งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

กาพย์เห่เรือเจ้าฟ้าธรรมธิเบศร

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


งานนำเสนอเรื่อง: "กาพย์เห่เรือเจ้าฟ้าธรรมธิเบศร"— ใบสำเนางานนำเสนอ:

1 กาพย์เห่เรือเจ้าฟ้าธรรมธิเบศร

2 ประวัติความเป็นมาของการเห่เรือ

3 การเห่เรือ เป็นกิจกรรมที่ควบคู่มากับการเดินทางทางน้ำ จำแนกได้ 2 ประเภท คือ
1. การเห่เรือในงานพระราชพิธี "การเห่เรือหลวง" 2. การเห่เรือสำหรับเที่ยวเตร่หรือในงาน "เห่เรือเล่น" ปัจจุบันการเห่เรือเล่นลดความสำคัญลงไป คงมีแต่การเห่เรือหลวง ที่ดำรงอยู่และถือเป็นโบราณราชประเพณีที่ต้องรักษาไว้เป็นมรดกของชาติสืบต่อไป ที่มาของการเห่เรือนั้น ไม่เป็นที่ทราบแน่ชัด แต่สันนิษฐานว่าเป็นประเพณี ของชนชาติต่าง ๆ หลากหลายชนชาติที่มีเรือพายใช้ เช่น อินเดีย จีน ญวน เป็นต้น

4             การเห่เรือ ของไทยนั้น นอกจากจะให้ความรื่นเริงแล้ว
ยังเป็นการให้จังหวะเพื่อให้พลพายพายพร้อมกัน โดยทำเป็นทำนองเห่เรือ ที่แตกต่างกัน ขึ้นอยู่กับความต้องการให้พลพายพายช้าหรือเร็ว เช่น ขณะเริ่มออกเรือ ขณะพายเรือตามน้ำ จะใช้ทำนอง ช้าลวะเห่ เมื่อเรือจวนถึงที่ประทับจะใช้ทำนอง สวะเห่ ถ้าต้องการให้พายหนักจังหวะเร็วจะใช้ทำนอง มูลเห่ สำหรับคนเห่หรือต้นบท ต้องเลือกคนที่มีเสียงดีและเสียงดังพอให้ได้ยิน ไปทั่วลำเรือ

5

6 บทเห่เรือของเจ้าฟ้าธรรมธิเบศรนี้ เป็นการชมพยุหยาตราทางชลมารคที่นำมาเป็นบทเรียน ประกอบด้วย
เห่ชมเรือกระบวน เห่ชมปลา เห่ชมไม้ เห่ชมนก และเห่ครวญ ทรงนิพนธ์ขึ้นสำหรับเห่เรือพระที่นั่ง ส่วนพระองค์เมื่อตามเสด็จไปนมัสการพระพุทธบาทที่จังหวัดสระบุรี ออกเดินทางจากจังหวัดพระนครศรีอยุธยาไปถึงท่าเจ้าสนุก

7 โดยแบ่งออกเป็น 5 บท ดังนี้ คือ
1. ในเวลาเช้า พรรณนากระบวนเรือพยุหยาตราทางชลมารค 2. ในเวลาสาย เป็นการพรรณนาชมปลาต่างๆ 3. ในเวลาบ่าย เป็นการพรรณนาชมพันธุ์ไม้ต่างๆ 4. ในเวลาเย็น เป็นการพรรณนาชมนกต่างๆ 5. ในยามค่ำคืน เป็นบทจบด้วยการเห่ครวญถึงนางผู้เป็นที่รัก

8 ในเวลาเช้า เป็นการพรรณนากระบวนเรือพยุหยาตราทางชลมารค ซึ่ง
เป็นการพรรณนากระบวนเรือพยุหยาตราทางชลมารค ซึ่ง ประกอบด้วยเรือพระที่นั่งกิ่ง และเรือที่มีโขนเรือเป็นรูปสัตว์ ต่างๆ ได้แก่ เรือครุฑหยุดนาค เรือไกรสรมุข เรือสมรรถชัย เรือสุวรรณหงส์ เรือชัย เรือคชสีห์ เรือราชสีห์ เรือม้า เรือสิงห์ เรือนาคา (วาสุกรี) เรือมังกร เรือเลียงผา เรืออินทรี

9 เรือเสือทยานชล และ เรือเสือคำรณสินธุ์
การจัดรูปกระบวนพยุหยาตราชลมารค (ใหญ่) กระบวนเรือประกอบไปด้วย ริ้วกระบวน ๕ ริ้ว ใช้เรือรวมทั้งสิ้น ๕๒ ลำ ระยะต่อระหว่างลำ ๔๐ เมตร เว้นเรือพระที่นั่ง ๘๐ เมตร ระยะเคียงระหว่างริ้ว ๒๐ เมตร ความยาวของกระบวน ๑,๒๐๐ เมตร กว้าง ๙๐ เมตร โดยมีเรือประเภทต่างๆ ที่ใช้ในกระบวนพยุหยาตรา ดั้งนี้ เรือประตูหน้า เป็นเรือนำเริ้วกระบวน ประกอบด้วยเรือ ๒ ลำ เป็นเรือลำหน้าสุดของริ้วที่ ๒ และ ริ้วที่ ๔ ใช้เรือทองขวานฟ้าและเรือทองบ้าบิ่น เรือพิฆาต เป็นเรือรบที่อยู่ในริ้วที่ ๒ และ ริ้วที่ ๔ ถัดจากเรือประตูหน้าเข้ามาในกระบวน หัวเรือเป็นรูปเสือ มีปืนจ่ารงตั้งที่หัวเรือ ได้แก่ เรือเสือทยานชล และ เรือเสือคำรณสินธุ์

10 เรือดั้ง ๑ - ๒๒ โดยเลขคี่อยู่ด้านขวาและเลขคู่อยู่ด้านซ้าย
เรือดั้ง เป็นเรือไม้ทาน้ำมัน บางลำทาสีทอง (เรือดั้ง ๒๑ และ เรือดั้ง ๒๒) ไม่มีลวดลาย ใช้สำหรับเป็นเรือรอบนอกของกระบวนโดยอยู่ในริ้วขวาสุดและริ้วซ้ายสุด ริ้วนอกด้านหน้าของกระบวนมี ๑๑ คู่ หรือ ๒๒ ลำ ได้แก่ เรือดั้ง ๑ - ๒๒ โดยเลขคี่อยู่ด้านขวาและเลขคู่อยู่ด้านซ้าย เรือกลองใน - เรือกลองนอก เป็นเรือกราบ อยูในริ้วกลางหรือริ้วที่ ๓ มีปี่ชวาและกลองแขกสำหรับบรรเลง มี ๒ ลำ ได้แก่ เรือกลองใน (เรือแตงโม) อยู่บริเวณกลางกระบวนข้างหน้าเรือพระที่นั่ง เป็นเรือสำหรับผู้บัญชาการกระบวนเรือ และ เรือกลองนอก (เรืออีเหลือง) อยู่หน้าสุดของริ้วกลาง เป็นเรือสำหรับรองผู้บัญชาการกระบวนเรือ

11 เรือตำรวจใน - เรือตำรวจนอก เป็นเรือกราบ มีพระตรวจหลวง
ชั้นปลัดกรม มี ๒ ลำ ได้แก่ เรือตำรวจใน อยู่ในริ้วกลางหน้าเรือพระที่นั่งอนันตนาคราช และ เรือตำรวจนอก อยู่ถัดจากเรือตำรวจใน เรือรูปสัตว์ เป็นเรือแกะสลัก หัวเรือเป็นรูปขุนกระบี่ รูปอสูร รูปพญาวานร และรูปครุฑ ปัจจุบันมีอยู่ ๘ ลำ หรือ ๔ คู่ จัดให้อยู่ใน ริ้วกระบวนที่ ๒ และ ริ้วกระบวนที่ ๔ อยู่ถัดระดับเรือตำรวจนอกเข้ามาโดยมีตำแหน่งเรือ คือ ริ้วที่ ๒ เรืออสุรปักษี, เรือกระบี่ปราบเมืองมาร, เรือสุครีพครองเมือง, เรือครุฑเตร็จไตรจักร ริ้วที่ ๔ เรืออสุรวายุภักษ์, เรือกระบี่ราญรอนราพน์, เรือพาลีรั้งทวีป, เรือครุฑเหินเห็จ

12 ต่อจากเรือพระที่นั่งรอง (เรือพระที่นั่งอเนกชาติภุชงค์)
เรือพระที่นั่ง จัดว่าเป็นเรือสำคัญที่สุดและสง่างามที่สุดในกระบวน ประกอบด้วย เรือพระที่นั่งทรง ได้แก่ เรือพระที่นั่งสุพรรณหงส์ เรือพระที่นั่งรอง ได้แก่ เรือพระที่นั่งนารายณ์ทรงสุบรรณรัชกาลที่ ๙, เรือพระที่นั่งอเนกชาติภุชงค์, เรือพระที่นั่งอนันตนาคราช เรือคู่ชัก เป็นเรือที่ทำหน้าที่นำเรือพระที่นั่ง โดยอยู่ทางเบื้องขวาเฉียงไปข้างท้าย คือ เรือเอกไชยเหินหาว และอยู่ทางเบื้องซ้ายเฉียงไปทางข้างท้าย คือ เรือเอกไชยหลาวทอง เรือตำรวจตาม ใช้เรือกราบกัญญา เป็นพาหนะของพระตำรวจหลวงรักษาพระองค์ที่ตามเสด็จในกระบวน มีตำแหน่งเรืออยู่ในริ้วกลาง ต่อจากเรือพระที่นั่งรอง (เรือพระที่นั่งอเนกชาติภุชงค์)

13 เรือแซง ใช้เรือกราบกัญญา เป็นเรือทหาร เรือแซงเสด็จทั้ง ๒ ข้าง
ของเรือพระที่นั่ง โดยอยู่ในริ้วกระบวนนอกสุดของกระบวน มี ๖ ลำ หรือ ๓ คู่ โดยแซงด้านขวา ๓ ลำ ได้แก่ เรือแซง ๑, เรือแซง ๓, เรือแซง ๕ และแซงด้านซ้าย ๓ ลำ ได้แก่ เรือแซง ๒, เรือแซง ๔, เรือแซง ๖ นอกจากนั้นยังจัดเรือแซงปิดท้ายริ้วกลางของกระบวนต่อจากเรือตำรวจตามอีก ๑ ลำ คือ เรือแซง ๗ เรือประตูหลัง ใช้เรือกราบกัญญา คือ เรือแซง ๕ และ เรือแซง ๖

14

15

16 เรือสุวรรณหงส์

17

18

19

20 เรือมังกร

21 เรือครุฑยุดนาค

22 เรือเอกชัยเหินหาว

23 เรือพระที่นั่งอเนกชาติภุชงค์ รัชกาลที่ 5

24 เรือพระที่นั่งอนันตนาคราช รัชกาลที่ 6
เรือพระที่นั่งอนันตนาคราช รัชกาลที่ 6

25 เรือพระที่นั่งนารายณ์ทรงสุบรรณ รัชกาลที่ 9

26

27

28

29

30


ดาวน์โหลด ppt กาพย์เห่เรือเจ้าฟ้าธรรมธิเบศร

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


Ads by Google