บารากุ หรือ บารากู่ ( baraku) ชื่อเรียกอุปกรณ์การสูบยาอย่างหนึ่งที่มาจาก อาหรับ รูปทรงคล้ายตะเกียงอาหรับ ทรงสูงปากแคบ
วัยรุ่นไทยกับบารากู่
วัยรุ่นไทยกับบารากู่
ตัวยาที่ใช้สูบบารากู่
ถ่านที่ใช้สูบบารากู่ ที่มา http://www.facebook.com/pages/ชมรมคนรักบารากู่-Hookah-Society
วิธีการสูบ ส่วนบนสุดใช้วาง ยาเส้นที่เรียกว่า มาแอสเซล (MU’ASSEL) ซึ่งเป็นส่วนผสมของใบยาสูบกับสารที่มีความหวานเช่น น้ำผึ้ง กากน้ำตาล ผลไม้หรือดอกไม้ตากแห้ง เช่น แอปเปิ้ล สตรอเบอร์รี่ เชอร์รี่ องุ่น มะม่วง กาแฟ วานิลลา มะนาว กุหลาบ รวมไปถึงสมุนไพรต่างๆ ทำให้เกิดกลิ่นหอม ซึ่งมักจะห่อไว้ในกระดาษฟอยส์ โดยจะใช้ถ่านหรือความร้อนจากไฟฟ้า ในการเผายาเส้น ควันจากการเผาไหม้จะผ่านน้ำมายังส่วนล่างสุด ซึ่ง ด้านล่างจะเป็นกระเปาะใส่น้ำ เมื่อมีการทำความร้อน ยาสูบจะเกิดควันแล้ว ลอยผ่านมาทางน้ำ
แหล่งข่าววัยรุ่นนักเที่ยวคนหนึ่ง เปิดเผยว่า ขณะนี้การสูบบารากู่ มีทั้ง ลูกค้าชาวไทยและต่างประเทศ ทั้งหญิงและชาย ราคาการสูบบารากู่นั้น อัตราค่าสูบตกครั้งละ 380 - 480 บาท แต่มีนักเที่ยวบางคนฉวยโอกาสนำ ยาเสพติด อาทิ ยาเค ยาอี ยาบ้า กัญชา หรือผงขาว ผสม เข้าไปในยาสูบ บารากู่ หากร้านสูบบารากู่ร้านใดมีลูกค้าแนวนี้ ก็จะคิดราคาเพิ่มอีกในอัตรา ตั้งแต่ 200 – 1,000 บาท ดังนั้น บารากู่จึงเป็นช่องทางหนึ่ง ในการขายยาเสพติด โดยพ่อค้าจะมี กลวิธีล่อใจลูกค้าด้วยการบอกว่า ใครสูบบารากู่แล้ว จะทำให้มีรูปร่างและ ผิวพรรณดี นอนหลับ กินได้ ที่สำคัญจะช่วยกระตุ้นอารมณ์เพศได้อีกด้วย
อันตรายของบารากุ ผู้สูบจะมีอาการปวดศีรษะ ตามองเห็นภาพไม่ชัด เวียนศีรษะ ใจสั่น ระดับโคเลสเตอรอลในกระแสเลือดมากกว่าผู้ที่สูบบุหรี่ทั่วไป อาจกระตุ้นให้เกิดหลอดลมตีบตัวในผู้ป่วยโรคหอบหืด ทำให้เกิดการเจริญเติบโตผิดปกติของทารกในครรภ์ และเพิ่มการหลั่งกรดในกระเพาะอาหารจึงเพิ่มความเสี่ยงของการเป็นแผลในกระเพาะอาหาร
อันตรายของบารากุ มหาวิทยาลัยเวอร์จีเนียแห่งอังกฤษ ได้ทำการวิจัยพบว่า 1. การสูบบารากุ 45 นาทีจะมีปริมาณฝุ่นละอองมากกว่า 36 เท่า คาร์บอนมอนอกไซด์ 15 เท่า และมีนิโคตินสูงขึ้น 70% เมื่อเทียบกับการ สูบบุหรี่หนึ่งมวน 30% ของผู้ที่สูบบารากุมีโอกาสจะติดโรคร้ายแรงในช่องปาก ขณะที่ ผู้สูบบุหรี่จะมีโอกาสเป็นโรคในช่องปาก 24%
อันตรายของบารากุ น.พ. หทัย ชิตานนท์ ประธานภาคีกฎหมายบุหรี่โลกและประธานสถาบัน ส่งเสริมสุขภาพไทย ได้ชี้แจงให้เห็นถึงการวิจัยที่พิสูจน์แล้วว่า ยาเส้นประเภทสูบผ่านน้ำหรือฮูกาห์นั้นมีอันตรายมากกว่าการสูบบุหรี่ เพราะมีสารนิโคตินและสารทาร์มากกว่าบุหรี่ทั่วไป วิธีการสูบผ่านน้ำและการปรุงแต่งรสของยาเส้นกับผลไม้หรือกลิ่นต่าง ๆ นั้นทำให้ความเข้มข้นของควันจางลง ซึ่งส่งผลให้สามารถสูบได้ลึกมากขึ้น และสูบจำนวนมากนั้นก็ถือว่าเป็นการสูบที่เป็นอันตรายต่อร่างกาย
คุณศิริวรรณ พิทยรังสฤษฏ์ ผู้อำนวยการศูนย์วิจัยและจัดการความรู้เพื่อการควบคุมยาสูบ (ศจย.) บารากู่ ถือเป็นยาสูบที่อยู่ภายใต้การควบคุมของ พ.ร.บ.ควบคุมผลิตภัณฑ์ ยาสูบ แต่ยังไม่มีการควบคุมการขาย ยาสูบ เครื่องสูบ ประเภทดังกล่าว ทำให้มีการขายอย่างเสรีในหลายที่ รวมทั้งผับ บาร์ ที่ยังลักลอบจำหน่าย