งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

“นโยบายการดำเนินงานป้องกันการบาดเจ็บ จากการจราจรในเมืองใหญ่”

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


งานนำเสนอเรื่อง: "“นโยบายการดำเนินงานป้องกันการบาดเจ็บ จากการจราจรในเมืองใหญ่”"— ใบสำเนางานนำเสนอ:

1 “นโยบายการดำเนินงานป้องกันการบาดเจ็บ จากการจราจรในเมืองใหญ่”
การอภิปรายหัวข้อ “นโยบายการดำเนินงานป้องกันการบาดเจ็บ จากการจราจรในเมืองใหญ่” โดย นายจุมพฏ วรรณฉัตรสิริ ผู้อำนวยการกองบูรณาการความปลอดภัยทางถนน วันที่ 29 กรกฎาคม 2559 เวลา น. ณ ห้องริชมอนด์ บอลรูม 1 ชั้น 4 โรงแรมริชมอนด์ จ.นนทบุรี

2 สถานการณ์ ปัญหาอุบัติเหตุทางถนนเป็นปัญหาสำคัญที่ทุกประเทศเผชิญ
แนวโน้มและผู้เสียชีวิตและบาดเจ็บสูงขึ้น และความรุนแรงของอุบัติเหตุเพิ่มขึ้น มีผู้เสียชีวิตจากอุบัติเหตุทางถนนทั่วโลกปีละไม่ต่ำกว่า 1.2 ล้านคน 2

3 สถานการณ์ด้านความปลอดภัยทางถนนของประเทศไทย
WHO รายงานสถานการณ์โลกด้านความปลอดภัยทางถนน ปี 2015 (พ.ศ. 2558) ประเทศไทยมีอัตราการเสียชีวิตสูงเป็นอันดับที่ 2 ของโลก อัตราการเสียชีวิตอยู่ที่ 36.2 คน ต่อแสนประชากร (ประมาณการผู้เสียชีวิต 24,237 ราย) อันดับ ประเทศ อัตราเสียชีวิต ต่อแสนประชากร อันดับที่ 1 ลิเบีย 73.4 อันดับที่ 2 ไทย 36.2 อันดับที่ 3 มาลาวี 35.0 เมื่อเปรียบเทียบกับประเทศในกลุ่มอาเซียน ประเทศไทยมีอัตราการเสียชีวิต สูงเป็นอันดับที่ 1ของกลุ่มอาเซียน ประเทศ อัตราเสียชีวิตต่อแสนประชากร ไทย 36.2 เวียดนาม 24.5 มาเลเซีย 24.0 3

4 นโยบายการขับเคลื่อนการดำเนินงานด้านความปลอดภัยทางถนน
ของประเทศไทย รัฐบาล พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา แถลงนโยบายต่อสภานิติบัญญัติแห่งชาติ ข้อ 5.4 “ป้องกันและแก้ไขปัญหาการเกิดอุบัติเหตุ ในการจราจร อันนำไปสู่การบาดเจ็บและเสียชีวิต โดยการร่วมมือระหว่างฝ่ายต่าง ๆ ในการตรวจจับ เพื่อป้องกัน การรายงาน และการดูแลผู้บาดเจ็บ” 4

5 มติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 29 มิถุนายน 2553 กำหนดให้ปี พ. ศ
มติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 29 มิถุนายน 2553 กำหนดให้ปี พ.ศ เป็นทศวรรษแห่งความปลอดภัยทางถนน เพื่อลด อัตราการเสียชีวิตจากอุบัติเหตุทางถนนต่ำกว่า 10 คนต่อประชากร หนึ่งแสนคนในปี พ.ศ และมีกรอบแนวทางการดำเนินงานภายใต้ กรอบทศวรรษความปลอดภัยทางถนนโลก ดังนี้ 1) การพัฒนาความสามารถในการบริหารจัดการ 2) การดำเนินการในการออกแบบถนนและการจัดการโครงข่ายถนน ที่รองรับผู้ใช้ถนนทุกกลุ่ม 3) การดำเนินการเพื่อให้ได้มาตรฐานความปลอดภัยของรถ 4) การดำเนินการเพื่อให้มีผลต่อพฤติกรรมของผู้ใช้ถนนทุกกลุ่ม 5) การปรับปรุงการดูแลรักษาผู้บาดเจ็บจากอุบัติเหตุ

6 ศูนย์อำนวยการความปลอดภัยทางถนน ได้จัดทำแผนแม่บทความปลอดภัยทางถนน พ. ศ
ศูนย์อำนวยการความปลอดภัยทางถนน ได้จัดทำแผนแม่บทความปลอดภัยทางถนน พ.ศ – 2559 และแผนปฏิบัติการเพื่อรองรับแผนแม่บทและแผนทศวรรษ ความปลอดภัยทางถนน ปี 2556 – 2559 เพื่อเป็นแนวทางขับเคลื่อนการดำเนินงาน ด้านความปลอดทางถนนของประเทศไทย โดยมีวิสัยทัศน์ “ร่วมกันสร้างการสัญจร ที่ปลอดภัยตามมาตรฐานสากล” และมียุทธศาสต์ 4 ยุทธศาสตร์ประกอบด้วย พัฒนาระบบบริหารจัดการด้านความปลอดภัยทางถนนสู่ระดับสากล การเสริมสร้างความปลอดภัยแบบมุ่งเป้า ลดความสูญเสียในปัจจัยเสี่ยงหลักอย่างยั่งยืน เสริมสร้างความปลอดภัยทางถนนในท้องถิ่นอย่างมีส่วนร่วม (คณะรัฐมนตรีมีมติเมื่อวันที่ 24 กุมภาพันธ์ 2558 เห็นชอบแผนแม่บท ความปลอดภัยทางถนน พ.ศ – 2559)

7 กลไกการขับเคลื่อนนโยบายด้านความปลอดภัยทางถนน
ระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการป้องกันและลดอุบัติเหตุทางถนน พ.ศ แบ่งออกเป็น 3 ระดับ ได้แก่ ระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการป้องกันและ ลดอุบัติเหตุทางถนน พ.ศ. 2554 ระดับนโยบาย ระดับอำนวยการ ระดับปฏิบัติการ กำหนดนโยบายในการป้องกัน และลดอุบัติเหตุทางถนนเพื่อ ยกระดับความปลอดภัยทางถนน ของประเทศ อยู่ในความรับผิดชอบของ คณะกรรมการนโยบายการ ป้องกันและลดอุบัติเหตุทางถนน แห่งชาติ (นปถ.) มีนายกรัฐมนตรี หรือ รอง นายก รัฐมนตรีที่นายกรัฐมนตรี มอบหมาย เป็นประธาน จัดทำข้อเสนอ นโยบาย แผนแม่บท ยุทธศาสตร์ความปลอดภัยทางถนน ฯลฯ อยู่ในความรับผิดชอบของ 1) ศูนย์อำนวยการความปลอดภัย ทางถนน (ศปถ.) (มท. 1 เป็นผอ. และประธาน คกก. ศปถ.) 2) ศูนย์อำนวยการความปลอดภัย ทางถนนจังหวัด (ผจว. เป็นผอ. และ ประธาน คกก. ศปถ. จังหวัด) 3) ศูนย์อำนวยการความปลอดภัย ทางถนนกรุงเทพมหานคร (ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร เป็นผอ. และประธาน คกก. ศปถ. กทม.) จัดทำแผนปฏิบัติการ แผนงาน โครงการ และงบประมาณในการ ป้องกันอุบัติเหตุทางถนนในพื้นที่ อยู่ในความรับผิดชอบของ 1) ศูนย์ปฏิบัติการความปลอดภัย ทางถนนอำเภอ (นายอำเภอ เป็นผอ. และ ประธาน คกก. ศปถ. อำเภอ) 2) ศูนย์ปฏิบัติการความปลอดภัย ทางถนนองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (ผู้บริหาร อปท. เป็นผอ. และประธาน คกก. ศปถ. อปท.) 3) ศูนย์ปฏิบัติการความปลอดภัย ทางถนนเขต (ใช้ดุลยพินิจของผู้ว่า กทม. แต่งตั้ง) 7

8 กลไกการขับเคลื่อนนโยบายด้าน ความปลอดภัยทางถนน
รัฐบาล พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา ข้อ 5.4 “ป้องกันและแก้ไขปัญหาการ เกิดอุบัติเหตุในการจราจร อันนำไปสู่ การบาดเจ็บและเสียชีวิตโดยการร่วมมือระหว่างฝ่ายต่าง ๆ ในการตรวจจับเพื่อ ป้องกันการรายงาน และการดูแลผู้บาดเจ็บ” รัฐบาล คณะกรรมการ นโยบาย (นปถ.) การสร้างกลไก ที่เข้มแข็ง นโยบายภาครัฐ องค์ความรู้และนวัตกรรม การมีส่วนร่วมภาคีเครือข่าย ศูนย์อำนวยการความปลอดภัยทางถนน (ศปถ.) หน่วยงาน องค์กร ภาคีต่างๆ ภาครัฐ เอกชน สถานประกอบการ ท้องถิ่น ฯ ศูนย์อำนวยการความปลอดภัยทางถนนจังหวัด การป้องกันและ ลดอุบัติเหตุ ทางถนน พื้นที่ อำเภอ/ตำบล/ชุมชน 8

9 พระราชบัญญัติป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย พ.ศ. 2550
พระราชบัญญัติป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย พ.ศ. 2550 มาตรา 4 สาธารณภัย หมายความว่า อัคคีภัย วาตภัย อุทกภัย ภัยแล้ง โรคระบาดในมนุษย์ โรคระบาดสัตว์ โรคระบาดสัตว์น้ำ การระบาด ของศัตรูพืช ตลอดจนภัยอื่น ๆ อันมีผลกระทบต่อสาธารณชน ไม่ว่าเกิด จากธรรมชาติ มีผู้ทำให้เกิดขึ้น อุบัติเหตุ หรือเหตุอื่นใด ซึ่งก่อให้เกิด อันตรายแก่ชีวิต ร่างกายของประชาชน หรือความเสียหายแก่ทรัพย์สิน ของประชาชน หรือของรัฐ และให้หมายความรวมถึงภัยทางอากาศ และการก่อวินาศกรรมด้วย ฯลฯ 9

10 ระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการป้องกันและลดอุบัติเหตุทางถนน พ. ศ
ระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการป้องกันและลดอุบัติเหตุทางถนน พ.ศ. 2554 10

11 การป้องกันและลดอุบัติเหตุ
ทางถนนในเมืองใหญ่ 11

12 สาเหตุหลัก และปัจจัยเสี่ยง ที่ก่อให้เกิดอุบัติเหตุทางถนนในเมืองใหญ่
พฤติกรรมเสี่ยงในการใช้รถใช้ถนนของผู้ขับขี่และผู้ใช้เส้นทาง ( ขับเร็ว เมาสุรา ขาดวินัยจราจร/ไม่เคารพกฎจราจร ขาดความเอื้อทรในการใช้รถใช้ถนน ประมาท การทำกิจกรรมต่างๆระหว่างขับขี่ เช่น ใช้โทรศัพท์ รับประทานอาหาร แต่งหน้า เป็นต้น) ปัจจัยด้านยานพาหนะ (การปรับแต่งสภาพยานพาหนะ การบรรทุก ที่ไม่ปลอดภัย ความเสี่ยงจากรถสาธารณะที่ไม่ปลอดภัย มีสภาพ ไม่สบูรณ์ มีปริมาณการใช้รถเป็นจำนวนมากทั้งรถสาธารณะ รถส่วนบุคคล รถจักรยานยนต์ เป็นต้น) ปัจจัยด้านถนน (สภาพการจราจรมีความหนาแน่น อุปกรณ์ควบคุม การจราจร มีสภาพไม่สมบูรณ์ และติดตั้งในตำแหน่งที่ไม่เหมาะสม ลักษณะทางกายภาพของถนน เช่น ถนนยุบตัว จุดเสี่ยง แยกตัวY จุดกลับรถ จุดตัดทางรถไฟ มีการซ่อมสร้างถนน) ปัจจัยด้านสภาพแวดล้อม (มีสิ่งกีดขวางการจราจร เช่น หาบเร่ แผงลอย เป็นต้น มีแหล่งชุมชน อุปกรณ์อำนวย ความปลอดภัยชำรุด ไม่เพียงพอ เช่น ไฟส่องสว่าง สัญญาณเตือนจราจร )

13 แนวทางการป้องกันและลดอุบัติเหตุทางถนนในเมืองใหญ่
1. การเพิ่มประสิทธิภาพการบังคับใช้กฎหมาย 2. การสร้างจิตสำนึกและวัฒนธรรมความปลอดภัยทางถนน 3. การเฝ้าระวังและลดความเสี่ยงจากอุบัติเหตุทางถนน 4. การพัฒนาประสิทธิภาพองค์กรและกลไกการบริหารงาน ความปลอดภัยทางถนนทุกระดับ 13

14 1. การเพิ่มประสิทธิภาพการบังคับใช้กฎหมาย
หน่วยงานที่เกี่ยวข้องบังคับใช้กฎหมายอย่างเข้มงวด และ ต่อเนื่อง เพื่อให้ผู้ใช้รถใช้ถนนปฏิบัติตามกฎหมายโดยเคร่งครัด การปรับปรุงแก้ไขกฎหมายที่เกี่ยวข้องให้สอดคล้อง เหมาะสมกับสถานการณ์ปัจจุบัน ส่งเสริมให้นำเทคโนโลยีมาประยุกต์ใช้เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการบังคับใช้กฎหมาย เช่น กล้องตรวจจับความเร็ว เครื่องตรวจวัด แอลกอฮอล์ กล้อง cctv เป็นต้น การพัฒนาระบบฐานข้อมูลความผิดคดีจราจร โดยเชื่อมโยง กับเลขประจำตัวประชาชน

15 2. การสร้างจิตสำนึกและวัฒนธรรมความปลอดภัยทางถนน
การรณรงค์ประชาสัมพันธ์ทุกรูปแบบ ทุกช่องทาง อย่างเข้มข้น ต่อเนื่อง เช่น สื่อสังคมออนไลน์ ติดตั้งป้าย โปสเตอร์ ประชาสัมพันธ์ตามจุดที่มีความเสี่ยง การจัดกิจกรรมรณรงค์ประชาสัมพันธ์ในเชิงรุก เป็นต้น ผลักดันให้บรรจุ เรื่อง “ความปลอดภัยทางถนน” ไว้ในหลักสูตรการศึกษา และส่งเสริมให้จัดตั้งโรงเรียนสอน ขับรถที่ได้มาตรฐาน ส่งเสริมให้ทุกหน่วยงานทั้งภาครัฐและเอกชนกำหนดมาตรการองค์กรด้านความปลอดภัยทางถนน

16 3. การเฝ้าระวังและลดความเสี่ยงจากอุบัติเหตุทางถนน
การสำรวจและดำเนินการแก้ไขในด้านโครงสร้างวิศวกรรมจราจร และปัจจัยทางกายภาพเพื่อแก้ปัญหาจุดเสี่ยงจุดอันตราย การประเมิน ตรวจสอบ ผู้ขับขี่ยานพาหนะให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์มาตรฐานที่เกี่ยวกับ การขับรถแต่ละประเภท พัฒนาหลักเกณฑ์การออกใบอนุญาตขับขี่ให้เป็นไปตามมาตรฐานสากล มีมาตรการในการกำกับ ควบคุมการใช้งานยานพาหนะทุกประเภทให้ถูกต้องตามกฎหมาย การพัฒนา ปรับปรุง ตรวจสอบ และกำกับดูแลถนนทุกเส้นทางให้อยู่ในสภาพที่สมบูรณ์ เป็นไปตามมาตรฐาน การนำเทคโนโลยีมาประยุกต์ใช้เพื่อความปลอดภัยของผู้ใช้รถใช้ถนน เช่น การติดตั้ง GPSการนำเทคโนโลยี Alcolock (Alcohol Interlock) เป็นต้น ส่งเสริมให้มีการสืบสวนเชิงลึกกรณีการเกิดอุบัติเหตุสำคัญ ติดตั้งอุปกรณ์อำนวยความปลอดภัย เช่น อุปกรณ์ดูดซับแรงกระแทก สัญญาณไฟกระพริบ แถบชะลอความเร็ว แผงกั้นระบบแสงไฟส่องสว่างผิวจราจรแรงเสียดทานสูง

17 4. การพัฒนาประสิทธิภาพองค์กรและกลไกการบริหารงานความปลอดภัยทางถนนทุกระดับ
มีการติดตามและประเมินผลการปฏิบัติงาน สรุปภาพรวม และจัดทำข้อเสนอในการดำเนินงานด้านความปลอดภัยทางถนนอย่างต่อเนื่อง พัฒนาระบบติดตามและประเมินผลของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องอย่างครบวงจร การพัฒนาระบบฐานข้อมูลและการรายงานข้อมูลอุบัติเหตุทางถนน เช่น สถิติการเกิดอุบัติเหตุ จุดเสี่ยง เป็นต้น โดยให้ศูนย์อำนวยการความปลอดภัยทางถนนจัดทำข้อตกลงความร่วมมือระหว่าง 4 หน่วยงาน คือ กระทรวงมหาดไทย กระทรวงสาธารณสุข สำนักงานตำรวจแห่งชาติ และบริษัท กลางคุ้มครองผู้ประสบภัย จำกัด ในการจัดทำข้อมูล 3 ฐาน ให้มีประสิทธิภาพและเป็นเอกภาพ บูรณาการแผนปฏิบัติการ ทั้งด้านอัตรากำลัง ภารกิจ งบประมาณ และการรณรงค์ประชาสัมพันธ์ให้เกิดความต่อเนื่องตลอดทั้งปี สนับสนุนการสร้างองค์ความรู้ใหม่ๆและส่งเสริมให้มีการวิจัยเพื่อพัฒนาการดำเนินการด้านความปลอดภัยทางถนนในทุกมิติ 17

18 ข้อเสนอแนะเพื่อปรับปรุงแก้ไขกฎหมายด้านความปลอดภัยทางถนน
1. เหตุผลของการแก้ไขกฎหมาย มติที่ประชุม ศปถ. ครั้งที่ 3/2559 (19 พ.ค. 59) ให้ปรับปรุงแก้ไขกฎหมายด้านความ ปลอดภัยทางถนนเพื่อป้องกัน และปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเสี่ยงของผู้ขับขี่ยานพาหนะ ที่ขาดวินัย ละเลย ฝ่าฝืน และจงใจไม่ปฏิบัติตามกฎหมาย มาตรการป้องกันและลดอุบัติเหตุทางถนนที่ดีที่สุด คือ การสร้างจิตสำนึกการขับขี่ ปลอดภัย และการบังคับใช้กฎหมายที่มีประสิทธิภาพ การบังคับใช้กฎหมายที่มีประสิทธิภาพ เกี่ยวข้องกับการดำเนินการอย่างจริงจัง มีเครื่องมือ กำหนดอัตราโทษที่เหมาะสม ประเทศที่มีการเพิ่มกฎหมายอัตราโทษที่สูงขึ้น เช่น ญี่ปุ่น ไต้หวัน ออสเตรเลีย และ เวียดนาม มีผลทำให้สถิติการเกิดอุบัติเหตุ และความสูญเสีย 2. ประเด็นการแก้ไขกฎหมาย 5 ประเด็น 1. เมาแล้วขับ 4. รถโดยสารสาธารณะ 2. ขับรถเร็วเกินกว่ากฎหมายกำหนด 5. การคาดเข็มขัดนิรภัย 3. การได้มาซึ่งใบอนุญาตขับรถ

19 การปรับปรุงและแก้ไขกฎหมาย
ประเด็นหลักในการแก้ไขกฎหมาย จำนวน 5 ประเด็น 1. เมาแล้วขับ การกำหนดปริมาณแอลกอฮอล์ในเลือดที่เหมาะสม สำหรับผู้ขับขี่ที่ไม่บรรลุนิติภาวะ และผู้มีใบอนุญาตขับขี่ชั่วคราว ให้ถือว่าเมาสุรา การเพิ่มบทลงโทษและค่าปรับสำหรับผู้กระทำผิด กำหนดมาตรการในการยับยั้งปัญหาที่เกิดจากการเมาสุราแล้วขับขี่ตามคำสั่ง หัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ที่ 46/2558 ให้เป็นกฎหมายถาวร การกำหนดแนวทางปฏิบัติของเจ้าหน้าที่ในการตรวจปริมาณแอลกอฮอล์ เมื่อมีกรณีอุบัติเหตุเกิดขึ้น เพื่อใช้เป็นหลักฐานในการดำเนินคดี กรณีเมาแล้วขับ จัดทำระบบการเชื่อมโยงฐานข้อมูลประวัติผู้กระทำผิด ตามพรบ. จราจรทางบกฯ (ระบบตรวจสอบผู้กระทำความผิดซ้ำ) 19

20 การปรับปรุงและแก้ไขกฎหมาย (ต่อ)
ประเด็นหลักในการแก้ไขกฎหมาย จำนวน 5 ประเด็น (ต่อ) 2. ความเร็ว 2.1 การลดความเร็วในเขตเมืองให้เหมาะสม ลดความเร็วในเขตชุมชนเมืองหนาแน่น (กรุงเทพมหานคร เมืองพัทยา และ เทศบาล) ให้น้อยกว่าที่กำหนดอยู่ในปัจจุบัน การลดความเร็วในเขตขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นอื่นที่อยู่นอกเขต กรุงเทพมหานคร เมืองพัทยา และเทศบาล ให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พิจารณาเสนอเจ้าพนักงานจราจรเพื่อออกประกาศข้อบังคับหรือระเบียบให้ สอดคล้องกับการใช้ความเร็วที่ลดลงในเขตกรุงเทพมหานคร เมืองพัทยา และเทศบาล การลดความเร็วของทางหลวงแผ่นดิน และทางหลวงชนบท ที่ผ่านเขต กรุงเทพมหานคร เมืองพัทยา และเทศบาลให้สอดคล้องกับการใช้ความเร็ว ที่ลดลงในเขตกรุงเทพมหานคร เมืองพัทยา และเทศบาล 2.2 การเพิ่มบทลงโทษผู้กระทำผิด 20

21 การปรับปรุงและแก้ไขกฎหมาย (ต่อ)
ประเด็นหลัก ในการแก้ไขกฎหมาย จำนวน 5 ประเด็น (ต่อ) 3. ใบอนุญาตขับรถ เพิ่มความเข้มงวดในการออกใบอนุญาตขับรถ “ออกยาก ยึดง่าย” พักใช้และเพิกถอนใบอนุญาตขับรถให้ครอบคลุมการขับรถส่วนบุคคล ให้มีการเพิ่มโทษเป็นโทษทางอาญา 4. รถโดยสารสาธารณะ การกำหนดเงื่อนไขเพิ่มเติมในการขอรับใบอนุญาตประกอบการขนส่ง เพื่อสร้างมาตรฐานความปลอดภัยของรถโดยสารสาธารณะ ปรับปรุงระบบการเยียวยาเพื่อคุ้มครองและให้ความเป็นธรรมกับผู้ที่ได้รับ ผลกระทบ 5. เข็มขัดนิรภัย การคาดเข็มขัดนิรภัยสำหรับผู้โดยสารด้านหลังในรถยนต์ส่วนบุคคล 21

22 จบการนำเสนอ


ดาวน์โหลด ppt “นโยบายการดำเนินงานป้องกันการบาดเจ็บ จากการจราจรในเมืองใหญ่”

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


Ads by Google