งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

นโยบายการเงิน การคลัง กับการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศ

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


งานนำเสนอเรื่อง: "นโยบายการเงิน การคลัง กับการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศ"— ใบสำเนางานนำเสนอ:

1 นโยบายการเงิน การคลัง กับการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศ
หน่วยการเรียนรู้ที่ 5 นโยบายการเงิน การคลัง กับการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศ

2 นโยบายการเงิน การคลัง กับการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศ
เงินในระบบเศรษฐกิจ นโยบายการคลังเพื่อการพัฒนาเศรษฐกิจ สถาบันการเงิน การคลังท้องถิ่น นโยบายการเงิน บทบาทของรัฐบาลเกี่ยวกับนโยบายการเงินและการคลังในการพัฒนาเศรษฐกิจ

3 เงินในระบบเศรษฐกิจ

4 เงิน หมายถึง สิ่งที่ยอมรับกันทั่วไปว่าเป็นสื่อกลางในการแลกเปลี่ยน
และถือว่าเป็นทรัพย์สินที่มีสภาพคล่องสูงสุด เงินมีความสำคัญในระบบเศรษฐกิจ เพราะจำนวนเงินหรือปริมาณเงินที่หมุนเวียนอยู่ในระบบเศรษฐกิจ จะมีผลต่อรายได้ ผลผลิต และการจ้างงานโดยรวม

5 หน้าที่ของเงิน 1. เป็นสื่อกลางในการแลกเปลี่ยน
เป็นตัวเชื่อมระหว่างผู้ซื้อและผู้ขาย หรือผู้บริโภคและผู้ผลิต ทำให้ระบบเศรษฐกิจเกิดการแบ่งงานกันทำ 2. เป็นมาตรฐานการวัดค่า เป็นหน่วยในการวัดค่าของสินค้าและบริการ ช่วยให้ผู้ซื้อและผู้ขายเปรียบเทียบมูลค่าของสิ่งของได้ง่าย 3. เป็นมาตรฐานในการชำระหนี้ในอนาคต การใช้เงินชำระหนี้ในอนาคต ทำให้เกิดการซื้อขายสินค้ามากขึ้น ช่วยให้ลูกค้าและเจ้าหนี้ได้รับความสะดวก ไม่ต้องจ่ายเงินสดทันที 4. เป็นเครื่องเก็บรักษามูลค่า เงินเป็นสินทรัพย์ที่คนทั่วไปนิยมเก็บสะสมไว้ เงินช่วยให้สามารถจับจ่ายใช้สอยได้อย่างรวดเร็วทันใจ

6 ปริมาณเงินในระบบเศรษฐกิจ
เงินทั้งหมดที่ใช้หมุนเวียนอยู่ในระบบเศรษฐกิจขณะใดขณะหนึ่ง ปริมาณเงินมีผลต่อระดับรายได้และผลิตโดยรวมของประเทศ ปริมาณเงินมีผลต่อระดับราคาและการจ้างงานในระบบเศรษฐกิจ หน่วยงานที่ทำหน้าที่ควบคุมปริมาณเงินในระบบเศรษฐกิจ ธนาคารกลาง รัฐบาลจะควบคุมปริมาณเงินในระบบเศรษฐกิจโดยใช้นโยบายการเงิน

7 ตลาดการเงิน ตลาดเงิน ตลาดทุน
เป็นตลาดที่มีการระดมเงินทุน และการให้สินเชื่อระยะสั้นไม่เกิน 1 ปี ตลาดเงินในระบบประกอบด้วยสถาบันการเงินต่างๆ ที่จัดตั้งขึ้นตามกฎหมาย กิจกรรมในตลาดนี้ เช่น การกู้โดยตรง การกู้ยืมระหว่างธนาคาร ตลาดทุน เป็นตลาดที่มีการระดมเงินออมระยะยาว ให้สินเชื่อตั้งแต่ 1 ปี ขึ้นไป สินเชื่อในลักษณะนี้ เช่น เงินฝากประจำ หุ้นสามัญ หุ้นกู้ ตลาดสินเชื่อในลักษณะนี้ เช่น ธนาคารพาณิชย์ ตลาดหลักทรัพย์

8 ความสำคัญของตลาดการเงิน
ช่วยระดมเงินทุนจากหน่วยเศรษฐกิจ ก่อให้เกิดการจัดสรรทุนอย่างมีประสิทธิภาพ ช่วยสร้างความเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ ทำให้ผู้ลงทุนสามารถกู้ยืมเงินมาลงทุนได้ ทำให้เกิดการจ้างงาน สามารถผลิตสินค้าและบริการได้มากขึ้น

9 สถาบันการเงิน

10 สถาบันการเงิน หน่วยเศรษฐกิจที่ประกอบธุรกิจด้านการเงิน ทำหน้าที่เป็นตัวกลางระหว่างผู้ออมกับ ผู้ลงทุน รวมทั้งให้บริการด้านการเงินอื่นๆ เช่น รับฝากเงิน ปล่อยสินเชื่อให้ผู้ประกอบการ เช่น ธนาคารพาณิชย์ ธนาคารกลาง บริษัทเงินทุน บริษัทประกันภัย

11 ประเภทของสถาบันการเงิน
ธนาคารพาณิชย์ เป็นสถาบันการเงินที่ทำหน้าที่รับฝากเงิน ให้บริการเงินกู้ยืมทั้งภาครัฐและเอกชน ให้บริการซื้อขายเงินตราต่างประเทศ ซื้อขายตราสารทางการเงิน ให้บริการชำระโอนเงิน มีส่วนสำคัญในการเพิ่มหรือลดปริมาณเงินในระบบเศรษฐกิจ

12 ธนาคารที่มีกฎหมายจัดตั้งเป็นการเฉพาะ
เป็นธนาคารที่รัฐจัดตั้งขึ้นทำหน้าที่ให้ความช่วยเหลือทางการเงิน มีบทบาทส่งเสริมนโยบายเฉพาะด้าน เช่น ส่งเสริมการออม ช่วยเหลือเกษตรกร ธนาคารประเภทนี้ เช่น ธนาคารออมสิน ธนาคารอาคารสงเคราะห์

13 ธนาคารกลาง เป็นหน่วยงานของรัฐที่ไม่ใช่ส่วนราชการหรือรัฐวิสาหกิจ
เป็นองค์กรอิสระที่ไม่แสวงหากำไร อยู่ภายใต้การกำกับดูแลของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง มีอำนาจในการควบคุมดูแลเรื่องการเงินของประเทศ มุ่งรักษาเสถียรภาพทางการเงิน เสถียรภาพของระบบสถาบันการเงิน และระบบการชำระเงิน

14 นโยบายการเงิน

15 นโยบายการเงิน เป้าหมายสำคัญ
นโยบายที่ธนาคารกลางใช้เพื่อดูแลปริมาณเงินในระบบเศรษฐกิจให้อยู่ในระดับที่เหมาะสม เป้าหมายสำคัญ เพื่อให้เศรษฐกิจของประเทศขยายตัวอย่างมีเสถียรภาพ ประชาชนมีความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น

16 ประเภทของนโยบายการเงิน
นโยบายการเงินอย่างเข้มงวด เป็นนโยบายที่มีผลทำให้เงินในเศรษฐกิจมีปริมาณลดลง เป็นนโยบายที่มักใช้ในกรณีที่ระบบเศรษฐกิจเกิดปัญหาราคาสินค้าสูง หรือปัญหาเงินเฟ้อ การใช้นโยบายนี้จะช่วยลดความร้อนแรงของระบบเศรษฐกิจลง การดำเนินการตามนโยบายดังกล่าวมีผลทำให้อัตราดอกเบี้ยในตลาดปรับตัวขึ้น เป็นสิ่งที่ช่วยให้อัตราเงินเฟ้อลดลงเนื่องจากกิจกรรมต่างๆ ทางเศรษฐกิจลดลง

17 ประเภทของนโยบายการเงิน
นโยบายการเงินแบบผ่อนคลาย นโยบายที่มีผลทำให้เงินในระบบเศรษฐกิจมีปริมาณเพิ่มขึ้น นโยบายที่มักใช้ในกรณีภาวะเศรษฐกิจซบเซาหรือเกิดปัญหาเงินฝืด ช่วยกระตุ้นให้เศรษฐกิจฟื้นตัว มีผลทำให้อัตราดอกเบี้ยในตลาดปรับตัวลดลง ทำให้กิจกรรมต่างๆ ทางเศรษฐกิจเพิ่มมากขึ้นและอัตราเงินเฟ้อเพิ่มขึ้น

18 เครื่องมือของนโยบายการเงิน
1. การดำรงสินทรัพย์สภาพคล่อง สินทรัพย์สภาพคล่อง ได้แก่ เงินสดในมือธนาคารพาณิชย์ เงินฝากกระแสรายวันของธนาคารแห่งประเทศไทย หลักทรัพย์ที่ปราศจากภาระผูกพัน การดำรงสินทรัพย์ สภาพคล่องที่ธนาคารแห่งประเทศไทยกำหนด ย่อมมีผลต่อสภาพคล่องของระบบเศรษฐกิจของประเทศ

19 ตัวอย่าง การกำหนดให้ธนาคารพาณิชย์ต้องดำเนินเงินสดสำรองตามกฎหมาย หากธนาคารแห่งประเทศไทยกำหนดในอัตราสูง จะทำให้ธนาคารมีเงินสำรองส่วนเกินไปปล่อยกู้ได้น้อย ทำให้ปริมาณเงินเพิ่มได้น้อย แต่หากำหนดในอัตราต่ำจะทำให้ปริมาณเงินเพิ่มได้มาก

20 2. การดำเนินการผ่านตลาดการเงิน
การซื้อคืนพันธบัตรแบบทวิภาคี เป็นการซื้อขายพันธบัตรเพื่อปรับสภาพคล่องแบบชั่วคราว การซื้อขายหลักทรัพย์รัฐบาล โดยส่วนใหญ่จะเป็นพันธบัตรรัฐบาล เนื่องจากมีสภาพคล่องสูง การออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย เป็นการดำเนินการที่มีผลต่อสภาพคล่องของเศรษฐกิจเช่นเดียวกับการซื้อขายหลักทรัพย์รัฐบาล การซื้อ-ขายเงินตราต่างประเทศ โดยมีสัญญาว่าจะขายหรือซื้อคืน ณ อัตราแลกเปลี่ยนที่ตกลงกันในวันที่กำหนดล่วงหน้า โดยมากมักไม่เกิน 3 เดือน

21 3. หน้าต่างตั้งรับ ธนาคารแห่งประเทศไทยมีหน้าต่างปรับสภาพคล่อง ณ สิ้นวัน เป็นช่องทางที่สถาบันการเงินสามารถกู้หรือให้กู้แก่ธนาคารแห่งประเทศไทยได้ สถาบันการเงินที่ขาดสภาพคล่องสามารถเข้ามากู้ยืมเงินโดยมีพันธบัตรเป็นหลักประกัน

22 กลไกการส่งผ่านของนโยบายการเงิน
การดำเนินนโยบายภายใต้กรอบเงินเฟ้อ จะส่งผลต่ออัตราดอกเบี้ยในตลาด และส่งผลต่อปริมาณการผลิตและอัตราเงินเฟ้อผ่านระบบการเงินในช่องทางต่างๆ ได้แก่ ช่องทางอัตราดอกเบี้ย ช่องทางสินเชื่อ ช่องทางราคาทรัพย์สิน ช่องทางอัตราแลกเปลี่ยน ช่องทางการคาดการณ์

23 ตัวอย่าง เมื่อธนาคารแห่งประเทศไทยดำเนินนโยบายการเงินแบบผ่อนคลายโดยลดอัตราดอกเบี้ยนโยบาย ผลกระทบที่ผ่านช่องทางอัตราดอกเบี้ย คือ อัตราดอกเบี้ยในตลาดจะปรับตัวลง ต้นทุนในการบริโภคและการลงทุนก็ต่ำลง ส่งผลให้การบริโภคและการลงทุนเพิ่มขึ้น ผลผลิตในประเทศสูงขึ้น และมีอัตราเงินเฟ้อสูงขึ้น

24 นโยบายการคลังในการพัฒนาเศรษฐกิจ

25 นโยบายการคลัง นโยบายเกี่ยวกับรายรับ-รายจ่าย ของรัฐบาล เกี่ยวข้องกับการจัดหารายได้ การใช้จ่ายของรัฐบาล การก่อหนี้สาธารณะ และการบริหารเงินคงคลัง

26 เป้าหมายของนโยบายการคลัง
เพื่อให้เกิดการจัดสรรทรัพยากรอย่างมีประสิทธิภาพ เพื่อให้เกิดการกระจายรายได้อย่างเป็นธรรม เพื่อสร้างความเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจของประเทศ เพื่อรักษาเสถียรภาพทางเศรษฐกิจของประเทศ

27 เครื่องมือของนโยบายการคลัง
เครื่องมือของนโยบายการคลังที่สำคัญ คือ งบประมาณแผ่นดิน ซึ่งเป็นทั้งแผนการใช้จ่ายเงินแผ่นดินและแผนการบริหารการเงินการคลังของรัฐบาล หน่วยงานที่มีหน้าที่รับผิดชอบในการจัดทำงบประมาณ คือ สำนักงบประมาณ องค์ประกอบสำคัญในการบริหารงบประมาณแผ่นดิน คือ การใช้จ่ายของรัฐบาล การจัดหารายได้ของรัฐบาล การก่อหนี้สาธารณะ และการบริหารเงินคงคลัง

28 การใช้จ่ายของรัฐบาล เป็นการใช้จ่ายในการบริหารตามภาระหน้าที่ของรัฐบาล เพื่อจัดให้มีสินค้าและบริการต่างๆ ที่เป็นประโยชน์แก่ประชาชน ได้แก่ การใช้จ่ายเงินงบประมาณ คือ การใช้จ่ายเงินงบประมาณแผ่นดินที่ได้รับอนุมัติจากรัฐสภาเพื่อการพัฒนาประเทศ การใช้จ่ายเงินนอกงบประมาณ คือ เงินต่างๆ ที่ส่วนราชการได้รับและกฎหมายอนุญาตให้ใช้จ่ายได้ตามวัตถุประสงค์ เช่น กองทุนหรือเงินหมุนเวียน เงินรายรับของสถานศึกษา

29 การจัดหารายได้ของรัฐบาล
รายได้จากภาษีอากร เป็นรายได้หลักของรัฐบาล ซึ่งรัฐทำการจัดเก็บตามกรณีต่างๆ เช่นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ภาษีเงินได้นิติบุคคล ภาษีมูลค่าเพิ่ม ภาษีศุลกากร รายได้จากการขายสิ่งของและบริการ เป็นรายได้ที่มาจากการขายทรัพย์สิน เช่น ค่าขายทรัพย์สินซึ่งเป็นอสังหาริมทรัพย์ ค่าหนังสือราชการ รายได้จากรัฐพาณิชย์ ประกอบด้วย ผลกำไรขององค์การรัฐบาล หน่วยงานธุรกิจ ที่รัฐบาลเป็นเจ้าของนำส่งเป็นรายได้แผ่นดิน และเงินปันผลจากบริษัทที่รัฐบาลถือหุ้น รายได้อื่น ประกอบด้วย ค่าแสตมป์ฤชาและค่าปรับ เงินรับคืน และรายได้เบ็ดเตล็ดอื่นๆ

30

31 การก่อหนี้สาธารณะ ในกรณีที่มีการตั้งงบประมาณแบบขาดดุล คือ มีรายจ่ายสูงกว่ารายได้ ในกรณีเมื่อเกิดภาวะเศรษฐกิจซบเซา รัฐบาลต้องการกระตุ้นเศรษฐกิจ ให้มีการจ้างงานและเพิ่มปริมาณการบริโภคในประเทศ

32

33 การบริหารเงินคงคลัง เงินคงคลัง คือ เงินสดและสินทรัพย์ที่ใกล้เคียงเงินสด ที่มีไว้ใช้จ่ายในการดำเนินงานของรัฐบาล ประกอบด้วย เงินฝากกระแสรายวันของกระทรวงการคลังที่เปิดไว้กับธนาคารแห่งประเทศไทย การมีเงินคงคลังในระดับที่เหมาะสมจะทำให้การบริหารการใช้จ่ายของรัฐบาลมีประสิทธิภาพ การมีเงินคงคลังน้อยเกินไปจะเกิดปัญหาสภาพคล่อง แต่ถ้าหากมีมากเกินไปก็ไม่เกิดประโยชน์ เพราะเงินฝากในบัญชีคงคลังนั้นไม่ได้ดอกเบี้ย ในกรณีที่มีเงินคงคลังมากเกินไป รัฐบาลจะนำเงินส่วนเกินมาใช้จ่ายเพื่อลดการกู้ยืมหรือลดภาระหนี้ เพื่อลดภาระดอกเบี้ยของรัฐบาล

34

35 การคลังท้องถิ่น

36 การคลังท้องถิ่น การดำเนินการเกี่ยวกับการจัดหารายได้และการใช้จ่ายขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ซึ่งมีความสำคัญต่อพื้นที่ในท้องถิ่นด้านต่างๆ การคลังท้องถิ่นช่วยให้ท้องถิ่นมีอิสระในการใช้จ่ายเงินเพื่อพัฒนาท้องถิ่นได้เหมาะสมกับสภาพท้องถิ่นของตน

37 ความสำคัญของการคลังท้องถิ่น
ช่วยสร้างความเจริญสู่ท้องถิ่น ช่วยยกระดับคุณภาพชีวิตของคนในท้องถิ่นให้ดีขึ้น องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่มีฐานะการคลังดี ย่อมสร้างความเจริญ ให้แก่ท้องถิ่นได้อย่างรวดเร็ว

38 โครงสร้างการคลังท้องถิ่น
โครงสร้างของการคลังท้องถิ่น ภาษีที่ท้องถิ่นจัดเก็บเอง ค่าเช่าสาธารณูปโภคและเทศพาณิชย์ รายได้ เงินอุดหนุนที่ได้รับจากรัฐบาล โครงสร้างการคลังท้องถิ่น รายจ่ายประจำเพื่อการดำเนินงานของท้องถิ่น รายจ่าย รายจ่ายเพื่อการลงทุน เพื่อสร้างความเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ เพื่อการสะสมทุน

39 บทบาทของรัฐบาลเกี่ยวกับนโยบายการเงิน และการคลังในการพัฒนาเศรษฐกิจ

40 บทบาทของรัฐบาลเกี่ยวกับนโยบายการเงิน การคลัง
การดำเนินนโยบายการเงินและการคลังของรัฐบาลเพื่อพัฒนาเศรษฐกิจ มีวัตถุประสงค์เพื่อให้บรรลุเป้าหมายสำคัญตามหลักเศรษฐศาสตร์ คือ การจัดสรรทรัพยากรที่มีอยู่อย่างจำกัดให้เกิดประโยชน์สูงสุด โดยคำนึงถึง การจัดสรรทรัพยากรอย่างมีประสิทธิภาพ การกระจายรายได้ให้เกิดความเป็นธรรม การสร้างความเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ การรักษาเสถียรภาพทางเศรษฐกิจ

41 บทบาทในการจัดสรรทรัพยากรอย่างมีประสิทธิภาพ
1. การดำเนินการเกี่ยวกับสินค้าสาธารณะ รัฐจะเข้ามาลงทุนในโครงการสาธารณูปโภคพื้นฐาน เช่น ถนน สะพาน โรงเรียน โรงพยาบาล การดำเนินการของรัฐจะใช้งบประมาณแผ่นดินซึ่งมาจากภาษีอากรเป็นหลัก กระบวนการเหล่านี้อาจดำเนินโดยองค์กรระดับต่างๆ เช่น องค์กรระหว่างประเทศ รัฐบาล องค์กรในท้องถิ่น เป็นต้น 2. การดำเนินการเกี่ยวกับผลกระทบภายนอก เป็นผลมาจากการดำเนินการของบุคคลหรือหน่วยธุรกิจที่มีทั้ง ด้านบวกและด้านลบ ผลกระทบทางบวก เช่น การให้บริการทางด้านการศึกษา การให้บริการทางการแพทย์ ผลกระทบทางลบ เช่น โรงงานอุตสาหกรรมสร้างมลภาวะ รัฐสามารถเข้ามาดำเนินการโดยการเก็บภาษีและให้เงินอุดหนุนเพื่อแก้ไขปัญหา

42 บทบาทในการกระจายรายได้อย่างเป็นธรรม
1. มาตรการทางภาษี เก็บภาษีในอัตราก้าวหน้า เรียกเก็บภาษีสูงจากผู้มีรายได้สูง จัดเก็บภาษีสินค้าฟุ่มเฟือยในอัตราสูง เก็บภาษีมรดก แล้วนำเงินไปช่วยเหลือผู้ด้อยโอกาส 2. การควบคุมราคาสินค้าและผลตอบแทนจากการใช้ปัจจัยการผลิต ประกันราคาสินค้าเกษตรและ ควบคุมราคาสินค้าจำเป็น กำหนดค่าแรงขั้นต่ำที่เหมาะสม 3. ลดช่องว่างการกระจายรายได้ รัฐจะดำเนินการกระจายรายได้ให้แก่ประชาชนอย่างเป็นธรรมและทั่วถึง

43 การสร้างความเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ
เพิ่มการลงทุนโครงสร้างพื้นฐานต่างๆ ใช้มาตรการทางภาษีเพื่อส่งเสริมการลงทุน ปรับลดอัตราดอกเบี้ย เพิ่มสินเชื่อเพื่อกระตุ้นให้เกิดการบริโภคและการลงทุน

44

45 การรักษาเสถียรภาพทางเศรษฐกิจ
1. การรักษาเสถียรภาพภายในประเทศ เป็นการรักษาภาวะเศรษฐกิจไม่ให้ระดับราคาในประเทศขยายตัวหรือ หดตัวมากเกินไป เป็นการป้องกันการเกิดปัญหาภาวะเงินเฟ้อ เงินฝืด การว่างงาน รัฐบาลใช้นโยบาย การเงินและการคลัง 2. การรักษาเสถียรภาพภายนอกประเทศ เป็นการดำเนินการที่เกี่ยวข้องกับดุลการค้า ดุลการชำระเงิน ภาระหนี้ต่างประเทศ ฐานะเงินสำรองระหว่างประเทศ และอัตราแลกเปลี่ยน รัฐบาลอาจใช้มาตรการรายรับ รายจ่าย และการก่อหนี้สาธารณะ ธนาคารกลางอาจใช้มาตรการทำให้ค่าเงินบาทเพิ่มขึ้น ลดลง แล้วแต่ สาเหตุของปัญหา

46 นโยบายในการรักษาเสถียรภาพทางเศรษฐกิจ
1. นโยบายการเงินการคลังเพื่อแก้ปัญหาเงินเฟ้อ ในกรณีภาวะเงินเฟ้อที่เกิดจากระบบเศรษฐกิจมีการใช้จ่ายมากเกินไป รัฐบาลจะดำเนินนโยบายโดยใช้ งบประมาณแบบเกินดุล การเพิ่มภาษีและเพื่อกำลังซื้อและ ลดการลงทุนของธุรกิจลง ในกรณีเงินเฟ้อที่เกิดจากต้นทุนการผลิต รัฐบาลจะแก้ปัญหาโดยใช้นโยบายภาษี การยกเว้นภาษีหรือลดอัตราดอกเบี้ยบางประเภท

47 2. นโยบายการเงินการคลังในการแก้ปัญหาการว่างงาน
รัฐบาลจะดำเนินนโยบายการคลังโดยใช้งบประมาณแบบขาดดุล มุ่งเพิ่มการใช้จ่ายเพื่อกระตุ้นให้มีการผลิตสินค้าและบริการเพิ่มขึ้น ธนาคารกลางจะดำเนินนโยบายการเงินแบบผ่อนคลายโดยปรับลดอัตราดอกเบี้ย ดำเนินนโยบายปรับลดอัตราเงินสดสำรองตามกฎหมายของธนาคารพาณิชย์ มีการสนับสนุนให้ธนาคารพาณิชย์ปล่อยสินเชื่อให้มากขึ้น


ดาวน์โหลด ppt นโยบายการเงิน การคลัง กับการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศ

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


Ads by Google