ชีวิตหลัง ความตาย
พุทธจริยศาสตร์ อุดมคติคือนิพพาน อุดมคติของพระพุทธศาสนา ในทางพระพุทธศาสนา ได้แบ่งเป้าหมายของชีวิตไว้ 3 ระดับ โดยเริ่มจากระดับต่ำสุดไปจนถึงสูงสุดดังนี้ 1. เป้าหมายชีวิตในโลกนี้ 2. เป้าหมายชีวิตในโลกหน้า 3. เป้าหมายสูงสุดคือนิพพาน
1. เป้าหมายชีวิตในโลกนี้ คือ คิหิสุข ได้แก่ สุขของคฤหัสถ์ หรือ กามโภคีสุข คือ สุขอันเกิดมาจากการบริโภคกาม เป็นสุขโดยชอบธรรม มี 4 ประการ คือ 1. อัตถิสุข ความสุขจากการมีทรัพย์ ที่หาได้มาด้วยหยาดเหงื่อแรงงาน ความขยัน และความสุจริต 2. โภคสุข ความสุขจากการได้ใช้จ่ายทรัพย์ เลี้ยงดูตน และครอบครัวรวมถึง การบำเพ็ญประโยชน์
(อังคุตตรนิกาย จตุกกนิบาต พระไตรปิฎกเล่ม 21 ข้อ 62 หน้า 90) 3. อนณสุข ความสุขจากการไม่ต้องเป็นหนี้ ทำให้ไม่ต้องอึดอัด รู้สึกสบายใจ 4. อนวัชชสุข ความสุขจากการประพฤติที่ไม่มีโทษ ทั้งทางกาย วาจา และทางใจ (ข้อนี้มีค่ามากที่สุด) (อังคุตตรนิกาย จตุกกนิบาต พระไตรปิฎกเล่ม 21 ข้อ 62 หน้า 90)
2. เป้าหมายชีวิตในโลกหน้า เรียกว่า สัมปรายิกัตถสังวัตตนิกธรรม ธรรมที่เป็นไปเพื่อประโยชน์ในชาติหน้า ในระดับนี้หมายความว่า เมื่อมีทุกอย่างสมบูรณ์ครบถ้วนในโลกนี้แล้ว ก็ให้ทราบความจริงของชีวิตว่า การมีชีวิตอยู่ในโลกนี้เป็นการมาอยู่ชั่วคราว เหมือนการมาเช่าโรงแรมอยู่ได้เพียงชั่วระยะหนึ่ง จากนั้น ก็ต้องออกจากโรงแรมนั้นไป นั่นคือ การจะต้องตายอำลาจากโลกนี้ไปสู่โลกหน้า
ซึ่งในทางพระพุทธศาสนาถือว่า การเกิดและการตายนั้นเป็นสิ่งที่มีเงื่อนไข ถ้ายังมีกิเลสก็ยังต้องเวียนว่ายตายเกิด ถ้าหมดกิเลสก็ไม่ต้องเกิด
เพราะฉะนั้น ตราบเท่าที่ยังเวียนเกิดเวียนตายก็ควรมี สุคติ คือ การไปเกิดในสถานที่ที่เป็นสุข มีมนุษย์ 1 สวรรค์ 6 ชั้น และพรหม 20 ชั้น อย่าได้ไปเกิดใน ทุคติ คือ การไปเกิดที่ไม่ดี เรียกว่า อบายภูมิ 4 คือ 1. สัตว์นรก 2. เปรต 3. อสุรกาย และ 4. สัตว์เดรัจฉาน
3. เป้าหมายสูงสุด คือ นิพพาน 3. เป้าหมายสูงสุด คือ นิพพาน นิพานคือ สภาวะที่จิตว่างเปล่าปราศจากกิเลสคือ โลภะ ความอยากได้, โทสะ ความโกรธ, โมหะ ความหลง (นิพพานํ ปรมํ สุญญํ) นิพพานคือ สภาวะที่จิตเต็มไปด้วยความสุขที่แท้จริง อันเป็นสุขไม่แปรเปลี่ยนไปเป็นทุกข์ (นิพพานํ ปรมํ สุขํ) นิพพานคือ สภาวะที่จิตมีอิสรภาพอย่างสมบูรณ์ เพราะหลุดพ้นจากความชั่วคือกิเลสทั้งปวง จึงเป็นจิตที่หมดความเห็นแก่ตัว ชีวิตที่เหลืออยู่จึงเป็นชีวิตที่เป็นประโยชน์แก่มหาชน ในจิตจึงมีแต่กุศลความดี ที่จะทำประโยชน์แก่ผู้อื่น โดยที่ไม่ต้องคำนึงถึงตนเอง เพราะการถึงนิพพานชื่อว่าทำประโยชน์ของตนให้บริบูรณ์ได้แล้ว
นิพพานแบ่งออกเป็น 2 ประการ คือ 1. สอุปาทิเสสนิพพาน ดับกิเลสในใจได้แล้วแต่ยังมีชีวิตอยู่ เรียกอีกอย่างหนึ่งว่า กิเลสนิพพาน ตัวอย่าง พระพุทธเจ้าดับกิเลสในพระทัยของพระองค์ได้ที่ ใต้โคนต้นศรีมหาโพธิ์ เมื่อพระชนมายุได้ 35 พรรษา
2. อนุปาทิเสสนิพพาน คือ ความตายของพระอรหันต์ เรียกอีกอย่างหนึ่งว่า ขันธนิพพาน ตัวอย่าง พระพุทธเจ้าปรินิพพานใต้ต้นนางรังทั้งคู่ ที่เมืองกุสินารา เมื่อพระชนมายุ 80 พรรษา