งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

กฎหมายเกี่ยวกับ การเงินการคลัง

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


งานนำเสนอเรื่อง: "กฎหมายเกี่ยวกับ การเงินการคลัง"— ใบสำเนางานนำเสนอ:

1 กฎหมายเกี่ยวกับ การเงินการคลัง

2 รัฐธรรมนูญ กฎหมายว่าด้วยเงินคงคลัง กฎหมายว่าด้วยวิธีการงบประมาณ กฎหมายว่าด้วยวินัยการเงินการคลังของรัฐ

3 รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย
มาตรา 62 “รัฐต้องรักษาวินัยการเงินการคลังอย่างเคร่งครัดเพื่อให้ฐานะทางการเงินการคลังของรัฐมีเสถียรภาพและมั่นคงอย่างยั่งยืนตามกฎหมายว่าด้วยวินัยการเงิน การคลังของรัฐ และจัดระบบภาษีให้เกิดความเป็นธรรม แก่สังคม”

4 รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย
มาตรา 62 (ต่อ) “กฎหมายว่าด้วยวินัยการเงินการคลังของรัฐอย่างน้อยต้องมีบทบัญญัติเกี่ยวกับกรอบการดำเนินการทางการคลังและงบประมาณของรัฐ การกำหนดวินัยทางการคลัง ด้านรายได้และรายจ่ายทั้งเงินงบประมาณและเงินนอกงบประมาณ การบริหารทรัพย์สินของรัฐและเงินคงคลัง และการบริหารหนี้สาธารณะ”

5 รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย
มาตรา 140 “การจ่ายเงินแผ่นดิน จะกระทำได้เฉพาะที่ได้อนุญาตไว้ในกฎหมาย ว่าด้วยงบประมาณรายจ่าย กฎหมายว่าด้วยวิธีการงบประมาณ หรือกฎหมายเกี่ยวด้วยการโอนงบประมาณ กฎหมายว่าด้วยเงินคงคลัง หรือกฎหมายว่าด้วยวินัยการเงินการคลังของรัฐ เว้นแต่ในกรณีจำเป็นรีบด่วน จะจ่ายไปก่อนก็ได้ แต่ต้องเป็นไปตามหลักเกณฑ์และวิธีการ ที่กฎหมายบัญญัติ ในกรณีเช่นว่านี้ ต้องตั้งงบประมาณรายจ่ายชดใช้ ในพระราชบัญญัติโอนงบประมาณรายจ่าย หรือพระราชบัญญัติ งบประมาณรายจ่ายเพิ่มเติม หรือพระราชบัญญัติ งบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณถัดไป ”

6 รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย
มาตรา 141 “งบประมาณรายจ่ายของแผ่นดินให้ทำเป็นพระราชบัญญัติ ถ้าพระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณออกไม่ทันปีงบประมาณใหม่ ให้ใช้กฎหมายว่าด้วยงบประมาณรายจ่ายในปีงบประมาณ ปีก่อนนั้นไปพลางก่อน”

7 รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย
มาตรา 141 (ต่อ) รัฐต้องจัดสรรงบประมาณให้เพียงพอกับการปฏิบัติหน้าที่ โดยอิสระของรัฐสภา ศาล องค์กรอิสระ และองค์กรอัยการ ทั้งนี้ ตามหลักเกณฑ์ที่บัญญัติไว้ในกฎหมายว่าด้วยวินัยการเงิน การคลังของรัฐ ในกรณีที่เห็นว่างบประมาณที่ได้รับจัดสรร อาจไม่เพียงพอต่อการปฏิบัติหน้าที่ รัฐสภา ศาล องค์กรอิสระ หรือองค์กรอัยการจะยื่นคำขอแปรญัตติ ต่อคณะกรรมาธิการโดยตรงก็ได้”

8 รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย
มาตรา 142 “ในการเสนอร่างพระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ ต้องแสดงแหล่งที่มาและประมาณการรายได้ ผลสัมฤทธิ์หรือประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับจากการจ่ายเงิน และความสอดคล้องกับยุทธศาสตร์ชาติและแผนพัฒนาต่าง ๆ ทั้งนี้ ตามหลักเกณฑ์ที่บัญญัติไว้ในกฎหมายว่าด้วยวินัยการเงิน การคลังของรัฐ”

9 รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย
มาตรา 143 - หน้าที่ในการพิจารณาพระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปี ในชั้นรัฐสภา

10 รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย
มาตรา 144 “ในการพิจารณาร่างพระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ ร่างพระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายเพิ่มเติม และ ร่างพระราชบัญญัติโอนงบประมาณรายจ่าย สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร จะแปรญัตติเปลี่ยนแปลง หรือแก้ไขเพิ่มเติมรายการหรือจำนวนในรายการมิได้ แต่อาจแปรญัตติในทางลดหรือตัดทอนรายจ่ายซึ่งมิใช่ รายจ่ายตามข้อผูกพันอย่างใดอย่างหนึ่ง ดังต่อไปนี้ (1) เงินส่งใช้ต้นเงินกู้ (2) ดอกเบี้ยเงินกู้ (3) เงินที่กำหนดให้จ่ายตามกฎหมาย

11 รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย
มาตรา 144 (ต่อ) ในการพิจารณาของสภาผู้แทนราษฎร วุฒิสภา หรือคณะกรรมาธิการ การเสนอ การแปรญัตติ หรือการกระทำ ด้วยประการใด ๆ ที่มีผลให้สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร สมาชิกวุฒิสภาหรือกรรมาธิการมีส่วนไม่ว่าโดยทางตรงหรือทางอ้อม ในการใช้งบประมาณรายจ่าย จะกระทำมิได้

12 รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย
มาตรา 144 (ต่อ) ในกรณีที่สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรหรือสมาชิกวุฒิสภา มีจำนวนไม่น้อยกว่า หนึ่งในสิบของจำนวนสมาชิกทั้งหมดเท่าที่มีอยู่ของแต่ละสภา เห็นว่ามีการกระทำ ที่ฝ่าฝืนบทบัญญัติตามวรรคสอง ให้เสนอความเห็นต่อศาลรัฐธรรมนูญเพื่อพิจารณา และศาลรัฐธรรมนูญต้องพิจารณาวินิจฉัยให้แล้วเสร็จภายในสิบห้าวันนับแต่วันที่ได้รับความเห็นดังกล่าว ในกรณีที่ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยว่ามีการกระทำที่ฝ่าฝืนบทบัญญัติตามวรรคสอง ให้การเสนอ การแปรญัตติ หรือการกระทำดังกล่าวเป็นอันสิ้นผล ถ้าผู้กระทำการดังกล่าวเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร หรือสมาชิกวุฒิสภา ให้ผู้กระทำการนั้นสิ้นสุดสมาชิกภาพ นับแต่วันที่ศาลรัฐธรรมนูญมีคำวินิจฉัย และให้เพิกถอนสิทธิสมัครรับเลือกตั้งของผู้นั้น แต่ในกรณีที่คณะรัฐมนตรีเป็นผู้กระทำการ หรืออนุมัติให้กระทำการหรือรู้ว่ามีการกระทำดังกล่าวแล้ว แต่มิได้สั่งยับยั้ง ให้คณะรัฐมนตรีพ้นจากตำแหน่งทั้งคณะนับแต่วันที่ศาลรัฐธรรมนูญ มีคำวินิจฉัย และให้เพิกถอนสิทธิสมัครรับเลือกตั้งของรัฐมนตรีที่พ้นจาก ตำแหน่งนั้น เว้นแต่จะพิสูจน์ได้ว่าตนมิได้อยู่ในที่ประชุมในขณะที่มีมติ และให้ผู้กระทำการดังกล่าวต้องรับผิดชดใช้เงินนั้นคืนพร้อมด้วยดอกเบี้ย

13 รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย
มาตรา 144 (ต่อ) เจ้าหน้าที่ของรัฐผู้ใดจัดทำโครงการหรืออนุมัติหรือจัดสรร เงินงบประมาณโดยรู้ว่ามีการดำเนินการอันเป็นการฝ่าฝืนบทบัญญัติตามวรรคหนึ่งหรือวรรคสอง ถ้าได้บันทึกข้อโต้แย้ง ไว้เป็นหนังสือหรือมีหนังสือแจ้งให้คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติทราบ ให้พ้นจากความรับผิด การเรียกเงินคืนตามวรรคสามหรือวรรคสี่ ให้กระทำ ได้ภายในยี่สิบปีนับแต่วันที่มีการจัดสรรงบประมาณนั้น

14 รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย
มาตรา 144 (ต่อ) ในกรณีที่คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติดำเนินการสอบสวนเป็นทางลับโดยพลัน หากเห็นว่ากรณีมีมูล ให้เสนอความเห็นต่อศาลรัฐธรรมนูญเพื่อดำเนินการต่อไปตามวรรคสาม และไม่ว่ากรณีจะเป็นประการใด คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ และศาลรัฐธรรมนูญหรือบุคคลใดจะเปิดเผยข้อมูล เกี่ยวกับผู้แจ้งมิได้”

15 รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย
มาตรา 145 “ร่างพระราชบัญญัติที่ได้รับความเห็นชอบของรัฐสภาแล้ว ให้นายกรัฐมนตรีรอไว้ห้าวันนับแต่วันที่ได้รับร่างพระราชบัญญัตินั้นจากรัฐสภา ถ้าไม่มีกรณีต้องดำเนินการตามมาตรา 148 ให้นำขึ้นทูลเกล้าทูลกระหม่อมถวายภายในยี่สิบวันนับแต่วันพ้นกำหนดเวลาดังกล่าว”

16 กฎหมายว่าด้วย เงินคงคลัง

17 พรบ.เงินคงคลัง 2491 มาตรา 1 -3 การบังคับใช้ และคำนิยามศัพท์
มาตรา การบังคับใช้ และคำนิยามศัพท์ มาตรา การรับเงินเข้าคลัง และข้อยกเว้น มาตรา เงินคงคลังบัญชี 1 และ 2 มาตรา การจ่ายเงินคงคลังกรณีเงินงบประมาณ กรณีปกติและพิเศษ มาตรา การจ่ายเงินคงคลังก่อนที่มีกฎหมายอนุญาตให้จ่าย มาตรา การจ่ายเงินคงคลังกรณีเงินนอกงบประมาณ มาตรา บุคคลที่มีอำนาจสั่งจ่ายเงินคงคลัง มาตรา การจ่าย-รับเงินคงคลัง กรณีเงินทุน/ทุนหมุนเวียน มาตรา การรักษาการกฎหมาย

18 พรบ.เงินคงคลัง 2491 การนำเงินเข้าคลัง การจ่ายเงินจากคลัง
มาตรา 4 มาตรา 13 มาตรา 8 , 12 มาตรา 6 เงินรายได้แผ่นดิน/เงินกู้ เงินนอกงบประมาณ /เงินอันไม่พึงต้องชำระ มีกฎหมายอนุญาตให้จ่าย ข้อยกเว้นไม่นำเงินส่งคลัง ชดใช้เงินคงคลัง มาตรา 6 ,7 การจ่ายเงินจากคลัง ก่อนมีกฎหมายอนุญาตให้จ่าย มาตรา 7 บัญชีที่ 1 และ 2 ณ ธปท. , บัญชีที่สนง.คลังจังหวัด มาตรา 1 -3 มาตรา 5 มาตรา 9 -11 มาตรา 14

19 หน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับเงินคงคลัง
. กรมสรรพากร . กรมสรรพสามิต . กรมศุลกากร . รัฐวิสาหกิจ . ส่วนราชการ . ส่วนราชการ . รัฐวิสาหกิจ . สำนักงานบริหาร หนี้สาธารณะ . สำนักงานบริหาร หนี้สาธารณะ กรมบัญชีกลาง สำนักงบประมาณ / ธนาคารแห่งประเทศไทย ส่วนกลาง ส่วนภูมิภาค และท้องถิ่น

20 กฎหมายว่าด้วย วิธีการงบประมาณ

21 กฎหมายว่าด้วยวิธีการงบประมาณ บทนำ คำนิยาม ผู้รักษาการ
มาตรา 1 - 5 จัดทำ บทนำ คำนิยาม ผู้รักษาการ 10. การควบคุมงบประมาณ - หลักเกณฑ์การเบิกจ่าย/เก็บรักษา/นำเงินส่งคลัง - วางระบบบัญชีให้ส่วนราชการปฏิบัติ - ประมวลบัญชีแผ่นดิน - เงินทดรองราชการ - เงินประจำงวดและการก่อหนี้ผูกพัน งบประมาณรายจ่าย - หลักเกณฑ์การนำเงินส่งคลัง เป็นรายได้แผ่นดิน และข้อยกเว้น - อำนาจในการกู้เงิน - งบประมาณรายจ่ายข้ามปี และการกันเงินไว้เบิกเหลื่อมปี - เงินทุนสำรองจ่ายฉุกเฉิน - รายงานการเงินแผ่นดิน - บทกำหนดโทษ 1. อำนาจหน้าที่ของสำนักงบประมาณ 2. ลักษณะงบประมาณ สมดุล/เกินดุล/ขาดดุล 3. การจัดทำงบประมาณรายจ่ายประจำปี 4. การตั้งรายจ่ายเพื่อชดใช้เงินคงคลัง 5. งบประมาณที่ล่วงแล้วไปพลางก่อน 6. งบประมาณรายจ่ายเพิ่มเติม บริหาร ควบคุม มาตรา สำนักงบประมาณ ส่วนราชการ กระทรวงการคลัง มาตรา มาตรา 7. การโอนงบประมาณข้ามส่วนราชการ 8. การโอน/เปลี่ยนแปลงเงินงบประมาณ 9. การใช้จ่ายเงินงบประมาณ งบส่วนราชการ / งบกลาง

22 พระราชบัญญัติวินัยการเงินการคลังของรัฐ พ.ศ. 2561
ประกาศในราชกิจจานุเบกษา 19 เมษายน 2561 มีผลบังคับใช้ 20 เมษายน 2561

23 วัตถุประสงค์ของ พ.ร.บ. วินัยการเงินการคลังของรัฐ พ.ศ. 2561
เพื่อให้มีกฎหมายหลักเกี่ยวกับวินัยการเงินการคลังที่ชัดเจน เพื่อให้รัฐต้องรักษาวินัยการเงินการคลังอย่างเคร่งครัดเพื่อให้ เกิดเสถียรภาพและความมั่นคงอย่างยั่งยืนต่อฐานะการเงิน และการคลังของประเทศ นำบทบัญญัติที่เกี่ยวกับวินัยการเงินการคลังที่กำหนดไว้ใน กฎหมายต่าง ๆ มากำหนดไว้ในกฎหมายฉบับเดียว

24 โครงสร้างของ พ.ร.บ. วินัยการเงินการคลังของรัฐ พ.ศ. 2561
คำนิยาม และผู้รักษาการตามกฎหมาย หมวด 1 บททั่วไป หมวด 2 นโยบายการเงินการคลัง ส่วนที่ 1 คณะกรรมการนโยบายการเงินการคลังของรัฐ ส่วนที่ 2 การดำเนินการทางการคลังและงบประมาณ หมวด 3 วินัยการเงินการคลัง ส่วนที่ 1 รายได้ ส่วนที่ 2 รายจ่าย ส่วนที่ 3 การจัดให้ได้มาซึ่งทรัพย์สินและการบริหารทรัพย์สินของรัฐ ส่วนที่ 4 การก่อหนี้และการบริหารหนี้ ส่วนที่ 5 เงินนอกงบประมาณ ส่วนที่ 6 การคลังท้องถิ่น หมวด 4 การบัญชี การรายงานและการตรวจสอบ หมวด 5 การตรวจเงินแผ่นดิน บทเฉพาะกาล

25 สาระสำคัญของ พ.ร.บ. วินัยการเงินการคลังของรัฐ พ.ศ. 2561
“หน่วยงานของรัฐ” หมายความว่า (1) ส่วนราชการ (2) รัฐวิสาหกิจ (3) หน่วยงานของรัฐสภา ศาลยุติธรรม ศาลปกครอง ศาลรัฐธรรมนูญ องค์กรอิสระตามรัฐธรรมนูญ และองค์กรอัยการ (4) องค์การมหาชน (5) ทุนหมุนเวียนที่มีฐานะเป็นนิติบุคคล (6) องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (7) หน่วยงานอื่นของรัฐตามที่กฎหมายกำหนด ผู้รักษาการตามกฎหมาย : นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง

26 คณะกรรมการนโยบายการเงินการคลังของรัฐ
องค์ประกอบ นายกรัฐมนตรี ประธานกรรมการ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง รองประธานกรรมการ ปลัดกระทรวงการคลัง กรรมการ เลขาธิการคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ กรรมการ ผู้อำนวยการสำนักงบประมาณ กรรมการ ผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย กรรมการ ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง เลขานุการ และให้สำนักงานเศรษฐกิจการคลังปฏิบัติหน้าที่เป็นหน่วยงานธุรการของคณะกรรมการ

27 หน้าที่และอำนาจ (1) กำหนดวินัยการเงินการคลังเพิ่มเติมจากที่บัญญัติไว้แล้วในพระราชบัญญัตินี้หรือในกฎหมายอื่น เพื่อให้หน่วยงาน ของรัฐถือปฏิบัติ โดยไม่กระทบต่อความเป็นอิสระในการปฏิบัติหน้าที่ของหน่วยงานของรัฐ (2) จัดทำและทบทวนแผนการคลังระยะปานกลาง (3) เสนอแนะแนวทางการแก้ไขปัญหาที่เกี่ยวข้องกับการงบประมาณ การจัดเก็บรายได้ การบริหารหนี้สาธารณะ การบริหารทรัพย์สิน และปัญหาอื่นที่เกี่ยวข้องกับการเงินการคลังของรัฐ (4) กำหนดสัดส่วนงบประมาณรายจ่ายงบกลาง รายการเงินสำรองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็น สัดส่วนงบประมาณ เพื่อการชำระหนี้ภาครัฐ สัดส่วนการก่อหนี้ผูกพันงบประมาณรายจ่ายข้ามปีงบประมาณ สัดส่วนการก่อหนี้ผูกพันเกินกว่าหรือ นอกเหนือไปจากที่กำหนดไว้ในกฎหมายว่าด้วยงบประมาณรายจ่าย และสัดส่วนตามที่กำหนดไว้ในมาตรา 50 (5) กำหนดนโยบายและกำกับดูแลการบริหารจัดการความเสี่ยงทางการคลัง (6) กำหนดอัตราการชดเชยค่าใช้จ่ายหรือการสูญเสียรายได้ของหน่วยงานของรัฐในการดำเนินกิจกรรม มาตรการ หรือ โครงการตามที่กำหนดไว้ในมาตรา 28 (7) ปฏิบัติการอื่นใดตามที่พระราชบัญญัตินี้หรือกฎหมายอื่นบัญญัติให้เป็นอำนาจหน้าที่ของคณะกรรมการ หรือตามที่ คณะรัฐมนตรีมอบหมาย

28 ประกาศคณะกรรมการนโยบายการเงินการคลังของรัฐ
ประกาศคณะกรรมการนโยบายการเงินการคลังของรัฐ เรื่อง กำหนดสัดส่วนต่าง ๆ เพื่อเป็นกรอบวินัยการเงิน การคลังของรัฐ พ.ศ. 2561 ประกาศคณะกรรมการนโยบายการเงินการคลังของรัฐ เรื่อง การดำเนินกิจกรรม มาตรการ หรือโครงการที่ ก่อให้เกิดภาระต่องบประมาณหรือภาระทางการคลังในอนาคต พ.ศ. 2561 ประกาศคณะกรรมการนโยบายการเงินการคลังของรัฐ เรื่อง กำหนดอัตราชดเชยค่าใช้จ่ายหรือการสูญเสียรายได้ ของหน่วยงานของรัฐในการดำเนินกิจกรรม มาตรการ หรือโครงการตามที่กำหนดไว้ในมาตรา 28 พ.ศ. 2561 ประกาศคณะกรรมการนโยบายการเงินการคลังของรัฐ เรื่อง นโยบายการบริหารจัดการความเสี่ยงทางการคลัง พ.ศ. 2561 ประกาศคณะกรรมการนโยบายการเงินการคลังของรัฐ เรื่อง กำหนดกรอบในการบริหารหนี้สาธารณะ พ.ศ. 2561 ประกาศคณะกรรมการนโยบายการเงินการคลังของรัฐ เรื่อง หลักเกณฑ์การรายงานสถานะหนี้สาธารณะ หนี้ภาครัฐ และความเสี่ยงทางการคลัง พ.ศ. 2561

29 การดำเนินการทางการคลังและงบประมาณ
ให้มีแผนการคลังระยะปานกลาง เพื่อใช้เป็นแผนแม่บทหลักสำหรับการวางแผนการดำเนินการทางการเงิน การคลังและงบประมาณของรัฐ รวมทั้งแผนการจัดทำงบประมาณรายจ่ายประจำปี และแผนการบริหารหนี้ สาธารณะด้วย โดยให้คณะกรรมการจัดทำแผนการคลังระยะปานกลางให้แล้วเสร็จภายใน 3 เดือนนับแต่วัน สิ้นปีงบประมาณทุกปี โดยให้เสนอคณะรัฐมนตรีพิจารณาให้ความเห็นชอบ แผนการคลังระยะปานกลาง ให้มีระยะเวลาไม่น้อยกว่า 3 ปี และอย่างน้อยต้องประกอบด้วย (1) เป้าหมายและนโยบายทางการคลัง (2) สถานะและประมาณการเศรษฐกิจ (3) สถานะและประมาณการการคลัง ซึ่งรวมถึงประมาณการรายได้ ประมาณการรายจ่าย ดุลการคลัง และการจัดการกับดุลการคลังนั้น (4) สถานะหนี้สาธารณะของรัฐบาล (5) ภาระผูกพันทางการเงินการคลังของรัฐบาล

30 การจัดทำกรอบวงเงินงบประมาณรายจ่ายประจำปี ให้นำแผนการคลังระยะปานกลาง มาประกอบการพิจารณาด้วย และให้คำนึงถึงภาวะเศรษฐกิจของประเทศ ความเป็นธรรมทางสังคม นโยบายงบประมาณ เสถียรภาพและความยั่งยืนทางการคลังของประเทศ ความจำเป็นที่จะต้องใช้จ่าย การจัดเก็บรายได้แผ่นดิน สถานะของหนี้สาธารณะ และความสามารถในการกู้เงินเพื่อชดเชยการขาดดุลงบประมาณ ให้หน่วยงานของรัฐนำแผนการคลังระยะปานกลาง มาใช้ประกอบการพิจารณาในการจัดเก็บหรือหารายได้ การจัดทำงบประมาณ และการก่อหนี้ของหน่วยงานของรัฐด้วย

31 การจัดสรรงบประมาณรายจ่ายให้แก่หน่วยงานของรัฐต้องคำนึงถึง
(1) ความจำเป็นและภารกิจของหน่วยงานของรัฐที่ขอรับจัดสรรงบประมาณ (2) ฐานะเงินนอกงบประมาณของหน่วยงานของรัฐที่สามารถใช้จ่ายได้ รวมตลอดถึงรายได้หรือเงิน อื่นใดที่หน่วยงานของรัฐนั้นมีอยู่หรือสามารถนำมาใช้จ่ายได้ (3) ความสามารถในการใช้จ่ายและการก่อหนี้ผูกพันของหน่วยงานของรัฐภายในปีงบประมาณนั้น (4) การปฏิบัติหน้าที่โดยอิสระของรัฐสภา ศาลยุติธรรม ศาลปกครอง ศาลรัฐธรรมนูญ องค์กรอิสระ ตามรัฐธรรมนูญ และองค์กรอัยการ (5) กรณีองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ต้องเป็นไปเพื่อสนับสนุนองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในการทำ หน้าที่ดูแลและจัดทำบริการสาธารณะและกิจกรรมสาธารณะเพื่อประโยชน์ของประชาชนในท้องถิ่น โดย คำนึงถึงความสามารถในการหารายได้ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ตลอดจนความเหมาะสมและความ แตกต่างขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นแต่ละรูปแบบ การตรากฎหมายว่าด้วยงบประมาณรายจ่ายประจำปีต้องดำเนินการให้แล้วเสร็จก่อนวันเริ่มปีงบประมาณนั้น เว้นแต่จะมีเหตุจำเป็นหรือเหตุฉุกเฉินที่มิอาจหลีกเลี่ยงได้

32 การเสนอกฎหมายว่าด้วยงบประมาณรายจ่ายประจำปี ต้องแสดงแหล่งที่มาและประมาณการรายได้ ผลสัมฤทธิ์ หรือประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับจากการ จ่ายเงิน และความสอดคล้องกับยุทธศาสตร์ชาติ และแผนพัฒนาต่าง ๆ ด้วย การตั้งงบประมาณรายจ่ายประจำปีต้องดำเนินการตามหลักเกณฑ์ ดังต่อไปนี้ (1) งบประมาณรายจ่ายลงทุน ต้องมีจำนวนไม่น้อยกว่าร้อยละ 20 ของงบประมาณรายจ่ายประจำปี และต้องไม่น้อยกว่าวงเงินส่วนที่ขาดดุล ของงบประมาณประจำปีนั้น (2) งบประมาณรายจ่ายเกี่ยวกับบุคลากรของรัฐและสวัสดิการของบุคลากรของรัฐ ต้องตั้งไว้อย่างพอเพียง (3) งบประมาณรายจ่ายเพื่อการชำระหนี้ภาครัฐซึ่งเป็นหนี้สาธารณะที่กระทรวงการคลังกู้หรือค้ำประกัน ต้องตั้งเพื่อการชำระคืนต้นเงินกู้ ดอกเบี้ย และค่าใช้จ่ายในการกู้เงินอย่างพอเพียง (4) ภาระทางการเงินที่มีกฎหมายบัญญัติให้รัฐบาลต้องส่งเงินเข้าสมทบหรือชดเชยเพื่อการใด ๆ ต้องตั้งงบประมาณรายจ่ายให้ตามเวลาที่ กฎหมายกำหนด (5) ภาระทางการเงินเพื่อชดเชยต้นทุนทางการเงินและการบริหารจัดการ รวมทั้งความเสียหายจากการดำเนินกิจกรรม มาตรการ หรือโครงการ ตามมาตรา 28 ต้องตั้งงบประมาณรายจ่ายให้ในโอกาสแรกที่กระทำได้ (6) งบประมาณรายจ่ายงบกลาง รายการเงินสำรองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็น ให้ตั้งได้เฉพาะเพื่อวัตถุประสงค์ในการป้องกันหรือแก้ไข สถานการณ์อันกระทบต่อความสงบเรียบร้อยของประชาชน ความมั่นคงของรัฐ การเยียวยาหรือบรรเทาความเสียหายจากภัยพิบัติสาธารณะร้ายแรง และ ภารกิจที่เป็นความจำเป็นเร่งด่วนของรัฐ ในกรณีที่การตั้งงบประมาณรายจ่ายไม่สามารถดำเนินการตามหลักเกณฑ์ที่กำหนดไว้ได้ ให้แสดงเหตุผลความจำเป็นและมาตรการในการแก้ไข ต่อรัฐสภา พร้อมกับการเสนอร่างพระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปีด้วย

33 การจัดทำงบประมาณรายจ่ายเพิ่มเติม ให้กระทำได้เมื่อมีเหตุผลและความจำเป็นที่ต้องใช้จ่ายเงินระหว่างปีงบประมาณ โดยไม่ สามารถรองบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณถัดไปได้ และให้ระบุที่มาของเงินที่จะใช้จ่ายตามงบประมาณรายจ่าย เพิ่มเติมด้วย งบประมาณรายจ่ายงบกลาง ให้ตั้งได้เฉพาะในกรณีที่มีเหตุผลและความจำเป็นที่ไม่อาจจัดสรรหรือไม่สมควรจัดสรร งบประมาณรายจ่ายให้แก่หน่วยงานของรัฐที่รับผิดชอบได้โดยตรง การจัดสรรงบประมาณรายจ่ายแก่หน่วยงานของรัฐสภา หน่วยงานของศาลยุติธรรม ศาลปกครอง ศาลรัฐธรรมนูญ องค์กร อิสระตามรัฐธรรมนูญ และองค์กรอัยการ - ให้จัดสรรให้เพียงพอกับการปฏิบัติหน้าที่โดยอิสระ โดยต้องคำนึงถึงการดำเนินงาน รายได้ เงินนอกงบประมาณ และ เงินอื่นใดที่หน่วยงานนั้นมีอยู่ด้วย - ในกรณีที่เห็นว่างบประมาณที่ได้รับจัดสรรอาจไม่เพียงพอต่อการปฏิบัติหน้าที่ และยื่นคำขอแปรญัตติต่อ คณะกรรมาธิการ ให้แสดงเหตุผลและความจำเป็นที่จะต้องได้รับการจัดสรรงบประมาณเพิ่มเติม และให้สำนักงบประมาณเสนอ ความเห็นประกอบการพิจารณาของคณะกรรมาธิการด้วย - ให้จัดให้มีระบบการจัดทำและการใช้จ่ายเงินงบประมาณอย่างมีประสิทธิภาพและสัมฤทธิผล การกำกับดูแลการใช้ จ่ายเงิน และระบบการควบคุมภายในด้านการเงินการคลัง โดยรักษาวินัยการเงินการคลังอย่างเคร่งครัด รวมทั้งต้องมีการเปิดเผย ข้อมูลเกี่ยวกับการใช้จ่ายเงินและรายได้ที่ได้รับให้สาธารณชนทราบ รวมทั้งเผยแพร่ผ่านทางสื่ออิเล็กทรอนิกส์ด้วย

34 การโอนงบประมาณรายจ่ายระหว่างหน่วยงานของรัฐจะกระทำไม่ได้ เว้นแต่จะมีกฎหมายอนุญาตให้กระทำได้
การเสนอกฎหมายที่กำหนดให้หน่วยงานของรัฐไม่ต้องนำเงินรายได้หรือเงินอื่นใดส่งคลัง ให้กระทำได้เฉพาะใน กรณีที่มีความจำเป็นและเกิดประโยชน์ในการที่หน่วยงานของรัฐนั้นจะมีเงินเก็บไว้เพื่อการดำเนินงานตามอำนาจ หน้าที่ของตน โดยจะต้องได้รับความเห็นชอบจากกระทรวงการคลังก่อนเสนอกฎหมายต่อคณะรัฐมนตรี การเสนอกฎหมายที่มีบทบัญญัติให้จัดเก็บภาษีอากรหรือค่าธรรมเนียมเพิ่มขึ้นจากที่กำหนดไว้ในกฎหมาย เพื่อให้หน่วยงานของรัฐนำไปใช้จ่ายตามวัตถุประสงค์ของหน่วยงานของรัฐนั้น หรือเพื่อการหนึ่งการใด เป็นการเฉพาะ จะกระทำมิได้ เว้นแต่กรณีการจัดเก็บภาษีอากรหรือค่าธรรมเนียมเพิ่มขึ้นเพื่อเป็นรายได้ของ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น

35 การดำเนินกิจกรรม มาตรการ หรือโครงการที่ก่อให้เกิดภาระต่องบประมาณหรือภาระทางการคลังในอนาคตตามที่คณะกรรมการกำหนด - ให้หน่วยงานของรัฐ ซึ่งเป็นผู้รับผิดชอบการดำเนินการนั้นจัดทำแผนบริหารจัดการกิจกรรม มาตรการ หรือโครงการ ประมาณการรายจ่าย แหล่งเงินที่ใช้ตลอดระยะเวลาดำเนินการ และประโยชน์ที่จะได้รับ โดยต้องเสนอพร้อมกับการขออนุมัติกิจกรรม มาตรการ หรือโครงการต่อคณะรัฐมนตรี และในกรณีที่การดำเนินการก่อให้เกิดการสูญเสียรายได้ของรัฐหรือของหน่วยงานของรัฐ ให้จัดทำประมาณการการสูญเสียรายได้และประโยชน์ที่จะได้รับ เสนอในการขออนุมัติต่อคณะรัฐมนตรีด้วย - ในการพิจารณาอนุมัติ ให้คณะรัฐมนตรีพิจารณาความจำเป็นเร่งด่วน ประโยชน์ที่ได้รับ และภาระทางการคลัง หรือการสูญเสียรายได้ที่จะเกิดขึ้นในอนาคตด้วย - ให้หน่วยงานของรัฐซึ่งเป็นผู้รับผิดชอบจัดทำรายงานเปรียบเทียบประโยชน์ที่ได้รับกับการสูญเสียรายได้ที่เกิดขึ้นจริงกับประมาณการที่ได้จัดทำเสนอคณะรัฐมนตรีเพื่อทราบเป็นประจำทุกสิ้นปีงบประมาณ จนกว่าการดำเนินการดังกล่าวจะแล้วเสร็จ การมอบหมายให้หน่วยงานของรัฐดำเนินกิจกรรม มาตรการ หรือโครงการ โดยรัฐบาลรับภาระจะชดเชยค่าใช้จ่ายหรือการสูญเสียรายได้ในการดำเนินการนั้น - ให้กระทำได้เฉพาะกรณีที่อยู่ในหน้าที่และอำนาจตามกฎหมายและอยู่ภายในขอบแห่งวัตถุประสงค์ของหน่วยงานของรัฐนั้น เพื่อฟื้นฟูหรือกระตุ้นเศรษฐกิจ หรือเพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการประกอบอาชีพหรือยกระดับคุณภาพชีวิตของประชาชน หรือเพื่อช่วยเหลือฟื้นฟูผู้ได้รับผลกระทบ จากสาธารณภัยหรือการก่อวินาศกรรม - ในการมอบหมาย คณะรัฐมนตรีต้องพิจารณาภาระทางการคลังของรัฐที่อาจเกิดขึ้นทั้งในปัจจุบันและในอนาคต ผลกระทบต่อการดำเนินงานของหน่วยงานของรัฐ ซึ่งได้รับมอบหมายนั้น และแนวทางการบริหารจัดการภาระทางการคลังของรัฐและผลกระทบจากการดำเนินการดังกล่าว - ภาระที่รัฐต้องรับชดเชยค่าใช้จ่ายในการดำเนินการ ต้องมียอดคงค้างทั้งหมดรวมกันไม่เกินอัตราที่คณะกรรมการกำหนด - ให้หน่วยงานของรัฐซึ่งได้รับมอบหมาย ไม่ว่าการมอบหมายนั้นจะเกิดขึ้นก่อนพระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับหรือไม่ จัดทำประมาณการต้นทุน ทางการเงินและการบริหารจัดการที่รัฐจะต้องรับภาระทั้งหมดสำหรับกิจกรรม มาตรการ หรือโครงการนั้น ๆ และแจ้งให้คณะกรรมการและกระทรวงการคลังทราบ

36 ให้หน่วยงานของรัฐซึ่งได้รับมอบหมายให้ดำเนินกิจกรรม มาตรการ หรือโครงการที่ก่อให้เกิดภาระต่อ งบประมาณหรือภาระทางการคลังจัดทำบัญชีสำหรับการดำเนินการดังกล่าวแยกต่างหากจากบัญชีการ ดำเนินงานทั่วไป พร้อมทั้งเสนอรายงานผลการดำเนินการตามที่ได้รับมอบหมายและผลสัมฤทธิ์ต่อรัฐมนตรี เพื่อเสนอต่อคณะรัฐมนตรี และเปิดเผยให้สาธารณชนทราบ รวมทั้งเผยแพร่ผ่านทางสื่ออิเล็กทรอนิกส์ด้วย ให้กระทรวงการคลังและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องบริหารจัดการความเสี่ยงทางการคลังให้เป็นไปตามนโยบาย การบริหารจัดการความเสี่ยงทางการคลังที่คณะกรรมการกำหนด

37 การคลังท้องถิ่น อปท. ต้องจัดเก็บรายได้ให้เพียงพอในการจัดทำบริการสาธารณะและกิจกรรมสาธารณะ ในกรณีที่ยังไม่สามารถ จัดเก็บรายได้ให้เพียงพอกับการดำเนินการ ให้รัฐจัดสรรงบประมาณเพื่อสนับสนุน อปท. เท่าที่จำเป็นและเหมาะสม ไปพลางก่อน การจัดทำงบประมาณ การใช้จ่าย การก่อหนี้ผูกพัน และการบริหารทรัพย์สินของ อปท. ต้องทำอย่างโปร่งใสและ ตรวจสอบได้ โดยต้องพิจารณาผลสัมฤทธิ์ ความคุ้มค่า ความประหยัด และภาระทางการคลังที่จะเกิดขึ้นในอนาคต ด้วย การจัดทำงบประมาณประจำปีของ อปท. ให้พิจารณาฐานะการคลังของ อปท. ความจำเป็นที่ต้องใช้จ่ายเงิน งบประมาณ การจัดเก็บรายได้ในปีงบประมาณนั้น โดยให้ปฏิบัติตามกฎหมายว่าด้วยการจัดตั้งองค์กรปกครอง ส่วนท้องถิ่น และพระราชบัญญัตินี้ การก่อหนี้ของ อปท. ตามอำนาจที่มีอยู่ตามกฎหมายจัดตั้งองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นนั้น ถ้าเป็นการกู้เงินหรือการ ออกพันธบัตร ให้อยู่ภายใต้บทบัญญัติแห่งพระราชบัญญัตินี้ และหลักเกณฑ์ที่เกี่ยวข้องที่ได้กำหนดขึ้นตามกฎหมาย ว่าด้วยการบริหารหนี้สาธารณะด้วย สำหรับการกู้เงินของ อปท. ที่เป็นการกู้เงินจากต่างประเทศหรือกู้เป็นเงินตรา ต่างประเทศ ต้องได้รับความเห็นชอบจากรัฐมนตรีและคณะรัฐมนตรีก่อนด้วย

38 สาระสำคัญของ พ. ร. บ. วินัยการเงินการคลังของรัฐ พ. ศ
สาระสำคัญของ พ.ร.บ. วินัยการเงินการคลังของรัฐ พ.ศ ที่เกี่ยวข้องกับกรมบัญชีกลาง กรมบัญชีกลาง การตั้งงบประมาณรายจ่ายงบกลางและการชดใช้เงินคงคลัง การยกเว้นการนำเงินส่งคลังเป็นรายได้แผ่นดิน การออกกฎหมายเกี่ยวกับการใช้จ่ายเงิน การจัดการทรัพย์สิน (ตัวเงิน) ที่ตกเป็นของแผ่นดิน การบริหารเงินคงคลังและการกู้ชดเชยการขาดดุลงบประมาณ การจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุ เงินนอกงบประมาณและทุนหมุนเวียน การบัญชีและรายงานการเงิน ตรวจสอบภายใน ควบคุมภายใน การบริหารความเสี่ยง

39 การตั้งงบประมาณรายจ่ายงบกลางและการชดใช้เงินคงคลัง
มาตรา 20 การตั้งงบประมาณรายจ่ายประจำปีต้องดำเนินการตามหลักเกณฑ์ ดังต่อไปนี้ (1) ... (2) งบประมาณรายจ่ายเกี่ยวกับบุคลากรของรัฐและสวัสดิการของบุคลากรของรัฐ ต้องตั้งไว้อย่าง พอเพียง กรมบัญชีกลางขอตั้งงบประมาณรายจ่ายประจำปีในส่วนของงบกลาง และงบประมาณรายจ่ายชดใช้ เงินคงคลัง โดยในการขอตั้งงบประมาณรายจ่ายงบกลาง ซึ่งเป็นงบประมาณรายจ่ายเกี่ยวกับบุคลากร ของรัฐและสวัสดิการของบุคลากรของรัฐต้องตั้งไว้อย่างพอเพียง

40 การยกเว้นการนำเงินส่งคลังเป็นรายได้แผ่นดิน
มาตรา 25 การเสนอกฎหมายที่กำหนดให้หน่วยงานของรัฐไม่ต้องนำเงินรายได้หรือเงินอื่นใดส่งคลัง ให้กระทำได้เฉพาะในกรณีที่มีความจำเป็นและเกิดประโยชน์ในการที่หน่วยงานของรัฐนั้นจะมีเงินเก็บไว้เพื่อ การดำเนินงานตามอำนาจหน้าที่ของตน โดยจะต้องได้รับความเห็นชอบจากกระทรวงการคลังก่อนเสนอ กฎหมายต่อคณะรัฐมนตรี มาตรา 35 การกันเงินรายได้เพื่อให้หน่วยงานของรัฐนำไปใช้จ่ายตามวัตถุประสงค์ของหน่วยงานนั้น หรือเพื่อการหนึ่งการใดเป็นการเฉพาะจะกระทำมิได้ เว้นแต่จะอาศัยอำนาจตามกฎหมาย กระทรวงการคลังพิจารณาให้ความเห็นชอบ/ไม่เห็นชอบร่างกฎหมายที่หน่วยงานของรัฐเสนอ กรณีที่มีการกำหนดบทบัญญัติให้หน่วยงานของรัฐไม่ต้องนำเงินรายได้หรือเงินอื่นใดส่งคลัง

41 การออกกฎหมายเกี่ยวกับการใช้จ่ายเงิน
มาตรา 39 การเบิกเงินจากคลัง การรับเงิน การจ่ายเงิน การเก็บรักษาเงิน และการนำเงินส่งคลัง ให้ เป็นไปตามระเบียบที่รัฐมนตรีกำหนดโดยความเห็นชอบของคณะรัฐมนตรี ปรับปรุงระเบียบการเบิกจ่ายเงินจากคลัง การเก็บรักษาเงินและการนำเงินส่งคลัง

42 การออกกฎหมายเกี่ยวกับการใช้จ่ายเงิน (ต่อ)
มาตรา 41 ให้รัฐมนตรีมีอำนาจสั่งจ่ายเงินจากคลังเป็นเงินทดรองราชการเพื่อให้ส่วนราชการใช้ทดรองจ่ายเป็น ค่าใช้จ่ายปลีกย่อย หรือเป็นค่าใช้จ่ายในการปฏิบัติราชการในต่างประเทศหรือตามข้อผูกพันในการกู้เงินจากต่างประเทศ หรือ เป็นกรณีจำเป็นเร่งด่วนที่ไม่สามารถรอการเบิกเงินจากงบประมาณได้ ทั้งนี้ ตามระเบียบที่รัฐมนตรีกำหนดโดยความเห็นชอบ ของคณะรัฐมนตรี เมื่อส่วนราชการได้จ่ายเงินทดรองราชการแล้ว ให้เบิกเงินชดใช้เงินทดรองราชการที่ได้จ่ายไปนั้นในโอกาสแรกที่ กระทำได้ ปรับปรุงระเบียบเกี่ยวกับเงินทดรองราชการประเภทต่าง ๆ 1. ระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยเงินทดรองราชการ 2. ระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยเงินทดรองราชการของส่วนราชการในต่างประเทศ 3. ระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยเงินทดรองราชการเพื่อช่วยเหลือผู้ประสบภัยพิบัติกรณีฉุกเฉิน 4. ระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยเงินทดรองราชการเพื่อรองจ่ายตามโครงการเงินกู้จากต่างประเทศ

43 การออกกฎหมายเกี่ยวกับการใช้จ่ายเงิน (ต่อ)
มาตรา 34 บรรดาเงินที่หน่วยงานของรัฐจัดเก็บหรือได้รับไว้เป็นกรรมสิทธิ์ ไม่ว่าจะได้รับตามกฎหมาย ระเบียบ หรือข้อบังคับ หรือได้รับชำระตามอำนาจ หน้าที่หรือสัญญา หรือได้รับจากการให้ใช้ทรัพย์สินหรือเก็บดอกผลจากทรัพย์สินของราชการ ให้นำส่งคลังตามระเบียบที่รัฐมนตรีกำหนด เว้นแต่จะมีกฎหมายกำหนดเป็น อย่างอื่น ในกรณีที่หน่วยงานของรัฐตามวรรคหนึ่งได้รับเงินที่มีผู้มอบให้ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้ใช้จ่ายในกิจการของหน่วยงานของรัฐนั้นก็ดี หรือได้รับเงินที่เกิด จากทรัพย์สินซึ่งมีผู้มอบให้เพื่อหาดอกผลใช้จ่ายในกิจการของหน่วยงานของรัฐนั้นก็ดี ให้หน่วยงานของรัฐนั้นจ่ายเงิน หรือก่อหนี้ผูกพันภายในวงเงินที่ได้รับนั้นได้ และ ไม่ต้องนำส่งคลัง ในกรณีที่หน่วยงานของรัฐตามวรรคหนึ่งได้รับเงินตามโครงการช่วยเหลือ หรือร่วมมือกับรัฐบาลต่างประเทศ องค์การสหประชาชาติ ทบวงการชำนัญพิเศษ แห่งสหประชาชาติ องค์การระหว่างประเทศอื่นใด หรือบุคคลใดไม่ว่าจะเป็นเงินให้กู้หรือให้เปล่า รวมทั้งเงินที่ได้รับ สืบเนื่องจากโครงการช่วยเหลือหรือร่วมมือเช่นว่านั้น รัฐมนตรีจะกำหนดเป็นอย่างอื่นโดยไม่ต้องนำส่งคลังก็ได้ เมื่อมีเหตุผลอันสมควร รัฐมนตรีจะอนุญาตให้หน่วยงานของรัฐตามวรรคหนึ่งที่ได้รับเงินในกรณีต่อไปนี้ นำเงินนั้นไปใช้จ่ายโดยไม่ต้องนำส่งคลังก็ได้ (1) เงินที่ได้รับในลักษณะค่าชดใช้ความเสียหายหรือสิ้นเปลืองแห่งทรัพย์สิน และจำเป็นต้องจ่ายเพื่อบูรณะทรัพย์สินหรือจัดให้ได้ทรัพย์สินคืนมา (2) เงินรายรับของหน่วยงานของรัฐ ที่เป็นสถานพยาบาล สถานศึกษา หรือสถานอื่นใดที่อำนวยบริการอันเป็นสาธารณประโยชน์ หรือประชาสงเคราะห์ (3) เงินที่ได้รับในลักษณะผลพลอยได้จากการปฏิบัติงานตามอำนาจหน้าที่ (4) เงินที่ได้รับจากการจำหน่ายหุ้นในนิติบุคคลเพื่อนำไปซื้อหุ้นในนิติบุคคลอื่น

44 การออกกฎหมายเกี่ยวกับการใช้จ่ายเงิน (ต่อ)
การจ่ายเงินตาม (2) และ (3) ต้องเป็นไปตามระเบียบที่ได้รับอนุมัติจากรัฐมนตรีและผู้อำนวยการสำนักงบประมาณ ส่วนการจำหน่ายหุ้นและการซื้อหุ้นตาม (4) ต้องเป็นไปตามระเบียบที่รัฐมนตรีกำหนดโดยได้รับอนุมัติจากคณะรัฐมนตรี - ระเบียบการจ่ายเงินที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังอนุญาตให้หน่วยงานของรัฐเก็บไว้ใช้จ่ายได้โดยไม่ต้องนำส่งคลังเป็นรายได้แผ่นดิน (มาตรา 34 วรรคสี่ (2) และ (3)) - หลักเกณฑ์และวิธีปฏิบัติเกี่ยวกับเงินที่ส่วนราชการได้รับโดยมีวัตถุประสงค์ (มาตรา 34 วรรคสอง) - หลักเกณฑ์และวิธีปฏิบัติเกี่ยวกับเงินที่ส่วนราชการได้รับตามโครงการช่วยเหลือหรือร่วมมือกับรัฐบาลต่างประเทศ องค์การระหว่างประเทศอื่นใด หรือบุคคลใด (มาตรา 34 วรรคสาม - หลักเกณฑ์และวิธีปฏิบัติเกี่ยวกับเงินที่ส่วนราชการได้รับในลักษณะค่าชดใช้ความเสียหายหรือสิ้นเปลืองแห่งทรัพย์สินและจำเป็นต้องจ่าย เพื่อบูรณะทรัพย์สินหรือจัดให้ได้ทรัพย์สินคืนมา (มาตรา 34 วรรคสี่ (1))

45 การจัดการทรัพย์สิน (ตัวเงิน) ที่ตกเป็นของแผ่นดิน
มาตรา 45 ทรัพย์สินของแผ่นดินและทรัพย์สินที่ตกเป็นของแผ่นดิน ไม่ว่าด้วยเหตุใด ๆ ให้กระทรวงการคลัง มีหน้าที่รับผิดชอบเกี่ยวกับการดูแลรักษาและบริหารทรัพย์สินนั้น เว้นแต่จะมีกฎหมายกำหนดไว้เป็นอย่างอื่น ให้กระทรวงการคลังมีหน้าที่จัดทำบัญชีทรัพย์สินของแผ่นดินตามประเภทและลักษณะแห่งทรัพย์สินนั้น ในกรณีที่มีกฎหมายกำหนดให้หน่วยงานอื่นของรัฐมีหน้าที่รับผิดชอบเกี่ยวกับการดูแลรักษาและบริหาร ทรัพย์สินของแผ่นดินตามวรรคหนึ่ง ให้หน่วยงานของรัฐดังกล่าวมีหน้าที่ จัดทำบัญชีทรัพย์สินของแผ่นดินและรายงาน ให้กระทรวงการคลังทราบด้วย ทั้งนี้ ตามหลักเกณฑ์ที่กระทรวงการคลังกำหนด ในกรณีที่ทรัพย์สินใดตกเป็นของแผ่นดิน ให้กระทรวงการคลังนำขึ้นบัญชีทรัพย์สินของแผ่นดิน ตามประเภทและลักษณะแห่งทรัพย์สินนั้นต่อไปด้วย ในการดำเนินการตามวรรคหนึ่ง กระทรวงการคลังอาจมอบหมายให้หน่วยงานของรัฐอื่นดำเนินการแทนก็ได้ จัดทำหลักเกณฑ์ในการจัดทำและการรายงานบัญชีทรัพย์สินของแผ่นดิน

46 การบริหารเงินคงคลังและการกู้ชดเชยการขาดดุลงบประมาณ
มาตรา 46 การบริหารเงินคงคลังให้เป็นไปตามที่กำหนดไว้ในกฎหมายว่าด้วยเงินคงคลัง โดยต้อง รักษาไว้ในระดับที่จำเป็น เพื่อให้มีสภาพคล่องเพียงพอสำหรับการเบิกจ่ายเพื่อการดำเนินงานของหน่วยงาน ของรัฐ โดยคำนึงถึงค่าใช้จ่ายและต้นทุนในการบริหารสภาพคล่องด้วย มาตรา 55 การกู้เงินเพื่อชดเชยการขาดดุลงบประมาณหรือเมื่อมีรายจ่ายสูงกว่ารายได้ตามกฎหมาย ว่าด้วยการบริหารหนี้สาธารณะ ให้กระทรวงการคลังดำเนินการให้สอดคล้องกับสถานะของเงินคงคลัง โดยคำนึงถึงประมาณการรายได้และแผนการเบิกจ่ายเงินงบประมาณในแต่ละช่วงเวลาด้วย เมื่อปรากฏว่าในระหว่างปีงบประมาณรัฐบาลสามารถจัดเก็บรายได้เกินกว่าประมาณการ หรือมีการ เบิกจ่ายเงินงบประมาณต่ำกว่าประมาณการ ให้กระทรวงการคลังพิจารณาปรับลดวงเงินที่จะกู้ตามวรรคหนึ่ง ลงตามความจำเป็นและเหมาะสม

47 การจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุ
มาตรา 48 การจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุของหน่วยงานของรัฐต้องปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ ที่กำหนดไว้ในกฎหมายว่าด้วยการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ หรือตามกฎระเบียบของหน่วยงาน ของรัฐโดยเคร่งครัด โดยต้องดำเนินการด้วยความสุจริต คุ้มค่า โปร่งใส มีประสิทธิภาพและประสิทธิผล และ ตรวจสอบได้ กรมบัญชีกลางกำกับดูแลการบริหารพัสดุภาครัฐให้เป็นไปตามพระราชบัญญัติการจัดซื้อจัดจ้าง และการบริหารพัสดุ พ.ศ รวมทั้งระเบียบ กฎกระทรวง ประกาศ ที่กระทรวงการคลังกำหนด

48 เงินนอกงบประมาณและทุนหมุนเวียน
มาตรา 61 เงินนอกงบประมาณให้มีเท่าที่จำเป็นเพื่อประโยชน์ในการปฏิบัติหน้าที่ หรือการดำเนินงาน ตามวัตถุประสงค์ของการมีเงินนอกงบประมาณนั้น ทั้งนี้ ให้นำบทบัญญัติในมาตรา 37 วรรคสอง มาใช้บังคับ กับการใช้จ่ายเงินนอกงบประมาณด้วยโดยอนุโลม เงินนอกงบประมาณของหน่วยงานของรัฐ ให้นำมาฝากไว้ที่กระทรวงการคลัง เว้นแต่จะมีกฎหมาย กำหนดไว้เป็นอย่างอื่นหรือได้ทำความตกลงกับกระทรวงการคลังเป็นอย่างอื่น เว้นแต่จะมีกฎหมายกำหนดไว้เป็นอย่างอื่น เงินนอกงบประมาณนั้นเมื่อได้ใช้จ่ายในการปฏิบัติหน้าที่ หรือการดำเนินงานตามวัตถุประสงค์จนบรรลุวัตถุประสงค์แห่งการนั้นแล้ว มีเงินคงเหลือให้นำส่งคลังโดยมิ ชักช้า ทั้งนี้ การนำเงินส่งคลังให้เป็นไปตามระเบียบที่รัฐมนตรีกำหนดโดยความเห็นชอบของคณะรัฐมนตรี ให้หน่วยงานของรัฐนำเงินนอกงบประมาณฝากไว้ที่กระทรวงการคลัง

49 เงินนอกงบประมาณและทุนหมุนเวียน (ต่อ)
มาตรา 62 ในกรณีที่หน่วยงานของรัฐที่ไม่ใช่รัฐวิสาหกิจและองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นไม่มีความ จำเป็นต้องใช้จ่ายเงินนอกงบประมาณหรือมีเงินนอกงบประมาณมากเกินสมควรให้กระทรวงการคลังเรียกให้ หน่วยงานของรัฐนำเงินดังกล่าวส่งคลัง ทั้งนี้ ตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่รัฐมนตรีกำหนดโดยความ เห็นชอบของคณะรัฐมนตรี กระทรวงการคลังกำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขเกี่ยวกับการเรียกให้หน่วยงานของรัฐ ที่ไม่ใช่รัฐวิสาหกิจและองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นนำเงินนอกงบประมาณที่เกินความจำเป็น ส่งคลังเป็นรายได้แผ่นดิน

50 เงินนอกงบประมาณและทุนหมุนเวียน (ต่อ)
มาตรา 63 การจัดตั้งทุนหมุนเวียนให้กระทำได้แต่โดยบทบัญญัติแห่งกฎหมายเฉพาะเท่านั้น โดยต้อง มีวัตถุประสงค์ในการตั้งที่ชัดเจนและเป็นกรณีที่เป็นกิจกรรมที่หน่วยงานของรัฐต้องปฏิบัติตามหน้าที่เพื่อ สาธารณประโยชน์ หรือเพื่อประโยชน์ทางเศรษฐกิจและสังคม และเหมาะสมที่จะอนุญาตให้นำรายรับจากการ ดำเนินกิจกรรมนั้นสมทบทุนไว้ใช้จ่ายได้ รวมถึงไม่ซ้ำซ้อนกับทุนหมุนเวียนที่จัดตั้งไว้แล้ว การขอจัดตั้ง การบริหาร การประเมินผล การรวมหรือยุบเลิกทุนหมุนเวียน ให้เป็นไปตามกฎหมายว่า ด้วยการบริหารทุนหมุนเวียน เว้นแต่จะมีกฎหมายกำหนดไว้เป็นอย่างอื่น การพิจารณาการจัดตั้ง การบริหาร การประเมินผลการรวมหรือยุบเลิกทุนหมุนเวียน ดำเนินการตามกฎหมายว่าด้วยการบริหารทุนหมุนเวียน

51 การบัญชีและรายงานการเงิน
มาตรา 68 ให้กระทรวงการคลังกำหนดมาตรฐานการบัญชีภาครัฐและนโยบายการบัญชีภาครัฐ ให้หน่วยงานของรัฐที่มิใช่รัฐวิสาหกิจและทุนหมุนเวียนจัดทำบัญชีและรายงานการเงินตามมาตรฐานการ บัญชีภาครัฐและนโยบายการบัญชีภาครัฐตามวรรคหนึ่ง ในกรณีหน่วยงานของรัฐที่เป็นรัฐวิสาหกิจ ให้จัดทำบัญชีและรายงานการเงินตามมาตรฐานการบัญชีที่รับรอง ทั่วไป ในกรณีหน่วยงานของรัฐที่เป็นทุนหมุนเวียน ให้จัดทำบัญชีและรายงานการเงินตามที่กฎหมายว่าด้วยการ บริหารทุนหมุนเวียนกำหนด กระทรวงการคลังประกาศมาตรฐานการบัญชีภาครัฐ และนโยบายการบัญชีภาครัฐ ประกอบด้วย 1. มาตรฐานการบัญชีภาครัฐและนโยบายการบัญชีสำหรับหน่วยงานภาครัฐ 2. มาตรฐานการบัญชีภาครัฐและนโยบายการบัญชีภาครัฐสำหรับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น

52 การบัญชีและรายงานการเงิน (ต่อ)
มาตรา 69 ให้หน่วยงานของรัฐจัดให้มีผู้ทำบัญชีตามหลักเกณฑ์และคุณสมบัติที่กระทรวงการคลัง กำหนด เพื่อจัดทำบัญชีและรายงานการเงินตามพระราชบัญญัตินี้ ประกาศหลักเกณฑ์และคุณสมบัติผู้ทำบัญชี

53 การบัญชีและรายงานการเงิน (ต่อ)
มาตรา 70 ให้หน่วยงานของรัฐจัดทำรายงานการเงินประจำปีงบประมาณซึ่งอย่างน้อยต้องประกอบด้วย งบแสดงฐานะการเงินและงบแสดงผลการดำเนินงานทางการเงิน ทั้งเงินงบประมาณ เงินนอกงบประมาณ และเงินอื่นใด รวมถึงการก่อหนี้ ทั้งนี้ ตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กระทรวงการคลังกำหนด ในกรณีที่มีความจำเป็น หน่วยงานของรัฐจะขอทำความตกลงกับกระทรวงการคลังจัดทำรายงานการเงิน ประจำปีซึ่งมิใช่ปีงบประมาณก็ได้ และกระทรวงการคลังจะกำหนดเงื่อนไข ให้หน่วยงานของรัฐนั้นปฏิบัติด้วยก็ได้ ภายในเก้าสิบวันนับแต่วันสิ้นปีงบประมาณหรือตามที่ได้ตกลงกับกระทรวงการคลังตามวรรคสอง ให้ หน่วยงานของรัฐนำส่งรายงานตามวรรคหนึ่งให้สำนักงานการตรวจเงินแผ่นดินเพื่อตรวจสอบ และนำส่ง กระทรวงการคลังด้วย ประกาศหลักเกณฑ์และวิธีการจัดทำรายงานการเงินประจำปี

54 การบัญชีและรายงานการเงิน (ต่อ)
มาตรา 73 ให้กระทรวงการคลังจัดทำบัญชีการเงินแผ่นดินตามมาตรฐานการบัญชีภาครัฐและนโยบาย การบัญชีภาครัฐ มาตรฐานการบัญชีภาครัฐและนโยบายการบัญชีภาครัฐสำหรับบัญชีแผ่นดิน

55 การบัญชีและรายงานการเงิน (ต่อ)
มาตรา 74 ให้กระทรวงการคลังจัดทำรายงานการรับจ่ายเงินงบประมาณประจำปีงบประมาณที่สิ้นสุด เสนอต่อรัฐมนตรีภายในสี่สิบห้าวันนับแต่วันสิ้นปีงบประมาณนั้น ภายในหกสิบวันนับแต่วันสิ้นปีงบประมาณ ให้รัฐมนตรีเสนอรายงานตามวรรคหนึ่งต่อคณะรัฐมนตรี เพื่อเสนอต่อรัฐสภาภายในเก้าสิบวันนับแต่วันสิ้นปีงบประมาณ 1. กำหนดมาตรฐานรายงานการเงินแผ่นดิน 2. จัดทำรายงานการรับจ่ายเงินงบประมาณประจำปีเสนอต่อรัฐมนตรีภายใน 45 วัน นับแต่วันสิ้นปีงบประมาณ (ปีงบประมาณ พ.ศ รายงานภายใน 14 พ.ย. 61)

56 การบัญชีและรายงานการเงิน (ต่อ)
มาตรา 75 ให้กระทรวงการคลังจัดทำรายงานการเงินแผ่นดินประจำปีงบประมาณ ซึ่งอย่างน้อยต้องประกอบด้วย งบ แสดงฐานะการเงิน งบแสดงผลการดำเนินงานทางการเงิน งบแสดงการเปลี่ยนแปลงสินทรัพย์สุทธิ งบกระแสเงินสด และรายงาน การรับจ่ายเงินประจำปีงบประมาณ และจัดส่งให้สำนักงานการตรวจเงินแผ่นดินตรวจสอบภายในเก้าสิบวันนับแต่วันสิ้น ปีงบประมาณ ให้สำนักงานการตรวจเงินแผ่นดินจัดทำรายงานผลการตรวจสอบรายงานการเงินแผ่นดินประจำปีงบประมาณตาม มาตรฐานการรายงานผลการตรวจสอบที่คณะกรรมการตรวจเงินแผ่นดินกำหนดให้แล้วเสร็จภายในหนึ่งร้อยแปดสิบวันนับแต่วัน สิ้นปีงบประมาณ ให้กระทรวงการคลังเสนอรายงานการเงินแผ่นดินประจำปีงบประมาณตามวรรคหนึ่ง พร้อมด้วยรายงานผลการ ตรวจสอบของสำนักงานการตรวจเงินแผ่นดินตามวรรคสองต่อคณะรัฐมนตรีเพื่อเสนอรัฐสภาภายในสองร้อยสิบวันนับแต่วันสิ้น ปีงบประมาณ 1. กำหนดมาตรฐานรายงานการเงินแผ่นดิน 2. จัดทำรายงานการเงินแผ่นดินและรายงานที่เกี่ยวข้องส่งให้ สตง. ตรวจสอบภายใน 90 วัน นับแต่วันสิ้นปีงบประมาณ (ปีงบประมาณ พ.ศ รายงานภายใน 29 ธ.ค. 61)

57 การบัญชีและรายงานการเงิน (ต่อ)
มาตรา 77 ให้กระทรวงการคลังจัดทำรายงาน ดังต่อไปนี้ (1) รายงานการเงินรวมของรัฐบาลและหน่วยงานของรัฐ ซึ่งประกอบด้วย ข้อมูลจากรายงานการเงินแผ่นดินประจำปีงบประมาณตามมาตรา 75 และรายงานการเงินของหน่วยงานของรัฐตามมาตรา 70 ยกเว้นรายงานการเงินของรัฐวิสาหกิจและองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (2) รายงานการเงินรวมของรัฐวิสาหกิจ (3) รายงานการเงินรวมขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (4) รายงานการเงินรวมภาครัฐ ซึ่งประกอบด้วย ข้อมูลจากรายงานการเงินรวมของรัฐบาลและหน่วยงานของรัฐตาม (1) รายงานการเงินรวม ของรัฐวิสาหกิจตาม (2) และรายงานการเงินรวมขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นตาม (3) รายงานตาม (1) ถึง (4) ให้เสนอต่อคณะรัฐมนตรีภายในสองร้อยสิบวันนับแต่วันสิ้นปีงบประมาณ ในกรณีหน่วยงานของรัฐใดไม่ส่งรายงานการเงินภายในระยะเวลาตามมาตรา 70 ให้กระทรวงการคลังเปิดเผยไว้ในรายงานตามวรรคหนึ่ง และ ให้แจ้งไว้ในรายงานที่เสนอต่อคณะรัฐมนตรีด้วย รายงานการเงินตามวรรคหนึ่ง ให้เปิดเผยต่อสาธารณชนทราบ รวมทั้งเผยแพร่ผ่านทางสื่ออิเล็กทรอนิกส์ด้วย 1. จัดทำหลักเกณฑ์การจัดทำรายงานการเงินรวม 2. จัดทำรายงานการเงินรวมภาครัฐ เสนอต่อคณะรัฐมนตรีภายใน 210 วันนับแต่วันสิ้นปีงบประมาณ (ปีงบประมาณ พ.ศ รายงานภายใน 28 เม.ย. 62)

58 ตรวจสอบภายใน ควบคุมภายใน การบริหารความเสี่ยง
ตรวจสอบภายใน ควบคุมภายใน การบริหารความเสี่ยง มาตรา 79 ให้หน่วยงานของรัฐจัดให้มีการตรวจสอบภายใน การควบคุมภายใน และการบริหารจัดการ ความเสี่ยง โดยให้ถือปฏิบัติตามมาตรฐานและหลักเกณฑ์ที่กระทรวงการคลังกำหนด 1. มาตรฐานและหลักเกณฑ์การตรวจสอบภายในหน่วยงานของรัฐ 2. มาตรฐานและหลักเกณฑ์การควบคุมภายในหน่วยงานของรัฐ 3. มาตรฐานและหลักเกณฑ์การบริหารจัดการความเสี่ยงหน่วยงานของรัฐ

59 การลงโทษทางปกครอง มาตรา 80 วรรคสอง ในกรณีมีการกระทำผิดวินัยการเงินการคลังของรัฐตามที่กำหนดไว้ในพระราชบัญญัตินี้ การสั่งลงโทษ ทางปกครองให้เป็นไปตามกฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการตรวจเงินแผ่นดิน - กรณีไม่เกิดความเสียหายแก่รัฐ สตง. แจ้งให้หน่วยงานทราบเพื่อกำกับดูแลไม่ให้เกิดข้อบกพร่องอีก - กรณีเกิดความเสียหายแก่รัฐ หรือจงใจไม่ปฏิบัติตามกฎหมายวินัยการเงินการคลังของรัฐ สตง. แจ้งให้หน่วยงานดำเนินการเพื่อให้มีการชดใช้ค่าเสียหาย หรือดำเนินการทางวินัย แล้วแต่กรณี กรณีที่หน่วยงานของรัฐไม่ดำเนินการตามที่สำนักงานการตรวจเงินแผ่นดินแจ้ง ให้ผู้ว่าการตรวจเงินแผ่นดินเสนอคณะกรรมการ การตรวจเงินแผ่นดินเพื่อสั่งลงโทษทางปกครอง โทษทางปกครอง - ภาคทัณฑ์ - ตำหนิโดยเปิดเผยต่อสาธารณชน - ปรับทางปกครอง ทั้งนี้ จะลงโทษปรับเป็นเงินเกินเงินเดือนสิบสองเดือนของผู้ถูกลงโทษมิได้

60 สวัสดีค่ะ


ดาวน์โหลด ppt กฎหมายเกี่ยวกับ การเงินการคลัง

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


Ads by Google