ดาวน์โหลดงานนำเสนอ
งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ
ได้พิมพ์โดยถวิล รักไทย ได้เปลี่ยน 6 ปีที่แล้ว
1
ระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วย การจัดสวัสดิการภายในส่วนราชการ พ. ศ
ระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วย การจัดสวัสดิการภายในส่วนราชการ พ.ศ. 2547
2
ประเด็นการชี้แจง ความหมายของสวัสดิการ หลักการของระเบียบ
กระบวนการจัดสวัสดิการภายในส่วนราชการ คณะกรรมการที่เกี่ยวข้องกับการจัดสวัสดิการ การดำเนินการจัดสวัสดิการภายในส่วนราชการ/จังหวัด การตรวจสอบและประเมินผลการจัดสวัสดิการ ขั้นตอนการจัดสวัสดิการภายในจังหวัด
3
แผนภูมิแสดงค่าตอบแทน (Compensation) ของราชการ
สวัสดิการ เสริม สวัสดิการหลัก เงินเดือน / เงินตอบแทน สวัสดิการ ค่าตอบแทนการทำงาน ในหน้าที่
4
ความหมายของสวัสดิการ
สวัสดิการภาครัฐ หมายถึง สิ่งตอบแทนที่ได้รับนอกเหนือจากเงินเดือนทั้งที่เป็นตัวเงินและไม่เป็นตัวเงินเพื่อส่งเสริมขวัญกำลังใจและเสริมสร้างฐานะความเป็นอยู่ของผู้ปฏิบัติงานให้ดีขึ้น ได้แก่ การลา ค่ารักษาพยาบาล เงินสวัสดิการเกี่ยวกับการศึกษาของบุตร เงินสวัสดิการสำหรับการปฏิบัติงานประจำสำนักงานในพื้นที่พิเศษ เครื่องราชอิสริยาภรณ์ บำเหน็จบำนาญ สวัสดิการภายในส่วนราชการ หมายถึง กิจกรรมหรือกิจการใดๆ ที่คณะกรรมการสวัสดิการจัดให้มีขึ้น โดยมีวัตถุประสงค์ในการช่วยเหลือและอำนวยความสะดวกให้แก่ข้าราชการเพื่อประโยชน์ในการดำรงชีวิตนอกเหนือจากสวัสดิการที่ทางราชการจัดให้แก่ข้าราชการเป็นกรณีปกติ หรือเพื่อประโยชน์แก่การสนับสนุนการปฏิบัติราชการหรือที่คณะกรรมการเห็นสมควรให้จัดเพิ่มขึ้นสำหรับส่วนราชการต่างๆ ได้แก่ การกู้เงิน เงินสงเคราะห์กรณีต่าง ๆ ร้านอาหารสวัสดิการ การฌาปณกิจสงเคราะห์ เป็นต้น
5
แนวปฏิบัติและ หนังสือซักซ้อม ฯ
หลักการและบททั่วไป หมวด ๑ การจัดสวัสดิการภายในส่วนราชการ หมวด ๒ การเงิน การบัญชี และการตรวจสอบ หมวด ๓ คณะกรรมการสวัสดิการข้าราชการ หมวด ๔ ศูนย์ประสานการจัดสวัสดิการข้าราชการ บทเฉพาะกาล ระเบียบสวัสดิการ พ.ศ. ๒๕๔๗ หลักเกณฑ์และเงื่อนไขการพิจารณาอนุมัติให้ใช้น้ำ กระแสไฟฟ้าฯ หลักเกณฑ์และวิธีการประชาสัมพันธ์รายงานการประเมินผลฯ หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการจัดสวัสดิการในเชิงธุรกิจ หลักเกณฑ์และวิธีการกู้เงินจากสวัสดิการภายในส่วนราชการอื่น ประกาศ คณะกรรมการฯ ๔ ฉบับ แนวปฏิบัติและ หนังสือซักซ้อม ฯ แนวทางปฏิบัติในการจัดสวัสดิการภายในหน่วยงานฯ การซักซ้อมความเข้าใจเกี่ยวกับการจัดสวัสดิการภายในส่วนราชการ
6
ความหมายของสวัสดิการภายในส่วนราชการ
(ตามระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการจัดสวัสดิการภายในส่วนราชการ พ.ศ. 2547) กิจกรรม/กิจการใดที่คณะกรรมการสวัสดิการภายในส่วนราชการ ที่จัดให้มีขึ้น โดยมีวัตถุประสงค์ดังนี้ เพื่อช่วยเหลือและอำนวยความสะดวกให้แก่ข้าราชการ เพื่อประโยชน์แก่การดำรงชีพนอกเหนือจากสวัสดิการที่ ทางราชการจัดให้ข้าราชการเป็นกรณีปกติ คณะกรรมการสวัสดิการภายในส่วนราชการเห็นควรจัดเพิ่ม
7
มีเจตนารมณ์เพื่อสนับสนุนให้ สรก. ต่างๆ จัดสวัสดิการภายใน
หลักการของระเบียบ มีเจตนารมณ์เพื่อสนับสนุนให้ สรก. ต่างๆ จัดสวัสดิการภายใน ให้หัวหน้าส่วนราชการมีหน้าที่ริเริ่ม ดำเนินการสนับสนุน ให้มีการจัดสวัสดิการภายในส่วนราชการ โดยแต่งตั้ง คณะกรรมการสวัสดิการภายใน และผู้รับผิดชอบ ในการจัดสวัสดิการ ให้ข้าราชการปฏิบัติงานสวัสดิการภายในส่วนราชการได้ โดยให้ถือว่าการปฏิบัติงานนั้นเป็นการปฏิบัติราชการด้วย
8
หลักการของระเบียบ (ต่อ)
อนุญาตให้ใช้อาคาร สถานที่ของทางราชการได้ตามความจำเป็น และให้ใช้น้ำและกระแสไฟฟ้าได้โดยประหยัด ตามหลักเกณฑ์ และเงื่อนไขที่คณะกรรมการสวัสดิการข้าราชการกำหนด ให้นำรายได้ หรือผลประโยชน์ที่ได้รับจากการจัดสวัสดิการจัด เป็นกองทุนสวัสดิการเพื่อนำไปใช้ข่ายในทางที่เกี่ยวข้อง โดยตรงกับกิจการสวัสดิการนั้น โดยไม่ต้องนำส่งคลังแผ่นดิน
9
หลักการของระเบียบ (ต่อ)
ให้การจัดสวัสดิการภายในส่วนราชการ ครอบคลุมเจ้าหน้าที่ ของรัฐทุกคนในส่วนราชการ ให้มีคณะกรรมการสวัสดิการข้าราชการเป็นคณะกรรมการกลาง เพื่อกำกับดูแลและแก้ไขปัญหาการจัดสวัสดิการข้าราชการ เพิ่มบทบาทสมาชิกสวัสดิการให้มีส่วนร่วมในการจัดสวัสดิการ ข้าราชการ
10
หลักการของระเบียบ (ต่อ)
ให้จัดสวัสดิการเชิงธุรกิจได้ตามหลักเกณฑ์ที่คณะกรรมการ สวัสดิการข้าราชการกำหนด ปรับปรุงข้อกำหนดวิธีดำเนินการและการบริหารทางการเงิน ให้ชัดเจน โปร่งใส และตรวจสอบได้
11
“”ความหมายของข้าราชการตามระเบียบนี้
ข้าราชการพลเรือน ข้าราชการทหาร ข้าราชการตำรวจ ข้าราชการพลเรือนในมหาวิทยาลัย ข้าราชการครู ข้าราชการฝ่ายอัยการ พนักงานของรัฐ พนักงานราชการ และลูกจ้างใน สรก.
12
“”””การนำระเบียบนี้ไปใช้กับหน่วยงานอื่นของรัฐ
เพื่อประโยชน์ในการจัดสวัสดิการภายในของหน่วยงานองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น รัฐวิสาหกิจ องค์การมหาชน และหน่วยงานอื่นของรัฐ อาจนำระเบียบนี้ไปใช้บังคับโดยอนุโลม
13
ความหมายของส่วนราชการตามระเบียบนี้
กระทรวง ทบวง กรม ส่วนราชการที่จัดตั้งในรูปแบบอื่น เช่น กลุ่มภารกิจ หรือ หลายกรมร่วมกันก็ได้ จังหวัด หน่วยงานในความรับผิดชอบของคณะผู้แทนการบริหารราชการในต่างประเทศ เช่น สถานเอกอัครราชทูต สถานกงสุล เป็นต้น
14
กระบวนการจัดสวัสดิการภายในส่วนราชการ/จังหวัด
แต่งตั้งคณะกรรมการ กำหนดนโยบายแผนงาน หลักเกณฑ์ ดำเนินการจัดสวัสดิการ ประเมินผลและรายงาน ประธานกรรมการ กรรมการจากการแต่งตั้งและเลือกตั้ง การจัดประชุมสมาชิก การรายงานประจำปี คกก. ให้คำปรึกษาแนะนำ คกก. ออกระเบียบ/กำหนดสมาชิก มอบหมายบุคคล/คณะบุคคล แต่งตั้งคณะอนุกรรมการ หลักเกณฑ์และเงื่อนไขการใช้น้ำ กระแสไฟฟ้าฯ หลักเกณฑ์และวิธีการประชาสัมพันธ์ฯ หลักเกณฑ์ วิธีการ การจัดสวัสดิการในเชิงธุรกิจ หลักเกณฑ์และวิธีการกู้เงินฯ สำรวจความต้องการสวัสดิการ จัดสวัสดิการประเภทต่าง ๆ จัดตั้งกองทุนสวัสดิการ จัดทำบัญชี
15
องค์ประกอบคณะกรรมการสวัสดิการข้าราชการ
(คณะกรรมการกลาง) ผู้แทนองค์กรกลาง บริหารงานบุคคล (ก.) ที่มีข้าราชการเป็นสมาชิกประเภทละ 1 คน (วาระ 2 ปี แต่เป็น 2 วาระติดต่อกันไม่ได้) ผอ.ศูนย์ประสานฯ (ก.ก. /เลขานุการ) ข้าราชการ สกพ. (ผู้ช่วยเลขาฯ ไม่เกิน 2 คน) เลขาธิการ ก.พ. (ประธานกรรมการ) เลขาธิการ ก.พ.ร. ผอ.สำนักงบประมาณ อธิบดีกรมบัญชีกลาง
16
อำนาจหน้าที่ของคณะกรรมการกลาง
กำหนดนโยบายและกำกับดูแล เสนอนโยบายต่อ ครม. และเสนอแนะให้ปรับปรุงแก้ไขกฎหมาย ระเบียบ หรือข้อบังคับ กำหนดมาตรฐานการจัดสวัสดิการฯ ออกระเบียบ ข้อบังคับ ประกาศ/คำสั่ง เพื่อกำหนดหลักเกณฑ์ เงื่อนไขและวิธีการปฏิบัติ แต่งตั้งคณะอนุกรรมการ/ที่ปรึกษา พิจารณาและวินิจฉัยปัญหาในการปฏิบัติตามระเบียบนี้ ปฏิบัติการอื่นใดที่จำเป็น ตามที่ ครม. มอบหมาย
17
หน้าที่ศูนย์ประสานการจัดสวัสดิการข้าราชการ
(ฝ่ายเลขานุการของคณะกรรมการสวัสดิการข้าราชการ) ศึกษา สำรวจ วิจัย เพื่อเสนอนโยบาย/มาตรการ ให้ คกก.พิจารณา รวบรวมข้อมูลจัดทำคู่มือการจัดสวัสดิการฯเพื่อเผยแพร่ เสนอความเห็นต่อคณะกรรมการฯ ให้แก้ไข/ปรับปรุงกฎ ระเบียบ ข้อบังคับ ทำโครงการศึกษาฝึกอบรม/เผยแพร่ความรู้/เสนอแนะ/ประสานงาน ประเมินผลการจัดสวัสดิการฯในภาพรวม ปีละครั้ง ปฏิบัติการ/ประสานงานยื่นตามที่กฎหมายกำหนด/คณะกรรมการมอบหมาย
18
องค์ประกอบคณะกรรมการสวัสดิการภายในฯ
หัวหน้า ส่วนราชการ หรือผู้ที่ได้รับ มอบหมาย ผู้รับผิดชอบงาน ด้านสวัสดิการฯ เป็น กก./เลขานุการ + ผู้ช่วยเลขานุการฯ คน ข้าราชการ ในส่วนราชการนั้นไม่เกิน 7 คน ผู้แทนสมาชิก ไม่เกิน 7 คน (วาระ 2 ปี) ให้คณะกรรมการฯ เลือกกรรมการคนหนึ่งที่มีคุณวุฒิ/ประสบการณ์ ด้านการเงินและบัญชีเป็น เหรัญญิก
19
อำนาจหน้าที่ของคณะกรรมการสวัสดิการภายในฯ
กำหนดนโยบาย อำนวยการ และจัดการสวัสดิการฯ ออกระเบียบ หรือ ข้อบังคับในการดำเนินการจัดสวัสดิการฯ อนุมัติให้จัดหรือยุบเลิกการจัดสวัสดิการประเภทต่างๆ แต่งตั้งบุคคล คณะบุคคล หรือคณะอนุกรรมการที่เป็นข้าราชการมิใช่ข้าราชการเพื่อดำเนินการจัดสวัสดิการฯ จัดการประชุมใหญ่สามัญประจำปี และการประชุมใหญ่วิสามัญ
20
อำนาจหน้าที่คณะกรรมการสวัสดิการภายในฯ (ต่อ)
ควบคุมการรับเงินและใช้จ่ายเงินกองทุนสวัสดิการ อนุมัติการจ้างลูกจ้าง กำหนดค่าตอบแทน จัดระบบบริหารงานบุคคลของลูกจ้าง กำหนดอัตราค่าบริการในการใช้บริการสวัสดิการ อนุมัติ/มอบอำนาจกรรมการให้ก่อหนี้ ผูกพัน หรือลงนาม ในเอกสาร และจ่ายเงินกองทุน ปฏิบัติการอื่นใดที่จำเป็น หรือตาม คกก./ครม. มอบหมาย
21
อำนาจหน้าที่ของงานสวัสดิการภายในฯ
(ฝายเลขานุการ คกก.สวัสดิการภายในฯ) ดำเนินการทางธุรการเกี่ยวกับลูกจ้าง สวัสดิการฯ เช่น บรรจุแต่งตั้ง ฯ จัดทำแผนงานโครงการและ งบประมาณประจำปี เสนอความเห็นในการออกระเบียบวิธี ปฏิบัติต่อ คกก.สวัสดิการภายในฯ ประสานงานกับ คกก.สวัสดิการ ข้าราชการและศูนย์ประสานฯ หรือ หน่วยงานอื่น เสนอความเห็นให้มีการจัดบริการ/ กิจกรรมสวัสดิการตามความเหมาะสม ปฏิบัติการอื่นใดตามที่ คกก. สวัสดิการภายในฯ มอบหมาย
22
การจัดสวัสดิการในหน่วยงานย่อย (สวัสดิการที่สำคัญ+มีลักษณะเฉพาะ)
การจัดสวัสดิการในหน่วยงานย่อย (สวัสดิการที่สำคัญ+มีลักษณะเฉพาะ) คณะกรรมการมอบหมายบุคคล คณะบุคคล หรือ คณะอนุกรรมการจัดสวัสดิการของหน่วยงานย่อย คอก.ที่ได้รับมอบหมายออกระเบียบสวัสดิการ+ดำเนินการ ตามระเบียบฯ มีกองทุนสวัสดิการของหน่วยงานย่อย มีการรายงานคณะกรรมการเป็นระยะและประจำปี คณะกรรมการอาจส่งเจ้าหน้าที่ไปให้คำแนะนำ หรือ ตรวจการเงินและบัญชี
23
การจัดสวัสดิการที่มีกฎหมายเฉพาะ
ให้ดำเนินการไปตามกฎหมายว่าด้วยการนั้น แทนการปฏิบัติตามระเบียบนี้ ให้ถือว่าสวัสดิการเหล่านั้นเป็นสวัสดิการภายในตามระเบียบนี้ เพื่อให้สามารถนำบทบัญญัติในระเบียบนี้ไปดำเนินการใน ส่วนที่เกี่ยวข้องเท่าที่ไม่ขัดหรือแย้งกับกฎหมาย ตัวอย่างเช่น สหกรณ์ออมทรัพย์ ฌาปนกิจสงเคราะห์ เป็นต้น
24
สมาชิกสามัญ สมาชิกวิสามัญ (ที่พ้นจากการปฏิบัติงานใน ส่วนราชการ)
2. การกำหนดนโยบาย สมาชิกสวัสดิการ สมาชิกสามัญ สมาชิกวิสามัญ สมาชิกสมทบ ข้าราชการ/ พนักงานของรัฐ + ลูกจ้างประจำ พนักงานราชการ+ ลูกจ้างชั่วคราว สมาชิกสามัญ สมาชิกวิสามัญ (ที่พ้นจากการปฏิบัติงานใน ส่วนราชการ)
25
3. การดำเนินการจัดสวัสดิการภายในส่วนราชการ/จังหวัด
ประเภทการจัดสวัสดิการภายในส่วนราชการ การจัดสวัสดิการภายในตามระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี ว่าด้วยการจัดสวัสดิการภายในส่วนราชการ พ.ศ ข้อ 4 แบ่งเป็น 2 ประเภท การจัดสวัสดิการภายใน การจัดสวัสดิการในเชิงธุรกิจ
26
การจัดสวัสดิการภายใน
การจัดกิจกรรมหรือกิจการที่ คกก.สวัสดิการภายในฯ จัดให้มีขึ้น เพื่อช่วยเหลือและอำนวยความสะดวกให้แก่ข้าราชการ เพื่อประโยชน์ แก่การดำรงชีพ นอกเหนือจากสวัสดิการที่ทางราชการจัดให้ในกรณีปกติ เพื่อสนับสนุนการปฏิบัติราชการ หรือกิจกรรมอื่นที่ คกก.เห็นสมควร ให้จัดเพิ่มขึ้น โดยมิได้เป็นไปในเชิงธุรกิจ
27
การจัดสวัสดิการในเชิงธุรกิจ
การดำเนินกิจกรรมหรือกิจการสวัสดิการใดๆ ที่จัดเป็นสวัสดิการ ภายในของส่วนราชการที่ คกก.สวัสดิการภายในส่วนราชการ จัดให้มีขึ้น เป็นไปในทางการค้ากับสมาชิกสวัสดิการ+บุคคลภายนอกทั่วไป อาจกระทำได้ หากดำเนินการตามหลักเกณฑ์ วิธีการและเงื่อนไข ตามที่ คกก.สวัสดิการกลาง กำหนด
28
แนวคิดการจัดสวัสดิการภายในกับสวัสดิการในเชิงธุรกิจ
เจตนารมณ์ เพื่อจัดกิจกรรม หรือกิจการเพื่อสมาชิก มิได้เป็นไปในทางการค้า การดำเนินการโครงการ ต้องได้รับอนุมัติ & ดำเนินการภายใต้การกำกับดูแลของ คกก.สวัสดิการของ สรก. ค่าใช้จ่ายโครงการ ไม่ต้องจ่ายค่าเช่าพื้นที่ แต่ต้องเสีย VAT หากรายได้เกินกำหนด อาจไม่ต้องเสียค่าสาธารณูปโภคหากใช้โดยประหยัด เป็นครั้งคราวและไม่ใช่เพื่อหารายได้ สวัสดิการภายใน สวัสดิการเชิงธุรกิจ การดำเนินการโครงการ ต้องได้รับการอนุมัติจาก คกก.สวัสดิการของ สรก. ต้องดำเนินการในที่ดิน อาคาร สถานที่ ที่อยู่ในการกำกับดูแลของ สรก. และได้รับการอนุมัติจาก หน.สรก.+กรม ธนารักษ์ ตามกฎหมาย มีความเสี่ยงน้อย ไม่กระทบภารกิจหลัก ประโยชน์และเกียรติของทางราชการ ค่าใช้จ่ายโครงการ ต้องจ่ายค่าเช่าพื้นที่ให้กรมธนารักษ์ ตามระเบียบที่กำหนด ต้องจ่ายค่าภาษี ค่าสาธารณูปโภคและค่าใช้จ่ายอื่นตามกฎหมาย รายได้เข้ากองทุนสวัสดิการ โดยไม่หักค่าใช้จ่าย เจตนารมณ์ เพื่อประโยชน์ของ สรก. อำนวยความสะดวกผู้มาติดต่อราชการ หรือข้าราชการ เป็นไปในทางการค้ากับสมาชิก + บุคคลภายนอกทั่วไป
29
รายได้ของกองทุนสวัสดิการ
ค่าธรรมเนียมสมาชิก รายรับจากการจัดกิจกรรมหรือบริการ ดอกผลของเงินรายได้ เงินรายได้อื่นๆ เงินอุดหนุนตามที่รัฐหรือหน่วยงานอื่นจัดสรรให้ เงินกู้จากสวัสดิการอื่น หรือ สถาบันการเงิน เงินบริจาค และหากดูในมิติของงบรายจ่าย จะมีงบลงทุนสูงถึง 113,647.3 ล้านบาท ซึ่งหากพิจารณาในลักษณะมิติรายจ่ายลงทุน จะมีวงเงินไม่ต่ำกว่า 300,000 ล้านบาท 31
30
การเงินและการบัญชีของกองทุนสวัสดิการ
สวัสดิการแต่ละสรก. จัดตั้งกองทุนสวัสดิการ /เปิดบัญชี ฝากเงินกองทุนกับธ.พาณิชย์ หรือ สหกรณ์ออมทรัพย์ของ สรก. สวัสดิการฯกำหนดและรักษาไว้ซึ่งระบบการบัญชีที่เหมาะสม จัดทำงบรายรับจ่ายประจำเดือนเสนอคณะกรรมการสวัสดิการ ภายในสรก. + มีการตรวจสอบบัญชีภายในเป็นประจำ การปิดบัญชีทำปีละครั้งตามปีปฏิทินและให้จัดทำ งบการเงินภายใน 45 วัน นับแต่วันสิ้นงวดบัญชี
31
การประชุมสมาชิกสวัสดิการ
การประชุมใหญ่วิสามัญ (เมื่อ คกก.สวัสดิการฯ เห็นสมควร หรือ สมาชิก1/5 หรือไม่น้อยกว่า100 คนร้องขอ) เพื่อสอบถามปัญหา ปรึกษาหารือเรื่องที่สำคัญ หรือ ต้องการความเห็นร่วม การประชุมใหญ่สามัญ รายงานผลงาน นโยบาย แผนงาน+งปม.ปีต่อไป พิจารณาระเบียบสำคัญ แสดงความคิดเห็น+ปรึกษา
32
4. การประเมินผลการจัดสวัสดิการ
การตรวจสอบบัญชี ผู้สอบบัญชีตรวจสอบและรับรองบัญชีการเงินของสวัสดิการฯ ให้แล้วเสร็จภายใน 30 วันนับแต่วันได้รับงบการเงิน ผู้สอบบัญชีมีหน้าที่ตรวจสอบสมุดบัญชีและเอกสารอื่น โดยอาจสอบถามประธาน กก./กก. หรือผู้เกี่ยวข้อง ผู้สอบบัญชีมีหน้าที่รายงานผลการสอบต่อ คกก.สวัสดิการฯ เพื่อพิจารณาประเมินผล คกก.สวัสดิการฯ ประชาสัมพันธ์ให้สมาชิกทราบรายงาน ประเมินผล ภายใน 30 วัน นับแต่ผู้สอบบัญชีรับรองบัญชี
33
การรายงานผลการดำเนินงาน
ให้คณะกรรมการสวัสดิการภายในส่วนราชการจัดทำรายงาน เสนอคณะกรรมการสวัสดิการข้าราชการปีละครั้ง สาระของรายงาน : เสนอผลงานในปีที่ผ่านมา ชี้แจงนโยบาย โครงการ แผนงาน ที่จะทำในปีต่อไป ปัญหา อุปสรรคที่สำคัญในการดำเนินการ ข้อเสนอแนะ
34
ขั้นตอนการดำเนินการจัดสวัสดิการภายในจังหวัด (กรณีของจังหวัดที่ยังไม่มีการจัดสวัสดิการภายในจังหวัด)
กำหนดให้มีคณะกรรมการตามระเบียบ ผู้ว่าราชการจังหวัดเป็นประธาน กรรมการจากการแต่งตั้ง ไม่เกิน 7 คนและเลือกตั้ง ไม่เกิน 7 คน 1 คณะกรรมการภายในจังหวัด อาจส่งเจ้าหน้าที่ไปให้ คำแนะนำ หรือตรวจสอบบัญชี คณะกรรมการฯ ออกระเบียบสวัสดิการภายในของจังหวัด 6 2 ขั้นตอนการดำเนินการจัดสวัสดิการของจังหวัด จัดทำรายงานต่อคณะกรรมการภายในจังหวัดเป็นระยะและประจำปี คณะกรรมการมอบหมายบุคคล/คณะบุคคล/คณะอนุกรรมการจัดสวัสดิการในหน่วยงานย่อย 3 5 4 คณะอนุกรรมการออกระเบียบและดำเนินการตามระเบียบ และจัดตั้งกองทุนสวัสดิการของหน่วยงานย่อย
35
หลักเกณฑ์ที่เกี่ยวข้องกับการจัดสวัสดิการภายในส่วนราชการ/จังหวัด
หลักเกณฑ์และเงื่อนไขการพิจารณาอนุมัติให้ใช้น้ำ กระแสไฟฟ้า หรือสิ่งสาธารณูปโภคอื่นเพื่อการจัดสวัสดิการภายในส่วนราชการ หลักเกณฑ์และวิธีการประชาสัมพันธ์รายงานการประเมินผลการจัดสวัสดิการ หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการจัดสวัสดิการในเชิงธุรกิจ หลักเกณฑ์และวิธีการกู้เงินจากสวัสดิการภายในของส่วนราชการอื่นหรือสถาบันการเงิน กรณีจัดเป็นประจำ กรณีจัดเป็นครั้งคราว ให้คณะกรรมการสวัสดิการพิจารณาอนุมัติการกู้ยืมเงินของโครงการสวัสดิการที่จะขอกู้เงิน โดยพิจารณา วัตถุประสงค์ จำนวนเงิน มีความเป็นไปได้ในการชำระเงินกู้และดอกเบี้ย ภายในระยะเวลาที่ผู้ให้กู้กำหนด มีจำนวนผู้ให้กู้ไม่น้อยกว่าสองรายและจะต้องพิจารณาจากผู้ให้กู้ที่มีเงื่อนไขการให้กู้ที่ดีที่สุด ให้จัดทำคำขอกู้ในนามของคณะกรรมการสวัสดิการของ ส่วนราชการ แจ้งเวียนในลักษณะเดียวกับระเบียบของทางราชการ จัดเก็บเอกสารรายงานตามระยะเวลาที่กำหนดไว้ในระเบียบงานสารบรรณ จัดเผยแพร่บนเว็บไซด์ของส่วนราชการ 3 เดือน 1. อำนวยความสะดวกแก่ผู้มาติดต่อราชการ หรือการช่วยเหลือและอำนวยความสะดวกแก่ข้าราชการ 2. ดำเนินการในที่ดิน อาคารหรือสถานที่ที่อยู่ในความครอบครอง หรือกำกับดูแลของส่วนราชการ และได้รับอนุมัติให้ใช้จากส่วนราชการหรือกรมธนารักษ์ฯ 3. มีความเสี่ยงในการลงทุนน้อย และคณะกรรมการฯ รับได้ 4. ต้องไม่กระทบกับภารกิจหลักของส่วนราชการ ประโยชน์ และเกียรติของทางราชการ 5. ไม่ทำให้สิ่งแวดล้อม คุณภาพชีวิต และความปลอดภัยของข้าราชการในสถานที่ที่ปฏิบัติงานลดลง 6. ไม่เสื่อมเสียศีลธรรม วัฒนธรรม 7. ราคาค่าบริการต้องเป็นธรรมและไม่ใช่การบังคับให้ผู้รับบริการต้องใช้บริการ
36
ตัวอย่างกิจกรรมที่ดำเนินการจัดสวัสดิการภายในจังหวัด
ร้านค้าสวัสดิการ โรงอาหาร ร้านอาหารสวัสดิการ การให้กู้เงินดอกเบี้ยต่ำ การสงเคราะห์ข้าราชการกรณีต่าง ๆ การจัดฝึกอาชีพเสริมรายได้ ฯลฯ
37
ขั้นตอนการจัดกิจกรรมสวัสดิการภายในจังหวัด
ตั้งคณะอนุกรรมการหรือคณะทำงาน สำรวจความต้องการของสมาชิก ศึกษาความเป็นไปได้/ผลกระทบของการดำเนินโครงการ จัดทำโครงการเสนอต่อคณะกรรมการ ขออนุมัติโครงการต่อคณะกรรมการ ดำเนินกิจกรรม ติดตามประเมินผล ปรับปรุงการดำเนินการการจัดสวัสดิการ
38
หลักในการพิจารณาจัดสวัสดิการภายในส่วนราชการ
ความต้องการของสมาชิก ประโยชน์ของสมาชิกโดยรวม ความเป็นธรรมของสมาชิก คณะกรรมการสวัสดิการภายในจังหวัด สามารถรับผิดชอบต่อความเสียหายที่เกิดขึ้นได้ ผลกระทบอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง เช่น ไม่ทำให้สภาพแวดล้อมเสื่อมเสีย ไม่ผิดศีลธรรม ไม่ขัดกับกฎหมาย เป็นต้น
39
Thank You
งานนำเสนอที่คล้ายกัน
© 2024 SlidePlayer.in.th Inc.
All rights reserved.