งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

พระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ มาตรา 47

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


งานนำเสนอเรื่อง: "พระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ มาตรา 47"— ใบสำเนางานนำเสนอ:

1 พระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2551 มาตรา 47
พระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ มาตรา 47 ตำแหน่งข้าราชการพลเรือนสามัญ จะมีในส่วนราชการใด จำนวนเท่าใด และเป็นตำแหน่งประเภทใด สายงานใด ระดับใด ให้เป็นไปตามที่ อ.ก.พ. กระทรวง กำหนด โดยต้องคำนึงถึงประสิทธิภาพ ประสิทธิผล ความไม่ซ้ำซ้อนและประหยัดเป็นหลัก ทั้งนี้ ตามหลักเกณฑ์และเงื่อนไขที่ ก.พ. กำหนด และต้องเป็นไปตามมาตรฐานกำหนดตำแหน่งตามมาตรา 48 1

2 หนังสือสำนักงาน ก.พ. ที่ นร 1008/ว 17
ลงวันที่ 2 กรกฎาคม 2552 และที่แก้ไขเพิ่มเติม กำหนดหลักเกณฑ์และเงื่อนไขการกำหนดตำแหน่ง ประเภทบริหาร ประเภทอำนวยการ ประเภทวิชาการ ประเภททั่วไป เพื่อให้ อ.ก.พ. กระทรวงสาธารณสุข ใช้เป็นแนวทาง ในการกำหนดตำแหน่งให้แก่ข้าราชการในสังกัด 2

3 หนังสือสำนักงาน ก.พ. ที่ นร 1008/ว 2 ลงวันที่ 19 กุมภาพันธ์ 2558
ยกเลิกหลักเกณฑ์ฯ ว 17/2552 และที่แก้ไขเพิ่มเติม โดย ได้นำหลักเกณฑ์ที่ได้กำหนดเพิ่มเติมตาม ว 17/ มาปรับปรุงเพิ่มเติมในหลักเกณฑ์ใหม่ โดยมีสาระสำคัญ ที่แก้ไขเพิ่มเติมจากหลักเกณฑ์เดิม ดังนี้ ... 3

4 1. การกำหนดตำแหน่งประเภทวิชาการ
ระดับปฏิบัติการหรือชำนาญการ ตำแหน่งผู้ปฏิบัติงานวิชาการ ให้กำหนดตำแหน่งในลักษณะกรอบระดับตำแหน่ง เป็นระดับปฏิบัติการหรือชำนาญการได้ทุกตำแหน่ง เมื่อมีคุณภาพงานและความยุ่งยากถึงระดับชำนาญการ จะต้องผ่าน การประเมินคุณภาพงานของตำแหน่ง ตามหลักเกณฑ์ที่ ก.พ. กำหนด ทั้งนี้ ตำแหน่งที่ ก.พ. จัดไว้ หรือ อ.ก.พ. กระทรวง กำหนดเป็นตำแหน่งระดับปฏิบัติการหรือชำนาญการ ส่วนราชการสามารถใช้ตำแหน่งดังกล่าวในระดับใด ระดับหนึ่งภายในกรอบระดับตำแหน่งได้ และไม่มีผลกระทบค่าใช้จ่ายด้านบุคลากร โดยส่วนราชการไม่ต้องนำตำแหน่งว่างมายุบรวม ว 17/2552 เดิม 4

5 ทั้งนี้ ต้องนำตำแหน่งว่างมายุบรวม และผ่านการประเมินคุณภาพงานของตำแหน่ง
2. การกำหนดตำแหน่งประเภทวิชาการ ระดับชำนาญการพิเศษ 2.1 ตำแหน่งสำหรับหัวหน้ากลุ่มงานมี 4 กรณี ดังนี้ 1) กลุ่มงานที่ต่ำกว่าส่วนราชการที่มีฐานะเป็นกองหรือเทียบกอง 1 ระดับ และรายงานตรงต่อผู้อำนวยการกอง มีผู้ใต้บังคับบัญชา ไม่น้อยกว่า 4 ตำแหน่ง เป็นตำแหน่งข้าราชการ ประเภทวิชาการ ไม่น้อยกว่า 2 ตำแหน่ง และ อาจนำตำแหน่งข้าราชการ ประเภททั่วไป หรือพนักงานราชการ หรือลูกจ้างประจำ ซึ่งปฏิบัติงานลักษณะเช่นเดียวกับข้าราชการ มานับรวมได้ (สัดส่วนต่อ ข้าราชการ เท่ากับ 2 : 1 ทั้งนี้ ต้องนำตำแหน่งว่างมายุบรวม และผ่านการประเมินคุณภาพงานของตำแหน่ง (ว 17/2552 กำหนดผู้ใต้บังคับบัญชาเป็นตำแหน่งประเภทวิชาการไม่น้อยกว่า 4 ตำแหน่ง) 5

6 หลักเกณฑ์การกำหนดตำแหน่งประเภทวิชาการ
ตำแหน่งประเภทวิชาการ ระดับชำนาญการพิเศษ สำหรับหัวหน้ากลุ่มงาน (กรณีที่ 1) กอง/สำนัก... ผู้อำนวยการ หัวหน้ากลุ่มงาน (ชำนาญการพิเศษ) กลุ่ม/ฝ่าย กลุ่ม/ฝ่าย กลุ่ม/ฝ่าย กลุ่ม/ฝ่าย ปง/ชง + ลูกจ้างประจำ ปก/ชก ปก/ชก + พนักงานราชการ ผู้ใต้บังคับบัญชา ไม่น้อยกว่า 4 ตำแหน่ง โดยเป็นประเภทวิชาการไม่น้อยกว่า 2 ตำแหน่ง และอาจนำตำแหน่งข้าราชการ ประเภททั่วไป หรือพนักงานราชการ หรือลูกจ้างประจำ ซึ่งปฏิบัติงานลักษณะเช่นเดียวกับข้าราชการ มานับรวมได้ (สัดส่วนต่อข้าราชการ เท่ากับ 2 : 1) 6

7 กำหนดตำแหน่งเป็นระดับชำนาญการพิเศษ ได้ทุกตำแหน่ง
2. การกำหนดตำแหน่งประเภทวิชาการ ระดับชำนาญการพิเศษ 2.1 ตำแหน่งสำหรับหัวหน้ากลุ่มงานมี 4 กรณี ดังนี้ 2) ตำแหน่งหัวหน้ากลุ่มพัฒนาระบบบริหาร 3) ตำแหน่งหัวหน้ากลุ่มตรวจสอบภายใน ตำแหน่งหัวหน้ากลุ่มงานที่ ไม่มีฐานะเป็นกองหรือเทียบกอง ที่รับผิดชอบ งานขึ้นตรงต่อหัวหน้าส่วนราชการระดับกรม 4) ตำแหน่งหัวหน้ากลุ่มงานที่รายงานตรงต่อหัวหน้าส่วนราชการที่มีฐานะเป็นกรม หรือเทียบเท่า กำหนดตำแหน่งเป็นระดับชำนาญการพิเศษ ได้ทุกตำแหน่ง 7

8 (ว 17/2552 ข้อ 2) และ 3) ส่วนราชการต้องนำตำแหน่งว่างมายุบรวม)
2. การกำหนดตำแหน่งประเภทวิชาการ ระดับชำนาญการพิเศษ 2.2 ตำแหน่งสำหรับผู้ปฏิบัติงานที่มีประสบการณ์มี 5 กรณี ดังนี้ 1) ตำแหน่งนายแพทย์ ทันตแพทย์ และนายสัตวแพทย์ 2) ตำแหน่งในสายงานด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ที่มีลักษณะงานเกี่ยวกับการวิจัยและพัฒนา ได้แก่ ตำแหน่ง นายแพทย์ แพทย์แผนไทย ทันตแพทย์ นักวิทยาศาสตร์การแพทย์ เภสัชกร นักโภชนาการ นักวิชาการสาธารณสุข พยาบาลวิชาชีพ นักรังสีการแพทย์ นักเทคนิคการแพทย์ ทั้งนี้ ต้องเสนอคณะกรรมการการกำหนดตำแหน่งระดับสูงของกระทรวงพิจารณา ก่อนเสนอ อ.ก.พ.กระทรวงกำหนดตำแหน่ง 3) ตำแหน่งนักวิชาการตรวจสอบภายใน กำหนดตำแหน่งในลักษณะกรอบระดับตำแหน่งเป็นระดับปฏิบัติการหรือชำนาญการหรือชำนาญการพิเศษได้ทุกตำแหน่ง ตามหลักเกณฑ์ที่ ก.พ. กำหนด โดยไม่ต้องนำตำแหน่งว่างมายุบรวม (ว 17/2552 ข้อ 2) และ 3) ส่วนราชการต้องนำตำแหน่งว่างมายุบรวม) 8

9 2. การกำหนดตำแหน่งประเภทวิชาการ ระดับชำนาญการพิเศษ
2.2 ตำแหน่งสำหรับผู้ปฏิบัติงานที่มีประสบการณ์มี 5 กรณี ดังนี้ 4) กลุ่มงานที่ต่ำกว่าส่วนราชการที่มีฐานะเป็นกองหรือเทียบกอง 1 ระดับ อาจกำหนดตำแหน่งเป็นระดับชำนาญการพิเศษ ได้กลุ่มละไม่เกิน 1 ตำแหน่ง สำหรับกลุ่มงานที่มีปริมาณงานสูงมาก และมีอัตรากำลังไม่น้อยกว่า ตำแหน่ง โดยเป็นตำแหน่งข้าราชการประเภทวิชาการไม่น้อยกว่า 5 ตำแหน่ง และอาจนำตำแหน่งข้าราชการประเภททั่วไป หรือพนักงานราชการ หรือลูกจ้างประจำ ซึ่งปฏิบัติงานลักษณะเช่นเดียวกับข้าราชการมานับรวมได้ (สัดส่วน ต่อข้าราชการ 2 : 1) ให้กำหนดตำแหน่งชำนาญการพิเศษ เพิ่มได้ ตำแหน่ง 9 ว 17/2552 เดิมกำหนดตำแหน่งผู้ปฏิบัติงานที่มีประสบการณ์ เป็นระดับชำนาญการพิเศษได้กลุ่มละ 1 ตำแหน่ง

10 (สัดส่วน ต่อข้าราชการ 2: 1)
ตำแหน่งประเภทวิชาการ ระดับชำนาญการพิเศษสำหรับ ผู้ปฏิบัติงานที่มีประสบการณ์ (กรณีที่ 4) กอง /สำนัก... ผู้อำนวยการ กลุ่ม/ฝ่าย หัวหน้ากลุ่มงาน (ชำนาญการพิเศษ) กลุ่ม/ฝ่าย กลุ่ม/ฝ่าย กลุ่ม/ฝ่าย ชำนาญการพิเศษ ชำนาญการพิเศษ ปก/ชก + ปง/ชง + พนักงานราชการ ลูกจ้างประจำ ปก/ชก ปก/ชก อาจนำตำแหน่งข้าราชการประเภททั่วไป หรือพนักงานราชการ หรือลูกจ้างประจำ ซึ่งปฏิบัติงานลักษณะเช่นเดียวกับข้าราชการมานับรวมได้ (สัดส่วน ต่อข้าราชการ 2: 1) 10 ว 17 กำหนดผู้ปฏิบัติงานที่มีประสบการณ์เป็นระดับชำนาญการพิเศษได้กลุ่มละ 1 ตำแหน่ง 10

11 2. การกำหนดตำแหน่งประเภทวิชาการ ระดับชำนาญการพิเศษ
2.2 ตำแหน่งสำหรับผู้ปฏิบัติงานที่มีประสบการณ์มี 5 กรณี ดังนี้ 5) กลุ่มงานที่รายงานตรงต่อหัวหน้าส่วนราชการที่มีฐานะเป็นกรม หรือเทียบเท่า อาจกำหนดตำแหน่งเป็นระดับชำนาญการพิเศษได้กลุ่มละไม่เกิน 1 ตำแหน่ง สำหรับกลุ่มงานที่มีปริมาณงานสูงมาก และมีอัตรากำลังข้าราชการไม่น้อยกว่า 9 ตำแหน่ง โดยเป็นตำแหน่งข้าราชการประเภทวิชาการไม่น้อยกว่า 5 ตำแหน่ง ให้กำหนดตำแหน่งชำนาญการพิเศษเพิ่มได้อีกกลุ่มละ 1 ตำแหน่ง ว 17/2552 ไม่ได้กำหนด 11

12 กำหนดตำแหน่งเป็นการเฉพาะคราว
2. การกำหนดตำแหน่งประเภทวิชาการ ระดับชำนาญการพิเศษ 2.3 ตำแหน่งสำหรับผู้ที่อยู่ในระบบข้าราชการผู้มีผลสัมฤทธิ์สูง กำหนดตำแหน่งเป็นการเฉพาะคราว ไม่ต้องยุบเลิกตำแหน่งว่างมีเงิน แต่ให้ใช้งบประมาณเหลือจ่าย ว 17/2552 ไม่ได้กำหนด (กำหนดใน ว 40/53) 12

13 ไม่ต้องนำตำแหน่งว่างมายุบรวม
3. การกำหนดตำแหน่งประเภททั่วไป 3.1 ระดับปฏิบัติงานหรือชำนาญงาน ตำแหน่งผู้ปฏิบัติงานระดับต้น ให้กำหนดตำแหน่งในลักษณะ กรอบระดับตำแหน่ง เป็นตำแหน่งระดับปฏิบัติงานหรือชำนาญงาน ได้ทุกตำแหน่ง หากมีคุณภาพงานและความยุ่งยากของงานถึงระดับชำนาญงาน จะต้องผ่านการประเมินคุณภาพงานของตำแหน่ง ตามหลักเกณฑ์ที่ ก.พ. กำหนด ทั้งนี้ ตำแหน่งที่ ก.พ. จัดไว้ หรือ อ.ก.พ. กระทรวง กำหนดเป็นตำแหน่งระดับปฏิบัติงานหรือชำนาญงาน ส่วนราชการสามารถใช้ตำแหน่งดังกล่าวในระดับใดระดับหนึ่งภายในกรอบระดับตำแหน่งได้ ไม่ต้องนำตำแหน่งว่างมายุบรวม ว 17/2552 เดิม 13

14 ว 17/2552 กำหนดให้มีผู้ใต้บังคับบัญชาไม่น้อยกว่า 8 ตำแหน่ง
3.2 การกำหนดตำแหน่งประเภททั่วไป ระดับอาวุโส ก. ตำแหน่งสำหรับหัวหน้ากลุ่มงาน 1) ตำแหน่งหัวหน้ากลุ่มงานบริหารทั่วไป ที่ต่ำกว่าส่วนราชการที่มีฐานะ เป็นกอง หรือเทียบกอง 1 ระดับ เช่น เจ้าพนักงานธุรการ 2) ตำแหน่งหัวหน้ากลุ่มงานที่ปฏิบัติภารกิจหลัก บริการทั่วไป ของกรม เช่น เจ้าหน้าที่ปกครอง และตำแหน่งหัวหน้ากลุ่มงานการเงินและบัญชี และ หัวหน้ากลุ่มงานพัสดุ มีผู้ใต้บังคับบัญชาไม่น้อยกว่า 6 ตำแหน่ง โดยเป็นตำแหน่งข้าราชการ ไม่น้อยกว่า 2 ตำแหน่ง และอาจนำตำแหน่งพนักงานราชการ หรือลูกจ้างประจำ ซึ่งปฏิบัติงานลักษณะเช่นเดียวกับข้าราชการมานับรวมได้ (สัดส่วนต่อข้าราชการ 2:1) ว 17/2552 กำหนดให้มีผู้ใต้บังคับบัญชาไม่น้อยกว่า 8 ตำแหน่ง 14

15 ว 17/2552 กำหนดให้มีผู้ใต้บังคับบัญชาไม่น้อยกว่า 4 ตำแหน่ง
3.2 การกำหนดตำแหน่งประเภททั่วไป ระดับอาวุโส ก. ตำแหน่งสำหรับหัวหน้ากลุ่มงาน 3) ตำแหน่งหัวหน้ากลุ่มงานเทคนิคเฉพาะด้าน และกลุ่มงานที่ใช้ทักษะและ ความชำนาญงานเฉพาะตัว เป็นตำแหน่งหัวหน้ากลุ่มงานที่ต่ำกว่าส่วนราชการ ที่มีฐานะเป็นกอง หรือเทียบกอง 1 ระดับ และรายงานตรงต่อผู้อำนวยการกอง เช่น นายช่างชลประทาน มีผู้ใต้บังคับบัญชาไม่น้อยกว่า 4 ตำแหน่ง โดยเป็นตำแหน่งข้าราชการ ไม่น้อยกว่า ตำแหน่ง และอาจนำตำแหน่งพนักงานราชการ หรือลูกจ้างประจำ ซึ่งปฏิบัติงานลักษณะเช่นเดียวกับข้าราชการมานับรวมได้ (สัดส่วน ต่อข้าราชการ 2:1) 15 ว 17/2552 กำหนดให้มีผู้ใต้บังคับบัญชาไม่น้อยกว่า 4 ตำแหน่ง

16 ตำแหน่งประเภททั่วไป ระดับอาวุโส
ตำแหน่งประเภททั่วไป ระดับอาวุโส ตำแหน่งหัวหน้ากลุ่มงาน ที่ต่ำกว่าส่วนราชการที่มีฐานะเป็นกองหรือเทียบกอง 1 ระดับ และรายงานตรงต่อผู้อำนวยการกอง กำหนดตำแหน่งเป็นระดับอาวุโสได้ ตามหลักเกณฑ์ฯ ที่กำหนด มีผู้ใต้บังคับบัญชา ไม่น้อยกว่า 6 ตำแหน่ง เป็นตำแหน่งข้าราชการ ไม่น้อยกว่า 2 ตำแหน่ง - กลุ่มงานบริหารทั่วไป - กลุ่มงานการเงินและบัญชี - กลุ่มงานพัสดุ - กลุ่มงานที่ปฏิบัติภารกิจหลักบริการทั่วไปของกรม มีผู้ใต้บังคับบัญชา ไม่น้อยกว่า 4 ตำแหน่ง เป็นตำแหน่งข้าราชการ ไม่น้อยกว่า 2 ตำแหน่ง - กลุ่มงานเทคนิคเฉพาะด้าน - กลุ่มงานที่ใช้ทักษะและความชำนาญเฉพาะตัว และอาจนำตำแหน่งพนักงานราชการ หรือลูกจ้างประจำ ซึ่งปฏิบัติงานลักษณะเช่นเดียวกับข้าราชการมานับรวมได้ (สัดส่วน ต่อข้าราชการ 2:1) 16 ว 17/2552 กำหนดให้มีผู้ใต้บังคับบัญชา ไม่น้อยกว่า 4 ตำแหน่ง

17 ว 17/2552 เดิมไม่ได้กำหนดเป็นกรอบระดับตำแหน่ง
3.2 การกำหนดตำแหน่งประเภททั่วไป ระดับอาวุโส ข. ตำแหน่งสำหรับผู้ปฏิบัติงาน ตำแหน่งสำหรับผู้ปฏิบัติงานที่ใช้ทักษะและความชำนาญเฉพาะตัว ได้แก่ - ตำแหน่งนาฏศิลปิน - ตำแหน่งคีตศิลปิน - ตำแหน่งดุริยางคศิลปิน - ตำแหน่งนายช่างศิลปกรรม กำหนดตำแหน่งในลักษณะกรอบระดับตำแหน่ง เป็น ระดับปฏิบัติงาน หรือชำนาญงาน หรืออาวุโสได้ทุกตำแหน่ง โดยไม่ต้องนำตำแหน่งว่างมายุบรวม ว 17/2552 เดิมไม่ได้กำหนดเป็นกรอบระดับตำแหน่ง 17


ดาวน์โหลด ppt พระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ มาตรา 47

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


Ads by Google