การดักจับความรู้ด้วยเครื่องมือ “AAR”
เครื่องมือดักจับความรู้หลังการปฏิบัติ “After Action Review (AAR)” หมายถึง เครื่องมือถอดบทเรียน หรือองค์ความรู้ เป็นการรวบรวมบทเรียนที่ได้จากการปฏิบัติ บางคนเรียกว่า เครื่องมือวิเคราะห์หลังปฏิบัติ การทบทวนหลังปฏิบัติงาน การทบทวนหลังทำกิจกรรม ไม่ว่าการปฏิบัตินั้นจะสำเร็จหรือล้มเหลว
เครื่องมือดักจับความรู้หลังการปฏิบัติ “After Action Review (AAR)” มีประโยชน์อย่างไร? เพื่อแลกเปลี่ยนประสบการณ์การทำงาน เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพของการปฏิบัติงาน เพื่อให้ทีมสามารถทำได้ดีขึ้นในครั้งต่อไป เพื่อแก้ปัญหาที่เกิดขึ้น และ เพื่อไม่ให้เกิดปัญหานี้ขึ้นอีก
ขั้นตอนการทำAAR 8. สรุปได้ชุดข้อเสนอแนะ นำไปปฏิบัติได้ทันที 7. วิเคราะห์แสวงหาสิ่งที่จะทำต่อไปให้ดีขึ้นอย่างไร 6. เล่าประสบการณ์ภายใต้คำถามหลัก 4 คำถาม 5. ทบทวนการดำเนินงานตามวัตถุประสงค์ 4. กำหนดประเด็น ถอดบทเรียน (4 คำถามสำคัญ) 3. สร้างบรรยากาศการเรียนรู้ (คุยกันฉันมิตร ไม่จับผิด) 2. ระบุผู้เข้าร่วมในกระบวนการ (ทุกคนในทีมงาน) 1. กำหนดเวลา (หลังสถานการณ์จบสิ้นทันที)
4 คำถามสำคัญในการใช้เครื่องมือ AAR ท่านมีความคาดหวังอะไรในการทำงานครั้งนั้น? สิ่งที่เกิดขึ้นจริงเป็นไปตามคาดหวังหรือไม่ อย่างไร? ทำไมถึงเป็นเช่นนั้น? หากท่านจะต้องดำเนินการในเรื่องนั้น ครั้งต่อไป ท่านจะทำอย่างไร?
แบบบันทึกการดักจับความรู้หลังการปฏิบัติ (AAR) ท่านมีความคาดหวังอะไรในการทำงานครั้งนั้น? สิ่งที่เกิดขึ้นจริงเป็นไปตามคาดหวังหรือไม่ อย่างไร? ทำไมถึงเป็นเช่นนั้น? หากท่านจะต้องดำเนินการในเรื่องนั้นครั้งต่อไป ท่านจะทำอย่างไร? 2 1 3 4
คาดหวังอะไรกับงานครั้งนี้? สิ่งที่เกิดขึ้นจริงคืออะไร? ทำไมเป็นเช่นนั้น? ต่อไปจะปรับปรุงพัฒนาให้ดีขึ้นอย่างไร?
ให้กลุ่มร่วมกันทบทวน วิเคราะห์ และสะท้อนประสบการณ์ในการ เข้าร่วมอบรมหลักสูตรนักวิชาการพัฒนาชุมชน โดยใช้เครื่องมือ ดักจับความรู้หลังการปฏิบัติ (After Action Review: AAR) ให้สมาชิกทุกคนเล่าเรื่องประสบการณ์การทำงานตามประเด็นต่อไปนี้ ๑.๑ ท่านมีความคาดหวังอะไรในการเรียนรู้จากการอบรมครั้งนี้ ๑.๒ สิ่งที่เกิดขึ้นจริงเป็นไปตามคาดหวังหรือไม่ อย่างไร ๑.๓ ทำไมถึงเป็นเช่นนั้น ๑.๔ หากต้องดำเนินการในเรื่องนี้ครั้งต่อไป ผู้จัดการอบรมควรทำอย่างไรให้ดีกว่าเดิม ให้ทุกกลุ่มกลับเข้าที่ประชุมเวลา 14.10 น. (15.20 น.) และนำเสนอผลต่อที่ประชุม กลุ่มละ ไม่เกิน 10 นาที
ทำได้เกินความคาดหวัง ทำได้ไม่เป็นไปตามความคาดหวัง วางแผนปรับปรุง/พัฒนา วิธีปฏบัติที่ดี ถอดความรู้ เขาทำได้อย่างไร ทำได้เกินความคาดหวัง AAR คู่มือ ท่านมีความคาดหวังอะไรในการทำงานครั้งนั้น? สิ่งที่เกิดขึ้นจริงเป็นไปตามคาดหวังหรือไม่ อย่างไร? ทำไมถึงเป็นเช่นนั้น? ในเรื่องนี้ครั้งต่อไป จะปรับปรุง/พัฒนาอย่างไร? ทำได้ไม่เป็นไปตามความคาดหวัง วางแผนปรับปรุง/พัฒนา บทเรียนต้องแก้ไข ข้อพึงระวัง
สรุปเคล็ดลับการทำAAR ทุกคนในทีมงานต้องเข้าร่วมถอดบทเรียน ใช้คำถามปลายเปิดเพื่อให้เกิดการแลกเปลี่ยน ไม่มีการกล่าวโทษ ซ้ำเติม ตอกย้ำซึ่งกันและกัน ไม่มีความเป็นเจ้านายหรือลูกน้อง มีแต่บรรยากาศที่เป็นกันเอง มี "คุณอำนวย" คอยอำนวยความสะดวก กระตุ้น ตั้งคำถามให้ทุกคนได้แสดงความคิดเห็น ข้อเสนอแนะของตน ถามตัวคุณเองว่าผลที่คาดว่าควรได้รับคืออะไร หันกลับมาดูว่าสิ่งที่เกิดขึ้นจริงคืออะไร ความแตกต่างคืออะไร ทำไมจึงแตกต่าง จดบันทึก เพื่อเตือนความจำว่า วิธีการใดบ้างที่คุณได้เคยนำมาแก้ปัญหาแล้ว
ข้อคิดในการทำAAR อยากให้ทุกท่านลองนำ AAR ไปใช้กับกิจกรรมหลาย ๆ อย่าง ทั้งในส่วนของงานประจำการจัดประชุม สัมมนากิจกรรมพัฒนาชุมชน ต่าง ๆ AAR คงไม่ใช่คำตองสุดท้ายสำหรับงานทุกอย่าง เมื่อคนเปลี่ยน เวลาเปลี่ยน สถานที่เปลี่ยน ปัญหาย่อมเปลี่ยน วิธีแก้ปัญหาก็ ต้องเปลี่ยนไปด้วยเช่นกัน AAR มิได้จบลงที่เอกสารสรุปหรือรายงาน แต่จะต้องนำไปสู่การปฏิบัติครั้งต่อไปที่เกิดจากทีมงานช่วยกันวางแผนให้การทำงานดีขึ้นกว่าเดิม “คุณอำนวย” เป็นผู้มีบทบาทหลัก ความสำเร็จของ AAR จึงขึ้นกับฝีมือ และประสบการณ์ของคุณอำนวยเป็นอย่างมาก