งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

เสริมสร้างพฤติกรรมความรับผิดชอบในงานที่ได้รับมอบหมาย โดยการใช้เสริมแรงทางบวก นางอภิรดี จำรูญวัฒน์

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


งานนำเสนอเรื่อง: "เสริมสร้างพฤติกรรมความรับผิดชอบในงานที่ได้รับมอบหมาย โดยการใช้เสริมแรงทางบวก นางอภิรดี จำรูญวัฒน์"— ใบสำเนางานนำเสนอ:

1 เสริมสร้างพฤติกรรมความรับผิดชอบในงานที่ได้รับมอบหมาย โดยการใช้เสริมแรงทางบวก
นางอภิรดี จำรูญวัฒน์

2 ที่มาและความสำคัญของปัญหา
กำหนดประเด็นในการวิจัยเพื่อหาแนวทางในการแก้ไขปัญหากับผู้เรียน สภาพปัญหา นักศึกษาส่วนหนึ่งไม่ส่งมอบงานตามระยะเวลาที่กำหนดไว้ได้ ส่งผลต่อพฤติกรรมนักศึกษาสำหรับวิชาอื่นๆ รายวิชาจิตวิทยามนุษย์เชิงธุรกิจ มุ่งเน้นให้ผู้เรียนได้มีความรู้ ความเข้าใจเรื่องพฤติกรรม มีเจตคติที่ดี มีกิจนิสัยที่ดี มีจริยธรรมในการทำงาน ร่วมกับผู้อื่นได้

3 วัตถุประสงค์การวิจัย
เพื่อเสริมสร้างพฤติกรรม ความรับผิดชอบในงานที่ได้รับมอบหมาย โดยการใช้เสริมแรงทางบวก

4 ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับจากการวิจัย
สำหรับผู้เรียน เพื่อเสริมสร้างให้ผู้เรียนมีพฤติกรรมความรับผิดชอบในการส่งงานมากขึ้น มีระเบียบวินัย และเข้าใจบทเรียนมากขึ้น เพื่อให้ผู้เรียนได้ฝึกทำแบบฝึกหัดเพื่อทบทวนบทเรียน และยังเป็นการเพิ่มผลสัมฤทธิ์ทางเรียนให้กับผู้เรียน เพื่อสร้างแรงจูงใจให้ผู้เรียนเห็นความสำคัญและสนใจการเรียนมากขึ้น สำหรับผู้สอน เพื่อให้สามารถนำวิธีการดังกล่าวมาเป็นแนวทางในการปรับพฤติกรรมผู้เรียนให้มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนที่ดีขึ้น สำหรับวิทยาลัย เพื่อให้วิทยาลัยได้นักศึกษาที่มีความระเบียบวินัย มีความรับผิดชอบ ต่องานที่ได้รับมอบหมาย และมีผลสัมฤทธิ์ของนักศึกษาที่ดีขึ้น

5 นวัตกรรมที่ใช้ในการแก้ปัญหา
การเสริมแรงทางบวก (Positive Reinforcement) หมายถึง การเสริมแรงที่มีผลทำให้พฤติกรรมที่ได้รับการเสริมแรงนั้นมีความถี่เพิ่มขึ้น ในขณะที่การให้รางวัลเป็นการให้ต่อพฤติกรรมที่บุคคลทำสิ่งใดสิ่งหนึ่งตามวาระและโอกาสที่สำคัญ โดยไม่จำเป็นว่าต้องทำให้พฤติกรรมนั้นมีความถี่เพิ่มขึ้น ทฤษฎีการเสริมแรง (Reinforcement Theory) “Skinner” เป็นทฤษฎีที่อยู่บนพื้นฐานทางพฤติกรรมแห่งการจูงใจ ใช้หลักการวางเงื่อนไขแบบการกระทำ และเห็นว่าพฤติกรรมจะชักจูงโดยผลกรรม ซึ่งผลกรรมเป็นสิ่งที่ได้รับหลังจากที่แสดงพฤติกรรมออกมา และจะมีส่วนช่วยเพิ่มแรงจูงใจให้กระทำหรือแสดงพฤติกรรมนั้นอีก เรียกง่ายๆ ว่าตัวเสริมแรง

6 สมมติฐานการวิจัย จำนวนของผู้เรียนที่มีพฤติกรรมความรับผิดชอบ ในงานที่ได้รับมอบหมายสูงกว่าร้อยละ 70 ของจำนวนนักเรียนทั้งหมด

7 วิธีดำเนินการวิจัย สร้างแบบบันทึกพฤติกรรม
กำหนดระยะเวลาในการปฏิบัติงาน และจำนวนครั้งการส่งงานในรายวิชาฯ การกำหนดเงื่อนไขพฤติกรรมความรับผิดชอบในงานที่ได้รับมอบหมาย ดังนี้ คือ 2.1 ชี้แจงให้ผู้เรียนเข้าใจถึงวัตถุประสงค์และรายละเอียดของการพฤติกรรม ความรับผิดชอบในการส่งงานที่ได้รับมอบหมายในรายวิชาฯ ของผู้เรียนโดยการใช้เสริมแรงทางบวกด้วยคะแนนพิเศษ 2.2 เมื่อผู้วิจัยอธิบายเกณฑ์ต่างๆ เรียบร้อยแล้ว จะดำเนินการสอนเนื้อหาต่างๆ และให้ผู้เรียนทำใบงานและแบบฝึกหัดเพื่อทบทวนความเข้าใจเกี่ยวกับเรื่องที่เรียน พร้อมทั้งกำหนดเวลาในการส่งงานและให้ผู้เรียนเริ่มปฏิบัติงาน การวิจัยครั้งนี้ใช้เวลาทั้งสิ้น 12 สัปดาห์ การวิจัยครั้งนี้ดำเนินการในชั่วโมงเรียนวิชา จิตวิทยามนุษย์เชิงธุรกิจ ของผู้เรียน ซึ่งในแต่ละสัปดาห์จะมีการสอนทั้งสิ้น 2 คาบ คาบละ 50 นาที รวมทั้งหมด 24 คาบ รวบรวมข้อมูลและสรุปผลการวิจัย

8 การเก็บรวบรวมข้อมูลและสถิติที่ใช้
สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ สถิติพื้นฐาน ได้แก่ จำนวนความถี่ ค่าร้อยละ ข้อมูลที่ใช้ (Data) เครื่องมือเก็บข้อมูล (Tool) การบันทึกพฤติกรรม จำนวน 12 สัปดาห์ พฤติกรรมความรับผิดชอบการส่งงานตามที่ได้รับมอบหมาย แบบสังเกตและบันทึกพฤติกรรมของผู้เรียน แบบบันทึกการให้คะแนนพิเศษของผู้เรียน แบบบันทึกการส่งงานของผู้เรียน

9 ผลการวิเคราะห์ข้อมูล
ร้อยละ สัปดาห์

10 ผลการวิเคราะห์ข้อมูล
จากผลการวิเคราะห์ค่าคะแนนเฉลี่ยของผู้เรียนระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสู(ปวส.) ปีที่ 2 สาขาวิชาการตลาด ปีการศึกษา วิทยาลัยอาชีวศึกษาสันติราษฎร์ ในพระอุปถัมภ์ จำนวน 37 คน โดยการให้คะแนนพิเศษกับผู้เรียนแสดงพฤติกรรมความรับผิดชอบต่องานที่ได้รับมอบหมายจากผู้สอนจนสำเร็จ และส่งงานได้ครบตรงตามเวลาที่กำหนด พบว่า ผู้เรียนมีพฤติกรรมความรับผิดชอบในงานที่ได้รับมอบหมายสูงกว่าร้อยละ 70 แสดงว่าการการเสริมสร้างพฤติกรรมความรับผิดชอบในงานที่ได้รับมอบหมายโดยการใช้เสริมแรงทางบวก (คะแนนพิเศษ) สามารถส่งผลต่อพฤติกรรมของผู้เรียนได้จริง

11 ขอบคุณค่ะ


ดาวน์โหลด ppt เสริมสร้างพฤติกรรมความรับผิดชอบในงานที่ได้รับมอบหมาย โดยการใช้เสริมแรงทางบวก นางอภิรดี จำรูญวัฒน์

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


Ads by Google