งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

Chapter 4 Treatment of Aliens & State Responsibilities (cont. 2)

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


งานนำเสนอเรื่อง: "Chapter 4 Treatment of Aliens & State Responsibilities (cont. 2)"— ใบสำเนางานนำเสนอ:

1 Chapter 4 Treatment of Aliens & State Responsibilities (cont. 2)
Kanya Hirunwattanapong, November 2015, CMU

2 การรับผิดของรัฐ และการเยียวยาความเสียหาย
ความรับผิดของรัฐตามกฎหมายระหว่างประเทศ หมายถึง ความรับผิดที่รัฐหนึ่งมีต่ออีกรัฐหนึ่งอันเนื่องมาจาก การที่รัฐไม่ปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติตามข้อผูกพันที่ระบบกฎหมายระหว่างประเทศได้วางไว้ไม่ว่าจะเป็น กฎหมายจารีตประเพณีระหว่างประเทศหรือสนธิสัญญา การกระทำของรัฐที่ก่อความเสียหายนั้นต้องมีการ เยียวยาต่อรัฐที่เสียหาย Chorzow Factory Case (Poland v. Germany) PCIJ 1928 ศาลพิพากษาว่า เป็นหลักการตาม กฎหมายระหว่างประเทศและหลักกฎหมายทั่วไปที่การละเมิดข้อตกลงก่อความผูกพันที่จะเยียวยาอย่างเพียงพอ คณะกรรมการกฎหมายระหว่างประเทศ (International Law Commission – ILC) จัดทำร่างสนธิสัญญา ว่าด้วยความรับผิดของรัฐ ILC Draft Articles on Responsibility of States for International Wrongful Acts ร่างกฎหมายดังกล่าวเสร็จสมบูรณ์ในปี 2001 (August) Kanya Hirunwattanapong, November 2015, CMU

3 Kanya Hirunwattanapong, November 2015, CMU
หลักการทั่วไปของสนธิสัญญาความรับผิดรัฐ การกระทำผิดระหว่างประเทศก่อความรับผิดระหว่างประเทศ การกระทำผิดระหว่างประเทศของรัฐหมายถึง การกระทำและงดเว้นการกระทำของรัฐที่เป็นการละเมิดกฎหมายระหว่าง ประเทศ ทั้งนี้ต้องมีการพิสูจน์ว่าได้มีการละเมิดข้อผูกพันระหว่างประเทศด้วย ดังนั้นเพียงแค่มีความเสียหายยังไม่เพียงพอ ที่รัฐต้องรับผิด อาทิ คดี Barcelona Traction Case (1964) ICJ การกระทำของรัฐที่เป็นการกระทำผิดระหว่างประเทศกำหนดโดยกฎหมายระหว่างประเทศ Kanya Hirunwattanapong, November 2015, CMU

4 Kanya Hirunwattanapong, November 2015, CMU
กฎหมายจารีตประเพณีระหว่างประเทศว่าด้วยความรับผิดรัฐ (ก่อนการมีร่างสนธิสัญญา) รัฐรับผิดระหว่างประเทศเต็มที่ในการตรากฎหมายที่ขัดกับกฎหมายระหว่างประเทศ คดี Whimbledon Case (France, Great Britain, Italy and Japan v. Germany) PCIJ 1923 รัฐอาจรับผิดระหว่างประเทศต่อการกระทำของฝ่ายตุลาการ แม้ว่าฝ่ายตุลาการนั้นจะทำงานเป็นอิสระจาก ฝ่ายบริหาร แต่เพราะกฎหมายระหว่างประเทศนั้นถือว่าฝ่ายตุลาการเป็นหน่วยงานหรือส่วนของรัฐ คดี Lotus Case (France v. Turkey) PCIJ 1927 ศาลพิจารณาว่าถ้าศาลตุรกีใช้เขตอำนาจศาลผิดก็จะต้องรับผิด กล่าวคือ การกระทำผิดในช่วงการดำเนินการของศาลก็เป็นความรับผิดระหว่างประเทศได้ อาทิ การปฏิเสธความยุติธรรม, การปฏิเสธการเข้าสู่กระบวนการยุติธรรมเพื่อปกป้องสิทธิหรือบังคับสิทธิ เป็นต้น Hague Codification Draft 1930 กำหนดว่า “การปฏิเสธความยุติธรรม” (denial of justice) ได้แก่ การล่าช้าที่เป็นอุปสรรคต่อการเข้าสู่กระบวนการยุติธรรม, ความยิ่งหย่อนอย่างมากในกระบวนการเยียวยาความเสียหาย, ความล้มเหลวที่จะให้การประกันการให้ความยุติธรรม หรือการแสดงถึงความไม่ยุติธรรมในคำพิพากษา Kanya Hirunwattanapong, November 2015, CMU

5 Kanya Hirunwattanapong, November 2015, CMU
รัฐรับผิดตามกฎหมายระหว่างประเทศถ้าไม่อาจดำเนินขั้นตอนที่เหมาะสมในการดำเนินคดี ลงโทษผู้กระทำผิด ต่อคนต่างด้าว การรับผิดของรัฐที่เป็นการกระทำของฝ่ายบริหาร - การกระทำของผู้บริหารหรือเจ้าหน้าที่ระดับสูงฝ่ายบริหารรวมถึงผู้นำประเทศและอดีตผู้นำประเทศ (แม้ได้รับความคุ้มกัน จากกฎหมายต่างชาติ แต่ในกฎหมายระหว่างประเทศแล้วนั้น รัฐยังคงรับผิดระดับหนึ่งจากการกระทำของผู้นำประเทศ การกระทำของคณะฑูต แม้จะได้รับความคุ้มกันจากกฎหมายของประเทศผู้รับ แต่กฎหมายระหว่างประเทศ ให้รัฐผู้ส่งรับผิดต่อการกระทำของคณะฑูต การกระทำของสมาชิกกองทัพ แม้ว่ากระทำโดยไม่มีคำสั่งหรืออำนาจ, หรือเกินความสามารถตามกฎหมายภายใน, หรือ ในการเลินเล่อในการปฏิบัติหน้าที่ Rainbow Warrior Arbitration [1987] สายลับฝรั่งเศสจมเรือของ Greenpeace ชื่อ “Rainbow Warrior” ในขณะที่อยู่ในน่านน้ำนิวซีแลนด์ คณะตุลาการวินิจฉัยว่าฝรั่งเศสต้องรับผิด ในกิจกรรมของผู้แทนตน อาทิ ทหาร ตำรวจ ตุลาการหน่วยงานของรัฐรวมถึงหน่วยความมั่นคงด้วย Kanya Hirunwattanapong, November 2015, CMU

6 Kanya Hirunwattanapong, November 2015, CMU
การกระทำของผู้แทนที่กระทำตามขอบเขตอำนาจและกระทำเกินขอบอำนาจอย่างเป็นทางการที่แจ้งชัด อย่างไรก็ตาม รัฐไม่มีความรับผิด ถ้าการกระทำที่ปราศจากอำนาจนั้นชัดเจนและคนต่างด้าวสามารถเลี่ยงที่จะ เผชิญปัญหานั้นได้ และรัฐไม่มีความรับผิดระหว่างประเทศโดยตรง ถ้าคนที่กระทำผิดไม่ได้ใช้หรือกระทำตาม อำนาจหน้าที่ และยังไม่มีความเกี่ยวโยงกันระหว่างงานในหน้าที่และการกระทำนั้น อาทิ คนต่างด้าวถูกฆ่าโดย ทหารที่ไม่ได้ปฏิบัติหน้าที่ รัฐอาจรับผิดถ้าไม่อาจทำหน้าที่อย่างดีในการป้องกันความเสียหายที่เกิด หรือไม่อาจลงโทษคนผิดหรือไปยอมรับการ กระทำผิดนั้น ความรับผิดระหว่างประเทศของรัฐต่อการกระทำของเอกชน ความรับผิดของรัฐในส่วนนี้มีจำกัด กล่าวคือ รัฐมีความรับผิดถ้ารัฐไม่อาจป้องกันความเสียหายไม่ให้เกิดถ้าเพียงรัฐทำหน้า ที่ที่ดี หรือมีการดำเนินการเอาตัวคนร้ายมาลงโทษ รัฐไม่รับผิดต่อการกระทำของกลุ่มปฏิวัติถ้ารัฐได้ทำหน้าที่อย่างดีในการป้องกันไม่ให้เกิดความเสียหายโดยพวกปฏิวัติ และรัฐไม่ต้องรับผิดในความเสียหายสูญเสียที่เกิดจากการปราบปรามการปฏิวัติ เว้นแต่ว่ารัฐเลือกปฏิบัติต่อคนต่างชาติ Kanya Hirunwattanapong, November 2015, CMU

7 Kanya Hirunwattanapong, November 2015, CMU
กรณีที่การปฏิวัติสำเร็จและแทนที่รัฐบาล เช่นนี้แล้วความรับผิดของรัฐย้อนกลับไปในช่วงการก่อความไม่สงบ (ดูการสรวมสิทธิรัฐ – state succession) ความรับผิดของรัฐอันเกี่ยวข้องกับการกระทำของรัฐอื่น 1. การช่วยเหลือในการกระทำผิด 2. แนะนำและควบคุมในการช่วยทำความผิด 3. ข่มขู่รัฐอื่นให้กระทำผิด รัฐที่ข่มขู่นั้นต้องรับผิด ข้อยกเว้น 1. ความยินยอม (consent) กล่าวคือ ความยินยอมของรัฐ ไม่ได้เกิดจากการบังคับข่มขู 2. การป้องกันตนเอง (self-defence) การกระทำผิดนั้นมีลักษณะเป็นการกระทำที่เป็นมาตรการอันถูกต้องชอบธรรมในการป้องกันตนตามกฎบัตรสหประชาชาติ 3. มาตรการปราบปรามการกระทำผิดที่อีกรัฐกระทำ แม้ว่าการกระทำในตัวมันเองเป็นความผิด 4. Force majeure เหตุสุดวิสัย คือ การที่รัฐต้องทำผิดนั้นเป็นเพราะเป็นสิ่งที่ไม่อาจห้ามได้, เหนือการควบคุมของรัฐทำให้ไม่อาจกระทำตามข้อผูกพันระหว่างประเทศ 5. Distress การที่ไม่มีวิธีการหรือมาตรการอื่นที่ดีในการดูแลความปลอดภัยในชีวิตของผู้กระทำนั้น หรือกับชีวิตของบุคคลที่ได้รับมอบหมายให้ผู้กระทำนั้นดูแล Kanya Hirunwattanapong, November 2015, CMU

8 Kanya Hirunwattanapong, November 2015, CMU
6. Necessity (ความจำเป็น) การที่รัฐจะอ้างข้อยกเว้นนี้ได้ต้องปรากฏว่ามี เป็นวิธีการเดียวที่รัฐจะดูแลผลประโยชน์ที่สำคัญ ไม่กระทบอย่างมากต่อประโยชน์รัฐอื่นตามข้อผูกพันที่มีอยู่ หรือตามชุมชนระหว่างประเทศโดยรวม 7. การปฏิบัติตามบรรทัดฐานที่สำคัญยิ่ง (peremptory norms) ทรัพย์สินคนต่างด้าว – การยึดหรือโอนเป็นของรัฐ (expropriation of the property of aliens) การโอนเป็นของรัฐ เป็นการที่รัฐเอาทรัพย์สินของเอกชน นอกจากนั้นมาตรการทางภาษีหรือหลักเกณฑ์อื่นๆ ที่มีลักษณะเป็นการขัดขวางการใช้ทรัพย์นั้นถือว่าเป็นการโอนเป็นของรัฐทางอ้อม โดยหลักการกฎหมายระหว่างประเทศแล้วรัฐผูกพันที่ต้องเคารพความเป็นจ้าของกรรมสิทธิ์ในทรัพย์ของคนต่างด้าว และคนต่างด้าวก็มีสิทธิที่จะเสวยสิทธิประโยชน์ในทรัพย์ตนตามปกติ หลักการนี้ยังปรากฏในเรื่องของการสรวมสิทธิของรัฐ อาทิ Norwegian Shipowners Case 1922 ชาวนอร์เว 15 คนทำสัญญาต่อเรือที่ที่เรือสหรัฐ หลังจากที่สหรัฐประกาศสงครามกับเยอรมันในปี 1917 สหรัฐได้ยึดเรือและการเจรจาระหว่างนอร์เวและสหรัฐเพื่อการเยียวยาความเสียหายไม่เป็นผล ทั้งคู่ส่งเรื่องให้ Court othe Permanent f Arbitration พิจารณาโดยได้ตัดสินว่าสหรัฐอยู่ภายใต้ข้อผูกพันระหว่างประเทศและกฎหมายสหรัฐที่ต้องจ่ายค่าเสียหายอย่างเป็นธรรม (just compensation) โดยจ่ายอย่างไม่ชักช้า ทั้งนี้รวมค่าเสียประโยชน์ (loss of profits) ของเจ้าของทรัพย์ด้วย Kanya Hirunwattanapong, November 2015, CMU

9 Kanya Hirunwattanapong, November 2015, CMU
มาตรา 4 the General Assembly Resolution 1803 on Permanent Sovereignty over National Resources กำหดการโอนเป็นของชาติดังนี้ ต้องกระทำเพื่อประโยชน์สาธารณะ (public utility) ความมั่งคงหรือประโยชน์ของชาติไม่ว่าจะในประเทศหรือ ต่างประเทศ เจ้าของทรัพย์ต้องได้รับการเยียวยาอย่างเหมาะสม (appropriate compensation) ตามกฎเกณฑ์การ เยียวยาที่ใช้บังคับอยู่ในประเทศและสอดคล้องกับกฎหมายระหว่างประเทศ การไม่ลือเกปฏิบัติ (non-discriminatory) FinanceAmoco International Corp. v. Iran [US v. Iran] Iran-US Tribunal 1987 การโอนเป็นของรัฐจะถูกต้องเมื่อสอดคล้องกับมาตรฐานขั้นต่ำระหว่างประเทศ กล่าวคือ ต้องมีการเยียวยาอย่างมี ประสิทธิภาพ (effective compensation) “การเยียวยาที่เหมาะสม” ได้แกการเยียวยาที่มีลักษณะดังนี้ ทันที (prompt) เพียงพอ (adequate) มีประสิทธิภาพ (effective) Kanya Hirunwattanapong, November 2015, CMU

10 Kanya Hirunwattanapong, November 2015, CMU
ความพยายามและทางปฏิบัติของรัฐเพื่อให้เกิดความมั่นใจแก่นักลงทุน - กำหนดในสัญญาที่ทำระหว่างรัฐและเอกชนต่างด้าวว่าด้วยเรื่องการยึดฯ ที่ให้ใช้หลักการทั่วไปบังคับ - กำหนดว่าการเปลี่ยนแปลงใดๆต้องได้รับความยินยอมทั้งสองฝ่าย - ต้องดูไม่ให้มีการเขียน Calvo Clause กล่าวคือ เอกชนต่างด้าวตกลงล่วงหน้าสละการใช้ Diplomatic protection แต่ทั้งนี้การใส่ข้อความเช่นว่าก็ไม่สามารถระงับการใช้สิทธิ Diplomatic protection เพราะเรื่องความรับผิดของรัฐเป็รเรื่องกฎหมายระหว่างประเทศ กล่าวอีกนัยหนึ่งคือ เอกชนไม่อาจเขียนข้อความไม่ใช้อธิปไตยซึ่งเป็นของรัฐที่มีต่อคนชาติของตน - กำหนดการเยียวยาที่ชอบธรรมไว้ในสัญญา Kanya Hirunwattanapong, November 2015, CMU

11 Kanya Hirunwattanapong, November 2015, CMU
การปกป้องโดยรัฐ (Diplomatic protection) การที่เอกชน (ไม่ว่าบุคคลธรรมดาหรือนิติบุคคล) ต่างชาติได้รับความเสียหาย รัฐเจ้าของสัญชาติอาจฟ้องคดีต่อรัฐที่ก่อความเสียหายทั้งนี้ต้องมีองค์ประกอบครบ 2 ประการ กล่าวคือ สัญชาติคำฟ้อง (nationality of claims rule) กล่าวคือ เอกชนนั้นต้องเป็นคนสัญชาติของรัฐที่จะฟ้อง มีการเยียวยาความเสียหายตามกฎหมายท้องถิ่นจนสิ้นแล้ว (exhaustion of local remedies)  1. สัญชาติคำฟ้อง (nationality of claims rule) รัฐต้องแสดงได้ว่าเอกชนที่ได้รับความเสียหายนั้นเป็นคนชาติของตน อย่างไรก็ตาม ในกรณียกเว้นรัฐอาจดำเนินการฟ้องแทนคนต่างด้าวที่ทำงานให้รัฐก็ได้ อาทิ Hilson v. German (US-German Mixed Claims Commission) 1952 ในคดีนี้ Hilson คนสัญชาติอังกฤษทำงานบนเรือสหรัฐซึ่งเรือถูกเยอรมันโจมตี สหรัฐฟ้องคดีโดยให้เหตุผลว่ากฎหมายสัญชาติสหรัฐให้สัญชาติสหรัฐแก่ชาวเรือต่างชาติและได้รับการคุ้มครองจากสหรัฐ แต่ในคดีนี้คณะกรรมาธิการยกคำฟ้องโดยถือประเด็นการมีสัญชาติโดยเคร่งครัด Kanya Hirunwattanapong, November 2015, CMU

12 Kanya Hirunwattanapong, November 2015, CMU
อย่างไรก็ตาม ในความเห็นแนะนำ (Advisory Opinion) ของศาลยุติธรรมระหว่างประเทศ (International Court of Justice – ICJ) หลักการในกรณีข้อยกเว้นนี้มาจากหลักที่ว่า การฟ้องคดีโดยรัฐที่ มาจากความเสียหายที่เกิดกับเอกชนนั้นเป็นการที่รัฐกระทำโดยใช้สิทธิของตน เป็นความเสียหายที่เกิดกับ รัฐผ่านเอกชน Mavrommattis Palestine Concessions Case (Greece v. UK) 1924 PCIJ คนกรีก Mavrommattis ได้รับสัมปทานเดิมจากตุรกีให้สร้างโครงการสาธารณะใน Jerusalem แต่หลัง สงครามโลกครั้งที่หนึ่งอังกฤษได้ปกครอง Palestine ต่อมากรีกกล่าวหาว่าอังกฤษ (โดยรัฐบาลปาเลสไตน์) ไม่รับรองสัมปทานใน Jerusalem and Jaffa เพราะได้ให้สัมปทานที่คาบเกี่ยวกันแก่ Mr. Rutenberg คาบ เกี่ยวกับสัมปทานที่ให้แก่ Mavrommattis ดังนั้นกรีกจึงเรียกค่าเสียหาย Kanya Hirunwattanapong, November 2015, CMU

13 Kanya Hirunwattanapong, November 2015, CMU
ศาล PCIJ พิพากษาว่า “แม้ว่าข้อพิพาทจะเริ่มจากระหว่างเอกชนและรัฐ กล่าวคือ ระหว่าง Mavrommattis กับอังกฤษ และหลังจากที่รัฐบาลกรีกฟ้องคดี ทำให้ข้อพิพาทเข้าสู่บริบทของกฎหมายระหว่างประเทศและกลายเป็นข้อพิพาทระหว่าง รัฐสองรัฐ ... เป็นหลักการทั่วไปของกฎหมายระหว่างประเทศที่ให้รัฐปกป้องคนชาติตนเมื่อได้รับความเสียหายจากการ กระทำของรัฐที่ขัดต่อกฎหมายระหว่างประเทศ ... เมื่อฟ้องคดีในนามเอกชนแล้วก็เป็นที่รัฐได้ใช้สิทธิของตน กล่าวคือ สิทธิในการประกันว่าได้มีการเคารพกฎหมายระหว่างประเทศ ...” เอกชนต้องมีสัญชาติของรัฐตั้งแต่ความเสียหายเกิดจนกระทั่งมีการฟ้องในนามเอกชนของรัฐ ดังนั้น ถ้าเอกชนเปลี่ยน สัญชาติ (หรือจากกรณีผู้เสียหายตายและผู้สืบสันดานมีสัญชาติต่างไป) หลังจากเกิดความเสียหาย เช่นนี้อาจทำให้คำฟ้อง คาบเกี่ยวสองรัฐ (fall between two stools) หากเอกชนผู้เสียหายตายและทายาทมีสัญชาติของรัฐที่ก่อความ เสียหายมีผลต่อการคิดค่าเสียหาย (ค่าเสียหายจะลดลง) สัญชาติเอกชนนั้นต้องปรากฏว่าเอกชนดังกล่าวมี “จุดเกาะเกี่ยวสัญชาติที่แท้จริง” (genuine link) Kanya Hirunwattanapong, November 2015, CMU

14 Kanya Hirunwattanapong, November 2015, CMU
การมีสัญชาติมากกว่าหนึ่งสัญชาติ (Plural nationality) รัฐเจ้าของสัญชาติหนึ่งอาจไม่ทำการฟ้องในคดีที่ความเสียหายเกิดจากหนึ่งในรัฐเจ้าของสัญชาติเอกชนนั้น หลักการนี้ก็ ปรากฏอยู่ใน the International Convention on Certain Questions relating to the Conflict of Nationality Laws 1930 อย่างไรก็ตามถ้าในสภาวะการณ์ของความเสียหายที่เกิด รัฐผู้ก่อความเสียหายไม่ได้มองว่า เอกชนเป็นคนสัญชาติตนแต่เป็นของรัฐผู้ฟ้อง รัฐผู้ฟ้องก็ไม่มีเหตุลังเลที่จะฟ้องเนื่องด้วยประเด็นสัญชาติ Canevaro Case (Italy v. Peru) Arbitration 1912 คำถามคืออิตาลีสามารถฟ้องคดีในนาม Canevaro ผู้ถือ สัญชาติอิตาลีและเปรู ซึ่งเปรูก็มีสิทธิถือว่า Canevaro เป็นคนสัญชาติตนเพราะเป็นวุฒิสมาชิกของเปรู ในคดีนี้อนุญาโต ตุลาการวินิจฉัยว่า เหตุผลที่รัฐเจ้าของสัญชาติหนึ่งไม่อาจฟ้องคดีกับรัฐเจ้าของสัญชาติอีกสัญชาติหนึ่งของเอกชนก็เพราะ ว่ารัฐที่ถูกฟ้องเป็นรัฐเจ้าของสัญชาติที่สำคัญ (dominant nationality) กล่าวคือเป็นรัฐที่เอกชนนั้นมีความเกี่ยวข้อง ใกล้ชิดที่สุด (the closest links) Kanya Hirunwattanapong, November 2015, CMU

15 Kanya Hirunwattanapong, November 2015, CMU
คำฟ้องของคนไร้รัฐ (Cliams by stateless persons) สหประชาชาติ (the United Nations) ตั้งคณะกรรมาธิการเยียวยาความเสียหาย (the UN Compensation Commission) จากการที่อิรักบุกคูเวตในปี 1990 โดยคณะกรรมาธิการชุดนี้เริ่มทำงานที่เจนีวาในปี 1991 โดยกำหนด ให้คนไร้รัฐและคนที่ด้อยโอกาสอื่นๆ สามารถฟ้องคดีระหว่างประเทศด้วยตัวเอง กล่าวคือ ไม่ต้องมีรัฐเป็นผู้ฟ้องแทน คณะ ผู้ทำงานของคณะกรรมาธิการนี้ได้ย้ำถึงความรับผิดของอิรัก 5 ประการที่เป็นเหตุแห่งการสูญเสีย (๑) ปฏิบัติการกองกำลัง ทหารระหว่างเดือนสิงหาคม 1990 ถึงวันที่ 2 พฤษภาคม 1991 (๒) การไม่สามารถออกจากคูเวตในช่วงเวลาดังกล่าว (๓) การกระทำของเจ้าหน้าที่, พนักงานของรัฐบาลอิรักที่เกี่ยวข้องการรุกรานและครอบครอง (๔) ความระส่ำระสายภาย ในคูเวต (๕) การยึดตัวประกันหรือการกักขังหน่วงเหนี่ยวที่ผิดกฎหมาย Kanya Hirunwattanapong, November 2015, CMU

16 Kanya Hirunwattanapong, November 2015, CMU
เอกชนที่ได้รับความเสียหายในระหว่างการปฏิบัติหน้าที่กับองค์การระหว่างประเทศ ทำให้ทั้งองค์การระหว่าง ประเทศนั้น และรัฐเจ้าของสัญชาติเอกชนนั้นต่างมีสิทธิฟ้องคดี จากคดี Reparations for Injuries Suffered in the Service of the UN (the Bernadotte Case) [Advisory Opinion, ICJ 1949] ความเสีย หายที่เกิดกับเอกชนที่มีสัญชาติก็อาจกระทบต่อประโยชน์ของรัฐเจ้าของสัญชาติและหรือขององค์การ ระหว่างประเทศที่เอกชนนั้นทำงาน ซึ่งทำให้เกิดทางเลือกระหว่างสิทธิของรัฐตาม Diplomatic protection และสิทธิขององค์การระหว่างประเทศตาม functional protection ศาลเห็นว่าไม่มีหลักการที่จะให้ลำดับก่อนหลังแก่ใคร และเห็นว่าทั้งสองสามารถหาทางออกได้ด้วยการใช้ สามัญสำนึกและเจตนาสุจริต Kanya Hirunwattanapong, November 2015, CMU

17 Kanya Hirunwattanapong, November 2015, CMU
คำร้องเรียกค่าเสียหายที่เกิดกับบรรษัทและผู้ถือหุ้น (Claims for injuries to corporations and shareholders) โดยทั่วไปแล้วรัฐไม่อาจใช้สิทธิ diplomatic protection ในกรณีความเสียหายแก่บรรษัท และหรือผู้ถือหุ้น แต่หลักเกณฑ์ของอังกฤษนั้นจะฟ้องคดีแทนบรรษัทสัญชาติตนที่ค้าขายในจีน เป็นต้น และในกรณีอิรัก รุกรานคูเวต สหประชาชาติก็เปิดช่องทางพิเศษให้แก่บรรษัทที่จะดำเนินคำฟ้องเอง Kanya Hirunwattanapong, November 2015, CMU

18 Kanya Hirunwattanapong, November 2015, CMU
2. มีการเยียวยาความเสียหายตามกฎหมายท้องถิ่นจนสิ้นแล้ว (exhaustion of local remedies) รัฐจะไม่ใช้สิทธิในระดับระหว่างประเทศจนกว่ากระบวนการเยียวยาที่มีอยู่ในท้องถิ่นนั้นได้ใช้จนหมดสิ้นแล้ว ซึ่งการเยียวยาท้องถิ่นนี้ให้หมายรวมทั้งทางบริหาร, อนุญาโตตุลาการและทางศาลยุติธรรม กล่าวคือผู้ร้อง ต้องใช้กระบวนการจนถึงที่สุด Ambatielos (Greece v. UK) ICJ 1953 Ambatielos เป็นชาวกรีกได้ตกลงที่จะซื้อเรือจากอังกฤษ ต่อมามีข้อพิพาทเกี่ยวกับสัญญาที่ทำจึงไปขึ้นศาลอังกฤษ Ambatielos ไม่ได้ขอให้ศาลชั้นต้นเรียกพยาน Ambatielos แพ้คดีและอุทธรณ์โดยที่ศาลอุทธรณ์ปฏิเสธที่จะเรียกพยาน ด้วยเหตุผลว่า “หลักการที่สำคัญมากอันหนึ่งที่ศาลนี้ปฏิบัติคือจะไม่เรียกพยานเพิ่ม” แต่ Ambatielos อ้างว่าพยานที่ว่า นั้นสำคัญมากต่อคดี ศาล ICJ พิพากษาว่าการใช้การเยียวยาภายในจนหมดสิ้นแล้วนั้น รวมถึงขั้นตอนตามกฎหมายวิธีพิจารณาความด้วย “ก็เป็นสิ่งที่ไม่ถูกต้องที่จะถือว่าคู่กรณีที่ใช้โอกาสทางศาลไม่ครบถ้วนในศาลชั้นต้นอันส่งผลให้การอุทธรณ์ไม่สำเร็จ จะนำมา เป็นสิ่งที่นำมาขวางเอกชนในการใช้หลัก exhaustion of local remedies” ดังนั้นเอกชนนั้นยังต้องใช้สิทธิของตน อุทธรณ์คำพิพากษาศาลอุทธรณ์ยังศาลสูงต่อไป Kanya Hirunwattanapong, November 2015, CMU

19 Kanya Hirunwattanapong, November 2015, CMU
ข้อเท็จจริงและข้อกฎหมายต้องได้รับการพิจารณาโดยศาลภายใน คดี Finnish Shipowners Arbitration (Finland v. Great Britain) 1934 การใช้เรือของฟินแลนด์ในช่วงสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง ฟินแลนด์เรียกค่าเสียหายจากอังกฤษแต่ล้มเหลว เพราะอนุญาโตฯ พบข้อเท็จจริงว่าแม้อังกฤษจะใช้เรือ แต่รัสเซียที่มีอธิปไตยเหนือฟินแลนด์ เป็นผู้มีคำสั่งใช้เรือ ดังนั้นอนูญาโตฯ วินิจฉัย ว่าการที่ฟินแลนด์ไม่อุทธรณ์ยังศาลอุทธรณ์ไม่ได้หมายความว่าฟินแลนด์ยังไม่ได้ใช้หลัก exhaustion of local remedies อนุญาโตฯ วินิจฉัยว่าการอุทธรณ์จะไม่มีผลเพราะศาลอุทธรณ์ไม่อาจกลับข้อเท็จจริงที่ได้พบ ซึ่งก็คงต้อง พิจารณาได้แค่ประเด็นทางกฎหมาย Kanya Hirunwattanapong, November 2015, CMU


ดาวน์โหลด ppt Chapter 4 Treatment of Aliens & State Responsibilities (cont. 2)

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


Ads by Google