การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีทาง DNA ในเชิงการเกษตร

Slides:



Advertisements
งานนำเสนอที่คล้ายกัน
“ผลกระทบต่อไทยจากจีนในเศรษฐกิจโลก”
Advertisements

A wonderful of Bioluminescence
สารกระตุ้นสมรรถภาพการผลิต
Gene Manipulation Gene Manipulation GManipulation.ppt.
ดีเอ็นเอ และวิทยาศาสตร์พันธุกรรม
วิทยาศาสตร์พันธุกรรม ดีเอ็นเอ และ จีเอ็มโอ (Molecular Biotechnology)
Genetic Engineering.
Transcription.
GMO SAFETY ASSESSMENT Sumol Pavittranon , Ph. D.
เทคโนโลยีชีวภาพ เสาวลักษ์ สารรัมย์.
พันธุกรรมและวิวัฒนาการ
ทางเลือกในการควบคุมยุงพาหะนำโรค
ความก้าวหน้าและผลของเทคโนโลยีชีวภาพ
รายชื่อสมาชิก กลุ่ม1 1.นายวิสุทธิ์ ศิลารัตน์ ม.6/6 เลขที่ 5ก
เศรษฐกิจ FTA Trade Barrier (NTB) Hub CM. การเมือง วิสัยทัศน์ผู้นำ นโยบายผู้ว่า CEO นโยบาย Food Safety การเมืองมีพรรคใหญ่ 2 พรรค ความโปร่งใส เผด็จการ และ.
Gene expression and signal transduction (4 hr)
พืชแต่งพันธุ์ต้านทานแมลง
ดีเอ็นเอและเทคโนโลยีชีวภาพ
ความเสี่ยงที่ถูกบันทึกไว้ของอาหารจีเอ็มโอ
โดย ดร.วุฒิไกร บุญคุ้ม ภาควิชาสัตวศาสตร์ คณะเกษตรศาสตร์
พันธุวิศวกรรม Genetic engineering.
เทคโนโลยีชีวภาพทางสัตว์ Animal biotechnology
Biotechnology applied in animal breeding
DNA marker Selection (transformation, breeding) Identification
โดย ผศ.ดร.วุฒิไกร บุญคุ้ม ภาควิชาสัตวศาสตร์ คณะเกษตรศาสตร์
โดย นางณหทัย วิจิตโรทัย นางพัชรี เกิดชุ่ม
กฎหมายสิ่งแวดล้อม อาชีวอนามัยและความปลอดภัย 1 ประกาศกระทรวงสาธารณสุข ( ฉบับที่ 345) พ. ศ.2555 เรื่อง กําหนดอาหารที่ห้ามผลิต นําเข้าหรือจําหน่าย ประกาศในราชกิจจานุเบกษาวันที่
Animal Breeding and Improvement การปรับปรุงพันธุ์สัตว์
พันธุวิศวกรรมศาสตร์ วิศวกรรมพันธุศาสตร์
Overview of Animal Breeding Stop and think ?... ทำไมต้องมีการปรับปรุงพันธุ์ สัตว์ ? ต้องการผลิตลูกสัตว์ที่มี ลักษณะดีเด่นขึ้น.
บทเรียนเพื่อการศึกษาวิชาสุขศึกษา เรื่อง
วิชา การพัฒนางานด้วยระบบคุณภาพและเพิ่ม ผลผลิต (Work Development with Quality Management.
ภญ. พัสริ วิทยศักดิ์พันธุ์ ภญ. อัญชลี เลาไพศาลวนิชศิริ
การถ่ายทอดทางพันธุกรรม
การวิเคราะห์งบการเงิน
การปฐมนิเทศนักศึกษาชั้นปีที่ ๔ และสูงกว่า
การดำเนินการตามแนวทางปฏิบัติ เพื่อความปลอดภัยทางชีวภาพของ IBC
อาหารที่ได้จากการดัดแปลงพันธุกรรม
ความผิดอื่นๆเกี่ยวกับเงินตราปลอม เงินตราแปลง
บทที่ 17 พันธุศาสตร์และเทคโนโลยีทาง DNA
คู่มือคุณภาพ Quality Manual
หลักการจัดการแมลงศัตรู
การโคลนและศึกษาคุณสมบัติของยีน OsDFR ซึ่งเกี่ยวข้องกับการสังเคราะห์แอนโทไซยานินและโปรแอนโทไซยานิดินในข้าวไทย นางสาวกนกภรณ์ คำโมนะ.
ความสำคัญของวิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยีที่มีต่อคุณภาพชีวิต
ผู้ช่วยสอน : นางสาวอมรรัตน์ ตันบุญจิตต์
การพัฒนาเทคโนโลยีชีวภาพ
การจัดการประชุมที่มีประสิทธิผล
การตรวจสอบพันธุ์ปนในข้าว ด้วยการวิเคราะห์ดีเอ็นเอ
การจัดทำรายละเอียดและ การประเมินรายวิชา (มคอ. ๓ และ มคอ. ๕)
สาเหตุของการเปลี่ยนแปลงแนวทางการพัฒนา
ความหลากหลายทางชีวภาพ
กองเมล็ดพันธุ์ข้าว.
มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินผลด้านคุณธรรมและความโปร่งใส
อ.ณัฐวัฒน์ ธนสารโชคพิบูลย์
แนวทางการขับเคลื่อนโครงการชุมชนสวัสดิการ
การโคลนยีน หรือ การโคลน DNA (Gene cloning and DNA cloning)
การจัดทำคำขอตั้งงบประมาณ รายละเอียดงบประมาณจำแนกตามงบรายจ่าย
การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีชีวภาพและเทคโนโลยีทาง DNA
การประยุกต์ใช้เทคโนโลยี ทาง DNA ในเชิงการเกษตร
ความผิดปกติทางพันธุกรรม
การประยุกต์ใช้ในเชิงการเกษตร
การประยุกต์ใช้เทคโนโลยี ทาง DNA ในเชิงนิติวิทยาศาสตร์
การพัฒนารูปแบบ ส่งเสริมสุขภาพวัยรุ่นไทย สูงดี สมวัยและแข็งแรง
(Rice Analysis) จังหวัดอุทัยธานี การวิเคราะห์ข้อมูลเรื่องข้าว
Introduction to Quantitative Genetics
ชีวภัณฑ์แบคทีเรีย Bacillus subtilis ควบคุมโรคพืช
การถ่ายทอดลักษณะพันธุกรรม
การขยายพันธุ์พืช.
การรายงานผลการดำเนินงาน
วัฏจักรของเซลล์ และการแบ่งเซลล์ นำเสนอโดย ผศ.ดร.สมาน แก้วไวยุทธ.
ใบสำเนางานนำเสนอ:

การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีทาง DNA ในเชิงการเกษตร

การทำฟาร์มสัตว์เพื่อสุขภาพมนุษย์ การสร้างพืชดัดแปลงพันธุกรรม - พืชดัดแปลงพันธุกรรมที่มีความสามารถในการต้านทานแมลง - พืชต้านทานต่อโรค - พืชดัดแปลงพันธุกรรมที่สามารถต้านทานสารปราบวัชพืช - พืชดัดแปลงพันธุกรรมที่มีคุณค่าทางอาหารเพิ่มขึ้น - พืชดัดแปลงพันธุกรรมเพื่อให้ยืดอายุของผลิตได้ยาวนานขึ้น วิธีการทำ GMOs ข้อดี GMOs ข้อเสีย GMOs 

การทำฟาร์มสัตว์เพื่อสุขภาพมนุษย์ ในการใช้เทคโนโลยี DNA เพื่อการปรับปรุงพันธุ์สัตว์ให้มีลักษณะที่ดีขึ้น เช่นเดียวกับเป้าหมายในการปรับปรุงพันธุ์สัตว์ที่อาศัยการผสมพันธุ์ และคัดเลือกพันธุ์แบบดั้งเดิม แต่ด้วยเทคโนโลยี DNA ทำให้นักวิทยาศาสตร์สามารถหาได้ว่ายีนที่จะทำให้สัตว์มีลักษณะตามต้องการ เช่น หมูมีไขมันต่ำ วัวให้นมเร็วขึ้นและมากขึ้น เมื่อทราบว่ายีนที่ควบคุมลักษณะนั้นคือยีนใดแล้วจึงย้ายยีนดังกล่าวเข้าสู่สัตว์ที่ต้องการ

การทำฟาร์มสัตว์เพื่อสุขภาพมนุษย์ อีกรูปแบบหนึ่งของการทำฟาร์มในอนาคต คือ การสร้างฟาร์มสัตว์ที่เสมือนเป็น โรงงานผลิตยาเพื่อสกัดนำไปใช้ในการแพทย์ ตัวอย่างเช่น การสร้างแกะที่ได้รับการถ่ายยีนเพื่อให้สร้างโปรตีนที่มีอยู่ในเลือดของคน และให้แกะผลิตน้ำนมที่มีโปรตีนนี้ โปรตีนชนิดนี้จะยับยั้งเอนไซม์ที่ก่อให้เกิดการทำลายเซลล์ปอดในผู้ป่วยที่เป็นโรคซิสติกไฟโบรซิส (Cystic fibrosis) และโรคระบบทางเดินหายใจที่เรื้อรังชนิดอื่นๆ

การสร้างพืชดัดแปลงพันธุกรรม การสร้างพืชดัดแปลงพันธุกรรม เพื่อให้มียีนเวลาดารเก็บรักษาผลผลิต มีความต้านทานโรคและแมลง มีความต้านทานต่อสารฆ่าแมลงมีคุณค่าทางอาหารมากขึ้น เป็นต้น ในพืชสามารถทำได้ง่ายกว่าในสัตว์เนื่องจากมีการศึกษาเทคโนโลยีการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อในหลอดทดลองซึ่งสามารถสร้างต้นพืชขึ้นใหม่จากเซลล์ เนื้อเยื่อ หรือส่วนต่างๆ ของพืชได้เป็นเวลาหลายสิบปีแล้ว ดังนั้นถ้าสามารถถ่ายยีนเข้าสู่เซลล์พืชได้ และพืชนั้นมีเทคโนโลยีการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อพืชรองรับอยู่แล้ว ก็สามารถสร้างพืชดัดแปลงพันธุกรรมได้

การสร้างพืชดัดแปลงพันธุกรรม ตัวอย่างการสร้างพืชดัดแปลงพันธุกรรมได้แก่ - พืชดัดแปลงพันธุกรรมที่มีความสามารถในการต้านทานแมลง โดยการถ่ายยีนบีที่สร้างสารพิษจากแบคทีเรีย (Bacillus thuringiensis BT) สารพิษนี้สามารถทำลายตัวอ่อนของแมลงบางประเภทอย่างเฉพาะเจาะจง โดยไม่เป็นอันตรายต่อสิ่งมีชีวิตอื่นเมื่อนำยีนที่สร้างสารพิษไปใส่ในเซลล์ของพืช เช่น ฝ้าย ข้าวโพดมันฝรั่ง ยาสูบ มะเขือเทศ พืชเหล่านี้สามารถผลิตสารทำลายตัวหนอนที่มากัดกิน ทำให้ผลผลิตของพืชเหล่านี้เพิ่มขึ้น ลดการใช้สารเคมีหรือไม่ต้องใช้เลย

การสร้างพืชดัดแปลงพันธุกรรม   ภาพ ก.ฝ้ายที่มีมียีนบีที (ซ้าย) และฝ้ายธรรมดา (ขวา) ข.แผนภูมิเปรียบเทียบปริมาณการใช้สารฆ่าแมลงของฝ้ายบีทีกับฝ้ายธรรมดา

มะละกอที่มียีนต้านทานต่อโรค การสร้างพืชดัดแปลงพันธุกรรม  - พืชต้านทานต่อโรค นักวิจัยไทยสามารถดัดแปลงพันธุกรรมของมะละกอให้ต้านทานต่อโรคใบด่างจุดวงแหวน ซึ่งเกิดจากไวรัสชนิดหนึ่ง โดยนำยีนที่สร้างโปรตีนเปลือกไวรัส (coat protein gene) ถ่ายฝากเข้าไปในเซลล์มะละกอ แล้วชักนำให้เป็นต้นมะละกอสร้างโปรตีนดังกล่าว ทำให้สามารถต้านทานต่อเชื้อไวรัสได้ นอกจากนี้ยังนี้การดัดแปลงพันธุกรรมของฝรั่ง ยาสูบ ให้มีความต้านทานต่อไวรัสที่มาทำลายได้ มะละกอที่มียีนต้านทานต่อโรค

การสร้างพืชดัดแปลงพันธุกรรม - พืชดัดแปลงพันธุกรรมที่สามารถต้านทานสารปราบวัชพืช เช่น นำยีนที่ต้านทางสารปราบวัชพืช ใส่เข้าไปในเข้าไปในพืช เช่น ถั่วเหลืองข้าวโพด ฝ้าย ทำให้สามารถต้านทานสารปราบวัชพืชทำให้สารเคมีที่ใช้ปราบ วัชพืช ไม่มีผลต่อพืชดังกล่าว และสามารถใช้ประโยชน์จากดินและปุ๋ย อย่างมีประสิทธิภาพ การปลูกพืชหมุนเวียนยังทำให้ง่ายขึ้นผลผลิตก็มีมากขึ้นด้วย

การสร้างพืชดัดแปลงพันธุกรรม - พืชดัดแปลงพันธุกรรมที่มีคุณค่าทางอาหารเพิ่มขึ้น เช่นในกรณีของข้าวที่เป็นธัญพืชที่เป็นอาหารหลักของโลกได้มีนักวิทยาศาสตร์ นำยีนจากแดฟโฟดิล (Daffodils) และยีนจากแบคทีเรีย Erwinia dreteria ถ่ายฝากให้ข้าว ทำให้ข้าวสามารถสร้างวิตามินเอในเมล็ดได้ เรียกว่า ข้าวสีทอง (golden rice) โดยหวังว่าการสร้างข้าวสีทอง จะมีส่วนช่วยในการลดภาวการณ์ขาดวิตามินในประเทศที่ขาดแคลนอาหารในโลกได้ ข้าวสีทอง

การสร้างพืชดัดแปลงพันธุกรรม - พืชดัดแปลงพันธุกรรมเพื่อให้ยืดอายุของผลิตได้ยาวนานขึ้น โดยนำยีนที่มีผลต่อเอนไซม์ที่สังเคราะห์เอทิลีนใส่เข้าไปในผลไม้ เช่น มะเขือเทศ ทำให้มะเขือเทศสุกช้าลง เนื่องจากไม่มีการสร้างเอทิลีน ลดความเน่าเสียของมะเขือเทศ สามารถเก็บรักษาได้นานขึ้นและขนส่งได้เป็นระยะทางไกลขึ้น นอกจากนี้ยังมีความพยายามที่จะดัดแปลงพันธุกรรมพืชให้สามารถทนทานต่อสภาพแวดล้อมที่ไม่เอื้ออำนวย เช่น ความแห้งแล้งดินเค็ม น้ำท่วม และยังมีความพยายามที่จะดัดแปลงพันธุกรรมของไม้ประดับ พัฒนาให้มีสีสันแปลกตา เช่น การนำยีนที่สร้างสีน้ำเงินของดอกอัญชัน ถ่ายลงไปในยีนของดอกกล้วยไม้สีขาวเพื่อให้ได้กล้วยไม้สีน้ำเงิน ซึ่งเป็นงานวิจัยของ ดร.พัฒนา (ศรีฟ้า) ฮุนเนอร์จากมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

วิธีการทำ GMO  ปัจจุบันนักเทคโนโลยีชีวภาพได้ทำการศึกษาวิจัยด้าน GENE หรือ GENOME ทำให้สามารถวิเคราะห์โครงสร้างในสิ่งที่มีชีวิตและยีน เพื่อปรับปรุงคุณลักษณะให้ดีกว่าเดิม คือ การทำ GMO นั่นเอง  GENETIC ENGINEERING หรือพันธุวิศวกรรมนั้น เป็นวิธีการที่เรียกว่า Biotechnology หรือเทคโนโลยีทางชีวภาพ เป็นวิธีการที่คัดเลือกสายพันธุ์โดยทำลงไปที่ยีนที่ต้องการโดยตรง แทนวิธีการผสมพันธุ์แบบเก่า แล้วคัดเลือกลูกสายพันธุ์ผสมที่มีลักษณะตามความต้องการ ถึงแม้ว่าจะใช้เวลานานก็ตาม  วิธีการทำ GMO มี 2 ขั้นตอนดังนี้  1. เจาะจงโดยการค้นหายีนตัวใหม่หรือจะใช้ยีนที่เป็น TRAITS (มีคุณลักษณะแฝง) ก็ได้ ตามที่เราต้องการ ยีนตัวนี้อาจจะมาจากพืช สัตว์ หรือจุลินทรีย์ก็ได้  2. นำเอายีนจากข้อที่ 1 ถ่ายทอดเข้าไปอยู่ในโครโมโซมของเซลล์ใหม่ ซึ่งทำได้หลายวิธี 

วิธีการทำ GMOs วิธีหลักที่ใช้กันในปัจจุบัน มี 2 วิธีคือ  2.1 ใช้จุลินทรีย์ เรียกว่า Agro-Bacterium เป็นพาหะช่วยพายีนเข้าไป ซึ่งคล้ายกับการใช้รถลำเลียงสัมภาระเข้าไปไว้ในที่ที่ต้องการ  2.2 ใช้ปืนยีน (GENE GUN) ยิงยีนที่เกาะอยู่บนผิวอนุภาคของทอง ให้เข้าไปในโครโมโซมเซลล์พืช กระสุนที่ยิงเข้าไปเป็นทองและนำ DNA ติดกับผิวของกระสุนที่เป็นอนุภาคของทอง และยิงเข้าไปในโครโมโซมด้วยแรงเฉื่อย จะทำให้ DNA หลุดจากผิวของอนุภาคของทอง เข้าไปอยู่ในโครโมโซม ส่วนทองก็จะอยู่ภายในเนื้อเยื่อโดยไม่มีปฏิกิริยาใดๆ  เมื่อเข้าไปที่ใหม่ จะโดยวิธี 2.1 หรือ 2.2 ก็ตาม ยีนจะแทรกตัวรวมอยู่กับโครโมโซมของพืช จนกลายเป็นส่วนหนึ่งของโครโมโซมพืช

วิธีการทำ GMOs  การถ่ายทอดยีนเข้าสู่พืชนั้นมิได้เป็นการถ่ายทอดเฉพาะยีนที่ต้องการเท่านั้น แต่เป็นการถ่ายทอดชุดของยีนเรียกว่า GENE CASSETTE โดยนักวิทยาศาสตร์ที่นำเอายีนที่ต้องการนั้น ไปผ่านขบวนการเสริมแต่ง เพื่อเพิ่มตัวช่วย ได้แก่ ตัวควบคุมการทำงานของยีนให้เริ่มต้นและยุติ และตัวบ่งชี้ปรากฏการณ์ของยีน ซึ่งตัวช่วยทั้งสองเป็นสารพันธุกรรมหรือยีนเช่นกัน ทั้งหมดจะถูกนำมาเชื่อมต่อเข้าด้วยกันเป็นชุดของยีนก่อนจะนำชุดของยีนนั้นไปฝากไว้กับเชื้ออะโกรแบคทีเรียม หรือนำไปเคลือบลงบนผิวอนุภาคของทองอีกทีหนึ่ง นักวิทยาศาสตร์จำเป็นต้องพ่วงตัวช่วยเหล่านั้นกับยีนที่ต้องการเพื่อใส่ยีนเข้าไปในเซลล์พืช ให้สามารถทำงานได้ หรือสามารถควบคุมให้มีการสร้างโปรตีนได้ นอกจากนี้ยังต้องมีวิธีการติดตามหรือสะกดรอยชุดยีนที่ใส่เข้าไปโดยตรวจหาสัญญาณตัวบ่งชี้การปรากฏของยีน ซึ่งตัวบ่งชี้นี้ช่วยให้สามารถคัดแยกเซลล์พืชหรือต้นพืชที่ได้รับการใส่ชุดยีนได้

ข้อดีของ GMOs   - ประโยชน์ต่อเกษตรกร 1. ทำให้เกิดพืชสายพันธุ์ใหม่ที่มีความทนทานต่อสภาพแวดล้อม เช่น ทนต่อศัตรูพืช หรือมีความสามารถในการ ป้องกันตนเองจากศัตรูพืช เช่น เชื้อไวรัส เชื้อรา แบคทีเรีย แมลงศัตรูพืช หรือแม้แต่ยาฆ่าแมลง และยาปราบวัชพืช 2. ทำให้เกิดพืชสายพันธุ์ใหม่ที่มีคุณสมบัติเหมาะแก่การเก็บรักษาเป็นเวลานาน ทำให้สามารถอยู่ได้นานวัน และขนส่งได้เป็นระยะทางไกลโดยไม่เน่าเสีย เช่น มะเขือเทศที่สุก

ข้อดีของ GMOs   - ประโยชน์ต่อผู้บริโภค 1. ทำให้เกิดธัญพืช ผัก หรือผลไม้ที่มีคุณสมบัติเพิ่มขึ้นในทางโภชนาการ เช่น ส้มหรือมะนาวที่มีวิตามินซีเพิ่ม มากขึ้น หรือผลไม้ที่มีขนาดใหญ่ขึ้นกว่าเดิม 2. ทำให้เกิดพันธุ์พืชใหม่ๆ ที่มีคุณค่าในเชิงพาณิชย์ เช่น ดอกไม้หรือพืชจำพวกไม้ประดับสายพันธุ์ใหม่ที่มี รูปร่างแปลกกว่าเดิม ขนาดใหญ่กว่าเดิม สีสันแปลกไปจากเดิม หรือมีความคงทนกว่าเดิม

ข้อดีของ GMOs   - ประโยชน์ต่ออุตสาหกรรม 1. คุณสมบัติของพืชที่ทำให้ลดการใช้สารเคมี และช่วยให้ได้พืชผลมากขึ้นกว่าเดิมมีผลทำให้ต้นทุนการผลิตต่ำลง  2. นอกจากพืชแล้ว ยังมี GMOs หลายชนิดที่ใช้กันอยู่ในปัจจุบันนี้ในอุตสาหกรรมอาหาร เช่น เอ็นไซม์ที่ใช้ ในการผลิตน้ำผักและน้ำผลไม้ หรือเอ็นไซม์ ไคโมซิน ที่ใช้ในการผลิตเนยแข็ง 3. การผลิตวัคซีน หรือยาชนิดอื่นๆ ในอุตสาหกรรมยาปัจจุบันนี้ล้วนแล้วแต่ใช้ GMOs แทบทั้งสิ้น

ข้อดีของ GMOs   - ประโยชน์ต่อสิ่งแวดล้อม 1.ประโยชน์ที่มีต่อสิ่งแวดล้อมคือ เมื่อพืชมีคุณสมบัติสามารถป้องกันศัตรูพืชได้เอง อัตราการใช้สารเคมีเพื่อ ปราบศัตรูพืชก็จะลดน้อยลงจนถึงไม่ต้องใช้เลย 2. หากยอมรับว่าการปรับปรุงพันธุ์ และการคัดเลือกพันธุ์พืชเป็นการเพิ่มความหลากหลายของสายพันธุ์ให้มากขึ้นแล้ว การพัฒนา GMOs ก็ย่อมมีผลทำให้เพิ่มความหลากหลายทางชีวภาพขึ้นเช่นกัน

ข้อเสียของ GMOs   - ความเสี่ยงต่อผู้บริโภค 1. สารอาหารจาก GMOs อาจมีสิ่งปนเปื้อนที่เป็นอันตรายซึ่งเป็นผลมาจากความบกพร่องในขั้นตอนการควบคุมคุณภาพ (quality control) ทำให้มีสิ่งปนเปื้อนหลงเหลืออยู่ 2.สารอาหารจาก GMOs อาจมีคุณค่าทางโภชนาการไม่เท่าอาหารปกติในธรรมชาติ เช่น รายงานที่ว่าถั่วเหลืองที่ ตัดแต่งพันธุกรรมมี isoflavone มากกว่าถั่วเหลืองธรรมดาเล็กน้อย 3.การตบแต่งพันธุกรรมในสัตว์ปลอดภัยต่อผู้บริโภคหรือไม่? ในบางกรณี วัว หมู รวมทั้งสัตว์ชนิดอื่นที่ได้รับ recombinant growth hormone อาจมีคุณภาพที่แตกต่างไปจากธรรมชาติ และ/หรือมีสารตกค้างหรือไม่ ขณะนี้ยัง ไม่มีข้อยืนยันชัดเจนในเรื่องนี้ อย่างไรก็ตาม สัตว์มีระบบสรีระวิทยาที่ซับซ้อนมากกว่าพืช และเชื้อจุลินทรีย์ ทำให้การตบแต่งพันธุกรรมในสัตว์ อาจทำให้เกิดผลกระทบอื่นๆ ที่ไม่คาดคิดได้

ข้อเสียของ GMOs   - ความเสี่ยงต่อสิ่งแวดล้อม 1. มีความกังวลว่า สารพิษบางชนิดที่ใช้ปราบแมลงศัตรูพืช เช่น Bt toxin ที่มีอยู่ใน GMOs บางชนิดอาจมีผล กระทบต่อแมลงที่มีประโยชน์ชนิดอื่นๆ 2. ความกังวลต่อการถ่ายเทยีนออกสู่สิ่งแวดล้อม ทำให้เกิดผลกระทบต่อความหลากหลายทางชีวภาพเนื่องจาก มีสายพันธุ์ใหม่ที่เหนือกว่าสายพันธุ์ดั้งเดิมในธรรมชาติ หรือลักษณะสำคัญบางอย่างถูกถ่ายทอดไปยังสายพันธุ์ ที่ไม่พึงประสงค์ หรือแม้กระทั่งการทำให้เกิดการดื้อต่อยาปราบวัชพืช

ข้อเสียของ GMOs   - ความกังวลในด้านเศรษฐกิจ - สังคม 1. ความกังวลอื่นๆ นั้นมักเป็นเรื่องนอกเหนือวิทยาศาสตร์ เช่น ในเรื่องการครอบงำโดยบรรษัทข้ามชาติที่มีสิทธิ บัตร ถือครองสิทธิ์ในทรัพย์สินทางปัญญาที่เกี่ยวข้องกับ GMOs ทำให้เกิดความกังวลเกี่ยวกับความมั่นคงทาง อาหาร ตลอดจนปัญหาความสามารถในการพึ่งตนเองของประเทศในอนาคต ที่มักถูกหยิบยกขึ้นมากล่าวถึงโดย NGOs และปัญหาในเรื่องการกีดกันสินค้า GMOs ในเวทีการค้า ระหว่างประเทศ ซึ่งเป็นประเด็นปัญหาของ ประเทศไทยอยู่ในปัจจุบัน

เอกสารอ้างอิง http://www.vcharkarn.com/lesson/1314   http://www.vcharkarn.com/lesson/1314 http://digital.lib.kmutt.ac.th/magazine/issue4/articles/article2.html http://www.ostc.thaiembdc.org/article1.html

รายชื่อสมาชิก กลุ่มที่ 6 1.นางสาวมนัสวีร์ ดิษฐาพร ม.5/1 เลขที่ 13ก 2.นางสาวลานนา ติลังการณ์ ม.5/1 เลขที่ 14ก 3.นางสาวธนวรรณ ศักดิ์ศรีวัฒนา ม.5/1 เลขที่ 15ข