งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

ประวัติเมืองน่าน โดย นาย กันตพล วาทกุลชร

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


งานนำเสนอเรื่อง: "ประวัติเมืองน่าน โดย นาย กันตพล วาทกุลชร"— ใบสำเนางานนำเสนอ:

1 ประวัติเมืองน่าน โดย นาย กันตพล วาทกุลชร
ประวัติเมืองน่าน โดย นาย กันตพล วาทกุลชร

2 เมนูหลัก 1.เมืองน่าน 11.ภูมิอากาศ
1.เมืองน่าน ภูมิอากาศ 2.กำแพลงเมืองน่าน ดอกไม้ประจำเมืองน่าน 3.สถานที่ท่องเที่ยวจังหวัดน่าน อำเภอในจังหวัดน่าน 4.ดอยภูคา รูปภาพสวยๆในจังหวัดน่าน 5.อุทยานแห่งชาติขุนน่าน 6-7.ประวัติศาสตร์น่าน 8. ตราและคำขวัญจังหวัดน่าน 9. อาณาเขตจังหวัดน่าน 10. ภูมิประเทศ

3 เมืองน่าน เริ่มปรากฏขึ้นราว พ.ศ ภายใต้การนำของพญาภูคา ศูนย์การปกครองอยู่ที่เมืองย่าง (เชื่อกันว่าคือบริเวณริมฝั่งด้านใต้ ของแม่น้ำย่าง ใกล้เทือกเขาดอยภูคาในเขตบ้านเสี้ยว ตำบลยม อำเภอท่าวังผา) เพราะปรากฏร่องรอย ชุมชนในสภาพที่เป็นคูน้ำ คันดิน กำแพงเมืองซ้อนกันอยู่ ต่อมาพระยาภูคา ได้ขยายอาณาเขตปกครองของตนออกไปให้กว้างขวางยิ่งขึ้น โดยส่งราชบุตรบุญธรรม 2 คน ไปสร้างเมืองใหม่ โดย ขุนนุ่น ผู้พี่ไปสร้างเมืองจันทบุรี (เมืองพระบาง) และ ขุนฟองผู้น้องสร้างเมืองวรนครหรือเมืองปัว 

4 กำแพงเมืองน่าน กำแพงเมืองน่านชั้นใน เป็นกำแพงก่ออิฐ มีคูเมืองอยู่ด้านนอก ปัจจุบันที่ยังเหลือสภาพอยู่ในเขตชุมชนบ้านมงคล ในส่วนอื่นถูกถม ทำลาย และบุกรุกสร้างที่อยู่อาศัย รวมทั้งเป็นที่ตั้งของหน่วยงานราชการ กำแเพงเมืองก่ออิฐ สร้างในสมัย เจ้าอนันตวรฤทธิเดช เป็นผู้ครองนครน่าน เมื่อ จุลศักราช ๑๒๑๗ (พ.ศ. ๒๓๙๘) กรมศิลปากรได้ขึ้นทะเบียนโบราณสถานกำแพงเมืองในราชกิจจานุเบกษา   เล่มที่ ๖๑ ตอนที่ ๖๕ ลงวันที่ ๒๔ ตุลาคม ๒๔๘๗ สถานที่ตั้ง    กำแเพงเมืองน่าน(ชั้นใน) ตำบลในเวียง อำเภอเมืองน่าน จังหวัดน่าน

5 สถานที่ท่องเที่ยวจังหวัดน่าน
อุทยานแห่งชาติแม่จริม ล่องแกงน้ำวา อุทยานแห่งชาติแม่จริม (ล่องแก่งลำน้ำว้า)อยู่ในเขตอำเภอแม่จริม ห่างจากตัวเมืองน่าน ประมาณ 60 กิโลเมตร ไปตามทางหลวงหมายเลข 1168 และ 1243 มีพื้นที่ 270,000 ไร่ หรือ 432 ตารางกิโลเมตร ลักษณะภูมิประเทศเป็นเทือกเขาสลับซับซ้อน เป็นแหล่งกำเนิดของต้นน้ำที่ไหลไปลงแม่น้ำน่านที่อำเภอเวียงสา สภาพป่าเป็นป่าดิบเขา ป่าเต็งรัง และป่าเบญจพรรณ มีสัตว์ป่าหลายชนิด เนื่องจากองค์ประกอบของพื้นที่อุทยานแห่งชาติแม่จริมมีลักษณะเป็นภูเขาสูงชัน มีสภาพป่าที่ยังคงสมบูรณ์ และมีน้ำว้าไหลผ่านทางทิศตะวันตกของพื้นที่เป็นระยะทางถึง7.5 กิโลเมตรทำให้มีจุดเด่นทางธรรมชาติ ทั้งที่เป็นป่าไม้ วัฒนธรรม และลำน้ำ เหมาะสำหรับกิจกรรมท่องเที่ยวต่าง ๆ อาทิ ล่องแก่งลำน้ำว้า เป็นการล่องแก่งโดยใช้แพยาง (ลำละไม่เกิน 8 คน) มีจุดเริ่มต้นบริเวณที่ทำการอุทยานแห่งชาติแม่จริม ถึงจุดสิ้นสุด (ปางช้าง) ระยะทางประมาณ 12 กิโลเมตร ใช้เวลา 2 ชั่วโมง หรือสิ้นสุดที่บ้านหาดไร่ ระยะทางประมาณ 15 กิโลเมตร ใช้เวลา 3 ชั่วโมง ตลอดเส้นทางมีแก่งต่างๆ ให้ผจญภัยและเล่นน้ำ กว่า 10 แก่ง สองข้างทาง เป็นหาดทรายและป่าไม้อันอุดมสมบูรณ์ มีธรรมชาติ สวนหิน และหุบเขาที่สวยงามตลอดเส้นทางสามารถล่องแก่งได้ตลอดทั้งปี ยกเว้นวันที่น้ำหลาก ไม่สมควรล่องแก่งเพราะอาจเกิดอันตรายได้ง่าย

6 ดอยภูคา ที่ท่องเที่ยว ดอยภูคา
อุทยานแห่งชาติดอยภูคา  ได้รับการกล่าวขานว่าเป็น ป่าต้นน้ำ ป่าดึกดำบรรพ์ปลายทางหิมาลัย ขุนเขาใต้ทะเล อุทยานแห่งชาติดอยภูคา มีพื้นที่ประมาณ 1,680 ตารางกิโลเมตร ครอบคลุมพื้นที่หลายอำเภอ ได้แก่ ท่าวังผา ปัว เชียงกลาง ทุ่งช้าง บ่อเกลือ สันติสุข และแม่จริม เทือกเขาดอยภูคาประกอบด้วยแนวภูเขาสูงสลับซับซ้อน ซึ่งถือเป็นส่วนหนึ่งของปลายเทือกเขาหิมาลัย โดยมียอดภูคาเป็นยอดเขาที่สูงที่สุดของจังหวัดน่าน สูงถึง 1,980 เมตร        ดอยภูคาเป็นต้นแม่น้ำสำคัญหลายสาย เช่น แม่น้ำน่าน ลำน้ำปัว บริเวณนี้เดิมเคยเป็นทะเลมาก่อน ก่อนจะเกิดการเคลื่อนตัวของแผ่นดินสองผืนใต้ทะเลเข้าหากัน ทำให้แผ่นดินโก่งตัวขึ้น น้ำทะเลใต้ดินระเหยไปเหลือเพียงสินแร่เกลือ ดังที่พบในเขตอำเภอบ่อเกลือ และการค้นพบสุสานหอยทะเลอายุประมาณ 200 ล้านปี บนดอยภูแวที่บ้านค้างฮ่อ ตำบลสะกาด อำเภอปัว มีลักษณะเป็นหอยแครงสองฝา ดร.จงพันธ์ จงลักษณ์มณี นักธรณีวิทยา กรมทรัพยากรธรณี สรุปว่า เป็นซากหอยที่มี ชื่อทางวิทยาศาสตร์ว่า พาลีโอคาร์ดิต้า สปีชี่ (Paleocardita Species) อายุ ล้านปี จัดว่าอยู่ในยุคไทรแอสซิก (Triassic) ตอนปลาย        ป่าไม้ในเขตอุทยานแห่งชาติดอยภูคา ประกอบด้วยป่าดิบเขา ป่าดิบแล้ง ป่าเบญจพรรณ ป่าเต็งรัง ทุ่งหญ้า และ ป่าสนธรรมชาติ เป็นแหล่งของพันธุ์ไม้หายากใกล้สูญพันธุ์ ได้แก่ ชมพูภูคา (Bretschneidera sinesis Hemsl.) ในเขตป่าดิบเป็นแหล่งต้นเต่าร้างยักษ์ ปาล์มดึกดำบรรพ์ เมเปิ้ลใบ 5 แฉก ต่างจากเมเปิ้ลที่อื่นซึ่งมี 3 แฉก และยังเป็นแหล่งนกเฉพาะถิ่นที่หายากสองชนิด คือ นกมุ่นรกคอแดง และนกพงใหญ่พันธุ์อินเดีย

7 อุทยานแห่งชาติ ขุนน่าน
อุทยานแห่งชาติ ขุนน่าน ที่ท่องเที่ยวขุนน่าน อุทยานแห่งชาติขุนน่าน หมายถึง ขุนเขา ลำน้ำ อันเป็นต้นกำเนิดของแม่น้ำน่าน อยู่ในเขตป่าสงวนแห่งชาติดอยภูคา และป่าผาแดง บริเวณท้องที่ต.ดงพญา ต.บ่อเกลือใต้ และต.ภูฟ้า อ.บ่อเกลือ จ.น่าน มีเนื้อที่ประมาณ ตร.กม. หรือประมาณ 155,375 ไร่ มีสภาพป่าอันอุดมสมบูรณ์ มีน้ำตกหลายแห่ง และมีจุดเด่นที่สวยงาม ที่สำคัญพื้นที่บริเวณดังกล่าวเป็ฯแหล่งต้นกำเนิดของแม่น้ำน่าน มียอดดอยผีปันน้ำในเทือกเขาผีปันน้ำ ในต.ดงพญา เป็นดอยที่สูงที่สุด มีอาณาเขตด้านทิศตะวันออกติดต่อสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว สภาพภูมิอากาศโดยเฉลี่ยวอยู่ที่ 1-7 ํc ในฤดูหนาว ส่วนฤดูร้อนมีอุณหภูมิระหว่าง 22-28ํc  แลฤดูฝนมีอุณหภูมิเฉลี่ยว ํc จุดเด่นและแหล่งท่องเที่ยว น้ำตกสะปัน อยู่ที่บ้านสะปัน หมู่ที่ 1 ต.ดงพญา น้ำตกอยู่ในลำน้ำสะปัน ลักษณะเป็นน้ำตกขนาดกลางมี 3 ชั้น มีน้ำไหลตลอดทั้งปี นักท่องเที่ยวสามารถเดินทางเข้าถึงน้ำตกได้ง่ายเพราะอยู่หางจากที่ว่าการอ.บ่อเกลือ ระยะทางประมาณ 10 กม. รถยนต์เข้าถึงสะดวก และเดินต่อไปอีก เมตร น้ำตกห้วยตี๋ อยู่ที่บ้านบง หมู่ที่ 14 ต.บ่อเกลือใต้ น้ำตกห้วยตี๋อยู่ในลำห้วยตี๋ เป็นน้ำตกขนาดกลางมี 6 ชั้น มีน้ำไหลตลอดปี สภาพเส้นทางเข้าถึงน้ำตกต้องเดินเท้าและระยะทางค่อนข้างไกล

8 ประวัติศาสตร์น่าน ตลอดระยะเวลาเกือบ 100 ปี ที่เมืองน่านอยู่ในครอบครองของ อาณาจักรล้านนา ได้ค่อย ๆ ซึมชับเอาศิลปวัฒนธรรมของล้านนา มาไว้ในวิถีชีวิต โดยเฉพาะการรับเอาศิลปกรรมทางด้านศาสนา ปรากฏศิลปกรรมแบบล้านนาเข้ามาแทนที่ศิลปกรรมแบบสุโขทัย อย่างชัดเจน ดังเช่น เจดีย์วัดพระธาตุแช่แห้ง เจดีย์วัดสวนตาล เจดีย์วัดพระธาตุช้างค้ำ แม้จะเหลือส่วนฐานที่มีช้างล้อมรอบ ซึ่งเป็นลักษณะศิลปะแบบสุโขทัยอยู่ แต่ส่วนองค์เจดีย์ขึ้นไปถึงส่วนยอด เปลี่ยนเป็นศิลปกรรมแบบล้านนาไปจนหมดสิ้น ในระหว่างปี พ.ศ เมืองน่านได้ตกเป็นเมืองขึ้นของพม่า อยู่หลายครั้งและต้องเป็นเมืองร้าง ไร้ผู้คนถึง 2 ครา คือ ครั้งแรก ปี พ.ศ ครั้งที่ 2 ปี พ.ศ ปี พ.ศ เจ้าอัตถวรปัญโญ ได้ลงมาเข้าเฝ้าพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช รัชกาลที่ 1 เพื่อขอเป็น ข้าขอบขันทสีมา เจ้าอัตถวรปัญโญ หลังจากขึ้นครองเมืองน่านยังมิได้เข้าไปอยู่เมืองน่านเสียทีเดียว เนื่องจากเมืองน่าน ยังรกร้างอยู่ ได้ย้ายไปอาศัยอยู่ตามที่ต่างๆ คือ บ้านตึ๊ดบุญเรือง เมืองงั้ว (บริเวณอำเภอนาน้อย) เมืองพ้อ (บริเวณอำเภอเวียงสา) หลังจากได้บูรณะซ่อมแซมเมืองน่านแล้ว พร้อมทั้งได้ขอพระบรมราชานุญาตกลับเข้ามาอยู่ในเมืองน่าน ในปี พ.ศ ในยุคสมัยกรุงรัตนโกสินทร์เมืองน่านมีฐานะเป็นหัวเมืองประเทศราช เจ้าผู้ครองนครน่านในชั้นหลังทุกองค์ ต่างปฏิบัติหน้าที่ราชการ ด้วยความเที่ยงธรรม มีความซื่อสัตย์ จงรักภักดีต่อพระมหากษัตริย์ราชวงศ์จักรี ได้ช่วยราชการบ้านเมืองสำคัญหลายครั้งหลายคราด้วยกัน นอกจากนี้เจ้าผู้ครองนครน่าน ต่างได้ทำนุบำรุง กิจการพุทธศาสนาในเมืองน่าน และอุปถัมภ์ค้ำจูนพระพุทธศาสนาเป็นสำคัญ ได้สร้างธรรมนิทานชาดก การจารพระไตรปิฎกลงในคัมภีร์ใบลาน นับเป็นคัมภีร์ได้ 335 คัมภีร ์นับเป็นผูกได้ 2,606 ผูก ได้นำไปมอบให้ เมืองต่างๆ มีเมืองลำปาง เมืองลำพูน เมืองเชียงใหม่ เมืองเชียงราย และเมืองหลางพระบาง

9 ประวัติศาสตร์น่าน ในปี พ.ศ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้ทรงมีพระกรุณาโปรดเกล้าฯ สถาปนาให้ เจ้าสุริยพงษ์ผลิตเดชฯ เลือนยศฐานันดรศักดิ์ขึ้นเป็น "พระเจ้านครน่าน" มีพระนามปรากฏตามสุพรรณปัฏว่า "พระเจ้าสุริยพงษ์ผลิตเดช กุลเชษฐมหันต์ ไชยนันทบุรมหาราชวงศา ธิบดี สุริตจารีราชนุภาวรักษ์ วิบูลยศักดิ์กิติไพศาล ภูบาลบพิตรสถิตย์ ณ นันทราชวงษ์" เป็นพระเจ้านครน่านองค์แรก และองค์เดียวในประวัติศาสตร์น่าน ภายหลังได้รับการสถาปนาเป็นพระเจ้าน่าน พระเจ้าสุริยพงษ์ผริตเดชฯ จึงได้สร้าง หอคำ (คุ้มหลวง) ขึ้นแทนหลังเดิมซึ่งสร้างในสมัยของ เจ้าอนันตวรฤิทธิเดชฯ และด้านหน้าหอคำ มีข่วงไว้ทำหน้าที่คล้ายสนามหลวง สำหรับจัดงานพิธีต่างๆ ตลอดจนเป็นที่จัดขบวนทัพออกสู้ศึก จัดขบวนนำเสด็จหรือขบวนรักแขกเมืองสำคัญ และในปี พ.ศ เจ้ามหาพรหมสุรธาดา เจ้าผู้ครองนครน่าน ถึงแก่พิราลัย ตำแหน่งเจ้าผู้ครองนครก็ถูกยุบเลิกตั้งแต่นั้นมา ส่วนหอคำได้ใช้เป็น ศาลากลางจังหวัดน่าน จนปี พ.ศ จังหวัดน่าน ได้มอบหอคำให้กรมศิลปากร ใช้เป็นสถานที่จัดตั้ง พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติน่าน จนกระทั่งปัจจุบัน

10 ตราและคำขวัญจังหวัดน่าน
ตราประจำจังหวัดน่าน คำขวัญจังหวัดน่าน แข่งเรือลือเลื่อง เมืองงาช้างดำ จิตรกรรมวัดภูมินทร์ แดนดินส้มสีทอง เรืองรองพระธาตุแช่แห้ง

11 อาณาเขตจังหวัดน่าน อาณาเขตโดยรอบของจังหวัดน่าน
          ทิศเหนือ    ประกอบด้วย อำเภอเชียงกลาง อำเภอปัว มีอำเภอทุ่งช้าง อำเภอเฉลิมพระเกียรติิ อำเภอบ่อเกลือ    มีพื้นที่ติดต่อกับเขตเศรษฐกิจพิเศษ เชียงฮ่อน - หงสา (สปป.ลาว)           ทิศตะวันออก    ประกอบด้วย อำเภอภูเพียง อำเภอสันติสุข โดยมีอำเภอแม่จริม  อำเภอเวียงสา  มีพื้นที่ติดต่อกับแขวงไชยบุรี  (สปป.ลาว)           ทิศใต้    ประกอบด้วย อำเภอนาน้อย อำเภอนาหมื่น    มีพื้นที่ติดต่อกับจังหวัดอุตรดิตต์    อำเภอนาน้อย  และ   อำเภอเวียงสา  มีพื้นที่ติดต่อกับจังหวัดแพร่           ทิศตะวันตก    ประกอบด้วย อำเภอบ้านหลวง มีพื้นที่ติดต่อกับอำเภอเชียงม่วน  จังหวัดพะเยา    อำเภอท่าวังผา มีพื้นที่ติดต่อกับอำเภอปง จังหวัดพะเยา    อำเภอสองแคว มีพื้นที่ติดต่อกับอำเภอเชียงคำ จังหวัดพะเยา

12 ภูมิประเทศ   จังหวัดน่าน  มีทิวเขาหลวงพระบางและทิวเขาผีปันน้ำ  ซึ่งเป็นทิวเขาหินแกรนิต ที่มีความสูง  ๖๐๐ - ๑,๒๐๐ เมตร เหนือระดับน้ำทะเล  ทอดผ่านทั่วจังหวัด   คิดเป็นพื้นที่ประมาณร้อยละ  ๔๐ ของพื้นที่ทั้งจังหวัด           พื้นที่ของจังหวัดน่านโดยทั่วไป มีสภาพพื้นที่เป็นลูกคลื่น ลอนชันเกิน  ๓๐ องศา ประมาณร้อยละ  ๘๕ ของพื้นที่จังหวัด    ส่วนลูกคลื่นลอนลาดตามลุ่มน้ำ จะเป็นที่ราบแคบๆ ระหว่างหุบเขาตามแนวยาวของลุ่มน้ำ น่าน  สา  ว้า  ปัว  และกอน           จังหวัดน่านมีพื้นที่รวมทั้งสิ้น  ๗,๑๗๐,๐๔๕ ไร่  หรือ  ๑๑,๔๗๒.๐๗ ตารางกิโลเมตร   จำแนกเป็น           ๑. พื้นที่ป่าไม้และภูเขา  ๓,๔๓๗,๕๐๐ ไร่   คิดเป็นร้อยละ  ๔๗.๙๔            ๒. พื้นที่ป่าเสื่อมโทรม  ๒,๘๑๓,๙๘๐ ไร่   คิดเป็นร้อยละ  ๓๙.๒๔             ๓. พื้นที่ทำการเกษตร  ๘๗๖,๐๔๓ ไร่   คิดเป็นร้อยละ  ๑๒.๒๒           ๔. พื้นที่อยู่อาศัยและอื่นๆ

13 ภูมิอากาศ ลักษณะภูมิอากาศของจังหวัดน่าน มีความแตกต่างกันของฤดูกาล โดยอากาศจะร้อนอบอ้าวในฤดูร้อน และหนาวเย็นในฤดูหนาว     โดยได้รับอิทธิพลจากลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ พัดพาเอาความชุ่มชื้นมาสู่ภูมิภาค ทำให้มีฝนตกชุก ในเดือนพฤษภาคมถึงเดือนกันยายน ซึ่งเป็นช่วงฤดูฝน   และจะได้รับอิทธิพลจากลมมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือ พัดพาเอาความหนาวเย็นสู่ภูมิภาค    ในเดือนตุลาคมถึงกุมภาพันธ์ และในช่วงเดือนมีนาคมถึงเมษายน จะได้รับอิทธิพลจากลมมรสุมตะวันออกเฉียงใต้ ทำให้มีสภาพอากาศร้อน             นอกจากนี้จังหวัดน่าน ยังมีสภาพภูมิประเทศโดยรอบ เป็นหุบเขาและภุเขาสูงชันมาก ทิวเขาวางตัวในแนวเหนือใต้ ทำให้บริเวณยอดเขา สามารถรับความกดอากาศสูงที่แผ่มาจากประเทศจีนในฤดูหนาว ได้อย่างทั่วถึงและเต็มที่   ขณะเดียวกันที่ทิวเขาวางตัวเหนือใต้ ทำให้เสมือนกำแพงปิดกั้นลมมรสุมทางทิศตะวันออก   รวมทั้งยังมีระดับความสูงเฉลี่ยบนยอดเขา กับความสูงเฉลี่ยที่ผิวแตกต่างกันมาก และยังมีระดับความสูงเหนือระดับน้ำทะเล จากปัจจัยทั้งหลายเหล่านี้ ในตอนกลางวัน ถูกอิทธิพลของแสงแดดเผา ทำให้อุณหภูมิร้อนมาก และในตอนกลางคืนจะได้รับอิทธิพลของลมภูเขา พัดลงสู่หุบเขา ทำให้อากาศเย็นในตอนกลางคืน

14 ดอกไม้ประจำเมืองน่าน
ลักษณะวิสัย     ต้นสูง 5 – 10 เมตร ผลัดใบ เรือนยอดกลม ใบเดี่ยวค่อนข้างกลม ปลายและโคนใบเว้า คล้ายใบแฝดติดกัน ใต้ใบมีขน ออกดอกเป็นช่อที่ซอกใบและปลายกิ่ง 6 – 10 ดอก มี 5 กลีบคล้ายดอกกล้ายไม้มีกลิ่นหอมอ่อนๆ ออกดอกตลอดปี ดอกดกช่วงเดือนพฤศจิกายน – มีนาคม ผลเป็นฝักแบน เมื่อแก่จะแตกเป็น 2 ซีก การขยายพันธ์     ขยายพันธุ์ โดยการเพาะเมล็ด สภาพที่เหมาะสม     เติบโตได้ดีในดินที่ระบายน้ำดี ความชื้นสูง แสงแดดจัด ถิ่นกำเนิด     อินเดีย, มาเลเซีย ประโยชน์     ฝักแก่ เนื้อในสีน้ำตาลดำ รสหวาน เอียน ใช้เป็นยาถ่าย การทื่เนื้อฝักคูนช่วยระบายได้ เพราะในเนื้อมีสาร แอนทราควิโนน อยู่หลายชนิด วิธีการใช้โดยการใช้เนื้อในฝักแก่สีน้ำตาลดำ ประมาณ 2 หัวแม่มือ น้ำหนัก 4-5 กรัม ต้มกับน้ำ เติมเกลือเล็กน้อย ดื่มครั้งเดียวหมด ก่อนนอน หรือเช้ามืดก่อนรับประทานอาหาร เหมาะสำหรับผู้ที่ท้องผูกประจำ สตรีมีครรภ์ใช้ได้

15 อำเภอในจังหวัดน่าน จังหวัดน่านมีทั้งหมด 15 อำเภอ ดังนี้ 1.อำเภอเมือง
2.อำเภอแม่จริม 3.อำเภอสันติสุข 4.อำเภอบ่อเกลือ 5.อำเภอปัว 6.อำเภอท่าวังผา 7.อำเภอเชียงกลาง 8.อำเภอสองแคว 9.อำเภอเฉลิมพระเกียรติ 10.อำเภอภูเพียง 11.อำเภอเวียงสา 12.อำเภอนาน้อย 13.อำเภอนาหมื่น 14.อำเภอบ้านหลวง 15.อำเภอทุ่งช้าง

16 รูปภาพสวยๆในจังหวัดน่าน

17 ผู้จัดทำนายกันตพล วาทกุลชร
ผู้จัดทำนายกันตพล วาทกุลชร เลขที่1 ปวส.1/1 ขอบคุณครับ


ดาวน์โหลด ppt ประวัติเมืองน่าน โดย นาย กันตพล วาทกุลชร

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


Ads by Google