Checkout ห้างสรรพสินค้าเทสโก้โลตัส เอ็กซ์ตร้า สาขาสงขลา การจัดทำคู่มือภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสารและบริการสำหรับพนักงานแผนก Checkout ห้างสรรพสินค้าเทสโก้โลตัส เอ็กซ์ตร้า สาขาสงขลา English handbook for communication and services to be provided to all Checkout Department staff at Tesco Lotus Extra Mall (Songkhla Branch) โดย นางสาวกรวรรณ ผันมะโร (551011208) และนางสาวหทัยชนก เพรชดี (551011276) สาขาวิชา การจัดการทรัพกรมนุษย์ คณะ มนุษย์ศาสตร์และสังคมศาสตร์ อาจารย์ที่ปรึกษา อาจารย์ดร. อรพินท์ บุณสิน สถานที่ประกอบการ ห้างสรรพสินค้าเทสโก้โลตัส เอ็กซ์ตร้า สาขาสงขลาพนักงานที่ปรึกษา นายวีรวุฒิ ขำแก้ว (ผู้จัดการฝ่ายบุคคล) ที่มา จากการได้เข้าร่วมฝึกสหกิจกับแผนกบุคคลของห้างสรรพสินค้าเทสโก้โลตัส เอ็กซ์ตร้า สาขาสงขลา ได้พบปัญหาเกี่ยวกับการสื่อสารและบริการของพนักงานแผนก Checkout กับลูกค้าชาวต่างชาติซึ่งเกี่ยวกับบทสนทนาที่ต้องใช้ในการทำงานในชีวิตประจำวันของพนักงาน กลุ่มผู้ทำโปรเจคจึงมีความสนใจที่จะศึกษาและหาข้อมูลในการแก้ไขปัญหาดังกล่าว และเนื่องจากพนักงานต้องเข้าทำงานเป็นกะ จึงทำให้ไม่มีเวลาที่เพียงพอต่อการจัดฝึกอบรม ทางกลุ่มผู้ทำโปรเจคจึงจะแก้ไขปัญหาโดยการทำคู่มือเกี่ยวกับบทสทนาและคำศัพท์ภาษาอังกฤษที่เกี่ยวข้องในการทำงานของพนักงานแผนก Checkout เพื่อให้พนักงานได้ทำการศึกษาเรียนรู้ได้ทุกช่วงเวลาที่ว่างจากการทำงาน เป็นการได้ศึกษาเรียนรู้ด้วยตนเองและสามารถนำมาใช้ได้จริงในการทำงานเพื่อพัฒนาตนเองในด้านการสื่อสารและบริการให้ดียิ่งขึ้น วัตถุประสงค์ เพื่อพัฒนาคู่มือภาษาอังกฤษแก่พนักงานแผนก Checkout ห้างสรรพสินค้าเทสโก้โลตัส เอ็กซ์ตร้า สาขาสงขลา ผลการดำเนินงาน 1.แบบสังเกตพฤติกรรมการสื่อสารและบริการพนักงานแผนก Checkout จำนวน 20 คน พบว่า พนักงานมีความกระตือรือร้น ความพยายามในการลองผิดลองถูกและความกล้าแสดงออกในการสื่อสารภาษาอังกฤษกับลูกค้าชาวต่างชาติเพิ่มมากขึ้น 2.แบบประเมินความพึงพอใจของลูกค้าชาวต่างชาติต่อพนักงานแผนก Checkout ห้างสรรพสินค้าเทสโก้โลตัส เอ็กซ์ตร้า สาขาสงขลา จำนวน 30 คน พบว่าโดยรวมความพึงพอใจอยู่ในระดับปานกลาง โดยพนักงานมีความมั่นใจในการพูด ความพยายามและมีการออกสำเนียงของภาษาที่ถูกต้อง 3.แบบประเมินคู่มือภาษาอังกฤษสำหรับพนักงานแผนก Checkout ห้างสรรพสินค้าเทสโก้โลตัส เอ็กซ์ตร้า สาขาสงขลา จำนวน 20 คน พบว่าด้านที่อยู่ในระดับมากคือด้านความรู้ความเข้าใจ รองลงมาคือด้านการนำความรู้ไปใช้ และด้านความน่าสนใจตามลำดับ ประโยชน์ที่สถานประกอบการได้รับ 1. ส่งเสริมการเรียนรู้ทักษะภาษาอังกฤษแก่พนักงาน เป็นทักษะติดตัวที่สามารถใช้ได้ทั้งในชีวิตจริงและการทำงาน 2. เสริมสร้างความมั่นใจในทักษะการพูดภาษาอังกฤษแก่พนักงาน