โรคทางพันธุกรรมที่เกิดจากยีนบน Sex Chromosome

Slides:



Advertisements
งานนำเสนอที่คล้ายกัน
Chittima Sirijerachai
Advertisements

Red cell enzyme defects
Hereditary Spherocytosis (HS)
ภาวะแทรกซ้อนของการรักษาผู้ป่วยไตวายเรื้อรังระยะสุดท้าย ที่ได้รับการรักษาโดยวิธีทดแทนไต ในโรงพยาบาลพุทธ- ชินราช ในช่วงปี ม.ค ธ.ค 2544 Complications.
การขนส่งอสุจิสู่ Epididymis
THALASSEMIA 1 ตุลาคม 2552.
Thalassemia Patommatat MD.
ตอนที่ 2.
Introduction to Metabolism
RODENTICIDE Veerakit Techakitiroj M.Sc. in Pharm. (Pharmacology)
การสังเคราะห์กรดไขมัน (ที่อยู่นอก Mitochondria)
ลักษณะทางพันธุกรรม นอกเหนือจากกฎของเมนเดล
แผ่นดินไหว (Earthqua ke) ขนาด ( ริกเตอร์ ) ความ รุนแรง ( เมร์กัลลี่ ) น้อยกว่า 3.0 I - II ประชาชนไม่รู้สึก ใช้ชีวิตตามปกติ ตรวจวัดได้เฉพาะ เครื่องมือ.
ทางห้องปฏิบัติการทางการแพทย์ โรงพยาบาลวัดเพลง
การถ่ายทอดลักษณะทางพันธุกรรม
19 Nov 2014 Metabolic Integration (เมแทบอลิซึมผสมผสาน)
Laboratory interpretation
Thalassemia Sudawadee Ekwitayawechnukul, MD. Thalassemia Treatment Complication of thalassemia Complication of secondary hemochromatosis Iron chelation.
Dr. Wongsakorn Boonkarn Medicine
สมาชิก น.ส. กานต์ธีรา ปัญจะเภรี รหัสนักศึกษา ลำดับที่ 21 น.ส. มินลดา เหมยา รหัสนักศึกษา ลำดับที่ 22 น.ส. กรกฎ อุดมอาภาพิมล รหัสนักศึกษา
Case study 4 Iron overload in thalassemia intermedia
Septic shock เป็นภาวะช็อกที่เกิดจาก systemic inflammatory response ของร่างกาย อันเป็นผลมาจากการติดเชื้อรุนแรง.
Biochemistry of urine Dr. Pichapat Piamrojanaphat
ภาควิชาพืชสวน คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
การถ่ายทอดทางพันธุกรรม
การจัดการการดูแล ทารกแรกเกิดระยะวิกฤติ
จัดทำข้อมูลวิชาการอิเล็กทรอนิกส์ เรื่อง การแพ้ยา
บทที่ 13 การสังเคราะห์ด้วยแสง
Photosynthesis กรวรรณ งามสม.
โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพ
โรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราชสว่างแดนดิน
คุณภาพชีวิตของผู้ป่วยมะเร็ง
กองทุนประกันสังคม พ.จ.อ.พิชิต ศรีทองหนา จนท.สิทธิประกันสังคม
สถานการณ์โรคไตเรื้อรัง ทิศทางนโยบาย
รหัสวิชา NUR 3236 รายวิชา การรักษาโรคเบื้องต้น Primary Medical Care
ง การงานอาชีพและเทคโนโลยี
แนวทางการคัดกรองภาวะซีดในเด็ก และการให้ยาเสริมธาตุเหล็ก ในคลินิกเด็กดี
วิชาการทำฟาร์มสุกร บทที่ 7 การจัดการสุกร.
The Child with Renal Dysfunction
แนวทางการดำเนินงาน แผนงานสนับสนุนระบบบริการโรคไตวาย ปีงบประมาณ 2559
อาจารย์อภิพงศ์ ปิงยศ บทที่ 4 : ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์กราฟิก สธ212 ระบบสื่อประสมสำหรับธุรกิจ อาจารย์อภิพงศ์ ปิงยศ.
ผู้ช่วยสอน : นางสาวอมรรัตน์ ตันบุญจิตต์
ว33241 ชีววิทยา 4 บทที่ 15 การถ่ายทอดทางพันธุกรรม
สหกรณ์ออมทรัพย์ข้าราชการกรมตรวจบัญชีสหกรณ์ จำกัด
เพศสัมพันธ์ในวัยเรียน
การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีชีวภาพและเทคโนโลยีทาง DNA
นาย กองทัพ ปรีเดช เลขที่1ก ชั้นม.5/1
ความผิดปกติทางพันธุกรรม
LIPID METABOLISM อ. ชัยวัฒน์ วามวรรัตน์ - KETOGENESIS
เครื่องมือเครื่องใช้ในสปา
โรคทางพันธุกรรมที่เกิดจากรูปร่าง โครงสร้าง หรือจำนวนโครโมโซมผิดปกติ
โรคทางพันธุกรรม.
PrEP คืออะไร Pre- Exposure Prophylaxis ยาต้านไวรัสเพื่อการป้องกันการติดเชื้อเอชไอวี รูปยา.
การสังเคราะห์ด้วยแสง (photosynthesis)
การพยาบาลเด็กป่วยที่มีปัญหาทางโลหิตวิทยาและนีโอพลาสซึม อาจารย์ ดร
ต่าง รูปร่าง Allele = Allelomorph
สำนักงานตรวจบัญชีสหกรณ์ที่ 5
โรคทางพันธุกรรม คือ โรคที่เกิดจากความผิดปกติของยีนหรือของโครโมโซมโครโมโซม  ตั้งแต่แรก เกิดหรือตั้งแต่ปฏิสนธิ หรืออาจเกิดการผิดปกติได้ในภายหลัง ทำให้มีผลเกิดภาวะผิดปกติทางร่างกาย.
การจัดการโรคไตเรื้อรัง CKD management
พญ.มยุรี ไกรศรินท์ สูตินรีแพทย์ ศูนย์อนามัยที่ 5 ราชบุรี
CARBOHYDRATE METABOLISM
พญ. พิชญานันท์ คู่วัจนกุล กุมารแพทย์ สาขาโลหิตวิทยาและมะเร็ง
Philip B. Crosby ( ฟิลลิป ครอสบี ).
The Child with Renal Dysfunction
การรักษาโรคเบื้องต้น (Primary Medical Care)
ผลการพัฒนาถุงรองรับน้ำย่อย จากกระเพาะอาหาร
Efficiency & Competitiveness Support Factor & Strategy Driver
โรคหลอดเลือดในสมอง (STROKE)
Blood transfusion reaction
ใบสำเนางานนำเสนอ:

โรคทางพันธุกรรมที่เกิดจากยีนบน Sex Chromosome

X-linked โรคที่ควบคุมโดยยีนในโครโมโซม x ได้แก่ Hemophilia G-6-PD Red-green color blindness

โรคฮีโมฟีเลีย(Hemophilia) ฮีโมฟีเลียเป็นโรคทางพันธุกรรมที่เกิดจากความผิดปกติเกี่ยวกับการแข็งตัวของเลือด  เป็นโรคที่พบไม่บ่อยโดยมากพบในเพศชาย ผู้ป่วยโรคฮีโมฟีเลียจะมีโปรตีนตัวหนึ่งที่เกี่ยวข้องกับการแข็งตัวของเลือดหายไปหรือมีไม่เพียงพอ  โปรตีนเหล่านี้รู้จักกันในนาม แฟคเตอร์ (Factor) ซึ่งมีอยู่ในเลือดตามธรรมชาติ  ร่างกายจะต้องอาศัยแฟคเตอร์ (Factor) เหล่านี้ในการทำให้เลือดแข็งตัวและช่วยรักษาแผลเมื่อร่างกายได้รับบาดเจ็บหรือสูญเสียเลือด  นับเป็นความโชคดีที่ผู้ป่วยโรคฮีโมฟีเลียสามารถดำเนินชีวิตด้วยความกระฉับกระเฉง คล่องแคล่ว หากได้รับการรักษาที่เหมาะสมภายใต้การกำกับดูแลของแพทย์

โรคฮีโมฟีเลีย แบ่งได้เป็น 3 ชนิด คือ ฮีโมฟีเลีย เอ, บี และซี • ฮีโมฟีเลีย เอ (หรือ classical hemophilia) มีแฟคเตอร์ 8 (factor VIII) ในปริมาณที่ไม่เพียงพอหรือขาดแฟคเตอร์ 8 (Factor VIII) • ฮีโมฟีเลีย บี (หรือ Christmas disease) มีแฟคเตอร์ 9 (factor IX) ในปริมาณที่ไม่เพียงพอหรือขาดแฟคเตอร์ 9 (Factor IX) • ฮีโมฟีเลีย ซี  มีแฟคเตอร์ 11 (factor XI) ต่ำกว่าปริมาณที่ต้องการ มีแฟคเตอร์ 11 (factor XI) ในปริมาณที่ไม่เพียงพอหรือขาดแฟคเตอร์ 11 (factor XI)

ผู้ป่วยโรคฮีโมฟีเลียไม่ได้มีเลือดออกมากหรือเร็วกว่าคนปกติ  แต่มีเลือดออกเป็นระยะเวลานานกว่าคนปกติหลังจากถูกของมีคมบาดหรือมีเลือดออกภายใน  การมีเลือดออกภายในมักเกิดขึ้นในข้อต่อและกล้ามเนื้อ  แต่อาจเกิดขึ้นได้ที่สมองหรืออวัยวะอื่นๆ

โรคฮีโมฟีเลียมักพบในเพศชายเนื่องมาจากยีนที่กำหนดอาการของโรคโรคฮีโมฟีเลียอยู่บนโครโมโซม X ส่วนผู้หญิงที่มียีนดังกล่าวจะเรียกว่าเป็นพาหะ (carrier)ซึ่งจะถ่ายทอดยีนนี้ไปยังลูกหลาน อย่างไรก็ตามร้อยละ 30 ของผู้ป่วยอาจไม่มีประวัติครอบครัวที่มีความผิดปกติดังกล่าว   ในกรณีนี้แม่ที่เป็นพาหะอาจไม่ทราบว่าเธอมียีนโรคฮีโมฟีเลียอยู่ หรืออาจมีการกลายพันธุ์ของยีนตามธรรมชาติ

G-6-PD ภาวะพร่องเอนไซม์ Glucose-6-phosphate dehydrogenase หรือ G-6-PD (G-6-PD deficiency) เป็นโรคทางพันธุกรรมที่มีการถ่อยทอดแบบยีนด้อยบนโครโมโซม X หรือ X-linked recessive ทำให้พบได้บ่อยในเพศชายมากกว่าเพศหญิง ภาวะนี้พบได้ทั่วโลก โดยเฉพาะอย่างยิ่งประเทศในแถบทวีปแอฟริกา เมดิเตอร์ เรเนียน ตะวันออกกลาง และเอเซีย โดยพบมีอุบัติการณ์แตกต่างกันไปในแต่ละประเทศ สำหรับประเทศไทยพบ ในเพศชายร้อยละ 3ถึง18

สาเหตุของภาวะพร่องเอนไซม์ G-6-PD สาเหตุของภาวะพร่องเอนไซม์ G-6-PD ภาวะพร่องเอนไซม์ G-6-PD เกิดจากความผิดปกติของยีน G-6-PD ที่อยู่บนโครโมโซม X ทำหน้าที่ในการสร้างเอนไซม์ glucose-6-phosphate dehydrogenase หรือ G-6-PD เป็นผลให้มีการสร้างเอนไซม์ดังกล่าวในปริมาณที่ลดลงในระดับที่แตกต่างกันออกไป เอนไซม์ G-6-PD มีความสำคัญในกระบวนการ pentose phosphate pathway ของน้ำตาลกลูโคส ทำหน้าที่เป็นตัวกระตุ้นปฏิกริยาการเปลี่ยน NADP ไปเป็น NADPH ที่มีส่วนสำคัญในการสร้างสารที่มีคุณสมบัติในการต้านอนุมูลอิสระ (anti-oxidant) ดังนั้นในผู้ที่มีภาวะพร่องเอนไซม์ G-6-PD เมื่อได้รับยา, สารเคมี หรือเกิดภาวะใดก็ตามที่กระตุ้นให้มีการสร้างสารอนุมูลอิสระต่างๆ (oxidant) ขึ้นมาและไม่สามารถกำจัดออกไปได้ สารดังกล่าวจึงเป็นพิษต่อเซลล์ในร่างกาย โดยเฉพาะอย่างยิ่งเซลล์เม็ดเลือดแดง ก็จะทำให้เกิดการแตกสลายของเม็ดเลือดแดง (hemolysis) ได้

อาการและอาการแสดงของภาวะพร่องเอนไซม์ G-6-PD อาการและอาการแสดงของภาวะพร่องเอนไซม์ G-6-PD ผู้ป่วยที่มีภาวะพร่องเอนไซม์ G-6-PD ส่วนใหญ่จะไม่มีอาการผิดปกติ ส่วนในรายที่มีอาการ ผู้ป่วยส่วนใหญ่มักจะมาด้วยภาวะตัวเหลืองในทารกแรกเกิด (neonatal jaundice) และภาวะเม็ดเลือดแดงแตกสลายอย่างฉับพลัน (acute hemolytic anemia) หลังจากที่ได้รับยา สารเคมี หรือเกิดภาวะใดก็ตามที่กระตุ้นให้มีการแตกสลายของเม็ดเลือดแดงเช่น ภาวะติดเชื้อ ทำให้ผู้ป่วยมีอาการซีดลงฉับพลัน ตัวเหลือง (จากการที่มีระดับสารสีเหลืองหรือบิลิรูบินที่ได้จากการแตกสลายตัวของฮีโมโกลบินสูงในเลือด) และในบางรายอาจมีปัสสาวะสีน้ำตาลดำหรือสีโคล่า (จากการที่มีฮีโมโกลบินที่เกิดจากการแตกสลายของเม็ดเลือดแดงปนมาในปัสสาวะ) อาการต่างๆ มักเกิดขึ้นภายใน 24–72 ชั่วโมง ในรายที่รุนแรงอาจพบว่าปริมาณปัสสาวะออกน้อยลงจนก่อให้เกิดภาวะไตวายเฉียบพลัน (acute renal failure) ได้

การวินิจฉัยภาวะพร่องเอนไซม์ G-6-PD การวินิจฉัยจำเป็นต้องอาศัยประวัติ รวมทั้งอาการและอาการแสดงที่ทำให้สงสัยภาวะพร่องเอนไซม์ G-6-PD หลังจากนั้น แพทย์จะทำการตรวจนับเม็ดเลือดเพื่อดูภาวะซีด รวมถึงการดูเสมียร์เลือดที่จะพบลักษณะของเม็ดเลือดแดงแตกที่เข้าได้กับภาวะพร่องเอนไซม์ G-6-PD สำหรับการวินิจฉัยที่แน่นอนสามารถทำได้โดยการตรวจหาระดับของเอนไซม์ G-6-PD ในเลือดจะพบว่ามีระดับต่ำกว่าปกติ

รูป เสมียร์เลือดแสดงลักษณะของเม็ดเลือดแดงแตกสลายในภาวะพร่องเอนไซม์ G-6-PD

การรักษาภาวะพร่องเอนไซม์ G-6-PD ในปัจจุบันยังไม่มีการรักษาที่จำเพาะ (specific therapy) สำหรับภาวะพร่องเอนไซม์ G-6-PD การรักษาที่ดีที่สุดได้แก่ การหลีกเลี่ยง ยา สารเคมี และ ปัจจัยอื่นๆ ที่อาจกระตุ้นให้เกิดการแตกของเม็ดเลือดแดง  ในกรณีที่เกิดการแตกของเม็ดเลือดแดงอย่างฉับพลัน (acute hemolytic anemia) ให้รีบหาสาเหตุที่ทำให้เกิดการแตกของเม็ดเลือดแดง หยุดการใช้ยาหรือสารเคมีนั้นทันที หรือทำการรักษาภาวะที่เป็นปัจจัยกระตุ้นดังกล่าว ในกรณีที่ซีดมากจนมีอาการเหนื่อยเพลีย หรือมีปัสสาวะเป็นสีน้ำตาลดำหรือสีโคล่า ควรรีบพบแพทย์ เนื่องจากอาจจำเป็นต้องได้รับเลือด (blood transfusion) รวมทั้งให้การรักษาประคับประคอง (supportive therapy) ต่างๆ เพื่อป้องกันภาวะไตวายฉับพลัน

ในทารกแรกเกิดที่มีภาวะตัวเหลือง (neonatal jaundice) จากภาวะพร่องเอนไซม์ G-6-PD อาจต้องได้รับการรักษาด้วยการส่องไฟ (phototherapy) จนกว่าระดับบิลิรูบิน (bilirubin) กลับมาอยู่ในระดับปกติ หรือในกรณีที่เหลืองมากอาจต้องได้รับการเปลี่ยนถ่ายเลือด (exchange transfusion) ร่วมด้วย เมื่อเกิดอาการไม่สบายควรปรึกษาแพทย์ และต้องแจ้งให้แพทย์ทราบทุกครั้งว่าป่วยเป็นโรคนี้ รวมทั้งควรมีบัตรประจำตัวหรือคำแนะนำสำหรับภาวะพร่องเอนไซม์ G-6-PD พกติดตัวไว้เสมอ

Color blindness เป็นภาวะการมองเห็นผิดปกติ โดยมากเป็นการตาบอดสีตั้งแต่กำเนิด และมักพบในเพศชายมากกว่า เพราะเป็นการถ่ายทอดทางพันธุกรรมแบบลักษณะด้อยบนโครโมโซม ผู้ที่เป็นตาบอดสีส่วนใหญ่จะไม่สามารถแยกความแตกต่างระหว่างสีเขียวและสีแดงได้ จึงมีปัญหาในการดูสัญญาณไฟจราจร รองลงมาคือ สีน้ำเงินกับสีเหลือง หรืออาจเห็นแต่ภาพขาวดำ และความผิดปกตินี้จะเกิดขึ้นกับตาทั้งสองข้าง ไม่สามารถรักษาได้

สาเหตุการเกิดตาบอดสี ตาบอดสี (Color blindness)เกิดขึ้นจากเซลล์ประสาทชนิดหนึ่ง ในม่านตาซึ่งมีความไวต่อสีต่าง ๆ มีความบกพร่องหรือพิการ ทำให้ดวงตาไม่สามารถที่จะมองเห็นสีบางสีได้ ตาบอดสี มีหลายชนิด ชนิดที่ทุกคนรู้จักโดยทั่วไปได้แก่ ตาบอดสีที่มองสีเขียว กับสีแดงไม่เห็น (Red – Green blindness) ซึ่งจะทำให้ไม่สามารถแยกสีแดงกับสีเขียวจากสีอื่น ๆ ได้ ดังนั้นคนตาบอดสีชนิดนี้จะมองเห็นสิ่งต่าง ๆ ในโลกเป็นสีน้ำเงิน สีเหลือง สีขาว สีดำ สีเทา และส่วนผสมของสีเหล่านั้นทั้งหมด

การพบโรคนี้ในผู้ชายมากกว่าผู้หญิง และมักเป็นกับแบบ แดง-เขียวแทบทั้งหมด เนื่องจากว่ายีน ที่ควบคุมการสร้างรงควัตถุรับสีชนิดสีแดง และสีเขียวนั้น (red-pigment gene, green-pigment gene) อยู่บนโครโมโซม X เมื่อยีนนี้ขาดตกบกพร่องไปในคนใดคนหนึ่ง ก็จะทำให้คนนั้นสามารถรับรู้ สีเหล่านั้นได้ลดลงกว่าคนปกติแน่นอนว่าผู้หญิงมีโอกาสเป็นน้อยกว่าเนื่องจากในผู้หญิงมีโครโมโซม X ถึงสองตัว ถ้าเพียงแต่ X ตัวใดตัวหนึ่งมียีนเหล่านี้อยู่ ก็สามารถรับรู้สีได้แล้ว ในขณะที่ผู้ชาย มีโครโมโซม X เพียงตัวเดียว อีกตัวเป็น Y ซึ่งไม่ได้มีแพคเกจบรรจุยีนนี้แถมมาด้วย ;) ก็จะแสดง อาการได้เมื่อ X ตัวเดียวเท่าที่มีอยู่นั้นบกพร่องไป

ภาพแสดงถ่ายทอดทางพันธุกรรมโดยโครโมโซม

Y-linked ขนที่ใบหู

โรคขนที่ใบหู ลักษณะมีขนที่ใบหูพบเฉพาะในเพศชายเท่านั้น โดยมียีน h (holandric gene) ควบคุมลักษณะนี้อยู่ ชายที่มีลักษณะมีขนที่ใบหูจะมีจีโนไทป์เป็น XYh ส่วนชายที่มีลักษณะปกติไม่มีขนที่ใบหูจะมีจีโนไทป์เป็น XYH

ขอบคุณค่ะ