ดาวน์โหลดงานนำเสนอ
งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ
1
การพัฒนางานวิจัยจากงานประจำ
Routine to Research R2R สุทธินันท์ สระทองหน
2
การวิจัยเพื่อพัฒนางานประจำ : เครื่องมือสร้างองค์กรแห่งการเรียนรู้
การวิจัยเพื่อพัฒนางานประจำ : เครื่องมือสร้างองค์กรแห่งการเรียนรู้ “งานที่ทำเป็นประจำทุกวัน สามารถนำมาใช้เป็นแหล่งข้อมูล สำหรับวางแผนวิจัยอย่างเป็นระบบ มีการป้องกันอคติไว้อย่างรัดกุม มีการตั้งคำถามวิจัยอย่างชัดเจน มีการประมวลข้อมูลอย่างน่าเชื่อถือ และได้ข้อสรุปที่เป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาคุณภาพงาน คนที่ทำงานในหน่วยงานได้มีการพัฒนาอยู่ตลอดเวลา ดังนั้น การวิจัยและพัฒนา เป็นส่วนหนึ่งของการจัดการระบบความรู้ในหน่วยงาน หรือองค์การ” (วิจารณ์ พานิช, ๒๕๔๖)
3
R2R เป็นเครื่องมือในการพัฒนาคน เพื่อพัฒนางานขับเคลื่อนองค์กร สู่องค์กรแห่งการเรียนรู้ (Learning Organization) (วิจารณ์ พานิช, ๒๕๔๖)
4
อะไรคือ “Routine to Research”?
R2R คือ “การพัฒนางานประจำสู่งานวิจัย” ผลลัพธ์ของ R2R ไม่ได้มุ่งหวังเพียงแค่ได้ผลงานวิจัยเท่านั้น แต่มีเป้าหมายที่จะนำผลงานวิจัย R2R ไปใช้พัฒนางานประจำนั้นๆ ด้วย พัฒนางานประจำที่ทำทุกวัน... ให้เป็นผลงานวิจัย เปลี่ยนปัญหาหน้างาน... ให้เป็นผลงานวิจัย
7
R2R มีองค์ประกอบที่สำคัญ 4 อย่าง
2. ผู้วิจัย (ทุกท่านที่นั่งอยู่ในที่นี้!!!) : ต้องเป็นผู้ทำงานประจำนั้นเอง และต้องทำหน้าที่ หลักในการวิจัยด้วย
8
R2R มีองค์ประกอบที่สำคัญ 4 อย่าง
3. ผลลัพธ์ของงานวิจัย : ต้องวัดผลได้จากตัวผู้รับบริการจากเรา หรือผู้ป่วยโดยตรง เช่น ด้านการทำงานบริการ จะช่วยลดขั้นตอนการทำงาน, การบริการดีขึ้น, แก้ปัญหาภาระงานที่ทำอยู่ได้ ส่วนด้านการดูแลผู้ป่วย ผลการรักษาจะดีขึ้น, ภาวะแทรกซ้อนหรือระยะเวลาในการพักรักษาตัวที่โรงพยาบาลลดลง เป็นต้น
9
R2R มีองค์ประกอบที่สำคัญ 4 อย่าง
4. การนำผลการวิจัยไปใช้ : สามารถนำไปปรับปรุงการทำงานและการบริการให้ดีขึ้นในบริบทของแต่ละองค์กร “ ควรพัฒนา R2R จากงานที่ทำอยู่ ... ไม่ควรเปิดหน้างานเพิ่มภาระให้ตนเอง ”
10
R2R กับ Deming Cycle Plan Do Check Act
11
Deming Cycle: PDCA P: การกำหนดปัญหาปัจจุบัน ให้เกิดผลลัพธ์ วิเคราะห์สภาพปัจจุบัน ผลสัมฤทธิ์ ให้เกิด outcome=ผลผลิต+ผลลัพธ์ D: นำทฤษฎีมาส่งเสริม สนับสนุนและพัฒนาสู่การปฏิบัติ C: ตรวจสอบทฤษฎีกับภาพที่เห็น ผลการศึกษามาปรับปรุง A: มีกระบวนการนำมาใช้ใหม่ ปฏิบัติการปรับใหม่
12
R2R มีบุคคลที่สำคัญเกี่ยวข้องกันอยู่ 3 กลุ่ม
1. ผู้วิจัย R2R : ควรเริ่มจากใจ ที่มุ่งหมายหรือต้องการพัฒนางานประจำ รู้จักค้นหาคำถามวิจัยที่เป็นกุญแจสู่การพัฒนาการบริการ การทำงาน ผลลัพธ์จากการทำ R2R คือ ส.ป.ก. ( ส. คือ ความสุข สนุกในการทำงาน / ป. คือ ปัญญาเก่งขึ้น ฉลาดขึ้น / และ ก. คือ ความก้าวหน้าในหน้าที่การงาน )
13
2. คุณอำนวย ไม่ใช่ครู ไม่ใช่วิทยากร ไม่ใช่เจ้าของโครงการ เป็นผู้อำนวยความสะดวกต่อกิจกรรม R2R โดยใช้แนวคิด KM (Knowledge Management) ความสำเร็จของกลุ่มคนจำนวนน้อยมาเล่า มาแลกเปลี่ยน และต่อยอด (Success Story telling) มีการสนับสนุนกิจกรรม R2R เชิงรุก มีการวิพากษ์งานวิจัยอย่างสร้างสรรค์
14
3. ผู้บริหาร ต้องมีความรู้ ความเข้าใจถึงแนวคิดและปรัชญา R2R อย่างแท้จริง ให้การสนับสนุนการทำกิจกรรม R2R อย่างเหมาะสม ใช้ R2R เป็นเครื่องมือในการพัฒนาคน เพื่อพัฒนางานประจำ นำพาองค์กรสู่องค์กรแห่งการเรียนรู้(Learning Organization) “ R2R กับ KM เขาจึงเป็นแฟนกัน... เพราะเขาช่วยกันขับเคลื่อนองค์กร... สู่องค์กรแห่งการเรียนรู้”
15
ปัจจัยแห่งความสำเร็จ และความยั่งยืนของ R2R (Key Success Factors )
คือ ประโยชน์ของผลงาน R2R ที่มีต่อผู้รับบริการ และองค์กรอย่างแท้จริงส่งผลให้ผู้ปฏิบัติงานมีความสุข สนุกกับงานที่ไม่ได้ทำไปวันๆ อีกต่อไปจน R2R กลายเป็นวิถีชีวิตและวัฒนธรรมองค์กร
16
จงวิเคราะห์ตนเองท่านอยู่ในกลุ่มใด ?
กลุ่ม 1 เก็บข้อมูลเอาไว้บ้างแล้วแต่ยังไม่รู้ว่าจะทำอะไรต่อไปอย่างไร กลุ่ม 2 มีโครงการวิจัยหรือมีหัวข้ออยู่แล้ว แต่ยังไม่ได้เริ่มทำ กลุ่ม 3 สนใจที่จะทำงานวิจัยมาก แต่ยังไม่มีโครงการแน่นอน กลุ่ม 4 สนใจที่จะทำวิจัยพอควร แต่ไม่ค่อยแน่ใจว่าจะทำได้หรือไม่ กลุ่ม 5 ไม่ต้องการทำวิจัยเลย คิดว่ายุ่งยาก และไม่สนใจ
17
ทั้ง 5 กลุ่มนี้ สามารถทำงานวิจัยได้สำเร็จทั้งสิ้น โดยการเริ่มต้นที่ไม่เหมือนกัน และอาจใช้เวลาต่างกัน
18
กลุ่ม 1 เก็บข้อมูลมาบ้างแล้ว ลองเอาข้อมูลเดิมมาพิจารณา แล้วดูว่าเราจะใช้ประโยชน์อะไรได้บ้าง
การวิจัยเป็นแบบ survey เพื่อดูอุบัติการณ์ของปัญหาบางอย่าง กลุ่ม 2 มีโครงการวิจัยหรือมีหัวข้ออยู่แล้ว แต่ยังไม่ได้เริ่มทำ เริ่มต้นปรับโครงการเดิม โดยเขียนให้ชัดเจนขึ้น มีการทบทวนเอกสารมากขึ้น ส่งที่ปรึกษาช่วย
19
กลุ่ม 3 สนใจมาก แต่ไม่รู้ว่าจะเริ่มต้นอย่างไร
ดูปัญหาใกล้ตัว วิเคราะห์ปัญหาให้ชัด เริ่มพัฒนาโครงการตามขั้นตอน กลุ่ม 4 สนใจพอควร แต่ยังไม่ค่อยแน่ใจว่าจะทำได้หรือไม่ อ่านเอกสารที่เกี่ยวข้องมากๆ เพื่อกระตุ้นให้คิดได้ ศึกษาบทเรียนของผู้อื่น ทั้งทางตรงและทางอ้อม เพื่อให้เกิดการต่อยอดความคิดของตนเอง
20
กลุ่ม 5 ไม่ต้องการทำวิจัยเลย คิดว่ายุ่งยาก และไม่สนใจ
อย่ายุ่ง อย่ากวน อย่าชวน ไม่สน
21
กลุ่ม 5 1. ลองคิดใหม่อีกครั้ง 2. ลองหาทางทำงานวิชาการประเภทอื่นๆที่เทียบเคียง - ทบทวนงานวิจัย - ใช้ผลการวิจัย (research utilization)
22
เมื่อตัดสินใจเริ่มต้น ก้าวแรกมักเป็นก้าวที่ต้องการ... ผู้ช่วยเหลือ
23
ส่วนก้าวต่อๆไป เป็นก้าวที่ต้องการ เพื่อนคู่หู
24
การทำวิจัย เป็นทีม เป็นอีก กลวิธีหนึ่ง ที่จะทำให้เกิด ความสำเร็จ
25
คำถาม 108 ที่อาจเป็นอุปสรรค
นักวิชาการมักตั้งคำถามเหล่านี้ 1. การคำนวณขนาดตัวอย่าง ??? 2. ความน่าเชื่อถือของ intervention?? ?????????????
26
ของนักปฏิบัติการ ที่กำลังริเริ่มทำวิจัยใหม่ๆ ทำให้เบื่อหน่าย
คำถามเหล่านี้ อาจบั่นทอนกำลังใจ ของนักปฏิบัติการ ที่กำลังริเริ่มทำวิจัยใหม่ๆ ทำให้เบื่อหน่าย และไม่อยากทำ!!!!! แง แกล้งหนู ไม่ทำก็ได้ ... ฮือๆๆ โน่นก็ผิด นี่ก็ผิด ...
27
ทางออกที่ดี พบกันคนละครึ่งทาง
พยายามผลักดันให้นักปฏิบัติมองงานที่ทำอยู่ประจำวันเป็นงานวิจัย งานพัฒนาคุณภาพที่ทำอยู่ เก็บข้อมูลดีๆ รายงานผลให้เป็น และใช้สถิติเปรียบเทียบให้ถูกต้อง ก็สามารถ report ได้ในลักษณะของงานวิจัย
28
สิ่งสนับสนุนที่ช่วยเอื้อ
ผู้บริหารด้านการวิจัยขององค์กร 1. เข้าใจธรรมชาติงานวิจัยทางคลินิกของนักปฏิบัติ 2. นักปฏิบัติอยู่กับการปฏิบัติ ต้องเอื้อให้สามารถใช้การปฏิบัติ และการแก้ปัญหาการปฏิบัติประจำวัน พัฒนาไปเป็นการวิจัย
29
สิ่งสนับสนุนที่ช่วยเอื้อ “ต้องหาที่ปรึกษาทางด้านนี้”
3.ต้องเข้าใจว่านักปฏิบัติที่ยังไม่เคยทำวิจัยเอง อาจไม่คล่องตัว เรื่องการใช้สถิติในกระบวนการวิจัย ดังนั้น “ต้องหาที่ปรึกษาทางด้านนี้”
30
สิ่งสนับสนุนที่ช่วยเอื้อ
4. ต้องเปิดไฟเขียวให้ทุกๆเรื่อง ไม่จู้จี้เกินไป และต้องยอมรับความไม่สมบูรณ์บางอย่างได้ 5. ตระหนักเสมอว่า ถ้าไม่มีการเริ่มต้นงานที่ 1 จะไม่มีงานที่ 2,3,4……
31
@!?? มึนไปหมด @%?! พักก่อนดีมั้ยครับ ???
32
ตัวอย่างการเริ่มต้นงาน R2R ง่ายๆ
ผลของการลดขั้นตอนการทำแผลต่อการบรรเทาความเจ็บปวดระหว่างการทำแผลในผู้ป่วยแผลไหม้ (project R 2 R, routine to research ของ burn unit รพ. ราชบุรี)
33
1. สังเกตจากปัญหาการปฏิบัติงานว่าช่วงระยะเวลาที่ผู้ป่วย burns
ขั้นเริ่มต้น R2R 1. สังเกตจากปัญหาการปฏิบัติงานว่าช่วงระยะเวลาที่ผู้ป่วย burns มีระดับความเจ็บปวดมากที่สุด คือช่วงของการทำแผล
34
ขั้นเริ่มต้น R2R เพื่อยืนยันว่าสิ่งที่สังเกต เป็นความจริง พยาบาลเริ่มสังเกต และบันทึกข้อมูลอย่างเป็นระบบด้วย แบบบันทึกระดับความเจ็บปวดในระยะพัก ระยะก่อนทำแผล ระหว่างการทำแผล หลังทำแผลเสร็จทันที และหลังทำแผลเสร็จประมาณ 30 นาทีเป็นเวลา 3 วัน(practice trigger หรือ problem focused) โดยเก็บจากผู้ป่วยจำนวน 10 คน
35
ขั้นเริ่มต้น R2R ผลลัพธ์จากขั้นตอนที่ 2 ได้งานวิจัยแบบสำรวจ 1 เรื่อง
ที่บอกถึงรูปแบบและระดับ ความเจ็บปวดที่เกิดขึ้นในผู้ป่วย burns ช่วงท้ายของขั้นตอนนี้ผู้วิจัยได้ทบทวนวรรณกรรมที่เกี่ยวข้องเพื่อ confirm สิ่งที่ค้นพบและใช้อภิปรายผลการศึกษา เรียกว่าเป็น knowledge triggers
36
ขั้นกลางของ R2R 3. ระบุความจำเป็นของการหาวิธีการปฏิบัติเพื่อช่วยลดความเจ็บปวดระหว่างการทำแผลด้วยวิธีการลดขั้นตอนการทำแผลจาก 7 ขั้นตอน เป็น 6 ขั้นตอน เพื่อลดระยะเวลาของการทำแผล ใช้กลุ่มตัวอย่าง 10 คน ได้รับการทดลองทั้ง 2 อย่างสลับกันไปเป็นเวลา 2 วัน
37
ขั้นกลางของ R2R ผู้ป่วย วันที่ เวลา วิธีทำแผล 1 1 เช้า 7 ขั้นตอน
ผู้ป่วย วันที่ เวลา วิธีทำแผล 1 1 เช้า 7 ขั้นตอน บ่าย 6 ขั้นตอน 2 เช้า 6 ขั้นตอน บ่าย 7 ขั้นตอน 2 1 เช้า 6 ขั้นตอน 2 เช้า 7 ขั้นตอน
38
เก็บข้อมูลระดับความเจ็บปวด ก่อน ระหว่าง และหลังการทำแผล
ก่อน ระหว่าง และหลังการทำแผล แล้วเปรียบเทียบระดับของความเจ็บปวดแต่ละระยะระหว่างการทำแผลด้วยวิธีการ 2 อย่าง (6 ขั้นตอน VS 7 ขั้นตอน)
39
ผลลัพธ์ของขั้นตอนนี้ ได้งานวิจัยเชิงการทดลอง 1 เรื่อง
ที่ทำแล้วแก้ปัญหาให้กับผู้ป่วยได้โดยตรง และนำสู่การเปลี่ยนแปลงการปฏิบัติได้ทันที เหมือนงาน พัฒนาคุณภาพการพยาบาล (QI)
40
การดำเนินการทุกอย่าง แต่ละขั้นตอนมีกิจกรรมที่แตกต่างกัน
R2R เป็นกระบวนการ การดำเนินการทุกอย่าง เป็นไปตามขั้นตอน แต่ละขั้นตอนมีกิจกรรมที่แตกต่างกัน
41
ลงมือทำ คิด วิเคราะห์ เขียน การคิด เขียน โครงร่าง
1.ระบุหัวข้อหรือปัญหาการวิจัยและทบทวนวรรณกรรม 2.กำหนดตัวแปรของการวิจัย และวิธีวัดตัวแปร 3.กำหนดระเบียบวิธีวิจัย 4.กำหนดประชากรและ กลุ่มตัวอย่างในการวิจัย 5.ดำเนินการเก็บข้อมูล 6.วิเคราะห์ข้อมูล 7.เขียนรายงานการวิจัย 8.เผยแพร่งานวิจัย การคิด เขียน โครงร่าง ลงมือทำ คิด วิเคราะห์ เขียน
42
การเริ่มต้นทำ R2R “คิดโจทย์ใน R2R”
43
เริ่มต้นคิดหัวข้อ R2R กันอย่างไร ?
44
คิดเอง? คิด คิด คิด วิจัย วิจัย วิจัย R 2 R, P 2 R…….
45
บอกต่อ? ทำเรื่องนี้ซิเธอ … ………….in trend ว่าไงนะเธอ ฉันไม่ได้ยิน
46
วิเคราะห์ปัญหาที่เกิดขึ้นในคลินิก?
47
คนที่จะริเริ่มทำ R2R ต้องไม่เป็น พวก “ทองไม่รู้ร้อน”
48
โจทย์ R2R พิสูจน์ทฤษฎี การทำวิจัยซ้ำ
ความไม่พอใจในสิ่งที่ปฏิบัติ เอากิเลสของคนอื่นมาเป็นที่ตั้ง การอ่านวารสาร งานวิจัยที่ตีพิมพ์ การพบปะพูดคุย พิสูจน์ทฤษฎี การทำวิจัยซ้ำ
49
โจทย์ R2R ได้จาก 1.ความไม่พอใจในสิ่งที่ปฏิบัติอยู่ในปัจจุบัน เอากิเลสของตนเป็นที่ตั้งโจทย์ -สำรวจว่างานที่ทำอยู่ในปัจจุบัน มีอะไรที่เป็นปัญหา -ถ้าไม่มีปัญหาแล้ว การปฏิบัติแบบเดิมๆ ที่ทำ ปรับให้ดีขึ้นได้หรือไม่ -ถ้ารู้สึกว่าดีแล้ว ทำให้ดีกว่านี้ได้หรือไม่
50
-วิจัยที่ดี ต้องมีคนต้องการ
โจทย์ R2R ได้จาก 2.ความพอใจหรือเป้าหมายขององค์กร ซึ่งรวมถึงผู้ป่วยและครอบครัว เอากิเลสของคนอื่นมาเป็นที่ตั้ง -วิจัยที่ดี ต้องมีคนต้องการ -วิจัยที่ดี ต้องแก้ปัญหาให้คนที่เกี่ยวข้องได้ -การวิเคราะห์ความต้องการของผู้เกี่ยวข้อง จะทำให้ได้รับ support ที่ดี (เงิน เวลา นโยบายในการเปลี่ยนแปลง)
51
โจทย์ R2R ได้จาก 3. การอ่านวารสาร งานวิจัยที่ตีพิมพ์ -ศึกษางานของคนอื่นๆบ้าง เพราะปัจจุบัน เราไม่ได้เริ่มต้นจากศูนย์แล้ว - ใครทำอะไร ? - ทำไปถึงไหน ? - ช่องว่างอยู่ตรงไหน ?
52
โจทย์ R2R ได้จาก 4. การพบปะพูดคุย หรือการสื่อสารกับ บุคคลอื่นๆ ทั้งเป็นการส่วนตัวหรือ ในการประชุมวิชาการต่างๆ
53
โจทย์ R2R ได้จาก 5. Replication of studies การทำวิจัยซ้ำ เช่น ทำซ้ำในพื้นที่ (settings) อื่นๆ 6. จากทฤษฎี เพื่อเป็นการพิสูจน์ทฤษฎีต่างๆ
54
ดังนั้น ก่อนจะสรุปโจทย์ R2R การทบทวนวรรณกรรมจึงเป็นเรื่องสำคัญ
55
หลักในการทบทวนวรรณกรรม
เพื่อหาหัวข้อ R2R 1.ใครทำ ? 2.ทำอะไร ? 3.ได้อะไร ? 4.ควรทำอะไรต่อ?
56
การกำหนดประเด็นปัญหาที่สนใจ การเลือกหัวข้อเรื่องการวิจัย
57
ข้อพิจารณาในการเลือกหัวข้อสำหรับทำวิจัย
1.การพัฒนางานประจำ 2.เกิดการพัฒนาเทคโนโลยีที่เหมาะสมในการแก้ปัญหา 3.เวลาวิจัยสั้น เสียค่าใช้จ่ายน้อย 4.สามารถประยุกต์ใช้ประโยชน์ได้ทันกาล 5.เป็นการวิจัยร่วม
58
ข้อพิจารณาในการเลือกหัวข้อสำหรับทำวิจัย
6.ใช้ทรัพยากรที่มีอยู่ให้เป็นประโยชน์ 7.เป็นประโยชน์ต่อชุมชน สังคมมากที่สุด 8.มีความเหมาะสม และสามารถปฏิบัติได้ทั้งในแง่เวลา วัสดุ อุปกรณ์ คน เงินทุน ผู้เชี่ยวชาญ ที่ปรึกษา และจริยธรรม
59
แหล่งของหัวเรื่องวิจัย
1. จากประสบการณ์และภูมิหลังของผู้วิจัยเอง: สนใจ? เอ๊ะ??? งานประจำ? 2.จากรายงานวิจัยที่มีผู้อื่นศึกษาไว้แล้ว:วารสาร ตำรา งานวิจัยอื่น ๆ 3.จากแหล่งเงินทุนอุดหนุนการวิจัย: สสส., สวรส., สปสช., สช., วช., .....
60
ประเด็นในการศึกษา 1) Magnitude of the problem: High Volume High Cost
1.การเกิดโรคหรือปัญหาสุขภาพ (Occurrence)ได้แก่ การสำรวจเพื่อหา 1) Magnitude of the problem: High Volume High Cost 2) Severity: High Risk
61
1) Place แหล่งภูมิศาสตร์ที่พบปัญหามาก
ประเด็นในการศึกษา 2. การกระจายของปัญหา (Distribution) 1) Place แหล่งภูมิศาสตร์ที่พบปัญหามาก 2) Person ลักษณะประชากรที่เป็นกลุ่มปัญหาหรือกลุ่มเสี่ยง 3) Time ช่วงระยะเวลาที่มีปัญหา
62
1) สาเหตุของการเกิดปัญหา
ประเด็นในการศึกษา 3. องค์ประกอบของการเกิดปัญหา (Determinants) 1) สาเหตุของการเกิดปัญหา 2) ปัจจัยเสี่ยง 3) ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับปัญหา
63
ประเด็นในการศึกษา 4. แนวทางในการจัดการกับปัญหา
1) การทดสอบเครื่องมือในการคัดกรองปัญหา 2) การทดสอบเครื่องมือในการวินิจฉัยปัญหา 3) การทดลองกลวิธีในการป้องกันโรค 4) การทดลองวิธีการรักษาโรค 5) การทดลองการควบคุมดูแลการรักษาตนเองของผู้ป่วย
64
ข้อตกลงเบื้องต้น 1 ทบทวนหลักการวิจัย และรูปแบบ R2R
ครั้งที่ วัน เดือน ปี กิจกรรม การบ้าน 1 ทบทวนหลักการวิจัย และรูปแบบ R2R กำหนดหัวข้อ กรอบแนวคิดการวิจัยที่ศึกษา กำหนดหัวข้อ กรอบแนวคิดการวิจัยที่ศึกษา (คร่าว ๆ) 2 18 ก.พ. 2559 - บทนำ - ทบทวนงานวิจัยและ ข้อมูลสนับสนุน - รวบรวม DATA เขียนบทที่ 1 บทนำ เขียนบทที่ 2 ทบทวนงานวิจัยและ ข้อมูลสนับสนุน รวบรวม DATA 3 - ออกแบบเครื่องมือ หรือศึกษาสถิติที่ใช้ในการวิจัย - วิเคราะห์ DATA จัดทำเครื่องมือรวบรวมข้อมูล วิเคราะห์ DATA ด้วยสถิติที่เลือก เขียนผลการศึกษา 4 - การเขียนสรุปการศึกษา เขียนสรุปผลการศึกษา
65
พบกันครั้งต่อไป... วันที่ ………………………… พร้อมหัวข้อการทำ R2R นะครับ.....
งานนำเสนอที่คล้ายกัน
© 2024 SlidePlayer.in.th Inc.
All rights reserved.