งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

หัวข้อการเรียน สัปดาห์ที่ ๔ ENL 3701

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


งานนำเสนอเรื่อง: "หัวข้อการเรียน สัปดาห์ที่ ๔ ENL 3701"— ใบสำเนางานนำเสนอ:

1 หัวข้อการเรียน สัปดาห์ที่ ๔ ENL 3701
รศ. ดร. อุทัย ภิรมย์รื่น

2 ตัวแบบการอ่าน (Model of Reading)
๑. ตัวแบบการอ่านของ Gray & Robinson ทักษะสำคัญ ๕ ประการ ๑. การรับรู้คำ (Word perception) ๒. ความเข้าใจในการอ่าน (Comprehension) ๓. การแสดงปฏิกิริยาต่อเรื่องที่อ่าน (Reaction) ๔. การซึมซับในการอ่าน (Assimilation) ๕. ความเร็วในการอ่าน (Rate of reading)

3 ๑. การรับรู้คำ (Word recognition)
ลักษณะและส่วนประกอบ ๑. การชี้และสัมพันธ์ความหมายของคำ ๒. คำที่พบเห็นในที่ต่างๆ (Sight words) ๓. บริบทที่ชี้แนะ ๔. การวิเคราะห์ทางเสียง ๕. การวิเคราะห์ทางโครงสร้าง ๖. การใช้พจนานุกรม

4 ๒. ความเข้าใจในการอ่าน ประกอบด้วย
๑. ความเข้าใจตามตัวอักษร (Literal comprehension) ๒. ความเข้าใจโดยนัย (Implied comprehension) ๒.๑ การอ่านในระหว่างบรรทัด (Read between the line) ๒.๒ การอ่านเลยบรรทัดออกไป (Read beyond the line)

5 ๓. การแสดงปฏิกิริยาต่อสิ่งที่อ่าน
๑. การอ่านแบบวิพากษ์ (Critical reading) ๒. การประเมินเนื้อหาที่อ่าน เป็นที่ยอมรับ หรือปฏิเสธ ๔. การซึมซับในการอ่าน เป็นการหลอมความคิดจากเนื้อเรื่อง เข้ากับความรู้เดิม เกิดเป็น ความคิดใหม่ ๕. อัตราเร็วในการอ่าน ขึ้นอยู่กับเนื้อเรื่องที่อ่านและความมุ่งหมายในการอ่าน

6 ๒. ตัวแบบการอ่านทางจิตภาษาศาสตร์
ผู้สร้างตัวแบบคือ Professor K. Goodman มีส่วนประกอบดังนี้ ๑. ใช้ตัวชี้แนะในการอ่าน ๔ อย่าง ๑.๑ ตัวชี้แนะภายในคำ ๑.๒ ตัวชี้แนะในภาษาหรือเนื้อเรื่อง ๑.๓ ตัวชี้แนะจากผู้อ่านเอง ๑.๔ ตัวชื้แนะจากภายนอก ๒. ทฤษฎีการอ่าน ๒.๑. การอ่านมิใช่กระบวนการตายตัว หรือแน่นอน ๒.๒. การอ่านเป็นกระบวนการที่มีความหมายเป็นศูนย์กลาง ๒.๓ บริบทเป็นส่วนประกอบที่สำคัญสำหรับการอ่าน ๒.๔ ความชำนาญทางภาษาจะเพิ่มทักษะการอ่าน

7 ๓. ตัวอ่านแบบการถ่ายทอดข่าวสาร
มีขั้นตอนดังนี้ ๑. การรับภาพ (Visual impact) ๒. การรับรู้ภาพที่มองเห็น (Recognition of the input) ๓. ภาพลักษณ์ไอโคนิค (Iconic image) ๔. ความจำชั่วคราว ๕. ความจำถาวร

8 ๔. การอ่านออกสียงและการอ่านในใจ
๔.๑ การอ่านออกเสียง (Oral reading) ผู้อ่านใช้กลไกประกอบหลายอย่าง คือการใช้สายตา การใช้กล้ามเนื้อในปากและในคอในการออกเสียง การควบคุมจังหวะ การถ่ายทอดอารมณ์ และความรู้สึกของผู้เขียน ประโยชน์ ๑. ทางการศึกษา เช่นการอ่านบทประพันธ์ บทละคร เพื่อความซาบซึ้งในบทประพันธ์ เกิดภาพพจน์ ๒. ทางสังคม ใช้ในการสื่อสารสำหรับมวลชน การปรับปรุงการอ่านออกเสียง ๑)ผู้อ่านต้องเรียนรู้การออกเสียงและมีทักษะอย่างถูกต้อง ๒) มีการควบคุมเสียง ระดับเสียง สื่อสารได้ถูกต้อง มีความไพเราะ เสียงดัง ฟังชัด

9 ๕. การอ่านในใจ พฤติกรรมการอ่าน
การใช้สายตา มีการรับรู้และเข้าใจ ไม่มีการเปล่งเสียงออกมา ไม่ว่าจะออกเสียงในใจ หรือการเคลื่อนไหวอวัยวะในการออกเสียง จุดประสงค์ เป็นการทำความเข้าใจความหมายจากภาษาเขียน มีการรับรู้และแปลความหมายสำหรับผู้อ่านเอง การอ่านในใจจะมีอัตราความเร็วมากกว่าการอ่านออกเสียง ขึ้นอยู่กับการฝึกและความเข้าใจเนื้อเรื่องที่อ่าน

10 ๖. ปัญหาการอ่านในระยะเริ่มเรียน
๖.๑ การใช้ความคิดเพื่อให้เกิดความเข้าใจเป็นหน่วย (Conceptualization) ๖.๒ การเรียนรู้ภาษา (Language acquisition) ด้านรูปคำ เสียง ไวยากรณ์ และความหมาย จากภาษาเขียน ๖.๓ การใช้กลไกทางร่างกายด้านประสาทสัมผัสและการรับรู้ต่างๆ เช่น การใช้สายตา การฟัง การประสานงานระหว่างตาและมือ การควบคุมอารมณ์ และความสนใจ

11 ๗. ประเด็นปัญหาเพื่อการอภิปรายและตอบคำถาม
๑. การส่งเสริมการอ่านในระยะเริ่มเรียน จะใช้ตัวแบบการอ่านใดจึงจะเหมาะสมและมีประสิทธิภาพ ๒. การอ่านออกเสียงกับการอ่านในใจมีจุดร่วมและจุดต่างอย่างไรบ้าง ๓. การอ่านในระยะเริ่มเรียนผู้อ่านจะประสบปัญหาในด้านใดบ้าง


ดาวน์โหลด ppt หัวข้อการเรียน สัปดาห์ที่ ๔ ENL 3701

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


Ads by Google