ดาวน์โหลดงานนำเสนอ
งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ
ได้พิมพ์โดยKasemchai Sriwarunyu ได้เปลี่ยน 9 ปีที่แล้ว
1
คณะผู้จัดทำ นาย ชาญชัย คุณยศยิ่ง นาย จีรศักดิ์ ฝั่งมณี
พฤติกรรม การไม่ส่งงาน / การบ้านของนักศึกษา ระดับประกาศนียบัตร วิชาชีพชั้นปีที่ 1 สาขาวิชา พณิชยการ และ สาขางานเทคนิคสถาปัตยกรรมวิทยาลัยเทคโนโลยีโปลิเทคนิคลานนา เชียงใหม่ คณะผู้จัดทำ นาย ชาญชัย คุณยศยิ่ง นาย จีรศักดิ์ ฝั่งมณี วิทยาลัยเทคโนโลยีโปลิเทคนิคลานนา เชียงใหม่
2
ปัญหาการวิจัย การเรียนการสอนของวิทยาลัยเทคโนโลยีโปลิเทคนิคลานนาเชียงใหม่ ได้แบ่งคะแนนออกเป็นสองส่วน คือ คะแนนประจำวิชา จำนวน 80 คะแนน และ คะแนนที่ปรึกษา 20 คะแนน ซึ่งคิดเป็น 80 เปอร์เซ็นต์ของคะแนนทั้งหมด โดยใน 80 เปอร์เซ็นต์นั้นอาจารย์ประจำวิชาได้เก็บคะแนน โดยการสอบเป็นรายจุดประสงค์และการส่งงานของนักศึกษา ดังนั้นการทำใบงานและการบ้านส่งผู้สอนของนักศึกษาจึงเป็นเรื่องที่สำคัญมากในการเรียนการสอนเพราะนอกจากจะมีคะแนนในส่วนของใบงานและการบ้านแล้ว ยังมีผลต่อการเรียนในคาบถัดไปด้วย เนื่องจากใบงานจะเป็นการประเมินความรู้ความเข้าใจในบทเรียนของนักศึกษาว่ามีมากน้อยเพียงใดอีกทั้งยังเป็นการวัดพฤติกรรมความรับผิดชอบของนักศึกษาได้อีกทางหนึ่ง ถ้าหากนักศึกษาไม่ได้ทำใบงานที่ผู้สอนแจกให้นักศึกษาก็จะขาดคะแนนเก็บในส่วนนั้นและผู้สอนก็ไม่สามารถประเมินความรู้ความเข้าใจของนักศึกษาได้
3
ปัญหาการวิจัย(ต่อ) จากการที่ผู้สอนได้สอนในรายวิชา พลังงานและสิ่งแวดล้อม ของนักศึกษา สาขาวิชา พณิชยการ และ สาขางานเทคนิคสถาปัตยกรรม ระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ ชั้นปีที่ 1 พบว่านักศึกษาส่วนใหญ่มักจะส่งงาน / การบ้านตรงเวลาที่ผู้สอนกำหนด มีเพียงบางคน หรือส่วนน้อยที่ไม่ส่งงานตรงเวลาที่ผู้สอนกำหนด / หรือการบ้านเลย ซึ่งทำให้ผู้สอนไม่สามารถวัดความรู้ หรือติดตามความก้าวหน้าของนักศึกษาได้ ซึ่งในบางรายวิชาอาจมีผลต่อคะแนนเก็บของนักศึกษาด้วย ดังนั้นผู้วิจัยซึ่งในฐานะที่เป็นผู้สอนประจำวิชา เห็นความสำคัญของปัญหาดังกล่าว จึงได้ ทำการวิจัยเพื่อศึกษาพฤติกรรมของนักศึกษาในระดับ ประกาศณียบัตรวิชาชีพ (ปวช.) เพื่อนำมาเป็นข้อมูลในการแก้ปัญหาของนักศึกษาในเรื่องการไม่ส่งงาน / การบ้านต่อไป
4
วัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาสาเหตุของการไม่ส่งงาน / การบ้าน ของนักศึกษาสาขาวิชา พณิชยกรรมและ สาขางานเทคนิคสถาปัตยกรรม ระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.) ชั้นปีที่ 1 วิทยาลัยเทคโนโลยีโปลิเทคนิคลานนาเชียงใหม่ จำนวนห้องเรียน 3 ห้อง จำนวน 70 คน เพื่อรวบรวมข้อมูลสำหรับการแก้ปัญหาการไม่ส่งงาน / การบ้านของนักศึกษา
5
กรอบแนวคิด พฤติกรรมการไม่ ส่งงาน / การบ้าน ของนักศึกษา
ตัวแปรต้น ตัวแปรตาม พฤติกรรมการไม่ ส่งงาน / การบ้าน ของนักศึกษา พฤติกรรมการส่ง งาน/การบ้านของ นักศึกษา
6
สาเหตุของการไม่ส่งงาน / การบ้าน
ตาราง แสดงให้เห็นว่าการตอบแบบสอบถามของนักศึกษาในเรื่องสาเหตุของการไม่ส่งงาน สาเหตุของการไม่ส่งงาน / การบ้าน ลำดับที่ ร้อยละ 1. การบ้านมากเกินไป 11 23.33 2. แบบฝึกหัดยาก ทำไม่ได้ 10 3. เนื้อหาไม่น่าสนใจ 7 26.66 4. ให้เวลาน้อยเกินไป 12 20.00 5. ครูอธิบายเร็วจนเกินไป 13 16.66 6. ไม่เข้าใจคำสั่ง 14 13.33 7. สมุดหาย 5 8. เบื่อหน่าย ไม่อยากทำ 9 9. ช่วยเหลืองานผู้ปกครอง 15 10.00 10. หนังสือหาย 6 11. ลืมทำ 4 30.00 12.ไม่มีคนให้คำปรึกษา 16 13. เตรียมตัวสอบเก็บคะแนนวิชาอื่น 19 14. ติดเกมส์ 3 15. ทำกิจกรรมของโรงเรียน 18 6.66 16. ไม่พร้อมทำงานเนื่องจากไม่สบาย 17 17. ทำงานวิชาอื่นในห้องเรียน 8 18. การขาดเรียนของนักศึกษา 1 40.00 19. การลากิจ ลาป่วย 2 36.66
7
สรุปผลการวิจัย 1. ข้อมูลทั่วไปของกลุ่มตัวอย่าง พบว่ากลุ่มตัวอย่างเป็นเพศชาย จำนวน 15 คน คิดเป็น ร้อยละ 50 เป็นเพศหญิง 15 คน คิดเป็นร้อยละ 50 มีช่วงอายุระหว่าง ปี จำนวน 30 คน คิดเป็นร้อยละ 100 2. การไม่ส่งงาน / การบ้าน มีสาเหตุที่สำคัญดังนี้ การขาดเรียนของนักศึกษาอยู่ในลำดับที่ 1 คิดเป็นร้อยละ (12 คน ) การลากิจ ลาป่วยอยู่ในลำดับที่ คิดเป็นร้อยละ (11 คน ) ติดเกมส์อยู่ในลำดับที่ คิดเป็นร้อยละ (9 คน )
8
ประโยชน์ที่ได้จากการศึกษาวิจัย
1. ทราบถึงพฤติกรรมและสาเหตุของการไม่ส่งงาน/การบ้านของนักศึกษาสาขาวิชาพณิชยกรรม และ สาขางานเทคนิคสถาปัตยกรรม ระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.) ชั้นปีที่ 1 วิทยาลัยเทคโนโลยีโปลิเทคนิคลานนา เชียงใหม่ 2. ได้แนวทางใน การแก้ปัญหาการเรียนการสอนเกี่ยวกับพฤติกรรมการไม่ส่งงานของนักศึกษา ระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.) ชั้นปีที่ 1 วิทยาลัยเทคโนโลยีโปลิเทคนิคลานนา เชียงใหม่
งานนำเสนอที่คล้ายกัน
© 2024 SlidePlayer.in.th Inc.
All rights reserved.