ดาวน์โหลดงานนำเสนอ
งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ
1
หน่วยการเรียนรู้ที่ 2 โรงเรียนของเรา
2
หัวข้อ การดูแลรักษาและทำความสะอาด โรงเรียน
การจัดและตกแต่งสวนหย่อมในโรงเรียน
3
1. การดูแลรักษาและทำความสะอาดโรงเรียน
ในบริเวณโรงเรียนส่วนใหญ่จะเป็นอาคารเรียน มี ห้องเรียน ห้องประชุม ห้องสมุด โรงอาหาร ห้อง ส้วม สนามกีฬาและสวนหย่อมเพื่อให้นักเรียนได้ทำ กิจกรรมทางการเรียนการสอนและพักผ่อนหย่อนใจใน เวลาว่าง ซึ่งอาคารสถานที่เหล่านี้นักเรียนต้องใช้เป็น ประจำเมื่อเวลาผ่านไปทำให้สกปรกไม่เป็นระเบียบ นักเรียนจึงควรช่วยกันดูแลรักษาและทำความสะอาด โรงเรียนเพื่อให้โรงเรียนเกิดความสวยงาม ร่มรื่นน่ามา เรียน
4
1.1 ความสำคัญของการดูแลรักษาและทำความสะอาดโรงเรียน
การดูแลรักษาความสะอาดของโรงเรียนมีความสำคัญต่อ โรงเรียนและนักเรียนดังนี้ 1. อาคารสถานที่ต่าง ๆ ในโรงเรียนจะสะอาดเรียบร้อย เป็นระเบียบไม่เป็นแหล่งเพาะเชื้อโรค และสัตว์มีพิษต่าง ๆ เช่น ยุงลาย แมลงสาบ หนู งู ตะขาบ 2. อาคารสถานที่ในโรงเรียน อุปกรณ์เครื่องใช้ในโรงเรียน มีอายุการใช้งานยาวนาน โดยไม่ชำรุดเสียหาย จึงช่วยประหยัดค่าใช้จ่าย 3. บุคลากรในโรงเรียนและนักเรียนมีสุขภาพกายและ สุขภาพจิตดีเพราะได้อยู่ในโรงเรียน ที่สะอาดถูกหลักสุขลักษณะเป็นระเบียบเรียบร้อย 4. บุคลากรในโรงเรียนและนักเรียนเกิดความ ภาคภูมิใจ ความรัก และสามัคคีกัน เพราะได้มี ส่วนร่วมทำให้โรงเรียนสะอาด บรรยากาศเหมาะกับการ เรียนรู้้
5
1.2 แนวทางการรักษาและการทำความสะอาดโรงเรียน
การดูแลและทำความสะอาดโรงเรียนมีแนวทางดังนี้ 1. ใช้งานอุปกรณ์การเรียน อุปกรณ์ กีฬา โต๊ะ เก้าอี้ ประตู หน้าต่าง ก๊อกน้ำ หนังสือในห้องสมุดและเครื่องใช้ต่าง ๆ ในโรงเรียน อย่างถูกวิธีและทะนุถนอมไม่ให้ชำรุดเสียหาย 2. ไม่ขีดเขียนโต๊ะ เก้าอี้ ประตู หน้าต่าง ผนัง ห้องเรียน 3. เมื่อพบอุปกรณ์เครื่องใช้หรือส่วนต่าง ๆ ของ ห้องเรียนและอาคารสถานที่ชำรุดควรรีบแจ้งครู- อาจารย์ทันที เพื่อให้ซ้อมแซมก่อนที่จะเสียหายจนใช้ งานไม่ได้
6
4. ไม่ทิ้งขยะบริเวณห้องเรียนและในบริเวณโรงเรียน แต่ทิ้งลงถังขยะให้ถูกประเภทดังนี้
ถังขยะสีเขียว ขยะย่อยสลายได้และนำไปทำปุ๋ยหมัก ได้ เช่น ผัก ผลไม้ เศษอาหาร ใบไม้ ถังขยะสีเหลือง ขยะที่สามารถนำมาแปรรูปใช้ใหม่ได้ Recycle หรือ จำหน่ายได้ เช่น แก้ว กระดาษ ขวดพลาสติกใส่ น้ำดื่ม โลหะ
7
ถังขยะสีเทาฝาสีส้ม ขยะที่มีอันตรายต่อสิ่งมีชีวิตและสิ่งแวดล้อม เช่น หลอด ฟลูออเรสเซนต์ ขวดยา ถ่านไฟฉาย กระป๋อง สี สเปรย์ กระป๋องยาฆ่าแมลง ภาชนะบรรจุสารอันตราย ถังขยะสีฟ้า ขยะย่อยสลายไม่ได้ ไม่เป็นพิษและไม่คุ้มค่าต่อการนำ กลับมาแปรรูปใช้ใหม่ เช่น พลาสติก ห่อลูกอม ซอง บะหมี่กึ่งสำเร็จรูป ถุงพลาสติก โฟม และฟอยล์ที่เปื้อน อาหา ที่มา : กรมควบคุมมลพิษ
8
5. ร่วมแรงร่วมใจกันทำความสะอาดบริเวณต่าง ๆ ของ โรงเรียนด้วยการปัดกวาด เช็ดถู ห้องเรียน ประตู หน้าต่าง โต๊ะ เก้าอี้ กระดาน ดำ บันได ระเบียง ทางเดินอาคารสถานที่และอุปกรณ์ เครื่องใช้ต่าง ๆ ในโรงเรียน เก็บกวาดขยะเศษใบไม้ ดอกไม้ทีร่วงหล่น รวมถึงขัดล้างห้องน้ำ ทำลายแหล่งน้ำ ขัง ใส่ทรายอะเบทลงในอ่างปลา อ่างบัว และแจกัน ดอกไม้เพื่อป้องกันการเพาะพันธุ์ยุงลาย
9
2. การจัดและตกแต่งสวนหย่อมในโรงเรียน
การจัดตกแต่งสวนหย่อมในโรงเรียนเป็นการจัดสวน ขนาดเล็กรูปแบบกะทัดรัดใช้เนื้อที่ไม่มาก เช่น มุม อาคารเรียน มุมถนนทางเดินในโรงเรียน หรือโคน ต้นไม้ใหญ่เพื่อเพิ่มบรรยากาศ ให้โรงเรียนมีความ สวยงามน่ามองและสามารถเปลี่ยนแปลงรูปแบบ สวนหย่อมได้ง่าย การจัดสวนหย่อมในโรงเรียนต้องใช้ความรู้ในด้านการ ออกแบบ ด้านพันธุ์ไม้ ด้านวัสดุที่นำมาใช้ในการตกแต่งสวนหย่อม อีกทั้ง ขั้นตอนในการดูแลพันธุ์ไม้ในสวนหย่อมให้เจริญเติบโต งอกงามจนกว่าจะเปลี่ยนรูปแบบสวนหย่อมใหม่
10
2.1 การออกแบบสวนหย่อมในโรงเรียน
การออกแบบสวนหย่อมในโรงเรียนให้สวยงามกลมกลืน และมีประโยชน์ใช้สอย ต้องอาศัยหลักศิลปะดังนี้ 1. ความมกลมกลืนกัน ลักษณะความกลมกลืนของสวน ขึ้นอยู่กับลักษณะพื้นที่ของสวน อาคารสถานที่ และ พันธุ์ไม้ที่ใช้ปลุก เช่น บริเวณเสาธงมีลักษณะพื้นที่เป็น รูปวงกลมล้อมรอบเสาธง มีดินยกขึ้นเป็นเนิน
11
2. รูปแบบของสวนหย่อมในโรงเรียน 2
2. รูปแบบของสวนหย่อมในโรงเรียน 2.1) สวนประดิษฐ์ เป็นสวนที่ออกแบบโดยใช้รูปทรงเรขาคณิตง่ายๆ เช่น รูปทรงสี่เหลี่ยม สามเหลี่ยม และวงกลม เราจึงมัก พบพรรณไม้ส่วนใหญ่ ถูกตัดแต่งในสวนแบบ ประดิษฐ์ การออกแบบ จะมีแกนกลาง เพื่อความสมดุลของสวนทั้งสองข้าง และมีจุดเด่นดึงดูดสายตา สวนประดิษฐ์มักใช้กับสวน ขนาดใหญ่ หรือสถานที่ราชการ เพื่อสร้างความ หรูหราและสง่างามให้กับพื้นที่ 2.2) สวนธรรมชาติ มักใช้เส้นโค้งในการออกแบบ ซึ่งช่วยให้เกิดรูปทรงอิสระ สร้างรูปแบบที่นิ่มนวล สบายตา โดยเลียนแบบ ธรรมชาติสวนรูปแบบนี้นิยมจัดกันมาก และพบเห็นได้ ทั่วไปตาม บ้านพักอาศัย สวนสาธารณะ และสถานที่ต่างๆ) สวนธรรมชาติ
12
สวนประดิษฐ์
13
สวนธรรมชาติ
14
3. การแบ่งพื้นที่จัดสวน แบ่งพื้นที่โล่ง กับพื้นที่ทึบ 4. เส้น 5
3. การแบ่งพื้นที่จัดสวน แบ่งพื้นที่โล่ง กับพื้นที่ทึบ 4. เส้น 5. รูปร่าง เช่น รูปร่างทางเดิน, รูปร่างสนาม 6. ผิวสัมผัส ได้แก่ ผิวสัมผัสของพรรณไม้และวัสดุ 7. สี ได้แก่ สีพรรณไม้ สีวัสดุ
15
2.2 พรรณไม้ วัสดุ และสิ่งของที่ใช้ในการจัดและตกแต่งสวนหย่อมในโรงเรียน
1. พรรณไม้ที่ใช้ ต้องคำนึงถึง ปริมาณแสง การระบายน้ำ ชนิดของพรรณไม้ ไม้ยืนต้น ไม้พุ่ม ไม้คลุมดิน ไม้เลื้อย ไม้น้ำ ไม้ริมน้ำ หญ้า
16
2. วัสดุและสิ่งของที่ใช้จัดและตกแต่ง ได้แก่
หินและกรวด เก้าอี้สนาม ม้านั่ง และชิงช้า ศาลา รูปปั้น น้ำพุ อ่างบัว กระถาง
17
2.3 ขั้นตอนการจัดและตกแต่งสวนหย่อมในโรงเรียน
การเลือกซื้อพรรณไม้ การเตรียมพื้นที่ การปรับหลุมปลูกพรรณไม้ การกำจัดวัชพืช การวางก้อนหิน การปลูกไม้ยืนต้น ไม้พุ่ม และไม้คลุมดิน การปลูกหญ้า การปูทางเท้า
18
2.4 การดูแลรักษาสวนหย่อมในโรงเรียน
การตัดแต่งพรรณไม้ การดูแลบำรุงรักษา สนามหญ้า การให้ปุ๋ย การป้องกันและกำจัด ศัตรูพืช การกำจัดวัชพืช ซ่อมแซมและเปลี่ยน องค์ประกอบอื่นๆ
งานนำเสนอที่คล้ายกัน
© 2024 SlidePlayer.in.th Inc.
All rights reserved.