ดาวน์โหลดงานนำเสนอ
งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ
ได้พิมพ์โดยDamni Pongsak ได้เปลี่ยน 9 ปีที่แล้ว
1
บทปฏิบัติการที่ 14 ทางเดินอาหาร (Alimentary Canal) Digestive sys foregut midgut hindgut
2
แบบจำลองระบบทางเดินอาหารในแมลง(ตั๊กแตน)
3
ทางเดินอาหารของแมลงโดยทั่วไปมีลักษณะเป็นท่อแบ่งเป็น 3 ตอนดังนี้
1. ทางเดินอาหารตอนต้น (fore gut) 2. ทางเดินอาหารตอนกลาง (mid gut) 3. ทางเดินอาหารตอนปลาย (hind gut)
4
1. ทางเดินอาหารตอนต้น (fore gut) หรือเรียกว่า Stomodaeum มีแหล่งกำเนิดจาก Ectoderm เป็นที่พักอาหารและมีการย่อยบ้างเล็กน้อย ประกอบด้วยส่วนต่างๆ ดังนี้ 1.1 คอหอย (pharynx) และหลอดอาหาร (oesophagus) เป็นท่อรับอาหารจากปาก เนื่องจากสองส่วนนี้คล้ายคลึงกันมากบางครั้งจึงเรียกส่วนนี้รวมกันว่าหลอดอาหาร 1.2 ถุงพักอาหาร (crop) อยู่ต่อจากหลอดอาหาร ส่วนนี้จะขยายใหญ่เพื่อเป็นที่พักของอาหาร 1.3 กึ๋น (proventriculus) หรือ gizzard อยู่ต่อจากที่พักอาหาร ในแมลงที่กินอาหารแข็ง อวัยวะนี้จะพัฒนาดีและภายในมีฟันแหลมคมสำหรับบดอาหารก่อนที่จะปล่อยเข้าทางเดินอาหารตอนกลาง ต่อมน้ำลาย (salivary gland) มีรูเปิดที่ฐานของริมฝีปากล่างเพื่อใช้ย่อยอาหารในปาก ต่อมน้ำลายมีรูปร่างแตกต่างกันในหมู่แมลง โดยทั่วไปมีลักษณะคล้ายพวงองุ่น ในหนอนไหมต่อมน้ำลายพัฒนาเป็นต่อมสร้างเส้นไหม (silk gland) ทางเดินอาหารตอนต้นและตอนกลางมีลิ้นกั้นเรียกสโตโมเดียล วาล์ว (stomodeal valve or cardiac valve)
5
2. ทางเดินอาหารตอนกลาง (mid gut) หรือ Mesenteron เป็นเมมเบรนชนิด semipermeable ที่ประกอบด้วย โปรตีนและไคตินที่คล้าย คิวติเคิล มีแหล่งกำเนิดจาก Endoderm ทำหน้าที่ย่อยและดูดซึมอาหารไปเลี้ยงร่างกาย ประกอบด้วยส่วนต่างๆ ดังนี้ 2.1 ถุงน้ำย่อย (gastric caecum) เป็นส่วนยื่นของผนังทางเดินอาหารตอนกลาง ทำหน้าที่ผลิตน้ำย่อยและช่วยเพิ่มพื้นที่ในส่วนมิดกัต นอกจากนี้ยังมีหน้าที่ในการสกัดสารอาหารที่มีประโยชน์ต่อร่างกายแมลง ซึ่งสารอาหารเหล่านี้ได้แก่ โปรตีน วิตามิน ไขมัน และถูกส่งผ่านผนังมิดกัตเข้าสู่ช่องว่างในลำตัว มีจำนวนและลักษณะต่างกันในแมลงแต่ละชนิดส่วนมากพบมี 2-8 อัน 2.2 ลำไส้ส่วนกลาง เป็นท่อขนาดใหญ่ บริเวณนี้จะมีการย่อยและดูดซึมอาหารมากที่สุด ทางเดินอาหารตอนกลางและตอนปลายมีลิ้นกั้น เรียก ไพลอริด วาล์ว (pyloric valve or proctodeal valve)
6
3. ทางเดินอาหารตอนปลาย (hind gut) หรือ Proctodaeum มีแหล่งกำเนิดจาก Ectoderm บริเวณนี้มีการดูดน้ำจากกากอาหารเพื่อควบคุมปริมาณน้ำและเกลือแร่ในร่างกาย และเพื่อกำจัดกากอาหาร ประกอบด้วยส่วนต่างๆ ดังนี้ 3.1 ท่อขับถ่าย (Malpighian tubules) เป็นท่อขนาดเล็กยื่นจากตอนปลายสุดของลำไส้ตอนกลาง จำนวนแตกต่างกันในหมู่แมลง มีหน้าที่ขับถ่ายของเสียออกจากร่างกาย 3.2 ไอเลียม (ileum) อยู่ถัดจากฐานของท่อขับถ่าย 3.3 โคลอน (colon) เป็นท่อตรง สั้นและแคบ มีกล้ามเนื้อหนากว่าอยู่ต่อจากไอเลียม 3.4 เรคตัม (rectum) อยู่ถัดจากโคลอน เป็นกระเปาะมีผนังหนาเพื่อเป็นที่พักของ กากอาหารก่อนปล่อยออกทางทวารหนัก (anus)
งานนำเสนอที่คล้ายกัน
© 2024 SlidePlayer.in.th Inc.
All rights reserved.