แผ่นดินไหว.

Slides:



Advertisements
งานนำเสนอที่คล้ายกัน
แอร์กับการคำนวณ... “ คุณรู้หรือไม่เครื่องปรับอากาศที่คุณใช้ในแต่ละวันนั้นสร้างปัญหาให้กับโลกและสิ่งมีชีวิต บนโลกอย่างไรบ้าง”
Advertisements

บทที่ 2 เรื่อง ลมฟ้าอากาศ
ภาวะโลกร้อน (Global Warming).
ภาวะโลกร้อน ด.ช เกียรติณรงค์ นันทปัญญา ม.2/2 เลขที่ 2
กลุ่ม ดาวโลก ด.ญ.กรรณิการ์ เพ็งเอี่ยม เลขที่ 11 ม.2/1
ภาวะโลกร้อน จัดทำโดย 1. ด.ช. ศักดิ์ดา โนนน้อย เลขที่ ด.ช. ณัฐชนน วงศ์สุริยา เลขที่ ด.ญ. มินตรา เสือภู่ เลขที่ ด.ญ. วราภรณ์ คอบุญทรง เลขที่
ผลกระทบที่เกิดจากแผ่นดินไหว
ดวงอาทิตย์ขึ้นทางทิศตะวันออก เวลา น. ไปตกยังทิศตะวันตก เวลา 18
6. อย่าได้ยึดถือโดยการคาดคะเน การ คาดการณ์ตามประวัติศาสตร์ ตาม สถิติ ความน่าจะเป็น ซึ่งอาจจะผิดก็ ได้ เพราะเห็นแค่ร้อย อย่าเหมาว่าที่ ร้อยเอ็ดจะเป็นไปด้วย.
โดย นางภัทรา คำสีทา ตำแหน่ง ครู ค.ศ.๑ โรงเรียนนาด้วงวิทยา
ภาวะโลกร้อน(Global Warming)
บทที่ 3 ทรัพยากรดิน.
คลื่นพายุซัดชายฝั่ง กลุ่มที่6.
รายงาน เรื่อง การเกิดแผ่นดินไหว นาย สุรัชชัย สายโอภาส ม. 5/3
รายงาน เรื่อง ดินถล่ม เสนอ อาจารย์วรรณา ไชยศรี.
โรงไฟฟ้าพลังงานลม.
ยินดีต้อนรับ ทุกท่านเข้าสู่.
น้ำและมหาสมุทร.
มารู้จักเขื่อนใต้ดินกันเถอะ
ขนาดและคลื่นแผ่นดินไหว Magnitude and Seismogram
ผลกระทบของแผ่นดินไหวที่มีต่อเขื่อน ในประเทศญี่ปุ่น
สถานที่ตั้ง : หมู่ที่ 7 ตำบลรือเสาะ อำเภอรือเสาะ จังหวัดนราธิวาส
สถานที่ตั้ง : หมู่ที่ 2 ตำบลปากล่อ อำเภอโคกโพธิ์ จังหวัดปัตตานี
วิกฤตการณ์ด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมของโลก
คุณครูโชคชัย บุตรครุธ
การละลายของธารน้ำแข็งและภาวะน้ำท่วม
ไต้หวัน 20 กันยายน 2542, M 7.6, Chelongpu Fault.
สัณฐานและโครงสร้างของโลก
สภาวะ ปกติ เอ นิโญ่ ลา นิญ่า คลื่นมีฐานกว้าง 100 กม. สูงเพียง 1 ม คลื่นมีฐานกว้าง 100 กม. สูงเพียง 1 ม. เคลื่อนที่ด้วยความเร็วประมาณ.
โครงสร้างทางธรณีวิทยา
ฟิสิกส์ เรื่อง แสง จัดทำโดย นาย ปณิธาน กาญจนถวัลย์ ม.4/3 เลขที่ 12
สถานการณ์โรคที่เฝ้าระวังและ สถานการณ์ที่สำคัญ มิถุนายน 2551 กลุ่มระบาดวิทยา สคร.6 ขอนแก่น.
ประกาศกระทรวงอุตสาหกรรมเรื่อง มาตรการคุ้มครองความปลอดภัยในการประกอบกิจการโรงงาน ขุด ตัก ลอกหรือดูดทรายหรือดินในที่ดินกรรมสิทธิ์ สำหรับใช้ในการก่อสร้าง.
ที่ดินเพื่อกิจการชลประทาน
การเคลื่อนที่แบบโปรเจคไตล์ (Projectile Motion) จัดทำโดย ครูศุภกิจ
กาแล็กซีและเอกภพ.
นวัตกรรมเครื่องออกกำลังกายยุคใหม่
ส่วนวิศวกรรมธรณี สำนักสำรวจด้านวิศวกรรมและธรณีวิทยา
แผ่นดินไหว Earthquakes
ภูเขาไฟ (vulcanology หรือ volcanology)
คลื่น คลื่น(Wave) คลื่น คือ การถ่ายทอดพลังงานออกจากแหล่งกำหนดด้วยการ
โลกของเรา (โครงสร้างและส่วนประกอบ)
พลังงาน (Energy) เมื่อ E คือพลังงานที่เกิดขึ้น        m คือมวลสารที่หายไป  และc คือความเร็วแสงc = 3 x 10 8 m/s.
รายชื่อสมาชิกกลุ่ม ชมเชยที่ 4
สรุปเนื้อหาสาระ ภูมิศาสตร์
10.3 ชนิดของอุทกภัย (1.) แบ่งตามสาเหตุการเกิด
ครูยุพวรรณ ตรีรัตน์วิชชา
แผนที่และเครื่องมือทางภูมิศาสตร์
ดินถล่ม.
วิทยาศาสตร์ ว ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 โดยครูศรีไพร แตงอ่อน.
แผ่นดินไหว (Earthqua ke) ขนาด ( ริกเตอร์ ) ความ รุนแรง ( เมร์กัลลี่ ) น้อยกว่า 3.0 I - II ประชาชนไม่รู้สึก ใช้ชีวิตตามปกติ ตรวจวัดได้เฉพาะ เครื่องมือ.
บทที่ 7 เรื่อง พลังงานลม
การตรวจอากาศด้วยเรดาร์
จัดทำโดย เด็กหญิง วรรณิสาห์ มาโสด เสนอ อ. ดลหทัย อินทรจันทร์
ดวงจันทร์ (Moon).
โลกและการเปลี่ยนแปลง
ดาวพุธ (Mercury).
ดาวศุกร์ (Venus).
หน่วยการเรียนรู้ที่ 8 เอกภพและโลก( 3)
พายุ นางสาวศิริลักษณ์ กันสงค์ กลุ่ม 10 รหัส
ปัญหาสิ่งแวดล้อมเกี่ยวกับ
ภัยธรรมชาติ ที่เกิดขึ้นในจังหวัดน่าน
สิ่งแวดล้อมกับภาวะโลกร้อน
เรื่อง ระบบสุริยะจักรวาล จัดทำโดย ด. ญ
ผู้หาข่าว  นายสีชาด หนุน พระเดช ข่าวความเป็นมา  ศูนย์กลางแผ่นดินไหวห่างจากกรุง ปอร์โตแปรงซ์ เมืองหลวงของประเทศไปราว 25 กิโลเมตร ( หรือ 16 ไมล์ ) โดยแผ่นดินไหว.
ภาวะโลกร้อน (Global Warming).
เทคโนโลยีสารสนเทศ เรื่อง น้ำแข็งขั้วโลกละลาย
ภาวะโลกร้อน กับการดำเนินชีวิต
ชั้น มัธยมศึกษาปีที่ 4 เรื่อง ตำแหน่งบนพื้นโลก
วิทยาศาสตร์หมายถึงอะไร
ใบสำเนางานนำเสนอ:

แผ่นดินไหว

จัดทำโดย นางสาวสุดาพร วงษา เลขที่ ๒ ชั้น ม จัดทำโดย นางสาวสุดาพร วงษา เลขที่ ๒ ชั้น ม.๕/๑ เสนอต่อ อาจารย์ชไมพร สุนันท์ ภาคเรียนที่ ๒ ปีการศึกษา ๒๕๕๔ โรงเรียนพระธาตุพิทยาคม

แผ่นดินไหว (อังกฤษ: earthquake) เป็นปรากฏการณ์การสั่นสะเทือนหรือเขย่าของพื้นผิวโลก เพื่อปรับตัวให้อยู่ในสภาวะสมดุล ซึ่งแผ่นดินไหวสามารถก่อให้เกิดความเสียหายและภัยพิบัติต่อบ้านเมือง ที่อยู่อาศัย สิ่งมีชีวิต ส่วนสาเหตุของการเกิดแผ่นดินไหวนั้นส่วนใหญ่เกิดจากธรรมชาติ โดยแผ่นดินไหวบางลักษณะสามารถเกิดจากการกระทำของมนุษย์ได้ แต่มีความรุนแรงน้อยกว่าที่เกิดขึ้นเองจากธรรมชาติ นักธรณีวิทยาประมาณกันว่าในวันหนึ่ง ๆ จะเกิดแผ่นดินไหวประมาณ 1,000 ครั้ง ซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นแผ่นดินไหวที่มีการสั่นสะเทือนเพียงเบา ๆ เท่านั้น คนทั่วไปไม่รู้สึก

แผ่นดินไหวเป็นปรากฏการณ์ธรรมชาติที่เกิดจากการเคลื่อนที่ของแผ่นเปลือกโลก (แนวระหว่างรอยต่อธรณีภาค) ทำให้เกิดการเคลื่อนตัวของชั้นหินขนาดใหญ่เลื่อน เคลื่อนที่ หรือแตกหักและเกิดการโอนถ่ายพลังงานศักย์ ผ่านในชั้นหินที่อยู่ติดกัน พลังงานศักย์นี้อยู่ในรูปคลื่นไหวสะเทือน จุดศูนย์กลางการเกิดแผ่นดินไหว (focus) มักเกิดตามรอยเลื่อน อยู่ในระดับความลึกต่าง ๆ ของผิวโลก เท่าที่เคยวัดได้ลึกสุดอยู่ในชั้นแมนเทิล ส่วนจุดที่อยู่ในระดับสูงกว่า ณ ตำแหน่งผิวโลก เรียกว่า "จุดเหนือศูนย์เกิดแผ่นดินไหว" (epicenter) การสั่นสะเทือนหรือแผ่นดินไหวนี้จะถูกบันทึกด้วยเครื่องมือที่เรียกว่า ไซสโมกราฟ โดยการศึกษาเรื่องแผ่นดินไหวและคลื่นสั่นสะเทือนที่ถูกส่งออกมา จะเรียกว่า "วิทยาแผ่นดินไหว" (อังกฤษ: Seismology)

สาเหตุการเกิดแผ่นดินไหว แผ่นดินไหวจากธรรมชาติ แผ่นดินไหวที่ซานฟรานซิสโกเมื่อ พ.ศ. 2449 ความเสียหายของอาคารจากแผ่นดินไหวที่โกเบ เมื่อ พ.ศ. 2538 แผ่นดินไหวจากธรรมชาติเป็นธรณีพิบัติภัยชนิดหนึ่ง ส่วนมากเป็นปรากฏการณ์ทางธรรมชาติที่เกิดจากการสั่นสะเทือนของพื้นดิน อันเนื่องมาจากการปลดปล่อยพลังงานเพื่อระบายความเครียด ที่สะสมไว้ภายในโลกออกมาอย่างฉับพลันเพื่อปรับสมดุลของเปลือกโลกให้คงที่ โดยปกติเกิดจากการเคลื่อนไหวของรอยเลื่อน ภายในชั้นเปลือกโลกที่อยู่ด้านนอกสุดของโครงสร้างของโลก มีการเคลื่อนที่หรือเปลี่ยนแปลงอย่างช้า ๆ อยู่เสมอ (ดู การเคลื่อนที่ของแผ่นเปลือกโลก) แผ่นดินไหวจะเกิดขึ้นเมื่อความเค้นอันเป็นผลจากการเปลี่ยนแปลงมีมากเกินไป ภาวะนี้เกิดขึ้นบ่อยในบริเวณขอบเขตของแผ่นเปลือกโลก ที่ที่แบ่งชั้นเปลือกโลกออกเป็นธรณีภาค (lithosphere) เรียกแผ่นดินไหวที่เกิดขึ้นบริเวณขอบเขตของแผ่นเปลือกโลกนี้ว่า แผ่นดินไหวระหว่างแผ่น (interplate earthquake) ซึ่งเกิดได้บ่อยและรุนแรงกว่า แผ่นดินไหวภายในแผ่น (intraplate earthquake)

แผ่นดินไหวจากการกระทำของมนุษย์ มีทั้งทางตรงและทางอ้อม เช่น การระเบิด การทำเหมือง สร้างอ่างเก็บน้ำหรือเขื่อนใกล้รอยเลื่อน การทำงานของเครื่องจักรกล การจราจร รวมถึงการเก็บขยะนิวเคลียร์ไว้ใต้ดิน เป็นต้น การสร้างเขื่อนและอ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่ การทำเหมืองในระดับลึก การสูบน้ำใต้ดิน การทดลองระเบิดนิวเคลียร์ใต้ดิน

ขนาดและความรุนแรง ขนาดของแผ่นดินไหว หมายถึง จำนวนหรือปริมาณของพลังงานที่ถูกปล่อยออกมาจากศูนย์กลางแผ่นดินไหวในแต่ละครั้ง การหาค่าขนาดของแผ่นดินไหวทำได้โดยวัดความสูงของคลื่นแผ่นดินไหวที่บันทึกได้ด้วยเครื่องตรวดวัดแผ่นดินไหว แล้วคำนวณจากสูตรการหาขนาด ซึ่งคิดค้นโดย ชาลส์ ฟรานซิส ริกเตอร์ และนิยมใช้หน่วยวัดขนาดของแผ่นดินไหวคือ "ริกเตอร์" โดยสูตรการคำนวณมีดังนี้ กำหนดให้ M = ขนาดของแผ่นดินไหว (ริกเตอร์) A = ความสูงของคลื่นแผ่นดินไหวที่สูงที่สุด = ความสูงของคลื่นแผ่นดินไหวที่ระดับศูนย์ โดยขนาดของแผ่นดินไหว ในแต่ละระดับจะปล่อยพลังงานมากกว่า 30 เท่าของขนาดก่อนหน้า เช่น 4 กับ 5 ริกเตอร์ แผ่นดินไหวขนาด 5 ริกเตอร์จะปล่อยพลังงานออกมามากกว่า 4 ริกเตอร์ 30 เท่า, แผ่นดินไหวขนาด 7 ริกเตอร์จะปล่อยพลังงานออกมามากกว่า 5 ริกเตอร์ = 30x30 = 900 เท่า เป็นต้น

ความรุนแรงของแผ่นดินไหว (อังกฤษ: Intensity) ที่เกิดขึ้นในแต่ละครั้งนั้นขึ้นอยู่กับความรุนแรงที่รู้สึกได้มากน้อยเพียงใด และขึ้นอยู่กับระยะทางจากศูนย์กลางแผ่นดินไหว ความเสียหายจะเกิดขึ้นในบริเวณใกล้เคียงกับศูนย์กลางแผ่นดินไหว และจะลดหลั่นลงไปตามระยะทางที่ห่างออกไป ดังนั้น การสูญเสียจะมากหรือน้อยขึ้นอยู่กับความรุนแรงของแผ่นดินไหวโดยตรง สำหรับการวัดขนาดของแผ่นดินไหวมีหลายวิธี เช่น มาตราวัดขนาดของแผ่นดินไหวแบบริกเตอร์ และแบบเมอร์แคลลี่

ผลกระทบจากแผ่นดินไหว มีทั้งทางตรงและทางอ้อม เช่น ทำให้เกิดพื้นดินแตกแยก ภูเขาไฟระเบิด อาคารสิ่งก่อสร้างพังทลาย ไฟไหม้ แก๊สรั่ว ท่อระบายน้ำและท่อประปาแตก คลื่นสึนามิ แผ่นดินถล่ม เส้นทางการคมนาคมเสียหายและถูกตัดขาด ถนนและทางรถไฟบิดเบี้ยวโค้งงอ เกิดโรคระบาด ปัญหาด้านสุขภาพจิตของผู้ประสบภัย ความสูญเสียในชีวิตและทรัพย์สิน รวมถึงทางเศรษฐกิจ เช่น การสื่อสารโทรคมนาคมขาดช่วง ระบบคอมพิวเตอร์ขัดข้อง การคมนาคมทั้งทางบก ทางน้ำ ทางอากาศหยุดชะงัก ประชาชนตื่นตระหนก ซึ่งมีผลต่อการลงทุน การประกันภัย และในกรณีที่แผ่นดินไหวมีความรุนแรงมาก เมืองทั้งเมืองอาจถูกทำลายหมด และมีผู้เสียชีวิตเป็นจำนวนมาก

ถ้าแผ่นดินไหวเกิดขึ้นใต้ทะเล แรงสั่นสะเทือนอาจจะทำให้เกิดเป็นคลื่นขนาดใหญ่ที่เรียกว่า "สึนามิ" (ญี่ปุ่น: 津波, Tsunami) มีความเร็วคลื่น 600-800 กิโลเมตรต่อชั่วโมง ในทะเลเปิด ส่วนใหญ่คลื่นจะมีความสูงไม่เกิน 1 เมตร และสังเกตได้ยาก แต่จะมีขนาดใหญ่ขึ้นเมื่อเคลื่อนถึงใกล้ชายฝั่ง โดยอาจมีความสูงถึง 60 เมตร สามารถก่อให้เกิดน้ำท่วม สร้างความเสียหายอย่างใหญ่หลวงกับสิ่งก่อสร้างที่ติดอยู่ชายฝั่งทะเล

การป้องกันความเสียหาย ที่ว่างกลางเมืองซัปโปโร ประเทศญี่ปุ่น สามารถใช้หลบภัยจากแผ่นดินไหว และการพังถล่มของตึก ในปัจจุบันมีการสร้างอาคาร ตึกระฟ้าใหม่ ๆ บนหินแข็งในเขตแผ่นดินไหว อาคารเหล่านั้นจะใช้โครงสร้างเหล็กกล้าที่แข็งแรงและขยับเขยื้อนได้ มีประตูและหน้าต่างน้อยแห่ง บางแห่งก็มุงหลังคาด้วยแผ่นยางหรือพลาสติกแทนกระเบื้อง ป้องกันการตกลงมาของกระเบื้องแข็งทำให้ผู้คนบาดเจ็บ ถนนมักจะสร้างให้กว้างเพื่อว่าเมื่อเวลาตึกพังลงมาจะได้ไม่กีดขวางทางจราจร และยังมีการสร้างที่ว่างต่าง ๆ ในเมือง เช่น สวนสาธารณะ ซึ่งผู้คนสามารถจะไปหลบภัยให้พ้นจากการถล่มของอาคารบ้านเรือนได้