งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

แผ่นดินไหว มหันตภัยใกล้ตัว.

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


งานนำเสนอเรื่อง: "แผ่นดินไหว มหันตภัยใกล้ตัว."— ใบสำเนางานนำเสนอ:

1 แผ่นดินไหว มหันตภัยใกล้ตัว

2 แผ่นดินไหว (Earthquake)
การสั่นสะเทือนอย่างรุนแรง ของพื้นดินในช่วงเวลาหนึ่ง เกิดขึ้นจากแรงเสียดทาน ระหว่างชั้นหินและชั้นดินภายใต้ผิวโลก ตามแนวรอยเลื่อนของเปลือกโลก ที่มีพลังและยังเคลื่อนตัวอยู่ รวมทั้งในบริเวณภูเขาไฟที่ยังไม่ดับ ถ้าเกิดขึ้นทันทีทันใด ทำให้เกิดแผ่นดินไหวรุนแรงได้

3 แผ่นดินไหว เกิดจาก 2 สาเหตุ จากกิจกรรมของมนุษย์ จากธรรมชาติ
เปลือกโลกเคลื่อนที่ รอยเลื่อนขยับตัว ภูเขาไฟระเบิด ถ้ำใต้ดินถล่ม อุกกาบาตชนโลก จากกิจกรรมของมนุษย์ น้ำหนักของน้ำในเขื่อน เหมืองใต้ดินถล่ม การทดลองระเบิด นิวเคลียร์ใต้ดิน สงครามนิวเคลียร์

4 อุกกาบาต มหันตภัยนอกโลก
อุกาบาตชนโลก ดาวตก DDPM อุกกาบาต มหันตภัยนอกโลก

5 ระเบิดนิวเคลียร์ สงครามนิวเคลียร์

6 ภูเขาไฟใต้น้ำระเบิด

7 ภูเขาไฟระเบิด การเคลื่อนที่ของ แผ่นเปลือกโลก

8 การเคลื่อนตัวของเปลือกโลก
แ ก่ น โ ล กชั้ น ใ น แ ก่ น โ ล ก ชั้ น น อ ก แมนเทิล(เนื้อโลก) เ ป ลื อ ก โ ล ก ส่ ว น ล่ า ง ส่ ว น บ น ม ห า ส มุ ท ร ท วี ป

9 กลไกความร้อนภายในโลก ผลักดันให้เปลือกโลกเคลื่อนที่
DDPM กลไกความร้อนภายในโลก ผลักดันให้เปลือกโลกเคลื่อนที่

10 แผ่นเปลือกโลกเคลื่อนตัวตลอดเวลา

11 Where do earthquakes occur ?
DDPM ภาพนี้แสดงตำแหน่งของแผ่นดินไหวที่เคยเกิดขึ้นในอดีต แผ่นดินไหวมักเกิดชุกชุมในบางบริเวณ ซึ่งรวมถึงบริเวณเกาะสุมาตราและทะเลอันดามัน

12 การตรวจวัดคลื่นแผ่นดินไหว
เครื่องมือในยุคปัจจุบัน เครื่องตรวจคลื่นแผ่นดินไหวของประเทศจีนในอดีต

13

14 คือ ปริมาณของพลังงานซึ่งปล่อยออกมาจากศูนย์กลางแผ่นดินไหวใต้ดิน
DDPM ขนาดแผ่นดินไหว MAGNITUDE คือ ปริมาณของพลังงานซึ่งปล่อยออกมาจากศูนย์กลางแผ่นดินไหวใต้ดิน มีหน่วยวัดเป็น ริคเตอร์ (Richter)

15 ริกเตอร์  เป็น มาตรา วัดขนาด ของแผ่นดินไหว ตัวย่อ ML
นอกจากริกเตอร์ ก็ยังมีมาตราวัดขนาดเยอะมาก นับสิบมาตรา แต่ที่นิยมใช้กันมี 4 มาตรา คือ มาตราริกเตอร์ (ML) มาตราโมเมนต์ (Mw) มาตราคลื่นผิว (MS) มาตราคลื่นตัวกลาง (mb) มาตราริกเตอร์เกิดก่อนมาตราอื่น มีข้อดี คือคำนวณได้เร็วสุด แต่ติดข้อจำกัดคือใช้ได้กับความไกลจากจุดที่เกิดแผ่นดินไหวไม่เกิน 600 กิโลเมตร ฝืนใช้ได้เต็มที่ไม่เกิน 1,000 กิโลเมตร เหมาะกับประเทศเล็กเช่น ไทย ไต้หวัน เป็นต้น นั่นคือที่มาของตัว L หมายถึง Local หรือท้องถิ่น

16 ขนาดและความรุนแรงของแผ่นดินไหว
DDPM ขนาด (Magnitude) คือ จำนวนพลังงาน ณ จุดเกิดคลื่นแผ่นดินไหว ความรุนแรง คือ ความรู้สึกของคน ผลกระทบที่เกิดขึ้นกับ สิ่งของเครื่องใช้ และอาคารบ้านเรือน ขึ้นอยู่กับขนาด ระยะทางและความลึกของแผ่นดินไหว

17 ขนาดของแผ่นดินไหว (Magnitude/Richter)
น้อยกว่า 3.0 ขนาดเล็กมาก (Micro) ขนาดเล็ก (Minor) ขนาดค่อนข้างเล็ก (Light) ขนาดปานกลาง (Moderate) ขนาดค่อนข้างใหญ่ (Strong) ขนาดใหญ่ (Major) มากกว่า 8.0 ขนาดใหญ่มาก (Great)

18 ผลกระทบจากขนาดของแผ่นดินไหว
DDPM ผลกระทบจากขนาดของแผ่นดินไหว แผ่นดินไหวขนาด > สั่นรุนแรง เครื่องเรือนเคลื่อนที่ ถ้วยชามหล่นแตก แผ่นดินไหวขนาด > ไหวรุนแรง อาคารเสียหาย พังทลาย แผ่นดินไหวขนาด 7 ขึ้นไป > ไหวขั้นรุนแรง อาคาร วัตถุถูกทำลาย แผ่นดินแยกออกจากกัน วัตถุถูกเหวี่ยงขึ้นไปบนอากาศ

19 ระดับความรุนแรงของแผ่นดินไหว ตามมาตราเมอร์คัลลี่
DDPM ความรุนแรง สภาพ ของแผ่นดินไหว สภาพ ของแผ่นดินไหว 1. อ่อนมาก ไม่รู้สึก แต่เครื่องสามารถตรวจวัดได้ 7. แรงมาก ฝาห้องแยกร้าว กรุเพดานร่วง 2. อ่อน หากความรู้สึกไวจะรู้สึกว่าแผ่นดินไหวเล็กน้อย 8. ทำลาย ต้องหยุดขับรถ ตึกร้าว ปล่องไฟพัง 3. เบา คนที่อยู่กับที่จะรู้สึกว่าพื้นสั่น 9. ทำลายสูญเสีย บ้านพัง มีรอยแยกของแผ่นดิน 4. พอประมาณ คนสัญจรไปมา จะรู้สึกได้ 10. วินาศภัย แผ่นดินแตกอ้า ตึกแข็งแรงพัง 5. ค่อนข้างแรง คนที่หลับ ก็จะตกใจตื่น 11. วินาศภัยใหญ่ ตึกถล่ม น้ำท่วม แผ่นดินถล่ม 6. แรง ต้นไม้สั่น สิ่งปลูกสร้าง บางชนิดพัง 12. มหาวิบัติ ทุกอย่างบนผืนดิน แถบนั้นเสียหายโดยสิ้นเชิง

20 ระยะของการเกิดแผ่นดินไหว
DDPM ระยะไหวเตือน (Foreshock) สั่นสะเทือนก่อนล่วงหน้าเบาๆ ช่วงเวลาสั้นๆ เป็นวินาที ไม่สามารถเตรียมตัวทัน ระยะไหวใหญ่ (Mainshock) มีการสั่นสะเทือนเต็มที่ มีความรุนแรงมากที่สุด ระยะไหวตาม (Aftershock) ระยะสั่นสะเทือนหลังจาก ระยะไหวใหญ่ เพื่อให้แนวแตกร้าวเข้าที่หรือหยุดนิ่ง เป็นการไหวเบาๆ ตามมาอีกหลายๆครั้ง ใช้เวลาหลายวันกว่าจะหยุดนิ่งเข้าที่

21 มีผู้เสียชีวิต 70,000 คน ความเสียหายจากแผ่นดินไหว ขนาด 7.9
ประเทศปากีสถาน มกราคม 2544 มีผู้เสียชีวิต 70,000 คน DDPM

22 ความเสียหายจากแผ่นดินไหว ขนาด 7.9 ประเทศเนปาล เมษายน 2558

23 สถานการณ์แผ่นดินไหวในประเทศไทย
DDPM สถานการณ์แผ่นดินไหวในประเทศไทย ประเทศไทยเคยประสบแผ่นดินไหว ตั้งแต่อดีต-ปัจจุบัน ส่วนใหญ่เกิดจากการเคลื่อนตัวของรอยเลื่อนขนาดใหญ่ เนื่องจากประเทศไทยเป็นส่วนหนึ่ง ของแผ่นเปลือกโลก 2 แผ่น ได้แก่ @ แผ่นอินโด-ออสเตรเลีย @ แผ่นยูเรเซีย ซึ่งจัดเป็นรอยเลื่อนมีพลัง หรือรอยเลื่อนที่ยังเคลื่อนตัวอยู่ (Active fault)

24 แผ่นดินไหวที่เคยเกิดขึ้นในประเทศไทย
DDPM ขนาด > 5 ตามมาตราริกเตอร์ 17 ก.พ. 18 ขนาด 5.6 ตามมาตราริกเตอร์ อ.ท่าสองยาง จ.ตาก 15-22 เม.ย. 26 ขนาด 5.3,5.9,5.2 ตามมาตราริกเตอร์ อ.ศรีสวัสดิ์ จ.กาญจนบุรี 1 ต.ค. 32 ขนาด 5.3 ตามมาตราริกเตอร์ บริเวณพรมแดน ไทย - พม่า 11 ก.ย. 37 ขนาด 5.1 ตามมาตราริกเตอร์ อ.พาน จ.เชียงราย

25 รอยเลื่อนมีพลังในประเทศไทย
รอยเลื่อนแม่จัน รอยเลื่อนปัว รอยเลื่อนแม่ฮ่องสอน รอยเลื่อนอุตรดิตถ์ รอยเลื่อนพะเยา รอยเลื่อนแม่ทา รอยเลื่อนท่าแขก รอยเลื่อนเถิน รอยเลื่อนเมย รอยเลื่อนศรีสวัสดิ์ รอยเลื่อนเจดีย์สามองค์ รอยเลื่อนมีพลังในประเทศไทย รอยเลื่อนระนอง รอยเลื่อนคลองมะรุ่ย DDPM

26 แผนที่แสดงระดับ ความเสี่ยงต่อภัยจากแผ่นดินไหว
DDPM แผนที่แสดงระดับ ความเสี่ยงต่อภัยจากแผ่นดินไหว

27 กฎกระทรวง ฉบับที่ 49 (พ.ศ. 2540)
ฉบับที่ 49 (พ.ศ. 2540) DDPM พ.ร.บ. ควบคุมอาคาร พ.ศ. 2522 กำหนดให้วิศวกรต้องออกแบบอาคารในพื้นที่เสียงภัยให้สามารถ ต้านทานแผ่นดินไหวได้ จำกัดพื้นที่ควบคุมเพียง จังหวัด บังคับใช้กับอาคารสาธารณะ อาคารสำคัญ อาคารเก็บวัสดุอันตราย และอาคารทั่วไป ที่มีความสูงเกิน 15 เมตร

28 รอยเลื่อนในภาคเหนือ ที่อาจก่อให้เกิดแผ่นดินไหวขนาดใหญ่
DDPM รอยเลื่อนในภาคเหนือ ที่อาจก่อให้เกิดแผ่นดินไหวขนาดใหญ่ รอยเลื่อนแม่จัน รอยเลื่อนพะเยา รอยเลื่อนปัว รอยเลื่อนแม่ทา รอยเลื่อนเถิน รอยเลื่อนอุตรดิตถ์

29 รอยเลื่อนในภาคตะวันตก ที่อาจก่อให้เกิดแผ่นดินไหวขนาดใหญ่
DDPM Chao Praya Basin Fault Three Pagoda Fault Tenasserim Fault Kungyaungale Fault Tavoy Fault km Bangkok รอยเลื่อนเจดีย์สามองค์ รอยเลื่อนศรีสวัสดิ์

30 กรุงเทพมหานคร กับความเสี่ยงภัยจากแผ่นดินไหว
กรุงเทพมหานครและปริมณฑล เชื่อว่ามีโอกาสเกิดแผ่นดินไหวขนาดใหญ่ ประมาณ ตามมาตราริกเตอร์ ซึ่งมีศักยภาพสูงในการทำลายอาคารบ้านเรือน สิ่งปลูกสร้าง เนื่องจากเป็นพื้นที่ที่มีสภาพดินอ่อน สามารถขยายการสั่นสะเทือนของพื้นดิน ได้ถึง เท่า จากระดับปกติ

31 web site ที่เกี่ยวข้อง
DDPM web site ที่เกี่ยวข้อง

32 การพยากรณ์อากาศเพื่อการเดินเรือ ขนส่ง ท่องเที่ยว การเกษตร
กรมอุตุนิยมวิทยา ข้อมูลพยากรณ์อากาศประจำวัน 7 วันข้างหน้า ประจำเดือน รายฤดู การพยากรณ์คลื่นทะเล ระดับน้ำ การพยากรณ์อากาศเพื่อการเดินเรือ ขนส่ง ท่องเที่ยว การเกษตร อุณหภูมิสูงสุด-ต่ำสุด ปริมาณน้ำฝนรายวัน/ สะสมรายจังหวัด/รายภาค การพยากรณ์อากาศเชิงตัวเลข (คอมพิวเตอร์) แผนที่ทางอากาศ เรดาร์ตรวจอากาศ ข่าวเตือนภัย ข่าวเตือนภัยแผ่นดินไหวฯลฯ DDPM กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย

33 ศูนย์เตือนภัยพิบัติแห่งชาติ การแจ้งเตือนภัย ล่วงหน้า
DDPM ศูนย์เตือนภัยพิบัติแห่งชาติ การแจ้งเตือนภัย ล่วงหน้า

34 กรมทรัพยากรธรณี www.dmr.go.th ข้อมูลพื้นที่เสี่ยงภัย จากดินถล่ม
DDPM กรมทรัพยากรธรณี ข้อมูลพื้นที่เสี่ยงภัย จากดินถล่ม / แผ่นดินไหว

35 ประเทศสหรัฐอเมริกา ข้อมูลสถานการณ์ แผ่นดินไหวทั่วโลก
DDPM หน่วยงานสำรวจเชิงภูมิศาสตร์ ประเทศสหรัฐอเมริกา ข้อมูลสถานการณ์ แผ่นดินไหวทั่วโลก

36 www.disaster.go.th ข้อมูลสถานการณ์สาธารณภัย มาตรการ/แนวทางปฏิบัติ
DDPM กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย การแจ้งเตือนภัย ข้อมูลพื้นที่เสี่ยงภัย ข้อมูลสถานการณ์สาธารณภัย มาตรการ/แนวทางปฏิบัติ ในการป้องกันและแก้ไขปัญหาสาธารณภัย ระเบียบ/กฎหมายที่เกี่ยวข้อง เชื่อมโยงไปถึงเว็บไซต์ของหน่วยงานต่างๆ ทั้งหน่วยงานภายในและต่างประเทศ ข้อมูลการพยากรณ์อากาศ จากหน่วยงานอุตุนิยมวิทยาทั่วโลก

37 MISSION คุณนั่งทำงานอยู่ ชั้น 8 อาคารแห่งหนึ่ง ปรากฏว่าเกิดแผ่นดินไหวเกิดขึ้นโดยคุณรับรู้แรงสั่นสะเทือนได้ ทุกคนในอาคารแตกตื่น คุณต้องรีบหนี และ จังหวะนั้นคุณมีเวลาพอที่จะหยิบของที่โต๊ะทำงานติดมือไปได้แค่ 3 อย่างคุณจะเอาอะไรไปบ้าง

38 การเตรียมตัวและรับมือกับการเกิดแผ่นดินไหว
ก่อนการเกิดแผ่นดินไหว ควรมีไฟฉายพร้อมถ่านไฟฉาย และกระเป๋ายาเตรียมไว้ในบ้าน และให้ทุกคนทราบว่าอยู่ที่ไหน ศึกษาการปฐมพยาบาลเบื้องต้น ควรมีเครื่องมือดับเพลิงไว้ในบ้าน เช่น เครื่องดับเพลิง ถุงทราย เป็นต้น ควรทราบตำแหน่งของวาล์วปิดน้ำ วาล์วปิดก๊าซ สะพานไฟฟ้า สำหรับตัดกระแสไฟฟ้า อย่าวางสิ่งของหนักบนชั้น หรือหิ้งสูงๆ เมื่อแผ่นดินไหวอาจตกลงมาเป็นอันตรายได้ ผูกเครื่องใช้หนักๆ ให้แน่นกับพื้นผนังบ้าน ควรมีการวางแผนเรื่องจุดนัดหมาย ในกรณีที่ต้องพลัดพรากจากกัน เพื่อมารวมกันอีกครั้ง ในภายหลัง สร้างอาคารบ้านเรือนให้เป็นไปตามกฎเกณฑ์ที่กำหนด สำหรับพื้นที่เสี่ยงภัยแผ่นดินไหว

39 การเตรียมตัวและรับมือกับการเกิดแผ่นดินไหว
ระหว่างเกิดแผ่นดินไหว อย่าตกใจ พยายามควบคุมสติอย่างสงบ ถ้าท่านอยู่ในบ้านก็ให้อยู่ในบ้าน ถ้าท่านอยู่นอกบ้านก็ให้อยู่นอกบ้าน เพราะส่วนใหญ่ได้รับบาดเจ็บเพราะวิ่งเข้าออกจากบ้าน ถ้าอยู่ในบ้านให้ยืนหรือมอบอยู่ในส่วนของบ้านที่มีโครงสร้างแข็งแรง ที่สามารถรับน้ำหนัก ได้มาก และให้อยู่ห่างจากประตู ระเบียง และหน้าต่าง หากอยู่ในอาคารสูง ควรตั้งสติให้มั่น และรีบออกจากอาคารโดยเร็ว ถ้าอยู่ในที่โล่งแจ้ง ให้อยู่ห่างจากเสาไฟฟ้า และสิ่งห้อยแขวนต่างๆ ที่ปลอดภัยภายนอกคือที่โล่งแจ้ง อย่าใช้ เทียน ไม้ขีดไฟ หรือสิ่งที่ทำให้เกิดเปลวหรือประกายไฟ ถ้าท่านกำลังขับรถให้หยุดรถและอยู่ภายในรถ จนกระทั่งการสั่นสะเทือนจะหยุด ห้ามใช้ลิฟท์โดยเด็ดขาดขณะเกิดแผ่นดินไหว หากอยู่ชายหาดให้อยู่ห่างจากชายฝั่ง เพราะอาจเกิดคลื่นขนาดใหญ่ซัดเข้าหาฝั่ง

40 การเตรียมตัวและรับมือกับการเกิดแผ่นดินไหว
หลังเกิดแผ่นดินไหว ควรตรวจตัวเองและคนข้างเคียงว่าได้รับบาดเจ็บหรือไม่ ให้ทำการปฐมพยาบาลขั้นต้นก่อน ควรรีบออกจากอาคารที่เสียหายทันที เพราะหากเกิดแผ่นดินไหวตามมาอาคารอาจพังทลายได้ ใส่รองเท้าหุ้มส้นเสมอ เพราะอาจมีเศษแก้ว หรือวัสดุแหลมคมอื่น ๆ และสิ่งหักพังแทง ตรวจสายไฟ ท่อน้ำ ท่อแก๊ส ถ้าแก๊สรั่วให้ปิดวาล์วถังแก๊ส ยกสะพานไฟ อย่าจุดไม้ขีดไฟ หรือก่อไฟจนกว่าจะแน่ใจว่าไม่มีแก๊สรั่ว ตรวจสอบว่า แก๊สรั่ว ด้วยการดมกลิ่นเท่านั้น ถ้าได้กลิ่นให้เปิดประตูหน้าต่างทุกบาน ให้ออกจากบริเวณที่สายไฟขาด และวัสดุสายไฟพาดถึง เปิดวิทยุฟังคำแนะนำฉุกเฉิน อย่าใช้โทรศัพท์ นอกจากจำเป็นจริง ๆ สำรวจดูความเสียหายของท่อส้วม และท่อน้ำทิ้งก่อนใช้ อย่าเป็นไทยมุงหรือเข้าไปในเขตที่มีความเสียหายสูง หรืออาคารพัง อย่าแพร่ข่าวลือ

41 สึนามิ (Tsunami)

42 รู้จัก “สึนามิ” สึนามิ” (Tsunami) เป็นคลื่นทะเลที่ก่อให้เกิดภัยพิบัติต่อชีวิต และทรัพย์สินของมนุษย์อย่างมาก คำว่า “Tsunami” เป็นคำที่มาจากภาษาญี่ปุ่น “สึ” (Tsu) หมายถึง อ่าวฝั่ง หรือท่าเรือ “นามิ” (Nami) หมายถึง คลื่น “สึนามิ” จึงแปลเป็นภาษาอังกฤษได้ว่า “harbor wave” หรือคลื่นที่เข้าสู่อ่าว ฝั่ง หรือท่าเรือ

43 รู้จัก “สึนามิ” สึนามิ (Tsunami) คือ คลื่นหรือกลุ่มคลื่นที่มีจุดกำเนิดอยู่ในเขตทะเลลึก ซึ่งมักปรากฏหลังแผ่นดินไหวขนาดใหญ่ แผ่นดินไหวใต้ทะเล ภูเขาไฟระเบิด ดินถล่ม แผ่นดินทรุด หรืออุกกาบาตขนาดใหญ่ตกลงในทะเล คลื่นสึนามิแตกต่างจากคลื่นธรรมดามาก ตัวคลื่นนั้นสามารถเดินทางได้เป็นระยะทางไกล โดยไม่สูญเสียพลังงานและสามารถเข้าทำลายชายฝั่งที่อยู่ห่างไกลจากจุดกำเนิดหลายพันกิโลเมตรได้

44 รู้จัก “สึนามิ” โดยทั่วไปแล้วคลื่นสึนามิซึ่งเป็นคลื่นในน้ำ จะเดินทางได้ช้ากว่าการสั่นสะเทือนของแผ่นดินไหวที่เป็นคลื่นที่เดินทางในพื้นดิน ดังนั้น คลื่นอาจเข้ากระทบฝั่งภายหลังจากที่ผู้คนบริเวณนั้นรู้สึกว่าเกิดแผ่นดินไหวเป็นเวลาหลายชั่วโมง

45 รู้จัก “สึนามิ” คลื่นสึนามิจะเคลื่อนที่ด้วยความเร็วตั้งแต่ 500 ถึง 1,000 กิโลเมตรต่อชั่วโมง อย่างไรก็ตาม เมื่อเข้าสู่ชายฝั่งที่มีความลึกลดลง คลื่นจะมีความเร็วลดลงและเริ่มก่อตัวเป็นคลื่นสูง โดยอาจมีความสูงมากกว่า 30 เมตรได้

46 สาเหตุการเกิดสึนามิ ส่วนใหญ่เกิดจากการเคลื่อนตัวของเปลือกโลกใต้ทะเลอย่างฉับพลัน อาจจะเป็นการเกิดแผ่นดินถล่มยุบตัวลง หรือเปลือกโลกถูกดันขึ้นหรือยุบตัวลง เมื่อแผ่นดินใต้ทะเลเกิดการเปลี่ยนรูปร่างอย่างกะทันหัน จะทำให้น้ำทะเลเกิดเคลื่อนตัว เพื่อปรับระดับให้เข้าสู่จุดสมดุลและจะก่อให้เกิดคลื่นสึนามิ

47 สึนามิ ในประเทศไทย 26 ธันวาคม 2547 เวลาประมาณ 07.58 น.
ได้เกิดแผ่นดินไหวขนาด 9 ในมหาสมุทรอินเดีย ทางตะวันตกของเกาะสุมาตรา ประเทศอินโดนีเซีย

48

49 สึนามิ ในประเทศไทย

50 ยอดผู้เสียชีวิต+สูญหายจากเหตุการณ์นี้รวมทั้งสิ้น 300,000 คน
ประเทศไทย ประมาณ 8,000 คน

51 สึนามิในญี่ปุ่น 11 มีนาคม พ.ศ. 2554
สึนามิในญี่ปุ่น 11 มีนาคม พ.ศ. 2554 เกิดแผ่นดินไหวในทะเล จุดศูนย์กลางนอกชายฝั่งทางตะวันออกของญี่ปุ่น ระดับความรุนแรง 9 ริคเตอร์ เกิดคลื่นยักษ์สึนามิ ขนาดสูงที่สุด 40.5 เมตร ในมิยาโกะ อิวาเตะ โทโฮะกุ ระดับความลึกของคลื่นที่พัดเข้าสู่แผ่นดินสูงที่สุด 14 กิโลเมตร 

52 ยอดผู้เสียชีวิตและสูญหาย ประมาณ 20,000 ราย

53 การเตรียมความพร้อมสำหรับภัยสึนามิ

54 ระบบเตือนภัยจากสึนามิ
การบรรเทาภัยจากสึนามิ จะทำได้โดยการเฝ้าระวังอย่างใกล้ชิด ประเทศไทยเป็นสมาชิกในระบบเตือนภัยสึนามิในแปซิฟิก (Pacific Tsunami Warning System) ซึ่งมีสมาชิก 26 ประเทศ ซึ่งมีศูนย์อยู่ที่ฮาวาย เมื่อศูนย์ได้รับข้อมูลแผ่นดินไหวจะทำการตรวจสอบว่าตำแหน่งที่เกิดกับขนาด ของแผ่นดินไหวว่าเข้าเกณฑ์เสี่ยงไหม ถ้าพบว่าเข้าเกณฑ์เสี่ยงก็จะทำการแจ้งเตือนภัยโดยรอบ พร้อมทั้งจะให้ข้อมูลเวลาที่คาดว่าคลื่นจะมาถึงสำหรับบริเวณที่คลื่นจะถึงใน 2-3 ชั่วโมง เมื่อทางศูนย์ตรวจพบสึนามิใหญ่จากการตรวจวัดภาพพื้นทะเล ศูนย์จะแจ้งเตือนทั่วประเทศในภาคพื้นแปซิฟิค

55 ข้อควรปฏิบัติเมื่อเกิดสึนามิ
กรณีที่อยู่บนบก หากได้รับสัญญาณเตือนภัยข่าวการเกิดคลื่นสึนามิ ควรเคลื่อนย้ายออกจากพื้นที่เสี่ยงภัย และปฏิบัติตามคำ แนะนำของเจ้าหน้าที่ หากอยู่บริเวณชายหาด และรู้สึกได้ถึงแผ่นดินไหว ให้รีบหนีไปอยู่บริเวณที่สูงและอยู่ห่างจากแม่น้ำหรือคลองที่ต่อเชื่อมลงสู่ทะเลหรือมหาสมุทร หากเกิดคลื่นสึนามิในบริเวณมหาสมุทรที่ห่างไกล ก็มีเวลาเพียงพอที่จะหาบริเวณที่สูงสำหรับหลบภัยได้ แต่สำหรับคลื่นสึนามิที่เกิดขึ้นประจำในท้องถิ่น เมื่อรู้สึกถึงแผ่นดินไหว ก็จะมีเวลาเพียง 2 -3 นาที เท่านั้นสำหรับหาที่หลบภัยได้ สำหรับตึกสูง หลายชั้น และมีโครงสร้างเสริมความแข็งแรง ชั้นบนของตึกสามารถใช้เป็นที่หลบภัยคลื่นสึนามิได้ในกรณีที่ไม่มีเวลาพอในการหาที่สูงหลบภัย

56 กรณีที่อยู่ในทะเล ปกติผู้เดินเรือจะไม่ทราบว่าเกิดสึนามิเมื่ออยู่ในทะเล
และเมื่อได้ยินการเตือนภัย ห้ามเข้าชายฝั่งเพราะระดับน้ำจะเปลี่ยนแปลงอย่างมากที่ชายฝั่ง แต่ถ้าเรือกำลังจะออกจากท่าเรือให้ติดต่อกับท่าเรือเพื่อรับฟังคำแนะนำ ถ้ารับทราบคำเตือน และมีเวลาที่จะไปยังน้ำลึกก็อาจจะไปอย่างเป็นระเบียบ แต่สำหรับเรือเล็กอาจจะปลอดภัยกว่าถ้าอพยพออกจากเรือไปยังที่สูง

57

58 ไม่ควรประมาท กรณีที่มีข่าวว่าจะเกิดคลื่นสึนามิขนาดเล็ก เนื่องจากคลื่นสึนามิในบริเวณหนึ่ง อาจมีขนาดเล็ก แต่ว่าอีกบริเวณหนึ่งอาจมีขนาดใหญ่ก็ได้ คลื่นสึนามิสามารถเกิดขึ้นได้อีกหลายระลอก จากการเกิดแผ่นดินไหวครั้งเดียว เนื่องจากการ แกว่งไปแกว่งมาของน้ำทะเล ถ้าจะลงไปชายหาดให้รอสักระยะหนึ่ง เพื่อให้แน่ว่าปลอดภัยจากคลื่นแล้ว


ดาวน์โหลด ppt แผ่นดินไหว มหันตภัยใกล้ตัว.

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


Ads by Google