งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

Operations in the Tourism Industry

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


งานนำเสนอเรื่อง: "Operations in the Tourism Industry"— ใบสำเนางานนำเสนอ:

1 Operations in the Tourism Industry

2 ความเป็นมาของการท่องเที่ยว
การท่องเที่ยวสมัยแรกจำกัดเฉพาะในหมู่ผู้มีอันจะกิน   พัฒนาการสู่มวลชนเริ่มขึ้นในปลายคริสต์ศตวรรษที่ 18  ซึ่งเป็นยุคการปฏิวัติอุตสาหกรรม  ประชาชนมีรายได้เพิ่มขึ้นสังคมเปลี่ยนจากเกษตรมาเป็นอุตสาหกรรม  ทำให้มีวัน เวลาทำงานและวันหยุดที่แน่นอน  ทำให้ ชนชั้นกลางเริ่มเดินทางท่องเที่ยวมากขึ้น               

3 ความเป็นมาของการท่องเที่ยว
ในสมัยเริ่มแรกการเดินทางของมนุษย์เดินทางโดยมีวัตถุประสงค์ 5 ประการ คือ 1. แสวงหาถิ่นฐาน  หรือเผชิญโชค เช่น  การค้นพบทวีปอเมริกาของโคลัมบัส  การเดินทางของมาร์โคโปโล 2. ติดต่อค้าขาย  เช่น  การเดินทางโดยเรือสำเภามาค้าขายในไทยของจีน  3. จาริกแสวงบุญ เช่น  การเดินทางของพระสังคำจั๋ง  การเผยแพร่ศาสนาคริสต์ของมิชชั่นนารี 4. เชื่อมความสัมพันธ์ เช่น  การเจริญสัมพันธ์ทางการทูต 5. รักษาสุขภาพและอนามัย เช่น  การเดินทางไปรักษาโดยการฝังเข็มที่ประเทศจีน

4 ความเป็นมาของการท่องเที่ยวในประเทศไทย
สำหรับประเทศไทย  การท่องเที่ยวในสมัยแรก ๆ พบว่าเป็นการเดินทางด้วยเหตุผลดังนี้ คือ ถูกกวาด ต้อนไปเป็นเชลย  , ไปทำสงคราม  , ถูกเนรเทศ  , ไปเยี่ยมญาติ , จาริกแสวงบุญ ,แสวงโชค ,รักษาสุขภาพ , ท่องเที่ยว  , เชื่อมความสัมพันธ์ ,หาความรู้และประสบการณ์  จากหลักฐานทางวรรณกรรม  เริ่มในพุทธศตวรรษที่  19  พ่อขุนรามคำแหงเสด็จเยือนประเทศจีน  2  ครั้ง  และในพุทธศตวรรษที่ 23  ในรัชสมัยของพระเจ้าอยู่หัวบรมโกษฐ์ทรงเสด็จประพาสทางเรือ ,สมเด็จพระเพทราชาทรงโปรดการประพาสในที่ต่าง ๆ   พระมหากษัตริย์ที่เป็นนักท่องเที่ยว คือ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว  ทรงเสด็จทั้งในและต่างประเทศ  เรียกว่าเสด็จประพาสต้น

5

6 การท่องเที่ยวคืออะไร
การท่องเที่ยว  หมายถึง  การเคลื่อนที่ของคนจากที่เดิม  ไปยังจุดหมายปลายทางอีกแห่งหนึ่งด้วยความสมัครใจ  และเป็นการเดินทางไปแล้วกลับ  เป็นการเดินทางชั่วคราว  ใช้เวลาพำนัก ณ ที่จุดหมายปลายทาง  เพื่อพักผ่อนพร้อมแสวงหาความสุข ความสบาย ประสบการณ์และความรู้ในชั่วระยะเวลาหนึ่ง  แล้วเดินทางกลับ  ไม่ได้รับรายได้เพื่อยังชีพจากเจ้าของท้องถิ่นปลายทาง

7 องค์ประกอบของการท่องเที่ยว
การท่องเที่ยว    ประกอบด้วยองค์ประกอบ 3 ประการ คือ           1.   คน  หมายถึง  นักท่องเที่ยว หรือผู้เดินทาง  (ด้วยความสมัครใจ) 2.   สถานที่  หมายถึง  จุดหมายปลายทางหรือจุดผ่านที่เขาตั้งใจจะเดินทางไป 3.   เวลา  หมายถึง  ระยะเวลาที่เขาพำนักเพื่อแสวงหาความสุข  ความสบาย  ความรู้  หรือประกอบธุรกิจ (เป็นการชั่วคราว)

8 ประเภทของการท่องเที่ยว (1)
ประเภทของการท่องเที่ยว (1)  1.การท่องเที่ยวเพื่อความสนุก : ใช้วันหรือเวลาหยุดงาน  เพื่อเปลี่ยนบรรยากาศ  เพื่อสนองความอยากรู้อยากเห็นเพื่อพบในสิ่งแปลก ๆ 2.การท่องเที่ยวเพื่อการพักผ่อน : ใช้วันหยุดเพื่อการพักผ่อน  โดยไม่คำนึงถึงสิ่งอื่นใด  เพื่อขจัดหรือบรรเทาความเหน็ดเหนื่อยทั้งกายและใจ   ที่เกิดขึ้นในระหว่างการทำงานที่ผ่านมาให้หมดสิ้นไป  เพื่อเรียกกำลังกายและกำลังใจให้กลับคืนมาสำหรับการทำงานต่อไป 3.การท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม : นักท่องเที่ยว ที่ปรารถนาจะเรียนรู้ศิลปวิทยา  ที่เกี่ยวกับวัฒนธรรมของชาติต่าง ๆ ในสถาบันหรือสถานศึกษาที่มีชื่อเสียง  หรือในประเทศที่มีวัฒนธรรมน่าสนใจ  เขาอาจจะไปประเทศนั้น ๆ  เพื่อศึกษาหาความรู้ในเรื่องต่าง ๆ 

9 ประเภทของการท่องเที่ยว (2)
4. การท่องเที่ยวเพื่อการกีฬา : แบ่งเป็น 4.1การไปชมการแข่งขัน  และ 4.2การไปเล่นกีฬา    5.การท่องเที่ยวเพื่อธุรกิจ : ที่จริงการท่อง เที่ยวเพื่อประกอบธุรกิจ  ไม่น่าจะเป็นการท่องเที่ยว  เพราะขาดปัจจัยที่ว่า  การท่องเที่ยวต้องเป็นการกระทำอย่างอิสระเสรี   และมีความตั้งใจที่จะท่องเที่ยว  แต่นักธุรกิจเมื่อติดต่องานธุรกิจเสร็จแล้ว  ทุกคนก็จะเจียดเวลาที่จะท่องเที่ยวด้วย  เช่น ไปซื้อของฝาก   หรือ  กลุ่มที่ประชุมนัดหมายไปเที่ยวด้วยกันตามสถานที่ต่าง ๆ

10 ประเภทของการท่องเที่ยว (3)
6. การท่องเที่ยวเพื่อการประชุมสัมมนา : ในปัจจุบัน องค์กรต่าง ๆ มีการจัดประชุมสัมมนากันมาก  ซึ่งเป็นการส่งเสริมการท่องเที่ยวอย่างหนึ่ง  ในวาระการประชุมจะจัดช่วงให้ผู้เข้าประชุมได้มีโอกาสท่องเที่ยวเพื่อผ่อน คลายความเครียดกันด้วย 7.การท่องเที่ยวเพื่อการศึกษา : ไปทำวิจัย  ไปศึกษาต่อ  ไปสอน  ไปดูงาน 

11 ประเภทของนักท่องเที่ยว (1)
นักท่องเที่ยว  หมายถึง  ผู้เดินทางมาเยือนชั่วคราวและพำนักอยู่ครั้งหนึ่ง ๆ ไม่น้อยกว่า  24  ชั่วโมง  และไม่เกิน  60  วัน  โดยมีวัตถุประสงค์มิใช่เพื่อการประกอบอาชีพ หรือมีรายได้จากท้องถิ่นนั้น ๆ

12 ประเภทของนักท่องเที่ยว (2)
1.  Transit คือ ผู้ที่อยู่ในระหว่างเดินทางยังไม่ถึงจุดหมาย  ในระหว่างทางได้แวะหยุดพักกลางทาง 2.  Visitor คือ ผู้มาเยือน  การไปสถานที่แห่งนั้นด้วยเหตุผลที่มิใช่การค้าหารายได้  และเป็นสถานที่ที่มิได้อาศัยอยู่เป็นประจำ  3.   Tourist คือ ผู้เดินทางมาเยือนชั่วคราวหรือผู้เยี่ยมเยือนที่ค้างคืนสถานที่แห่งนั้นไม่ ต่ำกว่า 24 ชั่วโมง  แต่ไม่เกิน  60  วัน เพื่อพักผ่อน  พักฟื้น  ทัศนศึกษา  ประกอบศาสนกิจ  แข่งกีฬา  ติดต่อธุรกิจ  ร่วมประชุม  สัมมนา   4.    Excursionist    คือ นักทัศนาจร  หรือ  ผู้เดินทางมาเยือนชั่วคราวไม่เกิน  24  ชั่วโมง  การไปเที่ยวแบบวันเดียวกลับ ไม่พักค้างคืน 

13 ความสำคัญของอุตสาหกรรมท่องเที่ยว
อุตสาหกรรมท่องเที่ยวก่อให้เกิดรายได้เป็นเงินตราต่างประเทศ องค์การสหประชาชาติประกาศว่า " การเดินทางท่องเที่ยวเป็นสิทธิมนุษยชนอย่างหนึ่งที่รัฐพึงสนับสนุน “ อุตสาหกรรมท่องเที่ยวช่วยสนับสนุนฟื้นฟู อนุรักษ์ศิลปวัฒนธรรมประเพณี

14

15 ลักษณะของอุตสาหกรรมท่องเที่ยว
1. เป็นอุตสาหกรรมบริการ  สินค้าคือ บริการ ได้แก่ ความสะดวกในด้านต่าง ๆ เป็นสินค้าที่ไม่มีตัวตน ไม่สามารถจับต้องได้ 2. เป็นอุตสาหกรรมที่สินค้าไม่อาจจัดส่งให้แก่ผู้ซื้อได้  ผู้ซื้อต้องเดินทางมาซื้อสินค้าหรือใช้บริการด้วยตนเองไม่ว่าจะเป็นการขนส่ง  ที่พักแรม  หรือแหล่งท่องเที่ยว 3. เป็นอุตสาหกรรมที่ไม่มีขีดจำกัดในการผลิตและจำหน่าย  เพราะไม่ต้องใช้วัตถุดิบในการ ผลิต  ผลผลิตคือทรัพยากรทางการท่องเที่ยวที่มีอยู่แล้ว  ต้องการเพียงการจัดระบบ  การอนุรักษ์และการพัฒนาอย่างถูกวิธี  ก็จะเป็นอุตสาหกรรมที่ให้ผลผลิตไม่มีวันสิ้นสุด

16 ลักษณะของอุตสาหกรรมท่องเที่ยว
4. เป็นอุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้องกับอุตสาหกรรมอื่น ๆ แทบทุกประเภทก่อให้เกิดการลงทุน ทางอุตสาหกรรม   การนำเอาทรัพยากรของประเทศมาใช้ประโยชน์อย่างสูงสุดทั้งทางด้านแรงงาน และวัตถุดิบ 5. เป็นอุตสาหกรรมที่สร้างความเจริญและเสริมความมั่นคงปลอดภัยให้แก่ท้องถิ่น  โดยเฉพาะท้องถิ่นที่ได้รับการพัฒนาเป็นแหล่งท่องเที่ยว 6. เป็นอุตสาหกรรมที่มุ่งสร้างความจรรโลงใจ  มีผลต่อสันติภาพ  สัมพันธไมตรี และความเข้าใจอันดีระหว่างมนุษยชาติ

17 ธุรกิจท่องเที่ยว (Tourism Business)
พ.ร.บ.ธุรกิจนำเที่ยวและมัคคุเทศก์ พ.ศ.2535 มาตรา 3 นิยามคำว่า “ ธุรกิจนำเที่ยว ” หมายความว่า “ การประกอบธุรกิจเกี่ยวกับการจัดหรือให้บริการ  หรืออำนวยความสะดวกเกี่ยวกับการเดินทาง  ที่พัก  อาหาร  ทัศนาจร  และหรือมัคคุเทศก์ให้แก่นักท่องเที่ยว ”

18

19 ประเภทของธุรกิจนำเที่ยว (1)
ประเภทของธุรกิจนำเที่ยว (1)   ประเภทของธุรกิจนำเที่ยว   แบ่งออกเป็น  3  ประเภท คือ 1.  Travel  Agent    บุคคลหรือบริษัทที่มีความสามารถจัดการนำเที่ยว  การขนส่ง  ที่พัก  อาหาร  การรับ-ส่งทั้งขาไปและขากลับ  การนำสถานที่และงานอื่น ๆ ของการเดินทางซึ่งเป็นการบริการให้แก่สาธารณชน  เช่น  บริษัท นำเที่ยว จำกัด   มีความชำนาญเบ็ดเสร็จทุกอย่าง สามารถดำเนินการเองได้ 2.    Tour  Operator    บริษัทมีความชำนาญในการจัดและดำเนินการเกี่ยวกับการ ตลาด  ทางด้านการจัดการเดินทางไปพักผ่อน  แบบ  Inclusive  Tour  โดยเก็บเงินล่วงหน้าแล้วมอบให้  Travel  Agent  เป็นผู้ขาย  แต่บางครั้งก็ลงมือขายแก่นักท่องเที่ยวโดยตรง 

20 ประเภทของธุรกิจนำเที่ยว (2)
ประเภทของธุรกิจนำเที่ยว (2)   3. Wholesaler    บริษัทมีความชำนาญงานในงานเดินทาง  คิดและเสนอโปรแกรมที่ จัดไว้แบบเหมาหรือจัดขึ้นตามแต่จะรับคำสั่งมาจากลูกค้าแล้วมอบให้ Travel  Agent   รับไปขายต่อ Wholesaler  ต่างกับ  Tour  Operator  คือ Wholesaler  มักไม่เสนอรายการเดินทางต่อบริษัทนำเที่ยวบ่อย  ๆ   แต่ Tour  Operator  จะเสนอขายให้แก่  Retailer  ด้วย 

21 ธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับการท่องเที่ยว (1)
1.ธุรกิจการขนส่ง ( Transportation) : ทางบก : รถยนต์  และรถไฟ  ธุรกิจเกี่ยวเนื่องของการขนส่งทางบกนี้ ได้แก่ บริการพาหนะในท้องถิ่น เช่น รถสามล้อ  รถม้า  เกวียน  รถลาก  ช้าง  รถโดยสารประจำทาง รถบริการนำเที่ยว รถยนต์ส่วนบุคคล ฯลฯ ทางเรือ : เรือเดินสมุทร  และเรือกลไฟ   ธุรกิจเกี่ยวเนื่องได้แก่  เรือใบ  เรือลากจูง  เรือแจว  เรือพาย  เรือหางยาว  แพ  ฯลฯ ทางอากาศ : อากาศยาน  หรือเครื่องบิน

22 ธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับการท่องเที่ยว (2)
2. ธุรกิจอาหารและที่พักแรม จำแนกเป็นประเภทต่าง ๆ ตามลักษณะการใช้ โรงแรม  คือ ที่พักแรมที่สร้างขึ้นเฉพาะและแบ่งเป็นห้องพัก  มีสิ่งอำนวยความสะดวกแก่นักเดินทาง  และเก็บค่าเช่าเป็นรายห้อง เกสต์เฮาส์  คือ บ้านที่ดัดแปลงหรือสร้างขึ้นและแบ่งห้องเป็นที่พักแรม  โดยเก็บค่าเช่า บังกะโล  คือ  ที่พักแรมที่กลุ่มบุคคลหรือสถาบันจัดไว้เพื่อให้นักท่องเที่ยวโดยเก็บค่าเช่า รีสอร์ท    คือ  ที่พักที่มีลักษณะห้องพักเป็นหลัง ๆ มีบริเวณแวดล้อมด้วยธรรมชาติ โมเต็ล  คือ  ที่พักที่สร้างขึ้นเฉพาะ โดยเก็บค่าเช่า  มีห้องพักแต่ละห้อง  หรือมีห้องพักส่วนหนึ่งที่มีลักษณะและการใช้สอยเช่นเดียวกับโรงแรม บ้านรับรอง  คือ  ที่พักหน่วยงานราชการ  บริษัท หรือเอกชนจัดไว้เพื่อใช้รับรองหรือพักผ่อน  โดยไม่เก็บค่าเช่า บ้านญาติหรือบ้านเพื่อน คือ  บ้านญาติมิตรของนักท่องเที่ยวที่จัดให้เป็นที่พักแรม  โดยไม่เก็บค่าเช่า

23 ธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับการท่องเที่ยว (3)
3.      ธุรกิจการนำเที่ยว ธุรกิจการนำเที่ยวประกอบด้วย บริษัทนำเที่ยว (Tour  Operator)  และตัวแทนจำหน่าย การท่องเที่ยว (Travel  Agency)  และแหล่งท่องเที่ยว (Tourist  Destination) โดยบริษัทนำเที่ยว (Tour  Operator)  ทำหน้าที่จัดรายการนำเที่ยว  และบริการนำเที่ยว การจัดรายการนำเที่ยวของบริษัทนำเที่ยวจำแนกเป็น 1.       จัดรายการนำเที่ยวเบ็ดเสร็จ (Package  Tour)  ส่งให้ตัวแทนไปจำหน่าย 2.       จัดรายการนำเที่ยวประเภทต่าง ๆ สำหรับผู้สนใจเฉพาะเรื่องให้แก่องค์กร  สถาบันวิชาชีพต่าง ๆ และกลุ่มเอกชนที่มีความสนใจเฉพาะเรื่อง

24 หน่วยงานราชการที่เกี่ยวข้องกับการท่องเที่ยว
1.กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา :   2.  การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย :

25 รูปแบบการจัดการธุรกิจท่องเที่ยว
1.การท่องเที่ยวภายในประเทศ  2.การท่องเที่ยวระหว่างประเทศ 3.การท่องเที่ยวเพื่อสังคม 4.การท่องเที่ยวแบบยั่งยืน (Sustainable Tourism) การท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ (Conservation  Tourism)

26 ทรัพยากรการท่องเที่ยว
1. ประเภทธรรมชาติ : เป็นแหล่งท่องเที่ยวที่มีความสวยงามเกิดขึ้นตามธรรมชาติ 2. ประเภทประวัติศาสตร์  โบราณสถาน  โบราณวัตถุ  และศาสนา 3. ประเภทศิลปวัฒนธรรม  ประเพณี  และกิจกรรม

27 การแบ่งส่วนบริหารงานในบริษัทนำเที่ยว
โดยทั่วไปบริษัทนำเที่ยวจะแบ่งส่วนบริหารงานออกเป็น 3 ฝ่ายใหญ่ ๆ ได้แก่ 1.ฝ่ายขาย 2.ฝ่ายจัดการท่องเที่ยว 3.ฝ่ายการเงิน

28 งานในบริษัทนำเที่ยว: ฝ่ายขาย
1. ฝ่ายขาย 1.1 แผนกส่งเสริมการขาย หรือประชาสัมพันธ์ มีหน้าที่ 1.1.1หาตลาดใหม่ ๆ 1.1.2วิเคราะห์ตลอดท้องถิ่นในระดับภูมิภาค และตลาดต่างประเทศ 1.1.3วางแผนกำหนดราคา 1.1.4ประชาสัมพันธ์รายการท่องเที่ยว 1.2แผนกเผยแพร่โฆษณา มีหน้าที่ 1.2.1ออก แบบสื่อประชาสัมพันธ์ เช่น แผ่นเย็บ แผ่นพับ และหนังสือเล่มเล็ก ๆ ตลอดจนสิ่งอื่น ๆ เช่น วีดีโอ หรือภาพยนตร์เพื่อส่งเสริมการขาย 1.2.2ประสานงานกับแผนกส่งเสริมการขายเพื่อประชาสัมพันธ์กิจกรรมของบริษัท

29 งานในบริษัทนำเที่ยว: ฝ่ายจัดการท่องเที่ยว (1)
2. ฝ่ายจัดการท่องเที่ยว 2.1  แผนกธุรการ มีหน้าที่ 2.1.1  ดูแลด้านเอกสารของสำนักงาน 2.1.2  ดูแลด้านข้อมูลข่าวสาร 2.1.3 โต้ตอบจดหมายสิ่งพิมพ์ 2.1.4 จัดส่งเอกสาร

30 งานในบริษัทนำเที่ยว: ฝ่ายจัดการท่องเที่ยว (2)
2.2 แผนกท่องเที่ยวภายในประเทศ 2.3 แผนกท่องเที่ยวต่างประเทศ 2.4 แผนกท่องเที่ยวจากต่างประเทศ 2.5 แผนกท่องเที่ยวเป็นกลุ่มเล็กและท่องเที่ยวแบบอิสระ 2.6 แผนกท่องเที่ยวโดยเรือเดินทะเล และท่องเที่ยวโดยการเช่าเหมาลำ 2.7 แผนกท่องเที่ยวเพื่อเป็นรางวัลและจัดการประชุม 2.8    แผนกท่องเที่ยวเหมาจ่าย

31 งานในบริษัทนำเที่ยว: ฝ่ายจัดการท่องเที่ยว (3)
2.5    – 2.8  มีหน้าที่                         1. จัดการเดินทางให้แก่ลูกค้าทั้งเป็นรายบุคคลและเป็นกลุ่ม                         2. จัดทำกำหนดการ                         3. กำหนดราคา                         4. ประสานงานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง                         5. จัดทำแฟ้มข้อมูลนักท่องเที่ยว

32 งานในบริษัทนำเที่ยว: ฝ่ายจัดการท่องเที่ยว (4)
2.9  แผนกยานพาหนะ มีหน้าที่จัดหายานพาหนะในการขนส่งนักท่องเที่ยว 2.10  แผนกบริหารงานบุคคล มีหน้าที่ สรรหาและบรรจุพนักงาน 2.10.2  ฝึกอบรมพนักงาน 2.11  แผนกรับจอง มีหน้าที่ 2.11.1  รับจองที่พัก 2.11.2  จำหน่ายบัตรโดยสารรถยนต์ รถไฟ และเครื่องบิน   จำหน่ายบัตรเข้าชมการแสดงต่าง ๆ 2.11.4  สำรองที่พัก และที่นั่งโดยสารตลอดจนที่นั่งชมการแสดง

33 งานในบริษัทนำเที่ยว: ฝ่ายการเงิน
3.   ฝ่ายการเงิน มีหน้าที่ด้านการเงินและบัญชีรับ – จ่ายทุกประเภทของบริษัท

34 ความสำเร็จในด้านการท่องเที่ยวของประเทศไทย (1)
ประเทศไทยประสบความสำเร็จในด้านการส่งเสริมการท่องเที่ยวด้วยการใช้มาตรการทางด้านการตลาด ดึงดูดนักท่องเที่ยวในขณะที่มีปัจจัยส่งเสริมให้เกิดสัมฤทธิผล คือ 1. ประเทศ ไทยเป็นประเทศที่ตั้งอยู่ในทำเลที่เหมาะสมในฐานะศูนย์กลางการบินพาณิชย์แห่ง ภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ซึ่งทำให้สายการบินต่าง ๆ แวะมาลงที่สนามบินกรุงเทพฯ มาก ความสะดวกในการเดินทางเข้าถึงเป็นผลให้ประเทศไทยมีความเติบโตทางการท่อง เที่ยวอย่างเป็นที่น่าพอใจ

35 ความสำเร็จในด้านการท่องเที่ยวของประเทศไทย (2)
2.  ประเทศไทยมีทรัพยากรการท่องเที่ยวจำนวนมากและหลากหลายทั้งที่เป็น แหล่งท่องเที่ยว ธรรมชาติ เช่น หาดทราย ชายทะเล หรือป่าเขาที่มีทิวทัศน์สวยงาม มีแหล่งท่องเที่ยวทางด้านประวัติศาสตร์โบราณวัตถุ โบราณสถาน ประเพณีวัฒนธรรม ตลอดจนวิถีชีวิตของชาวไทยที่น่าสนใจสามารถนำไปใช้ส่งเสริมเผยแพร่โฆษณาใน ตลาดการท่องเที่ยวได้ดี 3. ประเทศไทยได้พัฒนาสิ่งอำนวยความสะดวกทางการท่องเที่ยวด้วยความเหมาะสม ไม่ว่าจะเป็นด้านที่พักการขนส่งภายในประเทศ ภัตตาคารร้านอาหาร สินค้าที่ระลึกตลอดจน สิ่งบันเทิงและสวนสนุก

36 ความสำเร็จในด้านการท่องเที่ยวของประเทศไทย (3)
4.  คุณลักษณะเฉพาะของคนไทยความเป็นมิตรไมตรี นิสัยโอบอ้อมอารี ยิ้มแย้มแจ่มใส เหมาะกับการประกอบอาชีพ ด้านการท่องเที่ยว ซึ่งเป็นอุตสาหกรรมบริการ การให้บริการที่ถูกต้องตามาตรฐานสากลเมื่อประกอบกับ ความยิ้มแย้ม ความอ่อนโยน  ทำให้นักท่องเที่ยวเกิดความประทับใจ ช่วยโฆษณาประเทศไทยแบบปากต่อปาก ซึ่งมีประสิทธิผลสูงมาก     ที่สำคัญที่สุดก็คือ ความร่วมมือกันระหว่างหน่วยงานภาครัฐและเอกชนกับ ททท. ที่ส่งผลให้การท่องเที่ยวของประเทศไทยประสบความสำเร็จทั้งในด้านการส่งเสริม และการพัฒนา ทั้งนี้เพราะรัฐบาลได้ให้ความสนใจอย่างจริงจังมากขึ้นในการพัฒนาอุสาหกรรม ท่องเที่ยวและได้จัดสรรงบประมาณในการส่งเสริมและพัฒนาการท่องเที่ยวให้กับ ททท. มากขึ้น

37 ที่มาของข้อมูล http://www.praveetelearning.com/
(ผู้บรรยายขอขอบคุณผู้ให้ข้อมูล/เจ้าของแหล่งสืบค้นข้างต้น ในการจัดทำเอกสารชุดนี้ ไว้ ณ ที่นี้ด้วย)


ดาวน์โหลด ppt Operations in the Tourism Industry

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


Ads by Google