งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

ระบบขับถ่าย เรื่อง สาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


งานนำเสนอเรื่อง: "ระบบขับถ่าย เรื่อง สาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6"— ใบสำเนางานนำเสนอ:

1 ระบบขับถ่าย เรื่อง สาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6
สาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 จัดทำโดย นางสาวพรพิมล ตันติวรธรรม โรงเรียนบ้านวังไผ่ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษากาญจนบุรี เขต 2

2 จุดประสงค์การเรียนรู้
1. บอกความสัมพันธ์ของอวัยวะที่เกี่ยวข้องกับการขับถ่ายได้ 2. อธิบายหน้าที่ของอวัยวะที่เกี่ยวข้องกับการขับถ่ายได้

3 ระบบขับถ่าย ระบบขับถ่าย เป็นระบบที่ทำหน้าที่ ขับถ่ายของเสียออกนอกร่างกาย โดยร่างกายเราจะขับของเสียออกมาใน 3 รูปแบบ ดังนี้ค่ะ 1. การขับถ่ายของเสียในรูปของแก๊ส (ลมหายใจ) 2. การขับถ่ายของเสียในรูปของเหลว(เหงื่อ/ปัสสาวะ) 3. การขับถ่ายของเสียในรูปของแข็ง (อุจจาระ)

4 ให้นักเรียนโยงเส้นจับคู่ข้อความให้ตรงกับรูปภาพที่กำหนดให้
ปัสสาวะ การขับถ่ายของเสียในรูปของแก๊ส อุจจาระ การขับถ่ายของเสียในรูปของเหลว ลมหายใจ การขับถ่ายของเสียในรูปของแข็ง

5 การขับถ่ายของเสียในรูปของแก๊ส
การขับถ่ายของเสียในรูปของแก๊สนี้ จะกำจัดของเสียในลักษณะลมหายใจออก ในรูปของแก๊สคาร์บอนไดออกไซด์ ซึ่งจะทำงานสัมพันธ์กับระบบหายใจ โดยผ่านอวัยวะที่สำคัญ คือ ปอด การหายใจของคนเรา เป็นการเผาผลาญอาหาร เพื่อให้เกิดพลังงาน ซึ่งผลที่ได้จากการเผาผลาญคือ แก๊สคาร์บอนไดออกไซด์ซึ่งเป็นของเสียที่ร่างกายเรา ไม่ต้องการ ร่างกายจึงขับแก๊สนี้ออกทางลมหายใจ

6 ร่างกายของคนเราขับถ่ายของเสียในรูปของแก๊สออกทางลมหายใจ
ถูก ผิด

7 การขับถ่ายของเสียในรูปของเหลว( เหงื่อ )
การขับถ่ายของเสียในรูปของเหลว ที่เป็นการสกัดน้ำ และเกลือแร่ ที่ร่างกายไม่ต้องการออกมา ในรูปของ เหงื่อ โดยการทำงานของ ผิวหนัง และต่อมเหงื่อ ผิวหนัง ทำหน้าที่ห่อหุ้มร่างกาย และเป็นทางระบายเหงื่อ แบ่งเป็น 2 ชั้นคือ ผิวหนังชั้นนอกหรือหนังกำพร้า มีรูเปิดไว้ระบายเหงื่อ เรียกว่า รูเหงื่อ และผิวหนังชั้นในหรือหนังแท้ ประกอบด้วย ต่อมไขมัน ปลายประสาท เส้นเลือดฝอยมากมาย และต่อมเหงื่อ เป็นส่วนที่สำคัญที่สุดในระบบ ทำหน้าที่สกัดของเสียที่ปนมากับกระแสเลือด ในเส้นเลือดฝอยรอบๆ ออกมาในรูปเหงื่อ ไหลออกมาตามท่อเล็กๆ และซึมออกมาตามรูเหงื่อ ซึ่งเป็นรูเปิดที่ผิวหนัง พบบริเวณใต้รักแร้ ขาหนีบ

8 การขับถ่ายของเสียในรูปของเหลว( เหงื่อ )
เหงื่อ ประกอบด้วยน้ำ 99 % สารอื่น ๆ 1 % เป็นพวกเกลือโซเดียมคลอไรด์ ยูเรีย น้ำตาล แอมโมเนีย กรดแลคตริกและกรดอะมิโน การระเหยของเหงื่อช่วยปรับอุณหภูมิของร่างกาย  โดยระบายความร้อนไปกับเหงื่อ  ปริมาณเหงื่อที่ถูกขับออกมาได้ดีที่อุณหภูมิ 32 องศาเซลเซียส

9 ผิวหนัง ขับของเสียออกมาในรูปใด
น้ำ เกลือ เหงื่อ ของเหลว

10 การขับถ่ายของเสียในรูปของเหลว( ปัสสาวะ )
ไต  มี 2 ข้าง ลักษณะคล้ายเมล็ดถั่ว ติดอยู่กับด้านหลังของช่องท้อง ขนาดเท่ากำมือ มีสีน้ำตาลแกมแดง ตรงกลางเว้าเป็นกรวยไต มีหลอดไตต่อไปยังกระเพาะปัสสาวะ  ภายในไตมีหน่วยไตเล็ก ๆ อยู่เป็นจำนวนมาก

11 การขับถ่ายของเสียในรูปของเหลว( ปัสสาวะ )
การขับถ่าย เริ่มจากหลอดเลือดที่นำเลือดมาจากหัวใจ เลือดและสารที่มากับเลือดจะถูกส่งเข้าหน่วยไต ซึ่งมีลักษณะคล้ายกรวย หรือเรียกว่า กรวยไต จะกรองสารที่มีอยู่ในเลือด สารที่มีประโยชน์จะถูกดูดซึมกลับคืนมา ของเสียอื่น ๆ จะถูกส่งไปตามท่อไตลงสู่กระเพาะปัสสาวะ  

12 การขับถ่ายของเสียในรูปของเหลว( ปัสสาวะ )
เราจะขับถ่ายปัสสาวะออกมาประมาณ ลิตร /วัน ปริมาณ การขับถ่ายในแต่ละวันจะมากหรือน้อยขึ้นอยู่กับปริมาณน้ำที่ร่างกายได้รับ ชนิดของอาหารและเครื่องดื่ม เช่น แตงโม เหล้า และการเสียน้ำของร่างกายทางอื่น

13 หมายเลขใดคือกระเพาะปัสสาวะ
1 6 <Keypad will appear here based on shape and location of this rectangle.> 2 5 3 4

14 การขับถ่ายของเสียในรูปของแข็ง ( อุจจาระ )
การขับถ่ายของเสียในรูปของแข็งนั้น เราจะขับถ่ายออกมาเป็นอุจจาระ โดย จะขับกากอาหารที่เหลือจากการย่อยอาหารออกนอกร่างกาย อวัยวะสำคัญในระบบนี้ คือ ลำไส้ใหญ่ และทวารหนัก การทำงานของระบบนี้ เกี่ยวข้องกับระบบ การย่อยอาหาร คือ เมื่อลำไส้เล็กย่อยอาหาร แล้ว กากอาหารส่วนที่เหลือ จากการย่อยจะ เคลื่อนมาที่ลำไส้ใหญ่

15 การขับถ่ายของเสียในรูปของแข็ง ( อุจจาระ )
ลำไส้ใหญ่ ยาวประมาณ  5  ฟุต ภายในมีเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 2.5  นิ้ว  ผนังลำไส้ใหญ่ จะดูดซึมน้ำและเกลือแร่ ออกจากกากอาหารกลับเข้าสู่ร่างกาย และมีการขับน้ำเมือกออกมาหล่อลื่นให้กากอาหารส่วนที่แข็งเคลื่อนที่ผ่านไปสู่ปลายลำไส้ใหญ่ซึ่งไวต่อการสะสมของอุจจาระ เมื่อมีอุจจาระเข้ามาอยู่เต็มในบริเวณนี้ ก็จะทำให้รู้สึกปวดอุจจาระ ทวารหนักก็จะเปิดเพื่อระบายอุจจาระออกมา ระบบขับถ่ายอุจจาระจะทำงานได้ดีเมื่อรับประทานอาหารที่มีใยอาหาร เช่น ผัก ผลไม้ ฯลฯ

16 ข้อใดกล่าวถึงการทำงานเกี่ยวกับ การขับถ่ายอุจจาระ ไม่ถูกต้อง
อุจจาระจะถูกขับออกทางทวารหนัก ระบบขับถ่ายอุจจาระ สัมพันธ์กับระบบย่อย อาหาร การกินอาหารประเภท คาร์โบไฮเดรตจะทำให้ การขับถ่ายดี ลำไส้ใหญ่ จะขับเมือกมาเพื่อหล่อลื่นให้ กากอาหารผ่านไปได้

17 การบำรุงรักษาและการป้องกันอวัยวะระบบขับถ่าย
ข้อควรปฏิบัติ 1. รับประทานอาหารที่มีคุณค่า โดยเฉพาะอาหารที่มีกากมากๆ เช่น ผักต่าง ๆ 2. ไม่รับประทานอาหารที่มีรสจัด โดยเฉพาะเค็มจัด 3. ดื่มน้ำที่สะอาดอย่างน้อยวันละ 8-10 แก้ว 4. ไม่กลั้นปัสสาวะเป็นเวลานาน เพราะจะทำให้กระเพาะปัสสาวะ อักเสบได้

18 ให้นักเรียนนำชิ้นส่วนมาต่อเป็นภาพให้สมบูรณ์
15

19 ให้นักเรียนนำชิ้นส่วนมาต่อเป็นภาพให้สมบูรณ์

20 <Scoreboard will appear here, leave shape as-is.>


ดาวน์โหลด ppt ระบบขับถ่าย เรื่อง สาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


Ads by Google