งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

เกษตรแบบผสมผสาน (Integrated Farming)

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


งานนำเสนอเรื่อง: "เกษตรแบบผสมผสาน (Integrated Farming)"— ใบสำเนางานนำเสนอ:

1 เกษตรแบบผสมผสาน (Integrated Farming)

2 เกษตรแบบผสมผสาน การเกษตรแบบผสมผสาน เป็นระบบเกษตรกรรมแบบดั้งเดิมที่มีการผสม กลมกลืน และเกื้อกูลซึ่งกัน และกันตามธรรมชาติ มีตัวอย่างให้เห็นในหลายประเทศทั่วโลก เช่น ใน ประเทศจีน มีการเลี้ยงสุกร ผสมผสานกับการเลี้ยงสัตว์น้ำ สำหรับประเทศไทยในอดีตไม่มีระบบการเกษตรแบบผสมผสานที่ชัดเจน นัก ระบบการเกษตรดั้งเดิมของไทยน่าจะใกล้เคียงกับระบบที่เรียกว่า“ไร่นาสวนผสม”เนื่องจากเป็น ระบบการเกษตรที่มีเป้าหมายเพื่อการยังชีพ หรือเพื่อลดความเสี่ยงจากราคาผลผลิตที่ไม่แน่นอน

3 การเกษตรแบบผสมผสาน เป็นการจัดระบบของกิจกรรมการผลิตในไร่นา ได้แก่ พืช สัตว์ ประมง ให้มีการผสมผสานอย่างต่อเนื่องและเกื้อกูลในการผลิตซึ่งกันและกัน โดยการใช้ ทรัพยากร ที่มีอยู่ในไร่นา เช่น ดิน น้ำ แสงแดดอย่างเหมาะสมเกิดประโยชน์สูงสุด มีความสมดุลย์ ของภาพ แวดล้อมอย่างต่อเนื่องและเกิดผลในการเพิ่มพูนความอุดมสมบูรณ์ของทรัพยากร ธรรมชาติด้วย ประเภทของระบบเกษตรแบบผสมผสาน มีดังนี้  1. แบบดั้งเดิม เป็นประเภทที่มีการผลิตเพื่อกินเพื่อใช้เป็นหลักในครัวเรือนหรือชุมชน 2. แบบกึ่งการค้า เป็นประเภทที่เกษตรกรผลิตสินค้าการเกษตรชนิดเดียวซึ่ง อาจจะเป็นข้าวหรือ พืชไร่ก็ตาม โดยผลิตเพื่อเป็นอาหารและเป็นรายได้3. แบบเชิงการค้า เป็นประเภทที่เหมาะสมกับ เกษตรกรก้าวหน้าซึ่งมี ประสบการณ์และความสามารถในการผลิตเป็นแบบการค้า เช่น สามารถ ผลิตพืชและมีตลาดรองรับ ที่แน่นอน 

4 ความสำคัญของการทำเกษตรแบบผสมผสาน 1
ความสำคัญของการทำเกษตรแบบผสมผสาน  1. เกษตรกรพึ่งพาตนเองได้โดยไม่จำเป็นต้องกู้ยืมเงินมาลงทุน เกษตรกรก็สามารถอยู่ได้ ยืนอยู่บนขา ของตัวเองโดยมีปัจจัยพื้นฐานสำหรับดำรงชีพที่ผลิตได้ 2. เพื่อเพิ่มผลผลิตต่อพื้นที่โดยมีการจัดการเรื่องทุน ที่ดิน และแรงงานอย่าง มีประสิทธิภาพ ก่อให้เกิด ผลผลิตต่อหน่วยการผลิตสูง 3. สร้างเสถียรภาพและความยั่งยืน ทั้งทางเศรษฐกิจและสภาพแวดล้อมให้ เกิดขึ้นในไร่นาและ ครอบครัวการเกษตร  4. เกษตรแบบผสมผสานลดความเสี่ยงในการผลิต ในด้านการผลิตที่อาจ เสียหาย หรือความไม่ แน่นอนและเสียเปรียบเรื่องราคา ตลอดจนไม่แน่นอนของดินฟ้าอากาศ  6. เกษตรกรมีงานทำตลอดปี จะช่วยแก้ปัญหาการอพยพแรงงานจากชนบท เข้าสู่เมือง ตัดปัญหาการ ขายแรงงาน การก่ออาชญากรรม การค้ามนุษย์ เป็นต้น

5 ผลที่เกิดจากการทำการเกษตรแบบผสมผสาน 1. ผลระดับครัวเรือน 1
ผลที่เกิดจากการทำการเกษตรแบบผสมผสาน  1. ผลระดับครัวเรือน  1.1 ยึดหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง หมายถึง ความพอประมาณ  ทำตามกำลังและศักยภาพแห่งตน เน้นการพึ่งตนเองในทุกๆ ด้าน สามารถอุ้มชูตัวเองได้  ให้มีความพอเพียงกับตัวเอง (Self Sufficiency) ซึ่งสามารถดำรงอยู่ได้โดยไม่ต้องพึ่งพาปัจจัย ภายนอก  1.3 เพิ่มผลผลิตต่อหน่วยการผลิต (ที่ดิน แรงงานและทุน)  1.5 เพิ่มประสิทธิภาพของการใช้พลังงานให้สูงขึ้น เพราะไม่มีเศษเหลือ แม้แต่มูลสัตว์ก็สามารถนำมาใช้ ผลิตพลังงานและปุ๋ยได้  1.6 ปรับปรุงสภาพแวดล้อมในระดับไร่นาให้ดีขึ้น มีสภาพเกื้อกูลกันและ กันอย่างยั่งยืน  2. ผลในระดับชาติ  2.1 ช่วยลดพลังงานในการเกษตรลง เพราะสามารถหาได้จากผลพลอยได้ จากการผลิตในไร่นามา ทดแทน เช่น ก๊าซชีวภาพปุ๋ยอินทรีย์ที่เกิดจากพืช ไม้ใช้สอยจากการ ปลูกไม้ยืนต้นโตเร็ว 2.2 การใช้แรงงานต่อเนื่องตลอดทั้งปีในระบบเกษตรแบบผสมผสานจะ ช่วยแก้ปัญหาการเคลื่อนย้าย ถิ่นฐานเข้ามาขายแรงงานในเมือง  2.3 ปรับปรุงสภาพแวดล้อมที่เสื่อมโทรมให้กลับคืนสู่สภาพอุดมสมบูรณ์ที่มา


ดาวน์โหลด ppt เกษตรแบบผสมผสาน (Integrated Farming)

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


Ads by Google