ดาวน์โหลดงานนำเสนอ
งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ
ได้พิมพ์โดยHeikki Mattila ได้เปลี่ยน 6 ปีที่แล้ว
1
Technology & Programming Development Application on Web
Chapter 01 introduction Technology & Programming Development Application on Web
2
Application หรือ โปรแกรมประยุกต์
หมายถึง โปรแกรมคอมพิวเตอร์ที่ถูกพัฒนาขึ้นมาเพื่อสนับสนุนการทำงานต่างๆ เพื่อให้การทำงานเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ
3
ประเภท Application ตามสภาพแวดล้อมการทำงาน
Desktop Application คือ Application ทีทำงานบนเครื่อง desktop computer Mobile Application คือ Application ที่ทำงานบน Mobile device Web Application คือ Application ที่ทำงานบนเครือข่ายอินเทอร์เน็ต
4
Web Application หมายถึง โปรแกรมคอมพิวเตอร์ที่ถูกพัฒนาขึ้นให้สามารถเข้าถึงได้ด้วยโปรแกรมเว็บเบราวเซอร์ ผ่านทางเครือข่ายคอมพิวเตอร์โดยอาศัยโปรโตคอล HTTP หรือ HTTPS ในการขนส่งข้อมูล จากเครื่อง Server มายังเครื่อง Client ตัวอย่างเครือข่ายคอมพิวเตอร์ เช่น เครือข่ายอินเทอร์เน็ต เครือข่ายอินทราเน็ต
5
ตัวอย่างระบบงาน ระบบการจองสินค้าหรือบริการต่าง ๆ เช่น การจองที่พัก การจองตั๋วเครื่องบิน การจองตั๋วหนัง การจองห้องประชุม ฯลฯ ระบบงานบุคลากร ระบบงานแผนการตลาด ระบบงานภาษี ระบบการสั่งซื้อแบบพิเศษ ระบบงานในโรงเรียน เช่น ระบบงานวัดและประเมินผล ระบบงานปกครอง ระบบงานห้องสมุด ระบบการลงทะเบียน เช็คเกรด ฯลฯ
6
องค์ประกอบของ Web Application
ความหมาย โปรแกรมที่เก็บข้อมูลหรือเก็บคำสั่งควบคุมทำงานต่างๆ อยู่ใน Application Server Web Server เครื่องคอมพิวเตอร์ที่ให้บริการจัดเก็บข้อมูล Web Application และให้บริการการร้องขอการรทำงานต่างๆ จากเครื่องผู้ใช้ ( Client) Application Server โปรแกรมที่ใช้สำหรับจัดการเครื่อง Web Server Database Server ระบบจัดการฐานข้อมูลต่างๆ ของ Web Application
7
Web Application Architecture
8
ข้อดี Web Application ข้อมูลถูกจัดเก็บไว้ที่เครื่อง Server ทำให้ง่ายต่อการจัดการ เมื่อมีการแก้ไขข้อมูลหรือเพิ่มข้อมูลใหม่ สามารถอัพเดทการแสดงผลได้ทันที สามารถครอบคลุมทุกอุปกรณ์ ทั้งที่ เป็น Desktop PC, Tablet, Mobile สามารถคลอบคลุมได้ทุกแพลตฟอร์ม ทั้ง Windows, Linux, Mac, iOS, Android สามารถเข้าถึงได้ตลอด 24 ชั่วโมง
9
ข้อเสีย Web Application
ไม่เหมาะสำหรับงานที่เป็นความลับขององค์กร เครื่อง Server ต้องรับภาระการประมวลผล ต้องมีระบบรักษาความปลอดภัยของข้อมูลที่รัดกุม
10
ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับ Internet
11
อินเทอร์เน็ต (Internet)
เครือข่ายของคอมพิวเตอร์ขนาดใหญ่ที่เชื่อมโยงเครือข่ายคอมพิวเตอร์ทั่วโลกเข้าด้วยกันและไม่มีศูนย์กลาง เรียกว่า ไซเบอร์สเปซ (Cyberspace) หรือ World Wide Web: WWW คำเต็มของอินเทอร์เน็ต คือ อินเทอร์เน็ตเวิร์คกิ้ง (Inter-networking) ซึ่งมาจากคำสองคำคือ International และ Networking ปัจจุบันนิยมเรียกสั้นๆ ว่า อินเทอร์เน็ต สามารถแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสาร โดยใช้โปรโตคอล TCP/IP
12
ประวัติเครือข่ายอินเทอร์เน็ต
สร้างขึ้นโดยกระทรวงกลาโหมของสหรัฐอเมริกาในปี พุทธศักราช 2512 วัตถุประสงค์เพื่อใช้เป็นเครือข่าย (Network) ในการติดต่อสื่อสารระหว่างหน่วยงาน หน่วยงานที่ทำหน้าที่ดูแลระบบเครือข่ายในขณะนั้น คือ Advance Research Project Agency net หรือARPA ตั้งชื่อเครือข่ายว่า “ARPANET” ต่อมาพัฒนามาตรฐานในการเชื่อมโยงระหว่างคอมพิวเตอร์ หรือ โปรโตคอล (Protocol) ชื่อ TCP/IP (Transmission Control Protocol/Internet Protocol) และถูกนำมาใช้กับเครือข่ายต้นแบบที่มีชื่อว่า อินเทอร์เน็ตเวิร์ค (Internetwork) หรืออินเทอร์เน็ต (Internet)
13
ประวัติเครือข่ายอินเทอร์เน็ต
สำหรับประเทศไทย การเชื่อมต่ออินเตอร์เน็ตเกิดขึ้นในปี โดยมีจุดเชื่อมต่ออยู่ 2 แห่งคือ ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ (NECTEC) จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
14
ความรู้เบื้องต้นการใช้งานอินเทอร์เน็ต
15
โปรโตคอลของเครือข่ายอินเทอร์เน็ต
โปรโตคอล (Protocol) คือ ระเบียบ หรือวิธีการมาตรฐานที่กำหนดขึ้นเพื่อใช้ติดต่อสื่อสารหรือรับส่งข้อมูลระหว่างเครื่องคอมพิวเตอร์ โดยเครื่องคอมพิวเตอร์ที่ติดต่อสื่อสารกันจะต้องใช้โปรโตคอลชนิดเดียวกันจึงจะสื่อสารกันเข้าใจ สำหรับโปรโตคอลมาตรฐานที่เครื่องคอมพิวเตอร์ใช้ติดต่อสื่อสารกันบนเครือข่ายอินเทอร์เน็ตมีดังนี้
16
1) FTP (File Transfer Protocol)
เป็นโปรโตคอลในการโอนถ่ายข้อมูลหรือไฟล์ระหว่างคอมพิวเตอร์ 2 เครื่องบนเครือข่ายอินเทอร์เน็ต
17
2) โปรโตคอลสำหรับรับ-ส่ง E-mail
จดหมายอิเล็กทรอนิกส์ (Electronic Mail : ) เป็นแอพพลิเคชั่นในการรับ-ส่งข้อมูลบนเครือข่ายอินเทอร์เน็ต โปรโตคอลที่นิยมใช้ในปัจจุบันมีดังนี้ SMTP (Simple Mail Transfer Protocol) เป็นโปรโตคอลที่สนับสนุนการรับ-ส่งอีเมล์บนเครือข่ายอินเทอร์เน็ต POP3 (Post office Protocol) เป็นโปรโตคอลที่สนับสนุนการอ่านอีเมล์ ออกแบบให้มีการทำงานแบบ Offline IMAP (Internet Message Access Protocol) เป็นมาตรฐานในการอ่านอีเมล์เช่นเดียวกับ POP3 แต่ต่างกันตรงที่มาตรฐาน IMAP จะช่วยให้ผู้ใช้บริการสามารถเลือกดาวน์โหลดเฉพาะอีเมล์ที่ต้องการได้
18
3) HTTP (Hypertext Transfer Protocol)
เป็นโปรโตคอลสำหรับแลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่าง Server และ Client สนับสนุนและรองรับข้อมูลได้หลากหลาย เช่น ข้อความ ภาพ เสียง และวิดีโอ HTTP ทำหน้าที่เป็นรับ-ส่งข้อมูลหรือไฟล์ภาษา HTML ที่ใช้แสดงผลเว็บเพจ
19
4) TCP/IP(Transmission Control Protocol/Internet Protocol)
เป็นโปรโตคอลที่ใช้สำหรับส่งผ่านข้อมูลข้ามแพลตฟอร์ม (Platform) ที่ต่างกันได้ และสามารถค้นหาเส้นทางได้ในกรณีที่เครื่องคอมพิวเตอรร์ยังมีการติดต่อกันอยู่ แต่เกิดข้อขัดข้องของโหนดกลางที่ใช้ติดต่อหรือสายสัญญาณถูกตัดขาด
20
การระบุตำแหน่งบนเครือข่ายอินเทอร์เน็ต
การรับ-ส่ง ข้อมูลต้องมีการระบุตำแหน่งของเครื่องคอมพิวเตอร์ต้นทางที่ต้องการส่งข้อมูลและเครื่องปลายทางที่รับข้อมูล โดยคอมพิวเตอร์แต่ละเครื่องจะมีหมายเลขประจำตัวต่างกัน Internet Protocol หรือ หมายเลข IP หรือ IP Address สร้างจาก 2 ส่วน คือ 1) หมายเลขเครือข่าย (Network Number) 2) หมายเลขเครื่องคอมพิวเตอร์ที่อยู่ในเครือข่าย (Host Number)
21
Domain Name System (DNS)
การตั้งชื่อที่เป็นตัวอักษรแทนการใช้หมายเลข IP สามารถแปลงกลับจากชื่อโดเมนเป็นหมายเลข IP ชื่อเครื่องผู้ให้บริการ . ชื่อเครือข่ายท้องถิ่น [ชื่อโดเมนย่อย] ชื่อโดเมนระดับบน
22
ชื่อโดเมนและความหมายขององค์กรในประเทศสหรัฐอเมริกา
com กลุ่มองค์กรเอกชน (Commercial Organization) edu กลุ่มสถานบันการศึกษา (Educational Organization) gov กลุ่มองค์กรของรัฐทั่วไป (Governmental Organization) mil กลุ่มองค์กรทหาร (Military) net กลุ่มองค์กรเครือข่าย (Networking Organization) org กลุ่มองค์กรจัดตั้ง (Organization)
23
ชื่อโดเมนที่ไม่ได้เป็นองค์กรของประเทศสหรัฐอเมริกา แต่เป็นชื่อย่อของประเทศต่าง ๆ
ความหมาย au ประเทศออสเตรเลีย ca ประเทศแคนนาดา fr ประเทศฝรั่งเศส jp ประเทศญี่ปุ่น th ประเทศไทย uk ประเทศอังกฤษ
24
ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับเว็บไซต์
เว็บไซต์ หรือ World Wide Web (WWW) เป็นแหล่งรวบรวมข้อมูลข่าวสาร เอกสารหรือสื่อต่างๆ เช่น ข้อความ ภาพนิ่ง ภาพเคลื่อนไหว และเสียงบนเครือข่ายอินเทอร์เน็ตโดยใช้โปรโตคอล HTTP (Hypertext Transfer Protocol) ในการขนส่งข้อมูลจากเครื่องเซิร์ฟเวอร์ (Server Side) ไปยังเครื่องผู้ร้องขอบริการหรือเครื่องไคลเอนต์ (Client Side)
25
เว็บเพจ เว็บเพจ (Web Page)
คือเอกสารแต่ละหน้าที่ใช้แสดงอยู่บนในเว็บไซต์ สร้างจากภาษา HTML (Hypertext Markup Language)
26
Static Web Page เว็บเพจที่ตอบสนองการใช้งานอย่างจำกัด ไม่สามารถโต้ตอบการทำงานกับผู้ใช้ได้ ข้อมูลบนเว็บจะถูกแก้ไขที่เครื่อง Server การแก้ไขข้อมูลกระทำโดย Web Master เท่านั้น สร้างมาจากภาษา HTML
27
Dynamic Web Page เว็บเพจที่สนับสนุนให้มีการโต้ตอบกับผู้ใช้
เนื้อหาภายในเว็บสามารถเปลี่ยนแปลงตามการใช้งานของผู้ใช้ สามารถเพิ่ม ลบ และแก้ไขข้อมูลได้ ใช้หลักการของ CGI (Common Gateway Interface คือการรับข้อมูลจากเครื่องผู้ใช้ไปประมวลผลที่เครื่องเซิฟเวอร์ สนับสนุนการทำงานฝั่ง Client-Side Script และฝั่ง Server-Side Script ภาษาที่ใช้พัฒนาเว็บไซต์ เช่น HTML,PHP,JSP,ASP,ASP.NET,Python,ruby
28
Semantic Web Page หรือเรียกว่า Syntactic หรือ Hypermedia Web
คือ เว็บเพจที่มีการจัดเก็บและเชื่อมโยงเนื้อหาที่เกี่ยวข้องกันแบบมีโครงสร้าง เนื้อหาในเว็บที่เกี่ยวข้องกันจะมีการเชื่อมโยงกันทั้งภายในเว็บและเครือข่ายเว็บ โดยมีฐานข้อมูลในการจัดเก็บเว็บเพจ
29
ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับเว็บไซต์
คำศัพท์ ความหมาย เว็บไซต์ (Web Site) กลุ่มของเว็บเพจที่สัมพันธ์กันรวมอยู่ด้วยกัน เช่นเว็บไซต์สถาบันการศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย ประกอบด้วยเว็บเพจที่เกี่ยวข้องกัน โฮมเพจ (Home Page) เว็บเพจที่ถูกกำหนดให้เป็นหน้าแรกของเว็บไซต์ ส่วนใหญ่จะประกอบด้วยรายการที่เชื่อมโยงไปยังเว็บเพจที่เกี่ยวข้อง URL (Uniform Resource Locator หรือ Universal Resource Locator) ชื่อหรือที่อยู่ของเว็บไซต์ เช่น
30
เว็บบราวเซอร์ (Web browser)
เป็นโปรแกรมที่ติดตั้งอยู่ที่เครื่องผู้ใช้ หรือเรียกว่าเครื่องไคลเอนต์ (Client) ใช้สำหรับท่องอินเทอร์เน็ต โดยทำหน้าที่ในการแสดงผลเอกสารที่สร้างจากภาษา HTML และภาษาสคริปต์ที่สามารถทำงานบนเครื่องไคลเอนต์ได้ โดยใช้โปรโตคอล HTTP ในการขนส่งข้อมูล ตัวอย่างเว็บบราวเซอร์ที่นิยมใช้ เช่น Internet Explorer, Mozilla Firefox, Google Chrome, Netscape, Avant Browser, Opera, Safari Browser, Plawan Browser, Tencent Traveler, Maxthon และ The World,Flock
31
ตัวอย่าง Web Browser Internet Explorer Mozilla Firefox Google Chrome
Netscape Avant Browser Opera Safari Browser Plawan Browser Tencent Traveler Maxthon The World Flock พัฒนาการของ Web browser
32
เว็บเซิร์ฟเวอร์ (Web Server)
เครี่องคอมพิวเตอร์ที่ให้บริการจัดเก็บข้อมูลเว็บไซต์บนเครือข่ายอินเทอร์เน็ต ผู้ใช้สามารถเรียกชมเว็บไซต์ผ่านทางโปรแกรมเว็บบราวเซอร์ ใช้โปรโตคอล HTTP ในการขนส่งข้อมูล เครื่องคอมพิวเตอร์ที่ทำหน้าที่เป็นเว็บเซิร์ฟเวอร์จะต้องติดตั้งโปรแกรมที่ทำหน้าที่เป็นเว็บเซิร์ฟเวอร์
33
ขั้นตอนการทำงานระหว่างเว็บเซิร์ฟเวอร์และเว็บบราวเซอร์
1)เครื่องไคลเอนต์ร้องขอบริการเว็บไซต์โดยกำหนด URL ของเว็บไซต์ที่ต้องการผ่าน URL Address Bar ของโปรแกรมเว็บบราวเซอร์ เพื่อร้องขอเว็บเพจไปยังเว็บเซิร์ฟเวอร์ โดยข้อมูลการร้องขอจะถูกส่งผ่านโปรโตคอล HTTP 2)เครื่องเว็บเซิร์ฟเวอร์อ่านคำร้องขอ ค้นหาเว็บเพจที่ถูกร้องขอและประมวลผลเว็บเพจหากเว็บเพจสร้างจากภาษา HTMLจะส่งไปยังเครื่องไคลเอนต์ แต่ถ้าเป็นเว็บเพจที่ต้องประมวลผลที่เครื่องเว็บเซิร์ฟเวอร์จะทำการประมวลผลข้อมูลแล้วจึงส่งไปยังเครื่องไคลเอนต์ในรูปแบบเอกสารภาษา HTML โดยส่งผ่านโปรโตคอล HTTP 3)เครื่องไคลเอนต์รับไฟล์เอกสารภาษา HTML จากเครื่องเซิร์ฟเวอร์ แสดงผลตามคำสั่งภาษา HTML นั้น
34
ภาษาที่ใช้ในการพัฒนาเว็บไซต์
ภาษามาร์คอัพ เป็นภาษาที่ใช้สำหรับควบคุมการแสดงผลข้อมูลบนเว็บบราวเซอร์ สามารถทำงานได้ทั้งฝั่งเครื่องไคลเอนต์และเครื่องเซิร์ฟเวอร์ เป็นภาษาที่ไม่สามารถโต้ตอบกับผู้ใช้ได้ มีไว้สำหรับในการกำหนดรูปแบบการแสดงผลเท่านั้น ที่นิยมใช้ในปัจจุบันประกอบด้วยภาษา SGML, HTML, XML และ XHTML
35
ภาษาที่ใช้ในการพัฒนาเว็บไซต์
ภาษาสคริปต์ เป็นภาษาที่ใช้สำหรับโต้ตอบกับผู้ใช้ รับ-ส่งข้อมูลระหว่างเครื่องไคลเอนต์และเครื่องเซิร์ฟเวอร์ แบ่งเป็น 2 ประเภท คือ ภาษาสคริปต์ ที่ทำงานบนฝั่งเซิร์ฟเวอร์ (Server-side Script) เช่น ASP, ASP.NET, PHP, Python, Ruby และ JSP ภาษาสคริปต์ ที่ทำงานบนฝั่งไคลเอนต์ (Client-side Script) เช่น JavaScript และ VBscript
36
Web Technology
37
Web Technology
38
Web Technology
39
Web Technology
40
WEB 1.0 คืออะไร เว็บ 1.0 เป็นเว็บในยุคเริ่มต้น
รูปแบบของไฟล์เป็นนามสกุลเป็น .htm และ .html เป็นการสื่อสารแบบทางเดียว (One Way Communication) แก้ไขอัพเดตข้อมูลต่างๆในหน้าเว็บได้เฉพาะ webmaster ตัวอย่างเว็บไซต์ WEB 1.0 เช่น เว็บไซต์ประกาศข่าว เว็บไซต์ประกาศข่าวรับสมัครงาน เว็บประวัติส่วนตัว ฯลฯ
41
WEB 1.0 คืออะไร
42
WEB 2.0 คืออะไร เป็นการสื่อสารแบบสองทาง (Two Way Communication)
มีการโต้ตอบระหว่างผู้ใช้ และเจ้าของเว็บไซต์ สามารถพัฒนาเว็บไซต์ผ่านทางแอพพลิเคชั่นที่ให้บริการบนเครือข่ายอินเทอร์เน็ตได้อย่างง่ายดาย เช่น WebBlog ผู้ใช้เป็นผู้สร้างและแก้ไขเนื้อหา สามารถแลกเปลี่ยนข้อมูลซึ่งกันและกัน เช่นเว็บบอร์ดแสดงความคิดเห็น การหาแหล่งข้อมูลด้วยอาร์เอสเอส (RSS) มีการพัฒนารูปแบบที่เป็นมาตรฐานที่ใช้ร่วมกันอย่าง XML มีบริการ Mashup ที่รวมเอา Service หลายๆอย่างไว้ด้วยกัน
43
WEB 2.0 คืออะไร ตัวอย่างเว็บไซต์ยุค WEB 2.0 เช่น
Youtube, MySpace,facebook,hi5, Wikipedia , BlogGang,Sanook.com และ Kapook.com ระบบ E-learning ต่างๆ
44
WEB 2.0 คืออะไร
45
WEB 3.0 คืออะไร เป็น Semantic Web
มีเครื่องมือช่วยคาดเดาพฤติกรรม วิเคราะห์ความต้องการของมนุษย์ ผู้เยี่ยมชมสามารถเข้าถึงเนื้อหาของเว็บได้ดีขึ้นและตรงตามความต้องการ โดยใช้ Metadata สามารถเข้าถึง Website ได้ด้วยอย่างไม่จำกัดรูปแบบ ไม่จำกัดสถานที่ ไม่จำกัดอุปกรณ์
46
WEB 4.0 คืออะไร A Symbiotic web คือ เว็บที่ทำงานแบบ Artificial Intelligence (AI) ที่ฉลาดมากยิ่งขึ้น ข้อมูลต่างๆ สามารถทำงานได้ทุกอุปกรณ์หรืออาจจะช่วยระบุตัวตนที่แท้จริงของผู้ใช้ได้ Internet of things
47
Internet of things (IoT)
48
WEB 5.0 คืออะไร Emotional web
49
บริการบนเครือข่ายอินเทอร์เน็ต
1)World Wide Web (WWW) การให้บริการการนำเสนอข้อมูลข่าวสารบนเครือข่ายอินเทอร์เน็ต โดยใช้โปรแกรมเบราว์เซอร์แสดงผลในรูปแบบของภาษา HTML และภาษาคริปต์ที่สามารถทำงานบนเครื่องไคล์เอนต์
50
บริการบนเครือข่ายอินเทอร์เน็ต(ต่อ)
2)จดหมายอิเล็กทรอนิกส์ (Electronic Mail หรือ ) เป็นการติดต่อสื่อสารแลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่างผู้ส่งและผู้รับผ่านทางเครือข่ายอินเทอร์เน็ต 3) บริการโอนถ่ายไฟล์ (File Transfer Protocol) เป็นบริการการโอนถ่ายแฟ้มข้อมูลจากเครื่องหนึ่งไปยังอีกเครื่องหนึ่ง
51
บริการบนเครือข่ายอินเทอร์เน็ต(ต่อ)
4) บริการการค้นหาข้อมูล เป็นบริการสืบค้นข้อมูลผ่านทางเครือข่ายอินเทอร์เน็ตจากเว็บไซต์ที่ให้บริการสืบค้นข้อมูล 5) การบริการรับฝากไฟล์และข้อมูล เป็นบริการในการฝากไฟล์และข้อมูลไว้บนเครือข่ายอินเทอร์เน็ต 6) เว็บบล็อก (Web Blog) เป็นบริการเก็บบันทึกต่างๆ เช่นบันทึกประจำวัน ที่ต้องการแบ่งปันให้บนเครือข่ายอินเทอร์เน็ต 7) เว็บบอร์ด เป็นบริการแลกเปลี่ยนความคิดเห็นของกลุ่มผู้ใช้บริการที่มีความสนใจในหัวข้อประเด็นเดียวกัน
52
บริการบนเครือข่ายอินเทอร์เน็ต(ต่อ)
8) บริการซื้อขายสินค้าออนไลน์ เป็นบริการร้านค้าออนไลน์ หรือ อีคอมเมิร์ซ (Electronic Commerce หรือ E-commerce) ระหว่างร้านค้ากับผู้ซื้อ หรือระหว่างผู้ขายกับผู้ซื้อ 9) บริการห้องสนทนา เป็นบริการการส่งข้อความโต้ตอบกัน เพื่อแลกเปลี่ยนความคิดเห็น สามารถโต้ตอบกันได้ทั้งข้อความ รูปภาพและภาพเคลื่อนไหว 10) บริการดูหนังออนไลน์ บริการฟังเพลง บริการวิทยุออนไลน์ บริการทีวีออนไลน์ รวมทั้งบริการการถ่ายทอดสดรายการสำคัญๆต่างๆ 11) บริการสังคมออนไลน์ เป็นการสร้างเครือข่ายสังคมที่มีการโต้ตอบกันระหว่างกลุ่มคน ที่มีความสัมพันธ์กัน เพื่อแบ่งปันข้อมูลระหว่างกัน 12) บริการธนาคารออนไลน์ เป็นบริการการทำธุรกรรมทางการเงินกับธนาคารผ่านทางเครือข่ายอินเทอร์เน็ต โดยที่ผู้ใช้ไม่จำเป็นต้องเดินทางไปที่ธนาคาร 13) บริการการประชุมวีดีโอออนไลน์ หรือ Video Conference
งานนำเสนอที่คล้ายกัน
© 2024 SlidePlayer.in.th Inc.
All rights reserved.