1 The Comptroller General’s Department กรมบัญชีกลาง กระทรวงการคลัง สรุปประเด็นความแตกต่าง พระราชบัญญัติการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ. 2560 ระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการพัสดุ พ.ศ. 2535 และที่แก้ไขเพิ่มเติม ระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการพัสดุด้วยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์ พ.ศ. 2549
ขอบเขตการใช้บังคับ พ.ร.บ. ระเบียบฯ พ.ศ. 2535 ระเบียบฯ พ.ศ. 2549 ให้ใช้บังคับแก่หน่วยงานของรัฐทุกแห่ง ได้แก่ ราชการส่วนกลาง ราชการส่วนภูมิภาค ราชการส่วนท้องถิ่น รัฐวิสาหกิจตามกฎหมายว่าด้วยวิธีการงบประมาณ องค์การมหาชน องค์กรตรวจสอบการใช้อำนาจรัฐ องค์กรตามรัฐธรรมนูญ หน่วยธุรการของศาล มหาวิทยาลัยในกำกับของรัฐ หน่วยงานสังกัดรัฐสภาหรือในกำกับของรัฐสภา หน่วยงานอิสระของรัฐ และหน่วยงานอื่นที่กำหนดในกฎกระทรวง (ม.6 วรรคหนึ่ง) ใช้บังคับแก่ส่วนราชการ ซึ่งดำเนินการเกี่ยวกับการพัสดุโดยใช้เงินงบประมาณ เงินกู้ และเงินช่วยเหลือ (ข้อ 6) ระเบียบฯ พ.ศ. 2549 ใช้บังคับแก่ส่วนราชการ รัฐวิสาหกิจ องค์การมหาชน และหน่วยงานอื่นของรัฐที่อยู่ในสังกัดการบังคับบัญชาหรือการกำกับดูแลของ ฝ่ายบริหาร (ข้อ 4)
หลักการจัดซื้อจัดจ้าง 3 หลักการจัดซื้อจัดจ้าง พ.ร.บ. ระเบียบฯ พ.ศ. 2535 - คุ้มค่า - โปร่งใส (ต้องกระทำโดยเปิดเผย เปิดโอกาสให้มีการแข่งขันอย่างเป็นธรรม) - ประสิทธิภาพประสิทธิผล (มีการวางแผน การจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุล่วงหน้า) - ตรวจสอบได้ (มาตรา 8) เปิดเผย โปร่งใส และเปิดโอกาสให้มีการแข่งขันกันอย่างเป็นธรรม (ข้อ 15 ทวิ) ระเบียบฯ พ.ศ. 2549 เปิดเผย โปร่งใส และเปิดโอกาสให้มีการแข่งขันกันอย่างเป็นธรรม (ระเบียบฯ 2535 ข้อ 15 ทวิ)
การจัดทำแผนการจัดซื้อจัดจ้าง 4 การจัดทำแผนการจัดซื้อจัดจ้าง พ.ร.บ. ระเบียบฯ พ.ศ. 2535 เมื่อทราบยอดเงิน ให้หน่วยงานของรัฐ จัดทำแผนการจัดซื้อ จัดจ้างประจำปี และประกาศเผยแพร่ในระบบเครือข่ายสารสนเทศของกรมบัญชีกลางและ ของหน่วยงานของรัฐ (มาตรา 11) เมื่อทราบยอดเงิน ให้ส่วนราชการรีบดำเนินการให้เป็นไปตามแผน... (ข้อ 13) ทั้งนี้ ไม่ได้กำหนดรูปแบบของ การจัดทำแผนไว้ ระเบียบฯ พ.ศ. 2549
การมีส่วนร่วมของภาคประชาชน ในการป้องกันการทุจริต 5 การมีส่วนร่วมของภาคประชาชน พ.ร.บ. ระเบียบฯ พ.ศ. 2535 การมีส่วนร่วม ของภาคประชาชน และผู้ประกอบการ ในการป้องกันการทุจริต (หมวด 2 : มาตรา 15-18) ไม่มี ระเบียบฯ พ.ศ. 2549 องค์ประกอบของคณะกรรมการประกวดราคาตามโครงการ ให้มีกรรมการซึ่งเป็นบุคคลที่มิได้เป็นข้าราชการซึ่งมีตำแหน่งหรือเงินเดือนประจำอย่างน้อยหนึ่งคน (ข้อ 8 (3))
การเปิดเผยข้อมูลการจัดซื้อจัดจ้างทางอิเล็กทรอนิกส์ 6 การเปิดเผยข้อมูลการจัดซื้อจัดจ้างทางอิเล็กทรอนิกส์ พ.ร.บ. ระเบียบฯ พ.ศ. 2535 เปิดเผยข้อมูลการจัดซื้อจัดจ้าง ในระบบเครือข่ายสารสนเทศของกรมบัญชีกลางในทุกขั้นตอน ตั้งแต่ขั้นตอนการจัดทำแผนการจัดซื้อ จัดจ้าง การประกาศเชิญชวน ราคากลาง เกณฑ์การพิจารณาข้อเสนอ การประกาศผลผู้ชนะ การยกเลิกการจัดซื้อจัดจ้าง การทำสัญญาและการบริหารสัญญา (มาตรา 11, 62 -63) ไม่มี ระเบียบฯ พ.ศ. 2549 ให้คณะกรรมการประกวดราคาฯ นำสาระสำคัญของเอกสารประกวดราคาเชิญชวน เอกสารการประกวดราคา ที่สามารถเผยแพร่ได้ ลงประกาศในเว็บไซต์ของ 2 หน่วยงาน (ข้อ 8) มติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 7 เม.ย. 2553 กำหนดให้หน่วยงานต่างๆ ลงประกาศจัดซื้อจัดจ้าง (วิธีสอบราคา ประกวดราคา e-Auction) เผยแพร่ในเว็บไซต์ของ 2 หน่วยงาน ปัจจุบัน วิธี e-Market , e-Bidding มีการกำหนดไว้ในแนวทางปฏิบัติ ต้องลงประกาศเผยแพร่ในเว็บไซต์ของ 2 หน่วยงาน
คณะกรรมการ พ.ร.บ. ระเบียบฯ พ.ศ. 2535 ระเบียบฯ พ.ศ. 2549 7 คณะกรรมการ พ.ร.บ. ระเบียบฯ พ.ศ. 2535 คณะกรรมการนโยบายการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ (มาตรา 19) คณะกรรมการวินิจฉัยปัญหาการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ (มาตรา 26) คณะกรรมการราคากลางและขึ้นทะเบียนผู้ประกอบการ (มาตรา 31) คณะกรรมการความร่วมมือป้องกัน การทุจริต (มาตรา 37) คณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์และ ข้อร้องเรียน (มาตรา 41) คณะกรรมการว่าด้วยการพัสดุ (กวพ.) (ข้อ 11) ระเบียบฯ พ.ศ. 2549 คณะกรรมการว่าด้วยการพัสดุด้วยวิธีการ ทางอิเล็กทรอนิกส์ (กวพ.อ.) (ข้อ 6)
ราคากลาง (ราคาอ้างอิง) 8 ราคากลาง (ราคาอ้างอิง) พ.ร.บ. ระเบียบฯ พ.ศ. 2535 “ราคากลาง” (1) ราคาที่ได้มาจากการคำนวณ ตามหลักเกณฑ์ที่คณะกรรมการ ราคากลางกำหนด (2) ราคาอ้างอิงของพัสดุ (3) ราคามาตรฐาน (สงป./ ICT) (4) สืบราคาจากท้องตลาด (5) ราคาที่เคยซื้อหรือจ้างครั้งหลังสุดภายในระยะเวลาสองปีงบประมาณ (6) ราคาอื่นใดตามหลักเกณฑ์ วิธีการ หรือแนวทางปฏิบัติของหน่วยงานของรัฐนั้น ๆ (มาตรา 4) ให้ใช้ราคามาตรฐาน หรือราคากลางของทางราชการ หรือราคาที่เคยซื้อหรือจ้างครั้งหลังสุดภายในระยะเวลา 2 ปีงบประมาณ หรือราคาที่สืบได้จากท้องตลาด (ข้อ 27 (3)) ระเบียบฯ พ.ศ. 2549 เช่นเดียวกับระเบียบฯ พ.ศ. 2535
การกำหนดราคากลางงานก่อสร้าง 9 การกำหนดราคากลางงานก่อสร้าง ระเบียบฯ พ.ศ. 2535 พ.ร.บ. คำนวณตามหลักเกณฑ์และวิธีการตามที่คณะกรรมการราคากลางกำหนด และประกาศในระบบเครือข่ายสารสนเทศของกรมบัญชีกลางและ ในราชกิจจานุเบกษา (มาตรา 34) ไม่มี ระเบียบฯ พ.ศ. 2549 ไม่มี มติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 13 เม.ย. 2555 กำหนดให้หน่วยงานภาครัฐใช้หลักเกณฑ์ การคำนวณราคากลางงานก่อสร้างของ ทางราชการที่ทบทวนและปรับปรุงใหม่ ระบบคำนวณราคากลางงานก่อสร้างของทางราชการด้วยอิเล็กทรอนิกส์
การขึ้นทะเบียนผู้ประกอบการ 10 การขึ้นทะเบียนผู้ประกอบการ พ.ร.บ. ระเบียบฯ พ.ศ. 2535 กำหนดให้กรมบัญชีกลางเป็นผู้ประกาศและขึ้นทะเบียนภายตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่คณะกรรมการราคากลางกำหนด (หมวด 5 : มาตรา 51-53) การกำหนดคุณสมบัติเบื้องต้น ในการซื้อหรือการจ้าง แต่ละส่วนราชการกำหนดหลักเกณฑ์ การคัดเลือกผู้มีคุณสมบัติเบื้องต้น แตกต่างกัน (ข้อ 30) ระเบียบฯ พ.ศ. 2549
การมีส่วนได้เสียกับผู้ยื่นข้อเสนอหรือคู่สัญญา 11 การมีส่วนได้เสียกับผู้ยื่นข้อเสนอหรือคู่สัญญา พ.ร.บ. ระเบียบฯ พ.ศ. 2535 ในการจัดซื้อจัดจ้าง ผู้ที่มีหน้าที่ดำเนินการ เช่น เจ้าหน้าที่พัสดุ คณะกรรมการต่างๆ ผู้มีอำนาจอนุมัติ ต้องไม่เป็นผู้มีส่วนได้เสีย กับผู้ยื่นข้อเสนอ หรือคู่สัญญาในงานนั้น (มาตรา 13) ไม่มี ระเบียบฯ พ.ศ. 2549 ไม่มี
วิธีการจัดซื้อจัดจ้าง 12 วิธีการจัดซื้อจัดจ้าง พ.ร.บ. ระเบียบฯ พ.ศ. 2535 1. วิธีประกาศเชิญชวนทั่วไป 2. วิธีคัดเลือก 3. วิธีเฉพาะเจาะจง (มาตรา 55) 1. วิธีตกลงราคา 2. วิธีสอบราคา 3. วิธีประกวดราคา 4. วิธีพิเศษ 5. วิธีกรณีพิเศษ (ข้อ 18) ระเบียบฯ พ.ศ. 2549 วิธีประมูลด้วยระบบอิเล็กทรอนิกส์ แนวทางการปฏิบัติในการจัดหาพัสดุด้วยวิธี e-market /e-bidding
วิธีการจัดซื้อจัดจ้างพัสดุ 3 วิธี หมวด 6 การจัดซื้อจัดจ้าง วิธีประกาศเชิญชวนทั่วไป วิธีคัดเลือก วิธีเฉพาะ เจาะจง เชิญชวนให้ผู้ประกอบการทั่วไป ที่มีคุณสมบัติตรง ตามเงื่อนไขที่กำหนดเข้ายื่นข้อเสนอ วิธีการจัดซื้อจัดจ้างพัสดุ 3 วิธี เชิญชวนเฉพาะผู้ประกอบการที่มีคุณสมบัติตรงตามที่กำหนดซึ่งต้อง ไม่น้อยกว่า 3 ราย ให้เข้ายื่นข้อเสนอ เว้นแต่ ผู้ประกอบการที่มีคุณสมบัติตรงตามกำหนดน้อยกว่า 3 ราย หน่วยงานภาครัฐเชิญชวนผู้ประกอบการที่มีคุณสมบัติตรงตามที่กำหนดรายใดรายหนึ่งให้เข้ายื่นข้อเสนอหรือให้เข้ามาเจรจาต่อรองราคากับหน่วยงานของรัฐโดยตรง
วิธีการซื้อหรือจ้าง มี 3 วิธี 3. วิธีเฉพาะ เจาะจง 2. วิธีคัดเลือก กองการพัสดุภาครัฐ มี 3 วิธี 3. วิธีเฉพาะ เจาะจง 2. วิธีคัดเลือก 1. วิธีประกาศ เชิญชวนทั่วไป - วิธีตลาดอิเล็กทรอนิกส์ (e-market) - วิธีประกวดราคาอิเล็ก- ทรอนิกส์ (e-bidding) - วิธีสอบราคา
การเผยแพร่ประกาศและเอกสารเชิญชวน และการขายหรือให้เอกสาร กองการพัสดุภาครัฐ สอบราคา e-bidding e-market - การให้หรือขายเอกสารให้ดำเนินการไปพร้อมกับการเผยแพร่ประกาศและเอกสาร - วงเงินเกิน 5 แสน แต่ไม่เกิน 5 ล้าน เผยแพร่ไม่น้อยกว่า 5 วันทำการ - เกิน 5 ล้าน แต่ไม่เกิน 10 ล้าน เผยแพร่ ไม่น้อยกว่า 10 วันทำการ - เกิน 10 ล้าน แต่ไม่เกิน 50 ล้าน เผยแพร่ ไม่น้อยกว่า 12 วันทำการ - เกิน 50 ล้าน เผยแพร่ไม่น้อยกว่า 20 วันทำการ เผยแพร่ ประกาศ และเอกสาร ไม่น้อยกว่า 3 วันทำการ - การให้หรือขายเอกสาร ให้ดำเนินการไปพร้อม กับการเผยแพร่ประกาศ และเอกสาร - เผยแพร่ไม่น้อยกว่า 5 วันทำการ
e-Market ประกาศ กองการพัสดุภาครัฐ ข้อมูลสินค้า - รหัสสินค้า(UNSPSC) - คุณสมบัติ e - catalog Market ผู้ค้าภาครัฐ ประกาศ ผู้ค้า ตอบกลับ ประกาศ สินค้า - คุณสมบัติสินค้า - จำนวน ผู้ค้า - คุณสมบัติ ฯลฯ ใบเสนอราคา - สินค้า - ราคา ฯลฯ หน่วยงานของรัฐ ผู้ชนะ การเสนอราคา
วิธีตลาดอิเล็กทรอนิกส์ (Electronic Market : e – market) กองการพัสดุภาครัฐ วิธีตลาดอิเล็กทรอนิกส์ ได้แก่ การจัดหาพัสดุที่มีรายละเอียดคุณลักษณะ ที่ไม่ซับซ้อน เป็นสินค้าหรือบริการทั่วไป มีมาตรฐาน ซึ่งกำหนดให้ส่วนราชการ จัดซื้อสินค้าหรืองานจ้างที่กำหนดไว้ในระบบ e - catalog กระทำได้ 2 ลักษณะ ดังนี้ (1) การเสนอราคา โดยใบเสนอราคา ได้แก่ การจัดหาพัสดุครั้งหนึ่ง ซึ่งมีราคาเกิน 500,000 บาท แต่ไม่เกิน 5,000,000 บาท (2) การเสนอราคา โดยการประมูลอิเล็กทรอนิกส์ ได้แก่ การจัดหาพัสดุ ครั้งหนึ่ง ซึ่งมีราคาเกิน 5,000,000 บาท
การพิจารณาผลการเสนอราคา กองการพัสดุภาครัฐ กรณีมีผู้เสนอราคาหลายราย กรณีมีผู้เสนอราคารายเดียว กรณีไม่มีผู้เสนอราคา ให้เสนอความเห็นให้ ซื้อ/จ้าง จากรายที่เสนอราคาต่ำสุด กรณีมีผู้เสนอราคาต่ำสุดเท่ากัน หลายราย ให้พิจารณา ผู้ที่เสนอราคา ในลำดับแรก พิจารณาแล้ว เห็นว่า มีความเหมาะสมและ เป็นประโยชน์ต่อราชการ ให้เสนอความเห็นให้ รับราคา พิจารณาแล้ว เห็นว่า ไม่มี ความเหมาะสมและไม่เป็นประโยชน์ต่อราชการ ให้หัวหน้าเจ้าหน้าที่เสนอความเห็นเพื่อยกเลิก และดำเนินการใหม่ หรือใช้วิธีคัดเลือก ตามมาตรา 56 (1) (ก) หรือวิธีเฉพาะเจาะจง ตามมาตรา 56 (2) (ก)
เผยแพร่/รับฟังความคิดเห็น e-Bidding กองการพัสดุภาครัฐ ประชาชนทั่วไป ผู้ค้า เสนอราคา หน่วยงานของรัฐ ประกาศ จัดทำ เผยแพร่/รับฟังความคิดเห็น ประกาศ ประกวดราคาฯ พิจารณาผล ร่างประกาศ ประกวดราคาฯ ประกาศผู้ชนะ
วิธีประกวดราคาอิเล็กทรอนิกส์ (Electronic Bidding : e - bidding) กองการพัสดุภาครัฐ การซื้อหรือจ้างครั้งหนึ่ง ซึ่งมีวงเงินเกิน 500,000 บาท และเป็นสินค้าหรืองานบริการที่ไม่ได้กำหนดรายละเอียดคุณลักษณะเฉพาะของพัสดุไว้ในระบบข้อมูลสินค้า (e – catalog) โดยให้ดำเนินการในระบบประกวดราคาอิเล็กทรอนิกส์ (Electronic Bidding : e – bidding) ตามวิธีการที่กรมบัญชีกลางกำหนด
การรับฟังความคิดเห็นร่างขอบเขตของงานหรือรายละเอียดคุณลักษณะ พร้อมร่างประกาศและร่างเอกสารซื้อหรือจ้าง กองการพัสดุภาครัฐ หัวหน้าหน่วยงานของรัฐ ไม่นำร่างประกาศและร่างเอกสารประกวดราคาฯ เผยแพร่เพื่อรับฟังความคิดเห็นฯ (กรณีที่อยู่ในดุลพินิจ) นำร่างประกาศและร่างเอกสารประกวดราคาฯ เผยแพร่ในระบบเครือข่ายสารสนเทศของกรมบัญชีกลาง และของหน่วยงานของรัฐ ไม่น้อยกว่า 3 วันทำการ เพื่อรับฟังความคิดเห็นฯ - การรับฟังความคิดเห็นร่างขอบเขตของงานหรือรายละเอียดคุณลักษณะของพัสดุที่จะซื้อหรือจ้าง พร้อมร่างประกาศและร่างเอกสารซื้อหรือจ้างด้วยวิธีประกวดราคาอิเล็กทรอนิกส์จากผู้ประกอบการ โดยมีหลักเกณฑ์ดังนี้ (1) การซื้อหรือจ้างครั้งหนึ่ง ซึ่งมีวงเงินเกิน 500,000 บาท แต่ไม่เกิน 5,000,000 บาท ให้อยู่ในดุลพินิจของหน่วยงานของรัฐที่จะให้มีการเผยแพร่เพื่อรับฟังความคิดเห็นจากผู้ประกอบการหรือไม่ก็ได้ (2) การซื้อหรือจ้างครั้งหนึ่ง ซึ่งมีวงเงินเกิน 5,000,000 บาท ให้หน่วยงานของรัฐนำร่างประกาศและร่างเอกสารประกวดราคา อิเล็กทรอนิกส์เผยแพร่เพื่อรับฟังความคิดเห็นจากผู้ประกอบการ รัฐวิสาหกิจใดมีความจำเป็นจะกำหนดวงเงิน แตกต่างไปจากที่กำหนด ให้เสนอต่อคณะกรรมการวินิจฉัย เพื่อขอความเห็นชอบ และเมื่อได้รับความเห็นชอบแล้วให้รายงานสำนักงานการตรวจเงินแผ่นดินทราบด้วย
ระยะเวลาในการเผยแพร่เอกสารฯ ระยะเวลาการเผยแพร่ประกาศและ เอกสารประกวดราคาอิเล็กทรอนิกส์ (e – bidding) กองการพัสดุภาครัฐ วงเงินที่จัดหา ระยะเวลาในการเผยแพร่เอกสารฯ (ให้คำนึงถึงระยะเวลาในการให้ผู้ประกอบการเตรียมจัดทำเอกสารเพื่อยื่นข้อเสนอด้วย) เกิน 500,000 บาท แต่ไม่เกิน 5,000,000 บาท ไม่น้อยกว่า 5 ทำการ เกิน 5,000,000 บาท แต่ไม่เกิน 10,000,000 บาท ไม่น้อยกว่า 10 ทำการ เกิน 10,000,000 บาท แต่ไม่เกิน 50,000,000 บาท ไม่น้อยกว่า 12 ทำการ เกิน 50,000,000 บาท ขึ้นไป ไม่น้อยกว่า 20 ทำการ รัฐวิสาหกิจใดมีความจำเป็นจะกำหนดวงเงิน แตกต่างไปจากที่กำหนด ให้เสนอต่อคณะกรรมการวินิจฉัย เพื่อขอความเห็นชอบ และเมื่อได้รับความเห็นชอบแล้วให้รายงานสำนักงานการตรวจเงินแผ่นดินทราบด้วย
หลักเกณฑ์ราคา (PRICE) หลักเกณฑ์การพิจารณา หลักเกณฑ์ราคา (PRICE) หลักเกณฑ์ประเมินค่าประสิทธิภาพต่อราคา (PRICE PERFORMANCE)
กำหนดตัวแปรไว้ 2 ลักษณะ ประเภทบังคับ ประเภทไม่บังคับ เลือกอย่างน้อย 2 ตัวแปร
การประกาศผลผู้ชนะการเสนอราคา กองการพัสดุภาครัฐ เมื่อหัวหน้าหน่วยงานของรัฐให้ความเห็นชอบรายงานผล การพิจารณา และผู้มีอำนาจอนุมัติสั่งซื้อสั่งจ้างแล้ว ให้หัวหน้าเจ้าหน้าที่ประกาศผลผู้ชนะการเสนอราคาในระบบเครือข่ายสารสนเทศของกรมบัญชีกลางและของหน่วยงานของรัฐตามวิธีการที่กรมบัญชีกลางกำหนด และให้ปิดประกาศโดยเปิดเผย ณ สถานที่ปิดประกาศของหน่วยงานของรัฐนั้น และแจ้งให้ผู้เสนอราคาทุกรายทราบ ผ่านทางจดหมายอิเล็กทรอนิกส์ (e - mail) ตามแบบที่กรมบัญชีกลางกำหนด
วิธีการจัดซื้อจัดจ้าง 1. ใช้วิธีประกาศเชิญชวนทั่วไปแล้ว ไม่มีผู้ยื่นข้อเสนอ หรือข้อเสนอ ไม่ได้รับการคัดเลือก 2. พัสดุที่มีคุณลักษณะเฉพาะเป็นพิเศษหรือซับซ้อน หรือต้องผลิต ก่อสร้าง หรือให้บริการโดยผู้ประกอบการที่มีฝีมือโดยเฉพาะ หรือมีความชำนาญ เป็นพิเศษ หรือมีทักษะสูงและผู้ประกอบการมีจำนวนจำกัด 4. ลักษณะของการใช้งาน หรือมีข้อจำกัดทางเทคนิค ที่จำเป็นต้องระบุยี่ห้อ เป็นการเฉพาะ วิธีคัดเลือก 3. มีความจำเป็นเร่งด่วน อันเนื่องมาจากเกิดเหตุการณ์ ที่ไม่อาจคาดหมายได้ 6. ใช้ในราชการลับ หรือเป็นงานที่ต้องปกปิดเป็นความลับของทางราชการ หรือเกี่ยวกับความมั่นคงของประเทศ 7. งานจ้างซ่อมพัสดุที่จำเป็นถอดตรวจให้ทราบความชำรุดเสียหายเสียก่อน จึงจะประมาณค่าซ่อมได้ 5. ต้องซื้อโดยตรงจากต่างประเทศ หรือดำเนินการโดยผ่านองค์การระหว่างประเทศ 8. กรณีอื่นที่กำหนดในกฎกระทรวง
วิธีการจัดซื้อจัดจ้าง 2. การจัดซื้อจัดจ้างพัสดุที่การผลิต จำหน่าย หรือให้บริการทั่วไป และมีวงเงินในการจัดซื้อจัดจ้างครั้งหนึ่งไม่เกินวงเงินตามที่กำหนดในกฎกระทรวง 1. ใช้ทั้งวิธีประกาศเชิญชวนทั่วไปและวิธีคัดเลือก หรือใช้วิธีคัดเลือกแล้ว แต่ไม่มีผู้ยื่นข้อเสนอ หรือข้อเสนอไม่ได้รับการคัดเลือก 4. มีความจำเป็นต้องใช้พัสดุโดยฉุกเฉินเนื่องจากอุบัติภัยหรือธรรมชาติพิบัติภัยและการจัดซื้อจัดจ้างโดยวิธีประกาศเชิญชวนทั่วไปหรือวิธีคัดเลือกอาจก่อให้เกิดความล่าช้าและอาจทำให้เกิดความเสียหายร้ายแรง 3. มีผู้ประกอบการที่มีคุณสมบัติโดยตรงเพียงรายเดียว หรือผู้ประกอบการซึ่งเป็นตัวแทนจำหน่ายหรือตัวแทนผู้ให้บริการโดยชอบด้วยกฎหมายเพียงรายเดียวในประเทศ และไม่มีพัสดุอื่นที่จะใช้ทดแทนได้ วิธีเฉพาะเจาะจง 5. เป็นพัสดุที่เกี่ยวพันกับพัสดุที่ได้จัดซื้อ จัดจ้างไว้ก่อนแล้ว และมีความจำเป็นต้องจัดซื้อจัดจ้างเพิ่มเติม โดยมูลค่าของพัสดุ ที่จัดซื้อจัดจ้างเพิ่มเติมจะต้องไม่สูงกว่า พัสดุที่ได้จัดซื้อจัดจ้างไว้ก่อนแล้ว 7. ที่ดินและสิ่งก่อสร้าง เงื่อนไขการใช้วิธีเฉพาะเจาะจง (ก) ใช้ทั้งวิธีประกาศเชิญชวนทั่วไปและวิธีคัดเลือก หรือใช้วิธีคัดเลือกแล้ว แต่ไม่มีผู้ยื่นข้อเสนอ หรือข้อเสนอนั้นไม่ได้รับการคัดเลือก (ข) การจัดซื้อจัดจ้างพัสดุที่มีการผลิต จำหน่าย หรือให้บริการทั่วไป และมีวงเงินในการจัดซื้อจัดจ้างครั้งหนึ่งไม่เกินวงเงินตามที่กำหนดในกฎกระทรวง (ค) การจัดซื้อจัดจ้างพัสดุที่มีผู้ประกอบการซึ่งมีคุณสมบัติโดยตรงเพียงรายเดียว หรือการจัดซื้อจัดจ้างพัสดุจากผู้ประกอบการซึ่งเป็นตัวแทนจำหน่ายหรือตัวแทนผู้ให้บริการโดยชอบด้วยกฎหมายเพียงรายเดียวในประเทศไทยและไม่มีพัสดุอื่นที่จะใช้ทดแทนได้ (ง) มีความจำเป็นต้องใช้พัสดุนั้นโดยฉุกเฉินเนื่องจากอุบัติภัยหรือธรรมชาติพิบัติภัย และการจัดซื้อจัดจ้างโดยวิธีประกาศเชิญชวนทั่วไปหรือวิธีคัดเลือกอาจก่อให้เกิดความล่าช้าและอาจทำให้เกิดความเสียหายร้ายแรง (จ) พัสดุที่จะจัดซื้อจัดจ้างเป็นพัสดุที่เกี่ยวพันกับพัสดุที่ได้จัดซื้อจัดจ้างไว้ก่อนแล้ว และมีความจำเป็นต้องจัดซื้อจัดจ้างเพิ่มเติมเพื่อความสมบูรณ์หรือต่อเนื่องในการใช้พัสดุนั้น โดยมูลค่าของพัสดุที่จัดซื้อจัดจ้างเพิ่มเติมจะต้องไม่สูงกว่าพัสดุที่ได้จัดซื้อจัดจ้างไว้ก่อนแล้ว (ฉ) เป็นพัสดุที่จะขายทอดตลาดโดยหน่วยงานของรัฐ องค์การระหว่างประเทศ หรือหน่วยงานของต่างประเทศ (ช) เป็นพัสดุที่เป็นที่ดินและสิ่งก่อสร้างซึ่งจำเป็นต้องซื้อเฉพาะแห่ง 6. เป็นพัสดุที่จะขายทอดตลาด โดยหน่วยงานของรัฐ องค์การระหว่างประเทศ หรือหน่วยงานของต่างประเทศ 8. กรณีอื่นที่กำหนดใน กฎกระทรวง
อำนาจในการสั่งซื้อหรือสั่งจ้าง กองการพัสดุภาครัฐ หัวหน้าหน่วยงานของรัฐ ผู้มีอำนาจเหนือขึ้นไปหนึ่งชั้น วิธีประกาศเชิญชวนทั่วไป ไม่เกิน 200,000,000 บาท เกิน 200,000,000 บาท วิธีคัดเลือก ไม่เกิน 100,000,000 บาท เกิน 100,000,000 บาท วิธีเฉพาะเจาะจง ไม่เกิน 50,000,000 บาท เกิน 50,000,000 บาท สำหรับรัฐวิสาหกิจใดมีความจำเป็นจะกำหนดแตกต่าง ให้เสนอคณะกรรมการวินิจฉัย เพื่อขอความเห็นชอบ
ประเภทของผู้มีอำนาจเหนือขึ้นไปหนึ่งชั้น กองการพัสดุภาครัฐ 1. ราชการส่วนกลางที่มีฐานะเทียบเท่ากรม ปลัดกระทรวง หรือปลัดทบวง แล้วแต่กรณี 2. ราชการส่วนภูมิภาค ปลัดกระทรวงต้นสังกัดของหน่วยงานของรัฐเจ้าของงบประมาณ 3. ราชการส่วนท้องถิ่น ผู้ว่าราชการจังหวัด 4. รัฐวิสาหกิจ คณะกรรมการของรัฐวิสาหกิจ 5. มหาวิทยาลัยในกำกับของรัฐ สภามหาวิทยาลัย 6. ส่วนราชการที่ขึ้นตรงต่อนายกรัฐมนตรีหรือรัฐมนตรี สำนักเลขาธิการวุฒิสภา สำนักเลขาธิการสภาผู้แทน ราษฎร หรือ กรุงเทพมหานคร หัวหน้าหน่วยงานของรัฐนั้นเป็นผู้ใช้อำนาจเหนือขึ้นไปหนึ่งชั้น 7. กรณีนอกเหนือจากที่กำหนดไว้ ตาม (1) – (6) ผู้บังคับบัญชา ผู้กำกับดูแล หรือผู้ควบคุม ชั้นเหนือขึ้นไปหนึ่งชั้น แล้วแต่กรณี 8. กรณีไม่มีผู้บังคับบัญชา ผู้กำกับดูแล หรือผู้ควบคุม ให้หัวหน้าหน่วยงานของรัฐนั้นเป็นผู้ใช้อำนาจเหนือขึ้นไปหนึ่งชั้นเอง
วิธีประกาศเชิญชวนทั่วไป การจ้างที่ปรึกษา กองการพัสดุภาครัฐ วิธีประกาศเชิญชวนทั่วไป วิธีคัดเลือก วิธีเฉพาะ เจาะจง ใช้กับงานที่ไม่ซับซ้อน งานที่มีลักษณะเป็น งานประจำของหน่วยงานของรัฐ หรืองานที่ มีมาตรฐานตามหลักวิชาชีพ และมีที่ปรึกษา ซึ่งทำงานนั้นได้เป็นการทั่วไป โดย หน่วยงานของรัฐประกาศเชิญชวนที่ปรึกษา ที่มีคุณสมบัติตรงตามเงื่อนไขที่กำหนดให้ เข้ายื่นข้อเสนอกำหนด ใช้กับกรณีที่ใช้วิธีประกาศเชิญชวนทั่วไป แล้วไม่ผลดี หรือเป็นกรณีที่เป็นงาน ซับซ้อน หรือซับซ้อนมาก หรือกรณี เป็นงานจ้างที่มีที่ปรึกษาจำนวนจำกัด ให้หน่วยงานของรัฐเชิญชวนเฉพาะ ที่ปรึกษาที่มีคุณสมบัติตรงตามเงื่อนไข ที่กำหนดซึ่งต้องไม่น้อยกว่า 3 ราย ให้เข้ายื่นข้อเสนอ เว้นแต่ในงานที่มี ที่ปรึกษาน้อยกว่า 3 ราย ใช้กับกรณีที่ใช้ทั้งวิธีประกาศเชิญชวนทั่วไปและ วิธีคัดเลือก หรือใช้วิธีคัดเลือกแล้วไม่ได้ผลดี หรือ กรณีมีวงเงินค่าจ้างไม่เกินวงเงินตามที่กำหนด ในกฎกระทรวง หรือกรณีจ้างที่ปรึกษารายเดิม ทำต่อจากงานที่ได้ทำไว้แล้ว หรือกรณีเป็นงาน จ้างที่มีที่ปรึกษาในงานที่จะจ้างนั้นจำนวนจำกัด และมีวงเงินค่าจ้างครั้งหนึ่งไม่เกินวงเงินตามที่ กำหนดในกฎกระทรวง หรือกรณีในงานนั้น มีที่ปรึกษาเพียงรายเดียว หรือกรณีเป็นงานที่มี ความจำเป็นเร่งด่วนหรือที่เกี่ยวกับความมั่นคง ของชาติ ให้หน่วยงานของรัฐเชิญชวนที่ปรึกษาที่ มีคุณสมบัติตรงตามเงื่อนที่กำหนดรายใดรายหนึ่ง ให้เข้ายื่นข้อเสนอ หรือให้เข้าเจรจาต่อรองราย
คณะกรรมการดำเนินงานจ้างที่ปรึกษา การจ้างที่ปรึกษา กองการพัสดุภาครัฐ คณะกรรมการดำเนินงานจ้างที่ปรึกษา มี 4 คณะ ได้แก่
อำนาจในการสั่งจ้างที่ปรึกษา กองการพัสดุภาครัฐ ให้เป็นอำนาจของผู้ดำรงตำแหน่งและภายในวงเงิน ดังต่อไปนี้ หัวหน้าหน่วยงานของรัฐ ผู้มีอำนาจเหนือขึ้นไปหนึ่งชั้น ไม่เกิน 100,000,000 บาท เกิน 100,000,000 บาท
งานจ้างออกแบบหรือควบคุมงานก่อสร้าง กองการพัสดุภาครัฐ ให้หน่วยงานของรัฐเลือกผู้ให้บริการรายใดรายหนึ่ง ซึ่งเคยทราบหรือเคยเห็นความสามารถแล้ว ตามที่คณะกรรมการดำเนินงาน จ้างออกแบบหรือควบคุมงานก่อสร้างได้พิจารณาเสนอแนะ เป็นกรณีที่หน่วยงาน ของรัฐ เชิญชวนผู้ให้บริการที่มีคุณสมบัติตรงตามเงื่อนไข ที่กำหนด เพื่อออกแบบงาน ก่อสร้างที่มีลักษณะพิเศษเป็นที่เชิดชูคุณค่าทางด้านศิลปกรรม หรือสถาปัตยกรรมของชาติ หรืองานอื่น ที่กำหนดตามกฎกระทรวง ใช้กับงานที่มีลักษณะซับซ้อนหรือซับซ้อนมาก หรือ ใช้กับ วิธีประกาศเชิญชวนทั่วไปแล้วไม่ได้ผล หรือกรณีเป็นงานออกแบบหรือใช้ความคิด ซึ่งหน่วยงานของรัฐไม่มีข้อมูลเพียงพอที่จะกำหนดเบื้องต้นได้ โดยให้เชิญชวนผู้ให้บริการที่มีคุณสมบัติตรงตามเงื่อนไขที่กำหนดไม่น้อยกว่า 3 ราย ให้เข้ายื่นข้อเสนอ ใช้กับงานที่มีลักษณะ ไม่ซับซ้อน 1. วิธีประกาศเชิญชวนทั่วไป 2. วิธีคัดเลือก 3. วิธีเฉพาะเจาะจง 4. วิธีประกวดแบบ
คณะกรรมการดำเนินงานจ้างฯ งานจ้างออกแบบหรือควบคุมงานก่อสร้าง กองการพัสดุภาครัฐ คณะกรรมการดำเนินงานจ้างฯ คณะกรรมการดำเนินงาน จ้างออกแบบหรือควบคุมงานก่อสร้างโดยวิธีประกาศ เชิญชวนทั่วไป คณะกรรมการดำเนินงาน จ้างออกแบบหรือควบคุมงานก่อสร้างโดยวิธีคัดเลือก คณะกรรมการดำเนินงาน จ้างออกแบบหรือควบคุมงานก่อสร้างโดยวิธีเฉพาะเจาะจง คณะกรรมการดำเนินงาน จ้างออกแบบงานก่อสร้าง โดยวิธีประกวดแบบ คณะกรรมการตรวจรับพัสดุในงานจ้างออกแบบหรือควบคุมงานก่อสร้าง มี 5 คณะ ได้แก่
อำนาจในการสั่งจ้างออกแบบหรือควบคุมงาน กองการพัสดุภาครัฐ หัวหน้าหน่วยงานของรัฐ ผู้มีอำนาจเหนือขึ้นไปหนึ่งชั้น ไม่เกิน 50,000,000 บาท เกิน 50,000,000 บาท รัฐวิสาหกิจใดมีความจำเป็นจะกำหนดผู้มีอำนาจและวงเงินในการสั่งจ้าง แตกต่างไปจากที่กำหนดไว้ในระเบียบนี้ ให้เสนอต่อคณะกรรมการวินิจฉัย เพื่อขอความเห็นชอบ
การเสนอราคาโดยวิธี e – market (ต่อ) กองการพัสดุภาครัฐ - กำหนดเป็นวันถัดจากวันสุดท้ายของระยะเวลาการเผยแพร่ประกาศและเอกสารเผยแพร่ทางเว็บไซต์ (1) การเสนอราคา โดยใบเสนอราคา วงเงินเกิน 500,000 บาท แต่ไม่เกิน 5,000,000 บาท ผู้เสนอราคาดำเนินการดังนี้ 1. เมื่อถึงกำหนดวันเสนอราคาและประสงค์จะเสนอราคา เมื่อถึงกำหนดเวลาเสนอราคา ให้ Log in เข้าสู่ระบบการเสนอราคา เพื่อเสนอราคาผ่านระบบ e - GP 2. เมื่อเสนอราคาแล้วต้องยืนยันการเสนอราคา โดยเสนอราคา ได้เพียงครั้งเดียวเท่านั้น
การประเมินผลการปฏิบัติงานของผู้ประกอบการ 14 การประเมินผลการปฏิบัติงานของผู้ประกอบการ พ.ร.บ. ระเบียบฯ พ.ศ. 2535 เพื่อใช้ประกอบการพิจารณาคุณสมบัติของผู้ที่จะเข้ายื่นข้อเสนอหรือเข้าทำสัญญากับหน่วยงานภาครัฐ ผู้ที่ไม่ผ่านเกณฑ์ที่กำหนดจะถูกพักการเสนอราคาหรือทำสัญญา กับหน่วยงานภาครัฐไว้ชั่วคราวจนกว่าจะมีผลการประเมินผ่านเกณฑ์ที่กำหนด (มาตรา 104-106) ไม่มี ระเบียบฯ พ.ศ. 2549 ไม่มี
มาตรา 97 การแก้ไขสัญญา สัญญาหรือข้อตกลงเป็นหนังสือที่ได้ลงนามแล้วจะแก้ไขไม่ได้ เว้นแต่ ในกรณีดังต่อไปนี้ให้อยู่ในดุลพินิจของผู้มีอำนาจที่จะพิจารณาอนุมัติให้แก้ไขได้ (1) เป็นการแก้ไขตามมาตรา 93 วรรคห้า กรณีไม่ได้ทำสัญญาตามแบบที่กำหนด หรือไม่ได้ส่งร่างสัญญาให้สำนักงานอัยการสูงสุดพิจารณาก่อน ให้ส่งสัญญาให้สำนักงานอัยการสูงสุดพิจารณาภายหลังได้ เมื่อสำนักงานอัยการสูงสุดพิจารณา ให้ความเห็นชอบแล้ว หรือเมื่อสำนักงานอัยการสูงสุดพิจารณาเห็นชอบแต่ให้แก้ไขสัญญา ถ้าแก้ไขให้เป็นไปตามความเห็นของสำนักงานอัยการสูงสุด ให้ถือว่าสัญญานั้นมีผลสมบูรณ์ (2) ในกรณีที่มีความจำเป็นต้องแก้ไขสัญญาหรือข้อตกลง หากการแก้ไขนั้น ไม่ทำให้หน่วยงานของรัฐเสียประโยชน์ (3) เป็นการแก้ไขเพื่อประโยชน์แก่หน่วยงานของรัฐหรือประโยชน์สาธารณะ (4) กรณีอื่นตามที่กำหนดในกฎกระทรวง
มาตรา 97 การแก้ไขสัญญา (ต่อ) มาตรา 97 การแก้ไขสัญญา (ต่อ) ในกรณีการแก้ไขสัญญาที่หน่วยงานของรัฐเห็นว่าจะมีปัญหาในทางเสียประโยชน์ หรือไม่รัดกุมพอ ก็ให้ส่งร่างสัญญาที่แก้ไขนั้นไปให้สำนักงานอัยการสูงสุดพิจารณาให้ ความเห็นชอบก่อน การแก้ไขสัญญาหรือข้อตกลงตามวรรคหนึ่งหรือวรรคสองจะต้องปฏิบัติตามกฎหมายว่าด้วยวิธีการงบประมาณหรือกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้อง หากมีความจำเป็นต้องเพิ่มหรือ ลดวงเงิน หรือเพิ่มหรือลดระยะเวลาส่งมอบหรือระยะเวลาในการทำงาน ให้ตกลงพร้อมกันไป ในกรณีที่มีการแก้ไขสัญญาหรือข้อตกลงเพื่อเพิ่มวงเงิน เมื่อรวมวงเงินตามสัญญาหรือข้อตกลงเดิมและวงเงินที่เพิ่มขึ้นใหม่แล้ว หากวงเงินรวมดังกล่าวมีผลทำให้ผู้มีอำนาจอนุมัติสั่งซื้อหรือสั่งจ้างเปลี่ยนแปลงไป จะต้องดำเนินการให้ผู้มีอำนาจอนุมัติสั่งซื้อหรือสั่งจ้างตามวงเงินรวมดังกล่าวเป็นผู้อนุมัติการแก้ไขสัญญาหรือข้อตกลงด้วย ในกรณีที่มีการแก้ไขสัญญาหรือข้อตกลงเพื่อลดวงเงิน ให้ผู้มีอำนาจอนุมัติสั่งซื้อหรือสั่งจ้างตามวงเงินเดิมเป็นผู้อนุมัติการแก้ไขสัญญาหรือข้อตกลง
การประเมินสิทธิผู้เสนอราคา สามารถทำงานได้ สัญญาณไฟสีเขียว ห้ามเข้าเสนอราคาและห้ามทำสัญญา สัญญาณไฟสีเหลือง สัญญาณไฟสีแดง ห้ามทำสัญญา เนื่องจากทิ้งงาน
การพัฒนาบุคลากรด้านการพัสดุภาครัฐ 15 การพัฒนาบุคลากรด้านการพัสดุภาครัฐ พ.ร.บ. ระเบียบฯ พ.ศ. 2535 การฝึกอบรมเพื่อส่งเสริมและพัฒนาเจ้าหน้าที่ให้มีความรู้ และความเชี่ยวชาญเกี่ยวกับ การจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐตามหลักวิชาชีพและตามพระราชบัญญัตินี้ เจ้าหน้าที่ซึ่งผ่านการฝึกอบรมและได้รับแต่งตั้งให้ปฏิบัติงาน จะได้รับเงินเพิ่มหรือเงินอื่นทำนองเดียวกัน (มาตรา 49) ไม่มี ระเบียบฯ พ.ศ. 2549 ไม่มี
เงินงบประมาณ “เงินงบประมาณ” หมายความว่า เงินงบประมาณตามกฎหมายว่าด้วยงบประมาณ รายจ่าย กฎหมายว่าด้วยวิธีการงบประมาณ กฎหมายเกี่ยวด้วยการโอนงบประมาณ เงินซึ่งหน่วยงานของรัฐได้รับไว้โดยได้รับอนุญาตจากรัฐมนตรีให้ไม่ต้องนำส่งคลัง ตามกฎหมายว่าด้วยวิธีการงบประมาณ หรือกฎหมายว่าด้วยเงินคงคลัง เงินซึ่งหน่วยงาน ของรัฐได้รับไว้โดยไม่ต้องนาส่งคลังเป็นรายได้แผ่นดินตามกฎหมาย และเงิน ภาษีอากร ค่าธรรมเนียม หรือผลประโยชน์อื่นใดที่ตกเป็นรายได้ของราชการส่วนท้องถิ่น ตามกฎหมายหรือที่ราชการส่วนท้องถิ่นมีอำนาจเรียกเก็บตามกฎหมาย และให้หมายความ รวมถึงเงินกู้ เงินช่วยเหลือ และเงินอื่นตามที่กำหนดในกฎกระทรวง
การมอบอำนาจ (1) กองการพัสดุภาครัฐ หัวหน้าหน่วยงานของรัฐหรือผู้มีอำนาจสั่งซื้อสั่งจ้างจะมอบอำนาจเป็นหนังสือให้แก่ผู้ดำรงตำแหน่งใดก็ได้ซึ่งสังกัดหน่วยงานของรัฐเดียวกัน โดยให้คำนึงถึงระดับ ตำแหน่ง หน้าที่และความรับผิดชอบของผู้ที่ได้รับมอบอำนาจเป็นสำคัญ (ผู้รับมอบอำนาจจะมอบอำนาจให้แก่ ผู้ดำรงตำแหน่งอื่นต่อไปไม่ได้) เพื่อความคล่องตัวในการจัดซื้อ จัดจ้าง ให้หัวหน้าหน่วยงานของรัฐมอบอำนาจในการสั่งการและดำเนินการจัดซื้อจัดจ้างให้แก่ ผู้ดำรงตำแหน่งรองลงไป เป็นลำดับ
มอบอำนาจต่อตามระเบียบกระทรวงกลาโหม การมอบอำนาจ (2) มอบอำนาจต่อตามระเบียบกระทรวงกลาโหม ผู้มอบ อำนาจ มอบอำนาจให้แก่ ผู้ว่าราชการจังหวัด ผู้ว่าฯ สามารถมอบอำนาจต่อไปได้ แจ้ง รองผู้ว่าฯ , ผู้ช่วยผู้ว่าฯ ,ปลัดจังหวัด , หัวหน้าส่วนราชการประจำจังหวัด (ผู้ว่าฯ แจ้งผู้มอบอำนาจชั้นต้นทราบด้วย) บุคคลอื่น ได้รับความเห็นชอบ
การมอบอำนาจ(3) กองการพัสดุภาครัฐ กรณีที่มีความจำเป็นเพื่อประโยชน์ของภาครัฐโดยรวม หน่วยงานของรัฐใด จะมอบอำนาจให้ หัวหน้าหน่วยงานแห่งอื่น ดำเนินการจัดซื้อจัดจ้างแทนก็ให้กระทำได้ โดยให้ผู้รับมอบอำนาจส่งสำเนาหลักฐานการมอบอำนาจให้สำนักงานการตรวจเงินแผ่นดินทราบด้วย
การดำเนินการด้วยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์ กองการพัสดุภาครัฐ การดำเนินการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุ ตามระเบียบนี้ ด้วยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์ ให้หน่วยงานของรัฐ ดำเนินการในระบบเครือข่ายสารสนเทศของกรมบัญชีกลางผ่านทาง ระบบจัดซื้อจัดจ้างภาครัฐด้วยอิเล็กทรอนิกส์ (Electronic Government Procurement : e - GP) ตามวิธีการที่กรมบัญชีกลางกำหนด ให้หน่วยงานของรัฐใช้เอกสารที่จัดพิมพ์จาก ระบบจัดซื้อจัดจ้างภาครัฐด้วยอิเล็กทรอนิกส์ เป็นเอกสารประกอบการดำเนินการจัดซื้อจัดจ้าง
ขั้นตอนการซื้อหรือจ้าง กองการพัสดุภาครัฐ แผนการจัดซื้อจัดจ้าง ประกาศเผยแพร่แผนฯ การตรวจรับพัสดุ คณะกรรมการตรวจรับพัสดุ ทำรายงานขอซื้อ/จ้าง ดำเนินการจัดหา วิธีจัดซื้อจัดจ้างทั่วไป 3 วิธี (วิธีประกาศเชิญชวนทั่วไป วิธีคัดเลือก วิธีเฉพาะเจาะจง) ขออนุมัติสั่งซื้อ/จ้าง ผู้มีอำนาจอนุมัติสั่งซื้อหรือสั่งจ้าง (1) หัวหน้าหน่วยงานของรัฐ (2) ผู้มีอำนาจเหนือขึ้นไปหนึ่งชั้น การทำสัญญา หัวหน้าหน่วยงานของรัฐ 47
การจัดทำแผนการจัดซื้อจัดจ้าง (1) กองการพัสดุภาครัฐ แผนการจัดซื้อ จัดจ้างประจำปี ให้ประกอบด้วยรายการ อย่างน้อยดังต่อไปนี้ 1. ชื่อโครงการ ที่จะจัดซื้อ จัดจ้าง 2. วงเงินที่จะจัดซื้อจัดจ้างโดยประมาณ 3. ระยะเวลา ที่คาดว่าจะจัดซื้อจัดจ้าง 4. รายการอื่นตามที่กรมบัญชีกลางกำหนด ต้องประกาศเผยแพร่แผนดังกล่าวในระบบเครือข่ายสารสนเทศของกรมบัญชีกลางและของหน่วยงานของรัฐ ตามวิธีการที่กรมบัญชีกลางกำหนด และให้ปิดประกาศโดยเปิดเผย ณ สถานที่ ปิดประกาศของหน่วยงาน ของรัฐนั้นด้วย หากไม่ได้ประกาศเผยแพร่แผนฯโครงการใดในระบบเครือข่ายสารสนเทศของกรมบัญชีกลาง จะไม่สามารถดำเนินการจัดซื้อจัดจ้าง ในโครงการนั้นได้
การจัดทำแผนการจัดซื้อจัดจ้าง (2) กองการพัสดุภาครัฐ ข้อยกเว้น ไม่ต้องประกาศ เผยแพร่แผนฯ 1. กรณีจำเป็นเร่งด่วน หรือเป็นพัสดุที่ใช้ในราชการลับ 2. กรณีที่มีวงเงินในการ จัดซื้อจัดจ้างตามที่กำหนด ในกฎกระทรวงหรือมี ความจำเป็นต้องใช้พัสดุ โดยฉุกเฉิน หรือเป็นพัสดุ ที่จะขายทอดตลาด 3. กรณีงานจ้างที่ปรึกษา ที่มีวงเงินตามที่กำหนดในกฎกระทรวงหรือมีความจำเป็นเร่งด่วนหรือที่เกี่ยวกับความมั่นคงของชาติ 4. กรณีงานจ้างออกแบบหรือควบคุมงานก่อสร้างที่มี ความจำเป็นเร่งด่วนหรือที่เกี่ยวกับความมั่นคงของชาติ ในกรณีที่มีความจำเป็นต้องเปลี่ยนแปลงแผนการจัดซื้อจัดจ้างประจำปี ให้เจ้าหน้าที่จัดทำรายงานพร้อมระบุเหตุผลที่ขอเปลี่ยนแปลงเสนอหัวหน้าหน่วยงานของรัฐเพื่อขอความเห็นชอบ
การจัดทำบันทึกรายงานผลการพิจารณา กองการพัสดุภาครัฐ เมื่อสิ้นสุดกระบวนการจัดซื้อจัดจ้างในแต่ละโครงการ ให้หน่วยงานของรัฐ จัดให้มีการบันทึกรายงานผลการพิจารณา รายละเอียดวิธีการและขั้นตอนการจัดซื้อ จัดจ้าง พร้อมทั้งเอกสารหลักฐานประกอบ โดยต้องมีรายการดังต่อไปนี้ รายงาน ขอซื้อหรือขอจ้าง เอกสารเกี่ยวกับการรับฟังความคิดเห็นร่างขอบเขตของงานหรือรายละเอียด คุณลักษณะเฉพาะของพัสดุ ที่จะซื้อหรือจ้าง และผลการพิจารณาในเรื่องนั้น (ถ้ามี) ประกาศและ เอกสารเชิญชวน หรือหนังสือเชิญชวน และเอกสารอื่นที่เกี่ยวข้อง ข้อเสนอของ ผู้ยื่นข้อเสนอ ทุกราย บันทึกรายงานผลการพิจารณาคัดเลือกข้อเสนอ ประกาศผล การพิจารณาคัดเลือกผู้ชนะ การจัดซื้อจัดจ้างหรือผู้ได้รับ การคัดเลือก สัญญาหรือข้อตกลง เป็นหนังสือ รวมทั้ง การแก้ไขสัญญาหรือข้อตกลงเป็นหนังสือ (ถ้ามี) บันทึกรายงานผลการตรวจรับพัสดุ
การจัดทำร่างขอบเขตของงานหรือรายละเอียดคุณลักษณะเฉพาะของพัสดุหรือแบบรูปรายการงานก่อสร้าง กองการพัสดุภาครัฐ ในการซื้อหรือจ้างที่มิใช่การจ้างก่อสร้าง ให้หัวหน้าหน่วยงานของรัฐแต่งตั้งคณะกรรมการขึ้นมาคณะหนึ่ง หรือมอบหมายให้เจ้าหน้าที่หรือบุคคลใดบุคคลหนึ่งจัดทำร่างขอบเขตของงานหรือรายละเอียดคุณลักษณะเฉพาะของพัสดุที่จะซื้อหรือจ้าง รวมทั้งกำหนดหลักเกณฑ์การพิจารณาคัดเลือกข้อเสนอ ในการจ้างก่อสร้าง ให้หัวหน้าหน่วยงานของรัฐแต่งตั้งคณะกรรมการขึ้นมาคณะหนึ่ง หรือมอบหมายให้เจ้าหน้าที่หรือบุคคลใดบุคคลหนึ่งจัดทำแบบรูปรายการงานก่อสร้าง หรือจะดำเนินการจ้างตามความในหมวด 4 งานจ้างออกแบบหรือควบคุมงานก่อสร้างก็ได้ องค์ประกอบ ระยะเวลาการพิจารณา และการประชุมของคณะกรรมการตามวรรคหนึ่งและวรรคสอง ให้เป็นไปตามที่หัวหน้าหน่วยงานของรัฐกำหนดตามความจำเป็นและเหมาะสม
คณะกรรมการซื้อหรือจ้าง กองการพัสดุภาครัฐ คณะกรรมการ พิจารณาผล การประกวดราคา อิเล็กทรอนิกส์ การสอบราคา ซื้อหรือจ้าง โดยวิธีเฉพาะเจาะจง ตรวจรับพัสดุ ซื้อหรือจ้าง โดยวิธีคัดเลือก
องค์ประกอบของคณะกรรมการ กองการพัสดุภาครัฐ ประธาน 1 คน กรรมการอื่นอย่างน้อย 2 คน ยกเว้น งานจ้างที่ปรึกษา กรรมการ อย่างน้อย 4 คน แต่งตั้งจากข้าราชการ ลูกจ้างประจำ พนักงานราชการ พนักงานมหาวิทยาลัย พนักงานของรัฐ พนักงานหน่วยงานของรัฐ หรือที่เรียกชื่ออย่างอื่น โดยคำนึงถึงลักษณะหน้าที่และความรับผิดชอบของผู้ที่ได้รับแต่งตั้งเป็นสำคัญ ในกรณีจำเป็นหรือเพื่อประโยชน์ของหน่วยงานของรัฐจะแต่งตั้ง บุคคลอื่นร่วมเป็นกรรมการด้วยก็ได้ แต่จำนวนกรรมการที่เป็น บุคคลอื่นจะต้องไม่มากกว่าจำนวนกรรมการตามวรรคหนึ่ง
ข้อห้าม กองการพัสดุภาครัฐ ในการซื้อหรือจ้างครั้งเดียวกัน ห้ามแต่งตั้งผู้ที่เป็นกรรมการพิจารณาผลการประกวดราคาอิเล็กทรอนิกส์ กรรมการพิจารณาผลการสอบราคา หรือกรรมการซื้อหรือจ้างโดยวิธีคัดเลือก เป็นกรรมการตรวจรับพัสดุ คณะกรรมการซื้อหรือจ้างทุกคณะ ควรแต่งตั้งผู้ชำนาญการหรือผู้ทรงคุณวุฒิเกี่ยวกับงานซื้อหรือจ้างนั้นๆ เข้าร่วมเป็นกรรมการด้วย
การประชุมของคณะกรรมการ กองการพัสดุภาครัฐ - ประธาน + กรรมการไม่น้อยกว่ากึ่งหนึ่ง และประธานจะต้องอยู่ด้วยทุกครั้ง องค์ประชุม - ถือเสียงข้างมาก - ถ้าเสียงเท่ากันให้ประธานออกเสียง เพิ่มอีก 1 เสียง มติกรรมการ - คณะกรรมการตรวจรับพัสดุ - ต้องใช้มติเอกฉันท์ ยกเว้น - กรรมการของคณะใดไม่เห็นด้วยกับมติของคณะกรรมการ ให้ทำบันทึกความเห็นแย้งไว้ด้วย
การมีส่วนได้ส่วนเสีย มาตรา 13 การมีส่วนได้ส่วนเสีย ในการดำเนินการจัดซื้อจัดจ้าง ผู้ที่มีหน้าที่ดำเนินการต้องไม่เป็น ผู้มีส่วนได้เสียกับผู้ยื่นข้อเสนอหรือคู่สัญญาในงานนั้น ในกรณีที่ปรากฏในภายหลังว่าผู้ที่มีหน้าที่ดำเนินการตามวรรคหนึ่ง เป็นผู้มีส่วนได้เสียกับผู้ยื่นขอเสนอหรือคู่สัญญาในขั้นตอนหนึ่ง ขั้นตอนใดของการจัดซื้อจัดจ้างหรือเป็นกรรมการในคณะกรรมการ ดำเนินการจัดซื้อจัดจ้าง แต่ไม่มีผลต่อการจัดซื้อจัดจ้างอย่างมี นัยสำคัญ การจัดซื้อจัดจ้างนั้นย่อมไม่เสียไป
การมีส่วนได้ส่วนเสียของคณะกรรมการซื้อหรือจ้าง กองการพัสดุภาครัฐ ประธานกรรมการและกรรมการ จะต้องไม่เป็นผู้มี ส่วนได้เสียกับผู้ยื่นข้อเสนอหรือคู่สัญญาในการซื้อหรือจ้างครั้งนั้น ทั้งนี้ การมีส่วนได้เสียในเรื่อง ซึ่งที่ประชุมพิจารณาของประธานกรรมการและกรรมการ ให้เป็นไป ตามกฎหมายว่าด้วยวิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง หากประธานหรือกรรมการ ทราบว่าตนเป็นผู้มีส่วนได้เสียกับ ผู้ยื่นข้อเสนอหรือคู่สัญญาในการซื้อหรือจ้างครั้งนั้น ให้ประธานหรือกรรมการผู้นั้นลาออกจากการเป็นประธานหรือกรรมการในคณะกรรมการ ที่ตนได้รับแต่งตั้งนั้น และให้รายงานหัวหน้าหน่วยงานของรัฐทราบเพื่อ สั่งการตามที่เห็นสมควรต่อไป
หมวด 3 คณะกรรมการ คณะกรรมการนโยบายการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ (มาตรา 20) จำนวน 17 – 19 คน คณะกรรมการวินิจฉัยปัญหาการจัดซื้อ จัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ (มาตรา 27) จำนวน 15 – 17 คน คณะกรรมการราคากลางและขึ้นทะเบียนผู้ประกอบการ (มาตรา 32) จำนวน 20 – 25 คน คณะกรรมการความร่วมมือป้องกันการทุจริต (มาตรา 37) จำนวน 14 – 16 คน คณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ และข้อร้องเรียน (มาตรา 41)
หมวด 5 การขึ้นทะเบียนผู้ประกอบการ ให้คณะกรรมการราคากลางกำหนดหลักเกณฑ์ในการขึ้นทะเบียน ผู้ประกอบการก่อสร้าง สำหรับการขึ้นทะเบียนผู้ประกอบการพัสดุอื่น ให้เป็นไปตามที่ คณะกรรมการราคากลางเห็นสมควร ให้กรมบัญชีกลางประกาศรายชื่อผู้ประกอบการที่ขึ้นทะเบียนไว้แล้วใน ระบบเครือข่ายสารสนเทศ ในกรณีที่กรมบัญชีกลางได้ขึ้นทะเบียนผู้ประกอบการไว้แล้ว หน่วยงาน ของรัฐไม่ต้องจัดให้มีการขึ้นทะเบียนอีก
การอุทธรณ์ พ.ร.บ. ระเบียบฯ พ.ศ. 2535 ระเบียบฯ พ.ศ. 2549 ไม่มี 16 การอุทธรณ์ พ.ร.บ. ระเบียบฯ พ.ศ. 2535 ไม่มี หมวด 14 การอุทธรณ์ พิจารณา โดยคณะกรรมการ พิจารณาอุทธรณ์ (มาตรา 112-117) ระเบียบฯ พ.ศ. 2549 การอุทธรณ์ผลการคัดเลือกเบื้องต้น (ข้อ 9 (3)) การอุทธรณ์ผลการพิจารณา (ข้อ 10 (5))
หมวด 14 การอุทธรณ์ มาตรา 114 ผู้ซึ่งได้ยื่นข้อเสนอเพื่อทำการจัดซื้อจัดจ้างพัสดุกับหน่วยงานของรัฐ มีสิทธิอุทธรณ์เกี่ยวกับการจัดซื้อจัดจ้างพัสดุ ในกรณีที่เห็นว่าหน่วยงานของรัฐมิได้ปฏิบัติ ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กำหนดในพระราชบัญญัตินี้ กฎกระทรวง ระเบียบ หรือประกาศที่ออกตามความในพระราชบัญญัตินี้ เป็นเหตุให้ตนไม่ได้รับการประกาศผล เป็นผู้ชนะหรือไม่ได้รับการคัดเลือกเป็นคู่สัญญากับหน่วยงานของรัฐ มาตรา 115 ผู้มีสิทธิอุทธรณ์จะยื่นอุทธรณ์ในเรื่องดังต่อไปนี้ไม่ได้ (1) การเลือกใช้วิธีการจัดซื้อจัดจ้างหรือเกณฑ์ที่ใช้ในการพิจารณาผลการจัดซื้อจัดจ้างตามพระราชบัญญัตินี้ของหน่วยงานของรัฐ (2) การยกเลิกการจัดซื้อจัดจ้างตามมาตรา 67 (3) การละเว้นการอ้างถึงพระราชบัญญัตินี้ กฎกระทรวง ระเบียบ หรือประกาศที่ออกตามพระราชบัญญัตินี้ในส่วนที่เกี่ยวข้องโดยตรงกับการจัดซื้อจัดจ้างในประกาศ เอกสาร หรือหนังสือเชิญชวนของหน่วยงานของรัฐ (4) กรณีอื่นตามที่กำหนดในกฎกระทรวง
หมวด 14 การอุทธรณ์ (ต่อ) มาตรา 116 การอุทธรณ์ต้องทำเป็นหนังสือลงลายมือชื่อผู้อุทธรณ์ มาตรา 117 ให้ผู้มีสิทธิอุทธรณ์ยื่นอุทธรณ์ต่อหน่วยงานของรัฐนั้นภายใน 7 วันทำการ นับแต่วันประกาศผลการจัดซื้อจัดจ้างในระบบเครือข่ายสารสนเทศของ กรมบัญชีกลาง มาตรา 118 ให้หน่วยงานของรัฐพิจารณาและวินิจฉัยอุทธรณ์ให้แล้วเสร็จภายใน 7 วันทำการ นับแต่วันที่ได้รับอุทธรณ์ ในกรณีที่เห็นด้วยกับอุทธรณ์ก็ให้ดำเนินการ ตามความเห็นนั้นภายในกำหนดเวลาดังกล่าว ในกรณีที่หน่วยงานของรัฐไม่เห็นด้วยกับอุทธรณ์ ไม่ว่าทั้งหมด หรือบางส่วนให้เร่งรายงานความเห็นพร้อมเหตุผลไปยังคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ตามมาตรา 119 ภายใน 3 วันทำการ นับแต่วันที่ครบกำหนดตามวรรคหนึ่ง
หมวด 14 การอุทธรณ์ (ต่อ) มาตรา 119 - ให้คณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ พิจารณาอุทธรณ์ให้แล้วเสร็จภายใน 30 วัน นับแต่วันที่ได้รับรายงานตามมาตรา 119 หากเรื่องใดไม่อาจพิจารณาได้ทันในกำหนดนั้น ให้คณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ขยายระยะเวลาออกไปได้ไม่เกิน 2 ครั้ง ครั้งละไม่เกิน 15 วัน - การวินิจฉัยของคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ให้เป็นที่สุด - ผู้อุทธรณ์ผู้ใดไม่พอใจคำวินิจฉัยของคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ หรือการยุติเรื่อง และเห็นว่าหน่วยงานของรัฐต้องรับผิดชดใช้ค่าเสียหาย ผู้นั้นมีสิทธิฟ้องคดีต่อศาลเพื่อเรียกให้หน่วยงานของรัฐชดใช้ค่าเสียหายได้ แต่การฟ้องคดีดังกล่าวไม่มีผลกระทบต่อการจัดซื้อจัดจ้างที่หน่วยงานของรัฐได้ลงนาม ในสัญญาจัดซื้อจัดจ้างนั้นแล้ว
หมวด 15 บทกำหนดโทษ มาตรา 120 ผู้ใดเป็นเจ้าหน้าที่หรือเป็นผู้มีอำนาจหน้าที่ในการดำเนินการเกี่ยวกับการจัดซื้อจัดจ้างหรือการบริหารพัสดุ ปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่ในการจัดซื้อจัดจ้างหรือการบริหารพัสดุตามพระราชบัญญัตินี้ กฎกระทรวง ระเบียบ หรือประกาศที่ออกตามความในพระราชบัญญัตินี้โดยมิชอบเพื่อให้เกิดความเสียหายแก่ผู้หนึ่งผู้ใด หรือปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่ตามพระราชบัญญัตินี้โดยทุจริตต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่หนึ่งปีถึงสิบปี หรือปรับ ตั้งแต่สองหมื่นบาทถึงสองแสนบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ ผู้ใดเป็นผู้ใช้หรือผู้สนับสนุนในการกระทำความผิดตาม วรรคหนึ่ง ผู้นั้นต้องระวางโทษตามที่กำหนดไว้สำหรับความผิดตามวรรคหนึ่ง
พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับเมื่อพ้นกำหนด 180 วัน นับแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษา ให้ยกเลิกบทบัญญัติเกี่ยวกับการพัสดุ การจัดซื้อจัดจ้าง หรือการบริหารพัสดุในกฎหมาย ระเบียบ ข้อบังคับ ประกาศ ข้อบัญญัติ และข้อกำหนดใดๆ ของหน่วยงานของรัฐ ที่อยู่ภายใต้บังคับแห่งพระราชบัญญัตินี้ (เมื่อวันที่ 23 สิ.ค. 2560)
การบังคับใช้ กองการพัสดุภาครัฐ ระเบียบกระทรวงการคลังฯ นี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วัน ถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป (วันที่ 24 ส.ค. 2560) ให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง เป็นผู้รักษาการตามระเบียบนี้
ติดต่อสอบถามเพิ่มเติม สำนักมาตรฐานการจัดซื้อจัดจ้างภาครัฐ กรมบัญชีกลาง โทร. 0 2127 7000 ต่อ 4551 , 4588 , 4589 ,6873, 4311 หรือสอบถามผ่านช่องทาง Facebook : “จัดซื้อจัดจ้างภาครัฐ”
Thank You ! 68