเพลงหลายๆ เพลงมาขับร้องและบรรเลง ต่อเนื่องกัน มี 2 ชนิดคือ -  เพลงตับเรื่อง คือเพลงที่นำมารวมร้อง และบรรเลงติดต่อกัน ยึด บทร้องที่เป็นเรื่องเดียวกัน ฟังได้ติดต่อเป็นเรื่องเดียวกัน ส่วนทำนอง เพลงจะเป็นอย่างไรไม่ถือเป็นสำคัญ เช่น เพลงตับนางลอย เพลงตับนาค มาศ เป็นต้น  - เพลงตับเพลง คือเพลงที่นำมารวมร้อง และบรรเลงติดต่อกัน ยึด ถือ.สำนวน ทำนองของเพลง ที่สอดคล้องเหมาะสม และต้องอยู่ในอัตรา จังหวะเดียวกัน ส่วนบทร้องจะเป็นอย่างไรไม่ถือเป็นสำคัญ เช่น เพลง ตับลมพัดชายเขา เพลงตับเพลงยาว เป็นต้น

158 เพลงขับร้อง : เพลงเบ็ดเตล็ต
  ใช้ขับร้องทั่วไป ผู้ประพันธ์ส่วนใหญ่ประพันธ์ขึ้นเพื่อความ สนุกสนาน หรือเพื่อสอนใจ เนื้อหาอาจอยู่ในรูป ชมธรรมชาติ ชมผู้หญิง บรรยายความรัก 

159 ประเภทของบทเพลงสากล

160 ประเภทของบทเพลงสากล 1.เพลงศาสนา             เพลงศาสนาหรือดนตรีศาสนา (Church music หรือ Sacred music) นี้เองมีส่วนทำให้ศาสนาโดยเฉพาะศาสนา คริสต์เจริญรุ่งเรือง เรื่อยมา นับเป็นเวลาที่ยาวนานมาถึงร่วม 7 ศตวรรษ เพลงศาสนานี้จัดได้ ว่าเป็นคำตรงกันข้ามกับ คำว่า ดนตรีบ้าน (secular music) ดนตรี ศาสนาจะขับร้องและบรรเลงกันในวัดหรือโบสถ์ ส่วนดนตรีบ้านเป็น ดนตรีชาวบ้านที่ฟังหรือบรรเลงกันตามบ้านทั่ว ๆ ไปเพลงศาสนา ประเภทนี้เป็นเพลงประเภทขับร้องที่มีเนื้อร้องเกี่ยวกับศาสนาโดยเฉพาะ มีทั้งประเภทที่ขับร้องเดี่ยว และ ขับร้องประสานเสียง อาจประกอบ ดนตรี หรือไม่ก็ได้ เพลงศาสนามีหลายชนิด อาทิ  

161 ประเภทเพลงศาสนา แคนตาต้า (Cantata)              เป็นเพลงร้องสั้น ๆ เนื้อร้องเป็นเรื่องเกี่ยวกับศาสนา ซึ่งมีทั้ง ชนิดที่ใช้ร้องในโบสถ์ และร้องตามบ้านตัวอย่าง เพลง Cantata Duetto from Cantata n. 10 (Bach)   คอรอล (Chorale)              เป็นเพลงที่ร้องเป็นเสียงเดียวกันหลายคนในบทสวด ของ ศาสนาคริสตนิกายโปแตสแตนท์ของเยอรมัน ตัวอย่างเพลง (Chorale) For Unto Us a Child is Born (From Messiah) 

162 ฮีมน์ (Hymn)               คือเพลงสวดที่เกี่ยวกับศาสนา มีลักษณะเป็นบทกลอน ร้องเพื่อศาสนาอย่าง เดียว
แมส (Mass)              คือบทร้องในศาสนานิกายโรมันคาทอลิค ร้องแบบประสานเสียง เพิ่งมีดนตรี ประกอบเมื่อ ศตวรรษที่ 17 ตัวอย่างเพลง Mass Mozart, Mass in C Minor   โมเตท (motet)               เป็นเพลงร้องทางศาสนา การร้องไม่มีดนตรีคลอ ส่วนมากร้องเป็นภาษาลาติน        ตัวอย่างเพลง Motet Intermedio di felici pastor โดย Banchieri  โอราโทริโอ (Oratorio)               เป็นเพลงสวดที่นำเนื้อร้องมาจากพระคัมภีร์ มีทั้งร้องเดี่ยว ร้องหมู่ และมี ดนตรีวงใหญ่ประกอบ ตัวอย่างเพลง Oratorio Hallelujah From Messiah Haydn  

163 แพสชั่น (Passion)              เป็นเพลงสวดที่มีเนื้อหา เนื้อเพลงเกี่ยวกับความทุกข์ ยากของพระเยซู            
รีเควี่ยม (Requiem)              เป็นเพลงสวดที่เกี่ยวกับความตาย ร้องในโบสถ์โรมันคา ทอลิคในพิธีฝังศพ หรือวันครบรองแห่งความตายหรือวันรวม วิญญาณของศาสนาคริสต์คือ วันที่ 2 พ.ย. ของทุก ๆ ปี 

164 ประเภทของบทเพลงสากล 2. เพลงที่ใช้ขับร้องในละครอุปรากร หรือละครโอเปร่า             เป็นละครชนิดหนึ่งที่แสดงโดยใช้การร้องเพลงโต้ตอบกันตลอด ทั้งเรื่อง มีการร้องดังนี้  อาเรีย (Aria)              เป็นเพลงขับร้องที่ร้องรำพันแสดงความรู้สึกทางจิตใจอย่างลึกซึ้ง เป็นการขับร้องเดี่ยวโดยมีเครื่องดนตรีประกอบ เพลงหนึ่ง ๆ มี 3 ท่อน ท่อนที่ 1 , 2 ทำนองไม่เหมือนกัน ส่วนท่อนที่ 3 ทำนองจะเหมือนท่อนที่ 1   คอรัส (Chorus)               เป็นเพลงขับร้องหมู่ อาจเป็นเสียงเดียวกันหรือคนละเสียงก็ได้ 

165 คอนเสิรทไฟนอล (Concert Final)              เป็นเพลงขับร้องหมู่ ใช้ขับร้องตอนเร้าความรู้สึกสุดยอด (Climax) อาจเป็นตอนจบ หรือตอนอวสาน หรือตอนหนึ่งตอนใดก็ได้       เรคซิเรทีพ (Recilative)              เป็นการขับร้องกึ่งพุด การพูดนี้มีลีลาลัษณะของเสียง สูง ๆ ต่ำ ๆ คล้ายกับการขับเสภาของเรา ใช้สำหรับให้ตัวละครร้องเพื่อเล่าถึงเหตุการณ์ ในท้องเรื่องทั้งสั้นและยาว ซึ่งมี 2 แบบ คือ           ดาย เรคซิเรทีพ (Dry Recilative) เป็นการร้องกึ่งพูดอย่างเร็ว มีเครื่อง ดนตรีประกอบเป็นครั้งคราว เพื่อกันเสียงหลง           อินสทรูเมนท์ เรคซิเรทีพ (Instrument Recilative)  เป็นการร้องที่ใช้ดนตรีทั้งวงประกอบ การร้องจะเน้นความรู้สึกและมี ความประณีตกว่าแบบแรก 

166 ประเภทของบทเพลง(เพิ่มเติม)
เพลง Sonata            เป็นเพลงที่แต่งขึ้นให้เล่นด้วยเครื่องดนตรีหนึ่งหรือ 2 ชิ้น ซึ่งโดยมาก มักจะเป็น ไวโอลินกับเปียโน โดยมากเป็นเพลงช้า ๆ เล่นให้กับบรรยากาศ ขณะที่ศิลปินประกอบแต่งเพลงนั้น ๆ เพลง moonlight Sonata ของบีโธ เฟนแต่งขึ้นเมื่อมีแสงจันทร์ส่องลอดเข้ามาทางหน้าต่างเป็นต้น  เพลงพาเหรด (March)             ได้แก่เพลงซึ่งมีจังหวะเน้นหนักเบา โดยมากเพื่อประกอบการเดินแถว ของพวกทหาร หรือเพื่อประโยชน์ในการปลุกใจ ฟังคึกคัก ตื่นเต้น เพลงเดิน นี้เรียกว่า Military March มีเพลงชนิดหนึ่งมีจังหวะช้า ใช้ในการเดินขบวน แห่ โดยเฉพาะการแห่ศพ เรียกว่า Processional March 

167 เพลงแจ๊ส (Jazz)            เพลงแจ๊สเป็นเพลงอเมริกันแท้อีกชนิดหนึ่ง ลักษณะ สำคัญของเพลงแจ๊สคือ การมี Syncopation (ซินโคเปชั่น) หมายถึงการเน้นจังหวะที่จังหวะยก มากกว่าจังหวะตก โดยมาก เพลงแจ๊สจะเป็นเพลงที่มีเสียงอึกทึกอยู่ไม่น้อย แต่เพลงแจ๊สที่ เล่นอย่างช้า ๆและนุ่มนวลก็มีเช่นกัน เพลงแจ๊สรุ่นแรกเกิดขึ้น ทางภาคใต้ของสหรัฐอเมริกาโดยพวกชนผิวดำที่ ที่มาเป็นทาส เพลงแจ๊สที่เกิดทางใต้นี้มีชื่อเรียกว่า Dixieland Jazz เพลงแจ๊ส ได้รับการพัฒนาปรับปรุงขึ้นมาจนกลายมาเป็นเพลง Blue ลักษณะของเพลง Blue นี้จะเล่นอย่างช้า ๆ เนิบนาบ 

168 เพลงซิมโฟนี (Symphony)  
          หมายถึง ลักษณะของดนตรีที่พัฒนาถึงจุดสุดยอดในเรื่องของ จังหวะ ทำนอง ความแปรผัน และความละเอียดอ่อนทั้งหลาย นอกจากนั้นซิมโฟนียัง เป็นดนตรีที่มีการแสดงออกในด้านต่าง ๆ อย่างบริบูรณ์ มีการเร้าอารมณ์โดย ไม่ต้องมีคำอธิบาย ไม่ต้องตีความ ถ้าจะเปรียบกับการแต่งประโยคในการ เรียงความ เพลงซิมโฟนีก็จะเป็นประโยคเชิงซ้อนมากมายตั้งแต่ต้นจนจบ โครงสร้างของเพลงซิมโฟนี ตามแบบมีดังนี้           ก. ทำนองบอกกล่าว (Statement)           ข. ทำนองนำ หรือทำนองเนื้อหา (Exposition)           ค. ทำนองพัฒนา (Development)           ง. ทำนองอวสาน (Conclusion)          

169 เพลงซิมโฟนีตามแบบมักจะมี 4 กระบวน (ท่อน) แต่ละกระบวนมี ทำนองเนื้อหาของตนเอง           ก. กระบวนที่ 1 มักจะเล่นในจังหวะ เร็วและแข็งขัน           ข. กระบวนที่ 2 เรียบและเรื่อยเอื้อย หรือช้าและแช่มช้อย           ค. กระบวนที่ 3 สั้น ๆ และระรื่น           ง. กระบวนที่ 4 รวดเร็วดังและรุนแรง           เพลงซิมโฟนีนอกแบบอาจมีถึง กระบวนก็ได้ โดยปกติ เพลงซิมโฟนีไม่มีการขับร้องแทรกปนเว้นแต่เพลงซิมโฟนีหมายเลข 9 ของบีโธเฟน และเพลงซิมโฟนีหมายเลข 7 ของกุสตาฟมาห์เลอร์            วงดนตรีที่จะใช้เล่นเพลงซิมโฟนีให้ได้มาตรฐาน จะต้องมี เครื่องดนตรีไม่ต่ำกว่า 70 ชิ้น 

170 เพลง (Concerto)            มีลักษณะของการประกอบแต่งเช่นเดียวกันกับ เพลงซิมโฟนีเกือบทุกประการ แต่วัตถุประสงค์เพื่อ แสดงความสามารถและฝีมือเล่นเดี่ยวของเครื่องดนตรี ชนิดนั้น ๆซึ่งจะเล่นแทรกขึ้นมาเดี่ยว ๆ แล้ววงดนตรี ก็จะประโคมรับ หรือเล่นให้เบาลงเป็นแบ็คกราว ถ้า จะว่าก็คล้ายคลึงกับบทขับร้อง แต่แทนที่จะเป็นการ ขับร้อง ก็กลายเป็นการนำเครื่องดนตรีมาบรรเลงเดี่ยว

171 เพลงโอเวอร์เจอร์ (Overture)            เป็นเพลงเล่นด้วยวงดนตรีสำหรับซิมโฟนี หรือวงดนตรีขนาดใหญ่ เล่นประกอบอุปรากรหรือ ละครดนตรี เล่นโหมโรงก่อนเปิดฉากการแสดง อุปรากรหรือละครดนตรีและโดยมากมักเอาทำนอง เพลงต่าง ๆ ที่จะขับร้องในอุปรากรเรื่องนั้น ๆ มา ปะติดปะต่อกันเข้าเป็นงานอีกชิ้นหนึ่ง 

172

173


ดาวน์โหลด ppt ติว O-Net วิชาดนตรีสากล

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


Ads by Google