ดาวน์โหลดงานนำเสนอ
งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ
1
ตำแหน่ง ครู วิทยฐานะครูชำนาญการ
คำอุทาน นางพัชรี อุ้ยเลิศ ตำแหน่ง ครู วิทยฐานะครูชำนาญการ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย โรงเรียนภูเรือวิทยา อำเภอภูเรือ จังหวัดเลย
2
คำอุทาน คำอุทาน คือ คำที่แสดงถึงเสียงที่เปล่งออกมาในเวลาดีใจ, เสียใจ,ตกใจ, ประหลาดใจ, เจ็บปวด,สงสาร เป็นต้น หรือเป็นคำที่ใช้ต่อถ้อยเสริมบทให้บริบูรณ์ยิ่งขึ้น เสียงที่เปล่งออกมาเป็นคำอุทานนั้นอาจจะเป็น ๑. คำ เช่น แหม! พุทโธ! โอ้! โอ๊ย! ๒. วลี เช่น เวรกรรมจริงหนอ! โอ้อกเราเอ๋ย! กลุ้มใจจริงโว้ย! ๓. ประโยค เช่น ไฟไหม้เจ้าค้า! อกแตกแล้วโว้ย!
3
ชนิดของคำอุทาน คำอุทาน แบ่งออกเป็น ๒ ชนิด คือ ๑.อุทานบอกอาการ
คำอุทาน แบ่งออกเป็น ๒ ชนิด คือ ๑.อุทานบอกอาการ สำหรับใช้แสดงความรู้สึกต่างๆ ในการพูด เช่น ชิ! ชิๆ! ชิชะ! โธ่! วะ! วา! หื้อหือ! อุเหม่! แหม! อนิจจัง! อ๊ะ! อือ! อนิจจา! อุบ๊ะ! เอ! เอ๊ะ! เอ๊ว! เอ้อเฮอ! โอ! โอย! โอ๊ย! ฮะ! ฮ้า! ฮึ! เฮ้! เฮ้ย! เฮ้ว! เฮ้อ! ไฮ้!
4
๒. อุทานเสริมบท เป็นคำอุทานที่พูดขึ้นเพื่อเพิ่มเติมถ้อยคำเสริมขึ้นโดยไม่ได้ตั้งใจให้มี ความหมายแต่อย่างใด เช่น สัญญิงสัญญา หนังสือหนังหา กาฟงกาแฟ อาบน้ำอาบท่า ข้างพงข้าวโพด
5
หน้าที่ของคำอุทาน คำอุทาน เป็นคำที่ไม่มีหน้าที่สำคัญในประโยค แต่ใช้เสริมบทหรือประโยคในการพูดจากัน เพื่อแสดงความรู้สึกและอารมณ์ต่างๆ ไม่มีความหมายเด่นชัด อาจเป็นคำสร้อย คำแทรก เช่น - หนอยแน่ ! อ้าว ! เอ้อเฮ้อ ! อ้อ ! - อาบน้ำอาบท่า ผู้หลักผู้ใหญ่
งานนำเสนอที่คล้ายกัน
© 2024 SlidePlayer.in.th Inc.
All rights reserved.