งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

บทที่ 3 เซลล์ของสิ่งมีชีวิต

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


งานนำเสนอเรื่อง: "บทที่ 3 เซลล์ของสิ่งมีชีวิต"— ใบสำเนางานนำเสนอ:

1 บทที่ 3 เซลล์ของสิ่งมีชีวิต
ชีววิทยา เล่ม 1 ครูฐิติรัตน์ กันนะ : โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี

2 ครูฐิติรัตน์ กันนะ : โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี
เนื้อหาสาระ เซลล์และทฤษฎีของเซลล์ เซลล์พืชและเซลล์สัตว์ การศึกษาโครงสร้างของเซลล์ผ่านกล้องจุลทรรศน์ คำถามท้ายบทที่ 3 ครูฐิติรัตน์ กันนะ : โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี

3 ครูฐิติรัตน์ กันนะ : โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี
ผลการเรียนรู้ สืบค้นข้อมูล วิเคราะห์ อภิปราย และสรุปเกี่ยวกับทฤษฎีของเซลล์ สืบค้นข้อมูล วิเคราะห์ อภิบาย และสรุปเกี่ยวกับเซลล์พืชและเซลล์สัตว์ สืบค้นข้อมูล วิเคราะห์ อภิปราย และสรุปเกี่ยวกับโครงสร้างของเซลล์โดยการสังเกตจากการใช้กล้องจุลทรรศน์ ครูฐิติรัตน์ กันนะ : โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี

4 3.1 เซลล์และทฤษฏีของเซลล์

5 ครูฐิติรัตน์ กันนะ : โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี
3.1 นักเรียนได้ทราบมาแล้วว่าร่างกายของคนดำรงชีวิตอยู่ได้ด้วยการทำงานของระบบต่างๆ เช่น ระบบหมุนเวียนเลือด ระบบขับถ่าย ระบบย่อยอาหาร เป็นต้น ระบบย่อยอาหารยังประกอบด้วยอวัยวะต่างๆ เช่น ปาก หลอดอาหร กระเพาะอาหาร ลำไส้เล็ก ลำไส้ใหญ่ เป็นต้น และอวัยวะดังกล่าวเกิดจากเนื้อเยื่อ(tissue)ที่ประกอบด้วยหน่วยย่อยเล็กๆลงไปลงไปอีก หน่วยย่อยเหล่านี้เรียกว่า เซลล์(cell)จึงกล่าวได้ว่า เซลล์เป็นหน่วยโครงสร้างพื้นฐานเล็กที่สุด ดังนั้นการที่จะทำความเข้าใจสมบัติของสิ่งชีวิตให้ได้อย่างลึกซึ้งจึงต้องอาศัยความรู้จากการศึกษาโครงสร้างและหน้าที่ของส่วนประกอบของเซลล์ นักเรียนได้ศึกษาโครงสร้างและส่วนประกอบของกล้องจุลทรรศน์ในรายวิชาพื้นฐานชีววิทยามาแล้ว จะเห็นว่าถ้ากล้องจุลทรรศน์นั้นมีกำลังขยายสูงก็จะสามารถเห็นรายละเอียดของสิ่งที่ต้องการสังเกตมากขึ้น เซลล์ของสิ่งมีชีวิตมีรูปร่างและโครงสร้างภายในแตกต่างกันอย่างไรจะศึกษาได้จากกิจกรรมต่อไปนี้ ครูฐิติรัตน์ กันนะ : โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี

6 ครูฐิติรัตน์ กันนะ : โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี
3.1 กิจกรรมที่ 3.1 การศึกษาเซลล์ของสิ่งมีชวิตด้วยกล้องจุลทรรศน์ใช้แสง วัสดุอุปกรณ์ กล้องจุลทรรศน์พร้อมสไลด์และกระจกปิดสไลด์ เยื่อบุข้างแก้ม เข็มเขี่ย สาหร่ายหางกระรอก หลอดหยอด แหล่งน้ำที่มีสิ่งมีชีวิตเซลล์เดียว ใบมีดโกน ไม้จิ้มฟัน กระดาษเยื่อ น้ำ สารละลายไอโอดีน ความเข้มข้น 2% สารละลายโซเดียมคลอไรด์ ความเข้มข้น 0.85% และ 2% เอทิลแอลกอฮอล์ 70% หัวหอม ครูฐิติรัตน์ กันนะ : โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี

7 ครูฐิติรัตน์ กันนะ : โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี
3.1 วิธีการทดลอง ตอนที่ 1 ให้ศึกษาโครงสร้างภายในของเซลล์ต่างๆดังนี้ 1.1 ศึกษาเซลล์ของพืชโดยลอกเซลล์กลับด้านในของเยื่อหอมมาศึกษา หรือนำใบสาหร่ายหางกระรอกทั้งใบอ่อน และใบแก่มาศึกษาภายใต้กล้องจุลทรรศน์ 1.2 ศึกษาเซลล์โดยใช้ไม้จิ้มฟันขูดเบาๆที่เยื่อบุข้างแก้มแล้วนำมาศึกษาภายใต้กล้องจุลทรรศน์ 1.3 ศึกษาสิ่งมีชีวิตเซลล์เดียว โดยนำตัวอย่างจากแหล่งน้ำมาศึกษา บันทึกภาพลายเส้นของเซลล์เหล่านั้นที่พบ ชี้ส่วนต่างๆของโครงสร้างและบันทึกกำลังขยายไว้ใต้ภาพด้วย ให้แต่ละกลุ่มเปรียบเทียบลักษณะ ขนาดและโครงสร้างภายในเซลล์ที่ศึกษา และนำเสนอในชั้นเรียน ครูฐิติรัตน์ กันนะ : โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี

8 ครูฐิติรัตน์ กันนะ : โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี
3.1 -โครงสร้างของเซลล์ที่นักเรียนศึกษาเหมือนหรือแตกต่างกันอย่างไร -เซลล์ของสิ่งมีชีวิตต่างชนิดกันมีขนาดเท่ากันหรือไม่ นักเรียนสามารถหาขนาดโดยประมาณของเซลล์เยื่อหอมได้หรือไม่ -เปรียบเทียบปรากฏการณ์ที่พบในไซโทรพลาซึมของใบอ่อนกับใบแก่ของสาหร่ายหางกระรอก ครูฐิติรัตน์ กันนะ : โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี

9 ครูฐิติรัตน์ กันนะ : โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี
3.1 ตอนที่ 2 หยดน้ำกลั่น 1 หยดบนสไลด์แผ่นแรก และหยอดสารละลายโซเดียมคลอไรด์ความเข้มข้น 2% บนสไลด์แผ่นที่สอง ลอกเยื่อหัวหอมด้านใน แล้วตัดแบ่งเป็น 2 ชิ้น แต่ละชิ้นมีขนาดประมาณ 0.5 x 0.5 cm2 วางบนสไลด์ที่มีหยดน้ำและสารละลายโซเดียมคลอไรด์ ทิ้งไว้ประมาน 3-5 นาที นำสไลด์ทั้ง 2 แผ่นไปศึกษาภายใต้กล้องจุลทรรศน์ เปรียบเทียบการเปลี่ยนแปลงของไซโทพลาซึม ครูฐิติรัตน์ กันนะ : โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี

10 ครูฐิติรัตน์ กันนะ : โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี
3.1 -จากการทดลองนี้ พบโครงสร้างใดของพืนที่ชัดเจนขึ้น -ไซโทพลาซึมของเซลล์ในสไลด์ทั้งสองมีการเปลี่ยนแปลงอย่างไร ครูฐิติรัตน์ กันนะ : โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี

11 3.1 จากกิจกรรมที่ 3.1 จะเห็นได้ว่าสิ่งมีชีวิตบางชนิดประกอบด้วยเซลล์เพียงเซลล์เดียวก็สามารถดำรงชีวิตอยู่ได้ และสิ่งมีชีวิตบางชนิดประกอบด้วยเซลล์หลายเซลล์ เซลล์เหล่านี้มีโครงสร้างบางอย่างที่เหมือนกันและบางอย่างที่แตกต่างกัน โครงสร้างที่พบในเซลล์ทุกชนิดที่ศึกษา ได้แก่ เยื่อหุ้มเซลล์ ไซโทพลาซึม และนิวเคลียส ในเซลล์พืชมีคลอโรพลาสและผนังเซลล์ ในเซลล์บางชนิดที่อายุยังน้อยจะพบการไหลของไซโทพลาซึมเรียกว่า ไซโคลซิส (cyclosis) นอกจากเซลล์ที่ได้ศึกษาในกิจกรรมนี้แล้ว ยังมีเซลล์อื่นๆ ที่มีรูปร่างแตกต่างไปอีกดังภาพที่ 3-1 จากกิจกรรมที่ 3.1 ที่นักเรียนได้ศึกษาจะเห็นได้ว่า เซลล์แต่ละชนิดมีขนาดและรูปร่างแตกต่างกัน นักเรียนทราบหรือไม่ว่าการหาขนาดของเซลล์ทำได้อย่างไร ซึ่งนักเรียนจะศึกษาได้จากกิจกรรมต่อไปนี้

12 3.1

13 7.2 โครงสร้างของเซลล์ที่ศึกษาด้วยกล้องจุลทรรศน์อิเล็กตรอน

14 ครูฐิติรัตน์ กันนะ : โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี
3.2 กิจกรรมที่ 3.2 การคำนวณหากำลังขยายของภาพ และขนาดของวัตถุจากกล้องจุลทรรศน์ วัสดุอุปกรณ์ 1.กล้องจุลทรรศน์ 2.ไม้บรรทัดพลาสติกใส วิธีการทดลอง ตอนที่ 1 การคำนวณหากำลังขยายของภาพจากกล้องจุลทรรศน์ 1.อ่านค่ากำลังขยายของเลนส์ใกล้ตา และเลนส์ใกล้วัตถุ 2.คำนวณกำลังขยายของกล้องจุลทรรศน์โดยคิดจาก ผลคูณระหว่างกำลังขยายของเลนส์ใกล้ตากับเลนส์ใกล้วัตถุ 3.วางไม้บรรทัดพลาสติกใสอย่างบางโดยที่ด้านเซนติเมตร (cm) อยู่ตรงช่องกลมของแท่นวางวัตถุของกล้องจุลทรรศน์ ปรับให้มองเห็นสเกลชัดเจนด้วยกำลังขยายต่ำดังภาพนับจำนวนมิลลิเมตร (mm) จากขอบด้านหนึ่งจนถึงด้านหนึ่งจากภาพที่มองเห็นภายใต้กล้องจุลทรรศน์ ซึ่งก็คือความยาวของเส้นผ่านศูนย์กลางของจอภาพจากกล้องจุลทรรศน์ ขณะที่ใช้กำลังขยายต่ำ ครูฐิติรัตน์ กันนะ : โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี

15 ครูฐิติรัตน์ กันนะ : โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี
7.2.2 หมึก 3.2 4. บันทึกค่าที่ได้ในตาราง กำลังขยายของเลนส์ใกล้ตา กำลังขยายของเลนส์ใกล้วัตถุ กำลังขยายของกล้องจุลทรรศน์ เส้นผ่านศูนย์กลางของจอภาพ(mn) ครูฐิติรัตน์ กันนะ : โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี

16 ครูฐิติรัตน์ กันนะ : โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี
3.2 ตอนที่ 2 การคำนวณหาขนาดของวัตถุ หรือขนาดของภาพจากกล้องจุลทรรศน์ 1.การหาขนาดของวัตถุจากกำลังขยายของภาพ 1.1 ถ้าขนาดของพารามีเซียมวัดได้ 100 ไมโครเมตร เมื่อนำไปศึกษาขนาดของวัตถุที่เลนส์ใกล้ตา 10x และกำลังขยายของเลนส์ใกล้วัตถุ 10x นักเรียนจะเห็นภาพพารามีเซียมมีความยาวเพิ่มขึ้นกี่เท่าและภาพของพารามีเซียมมีความยาวกี่เซนติเมตร 1.2 ถ้าวัตถุมีความยาว 4 ไมโครเมตร เมื่อนำมาศึกษาภายใต้กล้องจุลทรรศน์ จะมีความยาวประมาณ 4 เซนติเมตร กล้องนี้มีกำลังขยายเท่าไร สูตรหากำลังขยาย = ขนาดของภาพ _______________ ขนาดของวัตถุ 2. การหาขนาดของวัตถุจากเส้นผ่านศูนย์กลางของภาพ 2.1 จากสูตรการหาเส้นผ่านศูนย์กลางของภาพ (ขณะกำลังศึกษา) =กำลังขยายของภาพเลนส์ต่ำสุด x เส้นผ่านศูนย์กลางของจอภาพที่กำลังขยายต่ำสุด _____________________________________ กำลังขยายของเลนส์ ถ้ากล้องขุลทรรศน์ที่ใช้มีกำลังขยายเป็น 40x 100x และ 400x เมื่อใช้ไม้บรรทัดวัดเส้นผ่านศูนย์กลางกำลังขยายต่ำได้ 40x ได้ 2.5 mm อยากทราบว่าเส้นผ่านศูนย์กลางของจอภาพ เมื่อกำลังขยายของกล้องเป็น 100x และ 400x เท่ากับเท่าใด เมื่อนำสาหร่ายหางกระรอกไปตรวจดูด้วยกล้องจุลทรรศน์ที่มีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางของจอภาพประมาณ 1.6mm ปรากฎว่าพบเซลล์หางกระรอกเกิดการเรียงต่อกัน 8 เซลล์ จงคำนาณหาความยาวของเซลล์หางกระรอก 1 เซลล์ ครูฐิติรัตน์ กันนะ : โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี

17 ครูฐิติรัตน์ กันนะ : โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี
3.2 นักเรียนคงได้รู้จักเซลล์ของสิ่งมีชีวิตชนิดต่างๆมากขึ้น และได้ทราบว่าพืชและสัตว์ต่างประกอบด้วยโครงสร้างเล็กๆคือ เซลล์ ก่อนหน้านี้เมื่อประมาณ พ.ศ.2381 มัตทีอัส ยาคอบ ชไลเดน (Matthias Jakob Schleiden) นักพฤกษาศาสตร์ชาวเยอีมันได้ค้นพบว่า พืชทั้งหลายต่างๆเป็นสิ่งมีชีวิตที่มีหลายเซลล์ และในปีถัดมา พ.ศ.2382 เทโอดอร์ ชวันน์ (Theodor schwann) นักสัตววิทยาชาวเยอรมัน ได้ค้นพบต่อไปอีกว่าสัตว์ทั้งหลายต่างๆก็มีเซลล์เป็นองค์ประกอบ ดังนั้นนักวิทยาศาสตร์ทั้ง 2 คนจึงได้ร่วมกันตั้งทฤษฎีเซลล์(cell theory)มีใจความว่า สิ่งมีชีวิตทั้งหลายประกอบด้วยเซลล์และเซลล์คือหน่วยพื้นฐานของสิ่งมีชีวิตทุกชนิด ทฤษฎีเซลล์ในปัจจุบันครอบคลุมถึงใจความที่สำคัญ 3 ประการ คือ 1.สิ่งมีชีวิตทั้งหลายอาจมีเพียงเซลล์เดียว หรือหลายเซลล์ ซึ่งภายในเซลล์มีสารพันธุกรรมและมีกระบวนการเมแทบลิซึม ทำให้สิ่งมีชีวิตดำรงชีวิตอยู่ได้ 2.เซลล์เป็นเป็นหน่วยพื้นฐานที่เล็กที่สุดของสิ่งมีชีวิตที่มีการจัดระบบการทำงานภายในโครงสร้างของเซลล์ 3.เซลล์มีกำเนิดมาจากเซลล์แรกเริ่ม เซลล์เกิดจากการแบ่งตัวของเซลล์เดิม แม้ว่าชีวิตแรกเริ่มจะมีวิวัฒนาการมาจากสื่งไม่มีชีวิต แต่นักชีววิทยายังคงถือว่าการเพิ่มขึ้นของจำนวนเซลล์เป็นผลสืบเนื่องมาจากเซลล์รุ่นก่อน จึงเป็นที่น่าสงสัยว่า นอกจากโครงสร้างที่พบด้วยกล้องจุลทรรศน์ใช้แสง ในเซลล์ยังมีโครงสร้างอื่นๆอีกหรือไม่ และโครงสร้างเหล่านี้ช่วยในการดำรงชีวิตของเซลล์อย่างไร ครูฐิติรัตน์ กันนะ : โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี

18 ครูฐิติรัตน์ กันนะ : โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี
3.2 มัททีอัส จาคอบ ชไลเดน ทีโอดอร์ ชวันน์ ครูฐิติรัตน์ กันนะ : โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี

19 ครูฐิติรัตน์ กันนะ : โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี
3.2 จากที่นักเรียนได้ศึกษาเซลล์ชนิดต่างๆมาแล้ว จะพบว่าเซลล์ของสิ่งมีชีวิต มีรูปร่าง ขนาด และโครงสร้างแตกต่างกัน แต่ก็มีส่วนที่เหมือนกัน ได้แก่ ส่วนที่ห่อหุ้มเซลล์ “ไซโทพลาซึม และนิวเคลียส นักชีววิทยาได้ใช้กล้องจุลทรรศน์อิเล็กตรอนศึกษาเซลล์ของสิ่งมีชีวิต พบว่าในไซโทพลาซึมมีโครงสร้างขนาดเล็กที่ทำหน้าที่เฉพาะเรียกว่า ออร์แกเนลล์ (organelle) ซึ่งมีหลายชนิด มีขนาด รูปร่าง จำนวน และหน้าที่ต่างกันขึ้นอยู่กับชนิดของเซลล์ ครูฐิติรัตน์ กันนะ : โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี

20 ครูฐิติรัตน์ กันนะ : โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี
3.2 เซลล์สัตว์ ภาพที่ 3-2 แผนภาพแสดงโครงสร้างของเซลล์สัตว์ ครูฐิติรัตน์ กันนะ : โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี

21 ครูฐิติรัตน์ กันนะ : โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี
3.2 เซลล์พืช ภาพที่ 3-3 แผนภาพแสดงโครงสร้างของเซลล์พืช ครูฐิติรัตน์ กันนะ : โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี

22 ครูฐิติรัตน์ กันนะ : โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี
3.2 -เซลล์พืชและเซลล์สัตว์ในภาพที่ 3-2,3-3 แตกต่างจากเซลล์ที่นักเรียนศึกษาในกิจกรรมที่ 3.1 อย่างไร ครูฐิติรัตน์ กันนะ : โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี

23 ครูฐิติรัตน์ กันนะ : โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี
3.2.1 ส่วนที่ห่อหุ้มเซลล์ สิ่งที่น่าสนใจคือ ออร์แกเนลล์เหล่านี้มีอะไรบ้าง และมีโครงสร้างและหน้าที่อย่างไร การศึกษาโครงสร้างของเซลล์ด้วยกล้องจุลทรรศน์อิเล็กตรอนอาจแบ่งโครงสร้างพื้นฐานของเซลล์ยูคาริโอตเป็น 3 ส่วน คือ ส่วนที่ห่อหุ้มเซลล์ ไซโทพลาสซึม และนิวเครียส 3.2.1 ส่วนที่ห่อหุ้มเซลล์ ส่วนที่ห่อหุ้มเซลล์ หมายถึง โครงสร้างที่ห่อหุ้มไซโทพลาสซึมของเซลล์ให้คงรูปร่างและแสดงขอบเขตของเซลล์ ได้แก่ ผนังเซลล์ และเยื่อหุ้มเซลล์ ผนังเซลล์ (cell wall)เป็นส่วนที่อยู่ด้านนอกของเยื่อหุ้มเซลล์พืช สาหร่าย โพรโทซัว แบคทีเรียและเห็ดรา แต่ไม่พบในเซลล์สัตว์ ผนังเซลล์มีหน้าที่เพิ่มความแข็งแรงให้แก่เซลล์ ผนังเซลล์มีหน้าที่เพิ่มความแข็งแรงให้แก่เซลล์ ผนังเซลล์ของเซลล์พืชเป็นเส้นใยที่ประกอบด้วยเซลลูโลส เส้นใยเหล่านี้จัดเรียงตัวเป็นชั้นไขว้กันดังภาพ ที่ 3-4 ก. นอกจากนี้เซลล์ที่มีอายุมากขึ้นอาจมีสารอื่นมาสะสมบนเส้นใยเซลลูโลสเพิ่มมากเพิ่มขึ้น เช่น เฮมิเซลลูโลส (hemicellulose) เพกทิน (pectin)ซูเบอริน (suberin)คิวทิน(cutin)และลิกนิน (lignin)เป็นต้น ผนังเซลล์บางแห่งจะมีช่องเล็กๆเป็นทางสำหรับให้ไซโทพลาสซึมจากเซลล์หนึ่งติดต่อกับไซโทพลาสซึมของเซลล์ข้างเคียง เรียกบริเวณนี้ว่า พลาสโมเดสมาตา (plasmodesmata) ดังภาพที่ 3-4 ข. ครูฐิติรัตน์ กันนะ : โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี

24 ครูฐิติรัตน์ กันนะ : โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี
3.2.1 ครูฐิติรัตน์ กันนะ : โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี

25 ครูฐิติรัตน์ กันนะ : โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี
3.2 เยื่อหุ้มเซลล์ (cell membrane หรือ plasma membrane หรือ plasmalemma) เป็นเยื่อบางๆ ล้อมรอบไซโทพลาซึมพบในเซลล์ทุกชนิด มีความหนาประมาณ นาโนเมตรกั้นสารที่อยู่ภายในกับภายนอกเซลล์และรักษาสมดุลของสารภายในเซลล์โดยควบคุมการผ่านเข้าออกของสารระหว่างเซลล์กับสิ่งแวดล้อมภายนอก เยื่อหุ้มเซลล์และเยื่อหุ้มออร์แกเนลล์ส่วนใหญ่ประกอบด้วยฟอสโฟลิพิดจัดเรียงตัวเป็น 2 ชั้น(lipid bilayer) โดยการหันด้านที่มีขั้ว(polar head)มีสมบัติชอบน้ำออกด้านนอก และยังมีคอเลสเตอรอล ไกลโคลิพิด และไกลโคโปรตีนเป็นส่วนประกอบอยู่ด้วยเรียกลักษณะการจัดเรียงตัวแบบนี้ว่า ฟลูอิโมเซอิกโมเดล (fluid mosaic model) ครูฐิติรัตน์ กันนะ : โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี

26 ครูฐิติรัตน์ กันนะ : โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี
3.2.1 ภาพที่ 3-5 โครงสร้างเยื่อหุ้มเซลล์ ครูฐิติรัตน์ กันนะ : โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี

27 ครูฐิติรัตน์ กันนะ : โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี
3.2.1 เยื่อหุ้มเซลล์มีสมบัติเป็นเยื่อเลือกผ่าน(selectively per meable membrane หรือ differentially permeable membrane หรือ semipermeable membrane) เนื่องจากเยื่อบางๆ ของเยื่อหุ้มเซลล์และเยื่อหุ้มออร์แกเนลล์ มีลักษณะคล้ายคลึงกันประกอบด้วยส่วนประกอบของลิพิดซึ่งเหลวจึงสามารถหลุดขาดออกจากกันและเชื่อมต่อกันได้ เช่น การเกิดเวสิเคิล ไลโซโซม การสร้างแวคิวโอล เป็นต้าน ก่อให้เกิดการลำเลียงสารขนาดใหญ่เข้าและออกจากเซลล์ รวมทั้งการย่อยอาหารและสิ่งแปลกปลอมในเซลล์ดังที่รักเรียนได้ศึกษามาแล้ว ครูฐิติรัตน์ กันนะ : โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี

28 3.2.2 ไซโทพลาซึม ไซโทพลาสซึม (cytoplasm)เป็นส่วนที่ล้อมรอบนิวเคลียสอยู่ภายในเยื่อหุ้มเซลล์ ไซโทพลาซึม ประกอบด้วยส่วนที่สำคัญ 2 ส่วน คือ ออร์แกเนลล์ และ ไซโทซอล (cytosl) ออร์แกเนลล์มีหลายชนิด กระจายอยู่ตามตำแหน่งต่างๆในไซโทพลาซึม บางชนิดมีเยื่อหุ้มที่มีองค์ประกอบคล้ายเยื่อหุ้มเซลล์ ออร์แกเนลล์แต่ละชนิดมีโครงสร้างและหน้าที่ต่างกัน ดังจะได้ศึกษาต่อไปนี้ เอนโดพลาสมิกเรติคูลัม(endoplasmicreticulum:ER) มีลักษณะเป็นท่อแบนใหญ่หรือกลม บางบริเวณโป่งออกเป็นถุงเรียงขยายและซ้อนกันเป็นชั้นๆแบะมีท่อเชื่อมถึงกันเป็นร่างแหอยู่ล้อมรอบนิวเครียสและเชื่อมกับเยื่อหุ้มนิวเคลียส เรียกว่า เอนโดพลาสมิกเรติคูลัมแบบผิวขรุขระ บางบริเวณไม่มีไรโบโซมเกาะอยู่เรียกว่า เอนโดพลาสมกเรติคูลัมแบบผิวเรียบ

29 3.2.2 ไซโทพลาซึม

30 3.2.2 ไซโทพลาซึม เอนโดนพลาสติกเรติคูลัมแบบผิวขรุขระเป็นบริเวณที่ไรโบโซมเดาะอยู่ ทำหน้าที่สังเคราะห์โปรตีน โดยโปรตีนที่ไรโบโซมสังเคราะห์จะเข้าสู่เอนโดพลาสมิกเรติคูลัมและถูกห่อหุ้มในเวสิเคิลและมีการส่งต่อไปยังกอลจิคอมแพล็กซ์จากนั้นจะลำเลียง หรือไปเป็นส่วนประกอบของเยื่อหุ้มเซลล์ เป็นต้น เซลล์ที่มี RER มากคือ เซลล์ที่ผลิตโปรตีนสำหรับ ใช้นอกเซลล์ เช่น เซลล์ตับออ่นที่ทำหน้าที่สร้างเอนไซม์ย่อยสารอาหารต่างๆ เอนโดพลาสติกเรติคูลัมแบบผิวเรียบ มีลักษณะเป็นท่อกลมหรือท่อแบบ RER ทำหน้าที่สังเคราะห์ลิพิด เช่น เซลล์ สาสเตอรอยด์ พวกฮอร์โมนเพศ นอกจากนี้ SER ยังทำหน้าที่ในการกำจัดสารพิษและเป็นแหล่งสะสมแคลเซียมไอออนในเซลล์ต่างๆ โดยเฉพาะเซลล์กล้ามเนื้อยึดกระดูกและเซลล์กล้ามเนื้อหัวใจ เซลล์ที่มี SER เช่น ตับ สมอง ต่อมหมวกไต อัณทะ และรังไข่เป็นต้น

31 3.2.2 ไซโทพลาซึม ถ้าในเซลล์ไม่มีเอนโดพลาสมิกเรติคูลัมจะมีผลอย่างไร

32 3.2.2 ไซโทพลาซึม ไรโบโซม (ribosome) เป็นออร์แกเนลล์ ขนาดเล็กที่ไม่มีเยื่อหุ้ม ประกอบด้วยหน่วยย่อย 2 หน่วย คือ หน่วยย่อยขนาดเล็กขนาดใหญ่มีรูปร่างเป็นก้อน ดังภาพที่ 3-7 ไรโบโซมประกอบด้วยโปรตีนและ RNAที่มีสัดส่วนใกล้เคียงกันโดยน้ำหนัก ทำหน้าที่สังเคราะห์โปรตีน หน่วยย่อยทั้งสองชนิดของไรโบโชมอยู่แยกกันและจะมาติดกันขณะที่มีการสังเคราะห์โปรตีน ไรโบโซมที่เกาะติดอยู่ที่ผิวนอกของ ER ทำหน้าที่เป็นแหล่งสร้างโปรตีนที่ใช้เป็นองค์ประกอบของ เยื่อหุ้มเซลล์และส่งออกนอกเซลล์ นอกจากนี้ยังมีไรโบโซมอิสระที่นอกเซลล์ ER แค่กระจายอยู่ในไซโทซอลทำหน้าที่สร้างโปรตีนสำหรับใช้ภายในเซลล์พบมากในเซลล์เม็ดเลือดแกงที่มีอายุน้อยทำหน้าที่สร้างฮีโมโกลบิน

33 3.2.2 ไซโทพลาซึม กอลจิคอมเพล็กซ์ หรือ กอลจิบอดี หรือ กอลจิแอพพาราตัส (Golgi complex หรือ Golgi body หรือ Golgi apparatus) เป็นกลุ่มของถุงกลมแบนขนาดใหญ่ บริเวณตรงขอบโป่งพองใหญ่ขึ้น กอลจิคอมเพล็กซ์มักพบอยู่ใกล้กับ ER มีในเซลล์สืบพันธุ์ของสัตว์ชั้นสูงเกือบทุกชนิด ทำหน้าที่เติมกลุ่มคาร์โบไฮเดรตให้กับโปรตีนหรือลิพิดที่ส่งมาจาก ER เกิดเป็นไกลโคโปรตีนและไกลโคลิพิด แล้วสร้างเวสิเคิลบรรจุสารเหล่านี้ไว้เพื่อส่งออกไปยังภายนอกเซลล์หรือเก็บไว้ใช้ภายในเซลล์ ดังนั้นเวสิเคิลจึงเป็นส่วนหนึ่งของกอลจิคอมเพล็กซ์ที่สร้างเป็นถุงออกมา ไลโซโซม (lysosome) เป็นเวสิเคิลที่สร้างมาจากกอลจิคอมเพล็กซ์ มีลักษณะเป็นถุงกลม มีเยื่อหุ้มชั้นเดียว พบในเซลล์สัตว์เกือบทักชนิดรวมทั้งพบในเซลล์พืชและโพรทิสต์บางชนิดด้วย ในไลโซโซมมีเอมไซน์สำหรับย่อยอาหารอยู่ภายในและทำการย่อย นอกจากนี้ไลโซโซมของสัตว์มีกระดูกสันหลังยังมีเอมไซน์ทำลายสิ่งแปลกปลอม เช่น ไลโซโซมในเซลล์ตับ และเซลล์เยื่อบุผนังท่อไตส่วนต้น โดยไปรวมกับเวสิเคิลที่มีส่รแปลกปลอม เมื่อเซลล์เสื่อมสภาพไลโซโซมมีหน้าที่ย่อยออร์แกเนลล์ภายในเซลล์ เมื่อเซลล์ได้รับอันตรายหรือจะตายไลโซโซมจะปล่อยเอมไซน์ออกมาสู่ไซโทพลาสซึมเพื่อย่อยสลายเซลล์ทั้งหมด

34 3.2.2 ไซโทพลาซึม ไลโซโซม

35 3.2.2 ไซโทพลาซึม แวลคิวโอล (vacuole) มีลักษณะเป็นถุงที่มีเยื่อหุ้มชั้นเดียว มีรูปร่างและขนาดแตกต่าง ดังภาพที่ 3-10 แวคิวโอลมีหลายชนิดทำหน้าที่แตกต่างกันคือ คอนแทร็กไทล์แวคิวโอล ทำหน้าที่รักษาสมดุลของน้ำ พบในเซลล์ของสิ่งมีชีวิตเซลล์เดียว เช่น อะมีบา พารามีเซียม เป็นต้น ฟูดแวคิโอ (food vacuole) ทำหน้าที่บรรจุอาหารที่รับมาจากภายนอกเซลล์เพื่อย่อยสลายต่อไป พบในเซลล์เม็ดเลือดขาวและสิ่งมีชีวิตเซลล์เดียว แวคิวโอ (sap vacuole) ขณะที่เซลล์พืชอายุน้อยมีแวคิวโอขนาดเล็กจำนวนมาก แต่เมื่อเซลล์มีอายุน้อยมีแวคิวโอลขนาดเล็กจำนวนมาก แต่เมื่อเซลล์มีอายุมากขึ้น แวควโอเหล่านี้จะรวมเป็นถุงเดียวกันทำให้มีขนาดใหญ่ขึ้น ทำหน้าที่สะสมสารบางชนิด เช่น สารสี ไอออน น้ำตาล กรดอะมิโน ผลึกและสารพิษต่างๆ

36 3.2.2 ไซโทพลาซึม ไมโทคอนเดรีย (mitochondria) เป็นแหล่งผลิต ATP ให้แก่เซลล์ มีรูปร่างหลายแบบขึ้นอยู่กับชนิดของเซลล์ ในเซลล์ของต่อมหมวกไตในเซลล์ตับมีรูปร่างเป็นแท่งสั้นๆในเซลล์บุผิวของลำไส้เล็กมีรูปร่างค่อนข้างยาว เป็นต้น ไมโทคอนเดรียมีเยื่อหุ้ม 2 ชั้น เยื่อชั้นนอกมีลักษณะเรียบเยื่อหุ้ม 2 ชั้น เยื่อชั้นนอกมีลักษณะผิวเรียบ เยื่อชั้นในจะพับทบแล้วยื่นเข้าไปด้านในเพื่อเพิ่มพื้นที่ผิว ส่วนที่ยื่นเข้าไปเข้าไปนี้เรียกว่า คริสตี (cristae) ซึ่งมีโปรตีนที่เกี่ยวกับการหายใจในระดับเซลล์ ดังภาพที่ 3-11 ภายในไมโทคอนเดรียมีของเหลวบรรจุอยู่บรรจุอยู่เรียกว่า เมทริกซ์ (matrix)ซึ่งจะพบบเอนไซม์ที่เกี่ยวกับกระบวนการหายใจระดับเซลล์ และการจำลองตัวของไมโคอนเดรียอีกด้วย

37 3.2.2 ไซโทพลาซึม พลาสติด (plastid) เป็นออร์แกเนลล์ที่มีเยื่อหุ้มเซลล์ที่มี 2 ชั้น พลาสติดมีสีแตกต่างกัน จำแนกได้ 3 ชนิด คลอโรพลาสต์ (chloroplast) เป้นพลาสติดที่มีสีเขียว เนื่องจากมีสารสีชนิดคลอโรฟิลล์(chlorophyll) เป็นองค์ประกอบเป็นส่วนใหญ่ภายในมีโครงสร้างที่มีลักษณะคล้ายถุงแบนๆ มีเยื่อหุ้ม เรียกว่า ไทลาคอยด์ และเรียงกันเรียกว่า กรานุม แต่ละกรานุมมีโครงสร้างเชื่อมต่อถึง บนไทลาคอยด์มีสารสีและโปรตีนที่ใช้ในกระบวนการสังเคราะห์ด้วยแสง เช่น คลอโรฟิลล์ แคโรทีนนอยด์ (carotenoid) และมีของเหลวที่เรียกว่า สโตรมา อยู่โดยรอบไทลาคอยด์ ที่เกี่ยวกับกระบวนการสังเคราะห์ด้วยแสง ดังภาพ 3-12

38 3.2.2 ไซโทพลาซึม โครโมพลาสต์ (chromplast) เป็นพลาสติดที่มีสารที่ทำให้เกิดสีต่างๆ ยกเว้นสีเขียว จึวทำให้ดอกไม้ ใบไม้ มีสีสันสวยงาม เช่น ผลมะเขือเทศ ผลของพริก เนื่องจากมีแคโรทีนอยด์จึงทำให้เกิดสีแดง สีส้ม และสีเหลือง ลิวโคพลาสต์ (leucoplast) เป็นพวกพลาสติดที่ไม่มีสี มีหน้าที่สะสมเม็ดแป้ง ได้จากการสังเคราะห์ พบในเซลล์ของรากและลำต้น เช่น มันเทศ มันแกว เป็นต้นผลไม้ เช่น กล้วยและใบพืชที่ไม่มีสี

39 7.3 การเคลื่อนที่ของสัตว์มีกระดูกสันหลัง

40 ครูฐิติรัตน์ กันนะ : โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี
7.3 สัตว์มีกระดูกสันหลังทุกชนิดมีระบบโครงสร้างกระดูก ทำหน้าที่เป็นทั้งโครงสร้างแข็งช่วยค้ำจุนร่างกายให้คงรูปและยังช่วยในการเคลื่อนที่อีกด้วย สัตว์มีกระดูกสันหลังมีทั้งที่อาศัยอยู่ในน้ำและบนบกซึ่งมีสภาพแวดล้อมต่างกัน สัตว์มีกระดูกสันหลังเหล่านี้มีการเคลื่อนที่แตกต่างกันอย่างไร ครูฐิติรัตน์ กันนะ : โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี

41 7.3.1 ปลา ถ้านักเรียนสังเกตการณ์เคลื่อนที่ของปลาจะเห็นว่า ขณะที่ปลาเคลื่อนที่ลำตัวของปลาจะโค้งไปมาดังภาพ 7-10 ก. การโค้งตัวของปลาเกี่ยวกับการเคลื่อนที่ของปลาหรือไม่ ภาพ 7-10 การเคลื่อนที่ของปลา ก. การทำงานของกล้ามเนื้อขณะเคลื่อนที่ ข.ลักษณะการเคลื่อนที่ของปลา ครูฐิติรัตน์ กันนะ : โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี

42 ครูฐิติรัตน์ กันนะ : โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี
7.3.1 ปลา จากภาพที่ 7-10 จะเห็นว่าการทำงานของกล้ามเนื้อของปลาขณะที่มีการเคลื่อนที่ พบว่าเกิดจากการหดตัวและคลายตัวของกล้ามเนื้อที่ยึดติดอยู่กับกระดูกสันหลัง การหดตัวของกล้ามเนื้อในแต่ละส่วนของลำตัวปลาจะไม่พร้อมกัน โดยเริ่มทยอยจากด้านหัวไปด้านหางทำให้ลำตัวของปลามีลักษณะโค้งไปมา ประกอบกับครีบหางโค้งงอสลับไปมาทางด้านซ้ายและขาว เมื่อกระทบกับแรงต้านของน้ำรอบๆตัว จะผลักดันให้ปลาเคลื่อนที่ไปข้างหน้า ถ้านักเรียนสังเกตุการเคลื่อนที่ของปลาจะเห็นว่านอกจากปลาจะสามารถเคลื่อนที่ไปข้างหน้าได้แล้ว ครูฐิติรัตน์ กันนะ : โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี

43 ครูฐิติรัตน์ กันนะ : โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี
7.3.1 ปลา ยังสามารถเคลื่อนที่ในแนวดิ่งโดยการทำงานของครีบหลัง ครีบอกและครีบสะโพก นอกจากนี้แรงลอยตัวของน้ำยังมีส่วนช่วยในการเคลื่อนที่ของปลาในน้ำอย่างมากทำให้ปลาใช้พลังงานในการพยุงตัวต้านต่อแรงโน้มถ่วงของโลกเพียงเล็กน้อย นอกจากนี้รูปร่างของปลาที่แบนเพียวและมีเมือกขับออกมาจากผิวหนัง จะช่วยลดแรงเสียดทานของน้ำขณะเคลื่อนที่ อย่างไรก็ดีรูปร่างที่เพียวของปลายังทำให้สามารถพลิกคว้ำได้ง่ายดังนั้นปลาจึงอาศัยครีบช่วยในการรักษาสมดุลในการเคลื่อนที่และการทรงตัว ครูฐิติรัตน์ กันนะ : โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี

44 ครูฐิติรัตน์ กันนะ : โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี
7.3.2 นก นกสามารถบินได้โดยอาศัยการทำงานของกล้ามเนื้อ 2 ชุด ที่ยึดระหว่างกระดูกโคนปีก (humerus)และกระดูกอก (sternum) ได้แก่ กล้าเนื้อยกปีกและกล้ามเนื้อกดปีกทำงานแบบสภาวะตรงกันข้ามทำให้นกสามารถขยับปีกขึ้นลงได้ มีผลให้นกบินได้ ดังภาพที่ 7-11 ภาพที่ 7-11 การเคลื่อนที่ของนก ก. กล้ามเนื้อและกระดูกที่ใช้ในการเคลื่อนที่ ข. การขยับปีกขณะบิน ครูฐิติรัตน์ กันนะ : โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี

45 ครูฐิติรัตน์ กันนะ : โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี
7.3.3 เสือชีต้า เสือชีต้าได้ชื่อว่าเป็นสัตว์ที่วิ่งได้เร็วที่สุดถึง 110 กิโลเมตรต่อชั่วโมง ให้นักเรียนสังเกต ขาหน้า ขาหลัง หัวไหล่ สะโพก และกระดูกสันหลังของเสือชีต้าขณะวิ่ง ดังภาพที่ 7-12 ภาพ 7-12 การเคลื่อนที่ของเสือชีต้า ครูฐิติรัตน์ กันนะ : โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี

46 ครูฐิติรัตน์ กันนะ : โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี
7.3.3 ชีต้า เมื่อสังเกตการเคลื่อนที่ของเสือชีต้าแล้ว นักเรียนอธิบายได้หรือไม่ว่าเหตุใดเสือชีต้าจึงวิ่งได้เร็ว ตอบ ชีต้า เคลื่อนที่ได้เร็วมาก เนื่องจากมีกล้ามเนื้อขาทั้งสี่แข็งแรงมาก โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ขาหลังจะแข็งแรงเป็นพิเศษกระดูกสันหลังยาว โค้งงอได้มาก ทาให้พุ่งตัวไปได้ไกลช่วงก้าวของขาหน้าและขาหลังห่างกันมาก ทาให้มีช่วงก้าวยาว ในสัตว์สี่เท้าบนดินที่มีขาสัน เช่น จิ้งจก ตุ๊กแก การเคลือนที่จะอาศัยการก้าวขาที่ไม่พร้อมกัน ทาให้เกิดการโค้งไปมาของส่วนร่างกาย เป็นรูปตัว S ครูฐิติรัตน์ กันนะ : โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี

47 ครูฐิติรัตน์ กันนะ : โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี
7.3.4 คน เมื่อพิจรณาอากัปกิริยาต่างๆของนักเรียน เช่น การกิน การนอน การวิ่ง ล้วนแล้วแต่เป็นการเคลื่อนไหวที่เกิดจากระบบโครงสร้างกระดูกและรับบกล้ามเนื้อทั้งสิ้น โครงสร้างกระดูกและกล้ามเนื้อสัมพันธ์กันอย่างไร จึงทำให้คนเคลื่อนที่ได้ นักเรียนจะได้ศึกษาต่อไปนี้ ครูฐิติรัตน์ กันนะ : โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี

48 ครูฐิติรัตน์ กันนะ : โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี
7.3.4 คน ระบบโครงกระดูก สัตว์มีกระดูกสันหลังทุกชนิดมีระบบโครงกระดูกที่คล้ายคลึงกัน คือ ประกอบด้วยกระดูกแกน (axial skeleton) และกระดูกรยางค์ (appendicular skeleton) แต่ในบทนี้จะเน้นระบบโครงกระดูกของคนดังภาพที่ 7-13 ภาพ 7-13 โครงกระดูกของคน ครูฐิติรัตน์ กันนะ : โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี

49 ครูฐิติรัตน์ กันนะ : โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี
7.3.4 คน การที่โครงสร้างกระดูกของคนไม่ต่อกันเป็นชิ้นเดียวและมีจำนวนมากมีประโยชน์ต่อการเคลื่อนที่อย่างไร ตอบ  ช่วยให้เกิดการเคลื่อนไหวได้หลายทิศทาง ครูฐิติรัตน์ กันนะ : โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี

50 ครูฐิติรัตน์ กันนะ : โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี
7.3.4 คน เมื่อร่างกายของคนเจริญเติบที่จะประกอบด้วย กระดูก ประมาณ 206 ชิ้น ต่อกัน สามารถแบ่งออกเป็น2 กลุ่ม ตามตำแหน่งที่อยู่ คือ กระดูกแกนและกระดูกรยางค์ นักเรียนคิดว่ากระดูกประมาณ 206 ชิ้น ต่อกัน สามารถแบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม ตามตำแหน่งที่อยู่ คือ กระดูกแกนและกระดูกรยางค์นักเรียนคิดว่ากระดูกแกนและกระดูกรยางค์มีความสัมพันธ์กับการเคลื่อนที่ของคนอย่างไร กระดูกแกน กระดูกแกนมีจำนวน 80 ชิ้น ประกอบด้วยกระดูกกะโหลกศีรษะ กระดูกหน้าอก และกระดูกซี่โครงกระดูกกะโหลกศีรษะเป็นกระดูกที่เป็นแผ่นเชื่อมติดกันภายในมีลักษณะเป็นโพรงสำหรับบรรจุสมอง ทำหน้าที่ป้องกันสมองไม่ให้ได้รับอันตราย ครูฐิติรัตน์ กันนะ : โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี

51 ครูฐิติรัตน์ กันนะ : โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี
7.3.4 คน กระดูกสันหลังทำหน้าที่ช่วยค้ำจุน และรองรับน้ำหนักของร่างกายประกอบด้วยกระดูกที่มีลักษณะเป็นข้อๆต่อกัน ระหว่างกระดูกสันหลังแต่ละข้อจะมีแผ่นกระดูกอ่อน (cartiage) หรือที่เรียกกันว่าหมอนรองกระดูก ทำหน้าที่รองและเชื่อมกระดูกนี้เสื่อมจะไม่สามารถเอี้ยว หรือบิดตัวได้ กระดูกสันหลังแต่ละข้อจะมีช่องให้ไขสันหลังสอดผ่านและมีส่วนของจะงอยยื่นออกมาเป็นที่เกาะของกล้ามเนื้อและเอ็น กระดูกสันหลังช่วงงอกจะมีกระดูกซี่โครงมาเชื่อมต่อ ดังภาพที่ 7-14 ภาพที่ 7-14 กระดูกแกนบางส่วน ก.กระดูกสันหลัง ข. กระดูกซี่โครง ครูฐิติรัตน์ กันนะ : โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี

52 ครูฐิติรัตน์ กันนะ : โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี
7.3.4 คน กระดูกซี่โครงมีทั้งหมด 12 คู่ กระดูกซี่โครงทุกๆ ซี่จะไปต่อกับด้านข้างของกระดูกสันหลังบริเวณทรวงอก โดยปลายอีกด้านหนึ่งเชื่อมกับกระดูกหน้าอก ยกเว้นกระดูกซี่โครงคู่ที่ 11 และ 12 จะเป็นซี่สั้นๆ ไม่เชื่อมต่อกับกระดูกหน้าอก เรียกว่า ซี่โครงลอยดังภาพที่ 7-14                              ถ้าหมอนรองกระดูกเสื่อมจะเกิดผลอย่างไร ตอบ ถ้าหมอนรองกระดูกเสื่อมอาจมีผลทำให้ร่างกายเคลื่อนไหวไม่สะดวก เกิดความเจ็บปวดตรงระหว่างข้อต่อของกระดูกสันหลังขณะเคลื่อนไหว ครูฐิติรัตน์ กันนะ : โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี

53 ครูฐิติรัตน์ กันนะ : โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี
7.3.4 คน   กระดูกซี่โครงสร้างโครงและกล้ามเนื้อยึดซี่โครงเกี่ยวข้องกับการหายใจอย่างไร ตอบ กล้ามเนื้อยึดซี่โครงแถบนอกหดตัว ทาให้กระดูกซี่โครงยกตัวสูงขึ้น มีผลทาให้ปริมาตรช่องอกเพิ่มขึ้นอากาศจึงเคลื่อนที่เข้าสู่ปอดได้ทาให้ เกิดการหายใจเข้าและถ้าเกิดกลไกการทางานของกล้ามเนื้อยึดซี่โครงและ กระดูกซี่โครงในทิศทางตรงกันข้ามกับที่กล่าวมาแล้วจะทาให้เกิดการ หายใจออก ครูฐิติรัตน์ กันนะ : โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี

54 ครูฐิติรัตน์ กันนะ : โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี
7.3.4 คน กระดูกรยางค์ กระดูกรยางค์ มีทั้งสิ้น 126 ชิ้น ได้แก่กระดูกแขก กระดูกขา รวมไปถึงกระดูกสะบัก และกระดูกเชิงกราน ซึ่งเป็นที่ยึดเกาะของแขนและขาข้อต่อ และเอ็นยึดกระดูก  จากภาพที่ 7-13 จะเห็นว่าโครงกระดูกประกอบด้วยกระดูกหลายชิ้นต่อกัน ตำแหน่งที่กระดูก 2 ชิ้น มาต่อกันเรียกว่า ข้อต่อ (joint) นักเรียนคิดว่าข้อต่อมีความสำคัญต่อการเคลื่อนไหวของร่างกายอย่างไร ข้อต่อมีหลายลักษณะอย่างไรบ้าง นักเรียนสามรถศึกษาได้จากกิจกรรมที่ 7.2  ครูฐิติรัตน์ กันนะ : โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี

55 ครูฐิติรัตน์ กันนะ : โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี
7.4.3 คน กิจกรรมที่ 7.2 ชนิดของข้อต่อกับการเคลื่อนไหว  วิธีการทดลอง  1. ใช้มือหนึ่งจับโคนนิ้วชี้ให้แน่นกระดกปลายนิ้วไปมาดังภาพ ก. สังเกตลักษณะทิศทางการเคลื่อนไหว ของปลายนิ้ว บันทึกผล  2. ใช้มือขวาจับเหนือข้อศอกแขนซ้ายให้แน่นและเคลื่อนส่วนปลายแขนไปดังภาพ ข. สังเกตลักษณะทิศ ทางการเคลื่อนไหวของปลายแขน บันทึกผล 3. ให้นักเรียนหมุนแขนไปมา สังเกตลักษณะทิศทางการเคลื่อนไหวของแขน บันทึกผล  4. ให้นักเรียนเคลื่อนไหวข้อต่อบริเวณอื่นๆ เช่น หัวเข่า ศีรษะ สังเกตลักษณะทิศทางการเคลื่อนไหว บันทึกผล ครูฐิติรัตน์ กันนะ : โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี

56 ครูฐิติรัตน์ กันนะ : โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี
7.3.4 คน ทุกๆ ส่วนของร่างกายที่ทดลองมีขอบเขตในการเคลื่อนไหวเหมือนหรือแตกต่างกันอย่างไร ตอบ ข้อต่อบริเวณต่าง ๆ มีขอบเขตในการเคลื่อนไหวไปใน ทิศทางแตกต่างกัน บางส่วนเคลื่อนไหวได้เพียงทิศทางเดียว หรือรอบทิศทาง และเคลื่อนไหวไม่ได้ ครูฐิติรัตน์ กันนะ : โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี

57 ครูฐิติรัตน์ กันนะ : โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี
7.3.4 คน นักเรียนคิดว่าสิ่งที่จำกัดขอบเขตในการเคลื่อนไหวของร่างกายส่วนที่ทดลองคืออะไรจากการทดลองนักเรียนแบ่งชนิดของข้อต่อได้กี่ชนิดอะไรบ้างและใช้อะไรเป็นเกณฑ์ ตอบ ลักษณะการเคลื่อนที่ของข้อต่อคาถาม จากการทดลองนักเรียนแบ่งชนิดของข้อต่อได้เป็นกี่ชนิด อะไรบ้าง และใช้อะไรเป็นเกณฑ์ตอบ แบ่งได้เป็น3ชนิด คือ 1.เคลื่อนไหวได้ในทิศทางเดียว 2.เคลื่อนไหว ได้อย่างอิสระหลายทิศทางและ 3.เคลื่อนไหวไม่ได้หรือเคลือนไหวได้ ่ เพียงเล็กน้อย ดังนั้นเกณฑ์ที่ใช้แบ่งข้อต่อจึงเป็นทิศทางการเคลื่อนที่ ของกระดูกที่ข้อต่อนั้น ครูฐิติรัตน์ กันนะ : โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี

58 ครูฐิติรัตน์ กันนะ : โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี
7.3.4 คน เมื่อทดลองเคลื่อนไหว นิ้วเท้า หัวเข่าและต้นขา นักเรียนบอกได้หรือไม่ว่า ข้อต่อตรงส่วนนั้นเป็นข้อต่อชนิดใด และส่วนใดบ้างที่เคลื่อนไหวไม่ได้ ตอบ ข้อต่อของนิ้วเท้าเป็นแบบบานพับ ข้อต่อของหัวเข่าเป็นแบบบานพับ ข้อต่อของต้นขาเป็นแบบลูกกลมในเบ้ากระดูก ข้อต่อในร่างกายบริเวณ ที่เคลื่อนไหวไม่ได้ คือข้อต่อของกระดูกสันหลัง ข้อต่อของกระดูกฝ่ามือ  การเคลื่อนไหวของกระดูกหัวเข่า กระดูกโคนขาและกระดูกเชิงกราน เหมือนกันหรือไม่อย่างไร ตอบ การเคลื่อนไหวของกระดูกหัวเข่า สามารถพับไปด้านหลัง ส่วนกระดูกโคน ขาสามารถเคลื่อนไหวในลักษณะหมุนได้รอบ เนื่องจากข้อต่อเป็นแบบลูก กลมในเบ้ากระดูก ส่วนกระดูกเชิงกรานไม่สามารถเคลื่อนไหวได้ ครูฐิติรัตน์ กันนะ : โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี

59 ครูฐิติรัตน์ กันนะ : โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี
7.3.4 คน   จากกิจกรรมที่ 7.2 นักเรียนจะเห็นว่า ข้อต่อช่วยให้อวัยวะต่างๆ ที่ช่วยในการเคลื่อนไหวสารถเคลื่อนไหวได้สะดวก อย่างไรก็ดี การเคลื่อนไหวของร่างกายบางส่วนสามารถเคลื่อนไหวได้หลายทิศทาง บางส่วนเคลื่อนไหวได้เฉพาะการเหยียดและงอเข้าเท่านั้น ที่เป็นเช่นนี้เนื่องจากเชื่อมต่อกันของกระดูกตรงข้อต่อนั้นมีหลายลักษณะ ข้อต่อบางแห่งมีลักษณะการเชื่อมต่อเหมือนบานพับ ทำให้เคลื่อนไหวตรงส่วนนั้นจากัดได้เพียงทิศทางเดียวเช่นเดียวกับการเคลื่อนไหวของบานพับประตู หรือหน้าต่างเชน ข้อต่อบริเวณข้อศอก          การเชื่อมกันของกระดูกบางแห่ง เป็นไปในลักษณะคล้ายลูกกลมในบ้ากระดูก ทำให้ร่างกายส่วนนั้นเคลื่อนไหวอย่างอิสระหลายทิศทาง เช่น ข้อต่อที่หัวไหล่ ครูฐิติรัตน์ กันนะ : โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี

60 ครูฐิติรัตน์ กันนะ : โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี
7.3.4 คน     ข้อต่อบางแห่งเป็นแบบชนิดประกบส่วนในลักษณะเดือยทำให้สามารถก้ม เงย บิด ไปทางซ้าย ขวา เช่น ข้อต่อ ที่ต้นคอกับฐานของกะโหลกศีรษะ อย่างไรก็ตามแม้ว่าข้อต่อของกระดูกส่วนใหญ่ทำให้เกิดการเคลื่อนไหวได้ ดังภาพ 7-15 ก. แต่มีข้อต่อบางแห่งที่หำหน้ายึดกระดูก และทำให้เกิดการเคลื่อนไหวได้เพียงเล็กน้อยเช่น ข้อต่อของกระดูกซี่โครง หรือข้อต่อที่เคลื่อนไหวไม่ได้เลยเช่น ข้อต่อของกะโหลกศีรษะ ดังภาพที่ 7-15 ข.  ครูฐิติรัตน์ กันนะ : โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี

61 ครูฐิติรัตน์ กันนะ : โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี
7.3.4 คน ภาพที่ 7-15 ลักษณะข้อต่อ  ก.ลักษณะข้อต่อชนิดเคลื่อนไหวได้แบบต่างๆ     ข. ลักษณะข้อต่อชนิดเคลื่อนไหวไม่ได้ ครูฐิติรัตน์ กันนะ : โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี

62 ครูฐิติรัตน์ กันนะ : โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี
7.3.4 คน ภาพที่ 7-15   ก.ลักษณะข้อต่อชนิดเคลื่อนไหวได้แบบต่างๆ     ข. ลักษณะข้อต่อชนิดเคลื่อนไหวไม่ได้ ระหว่างกระดูกบริเวณข้อต่อจะมีของเหลว เรียกว่า น้ำไขข้อ (synovial fluid) หล่อลื่นอยู่ ดังภาพที่ 7-16 ทำให้กระดูกไม่เสียดสีกันขณะเคลื่อนไหว และทำให้เคลื่อนไหวได้สะดวกไม่เกิดความเจ็บปวด การทีกระดูกมีลักษณะเป็นข้อต่อ จำเป็นจะต้องมีโครงสร้างที่ยึดกระดูกให้เชื่อมติดต่อกัน เพื่อทำหน้าที่เป็นโครงร่างค้ำจุนร่างกายและทำให้กระดูกทำงานสัมพันธ์กันในการเคลื่อนไหว โครงสร้างดังกล่าวได้แก่ เนื้อเยื่อเกี่ยวที่มีความเหนียวทนทาน เรียกว่า เอ็นยึดข้อ (ligament) ครูฐิติรัตน์ กันนะ : โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี

63 ครูฐิติรัตน์ กันนะ : โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี
7.3.4 คน ภาพที่ 7-16 ตำแหน่งของน้ำไขข้อ ครูฐิติรัตน์ กันนะ : โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี

64 ครูฐิติรัตน์ กันนะ : โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี
7.3.4 คน ระบบกล้ามเนื้อ การทำงานของระบบโครงกระดูกเพียงระบบเดียว ไม่สามารถทำให้ร่างกายเคลื่อนไหวได้ ต้องอาศัยการทำงานร่วมกับระบบกล้ามเนื้อซึ่งจัดได้ว่าเป็นแหล่งพลังงานกลเพราะเมื่อกล้ามเนื้อหดตัว ย่อมทำให้เกิดเคลื่อนไหวของสัตว์ กล้ามเนื้อของสัตว์มีกระดูกสันหลังมีหลายประเภท ซึ่งนักเรียนจะได้ศึกษาจากภาพที่ 7-17 ภาพที่ ภาพถ่ายและภาพวาดของเซลล์กล้ามเนื้อ ก. ภาพถ่ายวาดของกล้ามเนื้อยึดกระดูก ข. ภาพถ่ายและวาดกล้ามเนื้อหัวใจ ค. ภาพถ่ายและ ครูฐิติรัตน์ กันนะ : โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี

65 ครูฐิติรัตน์ กันนะ : โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี
7.3.4 คน ภาพวาดของกล้ามเนื้อเรียบ  - จงเปรียบเทียบภาพของกล้ามเนื้อทั้ง 3 ชนิด ว่าเหมือนหรือแตกต่างกันอย่างไร                จากภาพที่ 7-17 จะเห็นว่า กล้ามเนื้อของสัตว์มีกระดูกสันหลังแบ่งออเป็น 3 ชนิด คือกล้ามเนื้อยึดกระดูก กล้ามเนื้อหัวใจและกล้ามเนื้อเรียบ ดังนี้               กล้ามเนื้อยึดกระดูก (skeletal muscle) เป็นกล้ามเนื้อที่เกาะติดกับโครงกระดูก เช่น กล้ามเนื้อแขน กล้ามเนื้อขา จึงทำหน้าที่เกี่ยวกับการเคลื่อนไหวร่างกายโดยตรง เมื่อนำเซลล์กล้ามเนื้อเหล่านี้มาศึกษาด้วยกล้ามจุลทรรศน์จะมองเห็นเป็นแถบลาย สีอ่อนสีเข้มสลับกันเห็นเป็นลาย(striation) เซลล์ของกล้ามเนื้อนี้มีลักษณะเป็นทรงกระบอกยาว แต่ละเซลล์มีหลายนิวเคลียส               ครูฐิติรัตน์ กันนะ : โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี

66 ครูฐิติรัตน์ กันนะ : โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี
7.3.4 คน การทำงานของกล้ามเนื้อยึดกระดูกนั้นถูกควบคุมโดย ระบบประสาทโซมาติก ดังนั้นการทำงานของกล้ามเนื้อชนิดนี้ ร่างกายสามารถบังคับได้ หรืออาจกล่าวว่าอยู่ในอำนาจจิตใจ กล้ามเนื้อหัวใจ(cardiac muscle) เซลล์มีรูปร่างเป็นทรงกระบอก แต่สั้นกว่าเซลล์กล้ามเนื้อยึดกระดูกและเห็นเป็นลายเช่นเดียวกัน แต่ตอนปลายของเซลล์มีการแตกแขนงและเชื่อมโยงติดต่อกันกับเซลล์ข้างเคียง การทำงานของกล้ามเนื้อหัวใจถูกควบคุมโดยระบบประสาท อัตโนวัติ ดังนั้นร่างกายไม่สามารถบังคับได้ จึงเป็นกล้ามเนื้อที่อยู่นอกอำนาจจิตใจ            ครูฐิติรัตน์ กันนะ : โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี

67 ครูฐิติรัตน์ กันนะ : โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี
7.3.4 คน  กล้ามเนื้อเรียบ(smooth muscle) เป็นกล้ามเนื้อที่พบอยู่ตามอวัยวะภายใน เช่น ผนังกระเพาะอาหาร ผนังลำไล้ ผนังหลอดเลือด และม่านตา เป็นต้น กล้ามเนื้อเหล่านี้ประกอบด้วยเซลล์ที่มีลักษณะยาว หัวท้ายแหลม แต่ละเซลล์มี 1 นิวเคลียสไม่มีลายพาดขวาง         การทำงานของกล้ามเนื้อเรียบถูกควบคุมโดยระบบประสาท อัตโนวัติ เช่นเดียวกับกล้ามเนื้อหัวใจ ซึ่งนักเรียนจะได้ศึกษารายละเอียดในบทต่อไป  นักเรียนได้ทราบมาแล้วว่าการเคลื่อนไหวของสัตว์เกิดจากการทำงานของกล้ามเนื้อ 2 ชุดที่ทำงานสัมพันธ์กันในสภาวะตรงกันข้าม ในบทเรียนบทนี้นักเรียนจะได้ศึกษาการทำงานของกล้ามเนื้อยึดกระดูกของคนจากกิจกรรมที่ 7.3 ครูฐิติรัตน์ กันนะ : โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี

68 7.3.4 คน กิจกรรมที่ 7.3 การทำงานของกล้ามเนื้อยึดกระดูกที่แขน
วัสดุอุปกรณ์           1.โต๊ะ           2.หนังสือ วิธีการทดลอง 1.ให้นักเรียนวางปลายแขนราบไปกับพื้นโต๊ะในลักษณะหงายฝ่ามือ แล้วจับกล้ามเนื้อบริเวณต้นแขนด้านบน เปรียบเทียบกับกล้ามเนื้อต้นแขนด้านล่าง บันทึกผล 2.วางหนังสือบนฝ่ามือและยกหนังสือขึ้น โดยการงอข้อศอกเท่านั้น ลองจับกล้ามเนื้อทั้ง 2 ตำแหน่งเดิมนั้นอีกครั้งหนึ่ง บันทึกการแปลงเปลี่ยนของกล้ามเนื้อ 3.นำหนังสือออกจากฝ่ามือ เปลี่ยนเป็นการออกแรงให้ปลายแขนกดพื้นโต๊ะ ลองจับกล้ามเนื้อทั้ง 2 ตำแหน่ง พร้อมทั้งบันทึกผลเช่นเดียวกับข้อ 2 ครูฐิติรัตน์ กันนะ : โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี

69 ครูฐิติรัตน์ กันนะ : โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี
7.3.4 คน - กล้ามเนื้อแขนขณะที่ออกแรงยกหนังสือหรือกดพื้นโต๊ะกับขณะวางราบบนพื้นโต๊ะมีลักษณะแตกต่างกันหรือไม่ อย่างไร ตอบ ขณะยกหนังสือจะมีกล้ามขึ้นด้านหน้า  และเมื่อลองจับดูจะแข็งมาก ขณะกดลงที่โต๊ะจะรู้สึกเกร็งกล้ามเนื้อด้านหลัง นักเรียนจะสรุปผลการทดลองเกี่ยวกับการทำงานของกล้ามเนื้ออย่างไร ตอบ 1. กล้ามเนื้อยึดกระดูกจะทำงานเป็นคู่ การงอและเหยียดแขนเกิดจากการทำงานของไบเซพ (bicep)  และไตรเซพ (tricep)  ขณะที่ไบเซพหดตัว  ไตรเซพจะคลายตัวทำให้แขนงอเข้า  ขณะที่ไบเซพคลายตัว  ไตรเซพหดตัวทำให้เกิดแขนเหยียดออก  ครูฐิติรัตน์ กันนะ : โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี

70 ครูฐิติรัตน์ กันนะ : โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี
7.3.4 คน   จากกิจกรรมจะเห็นได้ว่ากล้ามเนื้อยึดกระดูกจะทำงานเป็นคู่การงอและเหยียดแขนเกิดจากการทำงานของกล้ามเนื้อไบเซพ(bicep) และ ไตรเซพ(triceps) ขณะที่ไปเซทหดตัว ไตรเซพจะคลายตัวทำให้แขนงอเข้า และขณะที่ไบเซพจะหดตัวทำให้แขนเหยียดออก ดังภาพที่ 7-18 ภาพที่ 7-18 ลักษณะการทำงานของกล้ามเนื้อไบเซพและไตรเซพ ครูฐิติรัตน์ กันนะ : โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี

71 ครูฐิติรัตน์ กันนะ : โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี
7.3.4 คน เมื่อกล้ามเนื้อหดตัวจะเกิดแรงดึงให้กระดูกทั้งท่อนเคลื่อนไหวได้เพราะระหว่างกล้ามเนื้อกับกระดูกมีเนื้อเยื่อเกี่ยวพันที่มีความเหนียวแข็งแรงและทนทานแรงดึงหรือรองรับน้ำหนักเรียกว่าเอ็นยึดกระดูก (tendon) ยึดอยู่ดังภาพที่ 7-18 เอ็นยึดข้อและเอ็นยึดกระดูกเหมือนหรือแตกต่างกันอย่างไร ตอบ เอ็นยึดข้อจะยึดกระดูกให้เชื่อมต่อกัน ทำให้กระดูกทำงานสัมพันธ์กันในขณะที่มีการเคลื่อนไหว ส่วนเอ็นยึดกระดูกจะยึดระหว่างกล้ามเนื้อกับกระดูก เพื่อให้กระดูกที่กล้ามเนื้อยึดไว้เกิดการเคลื่อนไหวได้ ทั้งเอ็นยึดข้อและเอ็นยึดกระดูกเป็นเนื้อเยื่อเกี่ยวพันที่มีความเหนียวและแข็งแรง ครูฐิติรัตน์ กันนะ : โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี

72 ครูฐิติรัตน์ กันนะ : โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี
7.3.4 คน นักเรียนคิดว่าขณะที่ร่างกายเคลื่อนที่ การทำงานของกระดูก กล้ามเนื้อและข้อต่อมีความสัมพันธ์กันอย่างไร ตอบ ขณะที่ร่างกายเคลื่อนที่ กล้ามเนื้อยึดกระดูกที่ทำงานร่วมกันในลักษณะสภาวะตรงกันข้าม จะหดหรือคลายเพื่อควบคุมการเคลื่อนที่ของกระดูก ในขณะที่ข้อต่อจะช่วยควบคุมทิศทางในการเคลื่อนที่ของกระดูก รู้หรือเปล่า เอ็นที่ยึดระหว่างกล้ามเนื้อน่องกับกระดูกสันเท้า เรียกว่าเอ็นร้อยหวาย ครูฐิติรัตน์ กันนะ : โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี

73 ครูฐิติรัตน์ กันนะ : โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี
7.3.4 คน เชื่อมโยงกับฟิสิกส์ การหดตัวของกล้ามเนื้อที่ทำให้กระดูกเคลื่อนที่อาศัยหลักการทำงานโดยการออกแรงด้านน้ำหนักแบบคานงัดคานดีด โดยมีข้อต่อระหว่างกระดูกเป็นจุดหมุน (Fulcrum) ดังภาพ กล้ามเนื้อกับกระดูกทำงานโดยอาศัยหลักการของคาน(lever) คือมีกระดูกเป็นคานและข้อต่อเป็นจุดหมุนเช่นเดียวกับปากคีบ               จากที่กล่าวมาแล้ว การเคลื่อนไหวของกระดูกเกิดจากการหดตัวและคลายตัวของกล้ามเนื้อ 2 ชุดที่ทำในสภาวะตรงกันข้ามนักเรียนคิดว่ากล้ามเนื้อหดตัวและคลายตัวได้อย่างไร ครูฐิติรัตน์ กันนะ : โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี

74 ครูฐิติรัตน์ กันนะ : โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี
7.3.4 คน ครูฐิติรัตน์ กันนะ : โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี

75 ครูฐิติรัตน์ กันนะ : โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี
7.3.4 คน โครงสร้างและการทำงานของกล้ามเนื้อยึดกระดูก           กล้ามเนื้อยึดกระดูกแต่ละมัดประกอบด้วย เส้นใยกล้ามเนื้อ (muscle fiber) หรือเซลล์กล้ามเนื้อ (muscle cell) ภายในเส้นใยกล้ามเนื้อประกอบด้วยเส้นใยกล้ามเนื้อเล็ก (myofibrils) มีลักษณะเป็นท่อนยาวเรียงซ้อนกันเส้นใยกล้ามเนื้อเล็กเหล่านี้จะอยู่รวมกันเป็นมัด เส้นใยกล้ามเนื้อเล็กประกอบด้วย ไมโครฟิลาเมนท์ 2 ชนิดคือ ชนิดบาง ซึ่งเป็นสายโปรตีนแอกทิน (act in) และชนิดหนาซึ่งเป็นสายโปรตีนไมโอซิน(myosin) แอกทินและไมโอซินเรียงตัวขนานกัน ดังภาพที่ 7-19 ครูฐิติรัตน์ กันนะ : โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี

76 ครูฐิติรัตน์ กันนะ : โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี
7.3.4 คน ภาพที่ 7-19 เส้นใยกล้ามเนื้อ เส้นใยกล้ามเนื้อเล็ก และการเรียงตัวของแอกทินกับไมโอซิน ครูฐิติรัตน์ กันนะ : โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี

77 ครูฐิติรัตน์ กันนะ : โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี
7.3.4 คน นักวิทยาศาสตร์ได้ศึกษาการทำงานของเส้นใยกล้ามเนื้อมานานแล้ว แต่ยังไม่ทราบแน่ชัด ต่อมาฮักซเลย์และแฮนสัน (H.E.HuxleyและJean Hanson)ได้เสนอสมมติฐานการหดตัวของกล้ามเนื้อเกิดจากการเลื่อนตัวของแอกทินเข้าหากันตรงกลาง (sliding filament hypothesis) การเลื่อนของโปรตีนดังกล่าวทำให้เส้นใยกล้ามเนื้อหดตัว          จากบทเรียนนี้นักเรียนคงเห็นแล้วว่า การเคลื่อนไหวของสิ่งมีชีวิตจำเป็นต้องอาศัยระบบโครงร่างและระบบกล้ามเนื้อเป็นสำคัญตามความซับซ้อนของโครงสร้างและร่างกายของสิ่งมีชีวิตชนิดนั้นอย่างไรก็ดีสิ่งมีชีวิตบางชนิดอาจมีการปรับเปลี่ยนรูปร่างให้เหมาะสมเพื่อช่วยในการเคลื่อนไหวให้รวดเร็วและมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น จึงจำเป็นต้องอาศัยการทำงานร่วมกันของระบบต่างๆในร่างกายดังที่นักเรียนจะได้ศึกษาต่อไป ครูฐิติรัตน์ กันนะ : โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี

78 กิจกรรมท้ายบทที่ 7

79 ครูฐิติรัตน์ กันนะ : โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี
กิจกรรมท้ายบทที่ 7 1. เพราะเหตุใดภายหลังคนตายเพียงไม่กี่ชั่วโมง จึงเกิดอากาศการแข็งของกล้ามเนื้อ (Rigor mortis) ทั่วร่างกาย ตอบ เพราะสารประกอบ ATP เป็นสารที่จำเป็นต่อการหดตัวและคลายตัวของกล้ามเนื้อไม่สามารถสร้างขึ้นเมื่อเสียชีวิตแล้ว  ทำให้กล้ามเนื้อไม่มีพลังงานสำหรับหดและคลายตัวเหมือนขณะที่ยังมีชีวิตอยู่ 2. การเคลื่อนที่ของไส้เดือนดินมีทิศทางที่แน่นอนต่างจากพยาธิตัวกลมที่ได้แต่งอตัวไปมาเพราะเหตุใด ตอบ เพราะไส้เดือนดินประกอบด้วยกล้ามเนื้อวงและกล้ามเนื้อตามยาว  ทำงานแบบสภาวะตรงกันข้ามขณะที่พยาธิตัวกลมมีแต่กล้ามเนื้อตามยาวอย่างเดียว ครูฐิติรัตน์ กันนะ : โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี

80 ครูฐิติรัตน์ กันนะ : โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี
กิจกรรมท้ายบทที่ 7 3. ถ้านำพารามีเซียมมาศึกษาภายไต้กล้องจุลทรรศน์ พบว่าพารามีเซียมเคลื่อนที่ได้เร็วมากเมื่อใส่สารเคมีลงใน สารละลายที่มีพารามีเซียมเคลื่อนที่อยู่ พบว่าพารามีเซียมหยุดการเคลื่อนที่นักเรียนคิดว่าสาเหตุใดที่เป็นไปได้มากที่สุดที่ทำให้พารามีเซียมหยุดเคลื่อนที่ ตอบ อาจเป็นไปได้ว่าสารเคมีดังกล่าวมีผลต่อการทำงานของซิเลียหรืออาจทำให้พารามีเซียมตาย 4. เหตุใดสัตว์น้ำจึงมีความจำเป็นในการใช้กล้ามเนื้อยึดกระดูกน้อยกว่าสัตว์ที่มีขนาดเท่ากัน ตอบ สัตว์น้ำอาศัยน้ำช่วยพยุงน้ำหนักของร่างกาย  จึงมีความจำเป็นในการใช้กล้ามเนื้อยึดกระดูกในการค้ำจุนร่างกายน้อยกว่า ครูฐิติรัตน์ กันนะ : โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี

81 ครูฐิติรัตน์ กันนะ : โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี
กิจกรรมท้ายบทที่ 7 5. นักเรียนคนหนึ่งกล่าวว่าแคลเซียมฟอสเฟตทำให้กระดูกแข็งแรง นักเรียนจะออกแบบการทดลองอย่างไร เพื่อตรวจสอบคำกล่าวนี้ ตอบ เนื่องจากแคลเซียมฟอสเฟตสามารกละลายในกรดที่เจือจางได้  ดังนั้นแนวทางการทดลองอาจเป็นดังนี้           - นำกระดูกไก่มา 2 ชิ้น ชิ้นที่ 1 แช่ในกรดเกลือเจือจาง  อีกชิ้นหนึ่งแช่ในน้ำกลั่น ตั้งทิ้งไว้ประมาณ 24 ชั่วโมง  จะพบว่า ชิ้นที่ 1 กระดูกอ่อนและนิ่ม  เพราะแคลเซียมฟอสเฟตละลายในกรดเจือจางได้  การทดลองนี้จะเห็นว่าชุดที่มีกระดูกขาไก่แช่น้ำกลั่น เป็นชุดควบคุม  โดยกรดเกลือเป็นตัวแปรอิสระ  ส่วนการเปลี่ยนแปลงของกระดูกเป็นตัวแปรตาม ซึ่งวัดจากการอ่อนตัวของกระดูกนอกจากนั้นมีปัจจัยอื่นเหมือนกันหมด ครูฐิติรัตน์ กันนะ : โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี

82 ครูฐิติรัตน์ กันนะ : โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี
กิจกรรมท้ายบทที่ 7 6. จงเปรียบเทียบข้อดีและข้อเสียของสัตว์ที่มีโครงร่างแข็งภายนอกและสัตว์ที่มีโครงร่างแข็งภายใน (มีกระดูกสันหลัง)  ตอบ โครงร่างแข็งภายนอกมีข้อดีคือ  ป้องกันอันตรายให้แก่อวัยวะภายในร่างกายและยังป้องกันการสูญเสียน้ำ   แต่ข้อเสียคือ  ไปจำกัดการเจริญเติบโตและการเคลื่อนที่ของสัตว์           ส่วนโครงร่างแข็งภายในมีข้อดีคือ  กระดูกเป็นที่ยึดเกาะของกล้ามเนื้อจึงช่วยในการเคลื่อนที่ของร่างกายได้เป็นอย่างดี ส่วนข้อเสียคือ  ไม่สามารถป้องกันอันตรายให้แก่อวัยวะภายในได้ทุกส่วน  และไม่สามารถป้องกันการสูญเสียน้ำได้เหมือนกับ โครงร่างแข็งภายนอก ครูฐิติรัตน์ กันนะ : โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี

83 ครูฐิติรัตน์ กันนะ : โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี
กิจกรรมท้ายบทที่ 7 7. จงเปรียบเทียบลักษณะและหน้าที่ของกล้ามเนื้อทั้ง 3 ชนิด กล้ามเนื้อยึดกระดูก กล้ามเนื้อหัวใจ และกล้ามเนื้อเรียบ ตอบ   ข้อเปรียบเทียบ  ชนิดของกล้ามเนื้อ รูปร่างลักษณะ หน้าที่ กล้ามเนื้อยึดกระดูก รูปร่างยาวเป็นทรงกระบอก  มีลาย พาดขวาง  มีหลายนิวเคลียส ช่วยให้เกิดการเคลื่อนที่ กล้ามเนื้อหัวใจ รูปร่างสั้น  เป็นทรงกระบอก  มีลาย ทำให้หัวใจบีบตัว กล้ามเนื้อเรียบ รูปร่างยาวเรียวแหลมหัวท้าย  ไม่มี ลายพาดขวาง  มี 1 นิวเคลียส ทำให้อวัยวะภายใน เช่น  หลอดเลือด  ทางเดินอาหารบีบและคลายตัวได้ ครูฐิติรัตน์ กันนะ : โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี

84 ครูฐิติรัตน์ กันนะ : โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี
กิจกรรมท้ายบทที่ 7 8. ถ้ากล้ามเนื้อไบเซพเป็นอัมพาตจะเกิดอะไรขึ้น ตอบ กล้ามเนื้อไบเซพ  ติดต่ออยู่ระหว่างส่วนบนสุดของกระดูกส่วนปลาย  อีกด้านหนึ่งติดต่ออยู่กับเอ็นที่ยึดอยู่กับกระดูกปลาแขน    เมื่อกล้ามเนื้อชุดนี้หดตัวจะมีผลทำให้แขนงอ   ดังนั้นเมื่อกล้ามเนื้อไบเซพเป็นอัมพาตย่อมทำให้แชนขาข้างนั้นงอไม่ได้ 9. เพราะเหตุใดเซลล์กล้ามเนื้อจึงมีไบโทคอนเตรียมมาก  ตอบ การหดตัวของกล้ามเนื้อต้องอาศัยพลังงานจากสารประกอบ ATP จึงมีปริมาณไมโทคอนเดรียมาก ครูฐิติรัตน์ กันนะ : โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี


ดาวน์โหลด ppt บทที่ 3 เซลล์ของสิ่งมีชีวิต

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


Ads by Google