งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

อริยบุคคล 4 บุคคลผู้ประเสริฐ กำหนดด้วยการละสังโยชน์ (กิเลสที่ผูกมัดสัตว์) ไว้ในภพ ใครละได้น้อยก็เป็นอริยบุคคลชั้นหยาบ เมื่อละได้มากก็เป็นพระอริยบุคคลชั้นสูงขึ้น.

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


งานนำเสนอเรื่อง: "อริยบุคคล 4 บุคคลผู้ประเสริฐ กำหนดด้วยการละสังโยชน์ (กิเลสที่ผูกมัดสัตว์) ไว้ในภพ ใครละได้น้อยก็เป็นอริยบุคคลชั้นหยาบ เมื่อละได้มากก็เป็นพระอริยบุคคลชั้นสูงขึ้น."— ใบสำเนางานนำเสนอ:

1 อริยบุคคล 4 บุคคลผู้ประเสริฐ กำหนดด้วยการละสังโยชน์ (กิเลสที่ผูกมัดสัตว์) ไว้ในภพ ใครละได้น้อยก็เป็นอริยบุคคลชั้นหยาบ เมื่อละได้มากก็เป็นพระอริยบุคคลชั้นสูงขึ้น

2 อริยบุคคลแบ่งตามประเภทใหญ่
เสขะ อเสขะ เสขะ แปลว่า ผู้ยังต้องศึกษาอยู่ คือยังต้องศึกษาไตรสิกขาคือศีล สมาธิ ปัญญา เพื่อบรรลุมรรคผลที่สูงขึ้นไปอีก เรียกเต็มว่า พระเสขะ หรือ เสขบุคคล เสขะ คือพระอริยบุคคลที่ยังไม่ได้บรรลุ อรหันตผลหรือยังไม่ได้เป็นพระอรหันต์ ได้แก่ พระโสดาบัน พระสกทาคามี และพระอนาคามี เสขะ หากได้บรรลุอรหันตผลเป็นพระอรหันต์แล้วก็เป็นอันพ้นจากความเป็นเสขะ และได้ชื่อว่าใหม่ว่า อเสขะ

3 อริยบุคคลแบ่งตามประเภทใหญ่
อเสขะ แปลว่า ผู้ไม่ต้องศึกษาอีก คือไม่ต้องศึกษาไตรสิกขา คือศีล สมาธิ ปัญญาอีกต่อไป เพราะได้ศึกษาจบโดยได้บรรลุอรหันตผลแล้ว เรียกเต็มว่า พระอเสขะ หรือ อเสขบุคคล อเสขะ ได้แก่พระอริยบุคคลระดับสูงสุดคือพระอรหันต์ ผู้เสร็จกิจการศึกษาไตรสิกขาแล้ว ผู้ไม่มีกิจที่จะต้องบำเพ็ญเพื่อละกิเลสอีก

4 อริยบุคคลแบ่งตามประเภทบุคคล
โสดาบัน สกิทาคามี อนาคามี อรหันต์

5 โสดาบัน โสดาบัน แปลว่า ผู้เข้าถึงกระแสธรรม ผู้แรกถึงกระแสธรรม (คืออริยมรรค) เป็นชื่อเรียกพระอริยบุคคลประเภทแรกใน ๔ ประเภท เมื่อบรรลุเป็นพระโสดาบัน ยังต้องเวียนว่ายตายเกิดอีกไม่เกิน 7 ชาติ แล้วจะบรรลุนิพพาน คือพระอรหันต์

6 สกิทาคามี สกทาคามี หรือ สกิทาคามี แปลว่า ผู้กลับมาเพียงครั้งเดียว เป็นชื่อเรียกพระอริยบุคคลลำดับที่ ๒ พระสกิทาคามีจะเกิดในกามาวจรภพอีกเพียงครั้งเดียวเท่านั้นก็จะถึงพระนิพพาน 

7 อนาคามี อนาคามี แปลว่า ผู้ไม่มาเกิดอีก หมายความว่าจะไม่กลับมาเกิดในกามาวจรภพอีก แต่จะเกิดใน พรหมโลก อีกเพียงครั้งเดียว แล้วจะนิพพานจากพรหมโลกนั้นเลย

8 อรหันต์ เมื่อบรรลุเป็นพระอรหันต์ หากสิ้นชีวิตแล้วจะไม่เกิดอีก


ดาวน์โหลด ppt อริยบุคคล 4 บุคคลผู้ประเสริฐ กำหนดด้วยการละสังโยชน์ (กิเลสที่ผูกมัดสัตว์) ไว้ในภพ ใครละได้น้อยก็เป็นอริยบุคคลชั้นหยาบ เมื่อละได้มากก็เป็นพระอริยบุคคลชั้นสูงขึ้น.

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


Ads by Google