SELENIUM ซีลีเนียม
การค้นพบ ซีลีเนียม เป็นแร่ธาตุชนิดหนึ่งมีสัญลักษณ์ทางเคมีว่า Se ถูกค้นพบในปีพ.ศ. ๒๓๖๐หรือปี ค.ศ.1817โดยนักวิทยาศาสตร์ชื่อ เบอร์เซลิอัส ได้ชื่อจากคำในภาษากรีก SELENE ซึ่งแปลว่า พระจันทร์ เพิ่งค้นพบไม่นานมานี้เอง สิ่งมีชีวิตจำนวนมาก รวมทั้งมนุษย์ล้วนต้องการซีลีเนียม เพราะมันเกี่ยวข้องในกระบวนการผลิตสารเคมีสำคัญ คือ “เอนไซม์” หลายชนิด ส่งผลให้เกิดคุณประโยชน์หลายประการ
ประโยชน์ 1. เป็นสารต้านออกซิเดชั่น ตามธรรมชาติทำงานใกล้ชิดกับวิตามิน อี เพื่อรักษาเนื้อเยื่อต่างๆให้มีความยืดหยุ่นและช่วยให้หัวใจทำหน้าที่ ได้ดีขึ้น 2. ช่วยในการผลิตสารprostaglandin เพื่อป้องกันไม่ให้ความดันเลือด สูง และเป็นโรคหัวใจ 3. สำคัญในการช่วยไม่ให้เป็นหมัน โดยช่วยให้เชื้ออสุจิมีความ แข็งแรง
4. ช่วยเพิ่มความต้านทานต่อการเป็นโรค 5. อาจป้องกันการแก่ก่อนอายุโดยไปยับยั้งการสร้าง อนุมูลอิสระ 6. ช่วยป้องกันร่างกายจากรังสี
7. รักษาความยืดหยุ่นของผิวหนัง 8. เพิ่มความต้านทานของร่างกาย หรือเพิ่มภูมิคุ้มกัน 9. ป้องกันความดันโลหิตสูง อัมพฤกษ์ หัวใจล้มเหลว เจ็บหน้าอก ไตถูกทำลาย
10. ช่วยในการปฏิบัติหน้าที่ของตับ 11. มีบทบาทเกี่ยวกับการหายใจของเนื้อเยื่อโดยหน้าที่ ช่วยส่งอิเล็คตรอน ช่วยหัวใจ ทำงานดีขึ้น และ ส่งเสริมการสร้างกำลังของเซลล์โดยการนำ ออกซิเจนไปเลี้ยงให้เพียงพอ
ส่งเสริมการเจริญเติบโตของร่างกายให้เป็นไปตามปกติ และควบคุมสุขภาพของสายตา ผิวหนัง และผม 13.ส่งเสริมให้ประจำเดือนของเพศหญิงเป็นไปโดย สม่ำเสมอ และช่วยให้ไข่สุก
แหล่งอาหารตามธรรมชาติ 1. ข้าวต่างๆ 2. ผัก เช่น กระเทียม เห็ด บรอคโคลี หัวหอม มะเขือเทศ 3. นม ไข่ 4. อื่นๆ เช่น อาหารทะเล ตับ บรูเออร์ยีสต์ แหล่งอาหารที่ดีที่สุดของซีลีเนียม คือ อาหารทะเล ตับ และข้าว
ปริมาณที่ควรได้รับ ทารกแรกเกิดถึง 2 เดือน ให้เลี้ยงด้วยนมแม่ ขณะนี้ยังไม่มีข้อมูลว่าร่างกายต้องการซีลีเนียมเท่าใด แต่เชื่อกันว่า ทารกแรกเกิดถึง 2 เดือน ให้เลี้ยงด้วยนมแม่ เด็กอายุ 3-5 เดือน ควรได้รับ 0.01-0.04 มิลลิกรัมต่อวัน เด็กอายุ 6-11 เดือน ควรได้รับ 0.02-0.06 มิลลิกรัมต่อวัน เด็กอายุ 1-3 ปี ควรได้รับ 0.02-0.08 มิลลิกรัมต่อวัน เด็กอายุ 4-6 ปี ควรได้รับ 0.03-0.12 มิลลิกรัมต่อวัน หญิงและชายอายุตั้งแต่ 7 ปีขึ้นไป ควรได้รับ 0.05-0.2 มิลลิกรัมต่อวัน
ข้อควรระวัง การได้รับซีลีเนียมมากเกินไป คือ ในน้ำดื่มไม่ควรเกิน 2 มิลลิกรัมต่อวันและในอาหารไม่ควรเกิน 3 มิลลิกรัมต่อวัน
การดูดซึม ซีลีเนียมถูกดูดซึมได้ดีที่ลำไส้เล็ก ขึ้นกับปริมาณของสภาพการละลายของสารประกอบซีลีเนียมและอัตราส่วนระหว่างซีลีเนียมและกำมะถัน ร่างกายจะเก็บซีลีเนียมไว้ในตับและไตมากเป็น 4-5 เท่า ของซีลีเนียมที่มีอยู่ในกล้ามเนื้อ และเนื้อเยื่ออื่น ตามปกติซีลีเนียมจะถูกขับออกทางปัสสาวะ ถ้าปรากฏว่ามีซีลีเนียม ถูกขับออกมาทางอุจจาระแสดงว่าเกิดการดูดซึมที่ไม่ถูกต้อง
ผลของการขาด 1.ทำให้กล้ามเนื้อฝ่อ เป็นโรคหัวใจ 2. แก่ก่อนวัย 3.อาจทำให้เป็นหมัน 4. อาจเป็นมะเร็งในระบบย่อยอาหารและระบบขับของเสีย 5.การมองเห็นไม่ชัด 6.เม็ดเลือดแดงแตกเปราะง่าย 7.ถ้าขาดในตอนเด็กอาจทำให้เด็กตายได้โดยไม่ทราบสาเหตุ
อาการเป็นพิษ 1.มีความผิดปกติในทางเดินกระเพาะอาหาร ลำไส้ 2.ผมหลุดร่วงง่าย
ผลของการได้รับมากไป ถ้าได้รับซีลีเนียม 5-10 ส่วนต่อล้าน จะถือว่าเป็นพิษโดยที่ซีลีเนียมจะไปแทนกำมะถันในอณูของ เมทไทโอนีน ซีสทีน และซีสเตอีน ทำให้ร่างกายใช้ กรดอะมิโน 3 ตัวนี้ไม่ได้ การได้รับซีลีเนียมปริมาณสูงๆ เป็นมิลลิกรัมทุกวันทำให้เกิดเป็นพิษได้ เพียง 5 มิลลิกรัม สามารถทำให้เกิดอาการ อาเจียน ท้องร่วง สูญเสียผม และเล็บ เกิดเป็นแผลที่ผิวหนัง และระบบประสาท บางคนรับประทานซีลีเนียมมากๆ เพราะคิดว่าสามารถป้องกันโรคมะเร็งได้ ซึ่งเป็นการทดลองในสัตว์ แต่ในคนยังไม่มีหลักฐานยืนยันแน่ชัด
อาหารหรือสารต้านฤทธิ์ อาหารหรือสารเสริมฤทธิ์ วิตามินอี อาหารหรือสารต้านฤทธิ์ กำมะถัน
THANK YOU
จัดทำโดย นางสาว กมลวรรณ จันทร์อินทร์ 491010002 นางสาว กมลวรรณ จันทร์อินทร์ 491010002 นางสาว กนกฉัตร พันธุปาล 491010119 นางสาว ศศิวิมล คำยศ 491010163
คำถาม ซีลีเนียมมีประโยชน์อย่างไรบ้าง? แหล่งอาหารที่ดีที่สุดของซีลีเนียมคืออะไรบ้าง?