งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๖ โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


งานนำเสนอเรื่อง: "ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๖ โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา"— ใบสำเนางานนำเสนอ:

1 ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๖ โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา
สามัคคีเภทคำฉันท์ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๖ โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา อาจารย์ ดร.บัวลักษณ์ นาคทรงแก้ว

2 สามัคคีเภทคำฉันท์ สามัคคีเภทคำฉันท์ เป็นนิทานสุภาษิตคำฉันท์ขนาดสั้นไม่กี่สิบหน้ากระดาษเท่านั้น แต่ได้รับการยกย่องว่าแต่งดี มีความงดงาม ทางวรรณศิลป์ ทั้งยังได้รับการคัดเลือกเป็นหนังสือประกอบการเรียนการสอนในวิชาภาษาไทยด้วย

3 ผู้แต่ง นายชิต บุรทัต มีชีวิตอยู่ระหว่างปี พ.ศ. ๒๔๕๕ – ๒๔๘๕ ได้รับการศึกษาที่โรงเรียนวัดราชบพิตร และโรงเรียนวัดสุทัศน์ เมื่ออายุได้ ๑๑ ปี บวชเป็นสามเณรที่วัดราชบพิตรและที่วัดบวรนิเวศ เป็นศิษย์ของสมเด็จพระยาวชิรญาณวโรรส นายชิตเป็นผู้ชำนาญในการแต่งฉันท์มาก ใช้นามปากกาว่า เอกชน เจ้าเงาะ และแมวคราว นายชิตถึงแก่กรรมเมื่อ พ.ศ. ๒๔๘๕

4 การแบ่ง, การแยก, การแตกออก
สามัคคีเภทคำฉันท์ สามัคคี+เภท = สมาส การแบ่ง, การแยก, การแตกออก ในสมัยรัชกาลที่ ๖ เกิดวิกฤตการณ์ กบฏ ร.ศ. ๑๓๐ และสงครามโลกครั้งที่ ๑ ส่งผลกระทบต่อความมั่นคงของบ้านเมือง ทำให้เกิดวรรณคดีปลุกใจให้รักชาติขึ้นเป็นจำนวนมาก นายชิต บุรทัต จึงแต่งเรื่องนี้ขึ้นใน พ.ศ. ๒๔๕๗ มุ่งชี้ความสำคัญของการรวมเป็นหมู่คณะ เป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกัน รักษาบ้านเมืองให้มีความมั่นคง เดิมเป็นนิทานสุภาษิตที่แปลมาจากภาษาบาลีในอรรถกถาสุมังคลวิลาสินี ทีฆนิกาย มหาวรรค ผู้แต่งมีจุดประสงค์เพื่อจะทูลเกล้า ฯ ถวายรัชกาลที่ ๖ และหวังจะได้ทรงพระอนุเคราะห์ตรวจแก้ไข แต่พระองค์เสด็จสวรรคตเสียก่อน ต่อมาสมเด็จกรมพระยาดำรงฯ ได้ขอเรื่องนี้มาพิมพ์แจก และเจ้าพระยาธรรมศักดิ์มนตรี ในฐานะที่เป็นเสนาบดีว่าการกระทรวงธรรมการได้นำมาเป็นบทเรียนในชั้นเรียน

5 จุดมุ่งหมายของเรื่อง
เพื่อมุ่งชี้ความสำคัญของการรวมเป็นหมู่คณะ เป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกันเพื่อป้องกันรักษาบ้านเมืองให้มีความเป็นปึกแผ่น สามัคคีเภทคำฉันท์ เป็นกวีนิทานสุภาษิต ว่าด้วย “โทษแห่งการแตกสามัคคี” ภายหลังได้รับการยกย่องเป็นตำราเรียนวรรณกรรมไทยที่สำคัญเล่มหนึ่งทั้งในอดีตและปัจจุบัน

6 ลักษณะคำประพันธ์ แต่งเป็นบทร้อยกรอง โดยนำฉันท์ชนิดต่าง ๆ มาใช้สลับกันอย่างเหมาะสมกับเนื้อหาแต่ละตอน ประกอบด้วยฉันท์ ๑๘ ชนิด ได้แก่ ๑. กมลฉันท์ ๒. จิตรปทาฉันท์ ๓โตฏกฉันท์ ๔. ภุชงคประยาตฉันท์ ๕. มาณวกฉันท์ ๖. มาลินีฉันท์ ๗. วสันตดิลกฉันท์ ๘. วังสัฏฐฉันท์ ๙. วิชชุมมาลาฉันท์ ๑๐. สัททุลวิกกีฬิตฉันท์ ๑๑. สัทธราฉันท์ ๑๒. สาลินีฉันท์ ๑๓. อินทรวิเชียรฉันท์ ๑๔. อินทรวงศ์ฉันท์ ๑๕. อีทิสังฉันท์ ๑๖. อุปชาติฉันท์ ๑๗. อุปัฏฐิตาฉันท์ ๑๘. อุเปนทรวิเชียรฉันท์ และ กาพย์ ๒ ชนิด คือ กาพย์ฉบัง ๑๖ และ กาพย์สุรางคนางค์ ๒๘

7 คำฉันท์ เป็นคำประพันธ์ที่ได้แบบอย่างมาจากอินเดีย เดิมแต่งเป็นภาษาบาลี และสันสกฤต ไทยนำเปลี่ยนแปลงลักษณะบางอย่างเพื่อให้สอดคล้องกับความนิยมในคำประพันธ์ไทย ตำราฉันท์ที่เป็นแบบฉบับของฉันท์ไทย คือ คัมภีร์วุตโตทัย กำหนดครุ ลหุ และสัมผัสเป็นมาตรฐาน

8 ุ ั คำครุ คำลหุ เป็นคำที่ออกเสียงหนัก มีตัวสะกด
สระเสียงยาว และ อำ ไอ ใอ เอา คำลหุ เป็นคำที่ออกเสียงเบา ไม่มีตัวสะกด สระเสียงสั้น ยกเว้น ก็ บ

9

10 ภุชงคประยาตฉันท์ ๑๒ กษัตริย์ลิจฉวีวาร ระวังเหือดระแวงหาย
ชื่อฉันท์แปลว่า งูหรือนาคเลื้อย ฉันท์นี้มีลีลาประดุจลีลาศของพญานาค ทำนองฉันท์มีความไพเราะสละสลวย นิยมใช้แต่งเกี่ยวกับกับบทชมความงาม ความรัก ความโศก บางครั้งก็ใช้ในบทสดุดีหรือบทถวายพระพรหรือดำเนินเรื่องให้รวดเร็ว เช่น ทิชงค์ชาติฉลาดยล คะเนกลคะนึงการ กษัตริย์ลิจฉวีวาร ระวังเหือดระแวงหาย เหมาะแก่การณ์จะเสกสรร ปวัตน์วัญจโนบาย มล้างเหตุพิเฉทสาย สมัครสนธิ์สโมสร

11

12 มาณวกฉันท์ ๘ ชื่อฉันท์แปลว่า เด็กหนุ่ม เป็นฉันท์ที่มีลีลาเร่งเร้า ผาดโผน คึกคักประดุจเด็กหนุ่ม นิยมใช้กับเรื่องที่ตื่นเต้นและรื่นเริง เช่น ล่วงลุประมาณ กาลอนุกรม หนึ่งณนิยม ท่านทวิชงค์ เมื่อจะประสิทธิ์ วิทยะยง เชิญวรองค์ เอกกุมาร เธอจรตาม พราหมณไป โดยเฉพาะใน ห้องรหุฐาน จึ่งพฤฒิถาม ความพิสดาร ขอธประทาน โทษะและไข

13 บรรยายการดำเนินเรื่อง การเจรจาที่ต้องการดำเนินเรื่อง

14 อุเปนทรวิเชียรฉันท์ ๑๑ ทิชงค์เจาะจงเจตน์ กลห์เหตุยุยงเสริม
ชื่อฉันท์แปลว่า อินทรวิเชียรฉันท์น้อย มีลักษณะคล้ายกับ อินทรวิเชียรฉันท์ ท่วงทำนองของฉันท์เรียบ ๆ เย็น ๆ ไม่กระแทกกระทั้น มักใช้บรรยายเนื้อความเป็นการดำเนินเรื่อง เช่น ทิชงค์เจาะจงเจตน์ กลห์เหตุยุยงเสริม กระหน่ำและซ้ำเติม นฤพัทธก่อการณ์ ละครั้งระหว่างครา ทินวารนานนาน เหมาะท่าทิชาจารย์ ธก็เชิญเสด็จไป

15 พรรณนาความงาม ความโศกอย่างลึกซึ้ง
สัทธราฉันท์ ๒๑ พรรณนาความงาม ความโศกอย่างลึกซึ้ง หรือบรรยายความ

16 สัทธราฉันท์ ๒๑ ครั้นล่วงสามปีประมาณมา สหกรณประดา ลิจฉวีรา ชทั้งหลาย
ชื่อฉันท์มีความหมายว่า ฉันท์ที่มีลีลาวิจิตรงดงามประดุจสตรีเพศผู้ประดับด้วยพวงมาลัย มักใช้เป็นฉันท์พรรณนาความงามหรือความโศกอย่างลึกซึ้งหรือบรรยายความก็ได้ เช่น ครั้นล่วงสามปีประมาณมา สหกรณประดา ลิจฉวีรา ชทั้งหลาย สามัคคีธรรมทำลาย มิตรภิทนะกระจาย สรรพเสื่อมหายน์ ก็เป็นไป

17

18 สาลินีฉันท์ ๑๑ วัชชีภูมีผอง สดับกลองกระหึมขา
ชื่อฉันท์มีความหมายว่า ฉันท์ที่มากไปด้วยครุซึ่งเปรียบเสมือนแก่นหรือหลัก เป็นฉันท์ที่มีเสียงครุมาก มักใช้บรรยายความในการดำเนินเรื่อง เช่น วัชชีภูมีผอง สดับกลองกระหึมขา ทุกไท้ไป่เอาภาร ณกิจเพื่อเสด็จไป ต่างทรงรับสั่งว่า จะเรียกหาประชุมไย เ เราใช่เป็นใหญ่ใจ ก็ขลาดกลัวบ่กล้าหาญ

19 ความรู้สึกอ่อนไหว เศร้าหมอง คร่ำครวญ พรรณนาแสดงความอาลัยรัก
อุปัฎฐิตาฉันท์ ๑๑ ความรู้สึกอ่อนไหว เศร้าหมอง คร่ำครวญ พรรณนาแสดงความอาลัยรัก

20 อุปัฎฐิตาฉันท์ ๑๑ เห็นเชิงพิเคราะห์ช่อง ชนะคล่องประสบสม
ชื่อฉันท์หมายความว่า ฉันท์ที่กล่าวสำเนียงอันดังก้องให้ปรากฏ กวีนิยมใช้บรรยายความทั่วไป เช่น เห็นเชิงพิเคราะห์ช่อง ชนะคล่องประสบสม พราหมณ์เวทอุดม ธก็ลอบแถลงการณ์ ให้วัลลภชน คมดลประเทศฐาน กราบทูลนฤบาล อภิเผ้ามคธไกร

21

22 วิชชุมมาลาฉันท์ ๘ ชื่อของฉันท์แปลว่า ระเบียบแห่งสายฟ้า เป็นฉันท์ที่มีเสียงหนักหรือคำครุล้วน เสียงอ่านจึงสั้น กระชับ รวดเร็ว ใช้บรรยายความที่แสดงความรู้สึกในทางวุ่นวายใจ เช่น ข่าวเศิกเอิกอึง ทราบถึงบัดดล ในหมู่ผู้คน ชาวเวสาลี แทบทุกถิ่นหมด ชนบทบูรี อกสั่นขวัญหนี หวาดกลัวทั่วไป ตื่นตาหน้าเผือด หมดเลือดสั่นกาย หลบลี้หนีตาย วุ่นหวั่นพรั่นใจ ซุกครอกซอกครัว ซ่อนตัวแตกภัย เข้าดงพงไพร ทิ้งย่านบ้านตน

23

24 อินทรวิเชียรฉันท์ ๑๑ ชื่อฉันท์นี้แปลว่า เพชรของพระอินทร์ ซึ่งมีลักษณะแสงระยิบระยับ เป็นฉันท์ที่มีลีลาเสนาะ จังหวะสละสลวยอีกแบบหนึ่ง กวีนิยมใช้พรรณนาสิ่งที่สวยงาม พรรณนาความน่าเอ็นดู ความน่าสงสาร บางครั้งก็ใช้บรรยายความเพื่อแสดงความรู้สึกที่อ่อนไหว เศร้าหมอง เยือกเย็น เช่น พรรณนาให้เห็นความเสียสละของวัสสการพราหมณ์ว่า โดยเต็มกตัญญู กตเวทิตาครัน ใหญ่ยิ่งและยากอัน นรอื่นจะอาจทน หยั่งชอบนิยมเชื่อ สละเนื้อและเลือดตน ยอมรับทุเรศผล ขรการณ์พะพานกาย ไป่เห็นกะเจ็บแสบ ชิวแทบจะทำลาย มอบสัตย์สมรรถหมาย มนมั่นมิหวั่นไหว

25 ความรู้สึกคึกคะนอง ตื่นเต้น สับสนอลหม่าน

26 จิตรปทาฉันท์ ๘ นาครธา นิวิสาลี เห็นริปุมี พลมากมาย
เป็นฉันท์ที่มีทำนองเสียงกระชับคล้ายมาณวกฉันท์ เพราะมีเสียงลหุใกล้ชิดกัน จึงให้ความรู้สึกคึกคะนอง ตื่นเต้น จึงใช้ในลีลาแห่งความตื่นเต้น ความสับสนอลหม่าน เช่น นาครธา นิวิสาลี เห็นริปุมี พลมากมาย ข้ามติรชล ก็ลุพ้นหมาย มุ่งจะทลาย พระนครตน ต่างก็ตระหนก มนอกเต้น ตื่นบมิเว้น ตะละผู้คน ทั่วบุรคา มจลาจล เ สียงอลวน อลเวงไป

27 สัททุลวิกีฬิต ฉันท์๑๙ สัททุลวิกกีฬิตฉันท์ ๑๙ (สัด - ทุน-ละ-วิก-กี-ลิ-ตะ-ฉัน) ฉันท์ที่มีลีลาประดุจเสือคะนอง

28 สัททุลวิกกีฬิตฉันท์ ๑๙ ชื่อของฉันท์แปลว่า เสือผยอง เพราะมีลีลาประดุจกิริยาแห่ง เสือโคร่ง มีลีลาท่วงทำนองเคร่งขรึม เอาจริงเอาจัง ให้ความรู้สึกว่าศักดิ์สิทธิ์ มีสง่า จึงนิยมใช้แต่งบทประณามพจน์เป็นการไหว้ครู หรือกล่าวยอ พระเกียรติหรือสรรเสริญพระมหากษัตริย์ หรือสิ่งศักดิ์สิทธิ์ต่าง ๆ เช่น ไหว้คุณองค์พระสุคตอนาวรณญาณ ยอดศาสดาจารย์ มุนี อีกคุณสุนทรธรรมคัมภิรวิธี พุทธพจน์ประชุมตรี ปิฎก

29 ใช้แสดงอารมณ์โกรธ

30 อีทิสังฉันท์ ๒๐ ฉันท์นี้มีทำนองสะบัดสะบิ้ง กระโชกกระชั้น เพราะใช้เสียงครุและเสียงลหุสลับกัน ทำให้เสียงกระแทกกระทั้น เหมาะสำหรับใช้พรรณนาความรู้สึกที่รุนแรง เช่น พรรณนาความโกรธ ความรัก ความตื่นเต้นที่แสดงออกถึงอารมณ์ เช่น เออุเหม่นะมึงชิช่างกระไร ทุทาสสถุลฉะนี้ไฉน ก็มาเป็น ศึกบ่ถึงและมึงก็ยังมิเห็น จะน้อยจะมากจะยากจะเย็น ประการใด อวดฉลาดเพราะคาดแถลงเพราะใจ ขยาดขยั้นมิทันอะไร ก็หมิ่นกู

31 เป็นฉันท์ที่ได้รับการยกย่องว่าไพเราะมากที่สุด

32 วสันตดิลกฉันท์ ๑๔ ชื่อฉันท์แปลว่า ความงามในฤดูฝน เป็นฉันท์ที่มีลีลางดงามอ่อนช้อยประดุจความงามของหยาดน้ำฝนทั้งเล็กและใหญ่สลับกันในฤดูฝน มีความไพเราะมากฉันท์หนึ่ง ใช้สำหรับพรรณนาสิ่งที่สวยงาม เช่น ชมบ้านเมือง ชมธรรมชาติ ชมความงามของสตรี เป็นต้น ทำให้ผู้ฟังรู้สึกไพเราะและซาบซึ้งกับความงามนั้น ๆ เช่น สามยอดตลอดระยะระยับ วะวะวับสลับพรรณ ช่อฟ้าตระการกละจะหยัน จะเยาะยั่วทิฆัมพ หางหงส์ผจงพิจิตรงอน ดุจกวักนภาลัย รอบด้านตระหง่านจตุรมุข พิศสุกอร่ามใส กาญจน์แกมมณีกนกไพ ฑุรย์พร่างพะแพรวพราย

33 โตฏกฉันท์ ๑๒ ชื่อฉันท์แปลว่า ปฏักแทงโค เป็นฉันท์ที่มีลีลากระชั้นคึกคักประดุจนายโคบาลแทงโคด้วยปฏัก กวีนิยมใช้กับเนื้อเรื่องที่แสดงความโกรธเคือง ร้อนรน หรือคึกคะนอง สนุกสนาน เช่น ประลุฤกษมุหุต ทินอุตตมไกร รณรงควิชัย ยะดิถีศุภยาม ทิชพฤติปุโร หิตโกวิทพราหมณ์ ก็ประกอบกิจตาม นิติไสยพิธี

34 กมลฉันท์ ๑๒ ผิวกาลมัชฌัน ติกอันรวีสา หสร้อนและอ่อนกา ยสกนธ์พหลหาญ
ชื่อฉันท์แปลว่า ดอกบัว ลีลาของฉันท์มีเสียงครุลหุสลับกัน จึงเป็นเสียงเร่งเร้า กระฉับกระเฉง ใช้แต่งพรรณนาเหตุการณ์ที่คลี่คลายอย่างรวดเร็ว เช่น ผิวกาลมัชฌัน ติกอันรวีสา หสร้อนและอ่อนกา ยสกนธ์พหลหาญ ก็มิรีบมิรัดเอื้อ ธุระเพื่อสบายบาน พลปรีดิสำราญ สุขพอก็ต่อไป

35 อินทรวงศ์ฉันท์ ๑๒ หลากเหลือจะเชื่อจิต ผิวคิดประหวั่นพะ
ชื่อฉันท์แปลว่า เหล่ากอพระอินทร์ มีลักษณะคล้ายอินทรวิเชียร แต่วรรคหลังเพิ่มลหุขึ้นก่อนคำท้ายอีก ๑ คำ ทำให้ลีลาสะบัดสะบิ้ง ตอนลงจบคล้ายท่วงทำนองขลุ่ยหรือปี่ จึงมีผู้แปลชื่อฉันท์ชนิดนี้ว่าขลุ่ยหรือปี่ของพระอินทร์อีกชื่อหนึ่ง นิยมใช้ในการพรรณนาความรู้สึกอันไม่ราบรื่นของตัวละครหรือบรรยายความ เช่น หลากเหลือจะเชื่อจิต ผิวคิดประหวั่นพะ เมตตาและเต็มปลง มนจักประคับประคอง หนักข้างระคางอยู่ บมิรู้จะรับจะรอง ภายหลังก็ตั้งตรอง ตริฤเว้นระวังระแวง

36 มาลินีฉันท์ ๑๕ กษณะทวิชะรับฐา นันดร์และที่วาจกาจารย์
ชื่อฉันท์แปลว่า ดอกไม้ เป็นฉันท์ที่แต่งยากแต่ทว่ามีความงามประดุจดอกไม้ ทำนองฉันท์สั้นกระชับในตอนต้น แล้วราบรื่นในตอนปลาย เป็นฉันท์ที่มีท่วงทำนองเคร่งขรึมน่ายำเกรง กวีมักใช้แต่งเพื่ออวดความสามารถในการใช้ศัพท์และเป็นเชิงกลบท เช่น กษณะทวิชะรับฐา นันดร์และที่วาจกาจารย์ นิรอลสะประกอบภาร พีริโยฬารและเต็มใจ

37 อุปชาติฉันท์ ๑๑ สดับประกาศิต ระบุกิจวโรงการ จึ่งราชสมภาร พจนาถประภาษไป
ชื่อฉันท์มีความหมายว่า ฉันท์ที่แต่งด้วยอินทรวิเชียรฉันท์และอุเปนทรวิชียรฉันท์ปนกัน นิยมแต่งเพื่อบรรยายความในการดำเนินเรื่องหรือบทเจรจาของตัวละคร เช่น สดับประกาศิต ระบุกิจวโรงการ จึ่งราชสมภาร พจนาถประภาษไป เราคิดจะใคร่ยก พยุห์พลสกลไกร ประชุมประชิดชัย รณรัฐวัชชี

38 วังสัฎฐฉันท์ ๑๒ ประชุมกษัตริย์รา ชสภาสดับคะนึง
ชื่อฉันท์มีความหมายว่า เป็นฉันท์ที่มีสำเนียงไพเราะประดุจเสียงปี่ มีลักษณะคล้ายอินทรวงศ์ฉันท์ ใช้บรรยายความเช่นเดียวกับอินทรวงศ์ฉันท์ เช่น ประชุมกษัตริย์รา ชสภาสดับคะนึง คะเนณทุกข์รึง อุระอัดประหวัดประวิง ประกอบระกำพา หิรกายน่าจะจริง มิใช่จะแอบอิง กลอำกระทำอุบาย

39 เนื้อเรื่อง สามัคคีเภทคำฉันท์ดำเนินเรื่องโดยอิงประวัติศาสตร์ครั้งพุทธกาล ว่าด้วยการใช้เล่ห์อุบายทำลายความสามัคคีของเหล่ากษัตริย์ลิจฉวี กรุงเวสาลี แห่งแคว้นวัชชี เนื้อความนี้มีปรากฏในมหาปรินิพพานสูตรแห่งพระไตรปิฎก และอรรถกถาสุมังคลวิสาสินี โดยเล่าถึงกษัตริย์ในสมัยโบราณ ทรงพระนามว่า พระเจ้าอชาตศัตรู แห่งแคว้นมคธ ทรงมีอำมาตย์คนสนิทชื่อ วัสสการพราหมณ์ ทรงมีดำริจะปราบแคว้นวัชชี ซึ่งมีกษัตริย์ลิจฉวีครอบครอง แต่แคว้นวัชชีมีความเป็นปึกแผ่นและปกครองกันด้วยความสามัคคี

40 เนื้อเรื่อง พระเจ้าอชาตศัตรูปรึกษากับวัสสการพราหมณ์เพื่อหาอุบายทำลายความสามัคคีของเหล่ากษัตริย์ลิจฉวี โดยการเนรเทศวัสสการ พราหมณ์ออกจากแคว้นมคธ เดินทางไปยังเมืองเวสาลี แล้วทำอุบายจนได้เข้าเฝ้ากษัตริย์ลิจฉวี และในที่สุดได้เป็นครูสอนศิลปวิทยาแก่ราชกุมารทั้งหลาย ครั้นได้โอกาส ก็ทำอุบายให้ศิษย์แตกร้าวกัน จนเกิดการวิวาท และเป็นเหตุให้ความสามัคคีในหมู่กษัตริย์ลิจฉวีถูกทำลายลง โดยใช้เวลาถึง ๓ ปี เมื่อนั้น พระเจ้าอชาตศัตรูจึงได้กรีธาทัพสู่เมืองเวสาลี สามารถปราบแคว้นวัชชีลงได้อย่างง่ายดาย

41 หลักธรรมสำคัญในสามัคคีเภทคำฉันท์
กษัตริย์ลิจฉวีทุกองค์ล้วนตั้งมั่น อยู่ในธรรมที่เรียกว่า "อปริหานิยธรรม" คือ ธรรมอันเป็นไปเพื่อเหตุแห่งความเจริญฝ่ายเดียว ผู้ปฏิบัติจักไม่เป็นไปในทางเสื่อม อันได้แก่ ๑. เมื่อมีกิจใดเกิดขึ้น ก็ประชุมกันปรึกษาในกิจนั้น ๒. เมื่อประชุมก็พร้อมเพรียงกันประชุม เมื่อเลิกก็พร้อมเพรียงกันเลิก และพร้อมเพรียงกันกระทำกิจอันควรทำ ๓. ถือมั่นตามขนบธรรมเนียมหรือประเพณีอันดีอันชอบที่มีอยู่ ไม่เพิกถอน หรือดัดแปลงเสียใหม่

42 หลักธรรมสำคัญในสามัคคีเภทคำฉันท์
๔. มีความเคารพยำเกรงผู้ที่อยู่ในฐานะเป็นผู้ใหญ่ ทั้งเชื่อถือกระทำตามถ้อยคำบัญชาและคำแนะนำสั่งสอนของผู้เป็นใหญ่นั้น ๕. ไม่ประทุษร้ายข่มเหงบุตรและภริยาของกันและกันด้วยประการใดๆ ๖. ไม่ลบหลู่ดูหมิ่นต่อเจดียสถาน หรือสถานที่ศักดิ์สิทธิ์ และการกระทำพลีกรรมบวงสรวงก็กระทำตามควร ๗. อำนวยความคุ้มครองป้องกันแก่พระอรหันต์ บรรดาที่มีอยู่ในแว่นแคว้นวัชชีให้เป็นสุขและปราศจากภัย

43 ลักษณะตัวละคร พระเจ้าอชาตศัตรู ๒. ทรงตั้งมั่นอยู่ในทศพิธราชธรรม
๑. เป็นกษัตรย์ที่มีพระปรีชาสามารถในการปกครองบ้านเมือง ๒. ทรงตั้งมั่นอยู่ในทศพิธราชธรรม ๓. ทรงมีพระเมตตาต่อพสกนิรของพระองค์ ๔. ทรงมีพระทัยทำนุบำรุงบ้านเมืองให้เจริญรุ่งเรือง ๕. ทรงมีพระทัยที่จะแผ่พระบรมเดชานุภาพ

44 ลักษณะตัวละคร วัสสการพราหมณ์ ๑. มีความรักชาติบ้านเมือง ยอมเสียสละเพื่อประเทศชาติ ๒. มีความจงรักภักดีต่อพระเจ้าอชาตศัตรู ๓. มีความกล้าหาญ เด็ดเดี่ยว เชื่อมั่นในความคิดของตน ๔. มีความรอบคอบและความเพียร

45 ลักษณะตัวละคร บรรดากษัตริย์ลิจฉวี ๒. ทรงมีพระเมตตาอย่างยิ่ง
๑. ในขั้นต้นต่างมีความพร้อมเพรียงอย่างมั่นคง โดยตั้งมั่นอยู่ในอปริหานิยธรรม ๒. ทรงมีพระเมตตาอย่างยิ่ง ๓. ขาดวิจารณญาณ ทรงเชื่อพระโอรสที่ทูลเรื่องราวซึ่งวัสสการ พราหมณ์ยุแหย่

46 ลักษณะตัวละคร โอรสกษัตริย์ลิจฉวี
บรรดาโอรสทั้งหลายล้วนอยู่ในวัยเด็กและเพิ่งจะรุ่นหนุ่ม ยังอ่อนต่อความคิด เมื่อวัสสการพราหมณ์คอยยุแหย่ให้กินแหนงแคลงใจกัน ก็ขาดสติยั้งคิดไตร่ตรอง จึงทำให้เกิดความบาดหมางใจกันและเป็นเหตุให้ผู้ใหญ่เกิดความแตกแยกและถึงความพินาศในที่สุด

47 คุณค่าของเรื่อง คุณค่าทางด้านสังคม
๑. ด้านวัฒนธรรมประเพณี ๑.๑ การปกครองแบบมีสภาของกษัตริย์ลิจฉวี มีระบบระเบียบในการปกครองที่เข้มแข็งเป็นปึกแผ่น จนข้าศึกยกที่จะเอาชนะได้ ๑.๒ วัฒนธรรมด้านการศึกษา ที่โอรสของกษัตริย์มาเรียนร่วมกันโดยมีพราหมณ์ผู้มีความรู้เป็นครูผู้สอน

48 คุณค่าของเรื่อง คุณค่าทางด้านสังคม ๒. ด้านข้อคิดและคติสอนใจ ๒.๑ ความสามัคคีเป็นสิ่งสำคัญที่สุดทำให้หมู่คณะยืนหยัดยู่ได้อย่างสงบสุข ๒.๒ การเชื่อคนโดยไม่พิจารณาไตร่ตรอง ทำให้เกิดผลเสียหาย ๒.๓ การกระทำทุกสิ่งทุกอย่างต้องวางแผนอย่างรอบคอบ จึงประสบผลสำเร็จ

49 คุณค่าของเรื่อง คุณค่าทางด้านวรรณศิลป์ ๑. แต่งเป็นคำประพันธ์ประเภทฉันท์ โดยใช้ฉันท์ชนิดต่าง ๆ ถึง ๑๘ ชนิด โดยลีลาของฉันท์แต่ละชนิดที่นำมาแต่งนั้นล้วนแล้วแต่เหมาะสมกับเนื้อหาเป็นอย่างยิ่ง ๒. การเล่นเสียงสัมผัส ทั้งสัมผัสพยัญชนะ และสัมผัสสระ ทำให้ฉันท์มีความไพเราะงดงาม ฟังแล้วรื่นหู เช่น พระราชบุตรลิจ ฉวิมิตรจิตเมิน ณกันและกันเหิน คณะห่างก็ต่างถือ ทะนงชนกตน พลล้นเถลิงลือ ก็หาญกระเหิมฮือ มนฮึกบนึกขาม

50 คุณค่าของเรื่อง คุณค่าทางด้านวรรณศิลป์ ๓. การพรรณนาที่สมจริง โดยใช้ถ้อยคำที่เรียบง่าย ฟังแล้วเข้าใจได้ทันที ทำให้ผู้อ่านเกิดจินตภาพ เช่น ต่างก็ตระหนก มนอกเต้น ตื่นบ่มิเว้น ตละผู้คน ทั่วบุรคา มจลาจล เสียงอลวน อลเวงไป

51 คุณค่าของเรื่อง คุณค่าทางด้านวรรณศิลป์ ๔. การเปรียบเทียบ มีบางตอนที่เปรียบเทียบคมคาย ทำให้ผู้อ่านเข้าใจเรื่องได้ดียิ่งขึ้น เช่น ภินท์พัทธสามัค คิยพรรคพระราชา ชาวริจฉวีวา รจะพ้องอนัตถ์ภัย ลูกข่างประดาทา รกกาลขว้างไป หมุนเล่นสนุกไฉน ดุจกันฉะนั้นหนอ

52 บทสรุปเรื่อง ๏ แม้มากผิกิ่งไม้ ผิวใครจะใคร่ลอง
๏ แม้มากผิกิ่งไม้ ผิวใครจะใคร่ลอง มัดกำกระนั้นปอง พลหักก็เต็มทน ตั้งใจใช้กำลังหัก ๏ เหล่าไหนผิไมตรี สละลี้ณหมู่ตน กิจใดจะขวายขวน บมิพร้อมมิเพรียงกัน ๏ อย่าปรารถนาหวัง สุขทั้งเจริญอัน มวลมาอุบัติบรร ลุไฉนบได้มี ๏ ปวงทุกข์พิบัติสรร พภยันตรายกลี แม้ปราศนิยมปรี ติประสงค์ก็คงสม ๏ ควรชนประชุมเช่น คณะเป็นสมาคม สามัคคิปรารม ภนิพัทธรำพึง น. สิ่งร้าย, โทษ ว. เสมอ

53 ๏ ไป่มีก็ให้มี ผิวมีก็คำนึง เนื่องเพื่อภิยโยจึง จะประสบสุขาลัย ฯ
๏ ไป่มีก็ให้มี ผิวมีก็คำนึง เนื่องเพื่อภิยโยจึง จะประสบสุขาลัย ฯ ว. ยิ่ง, ยิ่งขึ้นไป

54 เล่าเรื่องสามัคคีเภทคำฉันท์
ถอดความคำประพันธ์ การเลือกใช้คำประพันธ์ รสวรรณคดีไทยในสามัคคีเภทฯ ครูกร

55 ถอดคำประพันธ์ เรื่อง สามัคคีเภทคำฉันท์
ถอดคำประพันธ์ เรื่อง สามัคคีเภทคำฉันท์

56 วัสสการพราหมณ์เริ่มทำอุบายทำลายสามัคคี
ภุชงคประยาต ฉันท์ฯ ทิชงค์ชาติฉลาดยล คะเนกลคะนึงการ กษัตริย์ลิจฉวีวาร ระวังเหือดระแวงหาย เหมาะแก่การณ์จะเสกสรร ปวัตน์วัญจโนบาย มล้างเหตุพิเฉทสาย สมัครสนธิ์สโมสร ถอดความได้ว่า พราหมณ์ผู้ฉลาดคาดคะเนว่ากษัตริย์ลิจฉวีวางใจคลายความหวาดระแวง เป็นโอกาสเหมาะที่จะเริ่มดำเนินการตามกลอุบายทำลายความสามัคคี

57 วัสสการพราหมณ์เริ่มทำอุบายทำลายสามัคคี
ภุชงคประยาต ฉันท์ฯ ณวันหนึ่งลุถึงกา ลศึกษาพิชากร กุมารลิจฉวีวร เสด็จพร้อมประชุมกัน ตระบัดวัสสการมา สถานราชเรียนพลัน ธแกล้งเชิญกุมารฉัน สนิทหนึ่งพระองค์ไป ลุห้องหับรโหฐาน ก็ถามการณ์ ณ ทันใด มิลี้ลับอะไรใน กถาเช่นธปุจฉา ถอดความได้ว่า วันหนึ่งเมื่อถึงโอกาสที่จะสอนวิชา กุมารลิจฉวีก็เสด็จมาโดยพร้อมเพรียงกัน ทันใดวัสสการพราหมณ์ก็มาถึงและแกล้งเชิญพระกุมารพระองค์ที่สนิทสนมเข้าไปพบในห้องส่วนตัว แล้วก็ทูลถามเรื่องที่ไม่ใช่ความลับแต่ประการใด

58 วัสสการพราหมณ์เริ่มทำอุบายทำลายสามัคคี
ภุชงคประยาต ฉันท์ฯ จะถูกผิดกระไรอยู่ มนุษย์ผู้กระทำนา และคู่โคก็จูงมา ประเทียบไถมิใช่หรือ กุมารลิจฉวีขัตติย์ ก็รับอรรถอออือ กสิกเขากระทำคือ ประดุจคำพระอาจารย์ ก็เท่านั้นธเชิญให้ นิวัตในมิช้านาน ประสิทธิ์ศิลป์ประศาสน์สาร สมัยเลิกลุเวลา ถอดความได้ว่า ดังเช่นถามว่า ชาวนาจูงโคมาคู่หนึ่งเพื่อเทียมไถใช่หรือไม่ พระกุมารลิจฉวีก็รับสั่งเห็นด้วยว่าชาวนาก็คงจะกระทำดังคำของพระอาจารย์ ถามเพียงเท่านั้นพราหมณ์ก็เชิญให้เสด็จกลับออกไป

59 วัสสการพราหมณ์เริ่มทำอุบายทำลายสามัคคี
ภุชงคประยาต ฉันท์ฯ อุรสลิจฉวีสรร พชวนกันเสด็จมา และต่างซักกุมารรา ชองค์นั้นจะเอาความ พระอาจารย์สิเรียกไป ณข้างในธไต่ถาม อะไรเธอเสนอตาม วจีสัตย์กะส่ำเรา กุมารนั้นสนองสา รวากย์วาทตามเลา เฉลยพจน์กะครูเสา วภาพโดยคดีมา ถอดความได้ว่า ครั้นถึงเวลาเลิกเรียนเหล่าโอรสลิจฉวีก็พากันมาซักไซ้พระกุมารว่าพระอาจารย์เรียกเข้าไปข้างใน ได้ไต่ถามอะไรบ้าง ขอให้บอกมาตามความจริง พระกุมารพระองค์นั้นก็เล่าเรื่องราวที่พระอาจารย์เรียกไปถาม

60 วัสสการพราหมณ์เริ่มทำอุบายทำลายสามัคคี
ภุชงคประยาต ฉันท์ฯ กุมารอื่นก็สงสัย มิเชื่อในพระวาจา สหายราชธพรรณนา และต่างองค์ก็พาที ไฉนเลยพระครูเรา จะพูดเปล่าประโยชน์มี เลอะเหลวนักละล้วนนี รผลเห็นบเป็นไป เถอะถึงถ้าจะจริงแม้ ธ พูดแท้ก็ทำไม แนะชวนเข้าณข้างใน จะถามนอกบยากเย็น ถอดความได้ว่า แต่เหล่ากุมารสงสัยไม่เชื่อคำพูดของพระสหาย ต่างองค์ก็วิจารณ์ว่าพระอาจารย์จะพูดเรื่องเหลวไหลไร้สาระเช่นนี้เป็นไปไม่ได้ และหากว่าจะพูดจริงเหตุใดจะต้องเรียกเข้าไปถามข้างในห้อง ถามข้างนอกห้องก็ได้

61 วัสสการพราหมณ์เริ่มทำอุบายทำลายสามัคคี
ภุชงคประยาต ฉันท์ฯ ชะรอยว่าทิชาจารย์ ธคิดอ่านกะท่านเป็น รหัสเหตุประเภทเห็น ละแน่ชัดถนัดความ และท่านมามุสาวาท มิกล้าอาจจะบอกตา พจีจริงพยายาม ไถลแสร้งแถลงสาร ถอดความได้ว่า สงสัยว่าท่านอาจารย์กับพระกุมารต้องมีความลับอย่างแน่นอน แล้วก็มาพูดโกหก ไม่กล้าบอกตามความเป็นจริง แกล้งพูดไปต่าง ๆ นานา

62 วัสสการพราหมณ์เริ่มทำอุบายทำลายสามัคคี
ภุชงคประยาต ฉันท์ฯ กุมารราชมิตรผอง ก็สอดคล้องและแคลงดาล พิโรธกาจวิวาทการณ์ อุบัติขึ้นเพราะขุ่นเคือง พิพิธพันธไมตรี ประดามีนิรันดร์เนือง กะองค์นั้นก็พลันเปลือง มลายปลาตพินาศปลงฯ ถอดความได้ว่า กุมารลิจฉวีทั้งหลายเห็นสอดคล้องกันก็เกิดความโกรธเคือง การทะเลาะวิวาทก็เกิดขึ้นเพราะความขุ่นเคืองใจ ความสัมพันธ์อันดีที่เคยมีมาตลอดก็ถูกทำลายย่อยยับลง

63 มาณวกฉันท์ ล่วงลุประมาณ กาลอนุกรม หนึ่งณนิยม ท่านทวิชงค์ เมื่อจะประสิทธิ์ วิทยะยง เชิญวรองค์ เอกกุมาร เธอจรตาม พราหมณไป โดยเฉพาะใน ห้องรหุฐาน จึ่งพฤฒิถาม ความพิสดา ขอธประทาน โทษะและไข ถอดความได้ว่า เวลาผ่านไปตามลำดับ เมื่อถึงคราวที่จะสอนวิชาก็จะเชิญพระกุมารพระองค์หนึ่ง พระกุมารก็ตามพราหมณ์เข้าไปในห้องเฉพาะ พราหมณ์จึงถามเนื้อความแปลก ๆ ว่า ขออภัย ช่วยตอบด้วย

64 มาณวกฉันท์ อย่าติและหลู่ ครูจะเฉลย เธอน่ะเสวย ภัตกะอะไร ในทินนี่ ดีฤไฉน พอหฤทัย ยิ่งละกระมัง ราชธก็เล่า เค้าณประโยค ตนบริโภค แล้วขณะหลัง วาทะประเทือง เรื่องสิประทัง อาคมยัง สิกขสภา ถอดความได้ว่า อย่าหาว่าตำหนิหรือลบหลู่ ครูขอถามว่าวันนี้พระกุมารเสวยพระกระยาหารอะไร รสชาติดีหรือไม่ พอพระทัยมากหรือไม่ พระกุมารก็เล่าเรื่องเกี่ยวกับพระกระยาหารที่เสวย หลังจากนั้นก็สนทนาเรื่องทั่วไป แล้วก็เสด็จกลับออกมายังห้องเรียน

65 มาณวกฉันท์ เสร็จอนุศาสน์ ราชอุรส ลิจฉวิหมด ต่างธก็มา ถามนยมาน ท่านพฤฒิอา จารยปรา รภกระไร เธอก็แถลง แจ้งระบุมวล ความเฉพาะล้วน จริงหฤทัย ต่างบมิเชื่อ เมื่อตริไฉน จึ่งผลใน เหตุบมิสม ถอดความได้ว่า เมื่อเสร็จสิ้นการสอนราชกุมารลิจฉวีทั้งหมดก็มาถามเรื่องราวที่มีมาว่าท่านอาจารย์ได้พูดเรื่องอะไรบ้าง พระกุมารก็ตอบตามความจริง แต่เหล่ากุมารต่างไม่เชื่อ เพราะคิดแล้วไม่สมเหตุสมผล

66 มาณวกฉันท์ ขุ่นมนเคือง เรื่องนฤสาร เช่นกะกุมาร ก่อนก็ระ เลิกสละแยก แตกคณะกล เกลียวบนิยม คบดุจเดิม ถอดความได้ว่า ต่างขุ่นเคืองใจด้วยเรื่องไร้สาระเช่นเดียวกับพระกุมารพระองค์ก่อน และเกิดความแตกแยกไม่คบกันอย่างกลมเกลียวเหมือนเดิม

67 อุเปนทรวิเชียร ฉันท์ ทิชงค์เจาะจงเจตน์ กลห์เหตุยุยงเสริม กระหน่ำและซ้ำเติม นฤพัทธก่อการณ์ ละครั้งระหว่างครา ทินวารนานนาน เหมาะท่าทิชาจารย์ ธก็เชิญเสด็จไป บห่อนจะมีสา รฤหาประโยชน์ไร กระนั้นเสมอนัย เสาะแสดงธแสร้งถาม ถอดความได้ว่า พราหมณ์เจตนาหาเหตุยุแหย่ซ้ำเติมอยู่เสมอ ๆ แต่ละครั้ง แต่ละวัน นานนานครั้ง เห็นโอกาสเหมาะก็จะเชิญพระกุมารเสด็จไปโดยไม่มีสารประโยชน์อันใด แล้วก็แกล้งทูลถาม

68 อุเปนทรวิเชียร ฉันท์ และบ้างก็พูดว่า น่ะแน่ะข้าสดับตาม ยุบลระบิลความ พจแจ้งกระจายมา ละเมิดติเตียนท่าน ก็เพราะท่านสิแสนสา พัดทลิทภา วและสุดจะขัดสน จะแน่มิแน่เหลือ พิเคราะห์เชื่อเพราะยากยล ณที่บมีคน ธก็ควรขยายความ ถอดความได้ว่า บางครั้งก็พูดว่า นี่แน่ะข้าพระองค์ได้ยินข่าวเล่าลือกันทั่วไป เขานินทาพระกุมารว่าพระองค์แสนจะยากจนและขัดสน จะเป็นเช่นนั้นแน่หรือ พิเคราะห์แล้วไม่น่าเชื่อ ณ ที่นี้ไม่มีผู้ใด ขอให้ทรงเล่ามาเถิด

69 อุเปนทรวิเชียร ฉันท์ และบ้างก็กล่าวว่า น่ะแน่ะข้าจะขอถาม เพราะทราบคดีตาม วจลือระบือมา ติฉินเยาะหมิ่นท่าน ก็เพราะท่านสิแสนสา รพันพิกลกา ยพิลึกประหลาดเป็น จะจริงมิจริงเหลือ มนเชื่อเพราะไป่เห็น ผิข้อบลำเค็ญ ธก็ควรขยายความ ถอดความได้ว่า บางครั้งก็พูดว่าข้าพระองค์ขอทูลถามพระกุมาร เพราะได้ยินเขาเล่าลือกันทั่วไปเยาะเย้ยดูหมิ่นท่าน ว่าท่านนี้มีร่างกายผิดประหลาดต่าง ๆ นานาจะเป็นจริงหรือไม่ ใจไม่อยากเชื่อเลยเพราะไม่เห็น ถ้าหากมีสิ่งใดที่ลำบากยากแค้นก็ตรัสมาเถิด

70 อุเปนทรวิเชียร ฉันท์ กุมารองค์เสา วนเค้าคดีตาม กระทู้พระครูถาม นยสุดจะสงสัย ก็คำมิควรการณ์ คุรุท่านจะถามไย ธซักเสาะสืบใคร ระบุแจ้งกะอาจารย์ ทวิชแถลงว่า พระกุมารโน้นขาน ยุบลกะตูกาล เฉพาะอยู่กะกันสอง ถอดความได้ว่า พระกุมารได้ทรงฟังเรื่องที่พระอาจารย์ถามก็ตรัสถามกลับว่า สงสัยเหลือเกินเรื่องไม่สมควรเช่นนี้ท่านอาจารย์จะถามทำไม แล้วก็ซักไซ้ว่าใครเป็นผู้มาบอกกับอาจารย์ พราหมณ์ก็ตอบว่าพระกุมารพระองค์โน้นตรัสบอกเมื่ออยู่กันเพียงสองต่อสอง

71 อุเปนทรวิเชียร ฉันท์ กุมารพระองค์นั้น ธมิทันจะไตร่ตรอง ก็เชื่อณคำของ พฤฒิครูและวู่วาม พิโรธกุมารองค์ เหมาะเจาะจงพยายาม ยุครูเพราะเอาความ บมิดีประเดตน ก็พ้อและต่อพิษ ทุรทิฐิมานจน ลุโทสะสืบสน ธิพิพาทเสมอมา ถอดความได้ว่า กุมารพระองค์นั้นไม่ทันได้ไตร่ตรอง ก็ทรงเชื่อในคำพูดของอาจารย์ ด้วยความวู่วามก็กริ้วพระกุมารที่ยุพระอาจารย์ใส่ความตน จึงตัดพ้อต่อว่ากันขึ้น เกิดความโกรธเคืองทะเลาะวิวาทกันอยู่เสมอ

72 อุเปนทรวิเชียร ฉันท์ และฝ่ายกุมารผู้ ทิชครูมิเรียกหา ก็แหนงประดารา ชกุมารทิชงค์เชิญ พระราชบุตรลิจ ฉวิมิตรจิตเมิน ณกันและกันเหิน คณะห่างก็ต่างถือ ทะนงชนกตน พลล้นเถลิงลือ ก็หาญกระเหิมฮือ มนฮึกบนึกขามฯ ถอดความได้ว่า ฝ่ายพระกุมารที่พราหมณ์ไม่เคยเรียกเข้าไปหาก็ไม่พอพระทัยพระกุมารที่พราหมณ์เชิญไปพบ พระกุมารลิจฉวีหมางใจและเหินห่างกัน ต่างองค์ทะนงว่าพระบิดาของตนมีอำนาจล้นเหลือ จึงมีใจกำเริบไม่เกรงกลัวกัน

73 กษัตริย์ลิจฉวีแตกสามมัคคี วัสสการพราหมณ์ลอบส่งข่าวทูลพระเจ้าอชาตศัตรู
สัทธราฉันท์ ลำดับนั้นวัสสการพราหมณ์ ธ ก็ยุศิษยตาม แต่งอุบายงาม ฉงนงำ ปวงโอรสลิจฉวีดำ ริณวิรุธก็สำ คัญประดุจคำ ธเสกสรร ไป่เหลือเลยสักพระองค์อัน มิละปิยะสหฉันท์ ขาดสมัครพันธ์ ก็อาดูร ถอดความได้ว่า ในขณะนั้นวัสสการพราหมณ์ก็คอยยุลูกศิษย์ แต่งกลอุบายให้เกิดความแคลงใจ พระโอรสกษัตริย์ลิจฉวีทั้งหลายไตร่ตรองในอาการน่าสงสัยก็เข้าใจว่าเป็นจริงดังถ้อยคำที่อาจารย์ปั้นเรื่องขึ้น ไม่มีเหลือเลยสักพระองค์เดียวที่จะมีความรักใคร่กลมเกลียว ต่างขาดความสัมพันธ์ เกิดความเดือดร้อนใจ

74 สัทธราฉันท์ ต่างองค์นำความมิงามทูล พระชนกอดิศูร แห่งธโดยมูล ปวัตติ์ความ แตกร้าวก้าวร้ายก็ป้ายปาม ลุวรบิดรลาม ทีละน้อยตาม ณเหตุผล ฟั่นเฝือเชื่อนัยดนัยตน นฤวิเคราะหเสาะสน สืบจะหมองมล เพราะหมายใด ถอดความได้ว่า ในขณะนั้นวัสสการพราหมณ์ก็คอยยุลูกศิษย์ แต่งกลอุบายให้เกิดความแคลงใจ พระโอรสกษัตริย์ลิจฉวีทั้งหลายไตร่ตรองในอาการน่าสงสัยก็เข้าใจว่าเป็นจริงดังถ้อยคำที่อาจารย์ปั้นเรื่องขึ้น ไม่มีเหลือเลยสักพระองค์เดียวที่จะมีความรักใคร่กลมเกลียว ต่างขาดความสัมพันธ์ เกิดความเดือดร้อนใจ

75 สัทธราฉันท์ แท้ท่านวัสสการใน กษณะตริเหมาะไฉน เสริมเสมอไป สะดวกดาย หลายอย่างต่างกลธขวนขวาย พจนยุปริยาย วัญจโนบาย บเว้นครา ครั้นล่วงสามปีประมาณมา สหกรณประดา ลิจฉวีรา ชทั้งหลาย ถอดความได้ว่า แต่ละองค์นำเรื่องไม่ดีที่เกิดขึ้นไปทูลพระบิดาของตน ความแตกแยกก็ค่อย ๆ ลุกลามไปสู่พระบิดา เนื่องจากความหลงเชื่อโอรสของตน ปราศจากการใคร่ครวญเกิดความผิดพ้องหมองใจกันขึ้น ฝ่ายวัสสการพราหมณ์ครั้นเห็นโอกาสเหมาะสมก็คอยยุแหย่อย่างง่ายดาย ทำกลอุบายต่าง ๆ พูดยุยงตามกลอุบายตลอดเวลา เวลาผ่านไปประมาณ ๓ ปี ความร่วมมือกันระหว่างกษัตริย์ลิจฉวีทั้งหลายและความสามัคคีถูกทำลายลงสิ้น

76 สัทธราฉันท์ สามัคคีธรรมทำลาย มิตรภิทนะกระจาย สรรพเสื่อมหายน์ ก็เป็นไป ต่างองค์ทรงแคลงระแวงใน พระราชหฤทยวิสัย ผู้พิโรธใจ ระวังกันฯ ถอดความได้ว่า ความร่วมมือกันระหว่างกษัตริย์ลิจฉวีทั้งหลายและความสามัคคีถูกทำลายลงสิ้น ความเป็นมิตรแตกแยก ความเสื่อม ความหายนะก็บังเกิดขึ้น กษัตริย์ต่างองค์ระแวงแคลงใจ มีความขุ่นเคืองใจซึ่งกันและกัน

77 สาลินีฉันท์ พราหมณ์ครูรู้สังเกต ตระหนักเหตุถนัดครัน ราชาวัชชีสรร พจักสู่พินาศสม ยินดีบัดนี้กิจ จะสัมฤทธิ์มนารมณ์ เริ่มมาด้วยปรากรม และอุตสาหแห่งตน ให้ลองตีกลองนัด ประชุมขัตติย์มณฑล เชิญซึ่งส่ำสากล กษัตริย์สู่สภาคาร ถอดความได้ว่า พราหมณ์ผู้เป็นครูสังเกตเห็นดังนั้น ก็รู้ว่าเหล่ากษัตริย์ลิจฉวีกำลังจะประสบความพินาศ จึงยินดีมากที่ภารกิจประสบผลสำเร็จสมดังใจ หลังจากเริ่มต้นด้วยความบากบั่นและความอดทนของตน จึงให้ลองตีกลองนัดประชุมกษัตริย์ฉวี เชิญทุกพระองค์เสด็จมายังที่ประชุม

78 สาลินีฉันท์ วัชชีภูมีผอง สดับกลองกระหึมขาน ทุกไท้ไป่เอาภาร ณกิจเพื่อเสด็จไป ต่างทรงรับสั่งว่า จะเรียกหาประชุมไย เราใช่เป็นใหญ่ใจ ก็ขลาดกลัวบกล้าหาญ ท่านใดที่เป็นใหญ่ และกล้าใครมิเปรียบปาน พอใจใคร่ในการ ประชุมชอบก็เชิญเขา ถอดความได้ว่า ฝ่ายกษัตริย์วัชชีทั้งหลายทรงสดับเสียงกลองดังกึกก้อง ทุกพระองค์ไม่ทรงเป็นธุระในการเสด็จไป ต่างองค์รับสั่งว่าจะเรียกประชุมด้วยเหตุใด เราไม่ได้เป็นใหญ่ ใจก็ขลาด ไม่กล้าหาญ ผู้ใดเป็นใหญ่ มีความกล้าหาญไม่มีผู้ใดเปรียบได้ พอใจจะเสด็จไปร่วมประชุมก็เชิญเขาเถิด

79 สาลินีฉันท์ ปรึกษาหารือกัน ไฉนนั้นก็ทำเนา จักเรียกประชุมเรา บแลเห็นประโยชน์เลย รับสั่งผลักไสส่ง และทุกองค์ธเพิกเฉย ไป่ได้ไปดั่งเคย สมัครเข้าสมาคมฯ ถอดความได้ว่า จะปรึกษาหารือกันประการใดก็ช่างเถิด จะเรียกเราไปประชุมมองไม่เห็นประโยชน์ประการใดเลย รับสั่งให้พ้นตัวไป และทุกพระองค์ก็ทรงเพิกเฉยไม่เสด็จไปเข้าร่วมการประชุมเหมือนเคย

80 อุปัฎฐิตาฉันท์ เห็นเชิงพิเคราะห์ช่อง ชนะคล่องประสบสม พราหมณ์เวทอุดม ธก็ลอบแถลงการณ์ ให้วัลลภชน คมดลประเทศฐาน กราบทูลนฤบาล ภิเผ้ามคธไกร แจ้งลักษณสา สนว่ากษัตริย์ใน วัชชีบุรไกร วลหล้าตลอดกัน ถอดความได้ว่า เมื่อพิจารณาเห็นช่องทางที่จะได้ชัยชนะอย่างง่ายดาย พราหมณ์ผู้รอบรู้พระเวทก็ลอบส่งข่าว ให้คนสนิทเดินทางกลับไปยังบ้านเมือง กราบทูลกษัตริย์แห่งแคว้นมคธอันยิ่งใหญ่ ในสาสน์แจ้งว่ากษัตริย์วัชชีทุกพระองค์

81 อุปัฎฐิตาฉันท์ บัดนี้สิก็แตก คณะแผกและแยกพรรค์ ไป่เป็นสหฉัน ทเสมือนเสมอมา โอกาสเหมาะสมัย ขณะไหนประหนึ่งครา นี้หากผิจะหา ก็บได้สะดวกดี ขอเชิญวรบาท พยุห์ยาตรเสด็จกรี ธาทัพพลพี ริยยุทธโดยไวฯ ถอดความได้ว่า ขณะนี้เกิดความแตกแยก แบ่งพรรคแบ่งพวก ไม่สามัคคีกันเหมือนแต่เดิม จะหาโอกาสอันเหมาะสมครั้งใดเหมือนดังครั้งนี้คงจะไม่มีอีกแล้ว ขอทูลเชิญพระองค์ยกกองทัพอันยิ่งใหญ่มาทำสงครามโดยเร็วเถิด

82 วิชชุมมาลาฉันท์ ข่าวเศิกเอิกอึง ทราบถึงบัดดล ในหมู่ผู้คน ชาวเวสาลี แทบทุกถิ่นหมด ชนบทบูรี อกสั่นขวัญหนี หวาดกลัวทั่วไป ตื่นตาหน้าเผือด หมดเลือดสั่นกาย หลบลี้หนีตาย วุ่นหวั่นพรั่นใจ ซุกครอกซอกครัว ซ่อนตัวแตกภัย เข้าดงพงไพร ทิ้งย่านบ้านตน ถอดความได้ว่า ข่าวศึกแพร่ไปจนรู้ถึงชาวเมืองเวสาลี แทบทุกคนในเมืองต่างตกใจและหวาดกลัวกันไปทั่ว หน้าตาตื่น หน้าซีดไม่มีสีเลือด ตัวสั่น พากันหนีตายวุ่นวาย พากันอพยพครอบครัวหนีภัย ทิ้งบ้านเรือนไปซุ่มซ่อนตัวเสียในป่า

83 วิชชุมมาลาฉันท์ เหลือจักห้ามปราม ชาวคามล่าลาด พันหัวหน้าราษฎร์ ขุนด่านตำบล หารือแก่กัน คิดผันผ่อนปรน จักไม่ให้พล มาคธข้ามมา จึ่งให้ตีกลอง ป่าวร้องทันที แจ้งข่าวไพรี รุกเบียนบีฑา เพื่อหมู่ภูมี วัชชีอาณา ชุมนุมบัญชา ป้องกันฉันใด ถอดความได้ว่า ไม่สามารถห้ามปรามชาวบ้านได้ หัวหน้าราษฎรและนายด่านตำบลต่าง ๆ ปรึกษากันคิดจะยับยั้งไม่ให้กองทัพมคธข้ามมาได้ จึงตีกลองป่าวร้องแจ้งข่าวข้าศึกเข้ารุกราน เพื่อให้เหล่ากษัตริย์แห่งวัชชีเสด็จมาประชุมหาหนทางป้องกันประการใด

84 วิชชุมมาลาฉันท์ ราชาลิจฉวี ไป่มีสักองค์ อันนึกจำนง เพื่อจักเสด็จไป ต่างองค์ดำรัส เรียกนัดทำไม ใครเป็นใหญ่ใคร กล้าหาญเห็นดี เชิญเทอญท่านต้อง ขัดข้องข้อไหน ปรึกษาปราศรัย ตามเรื่องตามที ส่วนเราเล่าใช่ เป็นใหญ่ยังมี ใจอย่างผู้ภี รุกปราศอาจหาญ ถอดความได้ว่า ไม่มีกษัตริย์ลิจฉวีแม้แต่พระองค์เดียวคิดจะเสด็จไป แต่ละพระองค์ทรงดำรัสว่าจะเรียกประชุมด้วยเหตุใด ผู้ใดเป็นใหญ่ ผู้ใดกล้าหาญ เห็นดีประการใดก็เชิญเถิด จะปรึกษาหารืออย่างไรก็ตามแต่ใจ ตัวของเรานั้นไม่ได้มีอำนาจยิ่งใหญ่ จิตใจก็ขี้ขลาด ไม่องอาจกล้าหาญ

85 วิชชุมมาลาฉันท์ ต่างทรงสำแดง ความแขงอำนาจ สามัคคีขาด แก่งแย่งโดยมาน ภูมิศลิจฉวี วัชชีรัฐบาล บ่ชุมนุมสมาน แม้แต่สักองค์ฯ ถอดความได้ว่า แต่ละพระองค์ต่างแสดงอาการเพิกเฉย ปราศจากความสามัคคีปรองดองในจิตใจ กษัตริย์ลิจฉวีแห่งวัชชีไม่เสด็จมาประชุมกันแม้แต่พระองค์เดียว

86 อินทรวิเชียร ฉันท์ ปิ่นเขตมคธขัต ติยรัชธำรง ยั้งทัพประทับตรง นคเรศวิสาลี ภูธรธสังเกต พิเคราะห์เหตุณธานี แห่งราชวัชชี ขณะเศิกประชิดแดน เฉยดูบรู้สึก และมินึกจะเกรงแกลน ฤๅคิดจะตอบแทน รณทัพระงับภัย ถอดความได้ว่า จอมกษัตริย์แห่งแคว้นมคธหยุดทัพตรงหน้าเมืองเวสาลี พระองค์ทรงสังเกตวิเคราะห์เหตุการณ์ทางเมืองวัชชีในขณะที่ข้าศึกมาประชิดเมือง ดูนิ่งเฉยไม่รู้สึกเกรงกลัว หรือคิดจะทำสิ่งใดโต้ตอบระงับเหตุร้าย

87 อินทรวิเชียร ฉันท์ นิ่งเงียบสงบงำ บมิทำประการใด ปรากฏประหนึ่งใน บุรว่างและร้างคน แน่โดยมิพักสง สยคงกระทบกล ท่านวัสสการจน ลุกระนี้ถนัดตา ภินท์พัทธสามัค คิยพรรคพระราชา ชาวลิจฉวีวา รจะพ้องอนัตถ์ภัย ถอดความได้ว่า กลับอยู่อย่างสงบเงียบไม่ทำการสิ่งใด มองดูราวกับเป็นเมืองร้างปราศจากผู้คน แน่นอนไม่ต้องสงสัยเลยว่าคงจะถูกกลอุบายของวัสสการพราหมณ์จนเป็นเช่นนี้ ความสามัคคีผูกพันแห่งกษัตริย์ลิจฉวีถูกทำลายลงและจะประสบกับภัยพิบัติ

88 อินทรวิเชียร ฉันท์ ลูกข่างประดาทา รกกาลขว้างไป หมุนเล่นสนุกไฉน ดุจกันฉะนั้นหนอ ครูวัสสการแส่ กลแหย่ยุดีพอ ปั่นป่วนบเหลือหลอ จะมิร้าวมิรานกัน ครั้นทรงพระปรารภ ธุระจบธจึ่งบัญ ชานายนิกายสรร พทแกล้วทหารหาญ ถอดความได้ว่า ลูกข่างที่เด็กขว้างเล่นได้สนุกฉันใด วัสสการพราหมณ์ก็สามารถยุแหย่ให้เหล่ากษัตริย์ลิจฉวีแตกความสามัคคีได้ตามใจชอบและคิดที่จะสนุกฉันนั้น ครั้นทรงคิดได้ดังนั้นจึงมีพระราชบัญชาแก่เหล่าทหารหาญ

89 อินทรวิเชียร ฉันท์ เร่งทำอุฬุมป์เว ฬุคะเนกะเกณฑ์การ เพื่อข้ามนทีธาร จรเข้านครบร เขารับพระบัณฑูร อดิศูรบดีศร ภาโรปกรณ์ตอน ทิวรุ่งสฤษฎ์พลัน จอมนาถพระยาตรา พยุหาธิทัพขันธ์ โดยแพและพ่วงปัน พลข้ามณคงคา จนหมดพหลเนื่อง พิศเนืองขนัดคลา ขึ้นฝั่งลุเวสา ลิบุเรศสะดวกดายฯ ถอดความได้ว่า ให้รีบสร้างแพไม้ไผ่เพื่อข้ามแม่น้ำจะเข้าเมืองของฝ่ายศัตรู พวกทหารรับราชโองการแล้วก็ปฏิบัติภารกิจที่ได้รับ ในตอนเช้างานนั้นก็เสร็จทันที จอมกษัตริย์เคลื่อนกองทัพอันมีกำลังพลมากมายลงในแพที่ติดกัน นำกำลังข้ามแม่น้ำจนกองทัพหมดสิ้น มองดูแน่นขนัด ขึ้นฝั่งเมืองเวสาลีอย่างสะดวกสบาย

90 จิตรปทา ฉันท์ นาครธา นิวิสาลี เห็นริปุมี พลมากมาย ข้ามติรชล ก็ลุพ้นหมาย มุ่งจะทลาย พระนครตน ต่างก็ตระหนก มนอกเต้น ตื่นบมิเว้น ตะละผู้คน ทั่วบุรคา มจลาจล เสียงอลวน อลเวงไป ถอดความได้ว่า ฝ่ายเมืองเวสาลีมองเห็นข้าศึกจำนวนมากข้ามแม่น้ำมาเพื่อจะทำลายล้างบ้านเมืองของตน ต่างก็ตระหนกตกใจกันถ้วนหน้า ในเมืองเกิดจลาจลวุ่นวายไปทั่วเมือง

91 จิตรปทา ฉันท์ สรรพสกล มุขมนตรี ตรอมมนภี รุกเภทภัย บางคณะอา ทรปราศรัย ยังมิกระไร ขณะนี้หนอ ควรบริบาล พระทวารมั่น ต้านปะทะกัน อริก่อนพอ ขัตติยรา ชสภารอ ดำริจะขอ วรโองการ ถอดความได้ว่า ข้าราชการชั้นผู้ใหญ่ต่างหวาดกลัวภัย บางพวกก็พูดว่าขณะนี้ยังไม่เป็นไรหรอก ควรจะป้องกันประตูเมืองเอาไว้ให้มั่นคง ต้านทานข้าศึกเอาไว้ก่อน รอให้ที่ประชุมเหล่ากษัตริย์มีความเห็นว่าจะทรงทำประการใด

92 จิตรปทา ฉันท์ ทรงตริไฉน ก็จะได้ทำ โดยนยดำ รัสภูบาล เสวกผอง ก็เคาะกลองขาน อาณัติปาน ดุจกลองพัง ศัพทอุโฆษ ประลุโสตท้าว ลิจฉวีด้าว ขณะทรงฟัง ต่างธก็เฉย และละเลยดัง ไท้มิอินัง ธุระกับใคร ถอดความได้ว่า ก็จะได้ดำเนินการตามพระบัญชาของพระองค์ เหล่าข้าราชการทั้งหลายก็ตีกลองสัญญาณขึ้นราวกับกลองจะพัง เสียงดังกึกก้องไปถึงพระกรรณกษัตริย์ลิจฉวี ต่างองค์ทรงเพิกเฉยราวกับไม่เอาใจใส่ในเรื่องราวของผู้ใด

93 จิตรปทา ฉันท์ ต่างก็บคลา ณสภาคา แม้พระทวาร บุรทั่วไป รอบทิศด้าน และทวารใด เห็นนรไหน สิจะปิดมีฯ ถอดความได้ว่า ต่างองค์ไม่เสด็จไปที่ประชุม แม้แต่ประตูเมืองรอบทิศทุกบานก็ไม่มีผู้ใดปิด

94 สัททุลวิกกีฬิต ฉันท์ จอมทัพมาคธราษฎร์ธยาตรพยุหกรี ธาสู่วิสาลี นคร โดยทางอันพระทวารเปิดนรนิกร ฤๅรอต่อรอน อะไร เบื้องนั้นท่านคุรุวัสสการทิชก็ไป นำทัพชเนนทร์ไท มคธ ถอดความได้ว่า จอมทัพแห่งแคว้นมคธกรีธาทัพเข้าเมืองเวสาลีทางประตูเมืองที่เปิดอยู่โดยไม่มีผู้คนหรือทหารต่อสู้ประการใด ขณะนั้นวัสสการพราหมณ์ผู้เป็นอาจารย์ก็ไปนำทัพของกษัตริย์แห่งมคธ

95 สัททุลวิกกีฬิต ฉันท์ เข้าปราบลิจฉวิขัตติย์รัฐชนบท สู่เงื้อมพระหัตถ์หมด และโดย ไป่พักต้องจะกะเกณฑ์นิกายพหลโรย แรงเปลืองระดมโปรย ประยุทธ์ ราบคาบเสร็จธเสด็จลุราชคฤหอุต คมเขตบุเรศดุจ ณ เดิม ถอดความได้ว่า เข้ามาปราบกษัตริย์ลิจฉวี อาณาจักรทั้งหมดก็ตกอยู่ในพระหัตถ์ โดยที่กองทัพไม่ต้องเปลืองแรงในการต่อสู้ ปราบราบคาบแล้วเสด็จยังราชคฤห์เมืองยิ่งใหญ่ดังเดิม

96 สัททุลวิกกีฬิต ฉันท์ เรื่องต้นยุกติก็แต่จะต่อพจนเติม ภาษิตลิขิตเสริม ประสงค์ ปรุงโสตเป็นคติสุนทราภรณจง จับข้อประโยชน์ตรง ตริดู ถอดความได้ว่า เนื้อเรื่องแต่เดิมจบลงเพียงนี้ แต่ประสงค์จะแต่งสุภาษิตเพิ่มเติมให้ได้รับฟังเพื่อเป็นคติอันทรงคุณค่านำไปคิดไตร่ตรอง

97 อินทรวิเชียร ฉันท์ อันภูบดีรา ชอชาตศัตรู ได้ลิจฉวีภู วประเทศสะดวกดี แลสรรพบรรดา วรราชวัชชี ถึงซึ่งพิบัติบี ฑอนัตถ์พินาศหนา เหี้ยมนั้นเพราะผันแผก คณะแตกและต่างมา ถือทิฐิมานสา หสโทษพิโรธจอง ถอดความได้ว่า พระเจ้าอชาตศัตรูได้แผ่นดินวัชชีอย่างสะดวก และกษัตริย์ลิจฉวีทั้งหลายก็ถึงซึ่งความพินาศล่มจม เหตุเพราะความแตกแยกกัน ต่างก็มีความยึดมั่นในความคิดของตน ผูกโกรธซึ่งกันและกัน

98 อินทรวิเชียร ฉันท์ อันภูบดีรา ชอชาตศัตรู ได้ลิจฉวีภู วประเทศสะดวกดี แลสรรพบรรดา วรราชวัชชี ถึงซึ่งพิบัติบี ฑอนัตถ์พินาศหนา เหี้ยมนั้นเพราะผันแผก คณะแตกและต่างมา ถือทิฐิมานสา หสโทษพิโรธจอง ถอดความได้ว่า พระเจ้าอชาตศัตรูได้แผ่นดินวัชชีอย่างสะดวก และกษัตริย์ลิจฉวีทั้งหลายก็ถึงซึ่งความพินาศล่มจม เหตุเพราะความแตกแยกกัน ต่างก็มีความยึดมั่นในความคิดของตน ผูกโกรธซึ่งกันและกัน

99 อินทรวิเชียร ฉันท์ แยกพรรคสมรรคภิน ทนสิ้นบปรองดอง ขาดญาณพิจารณ์ตรอง ตริมลักประจักษ์เจือ เชื่ออรรถยุบลเอา รสเล่าก็ง่ายเหลือ เหตุหากธมากเมือ คติโมหเป็นมูล ถอดความได้ว่า ต่างแยกพรรค แตกสามัคคีกัน ไม่ปรองดองกัน ขาดปัญญาที่จะพิจารณาไตร่ตรอง เชื่อถ้อยความของบรรดาพระโอรสอย่างง่ายดาย เหตุที่เป็นเช่นนั้นเพราะกษัตริย์แต่ละพระองค์ทรงมากไปด้วยความหลง

100 อินทรวิเชียร ฉันท์ จึ่งดาลประการหา ยนภาวอาดูร เสียแดนไผทสูญ ยศศักดิเสื่อมนาม ควรชมนิยมจัด คุรุวัสสการพราหมณ์ เป็นเอกอุบายงาม กลงำกระทำมา ถอดความได้ว่า จึงทำให้ถึงซึ่งความฉิบหาย มีภาวะความเป็นอยู่อันทุกข์ระทม เสียทั้งแผ่นดิน เกียรติยศ และชื่อเสียงที่เคยมีอยู่ ส่วนวัสสการพราหมณ์นั้นน่าชื่นชมอย่างยิ่งเพราะเป็นเลิศในการกระทำกลอุบาย

101 อินทรวิเชียร ฉันท์ พุทธาทิบัณฑิต พิเคราะห์คิดพินิจปรา รภสรรเสริญสา ธุสมัครภาพผล ว่าอาจจะอวยผา สุกภาวมาดล ดีสู่ณหมู่ตน บนิราศนิรันดร หมู่ใดผิสามัค คยพรรคสโมสร ไป่ปราศนิราศรอน คุณไร้ไฉนดล ถอดความได้ว่า ผู้รู้ทั้งหลายมีพระพุทธเจ้าเป็นต้น ได้ใคร่ครวญพิจารณากล่าวสรรเสริญว่าชอบแล้วในเรื่องผลแห่งความพร้อมเพรียงกัน ความสามัคคีอาจอำนวยให้ถึงซึ่งสภาพแห่งความผาสุก ณ หมู่ของตนไม่เสื่อมคลายตลอดไป หากหมู่ใดมีความสามัคคีร่วมชุมนุมกัน ไม่ห่างเหินกัน สิ่งที่ไร้ประโยชน์จะมาสู่ได้อย่างไร

102 อินทรวิเชียร ฉันท์ พร้อมเพรียงประเสริฐครัน เพราะฉะนั้นแหละบุคคล ผู้หวังเจริญตน ธุระเกี่ยวกะหมู่เขา พึงหมายสมัครเป็น มุขเป็นประธานเอา ธูรทั่วณตัวเรา บมิเห็นณฝ่ายเดียว ควรยกประโยชน์ยื่น นรอื่นก็แลเหลียว ดูบ้างและกลมเกลียว มิตรภาพผดุงครอง ถอดความได้ว่า ความพร้อมเพรียงนั้นประเสริฐยิ่งนัก เพราะฉะนั้นบุคคลใดหวังที่จะได้รับความเจริญแห่งตนและมีกิจธุระอันเป็นส่วนรวม ก็พึงตั้งใจเป็นหัวหน้าเอาเป็นธุระด้วยตัวของเราเองโดยมิเห็นประโยชน์ตนแต่ฝ่ายเดียว ควรยกประโยชน์ให้บุคคลอื่นบ้าง นึกถึงผู้อื่นบ้าง ต้องกลมเกลียว มีความเป็นมิตรกันไว้

103 อินทรวิเชียร ฉันท์ ยั้งทิฐิมานหย่อน ทมผ่อนผจงจอง อารีมิมีหมอง มนเมื่อจะทำใด ลาภผลสกลบรร ลุก็ปันก็แบ่งไป ตามน้อยและมากใจ สุจริตนิยมธรรม์ พึงมรรยาทยึด สุประพฤติสงวนพรรค์ รื้อริษยาอัน อุปเฉทไมตรี ถอดความได้ว่า ต้องลดทิฐิมานะ รู้จักข่มใจ จะทำสิ่งใดก็เอื้อเฟื้อกันไม่มีความบาดหมางใจ ผลประโยชน์ทั้งหลายที่เกิดขึ้นก็แบ่งปันกันไป มากบ้างน้อยบ้างอย่างเป็นธรรม ควรยึดมั่นในมารยาทและความประพฤติที่ดีงาม รักษาหมู่คณะโดยไม่มีความริษยากันอันจะตัดรอนไมตรี

104 อินทรวิเชียร ฉันท์ ดั่งนั้นณหมู่ใด ผิบไร้สมัครมี พร้อมเพรียงนิพัทธ์นี รวิวาทระแวงกัน หวังเทอญมิต้องสง สยคงประสบพลัน ซึ่งสุขเกษมสันต์ หิตะกอบทวิการ ใครเล่าจะสามารถ มนอาจระรานหาญ หักล้างบแหลกลาญ ก็เพราะพร้อมเพราะเพรียงกัน ถอดความได้ว่า ดังนั้นถ้าหมู่คณะใดไม่ขาดซึ่งความสามัคคี มีความพร้อมเพรียงกันอยู่เสมอ ไม่มีการวิวาท และระแวงกัน ก็หวังได้โดยไม่ต้องสงสัยว่า คงจะพบซึ่งความสุข ความสงบ และประกอบด้วยประโยชน์มากมาย ใครเล่าจะมีใจกล้าคิดทำสงครามด้วย หวังจะทำลายล้างก็ไม่ได้ ทั้งนี้เพราะความพร้อมเพรียงกันนั่นเอง

105 อินทรวิเชียร ฉันท์ ป่วยกล่าวอะไรฝูง นรสูงประเสริฐครัน ฤๅสรรพสัตว์อัน เฉพาะมีชีวีครอง แม้มากผิกิ่งไม้ ผิวใครจะใคร่ลอ มัดกำกระนั้นปอง พลหักก็เต็มทน เหล่าไหนผิไมตรี สละลี้ณหมู่ตน กิจใดจะขวายขวน บ มิพร้อมมิเพรียงกัน ถอดความได้ว่า กล่าวไปไยกับมนุษย์ผู้ประเสริฐหรือสรรพสัตว์ที่มีชีวิต แม้แต่กิ่งไม้หากใครจะใคร่ลองเอามามัดเป็นกำ ตั้งใจใช้กำลังหักก็ยากเต็มทน หากหมู่ใดไม่มีความสามัคคีในหมู่คณะของตน และกิจการอันใดที่จะต้องขวนขวายทำก็มิพร้อมเพรียงกัน

106 อินทรวิเชียร ฉันท์ อย่าปรารถนาหวัง สุขทั้งเจริญอัน มวลมาอุบัติบรร ลุไฉนบได้มี ปวงทุกข์พิบัติสรร พภยันตรายกลี แม้ปราศนิยมปรี ติประสงค์ก็คงสม ถอดความได้ว่า ก็อย่าได้หวังเลยความสุขความเจริญจะเกิดขึ้นได้อย่างไร ความทุกข์พิบัติอันตรายและความชั่วร้ายทั้งปวง ถึงแม้จะไม่ต้องการก็จะต้องได้รับเป็นแน่แท้

107 อินทรวิเชียร ฉันท์ ควรชนประชุมเช่น คณะเป็นสมาคม สามัคคิปรารม ภนิพัทธรำพึง ไป่มีก็ให้มี ผิวมีก็คำนึง เนื่องเพื่อภิยโยจึง จะประสบสุขาลัยฯ ถอดความได้ว่า ผู้ที่อยู่รวมกันเป็นหมู่คณะหรือสมาคม ควรคำนึงถึงความสามัคคีอยู่เป็นนิจ ถ้ายังไม่มีก็ควรจะมีขึ้น ถ้ามีอยู่แล้วก็ควรให้เจริญรุ่งเรืองยิ่งขึ้นไปจึงจะถึงซึ่งความสุขความสบาย

108 รสวรรณคดี แห่งสามัคคีเภทคำฉันท์

109 ๑. เสาวรจนี (รสแห่งความเพลิดเพลิน)
๑. เสาวรจนี (รสแห่งความเพลิดเพลิน) เสาวรจนี (รสแห่งความเพลิดเพลิน) ได้แก่บทชมโฉม ชมความงามของวัตถุสิ่งของ หรือชมธรรมชาติ ตัวอย่าง เสาวรจนีในเรื่องสามัคคีเภทคำฉันท์ ๑.๑ ตอนบรรยายความงดงามของปราสาทราชมณเทียรของเมืองราชคฤห์ สามยอดตลอดระยะระยับ วะวะวับสลับพรรณ ช่อฟ้าตระการกลจะหยัน จะเยาะยั่วทิฆัมพร บราลีพิลาศศุภจรูญ นภศูลประภัสสร หางหงส์ผจงพิจิตรงอน ดุจกวักนภาลัย

110 ๑. เสาวรจนี (รสแห่งความเพลิดเพลิน)
๑. เสาวรจนี (รสแห่งความเพลิดเพลิน) ๑.๒ ตอนบรรยายการจัดกองทัพของพระเจ้าอชาตศัตรู ทัพช้าง ราชามาคธภูบาล เถลิงหลังคชาธาร ประเสริฐสง่างามทรง ควรขัตติยยานยรรยง เพียงพาหนาสน์องค์ สหัสนัยน์ใดปาน ครบเต็มเครื่องตั้งหลังสาร กูบแพรแลลาน ละล้วนบรรเจิดเฉิดฉัน

111 ๑. เสาวรจนี (รสแห่งความเพลิดเพลิน)
๑. เสาวรจนี (รสแห่งความเพลิดเพลิน) ๑.๒ ตอนบรรยายการจัดกองทัพของพระเจ้าอชาตศัตรู ทัพม้า สีกายฝ้ายแซมแกมขน ดำบ้างด่างปน กระเลียวเหล่าเหลืองแดงพรรณ โสภาอัศวาภรณ์สรรพ์ ตาบหน้าพร่าวรร ณเด่นดำกลกาญจน์มณี ยาบย้อยห้อยพู่ดูดี ขลุมสวมกรวมสี สะคาดกนกแนมเกลา สายถือสายง่องถ่องเพรา คล้องสอดสายเหา งามทั้งพนังโกลนอาน

112 ๒. นารีปราโมทย์ (รสแห่งความพิศวาส)
๒. นารีปราโมทย์ (รสแห่งความพิศวาส) นารีปราโมทย์ (รสแห่งความพิศวาส) ได้แก่ บทเกี้ยวพาราสี โอ้โลม เป็นรสในทางรักใคร่ เนื้อเรื่องสามัคคีเภทคำฉันท์เน้นเรื่องความรักในสถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ และความสามัคคีในหมู่คณะเป็นสำคัญ จึงไม่มีรสวรรณคดีนารีปราโมทย์

113 ๓. พิโรธวาทัง (รสแห่งความพิโรธ)
๓. พิโรธวาทัง (รสแห่งความพิโรธ) พิโรธวาทัง (รสแห่งความพิโรธ) ได้แก่ บทโกรธ ฉุนเฉียว บริภาษต่าง ๆ ซึ่งเกิดจากอารมณ์เป็นส่วนใหญ่ ตัวอย่าง พิโรธวาทังในสามัคคีเภทคำฉันท์ ตอนพระเจ้าอชาตศัตรูกริ้ววัสสการพราหมณ์ที่บังอาจแสดงความคิดเห็นโต้แย้งเรื่องการรุกรานแคว้นวัชชี เอออุเหม่นะมึงชิช่างกระไร ทุทาสสถุลฉะนี้ไฉน ก็มาเป็น ศึกบ่ถึงและมึงก็ยังมิเห็น จะน้อยจะมากจะยากจะเย็น ประการใด อวดฉลาดและคาดแถลงเพราะใจ ขยาดขยั้นมิทันอะไร ก็หมิ่นกู

114 ๔. สัลลาปังคพิสัย (รสแห่งความโศกเศร้า)
๔. สัลลาปังคพิสัย (รสแห่งความโศกเศร้า) สัลลาปังคพิสัย (รสแห่งความโศกเศร้า) ได้แก่ บทเศร้าโศก คร่ำครวญ เวทนา สงสาร ตัวอย่างสัลลาปังคพิสัยในสามัคคีเภทคำฉันท์ ๔.๑ ตอนวัสสการพราหมณ์ถูกลงอาญา พวกราชมัลโดย พลโบยมิใช่เบา สุดหัตถแห่งเขา ขณะหวดสิพึงกลัว บงเนื้อก็เนื้อเต้น พิศเส้นสรีร์รัว ทั่วร่างและทั้งตัว ก็ระริกระริวไหว แลหลังละลามโล หิตโอ้เลอะหลั่งไป เพ่งผาดอนาถใจ ระกะร่อยเพราะรอยหวาย

115 ๔. สัลลาปังคพิสัย (รสแห่งความโศกเศร้า)
๔. สัลลาปังคพิสัย (รสแห่งความโศกเศร้า) ๔.๒ ตอนวัสสการพราหมณ์กราบทูลขอความเมตตาจากกษัตริย์ลิจฉวี อันข้าพระองค์กษณะนี้ ภยมีจะร้อนใด ยิ่งกว่าและหามนุษย์ไหน จะเสมอเสมือนตน ใคร่เปลื้องประเทืองประณุททุกข์ ภยมุขประมวลดล ไร้ญาติและขาดมิตรสกล ชนผู้จะดูดาย โดยเดียวเพราะอาดุรณแด และก็แก่ชรากาย ที่ซึ่งจะพึงสรณะหมาย อนุสรบห่อนเห็น

116 ๔. สัลลาปังคพิสัย (รสแห่งความโศกเศร้า)
๔. สัลลาปังคพิสัย (รสแห่งความโศกเศร้า) ๔.๒ ตอนวัสสการพราหมณ์กราบทูลขอความเมตตาจากกษัตริย์ลิจฉวี อันข้าพระองค์กษณะนี้ ภยมีจะร้อนใด ยิ่งกว่าและหามนุษย์ไหน จะเสมอเสมือนตน ใคร่เปลื้องประเทืองประณุททุกข์ ภยมุขประมวลดล ไร้ญาติและขาดมิตรสกล ชนผู้จะดูดาย โดยเดียวเพราะอาดุรณแด และก็แก่ชรากาย ที่ซึ่งจะพึงสรณะหมาย อนุสรบห่อนเห็น ทราบข่าวขจรกิรติบา รมิว่าพระองค์เป็น เอกอัครกษัตริย์สุขุมเพ็ญ กรุณามหาศาล

117


ดาวน์โหลด ppt ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๖ โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


Ads by Google