ดาวน์โหลดงานนำเสนอ
งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ
1
กลุ่มสาระวิทยาศาสตร์
เทคโนโลยีชีวภาพ.... จัดทำโดย คุณครูวันเพ็ญ บุญทา กลุ่มสาระวิทยาศาสตร์
2
เทคโนโลยีชีวภาพคือ ?
3
เทคโนโลยีชีวภาพ.... เป็นความรู้หรือวิชาการที่สามารถนำสิ่งมีชีวิต
เทคโนโลยีชีวภาพ.... เป็นความรู้หรือวิชาการที่สามารถนำสิ่งมีชีวิต หรือผลผลิตจากสิ่งมีชีวิตมาใช้ หรือมาปรับเปลี่ยนและประยุกต์เพื่อใช้ประโยชน์ต่อมนุษย์ในด้านต่างๆ
4
หรือ การปรับปรุงพันธุ์พืช สัตว์ เพื่อให้มีผลผลิตมากขึ้น คุณภาพดีขึ้น
การปรับปรุงพันธุ์พืช สัตว์ เพื่อให้มีผลผลิตมากขึ้น คุณภาพดีขึ้น หรือการนำสมุนไพรมาใช้รักษาโรค บำรุงสุขภาพ
5
เทคโนโลยีชีวภาพแบบดั้งเดิม
เทคโนโลยีชีวภาพ.... แบ่งเป็น เทคโนโลยีชีวภาพแบบดั้งเดิม เทคโนโลยีชีวภาพสมัยใหม่
6
เทคโนโลยีชีวภาพแบบดั้งเดิม
(Classical Biotechnology) เป็นเทคโนโลยีที่มีมานานมากแล้ว
7
เช่น การหมักปลาร้า การทำน้ำปลา ซีอิ๊ว การหมักอาหาร หมักเหล้า สาโท
8
(Modern Biotechnology)
เทคโนโลยีชีวภาพสมัยใหม่ (Modern Biotechnology) คือการใช้กระบวนการทางพันธุศาสตร์ เป็นเครื่องมือในการปรับปรุงลักษณะตามที่ต้องการ และมีประโยชน์มากขึ้นกว่าเดิม โดยที่มีวิทยาศาสตร์สาขาต่าง ๆ เป็นรากฐาน
9
การพิสูจน์บุคคลด้วยลายพิมพ์ดีเอ็นเอ
เช่น การบำบัดโรคด้วยยีน การดัดแปลงยีน การโคลน การพิสูจน์บุคคลด้วยลายพิมพ์ดีเอ็นเอ
10
การนำเทคโนโลยีชีวภาพ มาใช้ประโยชน์ในด้าน ต่างๆ
11
ได้แก่ ด้านการเกษตร ด้านสิ่งแวดล้อม ด้านอุตสาหกรรมอาหาร ด้านการแพทย์
12
การใช้เทคโนโลยีชีวภาพในด้านเกษตร
15
จีเอ็มโอคืออะไร ? GMO GMO คือสิ่งมีชีวิตทั้งพืชและสัตว์ ที่ได้จากการ
(Genetically Modified Organism ) จีเอ็มโอคืออะไร ? GMO คือสิ่งมีชีวิตทั้งพืชและสัตว์ ที่ได้จากการ เปลี่ยนถ่ายหน่วยพันธุกรรม (gene)
16
ซึ่งปกติไม่เคยผสมพันธุ์กันได้ในธรรมชาติ
ที่เกิดจากการตัดเอายีนของสิ่งมีชีวิตชนิดหนึ่งมาใส่เข้าไปในยีนของสิ่งมีชีวิตอีกชนิดหนึ่ง ซึ่งปกติไม่เคยผสมพันธุ์กันได้ในธรรมชาติ เพื่อให้เกิดสิ่งมีชีวิตชนิดใหม่ที่มีคุณลักษณะตามต้องการ
17
เช่น นำยีนทนความหนาวเย็นจากปลาขั้วโลก มาผสมกับมะเขือเทศ เพื่อให้มะเขือเทศปลูกในที่ที่อากาศหนาวได้ นำยีนจากแบคทีเรียชนิดหนึ่งมาใส่ในยีนของถั่วเหลือง เพื่อให้ถั่วเหลืองทนทานต่อยาปราบวัชพืช นำยีนจากไวรัสมาใส่ในมะละกอเพื่อให้มะละกอต้านทานโรคไวรัสใบด่าง วงแหวนได้ ฉันเข้มแข็ง ไม่กลัวแมลง ฉันให้ผลผลิตดี
18
สิ่งมีชีวิตนี้อาจจะเป็นพืชหรือสัตว์ก็ได้
แต่ขณะนี้นิยมการเปลี่ยนถ่ายหน่วยพันธุกรรมของพืช เพราะได้ประโยชน์ในทางเศรษฐกิจ นอกจากนี้ ยังทำได้ง่ายกว่าและสามารถศึกษาผลกระทบที่ได้จากหลายชั่วอายุของพืช โดยใช้เวลาน้อยกว่าการศึกษาในสัตว์ซึ่งแต่ละชั่วอายุสัตว์ จะต้องใช้เวลานาน
19
ตัวอย่าง G M O การนำเอาชิ้นส่วนดีเอนเอ หรือยีน ที่มีคุณสมบัติที่ต้องการจากสิ่งที่มีชีวิตหนึ่งแล้ว นำไปใส่ไว้ในเซลล์ของอีกสิ่งที่มีชีวิตหนึ่งเพื่อให้เกิดการรวมตัวใหม่ของยีนในเซลล์นั้น ฉันเข้มแข็ง ไม่กลัวแมลง ฉันให้ผลผลิตดี
20
การโคลนแกะดอลลี่
21
เป็นครั้งแรกที่สามารถทำให้เกิดการสืบพันธุ์โดยไม่อาศัยเพศ
การโคลนแกะดอลลี่ โดยใช้เซลล์จากเต้านมของแกะหน้าขาวตัวหนึ่งซึ่งเจริญเต็มที่ ดูดเอานิวเคลียสของเซลล์ออกมา แล้วนำไปใส่ในไข่ที่ดูดมาจากรังไข่ของแกะหน้าดำ ซึ่งได้ดูดเอานิวเคลียสทิ้งไป เมื่อนำไปใส่แล้วก็นำเซลล์ที่ได้ไปใส่ในโพรงมดลูกของแกะหน้าดำตัวเดิม ให้เกิดการฝังตัวและตั้งครรภ์ได้ เมื่อครบกำหนดออกมาลูกของแกะหน้าดำที่คลอดออกมา กลับกลายเป็นแกะหน้าขาว ที่มีลักษณะทางพันธุกรรมเหมือนกับแกะหน้าขาวเจ้าของเซลล์เต้านมทุกประการ เป็นครั้งแรกที่สามารถทำให้เกิดการสืบพันธุ์โดยไม่อาศัยเพศ
22
การเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ (Tissue Culture)
23
การเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อพืช
คือการนำเอาเซลล์หรือเนื้อเยื่อ หรืออวัยวะบางส่วนของพืช เช่น ยอด ลำต้น ใบ ราก ส่วนต่างๆ ของดอกหรือผลมาเพาะเลี้ยงบนอาหารสังเคราะห์ ในสภาพปลอดเชื้อ
24
การใช้เทคโนโลยีชีวภาพในด้านสิ่งแวดล้อม
25
การใช้เทคโนโลยีชีวภาพ
ในด้านสิ่งแวดล้อม เช่น การนำจุลินทรีย์มาเพาะเลี้ยง เพื่อนำมาผลิตเป็นผลิตภัณฑ์ที่ใช้ ในการย่อยสลายขยะและควบคุมคุณภาพของน้ำเสีย การผลิตปุ๋ยชีวภาพทดแทนปุ๋ยเคมี ในการย่อยสลายของเสีย ในดินให้มีขนาดเล็กลงและพืชสามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้ การลดการใช้สารเคมีในการป้องกันกำจัดศัตรูพืช โดยการพัฒนาพันธุ์พืชที่ต้านทานต่อโรคและแมลงศัตรูพืช การใช้จุลินทรีย์ย่อยสลายสารอันตราย เช่น สารกัมมันตรังสี การสกัดสารออกฤทธิ์จากสะเดาเพื่อใช้กำจัดศัตรูพืช การฟื้นฟูพื้นที่ดินเค็มโดยการปรับปรุงพันธุ์พืชให้ปลูกได้ในพื้นที่ที่มีความเค็มสูง
26
ในด้านอุตสาหกรรมอาหาร
การใช้เทคโนโลยีชีวภาพ ในด้านอุตสาหกรรมอาหาร
27
เทคโนโลยีชีวภาพในด้านอุตสาหกรรมอาหาร
เช่น 1. การแปรรูปอาหารโดยใช้จุลินทรีย์ เช่น - การหมัก การดองพืชผักผลไม้ - การผลิตนมเปรี้ยว การผลิตแหนม - ซีอิ้ว เต้าเจี้ยว 2. การใช้จุลินทรีย์ในอุตสาหกรรมเครื่องดื่ม เช่น - การผลิตเบียร์ ไวน์ ไวน์ผลไม้ เหล้า - สาโท กระแช่ 3. การนำจุลินทรีย์มาผลิตเอนไซม์ที่ใช้ในอุตสาหกรรมอาหาร 4. การผลิตกรดอินทรีย์ต่าง ๆ ที่จำเป็นในอุตสาหกรรมอาหาร 5. การพัฒนาพืชอาหารสายพันธุ์ใหม่ให้มีวิตามิน แร่ธาตุและ คุณค่าทางโภชนาการที่มากกว่าพืชอาหารปกติหรือมีส่วนประกอบ ของสารอาหารที่จำเป็น ต่อร่างกายเพิ่มขึ้น
28
การใช้เทคโนโลยีชีวภาพในด้านการแพทย์
การใช้เทคโนโลยีชีวภาพในด้านการแพทย์
29
“เทคโนโลยีชีวภาพทางการแพทย์”
เป็นเทคโนโลยีที่จำเป็นต่อชีวิตและสุขภาพของประชากรโลก เป็นเทคโนโลยีที่มีผลต่ออุตสาหกรรมยา และระบบสุขภาพ ซึ่งมีผลกระทบต่อเศรษฐกิจและสังคมของทุกประเทศ
30
กลุ่มสาระวิทยาศาสตร์
จัดทำโดย คุณครูวันเพ็ญ บุญทา กลุ่มสาระวิทยาศาสตร์
งานนำเสนอที่คล้ายกัน
© 2025 SlidePlayer.in.th Inc.
All rights reserved.