บทที่ 3 โพรโตคอล ทีซีพีและไอพี TCP / IP

Slides:



Advertisements
งานนำเสนอที่คล้ายกัน
IT Central Library KMITL
Advertisements

วิธีการตั้งค่าเครื่องคอมพิวเตอร์เพื่อใช้ในระบบเครือข่าย
บทที่ 2 แบบจำลอง OSI OSI Model.
อินเตอร์เน็ต.
TCP/IP.
Ministry of Information and Communication Technology
ภัยคุกคามด้านความปลอดภัย
องค์ประกอบของระบบ Internet
Network Layer Protocol Routing Protocol
Transport Layer.
File Transfer (FTP), WWW, HTTP, DHCP.
Network Layer Protocal:
Network programming Asst. Prof. Dr. Choopan Rattanapoka
AUTONOMOUS SYSTEMS (AS)
TCP/IP.
บทที่ 2 แบบจำลอง OSI OSI Model.
การติดตั้งอุปกรณ์ปลายทาง
Week 5: Chapter 23: Support Protocols
Week 13: Chapter 27: Internet Routing Part II:BGP, RIP & OSPF
โดย อาจารย์นัณฑ์ศิตา ชูรัตน์
05/04/60 3 Copyrights by Ranet Co.,Ltd. All rights reserved.
Basic of Routing พื้นฐานการหาเส้นทางข้ามเครือข่าย 9 05/04/60
Protocol ทำเราท์เตอร์เป็นเซิร์ฟเวอร์แจกไอพี Dynamic Host Configuration
Santi Sa-Nguansup CCIE #8615. P.2 Understanding the Flow of IP Datagrams โครงการพัฒนาบุคลากรสำหรับการ บริหารจัดการเครือข่าย คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล.
CCNA Configuration Mr.Thongrob Auxsorn.
Routing Protocol and Concepts
Application Layer.
Week 12: Chapter 27: Internet Routing Part I:
1 LAN Implementation Sanchai Yeewiyom School of Information & Communication Technology Naresuan University, Phayao Campus.
– Network operating systems and Protocols Choopan Rattanapoka.
BY KIADTIPONG YORD. CHANDRA 2004 :: COMPUTER NETWORK ระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ และการกระจาย Computer Network and Distributed เทคโนโลยี Internet Internet.
OSI 7 LAYER.
Network Layer. Subnetting.
Chapter 2: Network Models. OSI model and TCP/IP protocol 1960 (ARPA in DOD) 1972 (draft) 1973 (release TCP/IP)1984 (release OSI) 1970 (ISO, CCITT) 1983.
© 2006 Cisco Systems, Inc. All rights reserved.Cisco PublicITE I Chapter 6 1 CCNA Cisco Certified Network Associate.
OSI Network Layer TCP/IP Internet Layer วิชาการสื่อสารข้อมูลและเครือข่าย นายวุฒิชัย คำมีสว่าง.
Study IPv4 and IPv6 Wachira Parathum Internet Service Division
การสื่อสารข้อมูล.
2.1 Spanning Tree Protocol
Chapter 8: Single-Area OSPF
เครือข่ายคอมพิวเตอร์
โรงเรียนห้วยเม็กวิทยาคม
เครือข่ายสารสนเทศ Application Layer Network Application
Mobile Network/Transport Layers
บทที่ 8 เครือข่ายการสื่อสารทางไกลระหว่างประเทศ
Firewall อาจารย์ ธนัญชัย ตรีภาค ภาควิชาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์
Wireless Network เครือข่ายไร้สาย
Sripatum University CIS514 การสื่อสารคอมพิวเตอร์และเครือข่าย
บทที่ 4 อินเตอร์เน็ต.
แบบจำลองเครือข่าย (Network Models)
อาจารย์อภิพงศ์ ปิงยศ บทที่ 8 : TCP/IP และอินเทอร์เน็ต Part2 สธ313 การสื่อสารข้อมูลและเครือข่ายคอมพิวเตอร์ทางธุรกิจ อาจารย์อภิพงศ์
ปัญหาความปลอดภัยในระบบเครือข่าย
อาจารย์อภิพงศ์ ปิงยศ บทที่ 8 : TCP/IP และอินเทอร์เน็ต Part3 สธ313 การสื่อสารข้อมูลและเครือข่ายคอมพิวเตอร์ทางธุรกิจ อาจารย์อภิพงศ์
อาจารย์อภิพงศ์ ปิงยศ บทที่ 7 : TCP/IP และอินเทอร์เน็ต Part3 สธ313 การสื่อสารข้อมูลและเครือข่ายคอมพิวเตอร์ทางธุรกิจ อาจารย์อภิพงศ์
IP-Addressing and Subneting
เครือข่ายคอมพิวเตอร์
IP-Addressing and Subneting
TCP/IP Protocol นำเสนอโดย นส.จารุณี จีนชาวนา
เครือข่ายคอมพิวเตอร์
Boson Netsim Simulator ภาควิชาวิศวกรรมไฟฟ้าและคอมพิวเตอร์
บทที่ 6 : Firewall Part1 สธ412 ความมั่นคงของระบบสารสนเทศ
บทที่ 5 ระบบปฏิบัติการเครือข่าย
อาจารย์อภิพงศ์ ปิงยศ บทที่ 7 : TCP/IP และอินเทอร์เน็ต Part2 สธ313 การสื่อสารข้อมูลและเครือข่ายคอมพิวเตอร์ทางธุรกิจ อาจารย์อภิพงศ์
อินเทอร์เน็ตเบื้องต้น
อาจารย์อภิพงศ์ ปิงยศ บทที่ 2 : แบบจำลองเครือข่าย (Network Models) Part3 สธ313 การสื่อสารข้อมูลและเครือข่ายคอมพิวเตอร์ทางธุรกิจ อาจารย์อภิพงศ์
บทที่ 4 การใช้งานอินเทอร์เน็ตเบื้องต้น Introduction to Internet
The Need for a Protocol Architecture (for example, see circuit / packet switching) ผู้รับต้องจัดเตรียมที่เก็บข้อมูล (memory) ยืนยันสิทธิใช้ hard disk.
เครือข่ายคอมพิวเตอร์ ขั้นสูง
ไอพีแอดเดรส (IP - Address) Netid & Hostid
การให้บริการไฟล์ File Transfer Protocol
ใบสำเนางานนำเสนอ:

บทที่ 3 โพรโตคอล ทีซีพีและไอพี TCP / IP 9/20/2018

โพรโตคอล ทีซีพีและไอพี TCP / IP TCP ย่อมาจาก Transmission Control Protocol เป็นผู้ทำให้เกิดขบวนการ การส่งข้อมูลอย่างต่อเนื่อง ระหว่างผู้ส่งกับผู้รับ ส่วน lP คือ Internet Protocol ที่ใช้ในการเชื่อมต่อคอมพิวเตอร์เป็นระบบ Internetworking ในปัจจุบันเราใช้หมายเลข IP Version 4 (IPv4) แต่ในอนาคตอันใกล้นี้ จะนำหมายเลข IP Address Version 6 (IPv6) มาใช้ร่วมกับหมายเลขเก่าเพื่อให้เลขหมายเพียงพอกับความต้องการของผู้ใช้ 9/20/2018

3.1 องค์กรพัฒนา TCP / IP และ Internet อินเตอร์เน็ต เป็นเครือข่ายอิสระที่ไม่อยู่ภายในกำกับ หรือควบคุมโดยหน่วยงานใด เครือข่ายอินเตอร์เน็ต ต่างตกลงเชื่อมโยงเข้าหากันและบริหารเครือข่ายของตนเองโดยอิสระแต่ในทางปฏิบัติแล้วการเชื่อมเข้าหากันได้ จำเป็นต้องมีหน่วยงานทำหน้าที่จัดการและประสานงานหลายด้าน เช่นการลงทะเบียนเครือข่าย การจัดแอดเดรสและบริการอื่น ๆ 9/20/2018

3.1 องค์กรพัฒนา TCP / IP และ Internet ศูนย์สารสนเทศเครือข่ายอินเตอร์เน็ต หรือ อินเตอร์นิก (InterNIC : Internet Network Information Center) เป็นหน่วยงานที่ก่อตั้งขึ้นเพื่อให้บริการดังกล่าว รวมทั้งเผยแพร่ข่าวสารเกี่ยวกับอินเตอร์เน็ต ในปัจจุบันมีศูนย์ศูนย์สารสนเทศในแต่ละภูมิภาคเพื่อกระจายบริการได้อย่างทั่วถึง เช่น ในทวิปยุโรปมีศูนย์ RIPE (Reseaux IP Europeens) และในแถบเอเชีย-แปซิปิกมีศูนย์ (Asia Pacific Network Information Centre) 9/20/2018

3.1 องค์กรพัฒนา TCP / IP และ Internet 1) ISOC 2) IAB 3)IETF and IRTF 4) IANA and ICANN 9/20/2018

3.1 องค์กรพัฒนา TCP / IP และ Internet ไอซ็อก (ISOC) สมาคมอินเตอร์เน็ต หรือ ไอซ็อก (ISOC : Internet Society) เป็นองค์กรระหว่างประเทศที่ก่อตั้งเมื่อ พ.ศ. 2535 เพื่อพัฒนาการใช้อินเตอร์เน็ต ไอซ็อกเป็นองค์กรที่ไม่มุ่งเน้นผลกำไร และมีนโยบายสนับสนุนให้ใช้อินเตอร์เน็ตเป็นโครงสร้างพื้นฐานอย่างหนึ่งสำหรับการศึกษาและงานวิจัย ตลอดจนเผยแพร่ความรู้เกี่ยวกับอินเตอร์เน็ตแก่บุคคลทั่วไป ไอซ็อกไม่ได้ทำหน้าที่ในด้านเทคนิคโดยตรงแต่มีคณะกรรมการไอเอสบีดูแลจัดการ 9/20/2018

3.1 องค์กรพัฒนา TCP / IP และ Internet ไอเอบี (IAB) ไอเอบี (IAB : Internet Architecture Board) เป็นหน่วยงานที่ก่อตั้งขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2526 แต่เดิมนั้นใช้ชื่อว่า Internet Activities Board เมื่อไอซ็อกถือกำเนิดขึ้นก็ได้โอน ไอเอบีเข้ามาเป็นหน่วยงานในสังกัด งานหลักของไอเอบี คือกำหนดมาตรฐานโพรโตคอลที่ซีพี/ไอพี ในระดับนโยบายโดยมีหน่วยงานย่อยรับผิดชอบการพัฒนาด้านเทคนิคได้แก่ IETF และ IRTF 9/20/2018

3.1 องค์กรพัฒนา TCP / IP และ Internet ไออีทีเอฟ และ ไออาทีเอฟ (IETF & IRTF) ไออีทีเอฟ (IETF : Internet Engineering Task Force) ทำหน้าที่พัฒนาโพรโตคอลเพื่อการใช้งานในขณะปัจจุบัน ร่วมกันออกแบบและพัฒนาโพรโตคอลโดยแบ่งเป็นสาขา เช่น แอพลิเคชั่น ความปลอดภัย หรือการเลือกเส้นทางเป็นต้น แต่ละสาขาประกอบด้วยกลุ่มงาน (working groups) ส่วนไออาร์ทีเอฟ (IRTF: Internet Research Task Force) รับผิดชอบงานวิจัยในระยะยาวสำหรับการใช้อินเตอร์เน็ตในอนาคต 9/20/2018

3.1 องค์กรพัฒนา TCP / IP และ Internet ไออีทีเอฟ และ ไออาทีเอฟ (IETF & IRTF) ไออีทีเอฟและไออาร์ทีเอฟต่างมีคณะกรรมการทำหน้าที่อำนวยการเรียกว่า “steering group” ประจำอยู่แต่ละส่วนคือ ไออีเอสจี (IESG : Internet Engineering Steering Group) และไออาร์เอสจี (IRSG : Internet Research Steering Group) เอไอบีมอบหมายให้ดูแลการจัดทำ อาร์เอฟซีซึ่งเป็นเอกสารเชิงเทคนิคและข้อมูลทั่วไปเกี่ยวกับโพรโตคอลและอินเตอร์เน็ต 9/20/2018

3.1 องค์กรพัฒนา TCP / IP และ Internet ไอนาและไอแคน (IANA & ICANN) ไอนา (IANA : Internet Assigned Number Authority) ทำหน้าที่ในการจัดสรรแอดเดรส การกำหนดค่าพารามิเตอร์และทะเบียนหมายเลขประจำ แต่ละโพรโตคอล การบริหารโดเมนและ root name server ซึ่งเป็นหน่วยงานที่รัฐบาลสหรัฐฯ สนับสนุนการดำเนินงาน ซึ่งจะโอนงานบางส่วนไปให้ไอแคน (ICANN : The Internet Cooperation Assigned Names And Numbers) ซึ่งเป็นบริษัทที่จัดตั้งขึ้นโดยไม่มุ่งผลกำไร 9/20/2018

3.2 กระบวนการจัดทำมาตรฐาน อาร์เอฟซี (RFC : Request For Comments) เป็นเอกสารที่อธิบายถึงกระบวนการจัดทำมาตรฐานในอินเตอร์เน็ต โพรโตคอลที่จะเป็นมาตรฐานจะผ่านขั้นตอนพิจารณาไปตามลำดับ จนได้รับการยกสถานะเป็นโพรโตคอลมาตรฐานเรียกว่า “Internet Standard” การพัฒนาชุดโพรโตคอลทีซีพี/ไอพี นั้นนับแต่แรกเริ่มจนถึงปัจจุบันอาศัยผู้เชี่ยวชาญหลายฝ่ายเสนอแนวความคิดในรูปของเอกสาร โดยมีคณะกรรมการเป็นผู้พิจารณา 9/20/2018

3.2 กระบวนการจัดทำมาตรฐาน 9/20/2018

3.2 กระบวนการจัดทำมาตรฐาน อินเตอร์เน็ตดราฟท์ (Internet Draft) ซึ่งพิมพ์เผยแพร่ในโฮมเพจของไออีทีเอฟ อินเตอร์เน็ตดราฟท์ที่ไม่ได้รับการพิจารณาภายใน 6 เดือน หรือเปลี่ยนไปเป็นอาร์เอฟซีแล้วจะถูกกำจัดออกไป อินเตอร์เน็ตดราฟท์ซึ่งเกี่ยวข้องกับโพรโตคอลและตีพิมพ์เป็นอาร์เอฟซีจะเข้าสู่กระบวนการที่เรียกว่า “IAB Standard Track” 9/20/2018

3.2 กระบวนการจัดทำมาตรฐาน Proposed Standard โพรโตคอลที่ผ่านการพิจารณาเบื้องต้นว่ามีการแยกออกแบบมีแนวทางที่ชัดเจนและมีเสถียรภาพ มีแนวโน้มที่ใช้งานอย่างแพร่หลาย และสมควรที่จะเข้าสู่กระบวนการจัดทำเป็นโพรโตคอลมาตรฐานต่อไป 9/20/2018

3.2 กระบวนการจัดทำมาตรฐาน Draft Standard โพรโตคอลได้ผ่านการสร้างและทดลองใช้งานจากอย่างน้อยสองแหล่งที่แตกต่างเพื่อตรวจสอบการทำงานร่วมกัน โพรโตคอลในสถานะนี้มักมีข้อกำหนดที่สมบูรณ์ครบถ้วนแล้วแต่อาจมีการเปลี่ยนแปลงแก้ไขเฉพาะจุดที่เกี่ยวข้องกับปัญหาหรือการใช้งานรูปแบบใหม่ที่อาจเกิดขึ้นภายหลัง 9/20/2018

3.2 กระบวนการจัดทำมาตรฐาน Internet Standard โพรโตคอลที่ใช้งานอย่างแพร่หลายและมีประโยชน์ในการใช้งานอย่างแท้จริง จะได้รับการยกสถานะเป็นโพรโตคอลมาตรฐานโดยได้รหัสหมายเลขประจำโพรโตคอล 9/20/2018

3.2 กระบวนการจัดทำมาตรฐาน สถานะทดลองใช้งาน (Experimental) หมายถึงโพรโตคอลที่ยังไม่สมบูรณ์เพียงพอที่จะเข้าสู่การพิจารณาจัดทำมาตรฐาน โพรโตคอลที่ยู่ในสถานะทดลองหรือโพรโตคอลมาตรฐานที่พ้นสมัยและไม่เหมาะสมที่จะนำมาใช้อีกต่อไปจะถูกปรัปไปสู่สถานะ “Historic” อาร์เอฟซีอื่นที่ไม่ได้อยู่ในข่ายการจัดทำโพรโตคอลจะอยู่ในสถานะ “Informational” อาร์เอฟซีในกลุ่มนี้มีทั้งเรื่องเชิงเทคนิคและข่าวสารทั่วไป 9/20/2018

3. 3 โครงสร้างของสถาปัตยกรรม TCP / IP. 3. 3 3.3 โครงสร้างของสถาปัตยกรรม TCP / IP 3.3.1 แบบอ้างของทีซีพี/ไอพี (TCP/IP Reference Model ) ระบบการสื่อสารข้อมูลเครือข่ายคอมพิวเตอร์ประกอบด้วยฮาร์ดแวร์และซอฟต์แวร์ที่ซับซ้อน การมองภาพของระบบโดยรวมทั้งหมดเป็นหน่วยใหญ่ย่อมยากต่อการทำความเข้าใจ การใช้แบบอ้างอิง ที่แบ่งระบบออกเป็นส่วนย่อยจะช่วยลดความซับซ้อนและสร้างความเข้าใจได้ง่ายกว่า 9/20/2018

3. 3 โครงสร้างของสถาปัตยกรรม TCP / IP. 3. 3 3.3 โครงสร้างของสถาปัตยกรรม TCP / IP 3.3.1 แบบอ้างของทีซีพี/ไอพี (TCP/IP Reference Model ) 9/20/2018

3. 3 โครงสร้างของสถาปัตยกรรม TCP / IP. 3. 3 3.3 โครงสร้างของสถาปัตยกรรม TCP / IP 3.3. 2 การส่งถ่ายข้อมูลระหว่างชั้น (Layer Interface) โพรโตคอลในแต่ละชั้นล้วนมีหน้าที่เกี่ยวข้องในการส่งผ่านข้อมูลจากสถานีต้นทางไปยังสถานีปลายทาง ข้อมูลจะถูกส่งผ่านจากโพรโตคอลระดับบนสุดจากสถานีต้นทางไปยังระดับล่างจนกระทั่งข้อมูลถูกแปลงให้อยู่ในรูปของสัญญาณไฟฟ้าแล้วเดินทางผ่านเครือข่ายไปยังสถานีปลายทาง โพรโตคอลระดับล่างสุดที่สถานีปลายทางจะรับสัญญาณและส่งผ่านขึ้นไปยังโพรโตคอลระดับบนต่อไป 9/20/2018

3. 3 โครงสร้างของสถาปัตยกรรม TCP / IP. 3. 3 3.3 โครงสร้างของสถาปัตยกรรม TCP / IP 3.3.2 การส่งถ่ายข้อมูลระหว่างชั้น (Layer Interface) เมื่อข้อมูลผ่านแต่ละชั้น โพรโตคอลในชั้นนั้นจะผนวกข่าวสารกำกับการทำงานซึ่งเรียกว่า โพรโตคอลเฮดเดอร์ (Protocol Header) เข้ากับข้อมูลและจะถูกส่งผ่านไปยังระดับล่าง โพรโตคอลระดับล่างจะมองเฮดเดอร์ และตัวข้อมูลรวมเป็นเสมือนข้อมูลและเพิ่มเฮดเดอร์ประจำชั้นเข้าไป กระบวนการนี้เรียกว่า การเอ็นแคปซูเลต (Encapsulation) 9/20/2018

3. 3 โครงสร้างของสถาปัตยกรรม TCP / IP. 3. 3 3.3 โครงสร้างของสถาปัตยกรรม TCP / IP 3.3.2 การส่งถ่ายข้อมูลระหว่างชั้น (Layer Interface) 9/20/2018

3. 3 โครงสร้างของสถาปัตยกรรม TCP / IP. 3. 3 3.3 โครงสร้างของสถาปัตยกรรม TCP / IP 3.3.3 โพรโตคอลย่อยที่อยู่ใน TCP / IP ทีซีพี/ไอพีประกอบด้วยโพรโตคอลย่อยจำนวนมาก โดยจะอ้างถึงเฉพาะโพรโตคอลที่สำคัญโดยสรุปดังนี้ 1) IP 2) ICMP 3) TCP 4) UDP 5) SMTP 6) FTP 7) TFTP 8) TELNET 9) DNS 10) SNMP 11) HTTP 12) NNTP 13) HTTP 14) BOOTP 15) DHCP 9/20/2018

1) ไอพี(IP : Internet Protocol) 3.3 โครงสร้างของสถาปัตยกรรม TCP / IP 3.3.3 โพรโตคอลย่อยที่อยู่ใน TCP / IP 1) ไอพี(IP : Internet Protocol) ไอพีเป็นโพรโตคอลแกนของทีซีพี/ไอพี ทำหน้าที่กำหนดรูปแบบของแอดเดรสประจำเครื่องเพื่อใช้ในการลำเลียงข้อมูลจากเครื่องต้นทางไปยังเครื่องปลายทาง นอกจากนี้ยังทำหน้าที่เลือกเส้นทางส่งข้อมูลตลอดจนแบ่งขนาดข้อมูลให้เหมาะกับฮาร์ดแวร์ระดับล่าง 9/20/2018

2) ไอซีเอ็มพี (ICMP : Internet Control Massage Protocol ) 3.3 โครงสร้างของสถาปัตยกรรม TCP / IP 3.3.3 โพรโตคอลย่อยที่อยู่ใน TCP / IP 2) ไอซีเอ็มพี (ICMP : Internet Control Massage Protocol ) ICMP คือโปรแกรม Ping ที่ไว้ใช้สำหรับตรวจสอบว่าเครื่องคอมพิวเตอร์ใด ๆ ในเครือข่ายยังทำงานอยู่หรือไม่ โดยโปรแกรม Ping จะส่ง Message ไปที่เครื่องที่ต้องการตรวจสอบแล้วรอรับ Message ตอบกลับมาภายในเวลาที่กำหนด หากไม่มีอะไรตอบกลับมาก็จะถือว่าไม่สามารถติดต่อกับเครื่องนั้น ๆ ได้ ซึ่งอาจเป็นได้หลายสาเหตุ เช่นเครื่องไม่ได้เปิด หรือเครือข่ายมีปัญหา 9/20/2018

3) ทีซีพี (TCP : Transmission Control Protocol ) 3.3 โครงสร้างของสถาปัตยกรรม TCP / IP 3.3.3 โพรโตคอลย่อยที่อยู่ใน TCP / IP 3) ทีซีพี (TCP : Transmission Control Protocol ) ทีซีพีทำหน้าที่นำส่งข้อมูลโดยรับประกันความเชื่อถือ ทีซีพีด้านส่งต้องส่งแพ็กเกจซ้ำใหม่หากแพ็กเกจสูญหาย ทีซีพี ด้านรับมีหน้าที่จัดแพ็กเกจให้ถูกต้องตามลำดับและกำจัดแพ็กเกจซ้ำซ้อน ทีซีพีเป็นโพรโตคอลแบบ “Connection Oriented” 9/20/2018

4) ยูดีพี (UDP : User Datagram Protocol) 3.3 โครงสร้างของสถาปัตยกรรม TCP / IP 3.3.3 โพรโตคอลย่อยที่อยู่ใน TCP / IP 4) ยูดีพี (UDP : User Datagram Protocol) ยูดีพี ทำงานแบบ “Connectionless” เป็นโพรโตคอลระดับชั้นเดียวกับทีซีพีแต่ว่าไม่มีกลไกรับประกันความเชื่อถือในการขนถ่ายข้อมูล หากข้อมูลสูญหาย ซ้ำซ้อน หรือลำดับไม่ถูกต้อง ยูดีพีจะปล่อยให้โพรโตคอลที่เรียกใช้งานดำเนินการกับปัญหาเหล่านี้เอง ลักษณะเด่นของยูดีพี คือให้การประมวลผลต่ำกว่าทีซีพี เนื่องจากเฮดเดอร์มีขนาดเล็ก 9/20/2018

(SMTP : Simple Mail Transfer Protocol) 3.3 โครงสร้างของสถาปัตยกรรม TCP / IP 3.3.3 โพรโตคอลย่อยที่อยู่ใน TCP / IP 5) เอสเอ็มทีพี (SMTP : Simple Mail Transfer Protocol) บริการพื้นฐานที่มีในทุกเครือข่ายได้แก่บริการไปรษณีย์อิเลคทรอนิกส์ เอสเอ็มทีพีเป็นโพรโตคอลทำหน้าที่รับส่งจดหมายอิเลคทรอนิกส์ระหว่างโฮสต์ 9/20/2018

6) เอฟทีพี (FTP : File Transfer Protocol) 3.3 โครงสร้างของสถาปัตยกรรม TCP / IP 3.3.3 โพรโตคอลย่อยที่อยู่ใน TCP / IP 6) เอฟทีพี (FTP : File Transfer Protocol) เอฟทีพีให้บริการถ่ายโอนแฟ้มข้อมูลระหว่างเครื่อง เอฟทีพีช่วยให้ผู้ใช้เข้าถึงโฮสต์และจำกัดขอบเขตการทำงานเฉพาะที่เกี่ยวข้องกับแฟ้มข้อมูลเช่น สำเนาแฟ้ม ลบแฟ้ม แก้ไขแฟ้ม หรือการสร้างไดเรกทอรี เป็นต้น 9/20/2018

8) เทลเน็ต (TELNET : Telecommunication Network) 3.3 โครงสร้างของสถาปัตยกรรม TCP / IP 3.3.3 โพรโตคอลย่อยที่อยู่ใน TCP / IP 8) เทลเน็ต (TELNET : Telecommunication Network) เทลเน็ตเป็นโพรโตคอลสำหรับขอเข้าใช้งานแบบ รีโมตล็อกอิน (Remoth Login) เทลเน็ตให้บริการเข้าใช้คอมพิวเตอร์ในเครือข่ายโดยเสมือนกับว่ากำลังทำงานอยู่ที่เทอร์มินัลของคอมพิวเตอร์เครื่องนั้น เทลเน็ตเซอร์ฟเวอร์ที่คอมพิวเตอร์ปลายทางจะรอรับการขอบริการจากเทลเน็ตไคลเอ็นต์ ผู้ขอใช้เทลเน็ตจะต้องมีปัญชีประจำเครื่องให้บริการเทลเน็ต 9/20/2018

9) ดีเอ็นเอส (DNS : Domain Name System) 3.3 โครงสร้างของสถาปัตยกรรม TCP / IP 3.3.3 โพรโตคอลย่อยที่อยู่ใน TCP / IP 9) ดีเอ็นเอส (DNS : Domain Name System) ดีเอ็นเอสเป็นโพรโตคอลที่ให้บริการสอบถามไอพีแอดเดรสหรือโดเมน ก่อนการติดต่อไปยังโฮสต์ใด ๆ ชื่อโฮสต์จะถูกส่งไปสอบถามผ่านเซอร์ฟเวอร์ที่ให้บริการ ดีเอนเอสเพื่อขอไอพีแอดเดรสกลับมา นอกจากนี้ยังให้บริการเกี่ยวข้องกับฐานข้อมูลประจำเครื่อง 9/20/2018

(HTTP : Network News Transfer Protocol) 3.3 โครงสร้างของสถาปัตยกรรม TCP / IP 3.3.3 โพรโตคอลย่อยที่อยู่ใน TCP / IP 13) เอชทีทีพี (HTTP : Network News Transfer Protocol) เอชทีทีพีเป็นโพรโตคอลกำหนดการส่งข้อมูลระหว่างบราวเซอร์และเว็บเซอร์ฟเวอร์ในระบบเว็บและจัดเป็นโพรโตคอลหนึ่งที่ใช้แพร่หลายในอินเตอร์เน็ต 9/20/2018

14) บูตพี (BOOTP : Bootstrap Protocol) 3.3 โครงสร้างของสถาปัตยกรรม TCP / IP 3.3.3 โพรโตคอลย่อยที่อยู่ใน TCP / IP 14) บูตพี (BOOTP : Bootstrap Protocol) ให้บริการบูตระบบสำหรับสถานีที่ไม่มีดิสก์ สถานีที่เป็นบูตพีไคลเอ็นต์จะติดต่อกับบูตพีเซอร์ฟเวอร์เพื่อขอถ่ายโอนระบบปฏิบัติการ 9/20/2018

(DHCP : Dynamic Host Configuration Protocol) 3.3 โครงสร้างของสถาปัตยกรรม TCP / IP 3.3.3 โพรโตคอลย่อยที่อยู่ใน TCP / IP 15) ดีเอชซีพี (DHCP : Dynamic Host Configuration Protocol) ดีเอชซีพีบริการติดตั้งค่าแบบไดนามิกให้โฮสต์ในเครือข่าย การทำงานของดีเอชซีพีเป็นแบบไคลเอนต์-เซิร์ฟเวอร์ ดีเอชซีพีเซิร์ฟเวอร์จะให้ค่าแบบไม่ตายตัวกับไคลเอนต์ที่ขอบริการ เช่นการให้ไอพีแอดเดรส หรือค่าอื่นประจำไคลเอนต์ 9/20/2018

1) โปรเซสไคลเอ็นต์ ทำหน้าที่ขอบริการ 3.3 โครงสร้างของสถาปัตยกรรม TCP / IP 3.3. 5 TCP / IP ในรูปแบบ Client Server โพรโตคอลในทีซีพี/ไอพี อาศัยหลักการทำงานตามแบบ ไคลเอนต์-เซิร์ฟเวอร์ มีองค์ประกอบ 3 ส่วน 1) โปรเซสไคลเอ็นต์ ทำหน้าที่ขอบริการ 2) โปรเซสเซอร์เวอร ทำหน้าที่ให้บริการ 3)โพรโตคอลที่ใช้สื่อสารระหว่างไคลเอนต์และ เซิร์ฟเวอร์ 9/20/2018

3. 3 โครงสร้างของสถาปัตยกรรม TCP / IP. 3. 3 3.3 โครงสร้างของสถาปัตยกรรม TCP / IP 3.3. 5 TCP / IP ในรูปแบบ Client Server ระบบปฏิบัติการที่ใช้ทีซีพี/ไอพี สามารถทำงานแบบผู้ใช้หลายคนและพร้อมกันหลายงาน แต่ละไคลเอ็นต์จึงอาจเป็นโปรเซสของผู้ใช้ต่างบุคคลที่ทำงานภายในเครื่องเดียวกันและขอบริการไปยังเซอร์ฟเวอร์ต่างเครื่อง หรือเครื่องเดียว์ก็ได้ 9/20/2018

3. 3 โครงสร้างของสถาปัตยกรรม TCP / IP. 3. 3 3.3 โครงสร้างของสถาปัตยกรรม TCP / IP 3.3. 5 TCP / IP ในรูปแบบ Client Server ในขณะที่คอมพิวเตอร์แต่ละเครื่องตามแบบของทีซีพี/ไอพี สามารถทำหน้าที่เป็นไคลเอนต์เพื่อขอบริการจากเครื่องอื่น หรือทำหน้าที่เป็นเซอร์ฟเวอร์เพื่อให้บริการเครื่องอื่นได้ 9/20/2018

3.4 ไอพีแอดเดรส (IP - Address) 3.4.1 Netid & Hostid อุปกรณ์ที่เชื่อมเข้าเครือข่าย และสามารถทำงานตามข้อกำหนดของทีซีพี/ไอพี จะต้องมีแอดเดรสประจำอุปกรณ์นั้น อุปกรณ์ที่กล่าวถึงนี้อาจเป็น โฮสต์ เราเตอร์ หรือ เครื่องพิมพ์ ไอพีรุ่นสี่กำหนดให้ใช้ไอพีแอดเดรสขนาด 32 บิต อุปกรณ์ที่เชื่อมกับอินเตอร์เน็ตจะมีไอพีแอดเดรสประจำ Interface ที่ไม่ซ้ำกัน 9/20/2018

3.4 ไอพีแอดเดรส (IP - Address) 3.4.1 Netid & Hostid แอดเดรสขนาด 32 บิตมีเท่ากับ 232 = (4,294,967,296) แต่เมื่อนำมาจัดสรรแล้วจะไม่สามารถใช้งานได้ครบทั้งหมด ไอพีแอดเดรสนิยมเขียนในรูปเลขฐานสิบตามแบบ “Dotted Decimal” โดยแบ่งตัวเลข 32 บิตออกเป็น 4 ไบต์แทนด้วยเลขฐานสิบหนึ่งตัวและคั่นแต่ละไบต์ใช้ด้วยเครื่องหมายจุด เช่นแอดเดรส 10011110 01101100 00000010 00000001 จะเขียนได้เป็น 158.108.2.1 9/20/2018

3.4 ไอพีแอดเดรส (IP - Address) 3.4.1 Netid & Hostid แอดเดรสขนาด 32 บิต ประกอบขึ้นจากหมายเลขสองส่วนคือ เลขเครือข่าย (Network Number หรือ Network Identifier หรือ netid) และเลขโฮสต์ (Host Number หรือ host identifier หรือ hostid) เลขเครือข่ายใช้สำหรับจัดคลาสเครือข่าย ส่วนเลขโฮสต์ใช้ระบุหมายเลขโฮสต์ (หรืออีกนัยหนึ่งคือ Interface ของโฮสต์) 9/20/2018

3.4 ไอพีแอดเดรส (IP - Address) 3.4.1 Netid & Hostid 32 bit Netid Hostid 9/20/2018

3.4 ไอพีแอดเดรส (IP - Address) 3.4.1 Netid & Hostid ปัจจุบันฟิลด์กำหนดเลขเครือข่ายนิยมเรียกว่า พรีฟิกซ์เครือข่าย (Network-prefix) เพราะทุกโฮสต์ในเครือข่ายจะต้องมีพรีฟิกซ์หรือบิตนำหน้าเหมือนกัน ตัวอย่างเช่นหากมีเลขเครือข่ายจำนวน 16 บิตก็จะเรียกว่า พรีฟิกซ์ 16 เป็นต้น กล่าวคือ พรีฟิกซ์ก็คือ Netid นั่นเอง 9/20/2018

3.4 ไอพีแอดเดรส (IP - Address) 3.4.1 Netid & Hostid การจัดแบ่งไอพีแอดเดรสออกเป็นสองส่วนที่ประกอบด้วยเลขเครือข่ายและเลขโฮสต์ก็เพื่อประโยชน์ในการดูแลระบบ เราเตอร์จะอาศัยเลขเครือข่ายเพื่อเลือกเส้นทางส่งแพ็กเก็ตโดย โฮสต์ที่มีเลขเครือข่ายชุดเดียวกันก็จะส่งข้อมูลในเครือข่ายเดียวกันและสามารถสื่อสารถึงกันโดยใช้เฟรมดาต้าลิงค์โดยไม่ต้องพึ่งพาเราเตอร์ แต่ถ้ามีเลขเครือข่ายคนละชุดก็ต้องอาศัย Router เพื่อทำหน้าที่ในการส่งแพ็กเกจไปยังปลายทาง 9/20/2018

3.4 ไอพีแอดเดรส (IP - Address) 3.4.1 Netid & Hostid 9/20/2018

3.4 ไอพีแอดเดรส (IP - Address) 3.4.2 Class ของเครือข่าย Protocol TCP/IP เป็น Protocol สำหรับเครือข่ายแบบ internetwork ทุก Network ที่มาเชื่อมต่อเข้าด้วยกันจำเป็นต้องมี Netid ไม่ซ้ำกัน จึงต้องมีองค์กรที่ทำหน้าที่กำหนดว่าองค์กรใดหรือบริษัทใดควรจะได้กลุ่มของ IP ประเภทใดไปใช้งาน ซึ่งเรียกว่า “Class” NIC ได้แบ่ง Class ของ IP Address ออกเป็น 5 Class ด้วยกันคือ A,B,C,D และ E 9/20/2018

3.4 ไอพีแอดเดรส (IP - Address) 3.4.2 Class ของเครือข่าย รูปที่ 3.9 9/20/2018

3.4 ไอพีแอดเดรส (IP - Address) 3.4.2 Class ของเครือข่าย จำนวนเครือข่ายในแต่ละคลาสและจำนวนโฮสต์สูงสุด สามารถคำควณได้จากจำนวนบิตที่ใช้งานตามสูตร 2n เมื่อ n คือจำนวนบิต ตัวอย่างเช่นในคลาส B มีเลขโฮสต์จำนวน 16 บิต จึงมีโฮสต์ได้ไม่เกิน 216 ซึ่งเท่ากับ 65,536 แต่เลขโฮสต์ที่ทุกบิตเป็น “0” และเป็น “1” จะสงวนไว้ใช้งานเฉพาะกรณี จำนวนโฮสต์จึงลดลงไป 2 โฮสต์ทุกเครือข่าย หรือมีโฮสต์ได้ไม่เกิน 216 - 2 = 65,534 นั่นเอง 9/20/2018

3.4 ไอพีแอดเดรส (IP - Address) 3.4.2 Class ของเครือข่าย (Class A) เครือข่ายในคลาส A มีบิตซ้ายสุดเป็น 0 และใช้ 7 บิตถัดมากำหนดเลขเครือข่ายส่วนอีก 24 เป็นเลขโฮสต์ คลาส A จึงมีเลขเครือข่ายได้ 27 หรือ 128 ค่า แต่เครือข่าย 0.0.0.0 กำหนดเส้นทางโดยปริยาย (Default Route) ส่วน 127.0.0.0 เป็นแอดเดรส ลูปแบ็ค จำนวนเครือข่ายที่สังกัดในคลาส A จึงมีได้ 126 เครือข่าย คือเลขที่ขึ้นต้นด้วย1.0.0.0 ถึง 126.0.0.0 9/20/2018

3.4 ไอพีแอดเดรส (IP - Address) 3.4.2 Class ของเครือข่าย (Class A) Bit ที่ 1-8 จะเป็น Network Address (netid) โดยที่ Bit ที่ 1 ต้องเป็นเลข “0” Class A จะมี Network ได้ 27 =128 วง 1 วงจะมี Host ได้ 224 ตัว Bit ที่ 9-32 จะเป็น Host Address (Hostid) เช่น IP Address 00001010 00000000 00000000 00000000 = 10.0.0.0 Netid 10, Hostid 0.0.0 ดังนั้น Class A จะมี Netid ตั้งแต่ 0-127 9/20/2018

3.4 ไอพีแอดเดรส (IP - Address) 3.4.2 Class ของเครือข่าย (Class A) เครือข่ายในคลาส A จะมีแอดเดรสได้ 224– 2 = 16,777,214 คือตั้งแต่ 0.0.1 ถึง 255.255.254 เครือข่ายในคลาส A ใช้กับหน่วยงานขนาดใหญ่ที่ต้องแอดเดรสเป็นจำนวนมาก เครือข่ายคลาสนี้จัดสรรให้กับหน่วยงานในยุคแรกเริ่มของอินเตอร์เน็ต แอดเดรสเครือข่ายที่เหลืออยู่ส่วนใหญ่จะสงวนไว้ ตัวอย่างเช่น 9.0.0.1.1 ibm.com 15.0.0.1.1 hp.com 9/20/2018

3.4 ไอพีแอดเดรส (IP - Address) 3.4.2 Class ของเครือข่าย (Class B) เครือข่ายในคลาส B มีบิตแรกเริ่มเป็น 10 และใช้ 14 บิตถัดมากำหนดเลขเครือข่ายจำนวนบิตที่กำหนดเลขโฮสต์มีขนาด 16 บิต คลาส B จึงมีสมาชิกเครือข่ายได้ 214 –2 หรือ 16,382 คือตั้งแต่ 128.1.0.0 ถึง 191.254.0.0 แต่ละเครือข่ายมีเลขโฮสต์ได้ 216– 2 = 65,354 แอดเดรส หรือตั้งแต่ 0.1 ถึง 255.254 9/20/2018

3.4 ไอพีแอดเดรส (IP - Address) 3.4.2 Class ของเครือข่าย (Class B) Bit ที่ 1-16 จะเป็น Network Address (Netid) โดยที่ Bit ที่ 1-2 ต้องเป็นเลข “10” Class B จะมี Network ได้ 214 วง ใน1 วงจะมี Host ได้ 216 ตัว Bit ที่ 17-32 จะเป็น Host Address (Hostid) เช่น IP Address 10000000 00000011 00000010 00000011 = 128.3.2.3 Netid 128.3, Hostid 2.3 ดังนั้น Class B จะมี Netid ตั้งแต่ 128-191 9/20/2018

3.4 ไอพีแอดเดรส (IP - Address) 3.4.2 Class ของเครือข่าย (Class B) เครือข่ายในคลาส B มักจัดสรรให้กับหน่วยงานขนาดกลาง ในปัจจุบันทีเครือข่ายในคลาส B เหลือไม่มากนัก และมักไม่จัดสรรเครือข่ายในคลาสนี้ให้กับผู้ขอจดทะเบียนรายใหม่ หากไม่มีความจำเป็นอย่างแท้จริง ตัวอย่างเช่น 129.123.0.0 usu.edu 130.149.0.0 tu-berlin.de 9/20/2018

3.4 ไอพีแอดเดรส (IP - Address) 3.4.2 Class ของเครือข่าย (Class C) เครือข่ายในคลาส C มี พรีฟิกซ์ 110 และใช้ 21 บิตถัดมาเป็นเลขเครือข่าย จำนวนบิตที่เป็นเลขโฮสต์มีเพียง 8 บิต คลาส C จึงมีเลขเครือข่ายได้ตั้งแต่ 192.0.1.0 ถึง 233.255.254.0 รวม 2,097,150 เครือข่าย แต่ละเครือข่ายมีเลขโฮสต์ได้ตั้งแต่ 1 ถึง 254 9/20/2018

3.4 ไอพีแอดเดรส (IP - Address) 3.4.2 Class ของเครือข่าย (Class C) Bit ที่ 1-24 จะเป็น Network Address (Netid) โดยที่ Bit ที่ 1-3 ต้องเป็นเลข “110” Class B จะมีNetwork ได้ 221 วง ใน1วงจะมี Host ได้ 28 ตัว Bit ที่ 25-32 จะเป็น Host Address (Hostid) เช่น IP Address 11000000 00000000 00000001 11111111 = 129.0.1.255 Netid 129.0.1, Hostid 255 ดังนั้น Class C จะมี Netid ตั้งแต่ 129 เป็นต้นไป 9/20/2018

3.4 ไอพีแอดเดรส (IP - Address) 3.4.2 Class ของเครือข่าย (Class C) 198.6.250.1 isoc.org 198.137.240.1 whitehouse.gov 9/20/2018

3.4 ไอพีแอดเดรส (IP - Address) 3.4.2 Class ของเครือข่าย (Class D & E) เครือข่ายในคลาส D และ E ไม่มีการจัดแบ่งเลขเครือข่ายและเลขโฮสต์ คลาส D โดยมี 3 บิตแรกเป็น 111 จึงมีแอดเดรสตั้งแต่ 244.0.0.0 ถึง 239.255.255.255 แอดเดรสในคลาสนี้เรียกว่า มัลติคาสต์แอดเดรส (Multicast Address) สำหรับคลาส E มีแอดเดรสจาก 240.0.0.0 ถึง 254.255.255.255 ซึ่งสำรองไว้เพื่อความจำเป็นเฉพาะงานในอนาคต 9/20/2018

3.5 การแบ่งเครือข่ายย่อย (Subnet) เครือข่ายที่สังกัดในคลาส A และ B เป็นเครือข่ายที่มีจำนวนโฮสต์ได้เป็นจำนวนมาก คือ 16,777,214 และ 65,534 ตามลำดับ ในทางปฏิบัติ ไม่สามารถเชื่อมต่อโฮสต์ได้ทั้งหมดในเครือข่ายเดี่ยวเพราะข้อจำกัดทางฮาร์ดแวร์ จึงต้องจัดแบ่งเครือข่ายขนาดใหญ่ให้เล็กลงไปเป็นเครือข่ายย่อย หรือ ซับเน็ต (Subnet) การแบ่งซับเน็ต ซึ่งจะจัดจำนวนโฮสต์ให้เหมาะสมกับฮาร์แวร์ของเครือข่ายและง่ายในการบริหารเครือข่าย 9/20/2018

3.5 การแบ่งเครือข่ายย่อย (Subnet) การจัดซับเน็ต [RFC 950] ใช้วิธีแบ่งบางส่วนของเลขโฮสต์มาใช้เป็น เลขซับเน็ต (Subnetid) เพื่อช่วยกำหนดว่าเป็นเครือข่ายย่อยที่เท่าใด ตัวอย่างเช่นเครือข่าย 158.108.0.0 ซึ่งอยู่ในคลาส B อาจใช้ 8 บิตแรกของโฮสต์เป็นเลขซับเน็ต และ 8 บิตที่เหลือใช้สำหรับเลขโฮสต์ 9/20/2018

3.5 การแบ่งเครือข่ายย่อย (Subnet) 16 bit 8 bit 8 bit 158.108. Subnetid Hostid 9/20/2018

3.5 การแบ่งเครือข่ายย่อย (Subnet) จำนวนบิตของเลขซับเน็ตเป็นตัวกำหนดจำนวนเครือข่ายย่อย ซับเน็ตขนาด 8 บิต สำหรับเครือข่าย 158.1050.0. จะมี 254 ซับเน็ต (2subnetid -2) แต่ละซับเน็ตมี 254 โฮสต์ (2hostid -2) เลขซับเน็ต ที่ทุกบิตเป็น “1” และ ”0” จะสงวนไว้ใช้งานเฉพาะ ดังนั้นซับเน็ต 158.108.0.0 และ 158.108.255.0 จึงนำมาใช้ไม่ได้ 9/20/2018

3.5 การแบ่งเครือข่ายย่อย (Subnet) 3.5.1 Subnet Mask เมื่อเลือกขนาดซับเน็ตแล้วจะกำหนดพารามิเตอร์เพื่อใช้บอกให้โฮสต์และเราเตอร์ทราบว่าซับเน็ตที่ใช้งานมีขนาดกี่บิต ค่านี้เรียกว่า ซับเน็ตมารสค์ (Subnet mask) ซึ่งตัวเลข 32 บิต ซึ่งเขียนอยู่ในรูป Dotted-Decimal เช่นเดียวกับการเขียนไอพีแอดเดรส จะมีบิตที่ตรงกับเครือข่ายและเลขซับเน็ตเท่ากับ “1” ส่วนบิตที่ตรงกับกับเลขโฮสต์มีค่าเท่ากับ “0” การเลือกซับเน็ตมาสค์ควรใช้ค่าที่มีบิต “1” อยู่ติดกันจากทางซ้ายมือไปทางขวามือเสมอ 9/20/2018

3.5 การแบ่งเครือข่ายย่อย (Subnet) 3.5.1 Subnet Mask เช่นเครือข่าย 158.108.0.0 ซึ่งแบ่งให้มีเลขซับเน็ตและเลขโฮสต์อย่างละ 8 บิตจะมีค่าซับเน็ตมาสค์เท่ากับ 255.255.255.0 ค่านี้คำนวณได้จากการเขียนไอพีแอดเดรสทั้งสี่หลัก และใส่เลขฐานสองค่า “1” ให้ครบทุกบิตที่เป็นเลขเครือข่ายและเลขซับเน็ต จากนั้นได้ใส่ค่า “0” สำหรับเลขโฮสต์ แล้วจึงแปลงเลขฐานสองที่ได้เป็นเลขฐานสิบ 9/20/2018

3.5 การแบ่งเครือข่ายย่อย (Subnet) 3.5.1 Subnet Mask 158 108 Subnetid Hostid 11111111 11111111 11111111 00000000 255 255 255 0 9/20/2018

3.5 การแบ่งเครือข่ายย่อย (Subnet) 3.5.1 Subnet Mask เครือข่าย 158.108.0.0 ซึ่งใช้ซับเน็ตมาสค์เท่ากับ 255.255.255.0 เรียกว่ามีซับเน็ตมาสค์ 24 บิต เนื่องจากมีบิตที่มีค่า “1” จำนวน 24 บิต หรือเขียนตามรูปแบบที่นิยมใช้ในปัจจุบันคือ 158.108.0.0/24 โดยเรียกว่าเครือข่าย 158.108.0.0 มีพรีฟิกซ์ (Prefix) 24 บิต สังเกตว่า 158.108.0.0/24 ใช้เลขซับเน็ตจำนวน 8 บิต ดังนั้นนอกจากจะเรียกว่ามีพรีฟิกซ์ 24 บิตแล้ว ยังเรียกได้อีกว่าใช้ซับเน็ตบิตจำนวน 8 บิต 9/20/2018

3.5 การแบ่งเครือข่ายย่อย (Subnet) Question 1 ถ้าใช้ IP 145.205. โดยต้องการใช้เครือข่ายย่อยจำนวน 50 เครือข่าย อยากทราบว่า 1) IP ที่ใช้งาน อยู่ใน Class ใด 2) ต้องใช้ Subnet จำนวนกี่บิต 3) จะต้องแบ่งออกเป็นกี่ Subnet 4) จำนวนเครื่องที่ใช้งานจริงต่อ 1 Subnet 5) SubNet Mask ฐาน 2 และ ฐาน 10 6) เขียน IP ในรูป Prefix 9/20/2018

3.5 การแบ่งเครือข่ายย่อย (Subnet) Question 2 หากใช้หมายเลข IP 198.205.254.0 / 28 อยากทราบว่า 1) IP ดังกล่าวอยู่ใน Class ใด 2) มีกี่ SubNet 3) SubNet ละกี่เครื่อง 4) SubNet Mask มีค่าเป็นอะไร 9/20/2018

3.5 การแบ่งเครือข่ายย่อย (Subnet) Answer 1 1) IP ที่ใช้งาน อยู่ใน Class B 2) ต้องใช้ SubNet 6 บิต 3) จะต้องแบ่งออกเป็นกี่ 62 SubNet 4) เครื่องที่ใช้งานจริงต่อ 1 SubNet = 1022 เครื่อง 5) SubNet Mask ฐาน 2 และ ฐาน 10 11111111.11111111.11111100.00000000 255.255.252.0 6) เขียน IP ในรูป Prefix 145.205.0.0 / 22 9/20/2018

3.5 การแบ่งเครือข่ายย่อย (Subnet) Answer 2 1) IP ดังกล่าวอยู่ใน Class C 2) มี SubNet 14 SubNet 3) SubNet ละ 14 เครื่อง 4) SubNet Mask มีค่าเป็น 11111111.11111111.11111111.11110000 255.255.255.240 9/20/2018

3.5 การแบ่งเครือข่ายย่อย (Subnet) 3.5.2 Default SubNet Mask การติดตั้งโฮสต์เข้าเครือข่ายนอกจากจะต้องกำหนดไอพีแอดเดรสแล้วต้องกำหนดค่าซับเน็ตมาสค์ตามที่ผู้ดูแลระบบกำหนดไว้ด้วย ถึงแม้ว่าในบางเครือข่าย เช่นเครือข่ายในคลาส C ซึ่งมีโฮสต์ได้ 254 โฮสต์และไม่ได้แบ่งให้มีซับเน็ต ขั้นตอนการติดตั้งโฮสต์ยังจำเป็นต้องใส่ค่าซับเน็ตมาสค์เช่นกัน แต่ค่าซับเน็ตมาสค์นี้เรียกว่า ดีฟอลต์ซับเน็ตมาสค์ (Default Subnet Mask) 9/20/2018

3.5 การแบ่งเครือข่ายย่อย (Subnet) 3.5.2 Default SubNet Mask Class Default SubNet Default SubNetMask (Bin) Mask A 255.0.0.0 11111111.00000000.00000000.00000000 B 255.255.0.0 11111111.11111111.00000000.00000000 C 255.255.255.0 11111111.11111111.11111111.00000000 9/20/2018

3.5 การแบ่งเครือข่ายย่อย (Subnet) 3.5.2 การเลือกเส้นทางใน SubNet ซับเน็ตมาสค์นอกจากจะช่วยจัดแบ่งเครือข่ายย่อยแล้ว ยังมีประโยชน์ในการเลือกเส้นทางส่งไอพีเดต้าแกรมระหว่างเครือข่ายย่อยด้วย เช่นโฮสต์ 158.108.33.2 ในเครือข่าย 158.108.0.0/24 ต้องการส่งข้อมูลไปยังโฮสต์ 158.108.33.60 โพรโตคอลไอพีจะทำหน้าที่เลือกเส้นทางโดยนำแอดเดรส 158.108.33.2 และ 158.108.33.60 มาผ่านลอจิก “AND” บิตต่อบิตกับค่าซับเน็ตมาสค์ 9/20/2018

3.5 การแบ่งเครือข่ายย่อย (Subnet) 3.5.2 การเลือกเส้นทางใน SubNet 9/20/2018

3.5 การแบ่งเครือข่ายย่อย (Subnet) 3.5.2 Default SubNet Mask การใช้ลอจิก “AND” เป็นการใช้ซับเน็ตมาสค์เพื่อ “มาสค์” ให้ได้เฉพาะเลขเครือข่าย ค่าซับเน็ตมาสค์จึงเป็นเสมือนหน้ากาก ครอบเอาเลขเครือข่ายออกมา ในกรณีที่โฮสต์ปลายทางอยู่ต่างเครือข่ายกับโฮสต์ปลายทางคือ 158.108.33.2 จะสรุปว่า 158.108.40.0 อยู่ต่างซับเน็ต และจะส่งแพ็กเกจไปยังเราเตอร์เพื่อให้เราเตอร์นำส่งแพ็กเกจต่อไป 9/20/2018

3.5 การแบ่งเครือข่ายย่อย (Subnet) 3.5.3 การเลือกขนาด SubNet 9/20/2018

3.5 การแบ่งเครือข่ายย่อย (Subnet) 3.5.3 การเลือกขนาด SubNet การแบ่งให้มีซับเน็ตมากต้องใช้ Interface มากขึ้นดังอย่างเช่นแอดเดรส 194.1.1.0 ในเครือข่ายคลาส C ที่ไม่มีซับเน็ต หือมีเครือข่ายเดียวสามารถเลือกเครือข่ายที่เชื่อมโยงกันด้วยฮับหรือสวิตช์ 9/20/2018

3.5 การแบ่งเครือข่ายย่อย (Subnet) 3.5.3 การเลือกขนาด SubNet หากใน Network มี 2 ซับเน็ตจำเป็นต้องใช้ Interface ของเราเตอร์อย่างน้อย 2 Interface 9/20/2018

3.5 การแบ่งเครือข่ายย่อย (Subnet) 3.5.3 การเลือกขนาด SubNet สำหรับกรณีที่แบ่งออกเป็น 6 ซับเน็ตก็ต้องมีอย่างน้อย 6 Interface 9/20/2018

3.5 การแบ่งเครือข่ายย่อย (Subnet) Question 3 อยากทราบว่า IP ในกลุ่ม 198.205.254.0 / 28 ได้แก่ 198.205.254.25 198.205.254.145 และ 198.205.254.159 อยู่ใน SubNet เดียวกันหรือไม่โดยใช้หลักการเลือกเส้นทางของ Subnet 9/20/2018

3.5 การแบ่งเครือข่ายย่อย (Subnet) Answer IP ในกลุ่ม 198.205.254.0 / 28 อยู่ใน Class C ซึ่งมี SubNet Mask คือ 11111111.1111111.11111111.11110000 255.255.255.240 9/20/2018

3.5 การแบ่งเครือข่ายย่อย (Subnet) Answer ดังนั้น 198.205.254.25 นำมา AND กับ SubNet Mask จะได้ค่าดังนี้ 11000110.11001101.11111110.00011001 11111111.1111111 .11111111.11110000 11000110.11001101.11111110.00010000 = 198.205.254.16 9/20/2018

3.5 การแบ่งเครือข่ายย่อย (Subnet) Answer ดังนั้น 198.205.254.145 นำมา AND กับ SubNet Mask จะได้ค่าดังนี้ 11000110.11001101.11111110.10010001 11111111.1111111 .11111111.11110000 11000110.11001101.11111110.10010000 = 198.205.254.144 9/20/2018

3.5 การแบ่งเครือข่ายย่อย (Subnet) Answer ดังนั้น 198.205.254.159 นำมา AND กับ SubNet Mask จะได้ค่าดังนี้ 11000110.11001101.11111110.10011111 11111111.1111111 .11111111.11110000 11000110.11001101.11111110.10010000 = 198.205.254.144 9/20/2018

3.5 การแบ่งเครือข่ายย่อย (Subnet) Answer ดังนั้น สรุปได้ว่า 198.205.254.145 และ 198.205.254.159 อยู่ใน SubNet เดียวกัน เนื่องจากผล AND จาก SubNet Mask ได้ค่าตรงกัน แต่หมายเลข 192.205.254.25 อยู่ต่าง SubNet 9/20/2018

3.6 การเลือกเส้นทาง การเลือกเส้นทางเป็นกระบวนการที่เกิดขึ้นในระดับชั้นที่ 3 หรือระดับเน็ตเวิร์ก ของแบบจำลอง ทีซีพี/ไอพี ซอฟต์แวร์ไอพีที่อยู่ในโฮสต์หรือเราเตอร์จะนำส่งเดต้าแกรม ไปตามเส้นทางโดยอาศัยเลขเครือข่ายของไอพีแอดเดรสตามแต่ละคลาส 9/20/2018

3.6 การเลือกเส้นทาง - สถานีส่งต้องรู้ถึงวิธีการนำเดต้าแกรมให้เราเตอร์ กระบวนการเลือกหาเส้นทางจะเกิดขึ้นทั้งที่สถานีและที่เราเตอร์ดังนี้คือ - สถานีส่งต้องรู้ถึงวิธีการนำเดต้าแกรมให้เราเตอร์ - เราเตอร์ต้องรู้เส้นทางเชื่อมโยงไปยังเราเตอร์ตัวอื่น เพื่อส่งเดต้าแกรมไปตามเส้นทางที่เหมาะสมที่สุด - เราเตอร์ที่เชื่อมกับเครือข่ายของสถานีปลายทางจะ ต้องรู้ถึงวิธีส่งเดต้าแกรมไปยังสถานีปลายทาง 9/20/2018

3.6 การเลือกเส้นทาง หลักการเลือกเส้นทาง 3.6 การเลือกเส้นทาง หลักการเลือกเส้นทาง สถานีต้นทางจะใช้วิธีเปรียบเทียบเลขเครือข่ายของแอดเดรสปลายทางกับค่าซับเน็ตมาสค์ก่อน หากได้เลขเครือข่ายเหมือนกัน แสดงว่าสถานีปลายทางอยู่ในเครือข่ายเดียวกัน สถานีต้นทางจะใช้เออาร์พีสอบถามฮาร์ดแวร์แอดเดรส และบรรจุฮาร์แวร์แอดเดรสเข้าสู่เฟรมดาต้าลิงค์เพื่อส่งตรงไปยังสถานีปลายทาง 9/20/2018

3.6 การเลือกเส้นทาง หลักการเลือกเส้นทาง 3.6 การเลือกเส้นทาง หลักการเลือกเส้นทาง ถ้าเลขเครือข่ายมีค่าต่างกัน แสดงว่าสถานีปลายทางอยู่ต่างเครือข่ายกัน สถานีส่งก็จะส่งเฟรมไปให้เราเตอร์เพื่อให้เราเตอร์นำส่งต่อไป เมื่อเราเตอร์ได้รับเฟรมนี้ก็จะส่งต่อไปเรื่อยๆ จนกว่าจะถึงปลายทาง ไอพีแอดเดรสต้นทางและปลายทางในไอพีเดต้าแกรม จะไม่เปลี่ยนแปลงค่าระหว่างการลำเลียง แต่ฮาร์แวร์แอดเดรสจะเปลี่ยนแปลงไปตามเครือข่าย 9/20/2018

3.6 การเลือกเส้นทาง 3.6.1 ตารางเส้นทาง (Routing Table) 9/20/2018

3.6 การเลือกเส้นทาง 3.6.1 ตารางเส้นทาง (Routing Table) แอดเดรสที่ทำหน้าที่เป็นช่องทางออกไปสู่เครือข่ายอื่นที่ไม่ได้ระบุในตารางเส้นทางเรียกว่า ดีฟอลต์เกตเวย์ (Default Gateway) หรือ ดีฟอลต์เราเตอร์ (Default Router) ซึ่งแทนด้วแอดเดรส 0.0.0.0 ไอพีเลือกเส้นทางโดยตรวจสอบว่าแอดเดรสปลายทางตรงกับรายการใดในตาราง แล้วส่งเดต้าแกรมไปยังเกตเวย์ของรายการนั้น หากไม่พบรายการใดในตารางก็จะส่งไปยังดีฟอลต์เกตเวย์ 9/20/2018

3.6 การเลือกเส้นทาง 3.6.1 ตารางเส้นทาง (Routing Table) สำหรับ NOS โดยทั่วไปสามารถตรวจสอบตารางเส้นทางและ default Gateway ได้ เช่น ระบบปฎิบัติการยูนิกซ์ สามารถตรวจเส้นทางประจำ host ด้วยคำสั่ง netstat -rn เป็นต้น 9/20/2018

3.6 การเลือกเส้นทาง 3.6.2 ประเภทการเลือกเส้นทาง เมื่อเดต้าแกรมเดินทางออกนอกเครือข่าย ซึ่งอาจต้องผ่านเราเตอร์จำนวนมากโดยมีเส้นทางลำเลียงได้หลายเส้นทาง ปัญหาสำคัญคือ เราเตอร์จะทราบได้อย่างไรว่ามีเส้นทางใดบ้างและเส้นทางใดที่เหมาะสมที่สุด โดยที่เราเตอร์จำเป็นต้องมีข้อมูลเพื่อตัดสินใจในการส่งเดต้าแกรมได้อย่างถูกต้องโดยที่ข้อมูลดังกล่าวจะเรียกว่า “ตารางเส้นทาง” 9/20/2018

3.6 การเลือกเส้นทาง 3.6.2 ประเภทการเลือกเส้นทาง ตารางเลือกเส้นทาง ต้องสร้างขึ้นโดยอาศัยวิธีการที่ใช้อยู่โดยทั่วไป 2 วิธีคือ 1) การเลือกเส้นทางแบบสเตติก (Static Routing) 2) การเลือกเส้นทางแบบไดนามิก (Dynamic Routing) 9/20/2018

3.6 การเลือกเส้นทาง 3.6.2.1 การเลือกเส้นทางแบบสเตติก การเลือกเส้นทางแบบนี้ผู้ดูแลระบบเป็นผู้พิจารณาและคำนวณหาเส้นทางทั้งหมดที่ต้องกำหนดให้เราเตอร์ทุกตัวในเครือข่ายที่ดูแลอยู่ และป้อนตารางเส้นทางให้กับเราเตอร์ตารางเลือกเส้นทางจะมีค่าตายตัวไปตลอดจนกว่าผู้ดูและระบบจะเปลี่ยนแปลงใหม่ 9/20/2018

3.6 การเลือกเส้นทาง 3.6.2.1 การเลือกเส้นทางแบบสเตติก ข้อดีของการเลือกเส้นทางแบบสเตติก - สะดวกต่อการใช้งานกับเครือข่ายขนาดเล็ก - ไม่ต้องใช้ซอฟต์แวร์เลือกเส้นทาง เราเตอร์ไม่จำเป็น ต้องมีซีพียู ที่มีประสิทธิภาพสูง - ประหยัดแบนด์วิดธ์ของเครือข่ายเนื่องจากไม่ต้อง แลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่างเราเตอร์ 9/20/2018

3.6 การเลือกเส้นทาง 3.6.2.1 การเลือกเส้นทางแบบสเตติก 9/20/2018

3.6 การเลือกเส้นทาง 3.6.2.1 การเลือกเส้นทางแบบสเตติก การเลือกเส้นทางแบบสเตติกนิยมใช้กับการเชื่อมโยงแบบจุดต่อจุดระหว่างเราเตอร์สองตัว ตัวอย่างเช่นเครือข่ายที่มีทางออกไปสู่ภายนอกหรืออินเตอร์เน็ตเพียงช่องทางเดียว การกำหนดเส้นทาง จะเป็นแบบสเตติก 9/20/2018

3.6 การเลือกเส้นทาง 3.6.2.1 การเลือกเส้นทางแบบสเตติก ข้อเสียของการเลือกเส้นทางแบบสเตติก - ไม่เหมาะกับเครือข่ายขนาดใหญ่ การคำนวณและ ป้อนค่าเข้าสู่เราเตอร์โดยตรงเป็นสิ่งที่เกินวิสัย - ไม่สะดวกต่อการเปลี่ยนโทโปโลยี เพราะต้องคำนวณและป้อนเส้นทางใหม่ - ตารางเส้นทางคงที่ ไม่สามารถเปลี่ยนแปลงเองได้ หากเส้นทางใดถูกตัวขาด ผู้ดูแลระบบต้องคอยตรวจสอบและแก้ปัญหาเอง 9/20/2018

3.6 การเลือกเส้นทาง 3.6.2.1 การเลือกเส้นทางแบบไดนามิก การเลือกเส้นทางแบบนี้ใช้ซอฟต์แวร์ทำหน้าที่แลกเปลี่ยนข้อมูลการเลือกเส้นทางระหว่างเราเตอร์ด้วยกันโดยใช้ โพรโตคอลเลือกเส้นทาง (Routing Protocol) เราเตอร์จะสร้างตารางเลือกเส้นทางจากสภาพเครือข่ายขณะนั้น หากเครือข่ายเปลี่ยนแปลงไป ตารางเลือกเส้นทางจะเปลี่ยนไปด้วย ซึ่งลักษณะการทำงานแบบนี้จะต้องใช้ CPU ในเราเตอร์และซอฟต์แวร์ที่ทำงานตามโพรโตคอลช่วยสร้างเส้นทาง 9/20/2018

3.6 การเลือกเส้นทาง 3.6.2.1 การเลือกเส้นทางแบบไดนามิก ข้อดีของการเลือกเส้นทางแบบไดนามิก คือ - รองรับขนาดเครือข่ายที่ขยายขึ้น - ตารางเส้นทางเปลี่ยนแปลงค่าเองตามการ ทำงานของซอฟต์แวร์ เส้นทางใดที่ถูกตัดขาดจะมีการหาเส้นทางใหม่ทดแทน 9/20/2018

3.6 การเลือกเส้นทาง 3.6.2.1 การเลือกเส้นทางแบบไดนามิก โพรโตคอลเลือกเส้นทางแบบไดนามิก สามารถจัดแยกประเภทได้หลายรูปแบบในที่นี้จะกล่าวเพียงสองรูปแบบเท่านั้นคือ 1) โพรโตคอลเกตเวย์ภายนอกและเกตเวย์ภายใน 2) โพรโตคอลดิสแทนซ์เวกเตอร์และลิงค์สเทต 9/20/2018

3.6 การเลือกเส้นทาง โพรโตคอลเกตเวย์ภายนอกและภายใน 3.6 การเลือกเส้นทาง โพรโตคอลเกตเวย์ภายนอกและภายใน โพรโตคอลในชุดนี้จะมองในแง่ของโพรโตคอลในการสื่อสารจริง ซึ่งออกแบ่งเป็น 2 ประเภท คือ โพรโตคอลเกตเวย์ภายใน (interior gateway protocol) โพรโตคอลเกตเวย์ภายนอก (exterior gateway protocol) 9/20/2018

3.6 การเลือกเส้นทาง โพรโตคอลเกตเวย์ภายใน 3.6 การเลือกเส้นทาง โพรโตคอลเกตเวย์ภายใน โพรโตคอลเกตเวย์ภายในเป็นโพรโตคอลที่ออกแบบเพื่อใช้งานในระบบออโตโนมัสหนึ่ง ๆ เช่น อาร์ไอพี (RIP : Routing Information Protocol) และ โอเอสพีเอฟ (OSPF : Open Shortest Path First) โพรโตคอลทั้งสองนี้เป็นที่ยอมรับกันเป็นมาตรฐานสากลและใช้งานอย่างแพร่หลายในเครือข่ายทั่วไป 9/20/2018

3.6 การเลือกเส้นทาง โพรโตคอลเกตเวย์ภายนอก 3.6 การเลือกเส้นทาง โพรโตคอลเกตเวย์ภายนอก โพรโตคอลเกตเวย์ภายนอกมีหน้าที่แลกเปลี่ยนข้อมูลเส้นทางระหว่างเครือข่ายที่มีการบริหารงานเป็นอิสระออกจากกัน เช่นระหว่างผู้ให้บริการอินเตอร์เน็ตต่างรายกัน แต่ละเครือข่ายที่มีการบริหารเป็นอิสระจะเรียกว่า ระบบออโตโนมัส (autonomous system) 9/20/2018

3.6 การเลือกเส้นทาง โพรโตคอลเกตเวย์ภายนอก 3.6 การเลือกเส้นทาง โพรโตคอลเกตเวย์ภายนอก ระบบออโตโนมัส (autonomous system) แต่ละระบบออโตโนมัสมีหมายเลขประจำของตนเองเรียกว่า เลขระบบอัตโนมัติ (Autonomous System Number : ASN) หมายเลขนี้ขอได้จากหน่วยงานนิกประจำภูมิภาค เลขระบบออโตโนมัติเป็นค่าที่ระบุว่าข้อมูลเส้นทางที่แลกเปลี่ยนระหว่างเครือข่ายนั้นมาจากที่ใด 9/20/2018

3.6 การเลือกเส้นทาง โพรโตคอลเกตเวย์ภายนอก 3.6 การเลือกเส้นทาง โพรโตคอลเกตเวย์ภายนอก อินเตอร์เน็ตในยุคแรกใช้โพรโตคอล อีจีพี (EGP : Exterior Gateway Protocol) เป็นโพรโตคอลเกตเวย์ภายนอก แต่ในปัจจุบันโพรโตคอลที่นิยมใช้ระหว่างเครือข่ายก็คือ บีจีพี (BGP : Border Gateway Protocol) และนำมาใช้งานแทนบีจีพี-4(BGP-4) 9/20/2018

3.6 การเลือกเส้นทาง Cisco Protocol โพรโตคอลเฉพาะที่ออกแบบโดยบริษัทซิสโก้คือ อีไอจีอาร์พี (EIGRP : Enhanced Interior Gateway Routing Protocol) เป็นอีกโพรโตคอลหนึ่งที่นิยมใช้ความแพร่หลายของเราเตอร์ของซิสโก้ หลักการในการคำนวณหาเส้นทางว่าเส้นทางใดเหมาะสมที่สุดมักจะใช้หลักการของ เมตริก เข้ามาช่วย 9/20/2018

3.6 การเลือกเส้นทาง Metric เมตริก (metric) เป็นค่าที่นำมาใช้คำนวณหาว่าเส้นทางใดเหมาะต่อการใช้งานมากกว่าเส้นทางอื่น ค่าเมตริกที่ใช้อาจเป็นได้ทั้ง ระยะทาง เวลาหน่วง ความน่าเชื่อถือ หรือความเร็ว โพรโตคอลที่ไม่สลับซับซ้อนอาจจะเลือกใช้เมตริกเพียงประเภทใดประเภทหนึ่ง เช่นอาจใช้เฉพาะระยะทางซึ่งนับจากจำนวนเราเตอร์ที่ต้องส่งผ่านหรือเรียกว่า จำนวนขั้น (hop count) 9/20/2018

3.6 การเลือกเส้นทาง Hop Count 9/20/2018

3.6 การเลือกเส้นทาง โพรโตคอลดิสแทนซ์เวกเตอร์ และ ลิงค์สเทต 3.6 การเลือกเส้นทาง โพรโตคอลดิสแทนซ์เวกเตอร์ และ ลิงค์สเทต การเลือกเส้นทางด้วยวิธีนี้จะมองที่ Algorithm ในการหาเส้นทางโดยส่วนใหญ่จะใช้งานอยู่ 2 ประเภทคือ - ดิสแทนซ์เวกเตอร์ (Distance Vector) - ลิงค์สเทต (Link State) 9/20/2018

3.6 การเลือกเส้นทาง โพรโตคอลดิสแทนซ์เวกเตอร์ 3.6 การเลือกเส้นทาง โพรโตคอลดิสแทนซ์เวกเตอร์ การทำงานพื้นฐานของโพรโตคอลดิสแทนซ์เวกเตอร์จะส่งข้อมูลเลือกเส้นทาง ประกอบด้วยเราเตอร์ที่อยู่ข้างเคียงทุกกตัวอย่างสม่ำเสมอเป็นช่วงเวลา ข้อมูลเลือกเส้นทาง ข้อมูลเลือกเส้นทางประกอบด้วยตารางเลือกเส้นทางของตนเองทั้งหมดที่กำกับด้วยเมตริก เราเตอร์แต่ละตัว จะใช้ตารางเส้นทางของตนเองร่วมกับตารางเส้นทางที่ได้รับมาใหม่เพื่อคำนวณหาระยะทางที่สั้นที่สุด 9/20/2018

3.6 การเลือกเส้นทาง โพรโตคอลดิสแทนซ์เวกเตอร์ 3.6 การเลือกเส้นทาง โพรโตคอลดิสแทนซ์เวกเตอร์ โพรโตคอลดิสแทนซ์เวกเตอร์ที่นิยมใช้ในปัจจุบันได้แก่อาร์ไอพี ค่าเมตริกที่ใช้คือจำนวนขั้น อาร์ไอพีถือว่าเส้นทางที่ดีกว่าคือเส้นทางที่มีจำนวนขั้นน้อยกว่า 9/20/2018

3.6 การเลือกเส้นทาง โพรโตคอลลิงค์สเทต 3.6 การเลือกเส้นทาง โพรโตคอลลิงค์สเทต โพรโตคอลลิงค์สเทตไม่ได้แลกเปลี่ยนตารางเส้นทางโดยตรงเหมือนกับที่ใช้ในดิกส์แทนซ์เวกเตอร์ หากแต่เราเตอร์แต่ละตัวจะตรวจสอบ สถานะลิงค์ (link state) ที่เชื่อมไปยังเราเตอร์ข้างเคียงว่าใช้งานได้หรือไม่พร้อมกับค่าเมตริกซึ่งโดยทั่วไปแล้วเป็นความเร็วของสายสื่อสาร โพรโตคอลลิงสเทตที่นิยมใช้คือโอเอสพีเอฟ 9/20/2018

3.6 การเลือกเส้นทาง สรุป การสื่อสารด้วยโพรโตคอลภายใน(IGP) จะใช้โพรโตคอลที่ชื่อ RIP และ OSPF หลักการทาง Algorithm ของ RIP จะใช้แบบ Distance Vector ส่วน OSPF จะใช้แบบ Link State ส่วนการสื่อสารด้วยโพรโตคอลภายนอก(EGP) จะใช้โพรโตคอลชื่อ BGP มาร่วมทำงานโดยอาศัย Autonomous System Number (ASN) 9/20/2018

3.6 การเลือกเส้นทาง โพรโตคอลเกตเวย์ภายใน (RIP) - เป็น Routing Protocol ที่ใช้ Algorithm แบบ Distance Vector - อุปกรณ์แต่ละตัว จะส่ง Routing Table ของตัวเองให้กับอุปกณณ์ข้างเคียงและจะนำมาปรับปรุง Routing Table ของตนเอง - เหมาะสำหรับเครือข่ายขนาดเล็ก - จำนวน hop สูงสุดได้ไม่เกิน 15 hops 9/20/2018

3.6 การเลือกเส้นทาง โพรโตคอลเกตเวย์ภายใน (OSPF) - เป็น Routing Protocol ที่ใช้ Algorithm แบบ Link State - อุปกรณ์แต่ละตัว จะส่งจำนวนและสถานะของ Link ไปให้กับอุปกรณ์ข้างเคียงและจะนำมาสร้างแผนที่ของเครือข่าย - ใช้กับเครือข่ายขนาดใหญ่ได้ดี - รองรับการคำนวณแบบ Metric 9/20/2018

3.6 การเลือกเส้นทาง โพรโตคอลเกตเวย์ภายนอก (BGP) - เป็น Routing Protocol ที่ใช้หมายเลข ASN - จะแลกเปลียนของมูลกันระหว่าง AS - ใช้แนวความคิดแบบ Path Vector - ใช้กับเครือข่ายขนาดใหญ่ได้ดี - ส่วนใหญ่ในปัจจุบันจะใช้ BGP เวอร์ชั่น 4 9/20/2018