ดาวน์โหลดงานนำเสนอ
งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ
1
นางสาวประพันธ์ศรี สมจันทร์ฉาย
การพัฒนาทักษะการเรียนรู้ของนักศึกษาในการสอน รายวิชาภาษาไทยเพื่ออาชีพ 2 เรื่อง กาพย์เห่เรือ ระดับชั้นประกาศนียบัตรวิชาชีพ วิทยาลัยเทคโนโลยีโปลิเทคนิคลานนา เชียงใหม่ นางสาวประพันธ์ศรี สมจันทร์ฉาย วิทยาลัยเทคโนโลยีโปลิเทคนิคลานนา เชียงใหม่
2
ปัญหาการวิจัย จากประสบการณ์ของผู้วิจัยที่สอนภาษาไทยและจากการสัมภาษณ์ พูดคุยแลกเปลี่ยนทัศนะระหว่างครูภาษาไทยด้วยกัน ทำให้ทราบว่านักศึกษาส่วนใหญ่มักมีผลสัมฤทธิ์การเรียนรู้เกี่ยวกับคำประพันธ์ค่อนข้างต่ำ และจากการสังเกตของครูผู้สอน นักศึกษาส่วนมากขาดความสนใจที่จะศึกษาความรู้เกี่ยวกับคำประพันธ์อย่างจริงจัง เช่น นักศึกษามักจะคุยกัน เล่นกันในเวลาเรียน เหม่อลอย ท้อแท้เบื่อหน่าย ทำให้เกิดการเรียนรู้ได้ช้า บางส่วนก็ไม่ผ่านจุดประสงค์ การเรียนรู้และตามเนื้อหาไม่ทัน นอกจากนั้นจากประสบการณ์ของผู้วิจัยที่ได้ทดลองให้นักศึกษาแต่งคำประพันธ์อย่างง่าย ๆ ปรากฏว่า ผลงานของนักศึกษาส่วนใหญ่มักบกพร่องเกี่ยวกับฉันทลักษณ์เสมอ ผู้วิจัยจึงเห็นว่าหากนำสื่อการสอนที่น่าสนใจและทันสมัยมาประกอบการสอนจะทำให้นักศึกษาเกิดการเรียนรู้ได้เร็วขั้นเพราะคอมพิวเตอร์เข้ามามีบทบาทต่อการดำเนินชีวิตประจำวันอย่างมาก เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ได้พัฒนารุดหน้าไปอย่างรวดเร็วมาก และมีการประยุกต์มาใช้งานกับทุกวงการ ตลอดจนนำมาประยุกต์ใช้กับกระบวนการเรียนการสอน เรียกว่า คอมพิวเตอร์ช่วยสอน
3
วัตถุประสงค์ในการวิจัย 1
วัตถุประสงค์ในการวิจัย 1. เพื่อสร้างบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน รายวิชา 2000 – ภาษาไทยเพื่ออาชีพ เรื่อง กาพย์เห่เรือ 2. เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ก่อนเรียนและหลังเรียนรายวิชา ภาษาไทยเพื่ออาชีพ 2 โดยการใช้บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน ตัวแปรที่ศึกษา ตัวแปรต้น คือ การจัดการเรียนการสอนแบบคอมพิวเตอร์ช่วยสอน เรื่อง กาพย์เห่เรือ เป็นบทเรียนที่สร้างขึ้นโดยใช้โปรแกรม Power point ซึ่งมีลักษณะเป็นสื่อประสม (Multimedia) ประกอบ ด้วยภาพนิ่ง เสียง และตัวอักษร โดยใช้หน่วยการเรียนรู้ที่ 13 เรื่อง กาพย์เห่เรือ ตัวแปรตาม คือ ผลของการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนแบบคอมพิวเตอร์ช่วยสอน โดยให้นักศึกษาทำแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน
4
ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
ค่าสถิติที่ใช้ 1.หาค่าเฉลี่ย ( X ) 2. ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ( S.D.) แสดงผลการหาประสิทธิภาพบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน จำนวนนักศึกษา คะแนนเต็ม ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ก่อนเรียน 80 40 13.2 หลังเรียน 35.95
5
สรุปผลการวิจัย นักศึกษามีคะแนนจากการทำแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ก่อนเรียนได้ค่าเฉลี่ย 13.2 และคะแนนจากการทำแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์หลังเรียน ได้ค่าเฉลี่ย เมื่อนำมาเปรียบเทียบ หาค่าประสิทธิภาพ ได้เท่ากับ 4.25/5.77 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์มาตรฐานที่กำหนดไว้ จากการสังเกตพฤติกรรมของนักศึกษา พบว่า การกิจกรรมการเรียนการสอนโดยใช้บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนเรื่อง กาพย์เห่เรือ นักศึกษามีความสนใจ ความสนุกสนานไม่น่าเบื่อ เนื้อหาที่เรียนไม่ยากเกินไป เนื้อหาสามารถเข้าใจและจดจำเนื้อหาในการเรียนได้ นักศึกษามีความตั้งใจและกระตือรือร้นในการทำกิจกรรม และมีความคิดสร้างสรรค์
6
ประโยชน์ที่ได้จากการศึกษาวิจัย
ในการศึกษาครั้งนี้สามารถนำไปใช้ประโยชน์ในการพัฒนาการเรียนการสอนโดยการสร้างบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนในรายวิชาอื่นๆ และใช้การศึกษาวิจัยในครั้งนี้เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ จากการเรียนด้วยบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนซึ่งทำให้นักศึกษาได้เกิดการเรียนรู้และพัฒนาความรู้ได้ด้วยตนเอง
7
ขอจบการนำเสนอ ขอบคุณค่ะ
งานนำเสนอที่คล้ายกัน
© 2024 SlidePlayer.in.th Inc.
All rights reserved.