ดาวน์โหลดงานนำเสนอ
งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ
ได้พิมพ์โดยอภิรักษ์ สมิท ได้เปลี่ยน 6 ปีที่แล้ว
1
ประสบการณ์การประเมินผลการปฏิบัติราชการ ระดับหน่วยงานสู่ระดับบุคคล
สมศักดิ์ นาคกลิ่นกูล สำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 1 เชียงใหม่
2
ระบบการบริหารผลการปฏิบัติงาน (Performance Management System)
กำหนดและถ่ายทอด เป้าหมาย ระบบการบริหารผล การปฏิบัติราชการ ติดตาม (Monitor) วางแผน (Plan) พัฒนา (Develop) ประเมิน (Appraise) ให้รางวัล (Reward)
3
การถ่ายทอดค่าเป้าหมายผลงาน (Performance) ระดับหน่วยงานสู่บุคคล
4
แสดงการแปลงยุทธศาสตร์จากระดับองค์กรสู่ระดับบุคคล
ระดับหน่วยงาน ระดับบุคคล เป้าประสงค์ระดับองค์กร ตัวชี้วัดค่าเป้าหมายขององค์กร เป้าประสงค์ระดับหน่วยงาน ตัวชี้วัดค่าเป้าหมายของหน่วยงาน เป้าประสงค์ของบุคคล ตัวชี้วัดค่าเป้าหมายของบุคคล
5
กรอบแนวคิดในการกระจายตัวชี้วัดลงสู่ระดับบุคคล
วิสัยทัศน์/พันธกิจ ค่านิยม Organization Chart KPI ระดับองค์กร O/S matrix พันธกิจองค์กร Strategic Theme KPIระดับกลุ่มงาน แผนงาน/โครงการ JD กลุ่ม JD กลุ่ม KPIระดับบุคคล โครงการ/กิจกรรม JDบุคคล JD บุคคล แบบมอบหมายงาน
6
ภาพรวมของการถ่ายทอดตัวชี้วัดระดับองค์กรสู่ระดับบุคคล
เป้าประสงค์ และตัวชี้วัด ระดับสสจ. ระดับกลุ่มงาน รพท. รพช. สสอ. รพ.สต. ผลสัมฤทธิ์ ของหน่วยงานที่ สนับสนุนต่อค่าเป้าหมายและตัวชี้วัดของ สสจ. ผลสัมฤทธิ์ ตามบทบาทหน้าที่และภารกิจในงานประจำ เป้าประสงค์ในระดับกลุ่มงาน/รพท./รพช./รพ.สต. ตัวชี้วัดในระดับกลุ่มงาน/รพท./รพช./รพ.สต. ผลสัมฤทธิ์ ของบุคคลที่สนับสนุนค่าเป้าหมาย ของผู้บังคับบัญชา ผลสัมฤทธิ์ ตามบทบาทหน้าที่ ของตำแหน่งงาน ผลสัมฤทธิ์ ของงานที่ได้รับ มอบหมายพิเศษ ระดับบุคคล เป้าประสงค์ระดับบุคคล ตัวชี้วัดระดับบุคคล
7
การกำหนดตัวชี้วัดและค่าเป้าหมายผลสัมฤทธิ์ของงาน
เทคนิคการกำหนดตัวชี้วัด 1. การถ่ายทอดตัวชี้วัดผลสำเร็จของงานจากบนลงล่าง - วิธีการถ่ายทอดตัวชี้วัด • ถ่ายทอดลงมาโดยตรง • แบ่งค่าตัวเลขเป้าหมาย • แบ่งเฉพาะด้านที่มอบหมาย 2. การไล่เรียงตามผังการเคลื่อนของงาน 3. การสอบถามความคาดหวังของผู้รับบริการ 4. การพิจารณาจากประเด็นที่ต้องปรับปรุง
8
ถ่ายทอดเป้าหมายผลการปฏิบัติงานจากบนลงล่าง ตามลำดับชั้นการบังคับบัญชา
เป้าหมายเชิงยุทธศาสตร์ เป้าหมายตามภารกิจและอื่นๆ หัวหน้า ส่วนราชการ รองหัวหน้า ส่วนราชการ ผู้อำนวยการ ระดับสำนัก/กอง หัวหน้าหน่วยงานภายใต้ สำนัก/กอง ผู้ปฏิบัติงานที่ไม่มีผู้ใต้บังคับบัญชา
9
การถ่ายทอดตัวชี้วัดผลสำเร็จของงานจากบนลงล่าง (Goal Cascading Method)
1. การถ่ายทอดลงมาโดยตรง ผลสัมฤทธิ์หลัก ตัวชี้วัด ระดับค่าเป้าหมาย 1 2 3 4 5 บุคลากรของหน่วยงาน ได้รับการพัฒนาให้มีศักยภาพ คุณธรรม และจริยธรรม ระดับความสำเร็จในการพัฒนาบุคลากรตามแผนยุทธศาสตร์ หัวหน้า ส่วนราชการ ผอ. กองวิชาการ หัวหน้ากลุ่ม วิชาการและวิเทศสัมพันธ์ มอบหมายความรับผิดชอบทั้ง ตัวชี้วัด (KPIs) และ ค่าเป้าหมาย ในแต่ละข้อ จากผู้บังคับบัญชาสู่ผู้ใต้บังคับบัญชาทั้งหมด มักใช้ในกรณีที่เป็นการมอบหมายจากผู้บังคับบัญชาระดับสูง ผลสัมฤทธิ์หลัก ตัวชี้วัด ระดับค่าเป้าหมาย 1 2 3 4 5 บุคลากรของหน่วยงาน ได้รับการพัฒนาให้มีศักยภาพ คุณธรรม และจริยธรรม ระดับความสำเร็จในการพัฒนาบุคลากรตามแผนยุทธศาสตร์ ผลสัมฤทธิ์หลัก ตัวชี้วัด ระดับค่าเป้าหมาย 1 2 3 4 5 บุคลากร ได้รับการพัฒนาให้มีศักยภาพ คุณธรรม และจริยธรรม ระดับความสำเร็จในการพัฒนาบุคลากรตามแผนยุทธศาสตร์
10
ผู้ปฏิบัติงานที่รับผิดชอบตำบล
การถ่ายทอดตัวชี้วัดผลสำเร็จของงานจากบนลงล่าง (Goal Cascading Method) (ต่อ) 2. การถ่ายทอดโดยการแบ่งค่าตัวเลขเป้าหมาย เกษตรอำเภอ ผู้ปฏิบัติงานที่รับผิดชอบตำบล เกษตรจังหวัด ยังใช้ตัวชี้วัดเดิมเป็นหลัก แต่อาจกำหนดระบุพื้นที่หรือขอบเขตความรับผิดชอบ และมีการกำหนดตัวเลขเป้าหมายที่ลดลงตามส่วน มักใช้ในกรณีการแบ่งพื้นที่รับผิดชอบ หรือการแบ่งการปฏิบัติงานตามกลุ่มเป้าหมาย ค่าตัวเลขเป้าหมายของผู้ใต้บังคับบัญชาทุกคน ในระดับเดียวกันรวมแล้ว เท่ากับหรือมากกว่า ค่าตัวเลขเป้าหมายของผู้บังคับบัญชา สำนักงาน ก.พ.
11
การถ่ายทอดตัวชี้วัดผลสำเร็จของงานจากบนลงล่าง (Goal Cascading Method) (ต่อ)
3. การถ่ายทอดที่ผู้ใต้บังคับบัญชาได้รับมอบหมายให้ปฏิบัติงานเพียงบางด้าน (แบ่งเฉพาะด้านที่มอบ) มอบหมายงานเพียงบางด้าน หรือบางส่วนแก่ผู้ใต้บังคับบัญชา จำเป็นต้องกำหนด ผลสัมฤทธิ์หลัก และตัวชี้วัดที่ต้องการจากผู้ใต้บังคับบัญชาใหม่ มักใช้ในกรณีที่ เป้าหมายผลการปฏิบัติงานของตนที่ต้องการถ่ายทอด ประกอบขึ้นด้วย เป้าหมายการปฏิบัติงานย่อยหลายประการ และต้องการมอบหมายเป้าหมายผลการปฏิบัติงานย่อยในแต่ละส่วนให้ผู้ใต้บังคับบัญชาแต่ละคนรับผิดชอบ จำเป็นต้องมีความเข้าใจในกระบวนการทำงานที่จะส่งผลต่อเป้าหมายผลการปฏิบัติงานของตนก่อน ผลสัมฤทธิ์หลัก ตัวชี้วัด ระดับค่าเป้าหมาย 1 2 3 4 5 ระบบเครือข่ายสารสนเทศภายในมีความพร้อมใช้งาน จำนวนครั้ง(ต่อปี)ที่ระบบเครือข่ายสารสนเทศไม่สามารถใช้งานได้เกินกว่า 48 ชั่วโมง ผู้อำนวยการ ศูนย์เทคโนโลยี สารสนเทศฯ ผลสัมฤทธิ์หลัก ตัวชี้วัด ระดับค่าเป้าหมาย 1 2 3 4 5 ระบบเครือข่ายสารสนเทศได้รับการตรวจซ่อมให้สามารถใช้งานได้ภายในเวลาที่กำหนด จำนวนครั้ง (ต่อปี) ที่เจ้าหน้าที่ไม่สามารถแก้ไขระบบเครือข่ายให้ใช้งานได้ตามปกติภายใน 24 ชั่วโมง ผู้ดูแลระบบ เครือข่ายฯ ผลสัมฤทธิ์หลัก ตัวชี้วัด ระดับค่าเป้าหมาย 1 2 3 4 5 ผู้ใช้งานระบบเครือข่ายมีความรู้เกี่ยวกับการใช้งานระบบอย่างถูกต้อง ร้อยละผู้ใช้งานที่สอบผ่านการทดสอบความรู้เกี่ยวกับการใช้งานระบบเครือข่าย 65 70 75 80 85 ผู้รับผิดชอบ การอบรม สำนักงาน ก.พ.
12
การไล่เรียงตามผังการเคลื่อนของงาน (Work Flow Charting Method)
ตัวอย่าง งาน : การจัดทำระบบศูนย์ข้อมูลกลางของจังหวัด KPI : ระดับความสำเร็จของการจัดทำฐานข้อมูลกลางของจังหวัด ขั้นตอนหลักในการดำเนินการ วางแผนการจัดทำระบบศูนย์ข้อมูลกลาง วางแผนติดตั้งอุปกรณ์ระบบศูนย์ข้อมูลกลาง ติดตั้งระบบศูนย์ข้อมูลกลาง/บริหารจัดการ ควบคุม ดูแลบำรุงรักษา สำรวจความพึงพอใจของผู้ใช้บริการ สรุปผลการปรับปรุงระบบศูนย์ข้อมูลกลาง นาย ก นาย ข นาย ค นาง ง
13
เครื่องมือช่วยในการวิเคราะห์ผู้รับผิดชอบตัวชี้วัด
ตารางแสดงความรับผิดชอบ OS Matrix O = Owner ,ผู้รับผิดชอบหลัก S = Supporter ,ผู้สนับสนุน
14
เครื่องมือช่วยในการวิเคราะห์เพื่อกำหนดผู้รับผิดชอบ
ตาราง OS matrix ระดับหน่วยงาน ลำดับ ที่ ชื่อตัวชี้วัดระดับหน่วยงาน น้ำหนัก ค่าเป้า หมาย (ปี 2558) รหัส ผู้รับผิดชอบตอบตัวชี้วัด (Owner) ผู้ร่วมดำเนินการ (Supporter) ผู้กำกับ ตัวชี้วัด ผู้จัดเก็บข้อมูล 1 2 3 ตัวชี้วัดของหน่วยงานทั้งหมด
15
ตารางแสดงการถ่ายทอดตัวชี้วัดรพ….. ลงสู่กลุ่มงาน (Cascading)
ปีงบประมาณ พ.ศ.2558 ลำดับ ที่ ชื่อตัวชี้วัด น้ำหนัก ค่าเป้า หมาย (ปี 2558) ผู้รับผิดชอบตอบตัวชี้วัด (Owner) ผู้ร่วมดำเนินการ (Supporter) ผู้กำกับฯ ผู้จัดเก็บฯ กลุ่มงาน กลุ่มงาน รายละเอียดเพิ่มเติม
16
ตัวชี้วัดที่กลุ่มงานได้รับการถ่ายทอดจาก หน่วยงานและ งานตามบทบาทภารกิจ
ตารางแสดงความรับผิดชอบตัวชี้วัดกลุ่มงานสู่ระดับบุคคล ปีงบประมาณ พ.ศ (OS Matrix) กลุ่มงาน ที่ ตัวชี้วัดที่กลุ่มงานได้รับการถ่ายทอดจาก หน่วยงานและ งานตามบทบาทภารกิจ ตัวชี้วัดระดับบุคคล ผู้รับการถ่ายทอดในกลุ่มงาน นาย ก นาง ข. นส.ง
17
ตารางวิเคราะห์บทบาทของทั้ง O และ S
อัตราป่วยด้วยโรคไข้เลือดออกลดลงจากผลการพยากรณ์โรคปี 2559 ร้อยละ 10 หน่วยงาน บทบาท/ผลสัมฤทธิ์ กลุ่มปฏิบัติการควบคุมโรคและตอบโต้ฯ (O) กลุ่มระบาดวิทยา(S) กลุ่มสื่อสารความเสี่ยงฯ(S) ศตม. (S)
18
แบบวิเคราะห์ผลสัมฤทธิ์หลัก และตัวชี้วัด
1. อะไรเป็นกิจกรรมหลักที่ใช้ในการทำงานเพื่อให้บรรลุเป้าหมาย 2. อะไรเป็นผลลัพธ์ของการทำกิจกรรมหลัก 3. อะไรเป็นผลสัมฤทธิ์หลัก (Key Result Area) 4.จะวัดผลสัมฤทธิ์หลัก จะวัดความสำเร็จได้อย่างไร (KPI)
19
แบบวิเคราะห์บทบาท/งานเพื่อการบรรลุตัวชี้วัด KPI
ชื่อตัวชี้วัด/ผลสัมฤทธิ์ บทบาทหรือ Work Flow เพื่อทำงานให้บรรลุตามเป้าหมายมีอะไรบ้าง วิเคราะห์ข้อมูล/สถานการณ์ เพื่อกำหนดวิธีการที่จะปรับปรุงผลสัมฤทธิ์ให้ดีขึ้น KPI
20
แบบวิเคราะห์บทบาทเพื่อการบรรลุตัวชี้วัด
ชื่อตัวชี้วัด/ผลสัมฤทธิ์ บทบาทหรือ Work Flow (กิจกรรมหลัก) เพื่อทำงานให้บรรลุตามเป้าหมายมีอะไรบ้าง มีระบบศูนย์ข้อมูลกลางของจังหวัด 1. วางแผนการจัดทำระบบศูนย์ข้อมูลกลาง 2. วางแผนติดตั้งอุปกรณ์ระบบศูนย์ข้อมูลกลาง 3. ติดตั้งระบบศูนย์ข้อมูลกลาง/บริหารจัดการ ควบคุมดูแลบำรุงรักษา 4. สำรวจความพึงพอใจของผู้ใช้บริการ 5. ปรับปรุงระบบศูนย์ข้อมูลกลาง
21
แบบวิเคราะห์ผลสัมฤทธิ์หลัก และตัวชี้วัด
1. อะไรเป็นกิจกรรมหลักที่ใช้ในการทำงานเพื่อให้บรรลุเป้าหมาย 2. อะไรเป็นผลลัพธ์ของการทำกิจกรรมหลัก 3. อะไรเป็นผลสัมฤทธิ์หลัก (Key Result Area) 4.จะวัดผลสัมฤทธิ์หลัก จะวัดความสำเร็จได้อย่างไร (KPI) 1.วางแผนการจัดทำระบบศูนย์ข้อมูลกลาง แผนการจัดทำระบบศูนย์ข้อมูล 2. วางแผนติดตั้งอุปกรณ์ระบบศูนย์ข้อมูลกลาง แผนติดตั้งอุปกรณ์ระบบศูนย์ข้อมูล 3.ติดตั้งระบบศูนย์ข้อมูลกลาง/บริหารจัดการ ควบคุม ดูแลบำรุงรักษา ระบบฯ มีความพร้อมที่จะใช้งาน 4. สำรวจความพึงพอใจของผู้ใช้บริการ ผลการจากสำรวจความพึ่งพอใจของผู้ใช้บริการ 5. ปรับปรุงระบบศูนย์ข้อมูลกลาง ผลการปรับปรุงระบบ ฯ
22
ผลสัมฤทธิ์หลัก (Key Result Areas :KRA)
23
ผลสัมฤทธิ์หลักของงาน (Key Result Areas)
ผลที่ได้ตามมาจากผลผลิต หรือผลลัพธ์ของการปฏิบัติกิจกรรมงาน ผลสัมฤทธิ์ต้องมีคุณค่าต่อองค์กร สิ่งที่มีความสำคัญต่อความสำเร็จขององค์กร สิ่งที่จะต้องวัดหรือประเมินว่าองค์กรประสบความสำเร็จ ใน KRA ด้านนั้น ๆ เป็นจุดสำคัญหรือจุดวิกฤติ ในการปฏิบัติงาน ซึ่งใช้เป็นกรอบในการกำหนดตัวชี้วัด
24
ขั้นตอนการวิเคราะห์หาผลสัมฤทธิ์หลัก
ต้องทำอะไร (บทบาท) ผลของการกระทำ ผลลัพธ์ที่สำคัญ จะวัดความสำเร็จของผลลัพธ์ได้อย่างไร เป้าหมายเชิงยุทธศาสตร์ เป้าหมายตามตำแหน่ง
25
แบบวิเคราะห์ผลสัมฤทธิ์หลัก และตัวชี้วัด
ตัวชี้วัดของผู้เล่นฟุตบอลตำแหน่งศูนย์หน้า 1. อะไรเป็นกิจกรรมหลักที่ใช้ในการทำงาน 2. อะไรเป็นผลลัพธ์ของการทำกิจกรรมหลัก 3. อะไรเป็นผลสัมฤทธิ์หลัก (Key Result Area) 4.จะวัดผลสัมฤทธิ์หลัก จะวัดความสำเร็จได้อย่างไร (KPI) ยิงประตูคู่ต่อสู้ จำนวนประตูที่ยิงได้ ผ่านบอลให้เพื่อนทำประตู จำนวนครั้งที่ผ่านบอลฯ ช่วยกองหลังสกัดบอลคู่ต่อสู้ จำนวนครั้งที่ช่วยสกัดบอล
26
แบบวิเคราะห์ผลสัมฤทธิ์หลัก และตัวชี้วัด
ตัวชี้วัดของผู้เล่นฟุตบอลตำแหน่งศูนย์หน้า 1. อะไรเป็นกิจกรรมหลักที่ใช้ในการทำงาน 2. อะไรเป็นผลลัพธ์ของการทำกิจกรรมหลัก 3. อะไรเป็นผลสัมฤทธิ์หลัก (Key Result Area) 4.จะวัดผลสัมฤทธิ์หลัก จะวัดความสำเร็จได้อย่างไร (KPI) ยิงประตูคู่ต่อสู้ จำนวนประตูที่ทำได้ ผ่านบอลให้เพื่อนทำประตู จำนวนครั้งที่ผ่านบอลฯ ช่วยกองหลังสกัดบอลคู่ต่อสู้ จำนวนครั้งที่ช่วยสกัดบอล
27
ตัวอย่าง งาน/โครงการ ผลสัมฤทธิ์หลัก (KRAs) งานจัดทำและประสานแผนพัฒนา
ดำเนินการจัดทำแผนตามขั้นตอน กระบวนการจัดทำแผน และแล้วเสร็จตามระยะเวลาที่กำหนด งานติดตามและประเมินผล หน่วยงานรับผิดชอบโครงการสามารถดำเนินการโครงการเป็นไปตามแผนการปฏิบัติงาน งานตัวชี้วัดตามคำรับรองการปฏิบัติราชการประจำปี หน่วยงานสามารถกำกับติดตามการประเมินการปฏิบัติราชการประจำปีได้บรรลุเป้าหมาย
28
ตัวอย่าง งาน ผลสัมฤทธิ์หลัก (KRAs) งานการเงิน
การเบิกจ่ายทันเวลา เป็นไปตามระเบียบ สามารถตรวจสอบได้ การตรวจสอบภายใน ส่วนราชการปฏิบัติงานถูกต้องครบถ้วนเป็นไปตามระเบียบ กฎหมาย งานรับ-ส่งเอกสาร เอกสารที่รับ/ส่งถูกต้อง ทันเวลา
29
ขั้นตอนที่1 : กำหนดกิจกรรมหลัก (Key Activities)
ตัวอย่างการกำหนดผลสัมฤทธิ์หลัก ขั้นตอนที่1 : กำหนดกิจกรรมหลัก (Key Activities) ชื่อตัวชี้วัด/ผลสัมฤทธิ์ บทบาทหรือ Work Flow (กิจกรรมหลัก) เพื่อทำงานให้บรรลุตามเป้าหมายมีอะไรบ้าง มีระบบศูนย์ข้อมูลกลางของจังหวัด 1. วางแผนการจัดทำระบบศูนย์ข้อมูลกลาง 2. วางแผนติดตั้งอุปกรณ์ระบบศูนย์ข้อมูลกลาง 3. ติดตั้งระบบศูนย์ข้อมูลกลาง/บริหารจัดการ ควบคุม ดูแลบำรุงรักษา 4. สำรวจความพึงพอใจของผู้ใช้บริการ 5. ปรับปรุงระบบศูนย์ข้อมูลกลาง
30
ขั้นที่ 2 ผลลัพธ์ของกิจกรรมหลัก
1. อะไรเป็นกิจกรรมหลักที่ใช้ในการทำงาน 2. อะไรเป็นผลลัพธ์ของการทำกิจกรรมหลัก 3. อะไรเป็นผลสัมฤทธิ์หลัก (Key Result Area) 4.จะวัดผลสัมฤทธิ์หลัก จะวัดความสำเร็จได้อย่างไร (KPI) 1.วางแผนการจัดทำระบบศูนย์ข้อมูลกลาง แผนการจัดทำระบบศูนย์ข้อมูล 2. วางแผนติดตั้งอุปกรณ์ระบบศูนย์ข้อมูลกลาง แผนติดตั้งอุปกรณ์ระบบศูนย์ข้อมูล 3.ติดตั้งระบบศูนย์ข้อมูลกลาง/บริหารจัดการ ควบคุม ดูแลบำรุงรักษา ระบบฯ มีความพร้อมที่จะใช้งาน 4. สำรวจความพึงพอใจของผู้ใช้บริการ ผลการจากสำรวจความพึ่งพอใจของผู้ใช้บริการ 5. ปรับปรุงระบบศูนย์ข้อมูลกลาง ผลการปรับปรุงระบบ ฯ
31
ขั้นที่ 3 กำหนดผลสัมฤทธิ์หลัก
1. อะไรเป็นกิจกรรมหลักที่ใช้ในการทำงาน 2. อะไรเป็นผลลัพธ์ของการทำกิจกรรมหลัก 3. อะไรเป็นผลสัมฤทธิ์หลัก (Key Result Area) 4.จะวัดผลสัมฤทธิ์หลัก จะวัดความสำเร็จได้อย่างไร (KPI) 1.วางแผนการจัดทำระบบศูนย์ข้อมูลกลาง แผนการจัดทำระบบศูนย์ข้อมูล จังหวัดมีฐานข้อมูลกลางครบถ้วน ถูกต้อง ทันเวลา 2. วางแผนติดตั้งอุปกรณ์ระบบศูนย์ข้อมูลกลาง แผนติดตั้งอุปกรณ์ระบบศูนย์ข้อมูล 3.ติดตั้งระบบศูนย์ข้อมูลกลาง/บริหารจัดการ ควบคุม ดูแลบำรุงรักษา ระบบมีความพร้อมที่จะใช้งาน 4. สำรวจความพึงพอใจของใช้บริการ ผลการจากสำรวจความพึ่งพอใจของผู้ใช้บริการ 5. ปรับปรุงระบบศูนย์ข้อมูลกลาง ผลการปรับปรุงระบบ ฯ
32
การจัดทำตัวชี้วัดผลการ ปฏิบัติงาน(KPI) และกำหนดค่าเป้าหมายผลงาน
33
ตัวชี้วัดผลของาน KPIs
วิสัยทัศน์/นโยบาย เป้าหมายองค์กร KPI วัฒนธรรมองค์กร ระดับองค์กร ระดับหน่วยงาน เป้าหมายหน่วยงาน KPI ตัวชี้วัดผลของาน KPIs ระดับบุคคล พฤติกรรมต่อผลสัมฤทธิ์งาน (Competencies) ระบบบริหารผลการปฏิบัติงาน (PMS)
34
ตัวชี้วัด และค่าเป้าหมาย
ตัวชี้วัด (Key Performance Indicators) เป็นดัชนีหรือหน่วยวัดความสำเร็จของการปฏิบัติงานที่กำหนดขึ้น โดยเป็นหน่วยวัดที่แสดงผลสัมฤทธิ์ของงานและสามารถแยกแยะความแตกต่างของผลการปฏิบัติงานได้ มักขึ้นต้นด้วยหน่วยวัด เช่น ร้อยละ จำนวน, ระดับ ฯ
35
ตัวชี้วัดผลการปฏิบัติงาน
KPI&PI KPI PI
36
จำแนกประเภทของตัวชี้วัดเชิงระบบ
ขั้นตอน Input Output คน เงิน องค์ความรู้ เทคโนโลยี ฯลฯ Process ผลสัมฤทธิ์ Outcome
37
จำแนกประเภทของตัวชี้วัดเชิงระบบ
ขั้นตอน Input Output คน เงิน องค์ความรู้ เทคโนโลยี ฯลฯ Process ผลสัมฤทธิ์ Outcome Input indicators เป็นตัวชี้วัดเกี่ยวกับทรัพยากรและให้ค่าในเชิงปริมาณ เช่น คน เงิน ฯ
38
จำแนกประเภทของตัวชี้วัดเชิงระบบ
ขั้นตอน Input Output คน เงิน องค์ความรู้ เทคโนโลยี ฯลฯ Process ผลสัมฤทธิ์ Outcome Process Indicators เป็นตัวชี้วัดที่สะท้อนการใช้ทรัพยากร หรือประโยชน์จากปัจจัยนำเข้าในการปฏิบัติงาน
39
จำแนกประเภทของตัวชี้วัดเชิงระบบ
Output Indicators เป็นตัวชี้วัดเกี่ยวกับผลสัมฤทธิ์ เป็นผลสัมฤทธิ์ เป็นผลที่เกิดขึ้นทันที วัดค่าในระยะสั้น มักให้ค่าในเชิงปริมาณ ขั้นตอน Input Output คน เงิน องค์ความรู้ เทคโนโลยี ฯลฯ Process ผลสัมฤทธิ์ Outcome Outcome Indicators เป็นตัวชี้วัดเกี่ยวกับผลสัมฤทธิ์ เช่นเดียวกับ Output เป็นการวัดผลสำเร็จในภาพรวม จึงมีระยะเวลาและขอบเขตการวัดผลที่ยาวนานกว่า และให้ผลกระทบในเชิงคุณภาพมากกว่า
40
การจำแนกตัวชี้วัดตามลักษณะของข้อมูลที่ใช้ในการวัด
1.ตัวชีวัดเชิงปริมาณ (Quantity) เป็นการประเมินผลจากการเปรียบเทียบผลการดำเนินงานจริงของตัวชี้วัด กับเกณฑ์การให้คะแนนที่กำหนด (บอกปริมาณ เช่น จำนวน ..) 2. ตัวชี้วัดตามขั้นตอนการดำเนินงาน (Milestone) เป็นการประเมินผลความสำเร็จจากความคืบหน้าของผลการดำเนินงานตามขั้นตอน/แผนงาน/โครงการ เปรียบเทียบกับแผนงานที่กำหนด 3. ตัวชี้วัดแบบผสมผสาน (Hybrid) เป็นการประเมินผลจากความคืบหน้าจากผลการดำเนินงานตามขั้นตอน/แผนงาน/โครงการ และประเมินจากการเปรียบเทียบผลการดำเนินงานจริง 4. ตัวชี้วัดผลสำเร็จ/ไม่สำเร็จ เป็นการประเมินผลความสำเร็จจากผลการดำเนินงานเทียบกับเกณฑ์การให้คะแนน 5. ตัวชี้วัดเชิงคุณภาพ เป็นการประเมินคุณภาพผลลัพธ์ที่ได้จากการดำเนินงาน เช่น คุณภาพชีวิต, ความพึงพอใจของผู้รับบริการ ,การเปลี่ยนแปลงพฤติกรรม
41
การจำแนกตัวชี้วัดตามช่วงเวลาของข้อมูลที่ใช้วัด
ใช้ในการประเมินผลลัพธ์สุดท้าย ใช้ในการติดตามผล Lagging Indicators Leading Indicators นิยาม เป็นการวัดผล ณ สิ้นสุดช่วงเวลา โดยเป็นการวัดผลงานในอดีต เป็นการวัดผลที่ผลักดันให้เกิดผลการดำเนินงานของ lag ตัวอย่าง ความพึงพอใจของประชาชนต่อการได้รับบริการที่ดี จำนวนชั่วโมงที่ใช้ในการบริการ จำนวนกระบวนการที่ปรับปรุง
42
ตัวชี้วัดระบบฐานข้อมูล
การจำแนกตัวชี้วัดตามขั้นตอนที่สำเร็จ (Milestones) ระดับที่ 5 นำไปใช้ประโยชน์ ในการบริหารงาน ตัวชี้วัดระบบฐานข้อมูล ระดับที่ 4 มีการเชื่อมโยง ระบบฐานข้อมูล ระดับที่ 3 มีระบบฐานข้อมูล ระดับที่ 2 ดำเนินการจัดทำ แต่ยังไม่แล้วเสร็จ ระดับที่ 1 ตั้งคณะทำงาน
43
ขั้นที่ 4 การกำหนดตัวชี้วัด
1. อะไรเป็นกิจกรรมหลักที่ใช้ในการทำงาน 2. อะไรเป็นผลลัพธ์ของการทำกิจกรรมหลัก 3. อะไรเป็นผลสัมฤทธิ์หลัก (Key Result Area) 4.จะวัดผลสัมฤทธิ์หลัก จะวัดความสำเร็จได้อย่างไร (KPI) 1.วางแผนการจัดทำระบบศูนย์ข้อมูลกลาง แผนการจัดทำระบบศูนย์ข้อมูล จังหวัดมีฐานข้อมูลกลางครบถ้วน ถูกต้อง ทันเวลา หรือ ความพึงพอใจของผู้รับบริการ ระดับความสำเร็จของการพัฒนาระบบศูนย์ข้อมูลกลาง... หรือ ร้อยละของความพึงพอใจผู้ใช้บริการ.... 2. วางแผนติดตั้งอุปกรณ์ระบบศูนย์ข้อมูลกลาง แผนติดตั้งอุปกรณ์ระบบศูนย์ข้อมูล 3.ติดตั้งระบบศูนย์ข้อมูลกลาง/บริหารจัดการ ควบคุม ดูแลบำรุงรักษา ระบบมีความพร้อมที่จะใช้งาน 4. สำรวจความพึงพอใจของใช้บริการ ผลการจากสำรวจความพึ่งพอใจของผู้ใช้บริการ 5. ปรับปรุงระบบศูนย์ข้อมูลกลาง ผลการปรับปรุงระบบ ฯ
44
ตัวอย่างประเภทตัวชี้วัดเชิงปริมาณ
(Output) ตัวชี้วัด ค่าเป้าหมาย เกณฑ์การให้คะแนน 1 2 3 4 5 ร้อยละ ของอำเภอสามารถควบคุมโรคติด ต่อสำคัญของ พื้นที่ได้ 80% 70 % 75 % 85% 90%
45
ตัวอย่างประเภทตัวชี้วัดเชิงปริมาณ
(Outcome) ตัวชี้วัด ค่าเป้าหมาย เกณฑ์การให้คะแนน 1 2 3 4 5 ร้อยละของผู้สูงอายุมีพฤติกรรมสุขภาพที่พึงประสงค์ 30% 20 % 25 % 35% 40%
46
ตัวอย่างเชิงปริมาณ มีค่าคะแนน 0 และ 5
ตัวอย่างเชิงปริมาณ มีค่าคะแนน 0 และ 5 ตัวชี้วัด ค่าเป้าหมาย เกณฑ์การให้คะแนน 1 2 3 4 5 ร้อยละ 100 ของผู้ตรวจพบเชื้อมาลาเรียได้รับการรักษาครบตามมาตรฐาน 100%
47
ตัวอย่างตัวชี้วัดตามขั้นตอนการดำเนินงาน(Milestone)
ค่าเป้าหมาย เกณฑ์การให้คะแนน 1 2 3 4 5 ระดับความสำเร็จของการถ่ายทอดตัวชี้วัดระดับองค์กรสู่ระดับบุคคล ขั้นตอนที่ 5 หน่วยงานวิเคราะห์ตัวชี้วัดโดยใช้ตาราง OS Matrix เพื่อเตรียมการถ่ายทอดตัวชี้วัดสู่ระดับกลุ่ม และรายบุคคล หน่วยงานจัดทำคำรับรองการปฏิบัติราชการประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2557 มีการติดตามความก้าวหน้าความสำเร็จตามตัวชี้วัด ค่าเป้าหมายที่กำหนดไว้ในคำรับรองการปฏิบัติราชการประจำปีงบประมาณ พ.ศ ของหน่วยงาน ประเมินผลความสำเร็จตัวชี้วัด ค่าเป้าหมายตามคำรับรองการปฏิบัติราชการของกลุ่ม ฝ่าย ในระดับผลการปฏิบัติงานรายบุคคล ปีละ 2 ครั้งในรอบ 6 เดือนแรก และ 6 เดือนหลัง มีการจัดสรรสิ่งจูงใจที่สอดคล้องกับผลสัมฤทธิ์ (Performance) ตามตัวชี้วัดที่ได้รับการถ่ายทอดรายบุคคลปีละ 2 ครั้งในรอบ 6 เดือนแรก และ 6 เดือนหลัง
48
ตัวอย่างตัวชี้วัดแบบผสมผสาน (Hybrid)
ค่าเป้าหมาย เกณฑ์การให้คะแนน 1 2 3 4 5 ระดับความสำเร็จของการพัฒนาทีมเฝ้าระวังสอบสวนเคลื่อนที่เร็ว (SRRT) คุณภาพระดับอำเภอ ขั้นตอนที่ 5 สรุปผลการประเมิน มาตรฐานทีม SRRT ระดับอำเภอในปีที่ผ่านมา เพื่อหาประเด็นการพัฒนาของทีม SRRT ระดับอำเภอ จำแนกรายจังหวัด และแจ้งให้หน่วยงานเครือข่ายที่เกี่ยวข้องทราบ วิเคราะห์หาความเป็นไปได้ของการผ่านการประเมินในปี 2558 ของทีม SRRT ระดับอำเภอที่ผลการประเมินหมดอายุนำผลการวิเคราะห์ข้างต้นหารือร่วมกับจังหวัด ดำเนินการพัฒนาศักยภาพทีมตามแผนและแนวทางที่กำหนดร่วมกัน หรือตามประเด็นการพัฒนาที่วิเคราะห์ได้ ดำเนินการประเมินมาตรฐานทีม SRRT ตามกลุ่มเป้าหมายที่กำหนด และสรุปผลการประเมิน ร้อยละสะสมของทีม SRRT ระดับอำเภอที่ผ่านการประเมินมาตรฐาน
49
แนวทางในการกำหนดตัวชี้วัดระดับบุคคล
บทบาท หน้าที่ของ บุคคล ที่สนับสนุนต่อ เป้าประสงค์และตัวชี้วัด ของผู้บังคับบัญชา งานที่ได้รับ มอบหมาย เป็นพิเศษ เป้าประสงค์ในระดับบุคคล ตัวชี้วัดในระดับบุคคล บทบาท หน้าที่งาน ของบุคคล (Job Description)
50
ตัวชี้วัดที่เหมาะสมกับบุคลากรแต่ละระดับ
ผู้บริหารองค์กร หัวหน้าหน่วยงาน ผู้ปฏิบัติงาน ตัวชี้วัดที่เหมาะสม ผลลัพธ์ (Outcome) ตัวชี้วัดที่เหมาะสม ผลผลิต (Output) ผลลัพธ์ (Outcome) ตัวชี้วัดที่เหมาะสม - ผลผลิต (Output) - กระบวนการทำงาน (Process) - ปัจจัยนำเข้า (Input)
51
การกำหนด KPI มุ่งเน้นการมีส่วนร่วมของผู้ประเมิน และผู้รับการประเมิน
กรอบกระบวนการในภาพรวม ประเด็นสำคัญในการประเมิน ประเด็นสำคัญในการประเมินคือผู้รับการประเมินมีส่วนร่วมในการกำหนดตัวชี้วัด พร้อมทั้งได้รับการแจ้งผลเพื่อการปรับปรุงพัฒนาเมื่อครบรอบการประเมิน การกำหนดเป้าหมายเพื่อประโยชน์สูงสุดต่อองค์กรและกระตุ้นให้เจ้าหน้าที่นำศักยภาพของตนเองออกมาใช้ ควรท้าทายในการปฏิบัติงาน เช่น ระดับ 4, 5 ควรอย่างยิ่งที่จะสูงกว่าผลงานในอดีตผ่านมา หรือแสดงให้เห็นพัฒนาการอย่างชัดเจน มีความชัดเจนในกระบวนการเก็บข้อมูล แนวทางการวัดผล เป้าหมายที่กำหนด พร้อมสื่อสารให้ผู้รับการประเมินและผู้ประเมินเข้าใจตรงกัน ต้นรอบการประเมิน ร่วมกันกำหนด 1 2 3 4 5 ท้ายรอบการประเมิน ประเมินระดับ แจ้งให้ทราบ/อธิบาย เน้นให้การประเมินผลการปฏิบัติราชการเป็นปัจจัยผลักดันให้ปฏิบัติหน้าที่โดยมุ่งเน้นผลสัมฤทธิ์เป็นสำคัญ ผู้รับการประเมินมีส่วนร่วมทั้งในช่วงต้นรอบการประเมินและเมื่อครบรอบการประเมิน หัวหน้างาน/ผู้ประเมิน ผู้รับการประเมิน
52
การกำหนดตัวชี้วัดระดับบุคคลจาก JD
ชื่อส่วนราชการ แบบบรรยายลักษณะงาน (Job Description) ตำแหน่งเลขที่ ส่วนที่ 1 ข้อมูลทั่วไป (Job Title) ชื่อตำแหน่งในการบริหารงาน ชื่อสายงาน ประเภท/ระดับ ชื่อหน่วยงาน (สำนัก/กอง) ชื่อส่วนงาน/กลุ่มงาน/ฝ่าย/งาน ชื่อตำแหน่งผู้บังคับบัญชาโดยตรง ประเภท/ระดับ
53
หน้าที่ความรับผิดชอบหลัก (ทำอะไรเพื่อ อะไร) ตัวอย่างตัวชี้วัด (KPIs)
ส่วนที่ 2 หน้าที่ความรับผิดชอบโดยสรุป (Job Summary) ส่วนที่ 3 หน้าที่ความรับผิดชอบที่ทำอยู่ในปัจจุบัน (รวมถึงที่จะต้องทำในอนาคตด้วย) 1) ชื่อด้าน ลำดับที่ หน้าที่ความรับผิดชอบหลัก (ทำอะไรเพื่อ อะไร) ตัวอย่างตัวชี้วัด (KPIs) 1 2 3 4 5
54
การกำหนดค่าเป้าหมาย (Target)
ค่าเป้าหมาย (Targets) หมายถึง เป้าหมายในเชิงปริมาณหรือคุณภาพ หรือทั้งสองส่วน ที่ทำให้แยกแยะได้ว่า การปฏิบัติงานประสบความสำเร็จตามตัวชี้วัด (KPIs) ที่กำหนดไว้หรือไม่ มากน้อยเพียงใด ภายในระยะเวลาที่ระบุไว้อย่างชัดเจน
55
การกำหนดค่าเป้าหมายที่เหมาะสม
การวิเคราะห์ความเหมาะสมของเป้าหมายตัวชี้วัด แผนการปฏิบัติงาน และปัจจัยต่างๆ ที่ส่งผลกระทบต่อการดำเนินงาน การทำเกณฑ์เปรียบเทียบผลการดำเนินงาน (Benchmarking) มาตรฐานสากลที่เป็นที่ยอมรับโดยทั่วไป ผลการดำเนินงานในอดีต (Past Performance) ผลการดำเนินงานที่ดีที่สุดของหน่วยงาน (Best Performance) นโยบายอย่างก้าวกระโดด (Stretch Targets)
56
กรอบการกำหนดค่าเป้าหมาย
1 2 3 4 5 ค่าเป้าหมายต่ำสุดที่รับได้ ค่าเป้าหมายในระดับท้าทาย มีความยากค่อนข้างมาก โอกาสสำเร็จ <50% ค่าเป้าหมายในระดับต่ำกว่ามาตรฐาน ค่าเป้าหมายที่มีความยากปานกลาง ค่าเป้าหมายที่เป็นค่ามาตรฐานโดยทั่วไป Start สำนักงาน ก.พ.
57
การกำหนดค่าเป้าหมาย การกำหนดค่าเป้าหมายจากข้อมูลพื้นฐาน (baseline data)
แบบที่ 1 กรณีผลการดำเนินงานที่ผ่านมา (baseline) 3 ปี ย้อนหลัง มีแนวโน้มเพิ่มขึ้น/ดีขึ้น ให้กำหนด X ไว้ที่ค่าคะแนน 3 X = ผลการดำเนินงานปีล่าสุด
58
หลักการกำหนดค่าเป้าหมาย การกำหนดค่าเป้าหมายจากข้อมูลพื้นฐาน (baseline data)
แบบที่ 2 กรณีผลการดำเนินงานที่ผ่านมา (baseline) 3 ปี ย้อนหลัง มีแนวโน้มขึ้นลงไม่แน่นอน ให้กำหนด X หมายถึง ผลการดำเนินงานเฉลี่ย 3 ปีย้อยหลัง กำค่า X ไว้ที่ค่าคะแนน 3 X = ค่าเฉลี่ยผลงานย้อนหลัง 3 ปี
59
หลักการกำหนดค่าเป้าหมาย การกำหนดค่าเป้าหมายจากข้อมูลพื้นฐาน (baseline data)
แบบที่ 3 กรณีถูกกำหนดค่าเป้าหมายตามเป้าหมายของหน่วยงาน ให้ใช้ค่าเป้าหมายนั้น เป็นค่า X = 3 คะแนน และให้กำหนดช่วงค่าคะแนน 4 ,5 ตามในระดับท้าทาย ความเหมาะสม และค่า 3 คะแนนต้องไม่ต่ำผลงานปีล่าสุด (ถ้า baseline ดีกว่า เป้าหมาย) แบบที่ 4 กรณีมีการเทียบเคียงผลงานกับหน่วยงานที่เป็นตัวอย่างที่ดี (Benchmark) หากหน่วยงาน มีผลงานต่ำกว่าหน่วยงานเทียบเคียง ควรใช้ค่าเฉลี่ยของผลงานของหน่วยงานเทียบเคียงเป็นค่าคะแนน 3
60
ข้อพึงระวังในการกำหนดตัวชี้วัด
เจาะจง (Specific) มีความเจาะจง ว่าต้องการวัดอะไร และ ผลลัพธ์ที่ต้องการคืออะไร วัดได้(Measurable) ต้องวัดผลที่เกิดขึ้นได้ไม่เป็นภาระ ตัวชี้วัดไม่มากเกินไป วัดเชิงปริมาณ คุณภาพหรือเวลา เห็นชอบ (Agreed Upon) ต้องได้รับการเห็นชอบซึ่งกันและกัน ระหว่างผู้ใต้บังคับบัญชา และ ผู้บังคับบัญชา เป็นจริงได้(Realistic) ต้องท้าทาย และมีโอกาสเป็นไปได้ ทําสําเร็จ ได้ภายใต้กรอบเวลา (รอบการประเมิน) เหมาะสม (Time Bound) มีกรอบเวลาในการทำงานที่เหมาะสม ไม่สั้นไม่ยาวเกินไป
61
ตัวชี้วัด กลุ่มงาน ตัวชี้วัดบุคคล ข้อควรระวัง!
ตัวชี้วัดระดับบุคคล ไม่ส่งผลลัพธ์ต่อตัวชี้วัดระดับกลุ่มงาน (ผู้บังคับบัญชา) ตัวชี้วัด กลุ่มงาน ตัวชี้วัดบุคคล
62
ตัวชี้วัด กลุ่มงาน ลักษณะที่ดีของตัวชี้วัดกลุ่มงาน และตัวชี้วัดบุคคล
63
ความสอดคล้องของผลการประเมินรายบุคคลกับภาพรวมของหน่วยงาน
ทีม A ผลการประเมินการปฏิบัติราชการของทีมในภาพรวมอยู่ที่ 3.5 คะแนน ในขณะที่คะแนนรายบุคคลอยู่ระหว่าง 1-2 คะแนน สะท้อนให้เห็นว่าการให้คะแนนรายบุคคลต่ำหรือถูกกดมากเกินไป ทีม B สะท้อนภาพในทางตรงกันข้ามกับทีม A กล่าวคือคะแนนรายบุคคลสูงแต่มิได้สะท้อนออกมาในผลิตภาพเชิงรวมอย่างแท้จริง ทีม C จากกราฟแม้คะแนนรายบุคคลและผลการประเมินรวมจะสอดคล้องกัน แต่ปัญหาคือจะไม่สามารถแยกกลุ่มผู้ที่ปฏิบัติงานได้ดีและโดดเด่นออกจากกันได้ ผู้ที่ทุ่มเทในการทำงานสูงอาจท้อแท้และเข้าใจว่าความทุ่มเทของตนเองมิได้รับการเห็นคุณค่า ทีม D คะแนนรายบุคคลและผลการประเมินรวมจะสอดคล้องกัน มีการกระจายของคะแนนรายบุคคลอย่างเหมาะสม สามารถจัดออกเป็นกลุ่มได้ ช่วยผลักดันให้เกิดวัฒนธรรมการปฏิบัติงานอย่างมุ่งผลสัมฤทธิ์อย่างแท้จริง ผลการประเมิน ข้อสังเกตเพื่อการตรวจสอบ 5 4 3 2 1 Team A Team B Team C Team D คะแนนฯรายบุคคล (Individual score) คะแนนฯหน่วยงาน/ทีม (Team score) * Key message: Alignment of individual score and team score
64
จัดทำรายละเอียดตัวชี้วัด (Template)
65
วัตถุประสงค์ของการจัดทำรายละเอียดตัวชี้วัด
เป็นวิธีการในการนำตัวชี้วัดไปสู่การปฏิบัติให้เกิดผลสำเร็จ เนื่องจากการกำหนดตัวชี้วัด จะต้องมีความชัดเจน และสื่อสารไปให้ผู้ปฏิบัติงานเข้าใจว่า ต้องการให้เกิดผลอะไร และจะวัดผลได้อย่างไร เพื่อระบุรายละเอียดต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับตัวชี้วัด และการประเมินผล เช่น คำนิยาม สูตรการคำนวณผลงาน รอบระยะเวลาในการจัดเก็บข้อมูล และประเด็นต่างๆ ที่ได้ ตกลงกันไว้ เพื่อให้ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องเข้าใจรายละเอียดตัวชี้วัดได้ถูกต้องตรงกัน ซึ่งจะช่วยให้การปฏิบัติราชการ และการประเมินผลเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น
66
แบบฟอร์มเอกสารรายละเอียดตัวชี้วัด (KPI Template)
ชื่อตัวชี้วัด หน่วยวัด น้ำหนัก ร้อยละ คำอธิบายตัวชี้วัด สูตรการคำนวณ เกณฑ์การให้คะแนน เงื่อนไขตัวชี้วัด ข้อมูลพื้นฐานประกอบตัวชี้วัด แหล่งข้อมูล/วิธีการจัดเก็บข้อมูล ความถี่ในการจัดเก็บข้อมูล ผู้กำกับดูแลตัวชี้วัด ผู้จัดเก็บตัวชี้วัด
67
แนวทางการเขียนรายละเอียดตัวชี้วัด
1. ชื่อตัวชี้วัด ระบุชื่อตัวชี้วัดของส่วนราชการ 2. หน่วยวัด ระบุหน่วยวัดของตัวชี้วัด เช่น ร้อยละ แห่ง ราย บาท ระดับ ขั้นตอน เป็นต้น 3. น้ำหนัก ระบุน้ำหนัก (ถ้ามี) 4. คำอธิบาย ระบุคำจำกัดความและรายละเอียดเพิ่มเติม ของตัวชี้วัดเพื่อให้ผู้ประเมินและผู้ได้รับการ ประเมินผลมีความเข้าใจที่ตรงกันถึงแนว ทางการวัดผลตัวชี้วัด
68
แนวทางการเขียนรายละเอียดตัวชี้วัด
5. สูตรการคำนวณ ระบุสูตรการคำนวณที่สอดคล้องกับวิธีการวัดผลของตัวชี้วัด 6. เกณฑ์การให้คะแนน ระบุเกณฑ์การให้คะแนนของแต่ละ 7. เงื่อนไข ระบุเงื่อนไขที่จำเป็น ซึ่งมีส่วนสำคัญต่อการบรรลุผลสำเร็จของตัวชี้วัด 8. รายละเอียดข้อมูลพื้นฐาน ระบุข้อมูลผลการดำเนินงานในอดีตของตัวชี้วัด ซึ่งต้องมีแนวทางการจัดเก็บข้อมูลสอดคล้องกับคำจำกัดความของตัวชี้วัดที่ใช้ในการประเมินผลปีงบประมาณปัจจุบัน
69
แนวทางการเขียนรายละเอียดตัวชี้วัด
9. แหล่งข้อมูล / วิธีการจัดเก็บข้อมูล ระบุแหล่งของข้อมูลที่ส่วนราชการนำมาใช้อ้างอิงในการประเมินผล รวมทั้งวิธีการจัดเก็บข้อมูล 10. ชื่อผู้กำกับดูแลตัวชี้วัด พร้อมหมายเลขโทรศัพท์ ระบุชื่อผู้ที่ได้รับมอบหมายให้ทำหน้าที่ดูแล ติดตามการดำเนินงานให้ตัวชี้วัดบรรลุผลสำเร็จ พร้อมทั้งเบอร์โทรศัพท์ทั้งที่สำนักงานและโทรศัพท์เคลื่อนที่ในกรณีที่ต้องปฏิบัติราชการนอกสถานที่ทำงานเป็นประจำ 11. ผู้จัดเก็บข้อมูล พร้อมหมายเลขโทรศัพท์ ระบุชื่อผู้ที่ได้รับมอบหมายให้ทำหน้าที่รวบรวมข้อมูลการดำเนินงานของตัวชี้วัด พร้อมเบอร์โทรศัพท์ทั้งที่สำนักงานและโทรศัพท์เคลื่อนที่ในกรณีที่ต้องปฏิบัติราชการนอกสถานที่ทำงานเป็นประจำ
งานนำเสนอที่คล้ายกัน
© 2024 SlidePlayer.in.th Inc.
All rights reserved.